สอนนักศึกษาแพทย์: จิตวิญญาณของคนไข้รายนี้คืออะไร


ผมตั้งคำถามนี้กับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๕  ที่กำลังเรียนรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน และมีชั่วโมงเกี่ยวการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายแทรกอยู่หลายชั่วโมงตามหลักสูตร

นักศึกษานำเสนอกรณีศึกษาคนไข้คนหนึ่ง

คนไข้ผู้หญิงวัยรุ่นอายุประมาณ ๒๕​ ปี เคยวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูกได้รับการรักษาทางรังสีแล้วหายขาดเป็นเวลา ๗ ปี จนกระทั่งกลับไปแต่งงานและตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์พบก้อนที่ต้นคอและวินิจฉัยเป็นมะเร็งชนิดที่สองต่างจากครั้งแรก คราวนี้เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่ออ่อนของลำคอและลุกลามเข้ากระดูกสันหลัง มีอาการปวดมาก เป็นอัมพาตทั้งแขนและขาเมื่อโรคเป็นมากขึ้น คนไข้ปฏิเสธการรักษาครั้งที่สองด้วยการผ่าตัด ยาเคมีและฉายแสง แต่ขอให้รักษาตามอาการเท่านั้น

ความยากของคนไข้รายนี้ คือ จะให้การรักษาตามอาการอย่างไรเพื่อให้กระทบบุตรในครรภ์น้อยที่สุด เพราะยาแทบจะทุกตัวผ่านรกไปถึงเด็กได้ ทำให้ทีมแพทย์และพยาบาลต้องใช้การดูแลด้านอื่นที่ไม่ใช้ยาเข้ามาช่วยเหลือจนกระทั่งสามารถทำคลอดลูกสาวของคนไข้ได้สำเร็จ ก่อนที่ตัวคนไข้จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน

ผมตั้งคำถามนักศึกษาแพทย์ทั้งกลุ่ม โดยให้ลองสมมุติว่าตนเองเป็นคนไข้ ถ้าเป็นนักศึกษาผู้หญิง หรือเป็นสามีคนไข้ ถ้าเป็นนักศึกษาผู้ชาย เราจะตัดสินใจรับการรักษาหรือไม่ เพราะอะไร

คนที่ตอบทันทีจะตอบว่า ไม่รับการรักษาครั้งที่สองเหมือนกัน ขอแต่การรักษาตามอาการ เหตุผลก็คือ เพราะอยากได้ลูกคนแรกคนนี้มาก ผมพยายามถามว่า มีใครที่ตัดสินใจเลือกรักษาตัวก่อนแล้วค่อยมีลูกใหม่มั๊ย นักศึกษาตอบว่า ขึ้นกับการพยากรณ์โรคว่าดีหรือไม่ ซึ่งเขาประเมินกันทั้งกลุ่มแล้วบอกว่าคงไม่ดี

ผมจึงถามคำถามข้างบน จิตวิญญาณของคนไข้รายนี้คืออะไร

นักศึกษาแทบจะทั้งกลุ่มตอบทันทีพร้อมกัน ลูก ครับ นั่นคือ ความเป็นแม่
ไม่ใช่ การได้นั่งสมาธิ การอ่านหนังสือธรรมะเพราะเป็นคนสนใจเรื่องพุทธศาสนาอยู่บ้าง ตามที่นักศึกษากลุ่มนี้นำเสนอผลการวิเคราะห์ของเขาเมื่อตอนต้นชั่วโมง

ผมเน้นให้นักศึกษารู้ว่า จิตวิญญาณไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องศาสนา อย่างตัวอย่างคนไข้คนนี้ และเราจะสามารถช่วยเหลือด้านจิตวิญญาณเขาได้ ด้วยการทำให้ความเป็นแม่ของคนไข้สมบูรณ์ นั่นคือ การให้กำเนิดลูกอันเป็นที่รักและเฝ้ารอของครอบครัว และช่วยดำเนินการให้เขามั่นใจได้ว่า จะมีคนเลี้ยงดูลูกคนนี้อย่างดี แม้เขาจะจากไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 258713เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)
  • เคยพบแพทย์ พยาบาลในวง Humanized Health Care
  • เล่าเรื่องแบบนี้
  • ปรากฎว่า คนไข้เลือกลูก ไม่ยอมฉายรังสีเหมือนกันครับ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องดีๆๆครับ

P สวัสดีครับอาจารย์

  • เพิ่งเข้าไปแซวอาจารย์ที่บันทึกของน้องพอลล่า สงสัยจะรู้ตัวนะครับว่าใครกล่าวถึง..ลับหลัง
  • ถ้าเป็นอาจารย์จะเลือกใครครับ

เป็นตัวอย่าง caseที่ดีมากๆครับอาจารย์

การเรียนรู้จากคำถามและเรื่องเล่าช่วยให้นักศึกษาเข้าใจใน spiritual health เพิ่มขึ้น แทนที่จะจำ definition หรือจากตัวอย่างเท่านั้น

P

  • ขอบคุณครับ
  • เห็นด้วยครับ ถ้าจะพูดเรื่องนิยาม คงเถึยงกันไม่จบทั้งภาคภาษาไทยและต่างประเทศ 
  • ผมคงถามต่อ เถียงกันจนคอเป็นเอ็น แล้วไง ??

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณที่ไปอ่านและแสดงความคิดเห็นให้กับบันทึกของครูคิม
  • เรื่องจิตวิญญาณ...ในมนุษย์มีตดตัวตั้งแต่เกิด  และสามารถพัฒนาได้นะคะ
  • กำลังอ่านและติดตามเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ

 

แต่แรกคนไข้รายนี้มีสำนึกต้องการลูก

เมื่อต้องการลูก ก็ต้องให้ลูกมีสุขภาพดีที่สุด

ความต้องการลูกกลายเป็นความต้องการชีวิตที่สืบแทนหรือตัวแทนตนเองในยามที่ตนเองจากโลกนี้ไป

ภาระหน้าที่ก็คือการสืบต่อชีวิตเป็นปรากฎการณ์ธรรมของสิ่งมีชีวิตคะ

สาธุ...

น้ำใจของแม่...ยิ่งใหญ่ที่สุด

อ่านบันทึกนี้แล้วน้ำตาไหล...

เคยมาอบรมที่ มอ.และได้นำกลับไปใช้...กับผู้ป่วยเด็กมะเร็ง

มะเร็งระยะสุดท้ายทุกข์ทรมานจริงๆ

อาการปวดที่ไม่มีเพดาน...ปวดจนตัวสั่นริกๆ...

อ.ศรีเวียงเคยบอกว่า...ถ้าปวดมากๆถือว่าโรค progress

ต้องเพิ่มยา...ไม่ต้องกลัวapnea...

สงสารแม่ที่มีความอดทนเป็นเลิศ...

ไม่หลับไม่นอนมากี่วันแล้ว...

คงจะได้มาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์บ่อยๆ

เพราะดูแลคนไข้มะเร็งเด็ก...เห็นการสูญเสีย...

ใบไม้ร่วงตามๆกัน...เศร้านะ

กำลังใจดีจากขอนแก่นค่ะ

 

ประทับใจมากค่ะอาจารย์บทเรียนรู้นี้ หนูเคยไปฟังอาจารยืโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณไว้ตอนหนึ่งว่า เวลาที่เราทำคลอดให้กับผู้หญิงคนหนึ่งนอกจากเราคลอดเด็ก ทำให้เด็กได้ลืมตามาดูโลกเเล้ว เรายังได้ทำคลอดจิตวิญญาณของความเป็นเเม่ด้วยค่ะ มาเรียนอาจารย์ว่าเสียดายจังที่ไม่ได้ไปเที่ยวหาดใหญ่...เเต่มาขอนเเก่นก็ยินดีต้อนรับค่ะ จะรอนะคะแต่คงมีโอกาสที่หนูได้ไปบุกหาดใหญ่นะคะ

P

  • สวัสดีครับ
  • น่าสนใจนะครับ ว่า จิตวิญญาณมีมาแต่เกิด
  • ผมเคยคิดแต่ว่า จิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ต้องสะสมเป็น ตัวตน ของตนเอง เลยต้องใช้เวลาพัฒนาระยะหนึ่ง

 

P

  • สวัสดีครับคุณครู
  • วันหยุดแต่ผมอยู่เวร เอ๊ย อยู่บุญ ครับ

P

  • สวัสดีครับคุณครู
  • ผมทราบมาว่า สามีของคนไข้เคยพาลูกสาวมาโรงพยาบาลอีกครั้ง หน้าตาของลูกเหมือนคุณแม่ที่เสียไปมากครับ

P

  • สวัสดีครับ
  • ผมเองไม่ค่อยมีประสบการณ์คนไข้เด็ก
  • คงได้แลกเปลี่ยนกันนะครับ

P

  • สวัสดีครับ
  • ชอบคำพูดของพี่โกมาตรมากเหมือนกันครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

พอลล่าเอาเรื่องนี้ไปเล่าอยู่บ่อยๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

  • น้องพอลล่าเอาไปเล่าให้ใครฟังครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ

บางครั้งคิดว่าตัวเองเห็แก่ตัวที่เดินออกจากวิชาชีพนี้ แต่บางครั้งก็ดีใจค่ะ ถ้าถามเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นบอกได้คำเดียวค่ะว่าเจ็บปวด

ประมาณปลายปีที่แล้ว พี่สาวที่รักคนหนึ่งจากไปด้วยโรคมะเร็งเต้านม คำขอของคนไข้ในช่วงสุดท้ายของชีวิตคือไม่รับการรักษาใดๆ เพิ่มนอกจากมอร์ฟีนที่ต้องใช้เครื่องให้ตลอดเวลา โดยที่คนไข้เป็นคนกดเพื่อรับยาเอง (สี่เรียกชื่อไม่ถูกค่ะ)

บอกได้แต่ว่าพวกเราไม่รู้ว่าพี่เจ็บไหม ปวดอย่างไรเพราะเค้าไม่เคยบอก สุดท้ายเค้าก็จากไปอย่างสงบค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

น้องสี่ครับ

  • ประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกันนะครับ
  • ของผมก็มีทั้ง เจ็บปวด และ งดงาม ครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ความยากของการเข้าถึงจิตวิญญานของผู้คนในความเห็นของผมคือ การที่ผู้คนมองเฉพาะบนหลักการของตัวเองโดยไม่เปิดใจรับฟังครับ

ผมคิดว่า การยกตัวอย่างให้คิดในมุมต่างเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดีครับ

ถ้าผมเป็นญาติ case นี้คงลำบากใจมาก รักทั้งผู้ป่วย+ลูกคือความหวัง/ตัวแทนชีวิตใหม่ แต่คงจะเน้นที่ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีสุขทุกวันจนวันสุดท้าย

สวัสดีครับอาจารย์ ความยากของการเข้าถึงจิตวิญญานของผู้คนในความเห็นของผมคือ การที่ผู้คนมองเฉพาะบนหลักการของตัวเองโดยไม่เปิดใจรับฟังครับ

ผมคิดว่า การยกตัวอย่างให้คิดในมุมต่างเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดีครับ

ถ้าผมเป็นญาติ case นี้คงลำบากใจมาก รักทั้งผู้ป่วย+ลูกคือความหวัง/ตัวแทนชีวิตใหม่ แต่คงจะเน้นที่ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยอยู่อย่างมีสุขทุกวันจนวันสุดท้าย

อาจารย์คะขอบพระคุณสำหรับคำนี้ด้วยค่ะ HOPE หนูจะนำไปใช้ค่ะ

P

  • เห็นด้วยครับ หมอโรจน์ ผู้คนมองเฉพาะบนหลักการของตัวเองโดยไม่เปิดใจรับฟัง
  • ผมเองก็ยังเป็นอยู่ มันเป็นความเคยชินของเรานะครับ ความคิดของเราจะแว๊บไปที่..ชุดความรู้เดิม..ที่เรามีอยู่และถูกเรียกใช้บ่อยๆ ก่อนเสมอ จนกว่าจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาปรับเปลี่ยน
  • ก็ได้แต่เตือนให้ ตามทันตัวเอง นะครับ
  • ขอบคุณครับ

P

  • เราประเมิน ภาวะทางจิตวิญญาณ เพื่อให้ความช่วยเหลือ
  • ถ้าเราประเมิน รู้ แต่กลับอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร  อย่ารบกวนคนไข้เขาเปล่าๆครับ เสียเวลาตัวเองด้วย
  • ตามมาอ่านเรื่องเศร้าเร้าใจ
  • ไม่มีใครเลือกรักษาแม่
  • เพราะรู้ prognosis แม่แล้วหรือคะ ??
  • น่าเห็นใจจัง

อ่านแล้วสะท้อนถึงเรื่องจิตวิญญาณได้ดีครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

P

  • ผมคิดว่าน่าจะมีคนเลือกแม่ แต่อาจจะไม่กล้าพูด ตรงนี้ล่ะครับ ที่ผมยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ เราสามารถ เปิดใจ ได้มากกว่านี้
  • ครับ การพยากรณ์โรคไม่ดีนัก แต่ต้องถือเป็นโรคที่ยังไม่ได้เคยรักษา เพราะโรคเก่าเดิมหายไปแล้ว

P

  • ผมกำลังนึกถึง ประสบการณ์ที่พบเห็น จิตวิญญาณ ความเป็นพ่อ อยู่ ยังนึกไม่ออกครับ
  • มาเรียนรู้กับอาจารย์ค่ะ
  • ใช่ค่ะจิวิญญาณคนส่วนใหญ่อาจจะ มุ่งเน้นไปที่ศาสนา
  • เพราะจิตวิญญาณคืออะไรก็ได้ของคนๆนั้น  ความรัก ความหวัง ความเศร้าโศกเสียใจ ความผิดหวัง ความฝัน
  • เกศคิดว่าจิตวิญญาณของผู้หญิงท่านนี้คือ

"ความฝันที่จะให้กำเนิดลูก และลูกอยู่รอดปลอดภัย" เพราะลูกอยู่เหนือความตายและความเจ็บปวดของแม่ที่เธอกำลังเผชิญอย่างแสนสาหัส

  • ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

P

  • น้อเกศครับ
  • ผมไม่ค่อยมีประสบการณ์คนไข้เด็ก
  • อยากให้ช่วยยกตัวอย่าง จิตวิญญาณ ของคนไข้เด็กเล็กๆ  ด้วยครับ
  • ผมมองว่า มันเป็นเรื่องที่ต้องสะสมประสบการณ์ ความเชื่อ เป็น ตัวตน
  • เลยสงสัยว่า ในเด็กเล็กๆ จะมีหรือไม่ อย่างไร
  • ไปเจอเม้นคุณหมอที่บันทึกน้องพอลล่า
  • ก็กลับมาฉุกคิดว่า
  • เวลาเราทุ่มเทเวลาให้ผู้รับบริการ
  • ไม่รู้ผู้รับบริการคิดยังไงบ้างนะ
  • กลับมาที่บันทึกนี้
  • พี่เขี้ยวว่า...
  • ถ้าใครกล้าที่จะคิดนอกกรอบ
  • บอกว่าเลือกแม่
  • เราคงได้รับข้อคิดเห็นอะไรที่ดีๆบ้าง
  • อย่างน้อยก็เอาไว้เป็นข้อเตือนใจ
  • ในการให้การรักษาคนอื่นๆต่อไปเนาะ
  • หลับฝันดีนะคะ

ทักทายก่อนนอน              ทักทายก่อนนอน

หนูคิดว่าจิตวิญญาณคือขันธ์ห้าค่ะ

มีทั้ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

P

  • โห พี่เขี้ยวไมหลับไม่นอนเลยนะ รักษาสุขภาพบ้างนะครับ
  • ผมก็อยากให้มีคนเห็นที่แตกต่าง 
  • ครู วิทยากร กระบวนกร ควรมีความสามารถพอที่จะดึงความเห็นที่แตกต่างนี้ออกมาได้
  • ผมคงต้องฝึกอีกระยะ

น้อง sao ครับ

  • น่าสนใจครับ เข้าใจรำไรๆ
  • อยากให้อธิบายเพิ่มหน่อยนะครับ

ยกตัวอย่างนะคะเช่น เรานั่งรถผ่านที่ที่หนึ่งเป็นที่ที่เราเคยไปเที่ยวก็ประทับใจถ่ายรูปเมื่อนั่งรถผ่านมาอีกก็นึกถึงเหตุการณ์ที่ได้มาเที่ยวชม แต่นี่ยังไช่จิตวิญญาณนะคะ

แต่ถ้าในที่ที่เดิมนั้น เรานั่งรถผ่านและเป็นที่ที่เราสัญญาไว้เป็นมั่นเป็นเหมาะกับคนที่เรารักด้วยบรรยากาศที่แสนสวยประทับใจมาก เราจับมือกันเป็นครั้งแรกสัญญากันเป็นมั่นเจะรักกันจนตราบฟ้าดินสลาย แล้วก็จูบกันเหมือนละครตอนจบทั่วไป

แต่แล้วก็มีอันต้องเลิกรากันไป ช่างเสียใจและทุกๆครั้งแทบจะไม่อยากผ่านไปในที่ที่ตรงนี้อีกเลย

พอได้ไหมคะอาจารย์ เป็นเหตการณ์ที่ทำให้เราเกิดขันธ์เกิดการยึดมั่นถือมั่น

P

  • อ้าว นึกว่าใคร
  • ผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ
  • จิตวิญญาณ ของผม มักคิดถึงอะไรที่เป็น ตัวตนลึกๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ ค่อนข้างต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องสะสม เป็น กมลสันดาน.. แต่อะไรที่ยังวูบวาบขึ้นๆลงๆตามอารมณ์ ผมยังคิดว่าเป็นแค่ จิต เฉยๆครับ
  • ผมเคยได้ยินว่า ความามจริงแนวพุทธ จิต กับ จิตวิญญาณ มันไม่ค่อยแยกกันเท่าไร แต่ความที่ฝรั่งดันมีคำว่า spiritual แล้วเราก็ตามก้นฝรั่งว่าต้องมี spiritual support ก็เลยต้องมาแยกกันทำนองนี้
  • คงต้องรบกวน ผูู้รู้ท่านอื่น ช่วยเติมแล้วครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • ยกคำตอบมาส่งคุณหมอที่นี่ค่ะ  ขอขอบพระคุณที่ให้ความสนใจโรงเรียนของครูคิมค่ะ
  • การแข่งขันหมายถึง...การประเมินผลของระดับชาติค่ะ
  • มีตัวบ่งชี้มาให้..ว่าถ้าโรงเรียนใดทำคะแนนเฉลี่ยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย..ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
  • ครูคิมรับผิดชอบกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ..ต่ำกว่าครึ่งทุกปีตลอดมาค่ะ
  • ในความเป็นจริง..เด็ก ๆมาโรงเรียนตามหน้าที่..ที่ต้องเป็นนักเรียนค่ะ  เมื่อออกจากโรงเรียน..เด็ก ๆเขาต้องรับผิดชอบหลาย ๆ อย่างที่เราคาดไม่ถึง
  • ให้การบ้าน..มีปัญหาการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ  ประมาณ ๒-๓ ทุ่มหมู่บ้านเขาปิดเงียบทุกบ้านค่ะ
  • สัปดาห์หน้านี้จะมีการจักกิจกรรม Humanized Edu Care ให้กับนักเรียน ครูและคนในชุมชนค่ะ  เพราะได้ไปร่วมกิจกรรมของน้องะอลล่ามาค่ะ  นำบางส่วนมาจัดแล้ว  พบว่าเด็ก ๆชอบและมีความสุขค่ะ
  • และต่อไปจะพานักเรียนไปจัดตามคุ้นต่าง ๆ ในด้านจิตสาธารณะ ใช้เวลาวันหยุดราชการค่ะ
  • ขอรับคำเสนอแนะจากคุณหมอค่ะ
  • การประเมินผลระดับชาติ นี่แหละครับ ที่ผมใส่เครื่องหมายคำถาม
  • ถ้าใช้เกณฑ์เดียวกันหมด ไม่สนใจว่า input ของนักเรียนแต่ละแห่งที่ได้มาแตกต่างกันอย่างไร แล้วก็จัดลำดับตาม output ที่เป็นเกณฑ์เดียวกัน
  • ผมว่า นั่นจะสร้างปัญหา

 

หนูก็ว่างั้นแหละค่ะอาจารย์

(ฮ่ะ ฮ่า ทำท่าเหมือนจะรู้แต่ไม่ใช่)

ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ผมมีสอนเรื่องการซักประวัติด้านจิตวิญญาณไปนิดหน่อย ให้กับ นศพ ปี 4 โดยใช้ FICA ซึ่งมาจาก Faith and belief, Importance, Community, Address in care ในระหว่างการสอนเรื่อง Comprehensive Care ไม่แน่ใจว่านักศึกษาจำได้ หรือเอาไปใช้ไหมครับComprehensive Care

P

  • สวัสดีครับ กฤษณะ
  • ผมใช้ H-O-P-E ซึ่งก็คล้ายๆกัน
  • รายละเอียดผมเขียนความเห็นใน บันทึกนี้ ครับ
  • เห็นบล็อก palliative care ของกฤษณะยังว่างๆอยู่ เมื่อไรจะเขียนครับ ช่วยบอกด้วย ผมจะเอาไปรวมไว้ใน บันทึกคนทำงาน ครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท