การพัฒนาแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


การพัฒนาแบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

 

หัวข้อการวิจัย       การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้

                               ภาษาไทย  ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  พ.ศ. 2550  

                                                                 

ผู้วิจัย                    นางสาวณัฏฐ์ชรินท์  ตลอดพงษ์

 

 

                                กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนสะพือวิทยาคาร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี  เขต  2  จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 30 คนได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 3 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน รวม  12 ชั่วโมง  รูปแบบการทดลองคือ One - Group Pretest - Posttest Design  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย  แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก  กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  แผนการจัดการเรียนรู้ และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำยาก  ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ .32-.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .22-.93 และค่าความเชื่อมั่น .89  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่  ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ค่าเฉลี่ยร้อยละ  และการทดสอบค่า  t

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำยากก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  

                      ผลการวิจัยพบว่า

                           1.  แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ  85.08/82.92 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้  80/80

                          2.  นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสะกดคำยากหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05


 

 

หมายเลขบันทึก: 248110เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนคำยาก ระดับชั้น ม.3 ให้ได้ผลดีขึ้นนับว่าเป็นเรื่องยากมาก แต่ผู้ดำเนินการวิจัยทำได้สำเร็จ และสามารถพัฒนานักเรียนได้สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่น่าเชื่อถือ และสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นับว่าเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างแท้จริง

นักเรียนที่สอนก็มีปัญหาเรื่องเขียนสะกดคำเช่นกัน การเขียนสะกดคำระดับช่วงชั้นที่ 3 ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกให้ผู้เรียนมีความแม่นยำในการเขียนสะกดคำ

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีถ้อยคำมากมาย แต่ละคำจะมีหน้าที่ในการใช้และมีความหมายแตกต่างกันไป จำเป็นที่จะต้องสะกดให้ถูกต้องตามอักขรวิธี เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ถูกต้อง การเขียนสะกดคำให้ถูกต้องนั้น ต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้คำประเภทต่างๆ ถ้าหากไม่แน่ใจในการเขียน ควรใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นเครื่องมือค้นหาคำที่ต้องการ หรือใช้อ้างอิงด้วย ขอบคุณอย่างยิ่งที่แบ่งปันความรู้ให้

พอเริ่มต้นอ่านเหมือนเป็นกำลังใจให้กับตนเองที่เริมเรียนป.โท เป็นแนวทางที่ดีจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท