ประชาสังคม


แม้จะยอมรับการช่วยเหลือจากรัฐ และทำงานร่วมกับรัฐได้ แต่ไม่เน้นความขัดแย้ง หากเน้นการประสานความร่วมมือแทน ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นลัทธิปัจเจกนิยมสุดขั้ว

แม้จะยอมรับการช่วยเหลือจากรัฐ และทำงานร่วมกับรัฐได้ แต่ไม่เน้นความขัดแย้ง หากเน้นการประสานความร่วมมือแทน ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นลัทธิปัจเจกนิยมสุดขั้ว         อันเนื่องมาจากการการคุยกันในหมู่เพื่อนๆ(เคยได้ยินนพ.โกมาตรเรียกว่าสุนทรียสาธก) นายสถาปนิกอารมณ์ศิลปินจัดได้เอ่ยถึงคำว่า"ประชาสังคม" เจ้าสถาปนิกอ้วงว่าเป็นนโยบายที่มันอยากให้เกิดในประเทศไทย เอาละสิพยาบาลไทยสู้ๆ(ผู้บอบบางน่าทนุถนอม) ก็เกิดอาการฮงๆ เพราะทุกวันได้ยินแต่ระบบทักษิณ ....ระบอบทักษิณ เอาน่าถ้าถามเจ้าสถาปนิกมันคงร่ายยาวจนเรายิ่งเกิดอาการฮงๆมากขึ้นไปอีกจนอาจเป็นต่อมความคิดอักเสบได้ เราไปได้หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "ประชาสังคม" เขียนโดยดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน เริ่มเปิดอ่านได้เล็กน้อยแต่พอได้ใจความว่า สังคมที่เข็มแข็งของชาวประชาที่แสดงให้เห็นความต่างของความสัมพันธ์ของเครือข่ายประชาสังคมกับรัฐ และรัฐกับตัวปัจเจก (ยิ่งงงหนักละซิ) ประชาสังคมต้องไม่ยอมให้รัฐครอบงำบงการ แม้จะยอมรับการช่วยเหลือจากรัฐ และทำงานร่วมกับรัฐได้ แต่ไม่เน้นความขัดแย้ง หากเน้นการประสานความร่วมมือแทน ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นลัทธิปัจเจกนิยมสุดขั้ว เขามองว่าประเทศประกอบด้วย 4 องคาพยพ คือ

  1. รัฐหรือรัฐบาล
  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  3. ตลาดหรือภาคเอกชน
  4. ประชาสังคม

        ต่อจากนี้ไปเป็นเป็นข้อคิดเห็นและความรู้สึกล้วนๆอาจมีข้อผิดพลาดเยอะหากมีท่านผู้ใดอ่านช่วยชี้แนะแก่ผู้น้อยที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องประชาสังคมก็จะเป้นพระคุณอย่างยิ่ง

        รู้สึกว่าเป็นความเหมือนในความต่างกับสามมุมของสามเหลี่ยมเขาของอาจารย์ประเวศ วะสี

แล้ว 4 องคาพยพของเรากำลังอ่อนแออยู่หรือเปล่า มองเห็นประเทศชาติอยู่ในหมอกควัน ภาพมันเบลออาจเกิดความผิดพลาดในการมองอนาคต ใครอาจคิดถึงการปฏิรูปการเมืองแต่เราคิดถึงการปฏิรูปคนมากกว่า ตราบใดที่เรายังเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม มองว่าการขับเคลื่อนในหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งไม่ใช่หน้าที่ของเรา ให้แก้รัฐธรรมนูญอีกกี่ครั้งก็ยังไม่เหมาะกับเราสักทีจริงไหม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24567เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท