๑๖. ศิลปะรำลึกสวนสัตว์ดุสิตเขาดินวนา กลุ่มศิษย์เก่าเพาะช่าง


เดือนนี้ ผมได้ร่วมแสดงงานศิลปะที่สวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา เป็นการได้ร่วมแสดงงานที่ผมประทับใจและมีความภาคภูมิใจเป็นที่สุดงานหนึ่ง ด้วยสาเหตุหลายอย่าง....... 

ย่างแรก  เป็นการได้แสดงงานกับรุ่นพี่อาวุโส ศิษย์เก่าเพาะช่าง รุ่นปี 2508-2510  การได้ร่วมแสดงงานครั้งนี้  เกิดขึ้นอย่างเกินความคาดหมาย เพราะงานนี้เป็นการทำงานด้วยกันของกลุ่มศิษย์เก่า รุ่นปี 2508-2510 แล้วก็เปิดโอกาสให้รุ่นอื่นๆ ได้มีส่วนร่วมบ้างตามความสะดวก

ผมเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนเพาะช่างด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อเทียบรุ่นแล้วก็ห่างไกลกันลิบลับ เพราะผมเป็นรุ่น 2522-2524  ห่างกัน 1 รอบนักกษัตริย์  ยิ่งเมื่อเทียบประสบการณ์และบทบาทความเคลื่อนไหวที่มีต่อสังคมแล้ว  ก็มิบังอาจคิดแม้เฉียดเข้าไปไกล้เลยทีเดียว

สมาชิกของกลุ่มแสดงงานครั้งนี้ก็เช่น  ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ  ตั้งเจริญ ิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นักการศึกษา ศิลปิน นักวิจารณ์  ผู้บุกเบิกและสร้างความเคลื่อนไหวในวงวิชาการศิลปะ ร่วมก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และวางรากฐานศิลปศึกษาของประเทศมากมายหลายอย่าง

อาจารย์สมศักดิ์ คงรัตนสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนา พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย  แกนประสานงานและเป็นเลขานุการของกลุ่มนี้ ซึ่งอาจารย์สมศักดิ์นี้ เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมบุกเบิกคิดค้นการทำหุ่นไฟเบอร์กลาสแทนหุ่นขี้ผึ้ง และจัดพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของสังคม มีชื่อเสียงไปทั่วโลก*

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีเกียรติ ไชยยงยศ  แห่งคณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นักการศึกษาและนักวิชาการศิลปะแถวหน้าของประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิวัฒน์ กุลจันทร์ ้สืบทอดแผนกวิชาการถ่ายภาพของเพาะช่างต่อจาก ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส ะเป็นนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยคนที่ผ่านมา

แล้วก็อีกหลายท่าน ซึ่งกระจายออกไปมีบทบาททั่วประเทศ  อีกทั้งเป็นกลุ่มที่รวมทุกสาขาของเพาะช่างและเป็นคนต้นฉบับของหลายเรื่องในประเทศไทย ทั้งในเรื่องการพัฒนาทางศิลปศึกษาของประเทศ  วงการสื่อศิลปะและโฆษณา  หนังสือแและตำรา  การ์ตูนและแอนนิเมชั่น  การทำภาพยนต์

ผมบังเอิญได้รับเชิญจากรุ่นพี่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มรุ่นพี่กลุ่มนี้ และเป็นอดีตนักวิชาการโสตทัศนศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเป็นรุ่นพี่ของผมที่โรงเรียนเวชนิทัศน์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ อาจารย์สมปอง หมั่นดี ให้ไปเป็นวิทยากร อบรมเครือข่ายคนทำสื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านการแพทย์ให้แก่สังคม ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คุยกันไปมาก็เลยถามไถ่ไร่เรียงรุ่นกัน กระทั่งเลยไปถึงเรื่องการแสดงงาน

พี่เขาเห็นผมทำงานศิลปะและแสดงงานกันไปด้วย ก็เลยเล่าถึงกลุ่มรุ่นพี่รุ่นใหญ่ของพี่เขากันบ้าง  ทำให้ผมสนใจในความที่รุ่นนี้เป็นคนต้นเรื่องหลายเรื่องของสังคมไทย เลยก็ออกปากว่า หากมีการพบปะและทำอะไรกันแล้ว ขอให้หนีบผมไปด้วยสักคนหนึ่ง ให้ผมไปชงเหล้า เป็นเลขาการประชุม หรือขับรถให้ก็ได้ทั้งนั้น  ผมจะขอเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพวกพี่ๆไว้  ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรได้เพียงไหนแต่ขอทำสิ่งที่ใกล้มือไว้ก่อน

ทางหนึ่งก็ถือว่าเป็นรุ่นพี่เก่าแก่ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ คนในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเชื่อมต่อระหว่างคนรุ่นเก่ายุค ศาสตราจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ ของงเรียนเพาะช่าง าบันการศึกษาทางศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ ะกลุ่มลูกศิษย์รุ่นบุกเบิกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี แห่ง มหาวิทยาลัยศิลปากร ถาบันการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ของประเทศ ึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกับพัฒนาการต่างๆทางศิลปะที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่งของสังคมไทย

มีหลายอย่างที่ผมคิดว่าอยากมีประสบการณ์ตรงกับพวกพี่ๆ เพื่อที่จะนำไปมองผลงานอีกหลายอย่างของเครือข่ายคนทำงานศิลปะร่วมสมัยในรุ่นพวกพี่ๆรุ่นอาวุโส แล้วก็ถ่ายทอดไว้ให้สังคมเท่าที่ตนเองจะมีโอกาสทำ 

แน่นอน   ผมต้องผสมผสานและเชื่อมโยงกับหน้าที่การงานที่ผมทำไปด้วยได้แน่ๆ  เพราะผมถือเป็นหน้าที่(ของชีวิต)อย่างหนึ่งที่จะต้องช่วยทำงานความรู้และวางพื้นฐานวิธีคิด  รวมทั้งทำหน้าที่สื่อสารเรียนรู้  ในแนวที่จะสร้างพลังทวีคูณและก่อเกิดการถักทอกันหลากหลายของชุมชนและวงวิชาการคนละสาขา ที่อยู่บนเส้นทางชีวิตและการงานของผม ซึ่งจะช่วยเสริมพลังของสังคม และชีวิตส่วนรวมของสังคม ให้เข้มแข็ง

พี่เขาก็เลยบอกให้ทราบว่า ทางกลุ่มของพี่ๆ กำลังจะแสดงงานกันที่สวนสัตว์เขาดินวนา แต่แทนที่จะชวนไปสังเกตการณ์อย่างที่ปวารณาตัวไว้ พี่เขาก็กลับชวนไปแสดงงานด้วยเสียเลย ก็ไปสิครับ

การทำอย่างนี้ต้องถือว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วม  แม้จะเป็นเพียงบางส่วนก็ยังนับว่าดีกว่าการเป็นผู้ดูเฉยๆ  หากเป็นการวิจัยเขาก็ถือว่าพอจะมีจุดยืนร่วมกับผู้สร้างงานและผู้ชมได้ลึกซึ้งกว่าการใช้แนวคิดและความรู้ทางทฤษฎีมามองอย่างเดียว

เลยก็นำเอางานไปร่วมแสดงกับพี่เขาชิ้นหนึ่ง เป็นรูปควายที่บันทึกเป็นรูปเขียนจากการไปศึกษาเรียนรู้ชุมชนสาคลี อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ดันเปลี่ยนกรอบให้ดูดีกว่าเดิมก่อนนำไปติดตั้ง แล้วก็จำไม่ได้ว่าเปลี่ยนกรอบ ถึงเวลาไปติดตั้งก็หาไม่เจอ เลยเอาอีกรูปไปแทนซึ่งก็เป็นรูปสีน้ำและพอจะเข้ากับบรรยากาศในการรำลึกถึงสวนสัตว์เขาดินวนาอยู่เหมือนกัน ถือเป็นเหตุแห่งความประทับใจแรกครับ 

อย่างที่สอง ไปร่วมจัดกิจกรรมตอบแทนบุญคุณความเป็นครูและแหล่งเรียนรู้ให้กับสวนสัตว์ดุสิตเขาดินวนา สวนสัตว์เขาดินกับนักเรียนศิลปะทุกคนของโรงเรียนเพาะช่างนั้นมีความผูกพันกันอย่างแนบแน่น เพราะพอเริ่มฝึกฝนในทุกด้านอย่างได้ที่พอสมควรในสตูดิโอและห้องเรียนแล้ว ก่อนจะไปแตกฉานในการเขียนภาพกลางแจ้งจำพวกทิวทัศน์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ของโลกภายนอก  ก็จะเริ่มก้าวเดินออกจากโรงเรียน มายังสวนสัตว์ดุสิตเขาดินวนา แล้วจึงจะนำไปสู่การเขียนภาพนอกสถานที่อื่นๆ อีกต่อไป

ทุกรุ่นจึงผูกพันกับสวนสัตว์ดุสิต ประหนึ่งเป็นห้องปฏิบัติการศิลปะกลางแจ้งและเป็นแหล่งเรียนรู้การเขียนภาพสัตว์ ทั้งในเชิงการศึกษากายวิภาคและการศึกษาโครงร่างความเคลื่อนไหวของสัตว์นานาชนิด เป็นแหล่งเรียนรู้ภาคสนามของนักศึกษาศิลปะจากเพาะช่างมาอย่างยาวนาน

งานศิลปวิจิตรเกี่ยวกับภาพสัตว์  สื่อศิลปะ  รวมไปจนถึงการ์ตูน ที่มีอิทธิพลต่อเด็กไทยและคนไทยหลายยุคหลายสมัย ทั้งต่อการเรียนเขียนอ่าน การจินตนาการ  มีจำนวนไม่น้อยที่จิตรกรผู้วาด เกิดการเรียนรู้และหาความบันดาลใจไปจากสวนสัตว์ดุสิตเขาดินวนานี่เอง

ยิ่งไปกว่านั้น  ผู้อำนวยการคนที่ผ่านมาของสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา ก็เป็นศิษย์เก่าของเพาะช่างและอยู่ในกลุ่มจิตกรกลุ่มนี้อีก จึงเป็นโอกาสที่ดีที่สุด ที่จะได้รำลึกถึงและร่วมกันขอบคุณสวนสัตว์ที่อยู่เบื้องหลังการเรียนรู้ของชาวเพาะช่างหลายรุ่นและสร้างคนทำงานทางศิลปะของประเทศมายาวนานพอๆ กับพัฒนาการที่ดำเนินมาอย่างสืบเนื่อง 71 ปี   

 

                      สูจิบัตรนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยศิษย์เก่าเพาะช่าง "เขาดินรำลึก" ครั้งที่ 2  โดยชมรมศิษย์เก่าเพาะช่าง 2508-2510  ณ ศูนย์อาหารสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา  ประธานพิธีเปิดงาน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552  โดย ดร.โสภณ  ดำนุ้ย  ผู้อำนวยการสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา คนปัจจุบัน

 

 

                    ภาพเขียนสีน้ำ วัด  ของ ศาสตราจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ ครูเก่าแก่ของโรงเรียนเพาะช่าง

                    ลอกเลียนแบบลายตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย : เทคนิคเลียนแบบลานรดน้ำ โดย สมศักดิ์ คงรัตนสมบูรณ์

 

                      รัสเซีย : เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬ  ตั้งเจริญ                                                      

 

                     นกกาบบัว : เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีเกียรติ ไชยยงยศ                                            

                       พระพุทธรูปบนทราย : เทคนิคสีน้ำมันบนทราย โดย เจริญ พัฒน์ทอง               

                         เชียงตุง : เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิวัฒน์  กุลจันทร์ 

 

                             ครอบครัวช้าง :  เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ  โดย  ประณต  ชื่นปรีดี  

                            Black or White : เทคนิคสีอะครายลิคบนแคนวาส  โดย  อัศวิน  อรุณแสง  

 

                            กุหลาบแดง : เทคนิคสีน้ำบนกระดาษสา  โดย  นิยม  กันตะโอภาส  

 

                                 เขาดิน : เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ  โดย  สมบัติ  จำนงนรินทร์รักษ์ 

 

อย่างที่สาม ได้ร่วมทำหน้าที่สืบสานบทบาทอย่างคนรุ่นก่อนที่ได้เคยทำให้เราในวัยเด็ก  ผู้คนในวัยเด็กของสังคมไทย โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดบ้านนอกคอกนา ย่อมมีสวนสัตว์เขาดินวนาในความคิดคำนึงเหมือนดินแดนแห่งเทพนิยาย ที่มีพี่สิงโต พี่กระต่าย พี่ช้าง เก้ง กวาง พี่เสือ พี่นกยูง พี่ยีราฟ ฮิปโป ลิง ค่าง และสารพัดสัตว์ ซึ่งคิดและคุยกับมนุษย์ โดยเฉพาะกับเด็กๆ ได้รู้เรื่อง 

ความเป็นสวนสัตว์เขาดินวนาในด้านหนึ่งที่เด็กได้รับ จึงเป็นสิ่งที่คนรุ่นที่มาก่อนของสังคม  ช่วยทำและดูแลการมีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับสังคม สร้างโลกแห่งการเรียนรู้ให้แก่เด็ก อีกทั้งสร้างเสริมสุขภาวะให้แก่ผู้คน ครอบครัว และกลุ่มก้อน

เป็นแหล่งทำให้สาธารณะมีความสุข หรือ สุขภาวะสาธารณะ (Healthy Public) ทำให้เกิดความผูกพันกันยาวนาน และได้ความสุขเป็นพลังชีวิต กลับออกไปทำการงานและดำเนินชีวิต ร่วมกันสร้างสรรค์ความสงบสุขให้แก่สังคมอย่างพอควรแก่อัตภาพ

แล้ววันหนึ่ง ตนเองก็ได้ไปร่วมแสดงงาน เพิ่มสีสันและบรรยากาศให้กับสวนสัตว์และเขาดินวนา เพื่อให้เด็กๆ ครอบครัว และผู้คนทั้งจากในเมือง เมืองหลวง และชนบท ได้มาเที่ยว มาพักผ่อน ได้อยู่ในบรรยากาศผ่อนคลายหลากหลาย และได้ดูงานศิลปะที่เดินเข้าหาประชาชนพลเมือง กลมกลืนกับบรรยากาศความเป็นสวนสัตว์ดุสิตของประชาชน

ับว่าได้ก่อเกิดโครงสร้างความความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปเป็นอีกด้านหนึ่ง จากอดีตที่เคยเป็นผู้ได้รับ หรือเป็นผู้รับ ผู้บริโภค ที่คนอื่นเขามีน้ำใจช่วยกันทำสิ่งดีๆให้กับสังคมในยุคที่เราเป็นเด็ก

ทว่า เมื่อเติบโต (และแก่เฒ่า) แล้ว  ก็กลับได้มาร่วมเป็นผู้ให้ ทำให้ผู้อื่นได้เดินเข้ามาชมและสัมผัสสิ่งดีๆจากเราบ้าง  ซึ่งจะว่าไปแล้ว ในจำนวนคน 64 ล้านคนของประเทศ มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่จะมีโอกาสได้ทำอย่างนี้ 

จึงเป็นอีกเหตุแห่งความประทับใจและภาคภูมิใจต่อการได้ร่วมแสดงงานศิลปะรำลึกเขาดิน 71 ปี  ครั้งนี้

 

                              ของเล่นเด็กทำจากสังกะสี :  โดย  จรรยา  บุณณาศักดิ์  

 

                                  ม.ม้าคึกคัก : เทคนิคสีแท่ง Pastel  โดย  ทิวาศรี  ปิยะพันธ์  

 

                                  ริมน้ำ : เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ  โดย  วีระ  จันทรสมวงษ์  

                                    ดอกบัว : เทคนิคสีน้ำบนกระดาษ  โดย  สังฆะ ชุ่มธรรม 

 

                                พระพุทธรูปปางประทานความสำเร็จ :  เทคนิคหล่อปูนปลาสเตอร์  โดย  บำรุงศักดิ์  กองสุข  

งานแสดงไปแล้วเมื่อ 18-30 มีนาคม 2552 ที่ศูนย์อาหาร ของสวนสัตว์ดุสิตเขาดินวนา  ตั้งใจว่าจะช่วยเผยแพร่ให้ผู้สนใจในเว็บศิษย์เก่าเพาะช่าง แต่ไม่รู้ว่าเว็บดังกล่าวได้ล่มหรือหายไปไหนเสียแล้ว เลยก็นำมาบันทึกไว้ให้คนที่สนใจที่นี่นะครับ

ขอให้มีความสุข ได้ความรื่นรมย์และความชุ่มชื่นใจจากการชมงานศิลปะรำลึกเขาดิน 71 ปี ที่นำมาแบ่งปันกันในครั้งนี้นะครับ.

...........................................................................................................................................................................

      *ิพิธภัณฑ์ลู๊ฟ ของประเทศฝรั่งเศส  ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิก มีชื่อเสียงเป็นผู้นำของโลกในการทำหุ่นขี้ผึ้งและจัดแสดงให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์บุคคลผู้มีชื่อเสียงสาขาต่างๆของโลก ประวัติศาสตร์สังคมโลก และงานที่สามารถทำให้จินตนาการสัมผัสได้ด้วยหุ่นขี้ผึ้ง แต่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ขี้ผึ้งจะละลาย จึงใช้กรรมวิธีแบบพิพิธภัณฑ์ลู๊ฟไม่ได้ กลุ่มผู้บุกเบิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าของเพาะช่างและศิลปากร ได้พัฒนาเทคนิคการทำหุ่นเหมือนจริงด้วยไฟเปอร์กลาส  ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ก่อนที่การทำหุ่นไฟเบอร์กลาสจะแพร่หลายในเวลาต่อมา

       พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย (ตั้งอยู่ถนนพุทธมณฑลสาย 5 อำเภอนครชัยศรีเชื่อมต่อกับอำเภอพุมธณฑล จังหวัดนครปฐม) จัดว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางสังคมในหลายมิติ  ที่มีชื่อเสียงมากคือ การทำให้เรื่องประวัติศาสตร์ วรรณคดี ความรู้ทางสังคม  ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าสนใจ กลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างจากการเรียนรู้ที่คุ้นเคยของคนทั่วไป

       จัดว่าเป็นงานบุกเบิกของกลุ่มศิลปิน  ที่สะท้อนพลังสร้างสรรค์อย่างที่สุด ทั้งในการผสมผสานการศึกษาค้นคว้า จินตนาการ ความพิเศษทางศิลปะทุกแขนง  ความสามารถในการจัดแสดง ความสามารถในการจัดการ และความเป็นผู้บุกเบิก ริเริ่ม รอคอย เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ตนเองต้องการทำให้กับสังคม

หมายเลขบันทึก: 252171เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (64)

มาชม

ภาพศิลป์ล้วนสวยงาม...

สวนสัตว์นี้ ผมเคยเข้าชมท้ายสุดประมาณปี พ.ศ. 2525 ครับ

  • สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ umi : ดร.อุทัย เอกสะพัง ขอบพระคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน ขอให้อาจารย์ได้ความรื่นรมย์ใจกับงานศิลปะที่ชื่นชอบครับ
  • ผมก็เข้าไปชมครั้งสุดท้ายประมาณช่วงนั้นเหมือนกันครับ ได้กลับไปเยือนอีกทีเมื่อสองสัปดาห์ก่อน  ไปไหนไม่ถูกเลยครับ  นึกภาพเก่าๆไม่ออกเลย 

เพิ่งได้ทราบจากทางผู้ประสานงานของกลุ่มและทางสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนาว่า จะขอให้ทางกลุ่มพี่ๆเขาขยายการแสดงงานงานศิลปะออกไปอีก เพราะคนกำลังเริ่มเข้ามาเที่ยวสวนสัตว์มากขึ้น ยิ่งในช่วงสงกรานต์ก็จะยิ่งเยอะ

เลยไม่ได้ปิดการแสดงตามกำหนดการเดิมคือเมื่อวานนี้ แต่จะแสดงไปจนถึงสิ้น เดือนเมษายน 2552 นี้เลยนะครับ

คอศิลปะ และท่านที่สนใจ ยังสามารถไปชมได้อีก ใครไม่ได้ไปเขาดินมานานแล้ว ก็แวะไปรำลึกความทรงจำอันสวยงามได้นะครับ ที่ศูนย์อาหาร ของสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา ครับ

จัดหน้าและเกลาบันทึกนี้ให้ใหม่แล้วครับ เลยนำมาขึ้นให้อีกทีหนึ่ง เมื่อวานตัวหนังสือและรูปภาพกระจายไปหมดเลยดูทั้งไม่สวยและไม่รู้เรื่อง ตอนนี้จัดให้ใหม่หมดแล้ว คนที่ชอบงานศิลปะและเรื่องราวอย่างนี้ จะได้ดูให้ได้ความซาบซึ้งและได้ไอเดียดีๆสำหรับนำไปใช้ทำงานนะครับ

สวัสดีค่ะ อ.วิรัตน์

ทั้งอ่านและชมภาพแล้ว ก็น่าชื่นชมยินดีไปกับอาจารย์ด้วยที่ได้ร่วมแสดงงานครั้งนี้ จะว่าไปแล้วอาจารย์เป็นคนที่มีพลังสร้างสรรค์อะไรมากมายเลยนะคะ น่าทึ่งค่ะ

"Love the art in yourself, not yourself in the art." : Konstantin S. Starnislarski

นำคำคมมาฝากค่ะ อ่านพบจากจุลสาร "BackStage" ฉบับ 1 เป็นจุลสารสร้างเสริมสุขภาวะด้วยศิลปะการละครค่ะ คิดว่าคนรักงานศิลปะทั้งหลายน่าจะชอบ มันลึกซึ้งจริง ๆ ..^__^..

  • สวัสดีคุณใบไม้ย้อนแสง คำคมที่นำมาฝากนี่ ช่างเลือกได้เหมาะเจาะจริงๆ ขอบคุณที่นึกถึงกันและนำมาฝากนะครับ 
  • ได้ข่าวว่าจะไปร่วมกับชาวบ้านคลองโยงทอดผ้าป่าสร้างสะพานหรือ เจ้าหน่อยบอก
  • เลยลิ๊งค์บล๊อกในโอเคเนชั่นมาฝากด้วยนะครับ ใบไม้ชอบงานศิลปะและงานไอเดีย เลยนำมาฝาก http://www.oknation.net/blog/moy  http://www.oknation.net/blog/silpa
  • สวัสดีปีใหม่เน้อ

สวัสดีปีใหม่ไทยล่วงหน้าเช่นกันค่ะ..

  • แวะไปอ่านบล็อกของอาจารย์ที่โอเคเนชั่นมาบ้างแล้ว เขียนได้น่าอ่านเชียวค่ะ และมีสไตล์เป็นของตัวเอง เขียนจากใจตัวเอง มิได้เพื่อตอบสนองงานใด ดีค่ะ ดี.. ถูกใจค่ะ
  • จริง ๆ ใบไม้ก็เป็นสมาชิกที่โอเคเนชั่นด้วย แต่เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างเดียว ไม่ได้เขียนบล็อกค่ะ ยังไม่มีพลังพอจะเขียนอะไรหลายที่เช่นนั้น
  • ส่วนเรื่องงานทอดผ้าป่าสร้างสะพานหน้าวัดมะเกลือ เป็นผลงานกลุ่มคนรักษ์ถิ่นล้วน ๆ เลยค่ะ ใบไม้เป็นเพียงฝ่ายให้กำลังใจเท่านั้นเอง ถือโอกาสเล่าความเป็นไปให้อาจารย์รับทราบเลยนะคะ
  • ระยะหลังกลุ่มคนรักษ์ถิ่นประชุมกันถี่ขึ้น และย้ายสถานที่ไปตามบ้านผู้ที่ยินดีสนับสนุกการทำงานของกลุ่ม ดูคล้ายประชุมสัญจรค่ะ ใบไม้ค้นพบธรรมชาติของการทำงานของกลุ่มนี้ว่า ไม่ได้เน้นการให้คนมาร่วมประชุมมากมาย เนื่องจากเงื่อนไขเรื่องเวลาของคนในชุมชน การที่มาประชุมน้อยไม่ได้หมายความว่าการดำเนินงานไม่คืบหน้า แต่พวกเขาทำงานนอกรอบการประชุมไปเรื่อย ๆ อยู่ตลอดเลยค่ะ และการประชุมก็ดูเป็นกันเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ
  • ตอนนี้กำหนดวันทอดผ้าป่าวันที่ ๕ พฤษภาคมนี้ ส่วนเวลายังไม่แน่นอน แต่คาดว่าจะเป็นช่วงสาย ๆ ตอนนี้ตัวแทนชาวบ้านสองฝั่งคลองรับรู้เรื่องผ้าป่าร่วมกันแล้วค่ะ ต่างก็จะช่วยกันไปหาแนวร่วมสบทบเงินทอดผ้าป่า  ส่วนทางทีมงานของมหิดลก็รับมาส่วนหนึ่งค่ะ
  • ทาง อ.อภิลักษณ์ ได้ไปช่วยสืบค้นข้อมูลประวัติการสร้างสะพาน พบว่าสร้างมาแล้วถึง ๑๒๙ ปี ผ่านการบูรณะมาแล้ว ๓ ครั้ง และเรียบเรียงเรื่องราวความทรงจำเกี่ยวกับสะพานลงไปด้วย ตอนนี้ทำเป็นแผ่นพับแจกให้คนในชุมชนด้วยค่ะ เป็นการทำให้เขาเห็นถึงคุณค่าและภาคภูมิใจในสะพานนี้ และเชื่อว่าจากการร่วมมือกันสร้างสะพานนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือกันในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป ตอนนี้ทางชาวบ้านสนใจเรื่องการนำสวะมาทำปุ๋ยอีกเรื่องหนึ่งด้วยค่ะ
  • ถ้าวันที่ ๕ พฤษภานี้ อาจารย์ว่างขอเชิญร่วมงานทอดผ้าป่าเป็นกำลังใจแก่ชุมชนนะคะ ใบไม้ยังคงได้ยินคำชื่นชมอาจารย์จากชาวบ้านเสมอค่ะ
  • ไหน ๆ ก็เขียนมาซะยาวแล้ว แถมท้ายด้วยกลอน "เพื่อสะพานของเรา" จากแผ่นพับที่ อ.อภิรักษ์ทำนะคะ ..^__^..

"สู้เวลามาแต่กี้มีแต่ก่อน                ไม้ทุกท่อนกร่อนคร่ำกรำแดดฝน

โค้งสะพานผ่านคลองสองตำบล      เชื่อมสัมพันธ์ชุมชน-คน-สะพาน

แต่ยังเล็กเด็กน้อยค่อยเกาะก้าว       ตราบหนุ่มสาวเท้าทางก็ย่างผ่าน

ยามชราเรื่องราวยังยาวนาน           อยู่คู่เหย้าคู่ย่าน..สะพานเดิม

คนยังแก่แม้สะพานถึงกาลเก่า         ควรที่เราร่วมมือรื้อซ่อมเสริม

ทุน-เวลา-ปัญญา-แรง ต่อแต่งเติม   ทีละน้อยค่อยเพิ่มค่อยเริ่มลอง

เพื่อสะพานเคยผุพังยั้งยืนหยัด        เป็นประวัติหน้าใหม่ให้เราผอง

เชิญเถิดพร้อมซ่อมสะพานสานฝันปอง  เชื่อมฟากคลองสองฝั่ง..ทั้งเชื่อมใจ"

  • อาจารย์อภิรักษ์แต่งกลอนนี้ดีจริงๆนะครับ ผมลองฮัมเป็นทำนองเพลงเหล่แล้ว ได้เลย ตบท้ายด้วยเอยตอนจบเท่านั้น
  • ใบไม้เขียนได้และดีกว่าผมเขียนอีก แต่ยังไม่มีเวลาพอที่จะเขียนน่ะดีแล้ว เป็นคนเขียนและสื่อสารคดีน่ะดีแล้วน่า
  • อันที่จริงผมกำลังหัดเขียนอีกแบบที่ผสมผสานหลายมิติอย่างที่มักคุยให้ใบไม้ฟัง เพื่อเรียนรู้วิธีเขียนและนำเสนองานวิจัยกับสาธารณะที่ไม่ต้องเลือกและระบุความจำเพาะของกลุ่มคน  แล้วก็ไม่ผิดหวังครับ 
  • ด้านหนึ่งก็ได้ทำให้กับสังคมอย่างที่เราไม่ต้องเจาะจงว่าเพื่ออะไร แล้วก็ใช่จะเป็นฝ่ายให้ฝ่ายเดียว ทว่า มีครูและของจริง-ตัวจริงมากมาย  หมุนเวียนมาตบๆแต่งๆ เป็นเบ้าหลอมและเป็นกัลยาณมิตร  สะท้อนและขัดเกลาให้ ที่วิเศษจริงๆ
  • ตอนทอดผ้าป่า และรณรงค์เรื่องราวสะพานกับการสร้างพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน ผมตั้งใจว่าจะปัดทองพระสังกัจจายของวัดมะเกลือที่ตั้งอยู่หน้าศาลา ให้ชุมชนเสียใหม่ แล้วก็จะร่วมมอบให้ชุมชนไปด้วย เพื่อเป็นกำลังใจกัน

 

  • มาแก้ข่าวค่ะอาจารย์ กลอน "เพื่อสะพานของเรา" นั้น เป็นฝีมือ อ.สายป่าน ทีมเดียวกับ อ.อภิรักษ์ นั่นแหละค่ะ
  • ดีจังนะคะ ที่อาจารย์มักค้นหาวิธีเขียนใหม่ ๆ ที่ผสมผสานหลายมิติ คิดต่อยอดไปเรื่อย ๆ เลย
  • เรื่องงานเขียนที่ลึกซึ้งนั้น ใบไม้มิบังอาจเทียบขั้นอาจารย์แม้แต่น้อย มุมมอง ทัศนคติ ยังห่างไกลกันมากค่ะ มิบังอาจแม้แต่จะคิด..
  • ตอนนี้อยากถอยกลับไปคุยกับตัวเองมากกว่าจะเขียนอะไรให้ใครอ่านแล้วค่ะ ถึงเวลาต้องทำการบ้านกับตัวเองแล้ว
  • ขอบคุณนะคะที่ช่วยต่อยอดทางปัญญาเสมอ ..^__^..
  • อ้าว ขออภัยอาจารย์สายป่านครับ
  • เรื่องหาวิธีเขียนใหม่ๆนี่ ไม่ใช่หาวิธีเขียนอย่างเดียวอย่างที่เคยได้สุมหัวกันกับใบไม้เท่านั้น ต้องพัฒนาเวทีและหาหนทาง ที่หลุดออกจากกรอบที่บล๊อกงานในแนวที่ผม(รวมทั้งคุณใบไม้และเพื่อนร่วมแนวทาง)ทำและสนใจ ให้ได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย  งานอย่างที่ผมและคุณใบไม้ทำนั้น เขียนความรู้การวิจัยและสื่อสารออกไปดีในแง่การเขียน (ซึ่งผมมั่นใจว่าพวกเราทำได้ดีมากๆแน่ๆ) มันก็อ่อนความเป็นจริงของการปฏิบัติและความเป็นจริงที่สังคมเป็น  แต่รอคอยเขียนทีเดียวเมื่อเสร็จสิ้นและเห็นผลดีๆ เหมือนงานวิจัยและสร้างความรู้แบบทั่วไปทำได้ มันก็ช้าเกินไป ซ้ำอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราคิดและวางแนวต่างๆไว้เสียอีก
  • จะไปกำหนดกะเกณฑ์ ให้ผู้คนและชุมชนเป็นอย่างที่เราต้องการ ก็ไม่ควรทำอย่างงั้นเป็นที่สุด
  • เลยก็ต้องพึ่งการค่อยเขียนและค่อยพัฒนาให้สิ่งละอันพันละน้อย ช่วยทำให้เราไม่หลุดจากภาคปฏิบัติจนเกินไป อีกทั้งพึ่งตนเองในการบันทึกรายทาง(ซึ่งเป็นงานที่กินแรงเหลือเกิน) พร้อมๆกับสะท้อนการงอกงามและเติบโตไปด้วยกันของสิ่งที่ทำ  แม้นเพียงเล็กน้อย  แต่ก็มีวิธีทำให้เกิดอะไรดีๆในสังคมวงกว้างไปด้วยได้นั้น(บางที่ได้มากกว่ารูปแบบที่เราเคยทำกันเสียอีก) ก็คงไม่พ้นที่เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องพัฒนามันขึ้นมาเอง เลยก็เป็นอย่างนี้แหละครับ ทำทุกข์ให้(เหมือนกับว่า)เป็นสุข อย่างที่ใบไม้เห็นนี้แล
  • ได้อะไรมากพอสมควร แล้วจะคุยให้ฟังเมื่อได้เจอกันนะครับ
  • มีความสุขและสวัสดีปีใหม่นะใบไม้

ส่งความสุขวันปีใหม่ไทยโบราณค่ะ

ภาพนี้เป็นภาพแห่งความสุขของน้องสาวค่ะพี่ชาย

ในชนบทที่แสนจะมีความหมายมากๆค่ะ

  • สวัสดีน้องนก จุฑารัตน์ ไปอย่างไรมาอย่างไรกันล่ะเนี่ย เซอร์ไพรซ์-เซอร์ไพรซ์มากๆเลย เพราะวันหยุดสงกรานต์นี้พี่ไม่ได้ไปไหนเลย  นานๆจะได้มีวันหยุดที่ต่อเนื่องอย่างนี้ เลยของดไปไหนมาไหนอย่างสิ้นเชิง ขอทำงาน อยากนั่งเขียนงาน ๓-๔ ชิ้นให้เสร็จสักส่วนหนึ่ง เลยไม่ได้ไปเจอพี่ๆน้องๆ เลย  พอน้องเอารูปนี้มาเยี่ยม เลยสะอึก  ตื้นตันใจอยู่เป็นครู่เลย
  • ไปไหนกันมาเมื่อไหร่เนี่ย ในช่วงสงกรานต์นี้หรือนานมาแล้ว ข้างหลังนั่นเหมือนต้นส้มหรือต้นส้มโอ  เป็นสวนของบ้านสามีของสาวที่ชัยนาทกระมัง
  • งั้นลิ๊งค์พวกนี้มาให้อ่านและดูรูปสวยๆ ให้เพลินใจนะ  ฐานเป็นลูกชนบท คนบ้านนอกคือกัน เลยให้เป็นของสวัสดีปีใหม่ก็แล้วกัน  ขอบคุณน้องจุฑารัตน์มากนะ  มีความสุข  มีกำลังใจ และมีไฟสร้างสรรค์อยู่เสมอนะครับ........

        http://www.oknation.net/blog/moy

        http://www.oknation.net/blog/silpa

        พี่วิรัตน์

สวัสดีค่ะ...หนูอยากจะทราบคุณณรงค์ ผ่องอำไพ และคุณศิริวัฒน์ ท้าวประยูร...ยังมีชีวิตอยู่หรือป่าวค๊ะ..พอดีว่า 2 ท่านนี้ เคยเป็นคณะทีมงานด้านฉากภาพยนตร์ของคุณเชิด ทรงศรี สมัยถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง แผลเก่า น่ะค่ะ..ซึ่งในตอนนั้นทั้งสองท่านเพิ่งจบจากเพาะช่างค่ะ..โดยภาพยนตร์เรื่องแผลเก่านี้ได้มาปักหลักถ่ายทำที่ ต.โพหัก จ.ราชบุรี เกือบตลอดทั้งเรื่อง เมื่อปี 2521- 2522 แล้วอ่ะค่ะ..หนูยังไม่เกิดเลยค่ะ...แต่คุณพ่อซึ่งเป็นคนในตำบล และอยู่ในวัยหนุ่ม ณ ขณะนั้น ทำให้ได้รับการว่าจ้างให้ช่วยเป็นทีมงานสร้างฉากภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย...แต่พอการถ่ายทำเสร็จสิ้นก็ไม่ได้เจอะเจอกันอีก..และในสมัยก่อนการติดต่อสื่อสาร และการคมนาคมก็ไม่ได้สะดวก รวดเร็วเหมือนตอนนี้ ทำให้ขาดการติดต่อกันไป โดยที่หลังจากนั้นอีก 3 -4 ปีหลังจากการถ่ายทำเรื่องแผลเก่าเสร็จสิ้น คุณศิริวัฒน์ ท้าวประยูร ยังกลับมาพบคุณพ่อที่ ต.โพหัก อีกคร้ง โดยจะมาหา Location สำหรับภาพยนตร์เรื่องอื่นจากนั้นท่านก็กลับไป และก็ไม่ได้กลับพบกันอีกเลย..ความทรงจำเก่า ๆ ทำให้คุณพ่ออยากพบทั้งสองท่านมาก เพราะระยะเวลาในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องแผลเก่า ยาวนานพอสมควร ทำให้มีหลายเรื่องราวที่เป็นที่น่าจดจำของท่าน และยังคงพูดถึงให้ลูก ๆ ฟังอยู่เสมอ...ลูก ๆ เองพอได้ฟังบางครั้งก็อินไปกับท่านจริงๆ ค่ะ..จึงอยากทำให้คุณพ่อสมหวัง ที่จะได้พบมิตรเก่าอีกซักครั้งหนึ่งค่ะ...

หากท่านใดพ่อทราบ ขอโปรดตอบกลับด้วยนะคะ

ขอขอบพระคุณมากนะคะ

  • ดีจังเลยครับ แค่รู้แนวคิดของการที่จะทำเรื่องนี้ให้พ่อก็ประทับใจมากเลยนะครับ เป็นการแสดงความกตัญญูอย่างหนึ่งต่อบุพการีครับ และความกตัญญูนั้น เป็นเครื่องหมายของคนดีครับ
  • ผมมีเพื่อนอยู่โพหักอยู่เหมือนกัน แล้วก็เคยได้ไปช่วยเป็นวิทยากรพัฒนาเครือข่ายให้คนทำงานสุขภาพอยู่แถวนั้นด้วย เลยทำให้ได้รำลึกถึงกันไปด้วยนะครับ
  • ผมจะลองถามไถ่คนที่พอรู้จักดูครับ และใครที่พอจะมีข้อมูล ก็กรุณาช่วยให้คุณสุธิชา เพ๊กจินดาเธอได้สามารถติดต่อเพื่อนๆของคุณพ่อเธอหน่อยนะครับ ขอใหคุณสุธิชาสมหวังเร็วๆด้วยนะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ...

สุธิชา เพิกจินดา

VGI Global Media Co., Ltd.

Office 0-2273-8884 ext: 167

Fax 0-2273-8883

Email: [email protected]

  • เลยไม่แปลกใจว่าทำไมดูเหมือนคุณสุธิชาคุยเหมือนรู้ภาษาของคนทำหนังและคนทำสื่อ
  • บางทีเครือข่ายในวงการที่คุณสุธิชาทำงานอยู่ก็อาจจะสามารถเข้าถึงคุณณรงค์ ผ่องอำไพ และคุณศิริวัฒน์ ท้าวประยูร ได้อีกทางหนึ่งเหมือนกันนะครับ
  • ดูเหมือนสมาชิกของกลุ่มรุ่นพี่ๆ ที่ผมแสดงงานด้วยในกลุ่มนี้ มีอยู่คน-สองคนที่ทำโรงถ่ายและทำสื่อ หากมีโอกาสผมจะลองถามไถ่ดูนะครับ รุ่นนี้รุ่นเก๋ากึ๋กห่างกว่าเพื่อนของคุณพ่อของคุณสุธิชานับสิบปี แต่น่าจะอยู่ใกล้ชิดวงการของเชิด ทรงศรีมากครับ
  • อีกท่านหนึ่ง หากคุณสุทธิชามีโอกาสเจอ ก็ลองถามหาข้อมูลดูน่าจะเจอได้เหมือนกันครับคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิวัฒน์ กุลจันทร์ ในกลุ่มนี้แหละครับ อาจารย์เป็นทีมเดียวกับอาจารย์กำธร ทัพคัลไล และอาจารย์กมล ทัพคัลไล ทั้งสองท่านนี้เป็นอาจารย์ฝาแฝดอยู่เพาะช่างและเป็นคนทำหนังหลายเรื่อง
  • แล้วพวกเพาะช่างที่ทำงาน Prop เก่งๆนี่เป็นไปได้มากเลยที่จะเป็นลูกศิษย์ของท่าน เพราะมีคนอยู่ในวงการภาพยนต์ สื่อโฆษณา ทำงานดิสเพลย์ และทำออร์แกไนซ์เซอร์ มืออาชีพมากมายทั้งของประเทศและในเวทีต่างประเทศ

ขอบคุณมากค่ะ...

พอดีว่าเพิ่งหายป่วยน่ะค่ะ..พอดีป่วยเป็นไข้หวัด (ธรรมดานะคะ).เลยไม่ได้เข้ามาอ่านเลยค่ะ..

ข้อมูลข้างต้นเป็นประโยชน์มากค่ะ...ถ้ายังไงจะพยายามสืบหา และคลำทางดูจากข้อมูลที่ให้มาค่ะ...

หากมีอะไรเพิ่มเติมจะเรียนกลับมาอีกทีนะคะ...

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

สุธิชา เพิกจินดา

  • ขอให้หายเจ็บหายไข้ สุขภาพดี ทำงานอย่างมีความสุข เป็นความสำเร็จของตนเองและคุณพ่อ-แม่นะครับ
  • ทั้งสามท่านนั้น คือ อาจารย์วิวัฒน์ กุลจันทร์  อาจารย์ กำธร ทัพคัลไล และอาจารย์กมล ทัพคัลไล เชื่อว่า หากไม่รู้จักและบอกได้ทันที ก็ต้องแนะนำได้เป็นอย้างดีมากๆครับ อาจารย์กำธร และอาจารย์กมลนั้น ผมจำไม่ได้สักทีว่าท่านไหนเป็นคนสร้างหนัง และคนไหนเป็นคนทำเรื่องรวบรวมฝาแฝดในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน หนังที่อาจารย์สร้างผมว่าผู้คนต้องจำได้มากมาย เช่น ทายาทป๋องแป๋ง เต้าฮวยไล้เหลี่ยว หนังแนวตลกๆน่ะครับ คงจะเหมือนกับแนวคุณหม่ำหรือเทพ โพธิ์งามในยุคปัจจุบัน นางเอกทั้งในจอและในชีวิตจริงก็คือ คุณปิยมาศ โมนยกุล ดูเหมือนว่าแฝดผู้เป็นคู่ชีวิตของคุณปิยมาศนี่แหละที่ท่ายป่วยและถึงแก่กรรมแล้ว ส่วนท่านที่เหลือนั้น ผมเพิ่งเห็นลูกศิษย์ลูกหารุ่นพี่ๆน้องๆของผมเองที่เพาะช่างจากทั่วประเทศนัดรวมตัวกันแล้วไปไหว้ แสดงวกตัญญูกตเวทิตาให้อาจารย์เมื่อเร็วๆนี้ คุณสุธิชาลองเข้าไปหาข้อมูลในเว็บศิษย์เก่าเพาะช่างนะครับ แต่ตอนนี้ยังล่มอยู่ เข้าไม่ได้เลยไม่มีรายละเอียดมาลิ๊งค์ให้ครับ
  • อาจารย์วิวัฒน์นั้นท่านเป็นที่รู้จักทั่วทั้งหมดในเพาะช่างทั้งในกลุ่มอาจารย์รุ่นเก่า-ใหม่และในหมู่ลูกศิษย์ของเพาะช่างทุกสาขา นอกจากทำงานให้มหาวิทยาลัยและกิจกรรมนักศึกษามากมายแล้ว อาจารย์ร่วมบุกเบิกและสอนสาขาวิชาถ่ายภาพ มีลูกศิษย์ทำหนังและสื่อโฆษณาอยู่ที่ต้องทำงานกับคนทำฉากและอุปกรณ์ประกอบฉากแน่นอน รวมทั้งคนในวงการรุ่นเก่าๆอาจารย์ก็ทำงานด้วย เช่น อาจารย์ปยุต เงากระจ่าง ซึ่งน่าจะเป็นรุ่นร่วมสมัยกับคุณพ่อคุณสุธิชา อีกทั้งอาจารย์มักเป็นศูนย์กลางข้อมูลหลายเรื่องเพราะอาจารย์ใจดี นักศึกษาที่ทำกิจกรรมชอบปรึกษา อาจารย์มักจดจำผู้คนได้ทั่วไปหมดนะครับ

ครูม่อยชื่อจริง...วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ..งิๆมิน่าถึงบอกว่าอาจใกล้ๆกันเน๊าะยินดีที่ได้รู้จักค่ะ...

  • สวัสดีครับคุณครูอ้อยเล็ก
  • ใช่แล้วครับ อยู่ใกล้ๆกันนี่เอง มหาวิทยาลัยอยู่ในนครปฐมเหมือนกันครับ แล้วก็มีกิจให้ได้วิ่งเข้าไปในเมืองนครปฐมอยู่บ่อยๆแหละครับ
  • ตอนแรกเห็นรูปคุณครูอ้อยและคุยถึงกันสั้นๆอย่างนี้ หลงดีใจว่าเป็นพี่ท่านหนึ่งชื่อพี่อ้อยซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่อาชีวนครปฐมและเป็นรุ่นพี่ที่รักท่านหนึ่งของผมที่โรงเรียนเพาะช่าง
  • ในนครปฐมมีคนทำงานด้านการศึกษาเก่งๆและดีๆเยอะจริงๆนะครับ คุณครูอ้อยเล็กเป็นคนหนึ่ง
  • หากผ่านไปทางศาลายา-มหิดล ก็แวะทักทายพวกเราบ้างนะครับ มีเครือข่ายที่ทำงานและใช้วิธีสุมหัวทำงานความคิดช่วยกันอยู่หลายกลุ่มครับ
  • นำเว็บของชุมชนศิษย์เก่าโรงเรียนเพาะช่างมาลิ๊งค์ไปให้คุณสุธิชา เพ๊กจินดาครับ
  • ลองเข้าไปถามหาข้อมูลเพื่อนคุณพ่อของคุณสุธิชาในนั้นได้อีกแหล่งหนึ่งครับ
  • เดือนสองเดือนนี้ผมจะมีโอกาสได้ไปเพาะช่างครับ จะไม่ลืมถามหาให้อีกทางหนึ่งครับ

ขอคารวะ ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬ ตั้งเจริญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

  • วันนี้นั่งกินข้าวและได้นั่งอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ เป็นข่าวการศึกษาในกรอบเล็กๆของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  • ในข่าวรายงานว่าศาสตราจารย์วิรุฬและคณะ ของ มศว.ประสานมิตร จะฟื้นฟูบทบาทของศึกษาศาสตร์และยกคณะศึกษาศาสตร์ ขึ้นเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • งานทางด้านศึกษาศาสตร์เป็นการลงทุนเพื่อสร้างทุนมนุษย์และทุนทางปัญญาของสังคม ซึ่งผู้นำของประเทศและของภูมิภาค แต่ไหนแต่ไรก็อยู่ที่ มศว.ประสานมิตร การแสดงความเป็นผู้นำและชูศาสตร์ทางด้านการศึกษาเป็นหัวหอก สวนทางกับกระแสสังคม  จึงเป็นทั้งความกล้าหาญ  การคิดและทำให้แตกต่าง  และฟื้นฟูให้งานทางการศึกษามานำความเปลี่ยนแปลงของสังคมดูบ้าง
  • ศาสตราจารย์วิรุฬ ตั้งเจริญ เป็นหนึ่งในศิษย์เก่าของเพาะช่างกลุ่มนี้
  • จึงขอชื่นชมและขอคารวะอย่างยิ่ง ทั้งต่อความเป็นศิษย์เก่าเพาะช่างและต่อความเป็นคนสาธารณะทำงานทางการศึกษาครับ
  • แวะไปเยี่ยมมาแล้วครับครูอ้อย

                     

  • เอารูปไปฝากเป็นของกำนัลให้ด้วยนะครับ

 

ชอบมากเลย..ขอบคุณค่ะครูม่อย..อ้อยยิ้มใหญ่เลยหุบไม่ลงเลยค่ะเห็นจินตนาการของคุณครู..ยิ้มหน้าบานแบบสุดๆเลยค่ะ

  • พอจะเป็นวิถีของเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณู ๒๐๐๙ ได้กระมังครับ คุณครูอ้อยเล็กว่าอย่างนั้นไหม
  • เด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูในอดีต ได้เพื่อนใหม่ที่อยู่ในชนบท เป็นเหมือนของขวัญชีวิตการเรียนรู้สิ่งใหม่ภายหลังการเดินทางไกลไปบ้านลุงด้วยรถไฟ แต่เด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณู ในปี ๒๐๐๙ หรือ ๒๕๕๒ เดินทางด้วยจดหมายไฟฟ้าและการเขียนคุยทางสื่ออินเตอร์เน็ต e-letter พวกเขาไม่ต้องหลุดออกจากกิจกรรมชีวิตอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่อีกมิติหนึ่ง ทว่า เขาสามารถทำไปในเวลาเดียวกัน อีกทั้งได้มากกว่าสองอย่างมารวมกันเสียอีก
  • ผมเลยได้เป็นเพื่อนใหม่ของเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูโดยที่ไม่ต้องเป็นคนที่อยู่ข้างไร่คุณลุงของพวกเขา เด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณู ๒๐๐๙ สามารถบรรลุจุดหมายและความจำเป็นแบบเดียวกับในอดีต โดยไม่ต้องผ่านเงื่อนไขแวดล้อมและข้อจำกัดอีกหลายอย่าง
  • กระนั้นก็ตาม ความเป็นเพื่อนเก่า(อาจารย์กู้เกียรติ) และการวาดรูปของผม (การให้ความจำเพาะเจาะจงแก่คุณครูอ้อย อาจารย์กู้เกียรติ และชุมชน G2N ที่ปฏิสัมพันธ์กันในเรื่องนี้) ก็บอกให้รู้ว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสร้างความเป็นจริงของสังคมรองรับวิถีชีวิตอย่างใหม่ ผสมผสานกันไปด้วย ก็ทำให้เด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณู ๒๐๐๙ เข้าถึงความหมายแห่งมิตรภาพ ได้แตกต่างกว่าการขาดฐานความเป็นจริงของสังคมและการให้ประสบการณ์จริง รองรับ
  • อยากชวนเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูทุกคน ไปเที่ยวไร่และบ้านนอกของลุง(ซึ่งในกรณีนี้คงเป็นผม) ขึ้นรถไฟได้ที่นี่เลยครับ แล้วก็มีเพื่อนใหม่ๆอีกมากมายที่อยู่ในนี้ แต่ไม่ใช่อยู่ข้างไร่อย่างเมื่อก่อนของเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูครับ

เปรียบเทียบได้แบบความคิดเห็นต่อยอดกันเลยค่ะครูม่อย..เมื่อความเจริญมาถึงแต่บุคคลยังมีพื้นฐานทางจิตใจที่ดีมาจากประสบการณ์ของตนเองตามสภาพแวดล้อมที่ดีบ้างไม่ดีบ้างจากเล่ม2-3และ4 กลั่นกรองคิดวิเคราะห์เห็นความเป็นจริงของสังคม เห็นความเป็นจริงของการอยู่ร่วมกัน เห็นความเป็นจริงของชีวิตอันเป็นสัจจะธรรม..การพบกันในที่นี้ของความเป็นเพื่อนใหม่..จึงเรียกว่าเป็นมิตรภาพระดับเสมือนก็เป็นได้ค่ะ แต่สำหรับเกลอเก่าอย่างท่านกู้มันเป็นประสบการณ์ตรงที่ไม่มีภาพเสมือนใดๆมาเทียบได้จึงแตกต่างกว่าดังว่าค่ะ...เพราะเรามีความจริงเป็นฐานข้อมูลที่เหนี่ยวแน่น..ไวรัสจึงเจาะทำลายฐานข้อมูลได้ยากค่ะ..เพราะเรามีโปรแกรมกาลเวลาเป็นตัวสแกนไวรัสให้ค่ะ...อิๆๆๆ

  • คุณครูอ้อยเล็กเปรียบเทียบหมู่มิตรในนี้เข้ากับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายชุมชนเสมือนจริงในอินเตอร์เน็ตก็ให้ภาพสะท้อนความเป็นจริงได้ดีมากเลยครับ แล้วในความเป็นจริงคนเรานี้ก็เป็นคอมพิวเตอร์ชีวภาพซึ่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าก็ยังทำหน้าที่ให้เหมือนคนไม่ได้อีกมากมาย
  • แล้วมาบวกกับการเชื่อมโยงกันด้วยคลื่นมิตรภาพ ซึ่งคงส่งสัญญาณได้แรง ละเอียด แจ่มชัด ได้ดีกว่าเทคโนโลยีส่งคลื่นสัญญาณไร้สายอีกเช่นกัน ก็ยิ่งทำให้ทำสิ่งสร้างสรรค์ด้วยกันได้มากมาย
  • นอกจากความเป็นมิตรภาพและการก่อเกิดชุมชนเสมือนจริงได้ในอีกรูปแบบหนึ่งแล้ว ในแง่ของงานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสุขภาวะสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน โดยเฉพาะคนบ้านนอกและคนส่วนใหญ่ที่ไร้โอกาสการพัฒนาอีกหลายอย่าง เรื่องราวของ เด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณู ที่คุณครูอ้อยเล็กนำมาจุดประกาย ผมก็เห็นความเป็นเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูในยุค ๒๐๐๙ จากการจัดกลุ่มและชุมชนที่คุณครูอ้อยได้มีปฏิสัมพันธ์ทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย  อีกหลายอย่างที่แตกต่างจากเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูในอดีตครับ
  • ทุกคนในชุมชนเสมือนที่คุณครูอ้อยจัดกลุ่มขึ้น เป็นเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณู ที่ถือเป็นตัวอย่างและบทเรียนชีวิตที่ให้แรงบันดาลใจทั้งแก่เด็กๆและผู้คนได้ทั้งสิ้นเลย
  • มีทักษะที่มีความเป็นบูรณาการมาก-ถึงมากอย่างยิ่ง ซึ่งพอจะสะท้อนบางอย่างที่สังคมโลกยุคหลังสมัยใหม่ และความต้องการในการพัฒนาในอนาคตของประเทศไทยต้องการ เช่น ความเป็นคนไม่แยกส่วน มีพื้นฐานที่ยืดหยุ่นสูงต่อสภาพสังคมยุคความย้อนแย้งของกระแสท้องถิ่นกับโลกาภิวัตน์ เท้าติดดิน เครือข่ายการรับรู้ผสมผสานทั้งใช้ประสบการณ์ตรง และโลกเสมือนจริงใน IT
  • ที่สำคัญเลยคือ ความมีจิตสาธารณะและการอุทิศตนต่อภารกิจชีวิตที่ทำให้พึ่งการปฏิบัติตนเองได้ หลายท่านมีบทบาทเชื่อมโยงทั้งระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติและนานาชาติ
  • ดูๆแล้ว คุณลุงนายพรานอาจจะไม่ต้องให้นกแก้วแสนรู้เพื่อเป็นกำนัลน้ำใจหรือสัญลักษณ์แห่งความเป็นเด็กดี แก่เด็กหญิงเรณู-และเด็กชายปัญญา ๒๐๐๙ เพราะอย่างที่คุณครูอ้อยลองประมวลภาพมาให้ดูนั้น พวกเขาเป็นเด็กชายปัญญา-เด็กหญิงเรณูที่ไม่ใช่มีวิถีจับเอานกแก้วหรือแยกส่วนเอาแต่สิ่งถูกใจไปดูหรือไปครอบครองอย่างเป็นส่วนตัว เท่านั้น
  • ทว่า พวกเขาสามารถร่วมมือกับลุง นายพราน และเพื่อนใหม่ๆอย่างไม่จำกัดและแยกแบ่ง (รวมทั้งเพื่อนเก่าที่มาเจอกันใหม่ในอีกบริบทหนึ่ง) เพื่อสร้างป่าให้นกแก้ว ผู้คน และสัตว์สวยป่างามต่างๆได้อยู่ด้วยกันอย่างพอเพียง เลยทีเดียว   

เขาดินนี่แหล่งวาดรูปเก่าของหนูเองค่ะ ใช้บริการบ่อย ไปวาดภาพสัตว์และบรรยากาศตอนสมัยเรียน อ.ทวีเกียรตินี่ก็อาจารย์หนูเองค่ะ เคยเรียนวิชาวาดเส้นด้วยสองปี ส่วนน้องชายก็จบจากเพาะช่างเหมือนกัน แต่รุ่นห่างกับอาจารย์เยอะค่ะ รุ่นปี 41 เวลาเจอคนเรียนศิลปะบนเว็บนี่จะดีใจมาก เหมือนเจอญาติ

  • อ้าว เป็นญาติพู่กันกันหรอกหรือนี่ ดีใจเช่นกันครับ เลยขอเข้าไปรู้จักคุณ Little Jazz ด้วย
  • ตัวหนังสืออารมณ์ดี มองและคิดต่างในเรื่องดาดๆของคนทั่วไปได้ดีจังเลยนะครับ

                              

  • ผู้ช่วยศาจารย์ทวีเกียรติ ไชยยงยศ ครับ

ถ่ายเมื่อไหร่คะนี่ ช็อคเพราะหน้าตาอ.ทวีเกียรติไม่เปลี่ยนไปเลย สต๊าฟไว้เหมือนเมื่อสิบสี่ปีที่แล้ว เหมือนเดิมเป๊ะ แต่อาจารย์คงจำลูกศิษย์ไม่ได้แล้วเพราะเยอะ และหนูนิสัยไม่ค่อยดีตอนเรียน ไม่เชื่อฟัง และเถียงแบบสม่ำเสมอตอลดสี่ปี ท่านอาจจะยิ่งอยากจะลืมเป็นพิเศษก็ได้ 555 ตอนนี้สำนึกผิดแล้วที่เถียงครูบาอาจารย์ แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ก็คงจะเถียงอยู่ดี (แต่จะเปลี่ยนคำให้สวยขึ้นเป็นคำว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้) เพราะแนวความคิดไม่ตรงกัน ; P

พอไปอ่านประวัติอาจารย์แล้วทึ่ง อยากให้มีโอกาสรู้จักกับอ.พิชัย เพราะเห็นว่าอาจารย์มีบ้านอยู่เชียงใหม่และสนใจธรรมะกับศิลปะ คือเจอคอเดียวกันเลย อ.พิชัยจบภาพพิมพ์ศิลปากร ตอนนี้เป็นคณบดีมนุษย์ศาสตร์อยู่มรภ.เชียงใหม่ สิ้นกันยานี้ก็คงเกษียณแล้ว

  • เป็นภาพจากสูจิบัตรการแสดงงานที่เขียนถึงในนี้นี่เองครับ
  • ได้ตามเขาไปดูงานของท่านอาจารย์พิชัยด้วยแล้วครับ ขอบพระคุณครับ
  • อาจารย์เขียนหนังสือสนุกและน่าประทับใจหลายอย่างครับ

ท่านกู้เกียรติท่านก็มาร่วมโหวตให้ด้วยนะคะ..เพาะช่างภูมิใจในคุณภาพของรุ่นพี่ค่ะ..

มาเรียนรู้ มุมมอง มุมคิดของท่านค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับคุณครูkrutoi ครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยือนและทักทายกันครับ

กลัวหายค่ะ..เลยเอามารวมกันไว้ก่อนค่ะ..

ปี ๒๕๕๖ เป็น ๑๐๐ ปี หรือ ๑ ศตวรรษของโรงเรียนเพาะช่าง โรงเรียนศิลปะ แผ่นดินของสยามประเทศ

  • ขอบคุณคุณครูอ้อยเล็กนะครับที่นำมาแบ่งกันดู
  • นี่แสดงว่าอีก ๔ ปี ในปี ๒๕๕๖ นี้ โรงเรียนเพาะช่างก็จะก่อตั้งมาได้ ๑๐๐ ปีหรือ ๑ ศตวรรษนะครับ
  • เวลานึกถึงเพาะช่างนี่ทำให้นึกถึงหลายอย่างครับ ไม่ใช่เพราะเป็นศิษย์เก่าหรอกครับ แต่นึกถึงในฐานะที่เป็นโรงเรียนศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ...
  • งานหัตถกรรมและศิลปะประจำชาติ ก็จะนึกถึงงานจิตรกรรมฝาผนังที่วัดอัมพวันเจติยาราม กับเครื่องถมจุฑาธุช ซึ่งสำหรับผมแล้วคิดว่าเป็นพัฒนาการที่สะท้อนความเป็นยุคสมัยใหม่ของรัตนโกสินทร์
  • เวลานึกถึงงานจิตรกรรม ก็จะนึกถึงงานจิตรกรรมประเพณีกับจิตรกรรมวิถีชนบทและท้องถิ่นไทยของศาสตราจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ นึกถึง ดร.กมล ทัศนาญชลี ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬ ตั้งเจริญ ดร.ถวัลย์ ดัชนีย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศาสตราจารย์อารี สุทธิพันธุ์
  • ศิลปะประยุกต์และสื่อศิลปะโฆษณา รวมไปจนถึงสื่อบันเทิงนี่นึกไม่ทันเลย เยอะไปหมด นึกถึงเปี๊ยก โปสเตอร์ นึกถึงงานการ์ตูนแอนนิเมชั่นต้นแบบของประเทศ ของอาจารย์ประยุต เงากระจ่าง นึกถึงนันทนา เงากระจ่าง กับหนังแผลเก่าของเชิด ทรงศรีและแผ่นปิดลายเส้นของช่วง มูลพินิจ นึกถึงสองพี่น้องมหัศจรรย์อัศนีย์-วสันต์ โชติกุล นึกถึงโน๊ส อุดม แต้พาณิชย์ นึกถึง อาจารย์กำธร ทัพคัลไลมือทำหนัง ดร.ปราจิณ เอี่ยมลำเนา  สุเทพ วงศ์กำแหง  ชาย เมืองสิงห์ คณะตลก ๔ ชาย สมยศ ทัศนพันธุ์  ธรรมรัตน์ นาคสุริยะ  
  • นึกถึงนักเขียน คนทำหนังสือ และคนเขียนรูปอีกมากมาย ผมกับเพื่อนเคยนั่งนับนักเขียนรางวัลซีไรต์และศิลปินแห่งชาติของไทยทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็พบว่านักเขียนรางวัลซีไรต์และศิลปินแห่งชาติ เป็นศิษย์เก่าเพาะช่างเยอะที่สุดครับ
  • ท่านอาจารย์รุ่นน้องไม่สบายค่ะ...

    http://gotoknow.org/blog/kukiat/297297

    ขอบคุณครับคุณครูอ้อยเล็ก ได้แวะไปเยี่ยมมาแล้วครับ ดีครับ การมีน้ำใจให้กันนี่เป็นยาวิเศษที่สุดสำหรับทุกคนครับ

    เมื่อวานได้รับ สคส ๒๕๕๓ จากแกนประสานงานหลักของพี่ๆกลุ่มดอกยี่โถ คือ อาจารย์สมศักดิ์ คงรัตนสมบูรณ์ ด้วยความประทับใจ ทั้งเนื่องจากมีความศรัทธาและนับถือพี่สมศักดื์เป็นทุนเดิมอยู่เป็นส่วนตัว และรูปใน สคส ซึ่งเป็นพระรูปไฟเบอร์กลาส สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงประทับนั่งพับเพรียบอยู่บนพื้นเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระบรมราชชนนีฯ ซึ่งทั้งสวยงามและมีความน่าอัศจรรย์ในแง่ศิลปะที่พี่สมศักิด์และทีมของพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทยเชี่ยวชาญ และความเป็น สคส ที่ให้ความเป็นสิริมงคลที่ได้รับและได้เห็น

    เลยก็เพิ่งนึกขึ้นได้อีกรอบว่าผมลืมไปเอารูปที่ร่วมแสดงกับพี่ๆเขาที่สวนสัตว์ดุสิตเขาดินวนากลับมาหลังจากแสดงงานเนื่องใน ๗๐ ปีของสวนสัตว์ฯแล้ว สงสัยจะดีใจมากไปหน่อยที่ได้ร่วมแสดงงานกับกลุ่มพี่ๆนะครับ

    เลยขอถือโอกาสมอบ สคส สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ทั้งกับพี่สมศักดิ์และพี่ๆกลุ่มดอกยี่โถเลยนะครับ ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัย พระบารมีปกเกล้าฯ พระบารมีพระสยามเทวาธิราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลที่ทุกท่านเคารพนับถือ รวมทั้งคุณูปการมากมายที่ทุกท่านได้ทำให้แก่สังคม จงร่วมเป็นพละ ปฏิภาณ วรรณะ สุขะ เกื้อหนุนให้พี่สมศักดิ์และพี่ๆกลุ่มดอกยี่โถทุกท่านให้มีความสุขสดชื่นสมหวัง จงทุกประการในปี ๒๕๕๓ และตลอดไปด้วย เทอญฯ

                           

                            

     รูปวาดทั้งชุดนี้ เป็นงานที่ทำขึ้นหลังจากการแสดงงานกับกลุ่มดอกยี่โถที่เขาดินและที่หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผลพวงจากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเดินบวกความสร้างสรรค์ให้กันในเวทีคนหนองบัว และตอนนี้กำลังจัดเป็นนิทรรศการอยู่ที่ร้านหนังสือเบิกม่าน หน้ามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม แสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ จนถึงกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๓ ครับ อาจารย์ณัฐพัชร์ได้กรุณารวบรวมทำเป็นการ์ดเหมือนกับปฏิทินตามการเสนอความคิดของท่านพระอาจารย์มหาแล ซึ่งเป็นท่านหนึ่งที่ร่วมเสวนาและเป็นที่มาของการวาดรูปชุดดังกล่าวนี้ด้วย ส่วนรูปถ่ายนั้น เป็นรูปดอกบานบุรี ฟอร์มมันเหมือนดอกยี่โถ เป็นดอกไม้ที่บ้านผมที่อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ครับ ดูแล้วสดชื่นและเห็นพลังความงอกงามดี

    ขอส่งความสุขมายังทุกท่านด้วยจิตคาระวะครับ จากทีมวิจัยสร้างสุขภาวะชุมชน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | ชมรมชีวเกษมและเครือข่ายชุมชน : ปรีชา ก้อนทอง | ศราวุธ ปรีชาเดช | สนั่น ไชยเสน | เริงวิชญ์ นิลโคตร | กานต์ จันทวงษ์  | อาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ | ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

     

     ภาพนี้  น่าจะทำยาก เพราะเนื้อกระดาษไม่เรียบสม่ำเสมอ

    แต่งดงามค่ะ

    • คนเข้ามาดูหัวข้อที่เกี่ยวกับศิลปะเยอะทุกหัวข้อเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตและงานของอาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู อาจารย์สมบูรณ์ กล่ำสมบัติ อาจารย์วิมลศรี ยุกตะนันท์ รวมทั้งบล๊อกแกลลอรี่ศิลปะออนไลน์ : ศิลปะวิถี ในบล๊อกโอเคเนชั่น หรือบล๊อก เวชนิทัศน์ และ งานสีน้ำชิ้นหนึ่งของผม คงเป็นคนทำงานศิลปะ พี่ๆน้องๆที่เรียนศิลปะ รวมทั้งคนชอบเรื่องศิลปะ
    • ภาพอย่างที่คุณครูเอนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์นี้ เมื่อก่อนนี้ หากทำ Texture อย่างนี้และเขียนด้วยเทคนิคสีน้ำ เหมือนอย่างสื่อที่ใช้ในภาพนี้แล้วละก็ ก็คงจะยากอย่างหืดขึ้นคอละครับ ใครเขียนออกมาได้อย่างนี้ก็ต้องยอมละครับ
    • แต่เดี๋ยวนี้ หากจะเล่นเทคนิคอย่างนี้ก็คงทำได้ไม่ยากแล้วละครับ
    • การเขียนบนพื้นผิวแบบขรุขระอย่างในภาพนี้ เทคนิคอย่างที่เห็นน่าจะเป็นการใช้สีอะครายลิค ซึ่งเขียนเพื่อให้ได้อารมณ์อย่างสีน้ำ ทว่า ง่ายกว่าสีน้ำอย่างยิ่งครับ สามารถเขียนเกลี่ย ซ้อน ถม และทำให้ละลายเข้าหากัน ได้ง่ายกว่าเมื่อยุคต้องเขียนด้วยสีน้ำครับ
    • การทำเฟรมหรือกระดาษให้ได้ Texture อย่างกระดาษสาก็เป็นวิธีการที่ท้าทายและสนุกครับ ให้ตัววัสดุสร้างเรื่องราวและบอกเล่าตนเองได้อีกหลายมิติ
    • ผมเคยผสมกระดาษทิชชู หนังสือพิมพ์ หรือกระดาษที่แช่ให้เปื่อย ด้วยกาวแป้งในระดับต่างๆแล้วก็รองพื้นบนกระดาษหรือเฟรมผ้าใบ เมื่อแห้งก็ทาสีขาว
    • หากใช้เขียนสีน้ำและสีโปสเตอร์เพื่อต้องการให้ซึม ก็ผสมกาวน้อยหน่อยหรือไม่ใช้เลย เพราะกระดาษที่เปื่อยยุ่ยเมื่อตากแดดจนแห้งแล้วก็จะติดแน่นบนพื้นได้เป็นอย่างดี
    • หากจะเขียนด้วยสีอะครายลิคหรือสีน้ำมันก็ลงกาวแป้งกับสีพลาสติด ขนาดและสัดส่วนนั้นก็แล้วแต่ประสบการณ์และวิธีการเขียนเฉพาะตัวของแต่ละคนเหมือนกันครับ 
    • บางคนก็ใช้วิธีคำนวณเอาเลยว่าใน ๑๐ ส่วนนั้น กาวลาเท๊กซ์ต้องประมาณ ๑ ส่วนต่อสีพลาสติก ๙ ส่วน
    • หลักคิดก็คือ รองพื้นเพื่อให้เห็นเม็ดผ้าใบและลายที่เป็น Texture ซึ่งหากรองพื้นบางไป เนื้อผ้าใบก็จะดูดสีและมีเดียมที่ใช้ ทำให้รูปเขียนด้านและเสียคุณสมบัติความเป็นสีน้ำมัน แต่ถ้าหากรองพื้นหนา สีรองพื้นก็จะกลบเม็ดผ้าใบและเขียนรื่น เล่น Texture ไม่ได้
    • การผสมกาวกับแป้งและสีพลาสติก จะทำให้ไม่ต้องรองพื้นหนาและแก้ปัญหาการดูดสีกับมีเดียมของผ้าใบและตัวสีรองพื้นเอง
    • หลักคิดเพื่อการแก้ปัญหาด้วยการรองพื้นก็อยู่ตรงนี้แหละครับ ใครจะชอบหรือปรุงแต่งวิธีการเองอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความชำานาญในแต่ละเทคนิคการเขียนของแต่ละคนมากเหมือนกันครับ

    ขอบคุณมาก สำหรับความรู้เรื่องการรองพื้น  แต่ต้องดูที่วัสดุที่เราใช้อีกทีใช่ไหมค่ะ 

    แต่งานนี้ถ้าเป็นสีน้ำกับกระดาษสา ถึงว่าหินมากๆเลยค่ะ

    แล้วถ้าเป็นกระดาษสากับสีฝุุุ่่นล่ะค่ะ

     

    • รูปนี้ชอบการเล่นสีเหลือบนะครับ
    • สีกลุ่มนี้ กลุ่มคนเพาะช่างรุ่นเก่าๆเล่นเก่งนะครับ อันนี้ผมสังเกตเอาเอง
    • โดยเฉพาะการผสมกลมกลืนสีเขียว Sap Green สีแดง Rose Madder สีม่วง Purple สีน้ำทะเล Ultramarine และสีฟ้า Currurine Blue เหลือบได้อย่างกลมกลืน ไม่เน่า ไม่ทึบ คุมโทนได้ทั้งหมด ไม่กระโดดออกจากกันเลยสักสีนะครับ สวยครับ
    • พี่กลุ่มนี้ก็คือกลุ่มที่ทำ สคส และการ์ดในโอกาสต่างๆ ที่เรามักเห็นกันมานานนมนั่นแหละครับ คนที่ทำในรุ่นหลังๆก็ได้อิทธิพลของงานกลุ่มนี้แหละครับเป็นต้นแบบ
    • การเขียนกระดาสากับสีฝุ่นนี่นึกภาพไม่ออกเลยครับว่าจะใช้ทำงานอะไร
    • สีฝุ่นสามารถเตรียมสำหรับทำงานได้สองแบบครับ คือ เขียนแบบสีโปสเตอร์ กับเขียนแบบสีน้ำมัน
    • การเขียนแบบสีโปสเตอร์นั้น เป็นคุณสมบัติของสีฝุ่นอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะสำหรับทำงานจิตรกรรมไทยประเพณีซึ่งเขียนแบบเกลี่ย ไม่ค่อยมีเนื้อสี กลบและซ้อนกันได้หลายชั้นเพื่อให้ได้น้ำหนักเข้มข้นอย่างที่ต้องการ
    • หากจะเขียนอย่างเทคนิคของสีน้ำมัน ก็ต้องผสมกาว ผสมสีพลาสติกเพื่อให้มีเนื้อสีเกาะกับพื้นผิววัสดุที่ใช้เขียนได้ดีขึ้นครับ แต่ไม่ค่อยสวย
    • คนที่ทำงานจิตรกรรม จะฝึกมือกับสีฝุ่นก่อนให้แม่นยำเรื่องแสง-เงา การอ่านสี และการเล่นทีแปรง พอได้ที่แล้วจึงจะไปเขียนสีน้ำมันเพราะมันแพงน่ะครับ สีฝุ่นดีๆก็แพงครับ แต่ถูกกว่าสีน้ำมัน
    • หากจะเขียนเทคนิคแบบสีน้ำมัน ก็ไม่น่าจะเหมาะกับกระดาษสานะครับ เว้นเสียแต่จะเล่นเทคนิค ซึ่งบางทีก็เคยเห็นงานที่ใช้กระดาษผสมกับสีฝุ่นแล้วโปะเป็นก้อนๆ เหมือนกับการเขียนด้วยเกรียงในงานแนว Expressionist
    • แต่ก็น่าลองเพื่อศึกษาดูนะครับ ได้ผลอย่างไรก็ลองเอามาเล่าแบ่งปันกันนะครับ

    ขอบคุณคุณครูเอที่มาเยือนและนำเรื่องราวต่างๆมาสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ

    ต้องรบกวนเข้ามาขอคำแนะนำบ่อยๆนะค่ะ ครูเอไปสมัครบล๊อกศิลปะของ อาจารย์แล้วนะคะ่

    • ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับครูเอครับ
    • ขอให้มีความสุขความเพลิดเพลินกับการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาศิลปะตามความสนใจครับ

    อาจารย์สมศักดิ์ คงรัตนสมบูรณ์ จากสถาบันหุ่นขี้ผึ้งไทย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รุ่นพี่อาวุโสของผมจากเพาะช่าง และเป็นสมาชิกของชมรมศิษย์เก่าเพาะช่าง รุ่น ๐๘-๑๐ หรือกลุ่มดอกยี่โถ ได้กรุณาส่งการ์ดบอกกล่าวและชวนเชิญไปร่วมกิจกรรมการแสดงงาน ผมจึงขอช่วยเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ บอกกล่าวต่อๆกันไปทั้งสำหรับชาวเพาะช่างและผู้สนใจศิลปะทั่วไปนะครับ...

                            

                                             องค์พระวิษณุกรรม องค์ซ้าย หน้าโรงเรียนเพาะช่าง 
                                             ขอบคุณภาพจาก google

                              ชมรมศิษย์เก่าเพาะช่าง รุ่น ๐๘-๑๐
                              ขอเชิญร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน

                              นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยศิษย์เก่าเพาะช่าง ครั้งที่ ๕      

                              ณ  หอศิลป์เพาะช่าง  ถนนตรีเพชร  กทม.
                              วันอาทิตย์ที่  ๗  พฤศจิกายน  ๒๕๕๓  เวลา ๑๔.๐๐ น.

    พี่อาจารย์...ไม่มีใครทราบสาเหตุของเว็บเลยค่ะ..อาจหมดสัญญาเช่า..หรือเซิร์ฟเวอร์ล่มก็เป็นได้ค่ะ...

    เสียดายจังเลยนะครับ มีรูปถ่ายและเรื่องราวหลายอย่าง ที่ตั้งใจถ่ายทอดไว้ให้รุ่นน้องๆและคนรุ่นหลังๆ งานของคนอื่นๆก็เป็นงานแบบ Master piece เลย มีมืออาร์ตจากเอเจนซี่ ที่เป็นมืออาชีพในวงการหลายคนมาเขียนเกี่ยวกับการทำงานความคิดที่อยู่เบื้องหลังงานดีๆหลายชิ้น รวมทั้งมีเรื่องราวของคนเพาะช่างเป็นจำนวนมากที่ไม่มีถ่ายทอดและบันทึกไว้ที่ใด

    วันนี้ ๗ มกราคม เป็นวันเกิดเพาะช่าง
    ขอน้อมบูชาพระวิษณุกรรม เทพและครูแห่งช่าง
    ขอน้อมคารวะบูชาดวงวิญญาณศาสตราจารย์ประกิต(จิตร) บัวบุศก์
    กราบคารวะครูเพาะช่างทุกท่าน
    ขอน้อมรำลึกพี่ๆเพื่อนๆและน้องๆชาวศิลปหัตถกรรมราชบุรี
    และคนทำงานศิลปะทุกคน

    • สวัสดีค่ะอาจารย์วิรัตน์ ..
    • ขอร่วมน้อมบูชาครูแห่งช่าง พระวิษณุกรรม ด้วยคนค่ะ กับภาพศิษย์เก่าเพาะช่าง อาจารย์สงัด ปุยอ๊อก และผลงานบางส่วนของท่าน กับ ผศ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ อีกทั้งเป็นครูศิลปะทั้งโดยตรงและทางอ้อม ของทั้ง ๒ ท่าน ...

              

             

             

             

             

    สวัสดีครับอาจารย์ณัฐพัชร์ครับ

    • ผมเองนั้น รู้จักผลงานและตัวท่านอาจารย์สงัด ปุยอ๊อก เชื่อว่าเกือบ ๓๐ ปีครับ แต่ก็รู้จักเพราะชื่นชอบผลงานและรู้จักด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณของท่าน เพิ่งจะได้คุยกับอาจารย์เองโดยตรงนี่แหละครับ
    • เมื่อได้คุยแล้ว ก็เลยต้องยอมรับว่าช่างเข้ากับบรรยากาศของวันเกิดเพาะช่างและเข้ากับแกลลอรี่ออนไลน์-พิพิธภัณธ์งานแสดงศิลปะออนไลน์นี้ได้อย่างเหมาะเหมงมากเลยละครับอาจารย์ณัฐพัชร์
    • แรกเลยนั้น ก็ได้ทราบว่า อาจารย์เคยเป็นหัวหน้าภาควิชาพื้นฐานการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเป็นเพื่อนกันกับท่านรองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ สุขพันธุ์โพธาราม อาจารย์อีกท่านหนึ่งของภาควิชาพื้นฐานการศึกษา งานของท่านอาจารย์สงัด ปุยอ๊อกนั้นผมถือว่าเป็นครูศิลปะของผม ส่วนท่านอาจารย์ รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ สุขพันธุ์โพธารามนั้น เป็นครูอาจารย์ที่สอนผมเลยทีเดียวครับ ท่านอาจารย์ได้เขียนเรื่องราวทางศิลปะให้อาจารย์สงัดท่านพิมพ์ในสูจิบัตรในการแสดงงานที่หอศิลป์จามจุรีย์ในปี ๒๕๕๔ ที่เห็นในภาพของอาจารย์ครั้งนี้
    • ขณะเดียวกัน ผมเพิ่งทราบว่าได้รับรู้และเข้าใจเพียงส่วนหนึ่งไปว่าอาจารย์สงัด ปุยอ๊อกนั้น ทั้งเป็นจิตรกรจากสำนักมหาวิทยาลัยศิลปากร เพิ่งจะได้ทราบจากที่สนทนากับท่านว่าท่านเป็นศิษย์เก่าของเพาะช่างด้วย อีกทั้งเป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์เฉลิม นาคีรักษ์และอาจารย์สมบูรณ์ กล่ำสมบัติครูศิลปะของผมอีกด้วย เป็นทั้งศิษย์ร่วมสำนักและมีครูเดียวกันเสียอีก ไม่เคยทราบมาก่อนเลย
    • แต่ทราบมาก่อนว่าอาจารย์มีพื้นเพเป็นคนราชบุรี ทว่า อาจารย์อยู่เชียงใหม่มาตลอด ผมก็เลยนึกถึงว่าอาจารย์เป็นคนเชียงใหม่
    • พอคุยไปคุยมา ก็กลายเป็นว่าเมื่อตอนอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนและเริ่มทำงานนั้น อาจารย์เช่าบ้านของตระกูลขุนช่วงสุวนิช ผู้หลักผู้ใหญ่ของราชบุรีและเป็นญาติพี่น้องของอาจารย์ณัฐพัชร์ แล้วก็เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับญาติของอาจารย์ โลกช่างแคบจริงๆเลยนะครับ

    สวยงามมากค่ะ..... ดูแล้วอยากวาดภาพเป็นจังเลย....มหัศจรรย์จริงๆ........เลย

    สวัสดีครับคุณนภาพรครับ
    ดีใจครับที่แวะเข้ามาชมแล้วก็ได้ความสุข ได้ความคิดอยากลองทำสิ่งดีๆให้ตัวเอง เมื่อก่อนเวลาอยากดูรูปเขียน ต้องตระเวนหาดูตามแกลลอรี่ ห้องสมุด และขออาศัยไปดูตามบ้านครูอาจารย์ทางศิลปะ หาแหล่งสาธารณะที่จะดูได้ง่ายๆและหลากหลายไม่ค่อยได้เลย เรื่องราวในบันทึกทางศิลปะและชวนคิดชวนคุยทางศิลปะที่ผมทำขึ้น ก็มีที่มาด้วยเหตุผลอย่างนี้ด้วยเหมือนกันครับ อยากให้คนที่เหมือนอย่างที่ตนเองเคยเป็น ได้คงมีความสุขที่จะได้เปิดกว้างไปกับการได้ดูงานและอ่านเรื่องราวทางศิลปะ แต่มีคนช่วยกันสร้างสมไว้ให้หลากหลายมากกว่ายุคของก่อน คนรุ่นหลังๆต้องได้มีโอกาสดีกว่าเรา

    ๑๖ มกราคม วันครู ๒๕๕๕
    และเดือนวันเกิดเพาะช่าง ครอบครอบ ๙๙ ปีเพาะช่าง
    ขอน้อมสักการะพระวิษณุกรรมเทพแห่งครูช่าง
    และขอน้อมรำลึกถึงพระคุณครูศิลปะทุกท่าน

    ศิริวัฒน์ ท้าวประยูร

    ผมเพิ่งมีโอกาสได้เปิดเจอและพบว่าคุณสุธิชา เพิกจินดาได้ถามหาพื่อให้พบคุณพ่อ เนื่องจต่อได้หรือไม่ากได้มีโอกาสไปทำฉากภาพยนณ์ของคุณเชิด ทรงศรี ดีใจมากครับที่ยังมีคนคิดถึงเพราะนานมากแล้ว ปัจจุบันภาพยนตร์ท้ายสุดที่ทำ คือ พระนเรศวรมหาราช ของท่านมุ้ย เดี๋ยวผมจะลองติดต่อกลับไปที่คุณสุธิชาไม่รู้ว่าจะติดต่อได้หรือไม่ โอกาสนี้ต้องขอขอบคุณวิรัตน์ เป็นอย่างมากที่ทำให้มีสิ่งดีๆได้คุยกันคนเพาะช่างของเรา ผมดีใจจริงๆ คิดว่าวันเกิดเพาะช่างปีนี้คงมีโอกาสได้ไป ขอบคุณครับ เบอร์ติดต่อ 0898035448,0898216190,021720025

    สวัสดีค่ะ คุณอาศิริวัฒน์ ท้าวประยูร 

    หนูเป็นน้องสาวของคุณสุธิชา เพิกจินดา ที่ได้เขียนโพสต์ข้อความไว้ด้านบน ตามหาคุณอาเมื่อ 4 ปีก่อนนู้น

    พอดีว่าวันนี้เมื่อก่อนเที่ยง หนูอยู่บ้านกับพ่อ พ่อำด้เล่าให้หนูฟังว่าพ่อได้คุยกับคุณอาแล้ว พ่อบอกว่าคุยกันนานมาก

    เหมือนความรู้สึก และบรรยากาศเก่าๆ ของเค้ากลับมาอีกครั้ง พ่อบอกว่าน้ำเสียงและการพูดคุยของคุณอายังเหมือนเดิมทุกอย่าง

    ยังเป็นน้ำเสียงที่จริงใจ ใจเย็น และเป็นกันเองเหมือนเดิม

    หนูขอบคุรคุณอามากนะคะ ที่ช่วยส่งเสียงตอบกลับมาให้วันนี้เป็นวันที่พ่อหนูมีความสุขวันหนึ่ง จากหน้าตาที่เคยดูป่วยๆ

    วันนี้พ่อหน้ายิ้มขึ้นมาเลยค่ะ ทำหน้าเหมือนมีความหวัง ว่าในเร็ววันนี้เค้าต้องได้พบกับคุรอาแน่ๆ

    พ่อบอกหนูว่า ยังคุยกับอาไม่ทันจบดี ยังอยากจะบอกคุณอาอีกว่า หากคุณอาว่าง หรือมีโอกาสผ่านมาทาง จ.ราชบุรี

    และหากไม่เป็นการรบกวนคุรอาจนเกินไป อยากให้คุณอาแวะมาเยี่ยมที่บ้านบ้าง พอดีตอนนี้พ่อทำอาชีพเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (กุ้งแม่น้ำ)

    ก็เลยอยากให้คุรอาแวะมากินกุ้ง มาทานข้าวที่บ้านน่ะคะ  ...ที่บ้านโพหักนี้ ยินดีต้อนรับคุณอา และครอบครัวเสมอนะคะ

    ....หากคุณอามี facebook หนูอยากรบกวนคุณอาให้ช่วยทิ้ง id facebook ไว้หน่อยนะคะ

    พ่อเค้าอยากเห็นคุณอาน่ะค่ะว่าเป็นอย่างไรบ้าง ....หนูไม่รบกวนคุรอาแล้วค่ะ สวัสดีค่ะ

    facebook หนู  sirima phoekchinda 

    facebook พี่สาวหนู (คุณสุธิชา) jeab phoekchinda 

    ขอบคุณครับหลานสิริมา บอกคุณพ่อด้วยว่าอาจะไปเยี่ยมและจะพาครอบครัวไปด้วยแน่นอน รอโอกาสอีกหน่อย เฟสของอาไม่มีแต่ติดต่อดูอาได้ที่เฟสข้างบนนี้ เป็นของแฟนอาเอง จะมีรูปลูกชายลูกสาว เว้นคุณภรรยาไม่ยอมเผยโฉม ลองเปิดให้คุณพ่อดูนะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท