สัดส่วนของสตรีในระดับบริหาร


การที่ผู้หญิงขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารน้อยเพราะเป็นเรื่องของการตัดสินใจไม่อยากให้คิดเช่นนั้นเพราะ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าเรื่องเพศ

      ดิฉันอ่านบทความเรื่องสัดส่วนสตรีในระดับบริหาร จากรายงาน สิทธิสตรีกับเสียง ทางการเมืองในประเทศไทย จัดทำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)และมูลนิธิผู้หญิงเพื่อการพัฒนาประเทศไทยจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 29 มีนาคม 2549 พบข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนของสตรีในระดับบริหารน่าสนใจหลายประการคือ

การเมือง  รมต.หญิง 1 คน จาก 36 คน      ผู้ว่าราชการจังหวัด  1 คนจาก 76 คน

รัฐสภา   10%    ข้าราชการหญิงอาวุโส  สัดส่วน 1 ใน 4    

ข้าราชการหญิงระดับผู้ช่วย 2 ใน 3   นายอำเภอหญิง 0.3% 

รองนายอำเภอหญิง 12.6%   ผู้ใหญ่บ้าน 2.3% องค์การปกครองท้องถิ่น ต่ำกว่า 7% 

กระทรวง 

           ผู้บริหารหญิงมากที่สุด   กระทรวงพาณิชย์(50%) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (38.5%) กระทรวงศึกษาธิการ(31.6%)

           ผู้บริหารหญิงน้อยที่สุด   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์(6.4%) กระทรวงคมนาคม(3.7%)กระทรวงมหาดไทย(3.3%)

องค์กรอิสระ

            มากที่สุด    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(45%)      คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(20%)  คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์(18%) 

            น้อยที่สุด    คณะกรรมการเลือกตั้ง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

รัฐวิสาหกิจ

           มากที่สุด    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(33%)  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(20%) และบริษัทกสท.โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน)(20%)

           น้อยที่สุด   บริษัท อสมท.จำกัด(มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทการบินไทย(กรรมการ 15 คน) เป็นชายทั้งหมด

           ล่าสุดทราบสุดว่า มีสว.กทม.หญิง 3 คนใน 18 คน คิดเป็น 16.7%

           ทั้งนี้นายโฮกัน ปีจองแมน รองผู้แทนสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติแห่งประเทศไทยได้เสนอให้ภาครัฐแสดงความมุ่งมั่นและเป็นผู้นำในการเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในระดับบริหารมากขึ้น รวมทั้งการตั้งศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในทุกส่วนราชการ ตลอดจนสร้างทัศนคติใหม่ ๆ ที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิงสำหรับคนรุ่นใหม่ เยาวชน ขจัดภาพลักษณ์ผิด ๆเกี่ยวกับผู้หญิงให้หมดไป  และ ดร.จุรี  วิจิตรวาทการ ประธานมูลนิธิผู้หญิงเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า                                                           

การที่ผู้หญิงขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารน้อยเพราะเป็นเรื่องของการตัดสินใจไม่อยากให้คิดเช่นนั้นเพราะ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าเรื่องเพศ

ดิฉันเห็นด้วยกับ ดร.จุรี เป็นอย่างมากตัวผู้หญิงไม่ใช่อุปสรรคแต่ผู้บริหารและบุคคลต่าง ๆ อาจคิดเช่นนั้น นับว่าไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ที่เกิดมาเป็นผู้หญิงเท่าใดนัก มีใครเห็นเป็นอย่างไรบ้างคะ ลองแลกเปลี่ยนกันดู

หมายเลขบันทึก: 24575เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
คิดว่าการที่ผู้หญิงได้เป็นผู้บริหารน้อยขึ้นอยู่กับสมรรถนะของแต่ละบุคคลที่แต่ละองค์กรเลือกตามระบบตามเกณฑ์มากกว่าคงไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการกีดกันเกี่ยวกับการเป็นเพศหญิง แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวพบว่าผู้หญิงบางคนที่เป็นผู้บริหารมักมี EQ ไม่เท่าผู้บริหารที่เป็นผู้ชาย เช่น ความแปรปรวนทางอารมณ์ คิดเล็กคิดน้อย จุกจิก ขี้บ่น เจ้าโกรธเจ้าแค้น ขี้อิจฉา โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้แต่งงานหรือแต่งงานแต่สามีเจ้าชู้ เป็นต้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท