๒๗.สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (๕) : กิจกรรมกลุ่มย่อยที่ ( ๓ )


การสัมมนากลุ่มย่อยที่ ๓ การรายงานประจำงวด

การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำงวด เป็นแบบรายงานผลการปฏิบัติงานที่จัดทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผน/รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณตามระบบงบประมาณใหม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลการดำเนินงานตามโครงการผลผลิตตามระบบงบประมาณใหม่

ผลการปฏิบัติงานที่จะต้องรายงาน แยกเป็นกลุ่มงานแต่ละกลุ่มได้ จำนวน ๔ กลุ่มงาน คือ

 

  1. กลุ่มงานคดี    แยกรายงานตามอำนาจหน้าที่ของแต่ละสำนักงานได้แก่ รายงายผลการดำเนินคดีที่เสร็จสิ้นโดยไม่ต้องดำเนินคดีในชั้นศาล,รายงานผลการปฏิบัติงานการดำเนินคดีในศาล/ทุกศาล(รวมทุกประเภท),รายงานการร่วมสอบปากคำเด็ก/เยาวชนและชันสูตรพลิกศพ,รายงานผลการดำเนินคดีแพ่ง/คดีแรงงาน/คดีปกครอง/คดีภาษีอากร คดีชี้ขาดความเห็นแย้ง งานยุติการดำเนินคดีแพ่ง และอนุญาโตตุลาการ

     2.กลุ่มงานให้คำปรึกษาและงานความร่วมมือทางอาญา  รายงานผลการปฏิบัติงานงานให้คำปรึกษา งานความร่วมมือกับต่างประเทศ  ได้แก่ งานที่ปรึกษาหน่วยงานของรัฐ งานให้ความเห็นทางกฎหมาย งานตรวจร่างสัญญา  งานคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน งานสอบสวนคดีอาญาซึ่งเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร และงานความร่วมมือกับต่างประเทศ

      3.   กลุ่มงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ   รายงานผลการปฏิบัติงานการให้บริการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน  การให้บริการความรู้ทางกฎหมาย การฝึกอบรมบุคคลที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในระดับท้องถิ่น

      4.  กลุ่มงานสนับสนุน  รายงานผลการปฏิบัติงานด้านการจัดอบรม/สัมมนา ส่งข้าราชการไปศึกษา จัดประชุมทางวิชาการ การจัดกรอบอัตรากำลัง การตั้งกรรมการสอบวินัย การรับเรื่องเรียน เป็นต้น

 

  

 กลุ่มที่ ๓ ได้ร่วมกันเลือก นายพิทยา สันตะโภค  หัวหน้าฝ่ายกิจการทั่วไป สอจ.บุรีรัมย์ เป็นประธาน นางสาวอัชรี ขาวขำ  นิติกรชำนาญการ สอจ.สีคิ้ว (ปากช่อง) เป็นผูประสานงาน และ นางสาวสมจิตร พรภิรมย์สวัสดิ์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ  สอจ. นางรอง  เป็นเลขา

ผลการสัมมนาของกลุ่ม ได้รายงานปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขต่อที่สัมมนา โดยสรปุได้ดังนี้

 

ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำงวด

ปัญหาอุปสรรค

๑.    การส่งรายงานช้า

๑.การเก็บไม่ถูกต้อง ไม่เป็นแนวทาง  เดียวกัน  เนื่องจากขาดคู่มือ

๒. รายงานประจำเดือนและการทำ บ.๖  ยังไม่เสร็จ  ทำให้ไม่สามารถทำ รายงานประจำงวดได้ทันตามกำหนด

๓. ความไม่เข้าใจในการเก็บรายงาน

๔. เจ้าหน้าที่รับรายงานในแต่ละกลุ่มงาน รวบรวมให้เจ้าหน้าที่ที่รับ  มอบหมายในการจัดทำรายงาน  ผลการปฏิบัติงานประจำงวดล่าช้า

๕. ครุภัณฑ์ไม่เพียงพอ เช่น คอมพิวเตอร์

๒. แนวทางการแก้ไข

            ๑. จัดทำคู่มือ วิธีการจัดทำรายงานให้เป็นแนวทางเดียวกัน

            ๒. วางแผนเร่งรัด และประสานงานกับผู้มีอำนาจสั่งการและรับผิดชอบ  ในการจัดรายงานในแต่ละกลุ่มงานคดี

            ๓. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ในการจัดทำรายงานอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

            ๔. มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

ข้อเสนอแนะ

๑.         จัดอบรมเจ้าหน้าที่ในการทำรายงานอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

๒.       สถานที่จัดฝึกอบรมควรจัดนอกสถานที่

๓.       ขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มให้เพียงพอทุกสำนักงาน

หลังจากการสัมมนาแล้ว กลุ่มที่ 3 ได้มอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มไปดำเนินการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรายงานประจำงวด เพื่อเป็นคลังความรู้ประจำสำนักงานต่อไป

 

 

    กลุ่มที่ ๓ ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมสมองเพื่อเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 258930เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาชม

มีสาระน่าสนใจดีจังนะนี่

  • สวัสดีอาจารย์ umi
  • ขอบคุณที่ติดตามครับ

สวัสดีค่ะ

  • กิจกรรมน่าสนใจดีนะคะ
  • มาเป็นกำลังใจและจะติดตามอ่านต่อไปค่ะ
  • สวัสดีครูคิม
  • ช่วงนี้เห็นมีงานมาก ห่วงสุขภาพบ้าง
  • ขอบคุณ

เป็นการดำเนินการเพื่อให้บุคลากรในพื้นที่ได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้ดำเนินการได้เป็นแนวทางเดียวกัน สุดยอดค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยิ่ยม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท