๕๖.ความสุขที่กำลังผ่านไป


ความสุขความดีใจมักจะมาหาเราโดยไม่รู้ตัว

                    ว่ากันว่า  ความสุขความดีใจมักจะมาหาเราโดยไม่รู้ตัว  ไม่น่านก็จะจากไปราจึงควรเก็บความสุขความประทับใจไว้ในความทรงจำให้มากเข้าไว้.....เฉกเช่น...พวกเขา  8 หนุ่มแห่ง "จักรยานน้ำเก็บขยะ"  ผู้ฝากผลงานที่ผู้คนต่างทึ่งในความสามารถ  ที่เกิดจากแรงบันดาลใจของพวกเขาหลอมรวมกัน  ออกเป็นชิ้นงานที่ใครเห็นก็ต้องยอมรับ  ซึ่งกว่าจะถึงวันนี้  ทุกท่านคงจะได้อ่านเรื่องราวของพวกเขาไปบ้างจากบันทึกก่อนหน้านี้ไปแล้วนะคะ
                     จากวันนั้นจวบวันนี้ครึ่งปีแล้ว  ไวเหมือนโกหกเลยนะคะ  พวกเราต่างได้รับการยอมรับในความสามารถในระดับหนึ่ง  พวกเรามีความสุขมากๆ  ตอนเย็นทุกคนจึงอยากแบ่งปันความสุขโดยการเป็นผู้ให้บ้าง  นั่นคือ การอาสาที่จะสอนวิธีการที่จะได้มาซึ่งชิ้นงาน  และยังสอนทักษะการปฏิบัติให้กับผู้ที่สนใจ  อีกทั้งมี"นัน" ที่พอจะมีความรู้ภาษาอังกฤษพื้นฐาน  แถมยังมีบริการสอนการพูดหน้าที่ประชุมชนให้อีก  เรียกกันว่า  ใครถนัดอะไรก็จะถ่ายทอดสิ่งนั้น   ตามที่ตนถนัด  ทำไมครูแป๋มถึงกล้าที่จะให้พวกเขาสอนน้องๆน่ะเหรอคะ... นี่แหละค่ะเป็นการฝึกทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ "เราต้องสรรหาวิธีการที่จะพูดให้ผู้อื่นเข้าใจ  ไม่ใช่ให้ผู้ฟังหาวิธีการฟังให้รู้เรื่อง" ซึ่งทักษะหลังนี้จะต้องเชี่ยวชาญทักษะแรกให้ได้ก่อน  ทุกอย่างราบรื่นดีค่ะ  เพราะพวกเขามีวินัยในตนเองที่จะต้องมาบอกครูแป๋มหากจะไม่ได้มา  หรือไปธุระต้องมาช้า  เป็นตัวอย่างให้กับเด็กในโรงเรียนที่มักจะมาถามครูแป๋มด้วยความสงสัย .... ครูแป๋มไม่ให้คำตอบหรอกค่ะ  "อยากรู้ก็ไปถามพี่เขาเลยสิจ๊ะ ได้ข้อมูลตรงเลย น่าจะดีกว่าไหมจ๊ะ" "ค่ะ" วันแรกๆเขิน ต่อๆมาวันไหนน้องไม่มาหรือตัวเองไม่ได้  ก็จะรู้สึกว่าชีวิตจะต้องขาดอะไรไปอย่าง.....ดีใจจังค่ะ เขารู้จักรับผิดชอบตัวเอง  หากครูแป๋มต้องไปราชการ กระบวนการ็ยังดำเนินอยู่  นี่ค่ะ คือสิ่งที่ครูแป๋มต้องการที่จะบอก  เด็กห้องท้ายเอาคะแนนมาล่อไม่ได้ผลหรอกค่ะ  จะให้บังคับมาเหรอคะ ลืมไปเลย สิ่งที่จะทำให้พวกเขามาได้อย่างเต็มใจ คือ "การให้การยอมรับความสามารถของพวกเขา  ยอมรับความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ต่างจากเด็กแผนวิทยืเลย  บางคนมีมากกว่าด้วยซ้ำ การให้กำลังใจที่มากกว่าปกติ เมื่อพวกเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับ  และเสริมแรงให้พวกเขาอยากที่จะพิสูจน์ตัวเอง" 
                  
นี่คือช่วงเวลาแห่งความสุขที่กำลังจะพรากจากไป  ตอนหน้าจะเป็นเรื่องจะเป็นภาคต่อนับจากนี้  เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา  ทำไมต้องทุกข์ใจ  และทุกข์ใจมากกว่าวันแรกที่เขาเดินมาหาครูแป๋ม....รอนะคะ

หมายเลขบันทึก: 242731เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ใช่เลยค่ะ..ต้องให้การยอมรับและเป็นกำลังใจให้กับพวกเค้า..คนเราได้รับกำลังใจก็มีพลังพัฒนาตนเองอีกเยอะเลย..

ขอบคุณบันทึกดีๆนี้ค่ะ.ครูแป๋ม^^

สวัสดีครับอาจารย์ มาให้กำลังใจ " คนบ้านเดียวกัน "

แวะมาให้กำลังใจด้วยคนนะคะ

ใช่แล้วครับ ทุกคนอยากมีความสุข ความดีใจกันทั้งนั้น และไม่มีใครยอมรับความเศร้าโศกเสียใจที่กำลังมาแทนที่

น้องครูแป๋มเยี่ยมมากๆๆ พยายามสอนให้เขาใฝ่รู้ใฝ่เรียนเองนะครับ เอาใจช่วยครับผม

ขอบคุณครูแอ๊วค่ะที่เข้ามาเสริมแรงใจ  และให้แง่คิดที่ดีๆแบบนี้

ชอบค่ะที่ครูบอกว่า "คนเราได้รับกำลังใจก็มีพลังพัฒนาตนเองอีกเยอะเลย"  ขอบคุณค่ะ  เด็กๆคงดีใจที่มีครูใจดีที่เข้าใจเขาอีกคนหนึ่งในโลกใบนี้.....ขอบคุณแทนเด็กๆด้วยค่ะ


นับแต่วันที่คุณครูแป๋มให้ความสำคัญกับเด็กห้องท้าย
โดยการให้โอกาสให้เด็กห้องท้ายได้แสดงออกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง
โดยธรรมชาติแล้วทุกคนอยู่ในสังคมต้องการการยอมรับจากคนในสังคม
และโดยทั่วไปเด็กห้องท้ายมักถูกมองในแง่ลบในสายตาคนอื่น
เด็กห้องท้ายมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนคนอื่นๆ
และอยากจะทำกิจกรรมต่างๆเพื่อการสร้างสรรถ้าเขามีโอกาส
แต่สังคมไม่ให้โอกาสเขา

คุณครูแป๋มเป็นผู้นำ เป็นนักพัฒนา มีวิสัยทัศน์
ปัญหาเด็กห้องท้ายสามารถแก้ไขได้โดยการลดช่องว่าง
ต้องให้โอกาสเด็กห้องท้าย สิ่งที่เด็กห้องท้ายต้องการที่สุดคือการยอมรับจากผู้อื่น
คุณครูแป๋มมีมีการนำกิจกรรมต่างๆมาให้เด็กห้องท้าย
มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการทางความคิดให้กับเด็กห้องท้าย
มิใช่เป็นการให้ท่องจำหรือเป็นผู้บอกขั้นตอนการทำกิจกรรมให้
แต่คุณครูแป๋มสอนให้เด็กแสวงหาวิธีการด้วยตนเอง
โดนคุณครูแป๋มเป็นผู้จุดประกายความคิดเท่านั้น
ให้เด็กได้แสดงความสามารถของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
เด็กห้องท้ายได้เกิดการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม การแบ่งงานรับผิดชอบ
และเกิดการรับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน
ผลงานของเด็กห้องท้ายที่ได้รับรางวัลได้ลบภาพอคติต่างๆของคนรอบข้างอย่างาสิ้นเชิง

หลายคนที่มีความสงสัยว่าทำไมคุณครูแป๋มจึงให้ความสำคัญและให้ความสนใจเด็กห้องท้ายมาแต่แรก ก็คงจะคลายความสงสัยและได้เข้าใจว่าคุณครูแป๋มรักศิษย์ทุกคนไม่ว่าจะห้องท้ายหรือไม่ก็ตาม และเมื่อมารับหน้าที่คุณครูแป๋มก็ใช้วิธีการให้ความสำคัญกับเด็กห้องท้าย โดยการให้โอกาส เพื่อนำไปสู่การยอมรับ ของสังคม

ขอแสดงถ้อยมาเชิดชูความเป็นครูที่ดีของคุณครูแป๋มมา ณ นี้


ข้างล่างนี้คือลิงค์เรื่องราวของเด็กห้องท้ายที่มีความต่อเนื่องในเรื่องราวขอเชิญเข้าไปชมกัน

จักรยานน้ำเก็บขยะ
http://gotoknow.org/blog/jrpkpp/223651


ความหวังเด็กห้องท้าย
http://gotoknow.org/blog/jrpkpp/225274


ปัญหาของเด็กห้องท้าย
http://gotoknow.org/blog/jrpkpp/225697


เวทีแสดงความสามารถ
http://gotoknow.org/blog/jrpkpp/225703


ความรู้ที่คงทนของเด็กห้องท้าย
http://gotoknow.org/blog/jrpkpp/227998

วันนี้ที่รอคอย
http://gotoknow.org/blog/jrpkpp/230309

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาให้กำลังใจครับ

ขอบคุณคุณหนุ่มและคุณแอ๊ดนะคะ
ที่เป็นกำลังใจให้แป๋มตลอดมาค่ะ..

สวัสดีค่ะคุณฤทธิชัยค่ะ

 เห็นด้วยค่ะ 
"ทุกคนอยากมีความสุข ความดีใจกันทั้งนั้น และไม่มีใครยอมรับความเศร้าโศกเสียใจที่กำลังมาแทนที่"
หน้าที่ของเราก็ต้อง  หาทางทำให้เขามีภูมิคุ้มกันให้แกร่งพอที่จะอยู่ในโ
ลกใบนี้ได้ค่ะ  ขอบคุณที่แนะนำมาค่ะ

ขอบคุณ คุณศรีกมล ที่มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • นี่แหละ  คุณลักษณะที่สังคมต้องการ
  • การมีจิตสาธารณะ  ที่เป็นแบบอย่าง
  • ขอปรบมือให้น้องแป๋มและเป็นกำลังให้เด็ก ๆค่ะ
  • "เด็กห้องท้ายเอาคะแนนมาล่อไม่ได้ผลหรอกค่ะ จะให้บังคับมาเหรอคะ ลืมไปเลย สิ่งที่จะทำให้พวกเขามาได้อย่างเต็มใจ คือ การให้การยอมรับความสามารถของพวกเขา"
  • ประสบการณ์เหล่านี้ ไม่เคย ไม่ลอง ไม่รู้..
  • ขอบคุณประสบการณ์ดีๆครับ

แป๋มนั้นคลุกคลีตีโมงกับพวกเขามานานพอควรค่ะ  แป๋มเปิดตัวเด็กเปิดใจต่อกัน   ทำให้ทราบข้อมูลข้างต้น  ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์ดีๆค่ะ    

ขอบคุณค่ะคุณสุวัฒน์ที่ช่วยพูดอีกแรงค่ะ

ได้พิจารณาอ่านถ้วนถี่แล้ว

  • ชอบบทบาทหน้าที่ของความเป็นครูของคุณครูแป๋มมากๆคะ
  • ชอบบทวิเคราะห์สรุปของคุณสุวัฒน์มากเช่นกันคะ

ขอบคุณค่ะคุณนภาพรที่ชอบบทบาทหน้าที่ของแป๋ม จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดค่ะ

บทวิเคราะห์สรุปของคุณสุวัฒน์ แป๋มต้องขอบคุณท่านที่เมตตาวิเคราะห์สรุปให้ เพราะภาษาที่แป๋มใช้กลั่นจากจิตสำนึกที่เกิดขึ้นจริง คุณสุวัฒน์เมตตาทำให้เคลียร์ขึ้นก็ต้องขอบคุณท่านมากค่ะ

สังคมปัจจุบันทำให้ช่องว่างระหว่างครูกับนักเรียนนับวันยิ่งห่างกัน ยิ่งสื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตมากเท่าใด ความเป็น "คน"ก็จะลดลงมากขึ้นดุจเงาตามตัว

เด็กสมัยนี้มีนสัยใจคอก้าวร้าว หยาบคาย ไม่เคารพครู บางครั้งเลยเถิดไม่เห็นหัว เอาครูมาล้อเล่นเป็นที่สนุกสนาน สะท้อนจิตใจมนุษย์ว่าเข้าใกล้...ไปทุกที อดทนครับครู

สวัสดีค่ะ

  • นี่คือปรากฏการณ์ใหม่ในศตวรรษที่ 21
  • แม้แต่ที่บ้านพ่อแม่ลูกน้อยนักที่จะได้พูดจาหยอกเย้ากัน
  • แต่ละคนคร่ำเคร่งอยู่กับกองงานกองโตที่ขนมาจากที่ทำงาน
  • ลูกทำการบ้านหน้าจอคอมพิวเตอร์  ส่งผลให้
  • การกล่อมเกลาทางจิตใจไม่บังเกิดผล
  • ยิ่งมาพบครูที่ทำหน้าที่แค่สอนเข้าออกตามชั่วโมง
  • นอกนั้นไม่เกี่ยวกันปล่อยเป็นหน้าที่ครูที่ปรึกษาที่ก็ระอาละได้ก็ดี
  • เด็กชอบค่ะแบบนี้อิสระ  ฉันนึกอยากทำอะไรก็ทำ  ครูไม่ว่า
  • กำลังใจของคุณให้อดทนจะส่งไปยังครูดีที่ไม่เพิกเฉยต่อ
  • พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท