เมาอวกาศ سكرت ابصار


เมาอวกาศ (Space sickness) " سُكِّرَتْ أَبْصَارُنَا "

        อัลกุรอานหลายอายัตที่เราอ่านไปและทำความเข้าใจในความหมายของอายัตที่อ่านนั้น แต่หลายครั้งที่เราไม่เคยทำความเจ้าใจในความหมายอย่างลึกซึ้ง จนบางครั้งเหมือนกับว่าเราได้ละเลยในความหมายของอายัต ความยิ่งใหญ่ หลักฐาน และความทะลุทะลวงในความรู้ของอายัตนั้นๆ เราไม่เคยทำความใจเลย ความรู้ต่างๆและความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงแล้วอย่างละเอียด อัลลอฮฺได้ตรัสถึงสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมาเพื่อความสุขสบายของมวลมนุษย์ ความพอเหมาะ ความสมดุล ของสิ่งที่พระองค์สร้างนั้นมีอย่างมากมาย แต่น้อยคนนักที่จะระลึกถึงในความดีนี้และสำนึกในพระคุณของพระองค์ ในอายัตหนึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า

  أَمَّنْ جَعَلَ الْأَرْضَ قَرَارًا وَجَعَلَ خِلَالَهَا أَنْهَارًا وَجَعَلَ لَهَا رَوَاسِيَ وَجَعَلَ بَيْنَ الْبَحْرَيْنِ حَاجِزًا أَءلَهٌ مَعَ اللَّهِ بَلْ أَكْثَرُهُمْ لَا يَعْلَمُونَ [النمل: 61]

         ความว่า หรือผู้ใดเล่าที่ทำให้แผ่นดินเป็นที่พำนักอย่างมั่นคงและทรงให้มีลำน้ำหลายสายไหลระหว่างมัน และทรงทำให้ภูเขายึดมั่นสำหรับมัน และทรงทำให้มีที่กั้นระหว่างน่านน้ำทั้งสอง จะมีพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮ์อีกหรือ เปล่าดอก ! ส่วนมากของพวกเขาไม่รู้ [1]

        อายัตนี้เป็นการถามคนที่พยายามปฏิเสธอัลกุรอานไม่ศรัทธาในอัลลอฮฺ โดยถามเพื่อให้สำนึกว่า

1.               ใครเป็นผู้ให้พื้นแผ่นดินเป็นที่อยู่อย่างมั่นคงแก่เขา

2.               ใครเล่าเป็นผู้ทรงสร้างลำน้ำเป็นแม่น้ำต่างๆ ที่ไหลมีผลประโยชน์มากมาย

3.               ใครเล่าสร้างภูเขาที่นับเป็นมุดยึดมั่นพื้นโลก

4.               ใครเล่าสร้างที่ขวางกั้นระหว่างน่านน้ำทั้งสองแห่ง (ระหว่างน้ำจืดกับน้ำเข็ม และระหว่างทะเลกับทะเลด้วยกัน)

อายัตนี้อายัตเดียว ถ้าศึกษาด้วยดี ไตรตรองในเชิงวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า อัลลอฮฺได้ชี้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 4 อย่างด้วยกัน ซึ่งทั้ง 4 นี้ ก่อนหน้านี้หรือเมื่อพันกว่าปีมาก่อนไม่มีใครล่วงรู้มาเลย นอกจากที่อัลลอฮฺได้ทรงแจ้งมาในอัลกุรอานอย่างเช่นในอายัตนี้

สิ่งแรกที่กล่าวถึงในอายัตนี้คือ แรงโน้มถ่วงของโลก(Gravitational Force) เป็นแรงดึงดูดที่มวลของโลกกระทำต่อมวลวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุ ขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุนั้นและระยะห่างระหว่างกับจุดศูนย์กลางของโลก ยิ่งวัตถุอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของโลกมากเท่าไร แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อวัตถุจะยิ่งน้อยลงเท่านั้น

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าโลกเป็นดาวเดียวที่มีแรงโน้มถ่วงที่เหมาะสมกับการมีชีวิตที่มั่นคงของมนุษย์ ขนาดและมวลของโลก ระยะห่างของโลกจากดวงอาทิตย์ ความเร็วของโลกที่หมุนตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ เป็นสิ่งที่เอื้อต่อการมีชีวิตของมนุษย์อย่างเหมาะสมที่สุด ถ้าโลกนี้มีขนาดที่ใหญ่หรือเล็กกว่านี้ หรือหมุ่นรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์เร็วหรือช้ากว่านี้ ชีวิตของมนุษย์ก็จะอยู่อย่างไม่เป็นสุขและจะมลายล้างในที่สุด


ดวงดาวในระบบสุริยะ

ถ้าโลกนี้มีขนาดเล็กเหมือนดวงจันทร์แรงโน้มถ่วงที่จะดึงดูดตัวมนุษย์ก็จะมีไม่มาก มนุษย์ก็จะใช้ชีวิตบนดวงจันทร์อย่างล่องลอย หรือถ้าโลกมีขนาดใหญ่เหมือนดาวเสาร์หรือดาวที่ใหญ่กว่าอื่นๆ มนุษย์ก็จะไม่สามารถทำอะไรได้ ร่างกายก็จะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวนั้นดูดยึดให้อยู่กับที่หรือจะเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้อย่างลำบาก

เมื่อมนุษย์ขึ้นสูงจากพื้นโลกเรื่อยๆ ระยะห่างของมนุษย์จากจุดศูนย์กลางของโลกก็จะเพิ่มเรื่อยๆ แรงโน้มถ่วงของโลกที่จะดึงดูดมนุษย์มีน้อยลงไปด้วย สุดท้ายมีสภาพล่องลอยเหมือนไม่มีแรงใดๆมาดึงดูด จะนั่ง จะนอน จะเดิน ไม่มีทิศทางที่แน่นอน

นักบินอวกาศอยู่ในสภาพที่ล่องลอย ไม่สามารถทำได้หลายอย่างตามที่ทำบนโลก เขาจะเกิดโรคอย่างหนึ่งที่เรียกว่า
เมาอวกาศ
(Space Sickness)

อัลลอฮฺตรัสว่า..

وَلَوْ فَتَحْنَا عَلَيْهِمْ بَابًا مِنَ السَّمَاءِ فَظَلُّوا فِيهِ يَعْرُجُونَ

 لَقَالُوا إِنَّمَا سُكِّرَتْ أَبْصَارُنَا بَلْ نَحْنُ قَوْمٌ مَسْحُورُونَ [الحجر: 14-15].

 ความว่า และหาเราเปิดประตูแห่งชั้นฟ้าแก่พวกเขา แล้วพวกเขาจะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า แท้จริงสายตาของพวกเรามึนเมา(ถูกปิดกั้น) ไม่แต่เพียงเท่านั้นพวกเรายังเป้นกลุ่มชนที่ถูกเวทมนตร์อีกด้วย [2]

อิบนุกะษีร ได้เขียนในตัฟซีร์ของท่านว่า ความหมายของ سُكِّرَتْ أَبْصَارُنَا อิบนุไซด์กล่าวว่า เมาจนไม่ไม่ได้สติ[3] และรู้จักกันในสมัยนี้ว่า ป่วยอวกาศหรือเมาอวกาศ (Space sickness)

เมาอวกาศ (Space Adaptation Syndrome หรือ space sickness)

       เมาอวกาศ เป็นอาการที่นักบินอวกาศประสบเมื่ออยู่ในอวกาศ คล้ายๆ กับอาการเมาเหตุเคลื่อนไหว (motion sickness) อาการนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่มีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย งุนงงสับสน จนถึงอาเจียน และความไม่สบายอย่างมาก ปวดศีรษะ และคลื่นไส้ ซึ่งนำไปสู่การขาดน้ำและขาดสารอาหาร โดยประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการ อย่างอ่อน มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง โดยทั่วไปแล้วอาการจะคงอยู่ 2-4 วัน

       อาการเมาอวกาศนั้นนอกจากเกิดในสภาวะไร้น้ำหนักแล้ว ยังอาจเกิดเมื่ออยู่ในภาวะแรงดึงดูดสูงได้ด้วย จากการทดสอบในเครื่องปั่นมนุษย์ (human centrifuge) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบและฝึกฝนนักบินเครื่องบินขับไล่ โดยตัวนักบินจะเข้าไปอยู่ในเครื่องปั่นนานกว่าหนึ่งชั่วโมง แรงหมุนที่ต่อเนื่องทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงมากกว่าบนโลกสามเท่า หลังจากออกจากเครื่องปั่นแล้ว อาสาสมัครประมาณครึ่งหนึ่งรายงานว่ามีอาการเหมือนเมาอวกาศ นั่นหมายความว่า อาการเมาอวกาศไม่จำเป็นต้องเกิดในสภาวะไร้น้ำหนักเท่านั้น แต่เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างด้วย

หมายเลขบันทึก: 262684เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2009 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อัลฮัมดุลิลละฮฺความรู้ที่เติมเต็มและเต็มอิ่มกับสาระ เห็นไหม๊ครับอาจารย์ทำงานมากกว่าผมซะอีก...ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและตอบแทนครับ นำเสนออีกนะครับ

คิดแล้วคงจะเมาแบบไร้วัตถุ อาเจียนไม่มีสิ่งแปลกปลอม

อยากให้ส่งบทความผ่านเมลล์ผม

ผมจะได้เผ่ยแผรบ้าง

มาเรียนรู้ค่ะ ชอบเรื่องอวกาศ ปลื้มนีล อาร์มสตรอง ตั้งแต่เด็กๆ ค่ะ จำได้แม่นเลยค่ะ สามหนุ่ม แอดวิน อัลดริน ไมเคิล คอลลิน และ เอ อาร์มสตรอง ... ขอบคุณค่ะ

มีความกระจ่างมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท