สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

วิทยาการปาล์มน้ำมัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ปี52


วิทยากรปาล์มน้ำมัน

 การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่  หลักสูตร วิทยากรปาล์มน้ำมัน

ระหว่างวันที่ 27 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2552

  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน)

อำเภอเมือง   จังหวัดสุราษฏร์ธานี

------------------------------------

         จำนวนบุคคลเป้าหมายที่เข้าอบรมหลักสูตร วิทยากรปาล์มน้ำมัน จำนวน 60 ราย ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 16 ราย จังหวัดชุมพร 5 ราย  จังหวัดกระบี่  5 ราย จังหวัดนครศรีธรรมราช 12ราย  จังหวัดพังงา  3  ราย  จังหวัดระนอง  3  ราย  จังหวัดตรัง 5ราย จังหวัดพัทลุง 10ราย จังหวัดภูเก็ต1ราย  และเจ้าหน้าที่จาก ธกส. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10ราย รวม70  รายวันที่  27 เมษายน 2552           เวลา  15.00 น.                 เดินทางมารายงานตัวลงทะเบียนและร่วมรับประทานอาหารเย็น   เวลา 19.00 น. ร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์  โดยการแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน เพื่อให้แต่ละกลุ่มทำหน้าที่ในการเชิญวิทยากร ขอบคุณวิทยากร และสรุปผลการฝึกอบรม และร่วมกันเสนอความคิดในหัวข้อดังนี้

ความคาดหวังของผู้เข้าอบรม  ได้แก่ ได้รับความรู้ และได้รู้จัก นวส. จากจังหวัดอื่น

ข้อตกลงร่วมกัน คือ การตรงต่อเวลา และงดกิจกรรมกลางคืน (กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์)

วันที่ 28 เมษายน 2552              เวลา 08.30 – 09.00 น.    คุณสมนึก สะอาดใส ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จังหวัดสงขลา  เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร วิทยากรปาล์มน้ำมัน

  

    ผอ. สมนึก  ใสสะอาด  กล่าวเปิดการอบรมฯ              คุณพัทฒิดา  กุฏีรัตน์  ชี้แจงโครงการฯ

เวลา 09.00 – 10.00 น.    คุณพัทฒิดา  กุฎีรัตน์  นักวิชาการเกษตรชำนาญการ จากกรมส่งเสริมการเกษตร    ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ปาล์มน้ำมัน, แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ปี 2551 – 2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และโครงการฯ ปาล์มน้ำมัน ปี 2552 ได้แก่ โครงการส่งเสริมการผลิตพืชพลังงาน และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน และชี้แจงวัตถุประสงค์การฝึกอบรม และทดสอบความรู้ก่อนฝึกอบรม (pre-test)

เวลา 10.30 – 12.00 น.    พันธุ์และการคัดเลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน   โดย นางสาวสุวิมล  กลศึก  นักวิชาการเกษตรชำนาญการ  จากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี   ให้ความรู้เรื่อง อุตสาหกรรมต่อเนื่องปาล์มน้ำมันในไทย, ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ปาล์มน้ำมัน เช่น ลักษณะของราก ลำต้น ใบ ช่อดอก สีผล ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

การจดทะเบียนแปลงเพาะ  ได้แก่  ยื่นขอจดทะเบียน เจ้าหน้าที่ตรวจแปลง ออกบัตรประจำตัวแปลงเพาะ ขอใบอนุญาตรวบรวม ออกใบอนุญาต

วิทยากรจากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานี

เวลา 13.00–14.30 น. โรค แมลงสัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน นายพิพัฒน์  เซี่ยงหลิว  ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี     โรคในระยะกล้า ได้แก่ เมล็ดเน่าจากเห็ดแครง โรคใบเน่า และโรคใบจุดรากเน่า

อาการจากพันธุกรรม ทางใบบิด และยอดเน่า ได้แก่ ใบจุดเหลืองจากพันธุกรรม เน่าเปียก (wet rot)

แมลงและสัตว์ศัตรูปาล์มน้ำมัน  ได้แก่ เพลี้ยอ่อน  ไม่ค่อยพบระบาด,  บุ้งหญ้า  พบใช้มือจับทิ้ง  ไม่ระบาดมาก,  ด้วงกุหลาบ  จะมากัดกินในปาล์มน้ำมันในเวลากลางคืน  กลางวันซ่อนอยู่ในพงหญ้า  การป้องกันกำจัด  ใช้เซฟวิน 85 %  ฉีดพ่นตอนเย็น  อัตรา 40  กรัม/น้ำ 20 ลิตร,  ด้วงแรค  ใบจะถูกกัดเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า  การป้องกัน  โดยใช้เชื้อราเขียว  ใช้กับดักฟีโรโมน,  หนูพุกใหญ่ หรือหนูแผง   ลักษณะหัวลำตัวยาว เฉลี่ย 25 เซนติเมตร หางยาว  เฉลี่ย 25 เซนติเมตร  น้ำหนัก 200 – 800 กรัม  พบมาก ขนาด 600 กรัม  นิสันดุร้าย  ไม่ชอบปีนต้นไม้  ให้ลูกปีละ 2 ครอกๆ ละ 5-8 ตัว  การป้องกันกำจัด  ใช้หลายวิธีร่วมกัน  เช่น การกำจัดหญ้าในแปลงปลูก  และพื้นที่ใกล้เคียง  เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู  และศัตรูอื่นๆ  ได้แก่ หมูป่า  เม่น  นกเอี้ยง  การเลี้ยงสัตว์  ภาวะน้ำท่วม  แต่ไม่รุนแรง

     เวลา 15.00 – 17.30 น.    การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน  โดย ธีระพงศ์  จันทรนิยม  ศูนย์วิจัยและ 

     พัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน  คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์  อ. หาดใหญ่

                  การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน  แบ่งได้เป็น 4 ระยะ  ดังนี้

        1. การจัดการสวนปาล์มน้ำมันก่อนให้ผลผลิต                              

        2. การจัดการสวนปาล์มช่วงเร่งผลผลิต          

        3. การจัดการสวนปาล์ม ช่วงรักษาระดับผลผลิต          

        4. การจัดการสวนปาล์มในช่วงผลผลิตลดลง                

วันที่ 29 เมษายน 2552        เวลา 08.30 – 09.30 น.    การสร้างสวนปาล์มน้ำมัน  โดย ธีระพงศ์  จันทรนิยม 

การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน        

                1. การเตรียมพื้นที่   ได้แก่ พื้นที่ขนาดใหญ่  จะต้องแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ  50-100  ไร่,  ทำถนนสายหลัก   ผ่านแต่ละแปลงย่อย,  พื้นที่ลาดชัน  ต้องปรับสภาพพื้นที่เป็นขั้นบันได,  พื้นที่ลุ่ม (ที่นา) จะต้องยกร่อง

                2. การปักแนวปลูก    แนวปลูกปาล์มน้ำมันจะต้องอยู่ขวางตะวัน (ปลูกในแนวทิศเหนือ-ใต้)  จะลดการบังแสง

                3. การเตรียมหลุมปลูก  ใส่หินฟอสเฟต  ปูนขาว  ปุ๋ยอินทรีย์  ขุดหลุมขนาดกว้าง 1 เมตร  ลึก 30-50 เซนติเมตร

                4. การปลูก   จะต้องไม่ลึกเกินไป  ปลูกโคนเสมอต้น  เหมาะสมที่สุด

เวลา 09.30 – 12.00 น.    การจัดการปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน  โดย ธีระพงศ์  จันทรนิยม 

                ตอนที่ 1 ความรู้เรื่อง ปุ๋ย

                ปุ๋ย คือ สารอินทรีย์ หรืออนินทรีย์ที่สามารถให้ธาตุอาหารต่างๆที่เป็นประโยชน์แก้พืชที่สำคัญ ได้แก่ ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  และธาตุอื่นๆ  เป็นต้น

                โดยสรุป  * ปุ๋ยเคมี  จะให้ธาตุอาหารสูง  อาจทำให้ดินแน่น  บางชนิดทำให้ดินเป็นกรด

                                   * ปุ๋ยอินทรีย์  ให้ธาตุอาหารต่ำ  ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำระบายอากาศดี  ทำให้ดินเป็นกรดช้าลง       ช่วยดูดซับธาตุอาหาร (จากปุ๋ยเคมี)

                ตอนที่ 2 ความต้องการธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน

ธาตุอาหารหลักของปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ไนโตรเจน(N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K), แมกนีเซียม (M) และโบรอน (B) 

                ตอนที่ 3  รูปแบบของการใช้ปุ๋ย

1.       ให้ปุ๋ยตามอาการขาดธาตุอาหารที่แสดงให้เห็น

2.       แบบประมาณการสูญเสียของธาตุอาหาร

3.       ให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ตัวอย่างใบและตัวอย่างดิน

(แบบที่ 1,2  เป็นการใช้ปุ๋ยที่ไม่มีประสิทธิภาพ  แบบที่ 3  เป็นการใช้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด)

                ตอนที่ 4  การเลือกใช้ปุ๋ย   ขั้นตอนการเลือกใช้ปุ๋ย

1.       ทราบความต้องการปุ๋ยของปาล์ม  โดยการวิเคราะห์ใบ/อาการขาดธาตุอาหาร  ผลผลิตที่เก็บเกี่ยว

2.       ข้อมูลการใช้ปุ๋ยในปีที่ผ่านมา

3.       ชนิดปุ๋ย/ราคาปุ๋ย  ที่มีในท้องตลาด

เวลา 13.00 – 17.00 น.    ฝึกปฏิบัติในแปลง (การเก็บตัวอย่างใบวิเคราะห์  เพื่อแนะนำการใช้ปุ๋ย

โดย ธีระพงศ์  จันทรนิยม        ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างใบ

 ดูการเวียนของทางใบ  (ทางใบเวียนซ้าย หรือทางใบเวียนขวา) ,  เลือกทางใบที่ 17 , ตำแหน่งที่เก็บใบย่อยบนทางใบที่ 17 ,  เก็บใบย่อยบนทางใบที่ 17 ,  เก็บตัวอย่างส่วนกลางของใบย่อย ,  ลอกเส้นกลางใบทิ้งใช้เฉพาะแผ่นใบ

และตัวอย่างที่อบแห้งพร้อมส่งวิเคราะห์

                  ฝึกปฏิบัติปลูกปาล์มน้ำมัน                                                    ฝึกปฏิบัติเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมัน

 รายละเอียดที่ส่งพร้อมตัวอย่างใบ  ได้แก่  ชื่อผู้เก็บ  สถานที่เก็บ : ชื่อแปลง  วันที่เก็บตัวอย่าง   รายละเอียดประกอบ  เช่น  การใส่ปุ๋ย  การให้ผลผลิต

วันที่ 30 เมษายน 2552     เวลา 08.30 – 12.00 น.    ทัศนศึกษาดูงาน ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี    ต.ท่าอุแท  อ.กาญจนดิษฐ์     พันธุ์  การผสมพันธุ์  ได้แก่  การเตรียมต้นแม่- พ่อ,  การคัดเลือกช่อดอกตัวเมีย, การคลุมช่อดอกตัวเมีย, การผสมเกสร (เมื่อดอกบาน),  การนำสู่กระบวนการเพาะ , การเพาะเมล็ด  ได้แก่  การคัดแยกเมล็ด, การทำลายการพักตัว, การเพาะให้เมล็ดงอก, การผลิตต้นกล้า , การตัดแต่งทางใบ  และการเก็บเกี่ยว

  ศึกษาดูงานศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฏร์ธานี                       ร่วมถ่ายรูปหมู่ด้วยกัน

เวลา 13.00 – 14.00 น.    ทัศนศึกษาดูงาน   สวนปาล์มน้ำมันบางใบไม้ 87 ม.1  ต.บางใบไม้   อ.เมือง     

จ.สุราษฏร์ธานี  (คุณวโรภาส  คำดา)

                จุดด้อย                                ที่ลุ่มน้ำ  วัชพืชโตมาก และสิ้นเปลืองต้นทุนในการเตรียมพื้นที่ปลูกมากกว่าที่พื้นราบที่เพียงแค่ไถก็ปลูกได้เลย  การเก็บเกี่ยวอาจยุ่งยากในฤดูฝนและน้ำทะเลหนุนสูงมากอาจสูงกว่าคันล้อมหากสร้างไว้ไม่สูงพอ และระยะปลูก 9x9 เมตรอาจมีปัญหาในระยะยาว เพราะปาล์มโตดีกว่าที่สูง

                จุดเด่น             สามารถมีน้ำเพียงพอตลอดปี  เป้าหมาย  ต้องการผลผลิตที่ 8 ตัน/ไร่/ปี

        เจ้าของสวนปาล์ม กำลังให้ความรู้                               สวนปาล์มน้ำมันบางใบไม้

เวลา 15.00 – 17.00 น. ทัศนศึกษาดูงาน  บริษัท นิวไบโอดีเซล จำกัด บ้านห้วยเรียน  ต.เสวียด   อ.ท่าฉาง

                                บริษัท นิวไบโอดีเซล จำกัด  ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่  ในอ.ท่าฉาง  จ.สุราษฏร์ธานี  โดยมีพื้นที่ติดกับกลุ่มพันธมิตร บริษัท กรีนกลอรี่  จำกัด  ผู้ผลิตวัตถุดิบน้ำมันปาล์ม  นับเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการผลิตและกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด มีพื้นที่การดำเนินงาน แบ่งออกเป็น อาคารโรงกลั่นน้ำมัน  และอาคาร ไบโอดีเซล โดยแบ่งการผลิตออกเป็น ส่วนคือน้ำมันปาล์มเพื่อใช้ในการบริโภค และน้ำมันไบโอดีเซล เพื่อใช้ในการอุปโภค

ศึกษาดูงาน บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด  อ.ท่าฉาง จ.สุราษฏร์ธานี

วันที่ 1 พฤษภาคม 2552      เวลา 08.30 – 10.00 น. ให้ความรู้ เรื่อง พันธุ์ปาล์มน้ำมัน การตลาดปาล์มน้ำมัน โดยนายศักดิ์ศิลป์  โชติสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันและยางพารา  กรมส่งเสริมการเกษตร  และในเวลา 10.30 – 12.00 น.    ทดสอบความรู้หลังการฝึกอบรม และเข้าพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่  หลักสูตร วิทยากรปาล์มน้ำมัน และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้าน

                       อำเภอกาญจนดิษฐ์                                                 อำเภอดอนสัก

                                 อำเภอพุนพิน                                                                                อำเภอกาญจนดิษฐ์

หมายเลขบันทึก: 259028เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • ขอบคุณมากค่ะ ก็ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ที่ไปอบรมครั้งนี้จะเก็บรายละเอียดได้อย่างพี่หรือปล่าว แล้วนำวิชาการเหล่านั้นกลับมาใช้ในการทำงานมากน้อยเพียงใด
  • ขอชมเก่งจริงๆ ค่ะ

  • คงจะได้วิทยากร ปาล์ม เก่งๆเต็มพื้นที่เลยนะครับ
  • องค์ความรู้ ต้องไปถึงเกษตรกรนะ

อยากเข้าร่วมอบรมด้วยจัง

พอดีทำสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ

ขอบคุณท่านอาจารย์ธีระพงค์ จันทรนิยม ที่ให้ความรู้ทางวิชาการ ด้านการจัดการสวนปาล์ม แก่เกษตรกร จังหว้ดชลบุรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2553 ณ.บริษัทสุขสมบูรณ์น้ำมันพืชจำกัด เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย และการตรวจเช็คทางใบ กระผมในนามกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

จะได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรต่อไป

สวนปาล์มอาจารย์จเด็จ นพเกตุ

0890055070

ปัจจุบันราคาปาล์มน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นถึง 7 บาท เนื่องจากผลผลิตออกน้อย เนื่องจากได้รอบขาดคอ ไม่พอป้อนให้กับโรงงานน้ำมันพืชทั่วไปที่รับซื้อผลปาล์ม ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นถึง 48 บาทต่อขวด มีผลกระทบต่อผู้บริโภคและร้านอาหารทั่วไป

ภาพร่วมส่วนใหญ่มองว่าเป็นช่วงโอกาสทีทำกำไร ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ความจริงแล้วต้นทุนการผลิต การจัดการสวน ค่าปุ๋ย ค่ายาแมลง ค่าสารขจัดศัตรูพืช ค่าแรงงาน ค่าคนตัดปาล์ม ตลอดจนค่าขนส่งสู่โรงงาน สูงถึง 60-70% พอมีเหลือกำไรบ้างเล็กน้อยเท่านั้น อยากใหน่วยงานของรัฐยืนมือเข้ามาช่วยเหลือค่าใช่จ่าย เช่นเดียวกับยางพารา หรือจัดตั้งองค์กรชาวสวนปาล์มน้ำมันบ้าง และอย่านำน้ำมันพืชคุณภาพต่ำจากต่างประเทศเข้าต้ดราคา เพื่อเกษตรกรไทยลืมตาอ้าปากได้บ้าง

จเด็จ นพเกตุ(กลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี)

โทร 0890055070

        สถานการณ์วิกฤติน้ำมันปาล์ม ผ่านพ้นไปได้ดีจากการแก้ปัญหาของคณะกรรมการน้ำมันปาล์มแห่งชาติ โดยมีการชดเชยแก่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มชนิดบรรจุขวด ลิตรละ 9 บาท จากราคาควบคุม 47 บาท รวมแล้วเป็น 56 บาท แต่ราคาผลผลิตปาล์มสด ปัจจุบัน 6.10-7.00 บาทเท่าน้ัน ขอให้รัฐบาลช่วยปรับราคาให้สูงขึ้นบ้าง เพื่อความสมดุลต่อต้นทุนการผลิตผลปาล์มสด ของเกษตรกกรชาวสวนปาล์ม

       จเด็จ นพเกตุ

         โทร 089-0055-070 

วันนี้16/4/54มีการประกันราคาปาล์มน้ำมันเป็นวันแรก แต่โรงงานในอ.หลังสวนปิดตั้งแต่ 17.00น. ปกติปิดเวลา 20.00น.โดยไม่บอกล่วงหน้า และลานปาล์มก็ปิดหมด และชาวสวนที่ตัดปาล์มแล้วจะนำไปไว้ที่ไหน โดยไม่เสียหาย เพราะพรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์ ซี่งเป็นวันหยุดของโรงงาน ชว่ยแนะนำด้วยคะ

หากลาดปาล์ม แถบชุมพรปิดการรับซื้อผลปาล์มสด เกษตรชาวสวนปาล์มสามารถนำมาส่ง บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม จำกัด

เลขที่ 97หมู่ 4 ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี 20190 โทร 038-442999-(50คู่สาย) เปิดรับซื้อ วันจันทร์-อาทิตย์ แต่ต้องมีต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น ดีกว่าที่จะให้ผลปาล์มเน่าเสียโดยไม่ได้อะไรเลย พอมีกำไรเหลือบ้างเล็กน้อย ทางบริษัทยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันพืชตราทับทิม และตราไชโย

นับว่าเป้นที่พึงให้แก่เกษตรกรชาวปาล์มได้ดี ที่มีปัญหาในขณะนี้

ข้อพิจารณาในการเลือกปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีสำหรับเกษตรรายใหม่ควรปฏิบัติดังนี้

1. เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า (DxP)

2. ซื้อจากแหล่งแปลงเพาะพันธุ์ที่เชือถือได้ โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานทางราชการ ที่รับผิดชอบ

3. เลือกลักษณะต้นพันธุ์สมบูรณ์ แข็งแรงดี สม่ำเสมอ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน

4. มีประวิติสายพันธุ์(Breeding Programe) อย่างเด่นชัด

5. มีข้อมูลเบื้องต้นด้านการให้ผลิตที่ดี ด้านปริมาณและคุณภาพ และตรงกับความต้องการของแหล่งรับซื้อ

6. มีแหล่งผลิต(ที่มา) ของเมล็ดพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่ปาล์มน้ำมันที่เก็บจากโคนต้นมาเพาะพันธุ์

7. ต้นกล้าปาล์มน้ำมันควรมีอายุหรือขนาดเหมาะตามความต้องการของเกษตรกร เช่นถ้าปลูกทันที่ควรมีอายุ 8 - 12 เดือน ถ้าซื้อต้น

กล้าเล็กเพื่อนำไปปลูกดูแลก่อนควรซื้อถุงขนาดเล็กที่มีอายุกล้า 2 - 4 เดือน

การเลือกซื้อปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมีคุณภาพในการปลูกของเกษตรกรรายใหม่ควรปฏิบัติดังนี้

1. ซื้อจากกรมวิชาการเกษตร หรือบริบ้ทที่กรมวิชาการเกษตรรับว่ามีประวัติสายพันธุ์ที่เชือถือได้

2. ซื้อจากผู้จำหน่ายพันธุ์ที่เคยจำหน่ยให้หน่วยงานราชการ หรือจากบริษัทที่ทางราชการรับรอง

3. ซื้อจากผู้จำหน่ายพันธุ์ที่มีพื้นที่ปลูกและโรงงานอยู่ในพื้นที่อย่างมั่นคงถาวร มีหลักประกันยืนยันหลังจากการขาย หรือจุดรับซื้อผล

ผลิตจากเกษตรกรอย่างแน่นอน และต่อเนื่อง

4. ซื้อจากบริษัท หรือผู้ค้าพันธุ์น้ำมัน ที่กระทำเป็นอาชีพโดยมีนักวิชาการควบคุมดูแล การปฏิบัติตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง และ

มีการรับรองประกันคุณภาพปาล์มน้ำมันเป็นลายลักษณ์อักษร

5. กรณีไม่สามารถหาซื้อได้ตามข้อ 1 - 4 ควรสอบถามจากเพื่อนบ้าน หรือเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตแล้ว ว่าซื้อมาจากแหล่งใดแล้ว พิจารณาตามข้อสังเกตในการเลื้อกซื้อปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี

6. เกษตรกรควรขอหนังสือรับรองพันธุ์จากผู้ขายหรือใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐาน

อย่างไรก็ดีเกษตรที่มีความประสงค์จะปลูกปาล์มน้ำมันควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ขณะที่เพาะปลูกควรติดต่อสั่งซื้อพันธุ์ปาล์มไว้ล่วงหน้าด้วยจะได้ทันต่อฤดูการเพาะปลูก

กรดซิลิคอนมีประโยชน์กับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันดังนี้

1. ทำให้ปรับโครงสร้างองค์ประกอบของดิน ได้แก่ความชื้น อากาศ และแร่ธาตุ .ให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

2. ช่วยในการควบคุมการพัฒนาระบบกระจายราก และเสริมสร้างความแข็งแรงของลำต้น ให้ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

ของอุณหภูมิ ลม แสงแดด

3. ช่วยแก้ปัญหาดินเค็ม และความเป็นกรด-ด่าง(pH) ของดินให้เป็นกลาง

4. ช่วยในการตรึงสารพิษ และธาตุโลหะหนัก เช่น อลูมิเนียม สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มไฮโดคาร์บอน

5. ช่วยป้องกันแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน เช่นด้วงมะพร้าว ด้วงกุหลาบ และเพลี้ยต่างๆ โดยมีการตกผลึก เคลือบส่วนต่างๆของลำต้น

ทำให้โครงสร้างของเซลล์แข็งแรง แมลงไม่สามารถกัดกินได้

6. ช่วยป้องกันเชื้อรา และโรคที่เกี่ยวกับปาล์มน้ำทุกชนิด

อาจารย์จเด็จ นพเกตุ วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ โทร .089-0055070

การใช้ทะลายปาล์มน้ำมันและทางใบเก่าคลุมโคนในสวนปาล์มน้ำมัน

- ดิน (Soil) ที่เหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมัน ตามธรรมชาติเกิดจากการทำปฏิกริยาของบรรยากาศและระบบทางชีววิทยา โดยการสลายตัวของแร่ธาตุต่างๆ ผสมกับอิทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อยผุพังตามกาลเวลา โดยได้รับอิทธิพลจากอุณหภูมิ ความชื้น ลม แสงแดด กระแสน้ำ และการปรับปรุงพัฒนาดินของเกษตรกร

ส่วนประกอบของดินดังนี้

1. แร่ธาตุอาหาร มีประมาณ 45%

2. อินทรีย์วัตถุ มีประมาณ 5%

3. อากาศ มีประมาณ 25%

4. น้ำและความชื้น มีประมาณ 25%

ดังนั้นเราควรหาวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่ายราคาถูกและประหยัดโดยใช้ทลายปาล์มและทางใบเก่า มาช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์

ให้แก่ดิน โดยปราศจากสารพิษ สารเคมีตกค้างในดิน ทลายปาล์มและทางใบ ที่ย่อยสลายจะช่วยเพิ่มธาตุอาหาร โปรแตสเซียม

คลอไรด์(0-0-60) ช่วยการเร่งลูก และ แอมโมเนียซัลเฟต (21-0-0) ช่วยเร่งความเติบโตของลำต้น ปรับสภาพโครงสร้างของดิน

ให้ร่วนซุย เป็นที่อยู่อาศัยสัตว์ในดิน เช่นกิ้งกือ ใส้เดือน ที่ช่วยในการพรวนดิน รักษาความชื้นอุณหภูมิของผิวดิน ลดการพัง

ทลายของดิน ปรับความเป็นกรด-ด่าง(pH) ให้ดีขึ้น สร้างความสมดุลทางระบบนิเวศของสวนปาล์มน้ำมัน ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ทุกๆปี

ปริมาณน้ำฝนมี่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน

สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ควรมีปริมาณการกระจายของฝน ตั้งแต่ 1,800 - 2,000 มิลลิเมตร/ปี ไม่มีช่วงแล้งเกิน 2 เดือน เพราะมีผลต่อกระบวนการพัฒนาของตาดอก และการผสมเกสร ทำให้เกิดพศผู้ในอัตราสูง ผลิตทลายลดลง อาจต้องมีการให้น้ำช่วย แต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนด้วย โดยการติดตั้งระบบน้ำ ควรพิจารดั้งนี้

- 1.พื้นที่ที่ขนาดใหญ่ ที่แหล่งน้ำเพียงพอ ควรติดตั้งระบบน้ำหยด (Drip Irrigation) หรือทำระบยกร่องสวนเพื่อดูดน้ำไปใช้ได้ดี

- 2.พื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมากเกินพอควรติดตั้งระบบน้ำแบบโปรยน้ำ หรือฝนเทียม (Mini Sprinker)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท