รัฐลงทุนคุ้มไหม..กับปัญหานิสัยรักการอ่าน


เห็นตัวเลขแล้วก็ยังคงรู้สึกเช่นเดิม..นั่นคือจะไม่เสียดายเงินเลย หากบังเกิดความคุ้มค่า

 

 

 

รัฐลงทุนคุ้มไหม

 

การลงทุนของรัฐ..มากมายมหาศาล

สำหรับเรื่องการเข้าถึง การอ่าน” ของเด็กไทย

หลังจากการร่วมโครงการ PISA  และทราบผลการประเมินความสามารถของเด็กไทย

ที่อยู่ในกลุ่มต่ำและมีแนวโน้มคะแนนจะลดลงอีก

 

ในฐานะที่เป็นคนไทยที่มีหัวใจรักชาติ  รักการอ่าน  อยากเห็นเด็กไทยมีหัวใจรักการอ่าน

จะไม่รู้สึกเสียดายการลงทุนเลย กับเงินมากมายมหาศาลที่รัฐต้องจ่าย

หากบังเกิดความคุ้มค่าจริง

นั่นคือ....

เด็กเข้าถึงการอ่าน  รู้เรื่องการอ่าน

 

รัฐลงทุนไปเท่าไหร่  (ลองประมาณการคร่าวๆ)

1. กระทรวงศึกษาธิการ ใช้เวลา 3 ปีในการสร้างเครื่องมือประเมินการอ่าน ต้องจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าตอบแทน อีกจิปาถะ ในการดำเนินการของคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ  น่าจะไม่ต่ำกว่า 7 หลัก

 

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ต้องดำเนินการประเมินเด็กอายุ 15 ปี ทั่วประเทศ จึงต้องเชิญผู้รับผิดชอบได้แก่ศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากทุกเขตพื้นที่ทั่วประเทศ 185 เขต  และฝ่ายบริหารของเขตพื้นที่ ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่ละ 1 คน รวม 185 คน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นมรรคเป็นผลยิ่งขึ้น (กล่าวคือ ผู้บริหาร+ผู้ปฏิบัติ = งานเดินเร็ว)  ที่โรงแรมท็อปแลนด์  จ.พิษณุโลก ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2552   ตัวเลขที่รัฐต้องจ่ายเฉพาะกิจกรรมครั้งนี้น่าจะไม่ต่ำกว่า 7 หลักอีกเช่นกัน น่าจะค่อนไปทาง 8 หลักแล้ว เฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยง-ค่าพาหนะของผู้ร่วมประชุม ระดับ 7,8,9 ทั้งนั้น และก็ตั้งแต่ยะลาถึงแม่สาย ..ได้ยินผู้รับผิดชอบโครงการท่านบอกเช่นกันว่างบประมาณบานปลาย..

 

3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ(สพท.) รวม 185 เขตต้องดำเนินการประเมินการอ่าน สำหรับเด็กอายุ 15 ปี คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเดือนกรกฎาคม 2552 ที่จะถึงนี้ สพฐ.ให้แต่ละเขตพื้นที่ลองประมาณการค่าใช้จ่ายในการสอบ..พร้อมนำเสนอ..พอเห็นตัวเลขแล้วรู้สึกหนาวแทนรัฐบาลอีกแล้ว..เชียงใหม่เขต 1 นักเรียนชั้น ม.3 รวมประมาณ 8,000 คน คิดแบบเขียมๆ 200,000 บาท..ลองฟังเพื่อนๆนำเสนอนะคะ  ..ของ กทม.เขต 1 ประมาณ 900,000 บาท ก็นักเรียนเขาตั้ง 16,000 คนแน่ะ..เขาก็บอกเขียมๆแล้วเช่นกัน คิดค่าข้อสอบฉบับละ 10 บาท (ข้อสอบทั้งหมดมี 4 ชุด) ..ที่แน่ๆ ก็คือ สพฐ.ต้องคิดหนักมากแล้วในสัปดาห์หน้า เพื่อจัดสรรงบประมาณให้แต่ละเขตฯ  และก็ต้องทำอย่างรวดเร็วด้วยเพื่อให้ทันในการเตรียมการประเมิน ..กิจกรรมนี้รัฐต้องจ่ายประมาณไม่น่าจะต่ำกว่า 8 หลัก..

 

4.การสรุปผลในระดับชาติ และเผยแพร่ผลการประเมินไปทั่วประเทศ  หลังการประเมินเสร็จสิ้นแล้ว  ตัวเลขก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 6 หลักสำหรับกิจกรรมนี้..

 

 

เห็นตัวเลขแล้วก็ยังคงรู้สึกเช่นเดิม 

นั่นคือจะไม่เสียดายเงินเลย หากบังเกิดความคุ้มค่า

 

ชาติต้องนำข้อมูลผลการประเมินมาวางแผนอย่างรวดเร็ว 

ซึ่งจริงๆแล้วขณะนี้ในสถานศึกษาทุกแห่งก็มีการ “ขับเคลื่อนการคิด-การอ่าน” กันอยู่แล้ว  

เพียงแต่แรงในการขับเคลื่อนอาจแตกต่างกันบ้าง  ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ (หากเจาะประเด็นนี้ก็คงยาวอีก)

 

 

 

  

เด็กเข้าถึงการอ่านหรือรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) คืออย่างไร

         

การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) มีความหมายมากกว่าการอ่านหนังสือและเข้าใจความหมายของคำ  แต่รวมไปถึงความสามารถในการติดตามความหมาย  การคิดย้อนกลับและสะท้อนว่าเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการเขียน  เข้าใจว่าเขียนสำหรับให้ใครอ่าน (หรือผู้เขียนต้องการส่งข่าวสารให้ใคร)  ให้รู้ว่าผู้เขียนใช้ภาษาอย่างไรในการนำข่าวสารไปสู่ผู้อ่านและอิทธิพลที่มีต่อผู้อ่าน และรวมถึงความสามารถในการตีความจากโครงสร้างของเรื่องหรือจากลักษณะเด่นของการเขียน  การรู้เรื่องการอ่านนี้จะแสดงว่ามีความรู้และศักยภาพที่จะมีส่วนในการสร้างสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

จากบทสรุปของ PISA  บอกว่า..

เด็กไทยไม่เคยชินกับข้อสอบ  2 ประการ คือ

1.การเขียนตอบหรือให้คำอธิบายยาวๆ

2.การที่ต้องตีความ  คิด วิเคราะห์และสะท้อนเอาความคิดหรือปฏิกิริยาของตนที่ตอบสนองต่อข้อความที่ได้อ่าน  หรือข้อมูลที่ให้มา 

 

สิ่งเหล่านี้ปรากฏในการสอบของประเทศไทยน้อยมาก  นี่คือความจริงที่ต้องยอมรับอย่างแน่นอน  แต่จากการได้ร่วมพิจารณาแบบประเมินความสามารถของนักเรียนด้านการอ่านในวันที่ 29-30 เมษายน ที่ผ่านมา  ผู้เขียนเห็นว่าแบบประเมินการอ่านของไทยได้พัฒนาขึ้นแล้ว  ก็ค่อนข้างรู้สึกหนักใจแทนเด็กอยู่ เพราะเด็กไม่ชินจริงๆ กับข้อสอบแบบอัตนัย

 

ทุกฝ่ายต้องอดทนอย่างยิ่งยวดทีเดียวในการขับเคลื่อน..

เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

เพื่อให้เด็กเข้าถึงความรู้

เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

 

 

 

สวัสดีค่ะ

..ขอบคุณภาพสวยๆจากบ้านน้องพิมค่ะ(สาวน้อยใจดี)..บ้านแบ่งปันฝันงาม..

เพื่อนๆต้องการอ่านเรื่องราวอีกเชิญค่ะ..

http://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/258576 ลุกฮือทั้งประเทศ อ่าน อ่าน อ่าน กับ PISA

http://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/258704 ตัวอย่างข้อสอบวัดการอ่านของ PISA

http://www.ipst.ac.th/pisa/index.html

หมายเลขบันทึก: 258937เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาชม

เป็นเรื่องน่าคิดนะครับ

  • สวัสดีค่ะพี่ศน.อ้วน
  • เอากาแฟมาฝากค่ะ
  • และมาอ่านการ

เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

P

 

 

ขอบคุณอาจารย์ยูมิมากค่ะที่แวะมาชมและบอกว่าน่าคิด

น่าคิดจริงๆค่ะ..คิดแล้วต้องรีบเขียนโครงการรองรับค่ะ

ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไปก็ต้องเริ่มแล้วค่ะ..

ต้องคิด..ต้องทำค่ะ มากมายหลายอย่าง

แต่ก็ยังคิดดังเดิมค่ะ คือ ไม่เสียดายเงินที่รัฐต้องลงทุน หากเกิดความคุ้มค่าจริง

P

 

สวัสดีค่ะ..น้องพิม

ขอบคุณมากค่ะ..สาวน้อยสำหรับกาแฟรักกาแฟใจ..

น่าทานมาก  ของโปรดเชียวค่ะ

(หน้าตาแปลกๆน่าลองจัง..)

เป็นอย่างไรบ้างคะ..เครียดตามพี่อ้วนไหม อิๆ

สวัสดีค่ะ ยินดีมากๆค่ะ

ได้รู้จักคนเชียงใหม่

เห็นตัวเลขแล้วตกใจค่ะ การอ่านของเด็กไทยน้อยมากๆ

ทุกคนต้องช่วยกัน...

 ขอแลกเปลี่ยนนะคะ ดิฉันปลูกฝังการรักการอ่านให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ อ่านนิทาน

พาไปห้องสมุด...

ซื้อหนังสือให้...

และพ่อกับแม่นั่นแหละค่ะที่ต้องเป็นนักอ่าน...

 หนังสือในบ้านต้องมีให้หยิบจับง่าย...ในห้องน้ำ...

ตอนนี้ไม่ห่วงแล้วค่ะ ...ได้ผลค่ะ

 ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ ศน. อ้วน

บันทึกนี้เขียนเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ หนูรบกวนพี่แก้ไขบันทึก และเพิ่มคำสำคัญ Digital Divide ในบันทึกนิดนึงนะคะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

แรกฟังคนอื่นเว้า      เอาความ
สองอ่านบันทึกตาม  แต่งไว้
สามพูดสื่อนิยาม      ความต่อ
เขียนสี่จารความได้   จุ่งให้ฝึกฝน

น่าคิดว่า ... ไม่คุ้มใด ๆ ทั้งสิ้น ครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ท่านอาจารย์ :)

สวัสดีค่ะ ศน.อ้วน คนเก่ง

  • จะพยายามอย่างสุดความพยายามในการช่วยให้เด็กรักการอ่านค่ะ
  • ปัจจัยมีมากกว่าที่เราพบ ถ้าทั้งระบบก็เป็นงานใหญ่เหมือนกันนะคะ

ด้วยรักค่ะ...พี่เหมียว

สวัสดีครับ ศน.อ้วน คนเก่งของผมครับ

กระผมมีโอกาสเข้าท่องเว็ปไซต์ เห็นโฉมหน้าอันอิ่มเอิบของศน.รู้สึกว่า ท่านจะอารมณ์สุนทรีย์มาก ๆ กับการทำงานนะครับ

ใกล้แล้วครับกับงานวิจัย ป.โท ที่แสนทรหดอดสูของผม ใกล้ถึงเวลาที่ ศน.อ้วน จะได้ลงเขียงหมูแล้วนะครับ กันยายน นี้ ผมเตรียมให้เชือดแล้วครับ (ที่ห้องจิตวิทยาแนะแนว อาคารวันครู คณะศึกษาศาสตร์ )ตอนนี้กำลังจะทดลองเครื่องมือครับ ถึงเวลานั้นผมจะเรียนท่านให้ทราบ ด้วยหนังสือของมหาวิทยาลัยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท