อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

MPA (มะขามเปรี้ยว)


ในหลวงของเรา ทรงได้รับรางวัล "ผู้นำระดับโลก" เป็นสิ่งที่พวกเราชาวไทย ล้วนปราบปรื้มปิติยินดี สุดหาที่เปรียบมิได้ การเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำระดับโลก ภาวะผู้นำในการจัดการความขัดแย้ง ภาวะผู้นำนวัตกรรมทางความคิด ทางปัญญาระดับโลก สอดคล้องต้องรับกับ “ยุคปัญญาภิวัตน์” เป็นสิ่งที่สังคมโลกชื่นชมพระองค์ท่าน ภาวะผู้นำที่โลกต้องการเป็นอย่างไร สมควรที่เราชาวไทย จะศึกษาและเจริญรอยตามพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง

อาจารย์ยม

สวัสดี ชาว MPA ศิษย์รักทุกคน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมเปิดบันทึกนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งเวทีของการศึกษา ภาวะผู้นำ โดยเน้นที่ "ภาวะผู้นำเพื่อการจัดการความขัดแย้ง" ด้านนโยบายสาธารณะ การปกครองส่วนถิ่น การจัดการองค์การทั้งภาครัฐภาคเอกชน ในโอกาสที่ได้ไปสอน ป.โท MPA ในเรื่อง การจั้ดการความขัดแย้ง นโยบายสาธารณะ และการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการจัดการองค์การภาครัฐภาคเอกชน ด้วยความเชื่อที่ว่า "ถ้าผู้นำ มีภาวะผู้นำที่ดี ปัญหาความขัดแย้ง ย่อมแปลงมาเป็นคุณงามความดี ประโยชน์ต่อส่วนรวมสู่สมาชิกในองค์การ"

ผมได้มอบให้ศิษย์รักชาว

MPA(ระหัสมะขามเปรี้ยว) ได้ร่วมกันเขียนบทความในวโรกาสที่ในหลวงของเรา ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก" ว่าท่านมีความประทับใจอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ และจะดำเนินเจริญลอยตามพระยุคลบาท ได้อย่างไร โดยสรุปสุดท้ายว่า คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการ นั้น มีอย่างไร ในความเห็นของศิษย์ กำหนดวางบนเว็บนี้ ภายในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

แน่นอนว่าศิษย์จะต้องเรียนรู้วิธีการอ่านจับประเด็น

วิธีการค้นคว้าหาข้อมูลจากโลกแห่งความรู้แน่นอนว่า ศิษย์จะต้องเรียนรู้ วิธีการค้นคว้าหาข้อมูล วิธีการอ่าน วิธีการสรุป จับประเด็น วิธีการขยายการต่อยอดประเด็นที่ได้มา วิธีการเขียนบทความ วิธีการลั่นกรองเอาความรู้(Konwledge) ทักษะ(Skill) และการบริหารจัดการ (Management) ของตนการใช้กับระบบ ICT และแน่นอนที่สุดศิษย์จะได้เรียนรู้ ฝึกทักษะในการจัดการความขัดแย้ง ความเครียดในตัวตน ให้ออกมาเป็นผลงาน เป็นจิตมุ่งมั่น เมตตา เผยแพร่ความรู้ลงสู่เว็บไซด์นี้ เพราะการให้วิทยา ธรรมทานเป็นการให้สูงสุด ศิษย์จะได้มีโอกาสร่วมให้วิทยา ธรรมทานแก่ส้งคมการเรียนรู้ และที่สุดคือการได้มีชื่อปรากฎอยู่บนโลกไร้พรมแดนแห่งนี้

ผมได้เสนอแนะศิษย์เสมอว่า

ให้ Think Global, Act Local คิดว่า ระดับโลกเขาทำอะไร แล้วมาประยุกต์ใช้ในถิ่น ในบ้านหรือตัวตนของเรา เพื่อจะได้รู้เท่าทันโลก เพราะโลกไร้พรมแดน โลกเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความรู้เปลี่ยนแปลงทุกเวลา การศึกษาเรื่องดังกล่าว จึงนับว่ามีประโยชน์ ต่อการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เป็นผู้นำชั้นสูง เป็นผู้นำของผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้คนทั่วไป เชิญท่านผู้สนใจ อ่านสาระดังกล่าวได้ 

 

หวังว่า ศิษย์ ทุกคนจะเขียนได้ดี และทำงานนี้ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ และตามเวลา ที่กำหนดไว้

ขอความสวัสดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

 

 

 

 

Img_0200

 

Img_0194

 

Img_0139

 

Img_0247

 

Img_0219

  



ความเห็น (68)

สวัสดีครับ

  • ซิน เจีย ยู่ อี่  ซินนี้ฮวดไช้   
  • เฮง เฮง เฮง

ผอ.ไวโป ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล

ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

 

เวลา 17.05 น. วันนี้ (14 ม.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ Dr.Framcos Gurry ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization - WIPO) และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ WIPO Global Leader Award เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ในฐานะที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เป็นทบวงการชำนาญพิเศษ ของสหประชาชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญานี้ เป็นความริเริ่มใหม่ขององค์การ ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในครั้งนี้ เนื่องมาจาก องค์การทรัพย์สินทางปัญญษโลก ได้ประจักษ์ถึงพระราชกรณียกิจ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม อีกทั้งมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ไว้มากกว่า 20 รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน มากกว่า 1,000 รายการ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ และจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ เป็นต้น

 

โดย องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เคยทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลนักประดิษฐ์ยอดเยี่ยม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำหรับสิ่งประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา มาวาระหนึ่ง

 

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

 

 http://blog.eduzones.com/ezine/16540

 

ค้นหาภาพ ประทับใจ เกี่ยวกับ ชาวไทย ที่รักในหลวงได้ที่

http://news.sanook.com/palace/palace_220280.php

ร.อ.ปัญญา จันทสิงห์

ความประทับใจในวโรกาสที่ในหลวงของเรา ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก"

                   พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณีย์กิจเพื่อประโยชน์สุขแก่อาณาประชาราษฎร์ มุ่งมั่นที่จะขจัดความทุกข์ยากของราษฎร ดังจะเห็นได้จากโครงการพระราชดำริต่าง ๆ  ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของไทยทั้งชาติ ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งราชการแผ่นดิน ทรงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี พระองค์ทรงเป็นผู้ปกปักรักษาพสกนิกรให้ร่มเย็นเป็นสุข  และบำบัดความทุกข์ยากของราษฎรตลอดมา  พระราชกรณีย์กิจที่ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยไม่อาจจะกล่าวได้ครบถ้วนประดุจแผ่นฟ้ามหาสมุทร  พระราชปณิธานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

"ในหลวง" ทรงเป็นผู้นำของโลกด้านทรัพย์สิน ทางปัญญา 

                    องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก  ได้แถลงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ  รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก เช่น  กังหันน้ำชัยพัฒนา , เครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ, การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ดีเซล  (ไบโอดีเซล) , การทำฝนหลวง , เรือใบ "ซุปเปอร์มด" , วรรณกรรมโครงการทฤษฎีใหม่  บทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก  เป็นต้น

                    สำหรับผลงานที่ทรงคิดค้นขึ้น และมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วมีมากกว่า 20 รายการ เครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า 1,000 รายการ ทั้งงานศิลปกรรม จิตรกรรม บทเพลง และวรรณกรรม

ยูเอ็นถวายรางวัลเกียรติยศในหลวงนักพัฒนา   

                    นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น   ถวายรางวัลเกียรติยศ ด้านการพัฒนา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เป็นรางวัลที่ยูเอ็น คิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลก      

ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  

                 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยและให้การสนับสนุนส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยมาโดยตลอด ทรงพระราชทานแนวความคิด วิธีการปฏิบัติตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม รักษาป่า ต้นน้ำลำธาร  ที่มีผลกระทบ และการดูแลรักษาให้เราสามารถมีน้ำกินน้ำใช้บริโภค พระองค์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดการน้ำ การสร้างเขื่อน จัดการชลประทาน ใช้น้ำทางการเกษตรที่จะช่วยแก้ปัญหาความยากจน   การเกษตรที่มีการปลูกพืชคลุมดิน  โครงการปลูกพืชที่มีรายได้สูงทดแทนฝิ่น   เป็นต้น

จะดำเนินเจริญลอยตามพระยุคลบาท

              เป็นผู้นำที่มีเมตตากรุณา  ประสานเอากลุ่มต่าง ๆ ที่มีความคิดแตกต่างกัน ให้หันหน้าเข้าหากันปรองดองกัน แม้เชื้อชาติ ภาษา ศาสนาต่างกัน แต่ก็สามารถร้อยรัดรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นผู้นำโดยมีธรรมะกำกับ   เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ  สร้างและรักษาความสงบสุข  ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ  อำนวยความสุขสวัสดีแก่ประชาชน คือ การอำนวยความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การพัฒนาอาชีพและฐานะความเป็นอยู่ การพัฒนาจิตใจให้อยู่รวมกันได้ด้วยความสุข ความสามัคคีปรองดอง  และส่งเสริมการให้การศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่แจ่มใส จะต้องระมัดระวังปฏิบัติการทุกอย่างด้วยความสุจริตเที่ยงตรง ให้สมควรและถูกต้องด้วยหลักวิชา กฎหมาย ความชอบธรรมโดยไม่มีอคติ

คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการตามความคิดของข้าพเจ้า นั้นมีดังต่อไปนี้

             -  มีความสามารถในการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับ

                 -  มีความสามารถในการนำ มีความสามารถในการแก้ปัญหา  

          - เป็นคนมีเหตุผล  ศึกษาหาความรู้   ฝึกฝนตนเอง 

        - มีความรู้   มีทักษะ   มีความสามารถบริหารจัดการ

          - มีเจตคติแบบประชาธิปไตย ใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม  ยอมรับการมีส่วนร่วม  ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นที่แตกต่าง  ใช้หลักนิติธรรม มีความโปร่งใส  คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ  ยอมรับการถ่วงดุลอำนาจ  กระจายอำนาจ เป็นคนดี  มีความซื่อสัตย์  สุจริต  มีจริยธรรม            

                 - มีความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง

             - มีความคิดสร้างสรรค์    มีวิสัยทัศน์  คิดทำในสิ่งใหม่                 

                 - แสวงหาความร่วมมือจากบุคคล หรือองค์กรอื่นเป็นระบบเครือข่าย 

          - ทำงานเป็นทีม มีความเป็นมิตร

          - การมองอะไรในแง่บวก มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

            - มีความเสียสละ  เอื้อเฟื้อ  แบ่งปัน ยกย่องให้เกียรติผู้อื่น

                - พูดจาด้วยความไพเราะ  จริงใจ   กริยามารยาทอ่อนโยน  

          - ไม่โลภ ไม่โกรธ  ไม่หลง

                - มีความเพียร ขยันอดทน รับผิดชอบ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง        

                - มีระเบียบวินัย  อ่อนน้อมถ่อมตน  ความสงบเสงี่ยม  ประพฤติดี  ทั้งกาย วาจา  ใจ

                 - มีจิตสำนึกในการสร้างความสามัคคี  ปรองดอง  สมานฉันท์ 

มีมนุษย์สัมพันธ์               

                 - ละเอียด  รอบคอบ  ประหยัด  ตรงต่อเวลา กระตือรือร้น

กระปรี้กระเปร่า

          - สุขภาพแข็งแรง   บุคลิกภาพดี  

ร.อ.ปัญญา   จันทสิงห์   รหัส  511307148116   หลักสูตร  รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต

ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ศิลปะศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พัฒนาสังคม) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการที่บังเกิดผลดีต่อสถาพชีวิตของเหล่าพสกนิกรทั้งมวล ทรงสนพระราชหฤทัยในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างทั่วถึงเสมอ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้บรรดาหัวหน้าหน่วยราชการและข้าราชการในพระองค์ที่เกี่ยวข้องเข้า เฝ้าทูลละออง- ธุลีพระบาทน้อมรับข้อราชการ ที่พึงปฎิบัติ เมื่อถึงเวลาสมควรจะเสด็จพระราชดำเนินทรงติดตาม และประเมินผลด้วยพระองค์เอง ทรงนำทรัพยากรธรรมชาติมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มหาศาลพร้อมทั้งไม่ก่อให้เกิดปัญหาอีกรูปแบบหนึ่ง ในขณะเดียวกันทรงชี้นำให้ราษฎรตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และมั่นใจในศักยภาพของตนในการแก้ปัญหา และพัฒนาให้สามารถมีอาชีพึ่งพาตนเองได้ตลอดไป พระราชกรณียกิจที่ทรงบำเพ็ญเพื่อการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขและสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยได้เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓ ในทศวรรษแรกที่ครองราชสมบัติ เป็นพระมหากรุณาธิคุณด้านการแพทย์และสังคมสงเคราะห์ เนื่องจากในระยะนั้น การแพทย์ของไทยและการบริการด้านสาธารณสุขยังไม่เจริญเท่าที่ควร ต่อมาจึงได้ขยายเป็นการช่วยเหลือชาวชนบทในการประกอบอาชีพ และการพัฒนาโครงสร้างด้านคมนาคมและชลประทานเพื่อการเกษตร โครงการหลายพันโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริในตอนแรก อาจแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ โครงการที่มีลักษณะศึกษาค้นคว้าทดลองเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลแท้จริงและประสบการณ์ที่จะนำมาซึ่งความรู้ในวิธิการและแนวทางที่แก้ไขปัญหา และดำเนินการพัฒนาให้ได้ผลดี เหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นลักษณะหนื่ง อีกลักษณะหนึ่งคือ เพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร ผู้ประสบปัญหาและอุปสรรคมากขึ้นทุกขณะในหลาย ๆ ด้าน ทรงเริ่มดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยใช้การพัฒนาแบบผสมผสาน ทรงเริ่มจากพื้นที่รอบ ๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาคแล้วขยายไปสู่สังคมเกษตรในพื้นที่กว้างขึ้น พระชาชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมนั้น เป็นที่ประจักษ์ไปทั่วทิศานุทิศ ทรงเป็น "กษัตริย์นักพัฒนา" ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งในการใช้หลักวิชาการพัฒนาสังคมในเชิงสหวิทยาการ นับตั้งแต่การวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกลอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท โดยการรวบรวม ประมวลและวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบถึงพลวัตรของชุมชนอย่างครบครันทุกแง้มุม ทั้งสภาพทางเศรษกิจ สังคม และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่และสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีพระอัจฉริยภาพเป็นเลิศในด้านการบริหารจัดการโครงการพัฒนาอีกด้วย ทรงเป็นเอตทัคคะในทุกสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานสังคม ซึ่งส่งผลให้ทรงสามารถ ผสมผสานความรู้ที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน การจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่งทั่วประเทศ เป็นตัวอย่างของโตรงการพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ชนบท ที่นำหลักวิชาการพัฒนาสังคมมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผลและครบถ้วน แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในเรื่องนี้อย่างชัดเจน ทั่งนี้อาจกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงใช้ทฤษฎีของ Peter Senge (๑๙๙๐)คือ องค์การที่ขยายขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพ เพื่อสร้างผลงานและสร้างอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้คนในองค์กรต่างก็เรียนรู้ถึงวิธีที่จะเรียนรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่องมีหัวใจหลัก ๆ ที่สำคัญ ๕ ประการคือ ๑.การใฝ่รู้ คือการฝึกของปัจเจกบุคคลให้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา ต้องบังคับตัวเองให้เป็นคนเรียนรู้ตลอดชีวิต ๒.การจัดกระบวนความคิด คือความสามารถในการที่จะสรุปความรู้ที่ได้มาแต่ละวันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ๓.การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันหรือการแบ่งปันวิสัยทัศน์ คือการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันในทีม เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ๔.การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในทีมทั้งความสำเร็จและความผิดพลาด ๕.การคิดอย่างเป็นระบบ การคิดเป็นระบบสามารถแยกแยะที่มาของปัญหาและผลลัพธ์ตลอดจนสามารถกำหนดวิธีแก้ไขปัญหาได้ จะเห็นได้ว่า การใฝ่รู้ (มองไปข้างหน้า,มีเป้าหมายที่ชัดเจน)มีการจัดกระบวนความคิด(ระดมความคิด,รับฟังความคิดผู้อื่น)มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน(มีการประชุม หารือ,มีความต้องการระยะยาว)ทำงานเป็นทีม(เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม)และมีการคิดอย่างมีระบบ(หาสาเหตุ,แนวทางปฏิบัติ,แก้ไข)จะลดปัญหาความขัดแย้งได้ เพราะความหมายของคำว่า "ขัด"หมายถึงไม่ทำตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ แย้งกัน ไม่ลงรอยกัน คำว่า"แย้ง" หมายถึง ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน ต้านไว้ ทานไว้ แต่ถ้าเดินตามแนวทางพระเจ้าอยู่หัวจะไม่มีคำว่า"ขัดแย้ง"กันเพราะทุกคนมีสิทธิ์ที่เข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ เท่าเทียมกันโดยที่ท่านสามารถเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีได้ถ้ายึดหลัก ๕ ประการนี้ควบคู่กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังที่พระองค์ท่านทรงตรัสไว้ โลกนี้ก็จะมีแต่ความสุข ความสงบ สามัคคีก็จะเกิดแก่ชาวโลกและโลกก็จะให้รางวัลแก่ทุกท่านที่อยู่ในโลกนี้ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราได้รับอยู่ในขณะนี้ นางแววตา ธรรมมา รปม.มหาวิทยาลัยราชฏักเพชรบูรณ์ รหัส๕๑๑๓๐๗๑๔๙๑๑๔

นางสริลักษณ์ อุทัยไขฟ้า

ความประทับใจในวโรกาสที่ในหลวงของเรา ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นนักคิดนักประดิษฐ์เพื่อประโยชน์และแก้ไขปัญหาของประชาชน ช่วยแก้ไขปัญหาราษฏรแล้วยังทรงพยายามคิดค้นสิ่งที่เป็นปัญหา ตัวอย่างเช่น ฝนหลวง

ด้วยความที่พระองค์ทรงวินิจฉัยว่า น้ำเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาและอนุรักษ์ธรรมชาติ พระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอันดับแรกเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาด้านการเกษตรกรรมช่วยฟื้นฟูที่ดินที่ถูกทำลายให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้

พระองค์ทรงเจาะจงดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธารในบริเวณป่าเขาในภาคเหนือ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในที่ลุ่มล่าง ด้วยเหตุผลที่พื้นที่เหล่านี้เป็นเขตแดนชาวไทยภูเขา จึงทรงมีโอกาสพัฒนาชาวเขาชาวดอยให้อยู่ดีกินดี ให้เลิกการปลูกฝิ่น เลิกการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อยลอย และเลิกการค้าไม้เถื่อน ของเถื่อน อาวุธยุทโธปกรณ์นกกฎหมาย ทรงพัฒนาช่วยเหลือให้ปลูกพืชหมุนเวียนที่มีคุณค่าสูง ขนส่งง่าย ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภค รวมคุณค่าผลผลิตแล้วให้ได้คุณค่าแทนการปลูกฝิ่น ทั้งๆที่งานของโครงการนี้กินเวลายาวนานกว่า จะเกิดผลไดต้องใช้เวลานานนับสิบปี การดำเนินงานจะยากลำบากสักเพียงใดมิได้ทรงท้อถอย การพัฒนาค่อยๆได้ผลดีขึ้นๆ ชาวเขาชาวดอยจึงมีความจงรักภักดี เรียกพระองค์ว่า“พ่อหลวง” และเรียกสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่า“แม่หลวง” โครงการของทั้งสองพระองค์จึงเรียกว่า “โครงการหลวง”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 เมื่อปีที่ประเทศไทยต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพเพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งตนเองและพัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสร้างแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยจะสามารถเลี้ยงชีพโดยอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC) พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้

เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ

การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง

ผลที่เกิดขึ้นคือเศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน

ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก

น.ส.จิราพร สามิบัติ

หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตร่ำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรืออยู่ห่างไกลกันสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นแนวทางแก้ไขได้อย่างแยบยล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลด้านการพัฒนาจาก นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เป็นรางวัลที่ยูเอ็น คิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลก

การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดการดำเนินการในลักษณะ

ทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด มีคุณค่าและควรยึดเป็นแบบอย่างในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทนำมาปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดผลแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติตลอดไป โดยมีแนวทางการทรงงาน

ดังต่อไปนี้

1.ระเบิดจากข้างใน

พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” นั้นหมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว

2.องค์รวม

ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจร ในการที่จะพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้นจะทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางการแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่นกรณีของ “ทฤษฎีใหม่” ที่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ นับเป็นแนวทางหนึ่งที่พระองค์ทรงมองอย่างองค์รวม ตั้งแต่การถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยของประชาชนคนไทยประมาณ ๑๐ – ๑๕ ไร่ เพื่อการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ำในการทำเกษตรแล้วส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น และหากมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่มรวมพลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบวงจร นั่นคือทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ ๑, ๒ และ ๓

3.ประชาพิจารณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนำ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนหรือประชาชนได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในระดับสาธารณะ โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของประชาชนด้วย “การไปช่วยเหลือประชาชนนั้น ต้องรู้จักประชาชน ต้องรู้ว่าประชาชนต้องการอะไร ต้องอาศัยวิชาความรู้ ในการช่วยเหลือ”

4.ขาดทุนคือกำไร

“...ขาดทุน คือ กำไร (Our loss is our gain) … การเสีย คือ การได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุข เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...”

จากพระราชดำรัสดังกล่าว คือหลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรไทย “การให้” และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือความอยู่ดีมีสุขของราษฎร ซึ่งสามารถสะท้องให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนได้ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่ตัวแทนของปวงชนชาวไทยที่ได้เข้าเฝ้าฯถวายพระพรเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความตอนหนึ่งว่า…

“...ประเทศต่างๆ ในโลกในระยะ ๓ ปีมานี้ คนที่ก่อตั้งประเทศที่มีหลักทฤษฎีในอุดมคติที่ใช้ในการปกครองประเทศล้วนแต่ล่มสลายลงไปแล้ว เมืองไทยของเราจะสลายลงไปหรือ เมืองไทยนับว่าอยู่ได้มาอย่างดี เมื่อประมาณ ๑๐ วันก่อน มีชาวต่างประเทศมาขอพบ เพื่อขอโอวาทเกี่ยวกับการปกครองประเทศว่าจะทำอย่างไร จึงได้แนะนำว่า ให้ปกครองแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคี มีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอด ไม่เหลือกับคนที่ทำตามวิชาการที่เวลาปิดตำราแล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกเริ่มต้นใหม่ ถอยหลังเข้าคลอง ถ้าเราใช้ตำราแบบอะลุ้มอะล่วยกัน ในที่สุดก็เป็นการดี ให้โอวาทเขาไปว่า ขาดทุนเป็นการได้กำไรของเรา นักเศรษฐศาสตร์คงค้านว่าไม่ใช่ แต่เราอธิบายได้ว่า ถ้าเราทำอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุดที่เราเสียนั้น เป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่งคือเงินของประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนอยู่ดี กินดี ก็ต้องลงทุนต้องสร้างโครงการซึ่งต้องใช้เงินเป็นร้อย พัน หมื่นล้าน ถ้าทำไปเป็นการจ่ายเงินของรัฐบาล แต่ในไม่ช้าประชาชนจะได้รับผล ราษฎรอยู่ดีกินดีขึ้น ราษฎรได้กำไรไป ถ้าราษฎรมีรายได้รัฐบาลก็เก็บภาษีได้สะดวก เพื่อให้รัฐบาลได้ทำโครงการต่อไป เพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ ถ้ารู้ รัก สามัคคี รู้เสียสละ คือการได้ ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...”

5.พออยู่พอกิน

การพัฒนาเพื่อให้พสกนิกรทั้งหลายประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิตได้ เริ่มจากการเสด็จฯไปเยี่ยมเยียนประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จึงทรงสามารถเข้าพระราชหฤทัยในสภาพปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง ว่ามีเหตุผลมากมายที่ทำให้ราษฎรตกอยู่ในวงจรแห่งทุกข์เข็น จากนั้นได้พระราชทานความช่วยเหลือให้แก่พสกนิกร มีความอยู่ดีกินดี มีชีวิตอยู่ในขั้น “พออยู่พอกิน” ก่อน แล้วจึงขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

ในการพัฒนานั้น หากมองในภาพรวมของประเทศ มิใช่งานเล็กน้อยแต่ต้องใช้ความคิดและกำลังของคนทั้งชาติจึงจะบรรลุผลสำเร็จ ด้วยพระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทำให้คนทั้งหลายได้ประจักษ์ว่า แนวพระราชดำริในพระองค์นั้น “เรียบง่าย ปฏิบัติได้ผล” เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า…

“…ถ้าโครงการดี ในไม่ช้า ประชาชนก็ได้กำไร จะได้ผล ราษฎรอยู่ดีกินดีขึ้น จะได้ประโยชน์ไป…”

6.การพึ่งตนเอง

การพึ่งตนเอง หมายถึง ความสามารถในการดำรงตนอยู่ได้อย่างอิสระ มั่นคง สมบูรณ์ ซึ่งการพึ่งตนเองได้นั้น มีทั้งในระดับบุคคลและชุมชน

การพึ่งตนเอง ต้องสามารถผันเปลี่ยนไปตามเวลาได้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้อง และสมดุล

หลักการและแนวทางเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ตามหลักทางสังคมวิทยามี ๕ ประการ คือ

1..การพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยี หมายถึง การมีปริมาณและคุณภาพของเทคโนโลยีทางวัตถุ เช่น เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีทางสังคม เช่น การจัดวางโครงการ การจัดการ เป็นต้น การรู้จักใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

2. การพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ หมายถึง ความสามารถในการทำมาหากินเลี้ยงชีพที่มีความมั่นคงสมบูรณ์พูนสุขพอสมควรหรืออย่างมีสมดุล

3.การพึ่งตนเองได้ทางทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และความสามารถในการักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่ไม่ให้เสื่อมเสียไปจนหมดสิ้น หรือไม่ให้เสียสมดุลธรรมชาติ

4. การพึ่งตนเองได้ทางจิตใจ หมายถึง การมีสภาพจิตใจที่กล้าแข็ง เพื่อที่สามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งการหาเลี้ยงชีพ การพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้า การยึดมั่นปฏิบัติตนตามหลักทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา

5. การพึ่งตนเองได้ทางสังคม หมายถึงการที่คนกลุ่มหนึ่งมีความเป็นปึกแผ่นเหนียวแน่น มีผู้นำที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำกลุ่มคนเหล่านี้ให้ดำเนินการใดๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้วยตนเอง หรือสามารถหาความช่วยเหลือจากภายนอกเข้ามาช่วย ทำให้ชุมชนช่วยตนเองได้

7.เศรษฐกิจพอเพียง

จากการที่คนไทยประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจโดยมุ่งหวังว่าประเทศไทยจะได้เป็น “เสือเศรษฐกิจ” หรือ “ประเทศอุตสาหกรรมใหม่” ซึ่งได้ปรากฏให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ได้สร้างปัญหาต่างๆ ให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับปวงชนชาวไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานกำลังใจและพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นแนวทางซึ่งเป็นการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและแจ่มชัด เป็นแนวทางการมองปัญหาเพื่อที่จะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายร่วมกันของการพัฒนาที่มั่นคง เป็นธรรม และยั่งยืน

8.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทต่างๆ

1. ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

2. ด้านการเกษตร

3. ด้านสิ่งแวดล้อม

4. ด้านส่งเสริมอาชีพ

5. ด้านสาธารณสุข

6. ด้านคมนาคม/สื่อสาร

7. ด้านสวัสดิการสังคม

ตัวอย่างโครงการประกอบด้วย

1. โครงการแก้มลิง

2. โครงการกังหันชัยพัฒนา

3. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

4. โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก เป็นต้น

5. โครงการปลูกหญ้าแฝก

6. โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานี

7. ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

8. หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านรอตันบาตู ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

9. งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว

10.โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

11.โครงการสะพานพระราม 8

12.โครงการพัฒนาพื้นที่วัดญาณสังวรารามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี

ฯลฯ

นางจีรนันท์ เจริญดี

นางจีรนันท์ เจริญดี

รหัสประจำตัว 511307149106

บริหารงานท้องถิ่น รุ่น 1

ความประทับใจที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ผู้นำระดับโลก”

“ท่านเป็นพ่อของแผ่นดิน ท่านเป็นทุกอย่างของพสกนิกรชาวไทย “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจนานัปการของพระองค์ท่านในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยตลอดระยะเวลา 60ปีที่ผ่านมา“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทุ่มเทเวลาและพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเหล่าพสกนิกรชาวไทยอย่างไม่คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย เราชาวไทยทุกคนต่างรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนพระราชดำรัสและคำสอนอันมีค่าที่พระราชทานแก่พสกนิกร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งนับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรอย่างกว้างขวางมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ถึงแม้ว่าจะเป็นพื้นที่ตามชนบทที่ห่างไกลที่สุดในประเทศก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานความช่วยเหลืออันหาที่สุดมิได้กับประเทศไทยด้วยพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งภูมิปัญญาอื่นๆ ที่พระองค์ทรงสั่งสม มานานหลายสิบปีจากการที่พระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการนับพันโครงการ และเป็นที่ปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวไทยอย่างยิ่งในรอบปี เมื่อ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO (World Intellectual Property Organization) ได้แถลงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด" (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกาย สร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ พัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย ทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก การที่ทรงพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ มากมายนั้น ล้วนแต่เป็นผลงานที่เป็น ทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งสิ้น เช่น บทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่ ฯลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแท้จริง พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่ทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ "ซุปเปอร์มด" แล้วทรงนำไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ถัดจากนั้นต่อมา ทรงประดิษฐ์คิดค้น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำงานได้ผลอย่างจริงจัง ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย และถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่จดทะเบียนในประเทศไทย "กังหันน้ำชัยพัฒนา" เรียกได้ว่าเป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย สามารถแก้ปัญหาน้ำเสียเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม จดทะเบียนสิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 นับแต่นั้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงประดิษฐ์คิดค้นหลายสิ่งหลายอย่างมาอย่างต่อเนื่อง และได้จดทะเบียนสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตรรวมแล้วมีทั้งหมด 8 คำขออาทิ เครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ, การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ดีเซล เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (ไบโอดีเซล) การทำฝนหลวง "โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฝนหลวงนี้ ถือว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมาก ได้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนในยุโรป เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2548 ซึ่งตามขั้นตอนระบบของการขอจดสิทธิบัตรนั้น เมื่อยื่นคำขอไปแล้วจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2 ปี หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เคยมีมาก่อนก็จะได้รับการจดทะเบียน ซึ่งผลงานการทำฝนหลวงของในหลวงนั้นต้องถือว่าพระองค์ท่านทรงมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และทรงให้ความสำคัญในการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ดังเช่นเมื่อปี 2544 เมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านมีพระดำรัส ว่า "...เรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีมานานแล้ว ทั้งเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร มีความสำคัญมาก..." พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นว่าคนไทยเมื่อก่อนมาจากการลอกเลียนแบบ แต่จริงๆ แล้วคนไทยก็เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น แล้วพระองค์ท่านมีรับสั่งว่า ถ้าประเทศไทยมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา คนไทยจะเจริญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงจดในนามพระปรมาภิไธย แต่ใช้เป็นเครื่องหมายทางการค้า เช่น บริษัท สุวรรณชาด ทรงใช้เครื่องหมายทางการค้าเป็นรูปสุนัขทรงเลี้ยง "คุณทองแดง" หรือ โครงการหลวง ทรงใช้เครื่องหมายการค้า "ธรรมชาติ" เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้างในสี่เหลี่ยมเป็นพื้นสีเขียวเขียนคำภาษาอังกฤษ "THAMMACHAD" ใต้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย "ธรรมชาติ" ทั้งนี้ ก็เพื่อสื่อให้คนไทยหันมารักสุขภาพ กินอาหารที่มาจากธรรมชาติ นอกจากนี้ทรงมีผลงานทางด้านวรรณกรรม คือ โครงการทฤษฎีใหม่, พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก งานทางด้านศิลปกรรม เช่น เหรียญพระมหาชนก รูปวาดในพระมหาชนก ซึ่งเกิดจากพระราชดำริของพระองค์ท่าน และที่จะอดกล่าวถึงไม่ได้ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ ก็เป็นผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของพระองค์ท่านทั้งสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระผู้นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมากมาย ส่วนมากแล้วเป็นองค์กรระดับโลกทั้งนั้น อาทิ รางวัลจากไอเอฟไอเอ จากผลงาน กังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญรางวัล Genius Medal จากผลงาน ทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียง ถวายรางวัล Special Prize จากองค์กร KIPA ล่าสุด นายโคฟี อันนัน ในนามยูเนสโก ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ความที่พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐที่ยิ่งใหญ่

ผลงานทั้งหมดที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นนั้น หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ แล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือรางวัลทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรเทียบได้ ก็คือ "น้ำพระทัย" และ "พระเมตตา" แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ให้พสกนิกรอยู่ดีกินดี มีความสุข ท่านเป็นหนึ่งในดวงใจของทุกคนในประเทศไทย ท่านเป็น LEADERSHIP ที่สุดยอดของประเทศไทยและระดับโลก ซึ่งทุกคนควรปฏิบัติตามแบบอย่างของผู้นำระดับโลก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการ

1. ผู้นำต้องมีสำนึกในการคิดกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลา

2. ผู้นำต้องกล้าคิดนอกกรอบ

3. ผู้นำต้องทำให้สังคมเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ผู้นำต้องเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ

5. ผู้นำต้องมองและเข้าใจปัญหาทั้งระบบ

6. ผู้นำต้องมองปัญหามากกว่าหนึ่งมิติ

สวัสดี ศิษย์รักทุกคน และท่านผู้สนใจทุกท่าน

ผมติดตามอ่านบทความที่ ศิษย์รัก ทยอยเขียนมา ขอชื่นชม ที่มีผู้ที่ส่งมาอันดับ ต้น ๆ อยู่ในระดับ Top Five ได้แก่

ร.อ.ปัญญา จันทสิงห์ เมื่อ อ. 27 ม.ค. 2552 @ 08:54

นางแววตา ธรรมมา เมื่อ อ. 27 ม.ค. 2552 @ 13:03

น.ส.จิราพร สามิบัติ เมื่อ อ. 27 ม.ค. 2552 @ 13:34

นางจีรนันท์ เจริญดี เมื่อ อ. 27 ม.ค. 2552 @ 17:38

ในแง่ของความรวดเร็ว  ผู้นำยุคใหม่ ต้องมีขีดความสามารถในการบริหารเวลา ถึงแม้กำหนดการจะเป็นวันศุกร์  แต่ผู้นำ ต้อง Better, Faster, Cheeper ซึ่งสี่ท่าน นี้ ทำได้ดีมาก ชื่นชมยินดี ขอให้รักษาความรวดเร็วตรงนี้ ไว้กับงานทุกงาน กับการเรียนการสอนในทุกวิชา สิ่งนี้เป็นความดีต้องรักษาไว้

สำหรับศิษย์อีกหลายท่าน ผมเชื่อว่า กำลังทยอยเขียนกันมา ผมส่งกำลังใจมาให้ ผมเชื่อมั่นใน "ศิษย์ MPA ระหัสมะขามเปรี้ยว" ทุกคน ในสปิริตของความเป็นผู้นำ และว่าที่มหาบัณฑิต

ผมแนะนำ ย้ำ ว่า ให้ศิษย์ เขียนหรือพิมพ์ลงใน Mircorsoft Word ก่อน แล้วจัดรูปแบบตัวอักษร เป็นแบบ Tahoma ขนาด 14  ถ้าเป็นหัวเรื่อง ใช้ขนาด 18-20 จัดย่อหน้า เว้นวรรค ให้เรียบร้อย แล้ว copy มาวาง  ในบันทึกนี้

ตรวจคำผิด แก้ไขให้เรียบร้อย จะมีภาพประกอบก็ยิ่งดี อย่าลืมพื้นฐานการเขียน คือ ย่อหน้าแรก เปิดประเด็น(ต่อด้วยอธิบายการเปิดประเด็น) ย่อหน้าที่สอง ดำเนินเรื่อง(ต่อด้วยอธิบายการดำเนินเรื่อง ให้สอดคล้องกับเนื้อหา และสิ่งที่เปิดประเด็นไว้) ย่อหน้าที่ สาม สรุปเสนอแนะ โคยคร่าว ๆ ขอให้อยู่ในแนวทางนี้ ส่วนใครจะมีมากกว่า นี้ เป็นเอกสิทธิ์ ที่ท่านจะแสดงความสามารถออกมาได้เต็มที่  

ขอให้เขียนด้วยการมีจิต ปรารถนาดี คิดบวก เทอดทูลในหลวงด้วยความจงรักภักดีอย่างที่สุด เผื่อแผ่ต่อสังคม บทความจะออกมาด้วยดี

ผมกำลังติดตามบทความของศิษย์ทุกคน

สวัสดี

นายเด่นณรงค์ ธรรมมา

ความเจริญของประเทศชาติ เป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ ถือได้ว่าทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ และเกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 กรกฎาคม 2513) พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ การที่ทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่ ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง (พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2543) พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ให้มาก ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทำให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง (เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน 2533) พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12 กรกฎาคม) พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว... ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ เราควรจะยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 21 เมษายน 2503) พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...  สามัคคี คือการเป็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแย่งตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมือง (ในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล 15 มกราคม 2519)

จากบางส่วนของพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเห็นว่าตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯไปยังสถานที่ต่างๆทั่วสารทิศ เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาราษฎร์ และไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปเยือนแห่งหนตำบลใด ล้วนแต่มีประชาชนหลากหลายอาชีพหอบลูกจูงหลานมารอเข้าเฝ้าฯ ชื่นชมพระบารมีมิได้ขาด และหลายต่อหลายครั้งได้พระราชทานพระราชานุญาต ให้ประชาชนฉายพระบรมฉายาลักษณ์เป็นที่ระลึก ขณะที่กำลังเข้าเฝ้าฯด้วย จากกาลเวลาอันยาวนานที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่เราแล้ว่าจากบัดนั้นจนบัดนี้ “พระมหากษัตริย์ไทย” ได้ทรงยึดมั่นในพระบรมราชปณิธาน อย่างแน่วแน่และที่ยิ่งไปกว่านั้น ทุกพระองค์ในสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ทรงดำเนินตาม พระบรมราชปณิธานอันสูงส่งนั้นมาโดยตลอด ความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ถึงพสกนิกรไทยนั้นมิใช่เป็นความผูกพันอย่างธรรมดาสามัญแต่เป็นความผูกพัน เฉกเช่น พ่อกับลูก เฉกเช่นฟ้ากับดินที่ฟ้านั้น โอบดินไว้ ชั่วนิรันดร์นับเป็นบุญอย่างยิ่งสำหรับเราที่ได้เกิดเป็นคนไทยบนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ผู้ทรงทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร ที่ไม่มีกษัตริย์หรือผู้นำประเทศใด ๆ ในโลกนี้ จะทรงพระคุณอันประเสริฐเสมอด้วยพระองค์ท่านทรงครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เสด็จดำเนินไปทุกถิ่นที่บนผืนแผ่นดินไทยพระองค์ทรงงานหนัก ตรากตรำพระวรกายจนพระเสโทไหลชโลมผืนแผ่นดินเหมือนหยาดน้ำฝนที่หลั่งลงมาจากฟากฟ้าสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้นแก่ผืนแผ่นดินไทยทรงเสียสละความสุขและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อย่างมิอาจประมาณค่าได้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เพราะทุกลมหายใจชองพระองค์มีแต่ความห่วงใยปวงอาณาประชาราษฎร์รอยพระบาทที่ยาตรายาวรอบหล้าฟ้าสากล ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพสกนิกรชาวไทยอยากให้ประชาชนของพระองค์ท่านรักสามัคคีกัน รู้จักความพอเพียง และแสดงความกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ของเรา ข้าพเจ้าอยากให้คนไทยรักกัน สามัคคีกัน ร่วมจิตร่วมใจกัน ให้เป็นหนึ่งเดียว ถวายแด่..องค์พ่อหลวงของเราทุกคน ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน....ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ นายเด่นณรงค์ ธรรมมา รหัส 511307149108 หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

นายสามารถ สิงหรา รหัส 511307149115 รป.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ในปี 2551 พสกนิกรชาวไทยมีความปลาบปลื้มที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

(World Intellectual Property Organization) “WIPO” ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล WIPO Global Leaders Award (เหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

เป็นลำดับแรก ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพรองค์ ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกาย สร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มากมาย พัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย ทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ทรงพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น

- เริ่มจากทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ “ซุปเปอร์มด”

- กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย สามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียรักษาสิ่งแวดล้อม

- เครื่องเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ เติมออกซิเจนในน้ำระดับลึกลงไปใต้ผิวน้ำ

- การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ดีเซล (ไบโอดีเซล)

- การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ

- การทำฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค

- ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย (น้ำปัสสาวะ) ของผู้ป่วย

- อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว เป็นเครื่องยนต์ที่ขับดันน้ำเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเรือ

- กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก

ผลงานที่พระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมากมาย นั้น ส่วนหนึ่งที่ทรงได้รับการถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ความที่พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์สิ่งที่มากด้วยน้ำพระทัย และพระเมตตาแก่พสกนิกรชาวไทย องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลฯ ดังกล่าว

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ด้วยน้ำพระทัย และพระเมตตา พระองค์ทรงใช้ธรรมะหรือความถูกต้องในการปกครองโดยทรงยึดถือปฏิบัติในทศพิธราชธรรม 10 ประการ คือ

1. ทาน หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละ

พระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ

การพระราชทาน เสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์

2. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ

ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ

3. บริจาค หรือความเสียสละ อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อย

เพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรม และพระราชอาณาจักรของ พระองค์

4. อาชชวะ หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์

สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร

5. มัทวะ หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและ

อ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

6. ตบะ หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะ

ปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน

7. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิด

ก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้

8. อวิหิงสา คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

9. ขันติ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และ

พระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย

10. อวิโรธนะ คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร

นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ

ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ 4 ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วย

พระราชหฤทัยยินดียินร้าย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงส่องประทีปนำทางคนไทยไปสู่ความสุข

ตามพระราชปณิธานพระปฐมบรมราชโองการ คือ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม จะเห็นได้ว่าตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์พระองค์ทรงใช้ธรรมะในการปกครองประเทศมาโดยตลอดโดยพระราชดำริและพระราชกรณียกิจต่าง ๆ จะต้องอยู่ในกรอบของหลักธรรมเท่านั้น

และผลของการดำเนินการพัฒนาจะต้องนำมาซึ่งประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าการได้มาซึ่งประโยชน์สุขนั้นต้องอยู่บนความพอดี เพราะฉะนั้น ถ้าเรารักษาความพอดีทั้งร่างกายและจิตใจไว้ได้ก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขและที่สำคัญพสกนิกรไทยทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นการดำเนินตามรอยพระยุคลบาท เพื่อนำไปสู่ความสุขของคนไทยทุกคน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ทำให้พสกนิกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความผาสุกภายใต้ร่ม

พระบารมีตลอดไป

- - - - -

ความประทับใจในวโรกาสที่ในหลวงของเรา

ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นนักคิดนักประดิษฐ์เพื่อประโยชน์และแก้ไขปัญหาของประชาชน ทรงสนพระราชหฤทัยในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏร์อย่างทั่วถึงเสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ศาสนาใด หรืออยู่ห่างไกลกันสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร ทรงคิดค้นแนวทางแก้ไขได้อย่างแยบยล พระราชกรณีย์กิจที่ทรงปฏิบัติต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยไม่อาจจะกล่าวได้ครบถ้วน

ตลอดระยะเวลา 62 ปีแห่งการดำรงสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักยิ่ง เพื่อยังความผาสุกแก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกภูมิภาคและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ ทรงพระปรีชาญาณในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการปกครอง ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านสื่อสารคนาคม และด้านการศาสนา ที่ทรงรู้หลักธรรมอย่างละเอียด ลึกซึ้ง อีกทั้งทรงบำเพ็ญพระองค์อยู่ในราชจริยธรรมอย่างครบถ้วน ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ราชสังคหวัตถุ 4 ประการและขัติยพละ 5 ประการ เป็นบุญยิ่งนัก ของประชาชนชาวไทยที่มี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่เหนือเกล้า เพราะพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมอันประเสริฐทำให้ประเทศชาติและพสกนิกรใต้ร่มพระบรมพิสมภารของพระองค์ร่มเย็นเป็นสุข สมดังพระปฐมบรมราชโองการและพระราชปณิธานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

"ในหลวง" ทรงเป็นผู้นำของโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้แถลงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล

โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตนและทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วทิศานุทิศ ทรงเป็น "กษัตริย์นักพัฒนา" ทรงพระปรีชาสามารถยิ่งในการใช้หลักวิชาการพัฒนาสังคมในเชิงสหวิทยาการทรงสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา , เครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ, การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ดีเซล (ไบโอดีเซล) , การทำฝนหลวง , เรือใบ "ซุปเปอร์มด" , วรรณกรรมโครงการทฤษฎีใหม่ บทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก เป็นต้น

สำหรับผลงานที่ทรงคิดค้นขึ้นและมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วมีมากกว่า 20 รายการ เครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า 1,000 รายการ ทั้งงานศิลปกรรม จิตรกรรม บทเพลง และวรรณกรรม

ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็น

คนไทยอันมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวมใจคนไทยทั้งประเทศ และรู้สึกปราบปลื้มหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับจากนานาอารยะประเทศ และข้าพเจ้าขอน้อมเกล้าถวายความจงรักภักดีพร้อมน้อมนำปรัชญาแนวคิดที่พระองค์ทรงพระราชทานเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและพัฒนาชุมชน สังคม ให้มีความผาสุก ร่มเย็น ตลอดไป

นางสาวพรพเยาว์ คชลัย รหัส 511307148119

หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต

นางกาหลง แสงคำสอน

ความประทับใจรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กระทรวงการต่างประเทศ มีการจัดแถลงข่าวกรณีที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

(WIPO) จะทูลเกล้าฯถวายเหรียญรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงมีบทบาทโดดเด่นในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา สร้างนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรในประเทศ โดยนายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเหมาะสมได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพระองค์แรก เพราะในโลกนี้มีผู้นำไม่กี่คนที่นอกจากเป็นผู้นำแล้วยังเป็นผู้สร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ และจุดประกายความคิดทั้งทางเทคโนโลยีวัฒนธรรม ซึ่งล้วนแต่เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อาทิ กังหันน้ำชัยพัฒนา ฝนเทียม ที่ผ่านมามีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มากกว่า 20 รายการ และเครื่องหมาย การค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า 1,000 รายการ งานศิลปกรรม จิตรกรรม ภาพถ่าย บทเพลง และวรรณกรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยวัตรอันงดงาม มั่นคงในทศพิธราชธรรม ทรงมีพระราชหฤทัยเอื้ออาทรห่วงใยผูกพันอย่างลึกซึ้งกับพสกนิกรไทยทั่งประเทศ ทรงช่วยเหลือเหล่าพสกนิกรให้พ้นจากสภาวะฝืดเคือง โดยจะเห็นได้จาก

๑. " พระมหากษัตริย์นักพัฒนา " มีพระราชหฤทัยเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อ พสกนิกร ผู้ยากไร้และ

ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่ทรงแบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือหมู่เหล่า

๒. พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย

พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ เช่น โครงการอีสานเขียว

๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้าน

สุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน

๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของเยาวชนนั้นเป็นพื้นฐานอันสำคัญของ

ประเทศชาติ ดังพระราชดำรัสที่ว่า การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล หากสังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วนในทุกๆ ด้านแล้ว สังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ สามารถดำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้ และพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

๕. ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบ

พระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติ

๖. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นห่วงพสกนิกรชาวไทย ทรงปรารถนาจะได้

เห็นทุกคนอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่อัตภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร จากการเสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐานไปในจังหวัดต่างๆ ทรงพบความเดือดร้อนและปัญหามากมาย และโดยที่เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย จึงทรงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเกษตรของไทยให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งทำให้เกิดเป็น "โครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร สวนจิตรลดา" ขึ้นภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน อันเป็นที่ประทับ เพื่อศึกษางานทางด้านการเกษตรต่างๆ สำหรับหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง เช่น การเลี้ยงโคนม การเลี้ยงปลานิล การปลูกข้าว โรงสีข้าว ป่าไม้สาธิต และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาการดำเนินงาน มาเป็นแบบอย่างสำหรับไปปฏิบัติตาม หรือปรับปรุงแก้ไขในอาชีพนั้นๆ ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบททั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จึงทำให้ทรงทราบปัญหาความทุกข์ยากที่บังเกิดแก่พสกนิกรของพระองค์ และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการดำเนินงานพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นจำนวนมากมายเกินกว่าจะพรรณนาได้หมดสิ้น งานพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกโครงการ ล้วนตั้งอยู่บนหลักการที่ทรงพระราชทานว่า “ทำให้ง่าย และให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ” แต่เบื้องหลังความง่ายดังกล่าวนั้น คือการกลั่นกรอง “ความรู้” และ”ความคิด” จากการค้นคว้าทดลองตามหลักวิชา นำมาปรับจากทฤษฎีให้เป็นทางปฎิบัติ ที่มีประสิทธิภาพสูง สอดคล้องกับสภาพของประเทศและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในแต่ละภูมิภาค และเพราะปัญหา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะภูมิภาคใดภาคหนึ่งเท่านั้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงปรากฏให้เห็นแม้ในท่ามกลางมหานครของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานด้านใดก็ตาม ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เป็นที่ประจักษ์มาโดยตลอดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศของงานพัฒนา ด้วยทรงให้ความสำคัญกับการค้นคว้า วิเคราะห์และทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า ก่อนที่จะนำผลลัพท์ที่ได้มาพระราชทานแก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติต่อไป ซึ่งสมควรที่เราชาวไทยจะได้ดำเนินเจริญลอยตามพระยุคลบาท ต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักที่สุด ทรงตรากตรำพระวรกายเพื่อ

พสกนิกรของพระองค์ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญสำหรับประชาชาติไทย ในการริเริ่มสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างคุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการเพราะพระองค์ท่านมีความสามารถในการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับ, มีความสามารถในการนำ มีความสามารถในการแก้ปัญหา , เป็นคนมีเหตุผล ศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนตนเอง , มีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถบริหารจัดการ

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระเกษมสำราญ มีพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ มีพระชนมายุยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนานเทอญ.........ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้านางกาหลง แสงคำสอน รป.ม. รุ่น 1 รหัส 511307149101 ม.ราชภัฎเพชรบูรณ์

ดาบตำรวจ กฤติพงษ์ พุทธศรี

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวาระโอกาสที่พระองค์ท่านได้เป็นผู้นำโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานเป็นพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เมื่อครั้นขึ้นครองราชย์สิริสมบัติ(อารยะ กลิ่นเฟื่อง:2550,7) เป็นเวลากว่า 60 ปี พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกร พระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพ และสายพระเนตรยาวไกล ในการที่ทรงนำกำลังของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ออกช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับประชาชน ก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวนมากกว่า 3,000 กว่าโครงการในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านสาธารณสุข ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การคมนาคม การเกษตรและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมดล้วนก่อให้เกิดคุณูปการแก่แผ่นดินและราษฏรอย่างใหญ่หลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นกษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยวัตรอันงดงาม มั่นคงในทศพิธราชธรรม ทรงมีพระราชหฤทยเอื้ออาทรห่วงใยผูกพันอย่างลึกซึ้งกับพสกนิกรให้พ้นจากสภาวะความฝืดเคืองไปสู่ความพออยู่พอกิน

ดังนั้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 องค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรชาวไทย รางวัลนี้เป็นรางวัลเกียรติยศที่องค์การสหประชาชาติริเริ่มขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งพระองค์ทรงได้รับการถวายรางวัลอันทรงเกียรตินี้เป็นพระองค์แรกและเป็นครั้งแรกที่เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเดินทางมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายด้วยตนเอง

จากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จแปรพระราชฐานและประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคใดก็ตามในการเสด็จเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎร แต่ละครั้งนอกจากจะเพื่อทรงหาทางช่วยเหลือพสกนิกรทุกท้องถิ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขสบายทัดเทียมกันแล้ว พระราชกรณียกิจด้านหนึ่งที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยนอกเหนือจากการพัฒนาแหล่งน้ำและงานพัฒนาด้านอื่น ๆ หลากหลายสาขาแล้ว ยังคงสนพระราชหฤทัยในการประดิษฐ์เครื่องจักรกลที่ทรงเลือกใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ๆ ใช้ภูมิปัญญาของเราเองแบบไทยทำไทยใช้ ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอกคือ เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในภูมิภาคใดย่อมจะเกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมกับพสกนิกรของพระองค์ในภูมิภาคนั้น ๆ ใช้ภูมิภาคนั้น ๆ อีกทั้งวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นมาจะเน้นความง่ายแต่การใช้งานต่อการซ่อมบำรุงและราคาถูกอีกด้วย(สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,2548) งานประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีจำนวนมากมาย เช่น

1. ทรงออกแบบเรือใบมด ใช้ในการแข่งขันเรือใบในกีฬาแหลมทอง ครั้งนี้ 4 ด้วยพระองค์เอง

2. เครื่องสีข้าวใช้กำลังคน ประดิษฐ์ 4 กุมภาพันธ์ 2520

3. เครื่องนวดข้าวใช้กำลังคน ประดิษฐ์ 21 กุมภาพันธ์ 2520

4. โรงสีข้าวพลังน้ำน้ำบ้านแม่ลาใหม่ สร้างขึ้นเมื่อปี 2518

5. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ดอยอ่างขาง สร้างขึ้น 4 กุมภาพันธ์ 2520

6. ไฮดรอลิคแรมหรือตะบันน้ำ ประดิษฐ์ 8 มกราคม 2522

7. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ศูนย์พัฒนาปางตอง สร้างขึ้น 22 ตุลาคม 2523

8. กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย ประดิษฐ์ 21 กุมภาพันธ์ 2524

9. เครื่องสูบน้ำพลังน้ำไหล ประดิษฐ์ 14 มีนาคม 2532

10.เครื่องกลเติมอากาศ(กังหันชัยพัฒนา) ประดิษฐ์ 24 ธันวาคม 2531 มีทั้งหมด 9 แบบ

คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียตริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”และทรงคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ก่อให้เกิดคุณค่าและคุณประโยชน์แก่พสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งแผ่นดิน

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงคิดโครงการฝนหลวงหรือฝนเทียมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาขาดแคลนน้ำ สำหรับอุปโภคบริโภคและการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โครงการน้ำมันไบโอดีเซล ทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในระดับนานาชาติ รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นจากผลงาน กังหันน้ำชัยพัฒนา จากงาน Brussels Eureka พุทธราช 2543 และในปีพุทธศักราช 2544 โครงการทฤษฎีใหม่ โครงการฝนเทียม และโครงการน้ำมันไบโอดีเซล ได้รับรางวัล “Diploma” D “Unconcept Nouveau de Development la Thailande” ด้วยพระปรีชาสามารถนั้น องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จึงทูลเกล้าถวายรางวัล “โกลบอล ริเดอร์ อวอร์ด” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (คมชัดลึก,18 พ.ย.51) ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์พระราชหฤทัยและกำลังพระวรกายที่ทรงใช้งานทรัพสินย์ทางาปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก เป็นที่รู้กันในหมู่พสกนิกรชาวไทยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวพระราชดำริ พระราชดำรัสมากมายนานัปการเพื่อช่วยเหลือแก้ปัญหาต่าง ๆ แก่พสกนิกรของพระองค์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานกว่า 60 ปี ที่ทรงครองสิริราชสมบัติ หลายประเภทที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จดสิทธิบัตรไว้

สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ(International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ปะเทศทั้งโลก ได้เล็งเห็นความสำคัญพระปรีชาสามารถ ได้มีมติใช้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์โลก(International Inventor Day) ตามที่ประเทศไทยกำหนด ต่างประเทศพร้อมใจกันเทิดพระเกียรติทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลต่าง ๆ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งกล่าวสดุดีเทิดพระเกียรติ ดังเช่น

- คำกล่าวของคณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติ เดอะ เบลเจียน แชมเบอร์ ออฟ อินเวนเตอร์ ซึ่งเป็นองค์กรสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป “พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นนักพัฒนา มีวิริยะอันสูงส่ง รวมทั้งพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์ที่ดี ทรงงานงานหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ทรงใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย สิ่งประดิษฐ์ในพระองค์สามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก”

ก่อนหน้านี้มีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรต่าง ๆ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากมาย เช่น สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (IFIA) ประเทศฮังการีทูลเกล้าทูลถวายรางวัล ไอเอฟไอเอ คัพ 2007 สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลีใต้ (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลสเปเชียล ไพรซ์ พร้อมประกาศนี่ยบัตร ฟรานหซีส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ทูลเกล้าถวายรางวัล โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader award) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับทูลเกล้าถวายรางวัลนี้

สรุปสุดท้ายนี้สิ่งประดิษฐ์อันหลากหลาย ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่หน่วยงานต่าง ๆ ย่อมเป็นที่ประจักษ์แล้วถึงพระอัจริยภาพ พระวิสัยทัศน์และพระวิริยะที่สูงส่ง เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณมีพระเมตตาที่เอื้ออาทรต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในผืนแผ่นดินไทยนี้ ให้ความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นับว่าเป็นการโชคดีที่ประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงเป็นนักวิจัย นักพัฒนาและนักประดิษฐ์ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถมาก อันนำมาซึ่งสิ่งประดิษฐ์อันมีคุณประโยชน์ยิ่งแด่พสกนิกรของพระองค์ ตลอดเวลากว่า 60 ปี ที่ผ่านมานี้ทรงเป็นแบบอย่างให้พสกนิกรได้ปฏิบัติตาม จึงควรแล้วที่ประชาชนคนไทยที่เป็นพสกนิกรของพระองค์ท่าน ควรได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณไว้อย่างตลอดกาล

ดาบตำรวจ กฤติพงษ์ พุทธศรี

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

พ.ต. ชูชีพ มากบำรุง

ความประทับใจต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)

ในฐานะที่เป็นคนไทย เมื่อได้รับทราบข่าวจาก นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงได้รับรางวันผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) รางวัลโกลบอล ลีดเตอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) รู้สึกดีใจมาก เพราะพระองค์ทรงงานหนักมาก เพื่อความสุขของประชาชนของพระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน และทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้

ในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ มีหลายโครงการที่ได้ทราบประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการใช้งาน และมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี

สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบบัตรและอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การคัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงเป็นสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

เครื่องหมายการค้า ไม่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในพระปรมาภิไธย แต่พระราชทานให้บริษัทสุวรรณชาด จำกัด และมูลนิธิชัยพัฒนา จดทะเบียนเครื่องหมายค้ารวม 13 คำขอ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าสวรรณชาด 1 คำขอ,ทองแดง 2 คำขอ,โกลเด้นเพลส 4 คำขอ,ธรรมชาติ 5 คำขอ และมุมสบาย ฯ 1 คำขอ ด้า ผลงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิสทธิ์ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือต่าง ๆ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นต้น และที่ทรงจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 4 ผลงาน คือด้านวรรณกรรม 3 ผลงานคือ หนังสือแนวคิดทฤษฏีใหม่,โครงการทฤษฏีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพระมหาชนก ด้านศิลปกรรม 1 ผลงานคือ ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนก

ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้รับการจัดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐ ฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐ

นางพวงรัตน์ กล่าวอีกว่า เมื่อวันที 12 พ.ย.2550 หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญรางวัล และปราศนียบัตรต่าง ๆ แต่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศอังการีทูลเกล้า ฯ ถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงาน ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง

Association;(KIPA) ทูลเกล้าถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

2

นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยทรงมีพระ ราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญมาก เมื่อปี 2500 พูดกันว่าเราไปลอกจากต่างประเทศได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้สิทธิ การพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการดูถูกคนไทย” ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเข้าเฝ้า ฯ เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัล ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันที่ 14 มกราคม 2552 เวลา 17.00 น.

ตลอดระยะเวลา 62 ปี แห่งการดำรงสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ

เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักอย่างยิ่ง เพื่อยังความผาสุก แก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกภูมิภาคและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของงประเทศชาติ ทรงพระปรีชาญาณในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการปกครอง ด้านการจัด

การทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านสือสารคมนาคม และด้านการศาสนาที่ทรงรอบรู้หลักธรรมอย่างละเอียด ลึกซึ้ง อีกทั้งทรงบำเพ็ญพระองค์อยู่ในราชธรรมจริยาอย่างครบถ้วน ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ และขัตติยพละ 5 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมนับเนื่องแต่วันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ในขณะที่ดำรงสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอกดุลยเดช ฯ ได้เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นเวลา 15 วัน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรี ที่ทรงพระผนวชในขณะทรางพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดระยะเวลา 15 วัน ที่ทรงพระผนวช ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังทรงปฏิบัติพระองค์และบำเพ็ญศาสนกิจเช่นเดียวกับพระสงฆ์รูปอื่น ๆ อาทิ ทรงรับบิณฑบาด เสด็จลงพระอุโบสถ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น มีพระราชจริยวัตรอันงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง

นับเป็นบุญอย่างใหญ่หลวงของคนไทยและประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมอันประเสริฐ ทำให้ประเทศชาติและทวยราษฏร์ทุกหมู่เหล่าภายใต้พระบรมพิสมภารของพระองค์ร่มเย็นเป็นสุข สมดังพระปฐมบรมราชโองการ และพระราชปณิธาณที่ทรงตั้งไว้ในวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนขาวสยาม”

สรุปได้ว่า เราฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมใจคนไทยทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าต่างประเทศ และกลุ่มองค์การต่าง ๆ ในโลก ยังยอมรับว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ จึงได้ ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัล และประกาศนียบัตรต่าง ๆ แด่พระองค์ มากมาย ประชาชนชาวไทยรู้สึกปราบปลื้มหาที่สุดมิได้ และน้อมเกล้า ฯ ถวายความจงรักภักดีและพลังศรัทธาจากดวงใจทุกดวงของเหล่าพสกนิกรทั่วประเทศแต่พระองค์ท่าน และนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงของเรา มาใช้ดำรงชีพตลอดไป พันตรี ชูชีพ มากบำรุง 511307148111

ผู้นำระดับโลก

Global Leader

ในวโรกาส ที่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(WIPO) ทูลเกล้าฯรางวัล "โกลบอล ลีด

เดอร์ อวอร์ด" (Global Leader Award) ถวาย "ในหลวง" นับเป็นพระองค์แรก ยกย่อง

พระมหากษัตริย์ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมพัฒนาประเทศ ให้ชีวิตความ

เป็นอยู่ชาวไทยดีขึ้นสำหรับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO เป็นหนึ่งในองค์กรภายใต้

สหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาโลก และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบัน ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มใหม่ เมื่อปี 2551 และยังไม่มีผู้ใดเคยได้รับรางวัลนี้ มาก่อน ไวโป ตัดสินใจทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้เป็น พระองค์แรก เพราะทรงเป็นผู้นำและทรงมีพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมและเผยแพร่บทบาทของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนาประเทศไทยและในต่างประเทศ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและนำประโยชน์ สู่ปวงชน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริม และพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้น ได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก นอกจากนี้ จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ได้มีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตร กังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย (International Inventor Day)"ในโครงการพระราชดำริต่างๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งาน และมีพระบรมราชานุญาติให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัย ถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแท้จริง พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่ทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ "ซุปเปอร์มด" แล้วทรงนำไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ต่อมา ทรงประดิษฐ์คิดค้น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำงานได้ผลอย่างจริงจัง ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย และถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่จดทะเบียนในประเทศไทย "โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฝนหลวงนี้ ถือว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมาก ได้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนในยุโรป ซึ่งตามขั้นตอนระบบของการขอจดสิทธิบัตรนั้น เมื่อยื่นคำขอไปแล้วจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2 ปี หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เคยมีมาก่อนก็จะได้รับการจดทะเบียนซึ่งผลงานการทำฝนหลวงของในหลวงนั้นต้องถือว่าพระองค์ท่านทรงมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และทรงให้ความสำคัญในการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา

ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงจดใน

นามพระปรมาภิไธย แต่ใช้เป็นเครื่องหมายทางการค้า เช่น บริษัท สุวรรณชาด ทรงใช้เครื่องหมายทางการค้าเป็นรูปสุนัขทรงเลี้ยง "คุณทองแดง" หรือ โครงการหลวง ทรงใช้เครื่องหมายการค้า

"ธรรมชาติ" เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้างในสี่เหลี่ยมเป็นพื้นสีเขียวเขียนคำภาษาอังกฤษ"THAMMACHAD"

ใต้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย "ธรรมชาติ" ทั้งนี้ ก็เพื่อสื่อให้คนไทยหันมารักสุขภาพ กินอาหารที่มาจากธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงทำเพื่อประเทศไทยอย่างแท้จริง

สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการจด

ทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีหลายประเภท คือ ด้านสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร รวม 8 ฉบับ ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่น

ลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ สิทธิบัตรการใช้ น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สิทธิบัตรการใช้น้ำมัน ปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นนน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ สิทธิบัตรการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง)สิทธิบัตรภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกายสำหรับรองรับปัสสาวะผู้ป่วย สิทธิบัตรอุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว สิทธิบัตรกระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

ทรงเป็นผู้นำระดับโลกผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งมีวิสัยทัศน์ การจัดการ มีอุดมการณ์และศรัทธาที่มุ่งมั่น ผู้นำระดับประเทศและเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลมีความชัดเจนในเป้าหมาย ดำรงความมุ่งหมาย มุ่งมั่นทรงทราบอะไรคือปัญหา ทรงงานหนักแม้ในภาวะที่ต้องทรงพักผ่อน

ทรงเป็นนักพัฒนาและทรงเป็น “ครู” สำหรับพสกนิกรทั้งหลาย สื่อสารเก่งถ่ายทอดความเข้าใจให้รับรู้ มุ่งเน้นให้สำคัญต่อโอกาสมากกว่าปัญหาทำให้ผู้คนเกิดความ”ศรัทธา”แม้ไม่ได้อยู่ในปกครองของพระองค์ มีอำนาจและมีบารมีอยู่ในองค์เอง

พระองค์ผู้มีธรรมสำหรับพระราชาซึ่งเป็นแบบแผนในการปกครองได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 จักรวรรดิวัตร 12 และราชสังคหวัตถุ 4 เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ อันได้แก่ 1. การให้ 2. การบริจาค 3. ความประพฤติดีงาม 4.ความซื่อตรง 5. ความอ่อนโยน 6. ความทรงเดช 7. ความไม่โกรธ 8. ความไม่เบียดเบียน 9. ความอดทน 10. ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรมทรงมีจักรวรรดิวัตร 12 คือธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร ทรงถือและอาศัยธรรมข้อนี้เป็นหลักสำหรับการปกครองประเทศ ได้แก่ 1. ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย 2. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น 3. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ 4. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง 5. ควรอนุเคราะห์ประชาชนที่อยู่ในชนบท 6. ควรอนุเคราะห์สมณพรามณ์ผู้มีศีล 7. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธ์ 8. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุตจริต 9. ควรเลี้ยงดูคนจนเพื่อมิให้ประกอบการทุจริตและอกุศลต่อสังคม 10. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ่มชัด 11. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ 12. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้ พระองค์ทรงมีราชสังคหวัตถุ 4 คือ พระราชจริยานุวัตรอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวนำใจประชาชน สำหรับเป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร ซึ่งพระองค์ทรงปฏิบัติตนอยู่เป็นกิจวัตรเสมือนเป็นธรรมประจำใจ

ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกาย สร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ พัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย ทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก

แม้ผลงานทั้งหมดที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นนั้น หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ แล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือรางวัลทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรเทียบได้ ก็คือ "น้ำพระทัย" และ "พระเมตตา" แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ให้พสกนิกรอยู่ดีกินดี มีความสุขสถาพร

นางสาวสกุลยา วุฒิกนกธำรง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นคำพูดที่สะท้อนทางสื่อวิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้คนไทยทุกคนน้อมนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยทุกครัวเรือน ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านเห็นว่า การดำเนินชีวิตของประชาชนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่อารยธรรมและความเจริญต่างๆ ได้เข้ามาอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมของครัวเรือนในสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปพระองค์จึงนำกระแสพระราชดำรัสในการดำเนินชีวิตทางสายกลาง เพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ โดยเน้นความพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตนเองและครอบครัว เพื่อเป็นเกาะคุ้มกันในผลกระทบที่ติดทั้งภายนอกและภายใน โดยมีความรอบรู้และรอบคอบและระมัดระวัง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือนักวิชาการทั้งหลายที่มีหน้าที่วางแผนการพัฒนาในประเทศจะต้องเสริมสร้างจิตใจของคนไทยทุกหมู่เหล่าให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียร มีสติและปัญญารวมทั้งความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อความพร้อมของคนไทยทุกคน ในการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านในการให้คนไทยเป็นคนไทยให้ชาติไทยเป็นชาติไทยอย่างยั่งยืน

ทำให้พระองค์ได้รับรางวัล “ผู้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา” ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก WTPO ( World Intellectual Property Organization) นั่นคือข่าวที่ข้าพเจ้าได้ทราบจากหนังสือพิมพ์ ทันที

ที่ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวดังกล่าว ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นคนไทย ข้าแผ่นดินของพระองค์ท่านมีความรู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน และรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในโลกที่ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์เดียวที่คิดประดิษฐ์แล้วนำมาจดสิทธิบัตร ซึ่งประดิษฐ์ทุก ๆ ชิ้นทั้งหมดทั้งปวงล้วนเกิดจากพระองค์ท่านทรงมีราชประสงค์เข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้แก่ราษฎร เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยไม่ว่าเรื่องใดๆ เช่นการประสบปัญหาภัยแล้งของเกษตรกรทั้งทุกภาคของประเทศ พระองค์ทรงคิดค้นฝนเทียมพระราชทาน “โครงการฝนหลวง” เชิงหน่วยงานปฏิบัติการทั้งทุกภาคของประเทศ เมื่อได้รับการร้องขอจากประชาชนเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนหรือวิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำมัน พระองค์ทรงคิดสูตร T อีเทอนอล ให้พลังงานแทนน้ำมันได้ เพื่อประหยัดรายจ่ายให้แก่ประชาชน รวมทั้งโครงการต่างๆ ในการแก้ไขภัยแล้งมีการสร้างเขื่อนเก็บน้ำ ฝายแม้ว (ชะลอการไหลของน้ำ) ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในเขตปริมนฑลและกรุงเทพฯ ทรงดำเนินการโครงการ

แก้มลิง ทำให้ไม่เกิดความเสียหายในพื้นที่เศรษฐกิจ

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นพสกนิกรชาวไทย ข้าพเจ้าคิดว่าประชาชนทุกหมู่เหล่าล้วนมีความภาคภูมใจในพระอัจฉริยภาพขององค์พระเจ้าแผ่นดินของเราอย่างเปี่ยมล้นกับหลากหลายผลงานทรงประดิษฐ์คิดค้นนับร้อย ๆ ชิ้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญในการจดทะเบียนและทรงแจ้งข้อมูลไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังพระราชดำริของพระองค์ท่านที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ ได้ทรงกล่าวความว่า

“ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญมาก เมื่อตอนปี พ.ศ. 2500 พูดกันว่าเราไปลอกจากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิดที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตร เราสามารถใช้อะไรจากต่างประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้สิทธิ การพูดอย่างนี้ไม่ถูกเป็นการดูถูกคนไทย”

คำกล่าวนี้แสดงถึงพระปณิธานอันแน่วแน่ของพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย ซึ่งทรงมีมาตลอดนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ กว่า 6 ทศวรรษ และนับเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมา ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติต่อชาติไทยอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนชาวไทย รู้สึกภาคภูมิใจที่พระมหากษัตริย์ หรือในหลวงของปวงไทย ได้รับการยกย่องจากนานาประเทศ รางวัลจากองค์กรนานาชาติที่ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ในหลวงของเราในครั้งนี้ไม่ใช่รางวัลแรก เพราะเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 มีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรต่างๆ แด่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศฮังการี ทูลเกล้าฯ ถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงานทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง และ KIPA ประเทศเกาหลี ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก ว่าทรงพระอัจฉริยภาพและมีพระวิริยะสูงส่งในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มากมายหลายร้อยชิ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในอนาคตตามแนวพระราชดำริแบบเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการจดสิทธิบัตรของโครงการต่างๆ ที่พระองค์ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ราษฎรของพระองค์มีความเป็นอยู่ที่ดีพึ่งตนเองได้ความภาคภูมิใจในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของข้าพเจ้าจะคงอยู่ตลอดไป ศูนย์รวมของชาติไทย ความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยคงจะเหมือนกับตัวข้าพเจ้าที่จะไม่สูญสลายพระองค์ท่านจะสถิตในดวงใจของพสกนิกรตลอดไป

นางสาวสกุลยา วุฒิกนกธำรง

รหัสประจำตัว 511307148131

ส.ต.ท.เสถียร อาจผักปัง

๖๐  ปี  พระมหากษัตริย์นักพัฒนา

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ภูมิพลอดุลยเดช  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก  พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย  ทั้งในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  ด้านการศึกษา  ด้านศาสนา  ด้านความมั่นคงภายในประเทศ  ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ด้านศิลปวัฒนธรรม  และด้านกีฬา  แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ  การยกระดับสภาพความเป็นอยู่  และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน  โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่าง ๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง  พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี  เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นทุรกันดาร  อาจกล่าว

ได้ว่า  ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย  ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง

                ตลอด  ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น  และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์  จึงเป็นช่วงเวลา  ๖๐  ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี  พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ  นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความหว่งใยประชาชนชาวไทยทุกด้าน  โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย  ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น  เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข  ดังพระราชดำรัสที่ว่า  ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม  ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้  เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ  ก็คือพลเมืองนั่นเอง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง  และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย  ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยื่ยมราษฎรตามท้องที่ต่าง ๆ ทุกครั้ง  พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และแพทย์อาสาสมัคร โดยเสด็จดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด  เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที  นอกเหนือจากนั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข

                ด้านการเกษตร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจในด้านนี้  พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม  ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน  และรับฟังข้อปัญหา  เกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาดิน  การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์

                ด้านทรัพยากรน้ำ เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร  พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เคยพระราชทานแก่คณะผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  มีทั้งการแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้ง  ปัญหาอุทกภัย  รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย  โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ที่จังหวัดลพบุรี  จนถึงโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กจำพวก  ฝาย  อ่างเก็บน้ำ  โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ  สภาพแหล่งน้ำ  ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ  ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ  มาเป็นหลักในการพิจารณา  พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง  เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน

                ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม  และน้ำเน่าเสียในคูคลอง  ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิงควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย   เครื่องกลเติมอากาศกังหันชัยพัฒนา  ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน  เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา  กระทรวงพานิชย์  เมื่อวันที่  ๒ กรกฎาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๖

                ผลงานของพระบาทสมเด็จพระบาทพระเจ้าอยู่หัว  ภูมิพลอดุลยเดช  เป็นผลงานส่วนหนึ่งของพระองค์เท่านั้น  พระองค์ทรงงานหนัก  ทรงทำทุกอย่างเพื่อพสกนิกรชาวไทย  หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงหรือรางวัลเกียรติยศใดๆแล้ว  ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบกับพระองค์ได้เลย  พระองค์ทรงเป็นผู้นำระดับโลก  และทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาอย่างแท้จริง

รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

( Word  Intelletual  Property  Orgnization - WIPO)  และคณะ  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  ทูลเกล้าทูลกระหม่อม  ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา  หรือ  WIPO  Global  Leader  Award  เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราช  ครบ  ๖๐  ปี  ในฐานะที่ประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

                องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก  เป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด  ๑๘๔  ประเทศ  รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นความคิดริเริ่มใหม่ขององค์การ  ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน  การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ในครั้งนี้  เนื่องมาจาก  องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก  ได้ประจักษ์ถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไว้มากกว่า  ๒๐  รายการ  และเครื่องหมายการค้าอีก  ๑๙  รายการ  นอกจากนี้ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน  มากกว่า  ๑,๐๐๐  รายการ  อาทิ  เพลงพระราชนิพนธ์  ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์  และจิตกรรมฝีพระหัตถ์  รางวัลที่พระองค์ทรงได้รับในครั้งนี้สร้างความปลื้มปีติและความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยยิ่งนัก

คุณสมบัติของผู้นำโลกที่ต้องการ

๑.      ต้องรอบรู้งาน  ทั้งตนเองและผู้อื่นในวงการเดียวกัน

๒.    ต้องรู้จักหลักการพื้นฐานเบื้องต้นของการบริหารงาน เช่น การวางแผนงาน  การจัดองค์การ  การประสานงาน  การควบคุมงาน

๓.    ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา  เช่น  เห็นอกเห็นใจลูกน้อง  เป็นที่ปรึกษาได้ใน

ทุกโอกาส  อารมณ์ดีอยู่เป็นนิจ  พูดจาสุภาพเรียบร้อย

๔.    มีความยุติธรรม  ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

๕.    ต้องมีพรหมวิหาร ๔  คือ  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา

๖.     เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง เช่น ขยันขันแข็ง  ประพฤติดี

๗.    มีความคิดริเริ่ม  หาสิ่งใหม่ๆ  แปลกๆ  มาปรับปรุงงานอยู่เสมอ

๘.    รอบรู้ทันเหตุการณ์โลกปัจจุบัน

๙.     นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการพัฒนางาน

 

นายสมคิด รินนาศักดิ์

ความประทับใจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับรางวัล “ผู้นำระดับโลก”

ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติ ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทั้งปวงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงงานหนักโดยทรงมุ่งหวังพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีความสุขมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตประจำวันจนก่อให้เกิดโครงการตามแนวพระราชดำรงมากมาย ซึ่งล้วนแล้วเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับราษฎร และพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทั้งสิ้น นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงคิดค้นอุปกรณ์ เครื่องมือ และวิธีการต่าง ๆ มากมาย จนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก

เนื่องในวโรกาสที่ในหลวงของเราทรงได้รับรางวัล “ผู้นำระดับโลก” เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นสิ่งที่พวกเราชาวไทยล้วนปราบปลื้มปิติยินดี สุดหาที่เปรียบมิได้ การเป็นผู้นำที่มีภาวะระดับโลก ภาวะผู้นำในการจัดการความขัดแย้ง ภาวะผู้นำนวัฒกรรมทางความคิดทางปัญญาระดับโลก สอดคล้องต้องรับคือ “ยุคปัญญาภิวัฒน์” เป็นสิ่งที่สังคมโลกชื่นชมพระองค์ท่าน ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจและภูมิใจ ที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และสิ่งที่ประทับใจมากคือโครงการทำฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้ง ทำให้เกษตรกรมีน้ำไม่แห้งแล้ง และอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และ ยังมีพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรง อยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแส โลกาภิวัฒน์ และ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงถือว่าเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงชีวิตของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาประเทศ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากทางโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ มากมายนั้นล้วนแตเป็นผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น เช่น บทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก หนังสือแนวคิดทษฎีใหม่ ฯลฯ

เนื่องในดโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WTPO) รางวัลโกลบอล ลีคเตอร์ อวอร์ด (Global Leader Award ) พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่ทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ “ซุบเปอร์มด” แล้วทรงนำไปจดทะเบียนในต่างประเทศถัดจากนั้นทรงประดิษฐ์คิดค้น “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำงานได้อย่างจริงจังภายใต้กฏหมายสิทธิบัติของไทย และถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่จดทะเบียนในประเทศไทย “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เรียกได้ว่าเป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม จดทะเบียนสิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 นับต่นั้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงได้ประดิษฐ์คิดค้นหลายสิ่งหลายอย่างมาอย่างต่อเนื่องและได้จดทะเบียนสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัติรวมแล้วมีทั้งหมด 8 คำขอ อาทิ เครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ, การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ดีเซล เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (ไบโอดีเซล) การทำฝนหลวงเป็นต้น

รองอธิบดีปัจฉิมา กล่าวเพิ่มเติมว่าเมื่อปี 2500 ประเทศไทยเรามักลอกเลียนสิ่งประดิษฐ์

มาจากประเทศอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นว่าคนไทยเมื่อก่อนมาจากการลอกเลียนแบบ

แต่จริง ๆ แล้วคนไทยก็เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น แล้วพระองค์ท่ามีรับสั่งว่า ถ้าประเทศไทยมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาไทยจะเจริญ

นอกจากนี้ทรงมีผลงานทางด้านวรรณกรรม คือโครงการทฤษฎีใหม่,พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก งานทางด้านศิลปกรรม เช่น เหรียญพระมหาชนก รูปวาดในพระมหาชนก ซึ่งเกิดจากพระราชดำริของพระองค์ท่าน และที่จะอดกล่าวถึงไม่ได้ คือเพลงพระราชนิพนธ์ก็เป็นผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของพระองค์ท่านทั้งสิ้น

ผลงานทั้งหมดที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนั้น หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงเกียรติยศ ใดๆ แล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือรางวัลทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรเทียบได้ ก็คือ “น้ำพระทัย” และ “พระเมตตา” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ให้พสกนิกรอยู่ดีกินดี มีความสุขสถาพร

นายสมคิด รินนาศักดิ์

รหัสประจำตัว 511307149117

สวัสดี ศิษย์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ขณะนี้  ศิษย์ MPA หลายท่านได้ร่วมกันเขียนบทความในบันทึกนี้  เพื่อให้ศิษย์ได้เขียนอยู่ในประเด็น ผมได้กำหนดไว้ว่า ให้ศิษย์ใช้วโรกาสที่ในหลวงของเรา ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก" เขียนบทความดังนี้

1.     ท่านมีความประทับใจอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ และ

2.     จะดำเนินเจริญลอยตามพระยุคลบาท ได้อย่างไร

3.     โดยสรุปสุดท้ายว่า คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการนั้น มีอย่างไร

ผมได้ติดตามอ่านบทความจากศิษย์ทุกคน และขอส่งกำลังใจมา ณ โอกาสนี้

ขอความสวัสดีจงมีแด่ศิษย์ ทุกคน

 

จ.ส.ต.ธัญญา เจี๊ยบหยู

ความประทับใจต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงได้รับรางวัลผู้นำโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์สมบัติ ทรงเป็นพระประมุขของ

ประเทศและทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทั้งปวง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงทรงงานหนัก โดยทรงมุ่งหวังพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีความสุข มีความมั่นคง

ในการดำรงชีวิตประจำวันจนก่อให้เกิดโครงการตามแนวพระราชดำริมากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทั้งสิ้นนอกจากนี้พระองค์

ยังได้ทรงคิดค้นอุปกรณ์เครื่องมือและวิธีการต่างๆมากมายจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก

เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักอย่างยิ่ง เพื่อยังความผาสุก แก่พสกนิกรของพระองค์ในทุกภูมิภาคและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ ทรงพระปรีชาญาณในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

ด้านการปกครอง ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านสื่อสารคมนาคม และด้านการศาสนาที่ทรงรอบรู้หลักธรรมอย่างละเอียด ลึกซึ้ง อีกทั้งทรงบำเพ็ญพระองค์อยู่ในราชธรรมจริยาอย่างครบถ้วน ได้แก่ทศพิธราชธรรม 10 ประการ จักรวรรดิวัตร

12 ประการ ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ และขัตติยพละ 5 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมนับเนื่องแต่วันเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

ในขณะที่ดำรงสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้เสด็จออกทรงพระผนวชเป็นเวลา 15 วัน นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรี ที่ทรงพระผนวชในขณะทรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดระยะเวลา 15 วัน ที่ทรงพระผนวช ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังทรงปฏิบัติพระองค์และบำเพ็ญศาสนกิจเช่นเดียวกับพระสงฆ์รูปอื่นๆ อาทิ ทรงรับบิณฑบาตรเสด็จลงพระอุโบสถ สวดมนต์ ทำวัตรเช้า – เย็น มีพระราชจริยวัตรอันงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง นับเป็นบุญอย่างใหญ่หลวงของคนไทยและประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมอันประเสริฐทำให้ประเทศชาติและทวยราษฎร์ทุกหมู่เหล่าภายใต้พระบรมพิสมภารของพระองค์ร่มเย็นเป็นสุข สมดังพระปฐมบรมราชโองการและ

พระราชปณิธานที่ทรงตั้งไว้ในวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ มากมายนั้นล้วนแต่เป็นผลงานที่เป็นผลงานที่เป็น ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น เช่นบทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆ ฯลฯ

เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WTPO) รางวัลโกลบอล ลีคเตอร์อวอร์ด (Global Leader Award) ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็น

คนไทย และสิ่งที่ประทับใจมากคือโครงการทำฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้ง

ทำให้เกษตรกรมีน้ำ พื้นดินไม่แห้งแล้งและอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และยังมีพระราชดำรัชชี้แนะทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงถือว่าเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้

ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ

ของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบครอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาก

โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี และข้าพเจ้าจะนำแนวคิดของพระองค์มาใช้ปฏิบัติและดำรงชีพตลอดไป

จ.ส.ต. ธัญญา เจี๊ยบหยู

รหัสประจำตัว 511307148114

จุรีพร ชำนาญธนกุล

ความประทับใจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับรางวัล “ผู้นำระดับโลก”

ตลอดระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุด ทุกภาพแห่งความทรงจำของคนไทยทั่วทั้งประเทศที่จดจำได้เป็นอย่างดี จากพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ โดยมิทรง

ย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบากตรากตรำพระวรกาย ภาพที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร พร้อมด้วยกล้องถ่ายรูป แผนที่ และสมุดบันทึกที่พระองค์จะนำติดพระวรกายไปด้วยเสมอ นี่คือภาพที่อยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ซึ่งนอกจากพระราชกรณียกิจแล้ว พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปาการจนเป็นที่ยอมรับ ทรงรังสรรค์ผลงานส่วนพระองค์มากกว่า 1,000 รายการ รวมถึงผลงานด้านจิตรกรรม ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ ดนตรี บทเพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือพระราชนิพนธ์ และเครื่องหมายการค้า

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาในการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้น มีโครงการพระราชดำริหลายโครงการที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน นอกจากนี้ยังทรงมีพระบรม-

ราชานุญาตยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้น เช่น

1. ผลงานประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้า

แบบทุ่นลอย (กังหันชัยพัฒนา)

2.เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ

3.การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

4.การดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง)

5.การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ

ในฐานะที่พระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศไทย องค์การทรัพย์สินทางปัญญา (World Intellectual Property Organization - WIPO) ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษภายใต้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO Global Leaders Award) เพื่อเป็นการแสดงถึงการตระหนักในเกียรติคุณ และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติต่อบุคคลระดับประมุขของประเทศผู้อุทิศตน และใช้ครรลองของทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างโดดเด่นแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์กันแล้วทั่วโลก ว่าทรงเป็นนักประดิษฐ์ ทรงมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา

เพื่อการพัฒนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ และทรงมีทศพิธราชธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ ในฐานะที่เป็นพสกนิกรชาวไทยมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย จะคิดดี พูดดี ทำดี ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ถูกต้อง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล โดยมีพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุด

สำหรับคุณสมบัติของผู้นำโลกที่ต้องการในความคิดเห็นของข้าพเจ้าคือ

1. ผู้นำต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในทุก ๆ ด้าน

2. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม

3. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง

4. เป็นผู้ที่มีเหตุผล และยอมรับในความผิดพลาดที่แสดงถึงความเข้มแข็งมากกว่าแสดงความอ่อนแอ

5. เป็นนักบริหารเวลาที่ดี มีความซื่อตรง และยุติธรรม

6. เป็นผู้นำที่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

7. ยอมรับค่าของคนตามความแตกต่างของบุคคล

8. เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย และความอดทน

9. เป็นผู้ที่คิดดี ทำดี พูดดี

จุรีพร ชำนาญธนกุล

511307148106

หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

นางประกายดาว เมืองแมน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

พสกนิกรไทยล้วนมีความภาคภูมิใจในพระอัจฉริยภาพขององค์พระเจ้าแผ่นดินของเราอย่างเปี่ยมล้น กับหลากหลายผลงานทรงประดิษฐ์นับร้อยๆชิ้น

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญในการจดทะเบียนและทรงแจ้งข้อมูลไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังพระราชดำริของพระองค์ท่านที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ ความว่า

“ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญมาก เมื่อตอนปี พ.ศ. 2500 พูดกันว่าเราไปลอกจากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิดที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตร เราสามารถใช้อะไรจากต่างประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้สิทธิ การพูดอย่างนี้ไม่ถูกเป็นการดูถูกคนไทย”

คำกล่าวนี้แสดงถึงพระปณิธานอันแน่วแน่ของพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย ซึ่งทรงมีมาตลอดนับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์ กว่า 6 ทศวรรษ และนับเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันพุธที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (world Imtellectual Organization หรือ WIPO) ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

พวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยรายละเอียดถึงเรื่องนี้ว่า เหตุผลที่ไวโป-WIPO ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลดังกล่าว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตนและใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งยังเป็นผู้นำประเทศพระองค์แรกที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้

นอกจากนี้ จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลก มีมติให้วันที่ 2 ก.พ. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกอีกด้วย

พวงรัตน์ กล่าวอีกว่า รางวัลจากองค์กรนานาชาติที่ทูลเกล้าฯ ถวายแด่ในหลวงของเราในครั้งนี้ไม่ใช่รางวัลแรก เพราะเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2550 มีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้าฯถวายเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรต่างๆ แด่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศฮังการรีทูลเกล้าฯ ถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงานทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง และ KIPA ประเทศเกาหลี ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตรในหลวง องค์ผู้นำเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าทรงมีพระอัจฉริยภาพและมีพระวิริยสูงส่งในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มากมายหลายร้อยชิ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในอนาคตตามแนวพระราชดำริแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ท่านอธิบดีหญิงพวงรัตน์ กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจดสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2536 คือ กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นผลงานที่เกิดจากการที่พระองค์ทรงมีความห่วงใยในคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า

นอกจากนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาด้านสิทธิบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีอีกหลายอย่าง ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รวบรวมไว้ในหนังสือ “ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เช่น เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำฝนหลวง น้ำมันไบโอดีเซล อุปกรณ์ควบคุมผลักดันของเหลว หรือที่เรียกว่าเรือหางกุด การใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ และภาชนะสำหรับรองรับของเสียออกจากร่างกาย ที่ทรงได้รับทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรแล้ว

ทรัพย์สินทางปัญญาสาขาอื่น เช่น เครื่องหมายการค้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้คนไทยได้เข้าใจและเห็นความสำคัญในการสนับสนุนสินค้าของคนไทยให้มากขึ้น ทรงสร้างเครื่องหมายการค้าและนำออกเผยแพร่ให้คนไทยรู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ เครื่องหมายการค้าคำว่า ทองแดง และรูปคุณทองแดง ที่คนไทยทุกคนล้วนชื่นชมและพยายามหาซื้อสินค้าที่มีเครื่องหมายดังกล่าว จนสินค้าขาดตลาดและผลิตเพิ่มเติมอีกหลายครั้งเป็นต้น

ลิขสิทธิ์ คือผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของพระองค์ท่านอีกสาขาหนึ่ง ซึ่งชาวไทยและชาวต่างชาติต่างรู้จักและซาบซึ้งในพระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระองค์ อีกด้านหนึ่งคือผลงานสร้างสรรค์บทเพลงซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นจำนวนมากล้วนมีความไพเราะ ซาบซึ้ง คนไทยเป็นจำนวนมากรู้จักและสามารถร้องเพลงพระราชนิพนธ์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี และเกือบทุกเพลงได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศทำให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสฟังและสามารถร้องเพลงเหล่านั้นได้อย่างแพร่หลายและยังมีผลงานด้านวรรณกรรมอีกหลายเรื่องที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์ขึ้น อาทิ พระมหาชนกนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นต้น

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามาก อย่างเช่น เมื่อทรงคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใดได้ ทรงนำเข้าสู่ระบบทางทรัพย์สินทางปัญญาทันทีคือ เอามาจดสิทธิบัตร มาจดเครื่องหมายการค้า ท่านทรงจดทุกอย่างทั้งทางด้านลิขสิทธิ์ ฉะนั้น นอกจากเป็นผู้นำที่ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ไวโป ยังยกย่องพระองค์ท่านเป็นผู้นำที่มองเห็นหรือให้ความสำคัญทางทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย” อธิบดีพวงรัตน์กล่าว

จดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อประโยชน์สู่พสกนิกร

คนไทยทั่วไปฟังเรื่องนี้แล้วอาจคิดว่าเป็นเรื่องเข้าใจยาก แต่เป็นความรู้รอบตัวที่จำเป็นกับชีวิตมากๆ

อธิบดีพวงรัตน์ อธิบายคำว่า ทรัพย์สินทางปัญญา หมายความถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นทีผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญโดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวความคิด กรรมวิธีและทฤษฎีต่างๆ เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญามี 6 ประเภท แต่ที่คนไทยรู้จักหลักๆ คือ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จดที่ประเทศไหนคุ้มครองประเทศนั้น

“อย่างเช่น ฝนหลวงก็ทรงไปจดสิทธิบัตรที่ทวีปยุโรป มีผลให้ได้รับการคุ้มครอง 30 ประเทศ ไม่ใช่แต่ในประเทศไทยเท่านั้นนะคะ และกำลังจะจดในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ซึ่งจดที่ใดก็คุ้มครองที่นั่นและเป็นไปตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยค่ะ เราอาจเคยได้ยินข่าวว่าสหรัฐอเมริกามาจดสิทธิบัตรบังคับใช้ซีแอลในไทยหลายอย่าง เช่นพวกยา สิทธิบัตรจดที่ไหน เครื่องหมายการค้าจดที่ไหนก็คุ้มครองที่นั่น ของพวกนี้ต้องจดนะคะ แต่อีกประเภทหนึ่ง คือ ลิขสิทธิ์ ไม่ต้องมาจดทะเบียน ซึ่งเป็นอะไรก็ตามที่เกิดจากความคิด จากความอุตสาหะที่นักคิดทำขึ้น มาแล้วจะเป็นเจ้าของเลย โดยความเป็นเจ้าของนั้นชั่วชีวิตบวก 50 ปี เช่น พวกกรรมทั้งหลายค่ะ วรรณกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรมซึ่งจะรวมถึงการแสดง นักเขียน และที่เพิ่มขึ้นมาที่ไม่ใช่กรรมก็คือ เรื่องซอฟแวร์ ก็ถือเป็นเรื่องลิขสิทธิ์ทันทีที่คิดทำขึ้นมาเป็นเจ้าของ แต่หมายความว่าต้องมีหลักฐาน แล้วมาแจ้งที่กรมทรัพย์สินฯ การแจ้งคือการเก็บเอาไว้ในดาตาเบส ไม่ได้แสดงว่าการแจ้งนั้นจะทำให้เห็นว่าเป็นเจ้าของคนแรก เพราะเราไม่ได้มานั่งพิสูจน์ว่าใคร บางคนทำไว้แล้วไม่ได้แจ้งก็มีเยอะค่ะ เราไม่ได้พิสูจน์ตรงนั้นให้ แต่ถ้าเผื่อมีปัญหาอะไรก็ตาม ฟ้องร้องกันก็อาจจะยืมจากดาตาเบสนี้ไปได้ พวงรัตน์ อธิบาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในโลกที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ท่านอธิบดีหญิงอธิบายว่า หลักเกณฑ์การพิจารณามี 3 หลักใหญ่ๆ ก็คือ หนึ่ง เป็นนักคิดนักประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ และแก้ปัญหาให้ประชาชนไทยของพระองค์ สอง สิ่งประดิษฐ์นั้นนับเป็นนวัตกรรมใหม่ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ทรัพย์สินทางปัญญา และ สาม นอกจากทรงนำสิ่งของประดิษฐ์ชิ้นต่างๆ เข้าสู่ระบบทางทรัพย์สินทางปัญญา ยังทรงคิดการประดิษฐ์ไปอย่างต่อเนื่องและโดดเด่น

“การจดสิทธิบัตรของพระองค์ท่านในต่างประเทศ ไวโปเป็นองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาจึงชื่นชมพระองค์มาก เรียกว่า เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกระมังคะที่คิดประดิษฐ์แล้วเอามาจดสิทธิบัตร ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ทุกๆ ชิ้นทั้งหมดทั้งปวงล้วนเกิดจากพระองค์ท่านทรงมีพระราชประสงค์เข้าไปช่วยแก้ปัญหาราษฎร ทรงมองเห็นปัญหาแล้วทรงพยายามคิดค้นสิ่งที่เป็นปัญหา ยกตัวอย่างเช่น ฝนหลวง ทั่วโลกชื่นชมมาก ประเทศแทนซาเนียก็มาขอไปทดลองใช้หรือแม้แต่ออสเตรเลียก็ขอไปใช้ในสิ่งทุรกันดารและช่วงหน้าแล้งของประเทศเขา” พวงรัตน์กล่าวทิ้งท้าย

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้รวบรวมผลงานทรัพย์สินทางปัญญาทุกสาขาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้จดทะเบียนและแจ้งข้อมูลไว้กับกรมฯ โดยมีความมุ่งหมายให้คนไทยได้ทราบและมีความภาคภูมิใจในพระอัจฉริยภาพ และสามารถเดินตามรอยพระยุคลบาทในการประดิษฐ์คิดค้นและสร้างสรรค์ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต แล้วยังเป็นการพึ่งพาตัวเอง และเสริมสร้างความเจริญ

คุณสมบัติผู้นำที่โลกต้องการเพื่อขจัดความขัดแย้ง ควรมีหลักธรรมซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำหรือผู้ปกครองที่ดี มีดังนี้

. ท่าน ให้ปันช่วยผู้ได้ปกครอง คือบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ โดยมุ้งปกครองหรือทำงานเพื่อให้เข้าได้ มิใช่เพื่อจะเอาจากเขา เอาใจใส่อำนวยบริการจัดสรรความสงเคราะห์ อนุเคราะห์ให้ผู้ใต้ปกครองไดรับประโยชน์ ความสะดวกปลอดภัย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบทุกข์และให้ความสนับสนุนแก่คนที่ทำความดี

. ศิล รักษาความสุจริต คือประพฤติดีงามสำรวมกายและวีทวาร ประกอบแต่การสุจริตรักษากิตติคุณประพฤติให้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้ปกครองมิให้มีข้อผู้ใดจะดูแคลนได้

. ปริจจาคะ บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือสามารถเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดชีวิตของตนได้ เพื่อประโยชน์สุขของผู้ใต้ปกครองและความสงบสุขเรียบร้อยของหน่วยงาน

. อาชชวะ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริตมีความจริงใจไม่หลอกลวงผู้ใต้ปกครอง

. มัททวะ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน คือมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หยาบคายกระด้างถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม ควรได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง

. ตปะ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส คือ แผดเผากิเลสตันหา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่หลงไหลหมกหมุ่นในความสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออยู่อย่างง่ายๆ สามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้หน้าที่ให้สมบูรณ์

. อักโกธะ ถือเหตุผลไม่โกรธา คือ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่วินิฉัยความและกระทำการด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและการกระทำด้วยจิตอันสุขุมราบเรียบตามธรรม

. อวิหงสา มีอหิงสานำความร่มเย็น คือไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณาไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ผู้ใต้ปกครองผู้ใดดัวยอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง

. ขันติ ชำนะเข็ญด้วยขันติ คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำอดทนต่อความเหนื่อยยาก ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อถ้อย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางอย่างได ก็ไม่หมดกำลังใจไม่ทิ้งกิจกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม

. อวิโรธนะ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม คือ ประพฤติมิให้จากประศาสนาธรรมอันถือเป็นประโยชน์ที่ดีงามของหน่วยงานและของผู้อยู่ใต้ปกครองเป็นที่ตั้ง อันใดผู้อยู่ใต้ปกครองปรารถนาโดยชอบธรรม ก็ไม่ขัดขืน การใดจะเป็นไปโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครองก็ไม่ขัดขวาง วางองค์เป็นหลักแน่นในธรรม คงที่ไม่มีเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำดีร้ายลาภสักการะหรืออิฎฐารม์

อนิฐฐารณ์ใดๆ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเทียงธรรมก็ดีนิติธรรม คือระเบียบแบบแผนงานปกครอง

ตลอดจนขนบธรรมเนียบประเพณีอันดีงามก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป

. ธรรมาธิปไตย ถือเป็นธรรมใหญ่ คือ ยึดถือความจริง ความถูกต้องความดีงาม เหตุผลและหลักการ กฏกติกาที่ชอบธรรมเป็นบรรทัดฐานเคารพธรรมเชิดชูธรรม นิยมธรรมตั้งตนอยู่ในธรรมประพฤติธรรมด้วยตัวเอง

. ธรรมิกรักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม คือ จัดอำนวยรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม แก่ผู้ใต้ปกครอง

. มา อธรรมา ห้ามกั้นอาธรรม์ คือ จัดการป้องกันแก้ไข มิให้การกระทำที่ไม่เป็นธรรม การเบียดเบียนข่มเหงและความผิดชั่วร้ายเดือดร้อน เกิดขึ้นในหน่วยงาน ชักนำผู้ใต้ปกครองให้ตั้งมั่นในความสุจริตและนิยมธรรม รวมทั้งจัดวางระบบที่กันคนร้าย ให้โอกาสคนดี

. ธนานุประทาน ปันทรัพย์แก่ชนผู้ยากไร้ มิให้คนขัดสนยากไร้ในหน่วยงาน เช่น จัดให้ผู้ใต้ปกครองทั้งปวงมีทางหาเลี้ยงชีพทำมาหากินได้โดยสุจริต

. ปริปุจฉา ไม่ขาดการสอบถามปรึกษา แสวงปัญญาและความดีงามยิ่งขึ้นไป โดยมีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการ ทรงคุณธรรม ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม หมั่นพบปะพระสงฆ์ และนักปราชญ์ ไถ่ถามหาความรู้ความดีงาม หาความจริง และถูกข้อปัญหาต่างๆอยู่โดยสม่ำเสมอตามกาลอันควร เพื่อซักตรวจสอบตนให้เจริญก้าวหน้า และดำเนินการในทางที่ถูกต้องชอบธรรม ดีงามและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง

. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้สมบูรณ์

. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงผู้ใต้ปกครอง คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงผู้ใต้ปกครอง ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ และจัดสวัสดิการให้ดีเป็นตน

. สัมมาปาสะ ผูกประสานผู้ใต้ปกครอง คือ ผดุงสานผู้ใต้ปกครองไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตดแยกกัน

. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือรู้จักพูด รู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทายไถ่ถามทุกข์สุขผู้ใต้ปกครองทุกชั้นแม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟังทั้งประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานมีประโยชน์เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาเสริมความสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ

. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา

. ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว

• มีคุณธรรมของผู้ปกครอง 10 ประการ

• ปฏิบัติหน้าที่ของนักปกครอง 5 ประการ

• ทำนุบำรุงผู้ใต้ปกครองให้ผู้ใต้ปกครองดำรงอยู่ในเอกภาพและสามัคคี ด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ประการ คือ ละเว้นอคติ ผู้นำหรือผู้ปกครองเมื่อปฏิบัติหน้าที่ พึงละเว้นความลำเอียง หรือ ความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม 4 ประการ

นายอลงกรณ์ พุทธสิมมา

คุณสมบัติผู้นำที่โลกต้องการเพื่อขจัดความขัดแย้ง ควรมีหลักธรรมซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำหรือผู้ปกครองที่ดี มีดังนี้

. ท่าน ให้ปันช่วยผู้ได้ปกครอง คือบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ โดยมุ้งปกครองหรือทำงานเพื่อให้เข้าได้ มิใช่เพื่อจะเอาจากเขา เอาใจใส่อำนวยบริการจัดสรรความสงเคราะห์ อนุเคราะห์ให้ผู้ใต้ปกครองไดรับประโยชน์ ความสะดวกปลอดภัย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบทุกข์และให้ความสนับสนุนแก่คนที่ทำความดี

. ศิล รักษาความสุจริต คือประพฤติดีงามสำรวมกายและวีทวาร ประกอบแต่การสุจริตรักษากิตติคุณประพฤติให้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้ปกครองมิให้มีข้อผู้ใดจะดูแคลนได้

. ปริจจาคะ บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือสามารถเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดชีวิตของตนได้ เพื่อประโยชน์สุขของผู้ใต้ปกครองและความสงบสุขเรียบร้อยของหน่วยงาน

. อาชชวะ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริตมีความจริงใจไม่หลอกลวงผู้ใต้ปกครอง

. มัททวะ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน คือมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หยาบคายกระด้างถือองค์ มีความสง่างามเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม ควรได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง

. ตปะ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส คือ แผดเผากิเลสตันหา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่หลงไหลหมกหมุ่นในความสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอหรืออยู่อย่างง่ายๆ สามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้หน้าที่ให้สมบูรณ์

. อักโกธะ ถือเหตุผลไม่โกรธา คือ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่วินิฉัยความและกระทำการด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและการกระทำด้วยจิตอันสุขุมราบเรียบตามธรรม

. อวิหงสา มีอหิงสานำความร่มเย็น คือไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณาไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ผู้ใต้ปกครองผู้ใดดัวยอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง

. ขันติ ชำนะเข็ญด้วยขันติ คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำอดทนต่อความเหนื่อยยาก ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อถ้อย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางอย่างได ก็ไม่หมดกำลังใจไม่ทิ้งกิจกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม

. อวิโรธนะ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม คือ ประพฤติมิให้จากประศาสนาธรรมอันถือเป็นประโยชน์ที่ดีงามของหน่วยงานและของผู้อยู่ใต้ปกครองเป็นที่ตั้ง อันใดผู้อยู่ใต้ปกครองปรารถนาโดยชอบธรรม ก็ไม่ขัดขืน การใดจะเป็นไปโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครองก็ไม่ขัดขวาง วางองค์เป็นหลักแน่นในธรรม คงที่ไม่มีเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำดีร้ายลาภสักการะหรืออิฎฐารม์

อนิฐฐารณ์ใดๆ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเทียงธรรมก็ดีนิติธรรม คือระเบียบแบบแผนงานปกครอง

ตลอดจนขนบธรรมเนียบประเพณีอันดีงามก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป

. ธรรมาธิปไตย ถือเป็นธรรมใหญ่ คือ ยึดถือความจริง ความถูกต้องความดีงาม เหตุผลและหลักการ กฏกติกาที่ชอบธรรมเป็นบรรทัดฐานเคารพธรรมเชิดชูธรรม นิยมธรรมตั้งตนอยู่ในธรรมประพฤติธรรมด้วยตัวเอง

. ธรรมิกรักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม คือ จัดอำนวยรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม แก่ผู้ใต้ปกครอง

. มา อธรรมา ห้ามกั้นอาธรรม์ คือ จัดการป้องกันแก้ไข มิให้การกระทำที่ไม่เป็นธรรม การเบียดเบียนข่มเหงและความผิดชั่วร้ายเดือดร้อน เกิดขึ้นในหน่วยงาน ชักนำผู้ใต้ปกครองให้ตั้งมั่นในความสุจริตและนิยมธรรม รวมทั้งจัดวางระบบที่กันคนร้าย ให้โอกาสคนดี

. ธนานุประทาน ปันทรัพย์แก่ชนผู้ยากไร้ มิให้คนขัดสนยากไร้ในหน่วยงาน เช่น จัดให้ผู้ใต้ปกครองทั้งปวงมีทางหาเลี้ยงชีพทำมาหากินได้โดยสุจริต

. ปริปุจฉา ไม่ขาดการสอบถามปรึกษา แสวงปัญญาและความดีงามยิ่งขึ้นไป โดยมีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการ ทรงคุณธรรม ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม หมั่นพบปะพระสงฆ์ และนักปราชญ์ ไถ่ถามหาความรู้ความดีงาม หาความจริง และถูกข้อปัญหาต่างๆอยู่โดยสม่ำเสมอตามกาลอันควร เพื่อซักตรวจสอบตนให้เจริญก้าวหน้า และดำเนินการในทางที่ถูกต้องชอบธรรม ดีงามและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง

. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้สมบูรณ์

. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงผู้ใต้ปกครอง คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงผู้ใต้ปกครอง ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ และจัดสวัสดิการให้ดีเป็นตน

. สัมมาปาสะ ผูกประสานผู้ใต้ปกครอง คือ ผดุงสานผู้ใต้ปกครองไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตดแยกกัน

. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือรู้จักพูด รู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทายไถ่ถามทุกข์สุขผู้ใต้ปกครองทุกชั้นแม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟังทั้งประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานมีประโยชน์เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาเสริมความสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ

. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา

. ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว

• มีคุณธรรมของผู้ปกครอง 10 ประการ

• ปฏิบัติหน้าที่ของนักปกครอง 5 ประการ

• ทำนุบำรุงผู้ใต้ปกครองให้ผู้ใต้ปกครองดำรงอยู่ในเอกภาพและสามัคคี ด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ประการ คือ ละเว้นอคติ ผู้นำหรือผู้ปกครองเมื่อปฏิบัติหน้าที่ พึงละเว้นความลำเอียง หรือ ความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม 4 ประการ

นายอลงกรณ์ พุทธสิมมา

ด.ต.ชัชวาลย์ เมืองแมน

ในหลวง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยทั้งปวงรักนั้นมีมาก มากเกินกว่าจะบรรยายแต่ถ้าจะให้พูดสั้นๆ ก็น่าจะเป็นเพราะพระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้ “ผู้ที่ย่อยเป็นที่รัก” และทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดยาก ที่จะหาบุคคลใดเทียบได้โดยเฉพาะทรงมีทศพิธราชธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ดังพระราชดำรัชที่ทรงตรัสว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแด่มหาชนชาวสยาม” ซึ่งนับแต่พระองค์ท่านได้เสร็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2489 ตราบจนปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงรักและห่วงใยพสกนิกรยิ่งกว่าพระองค์เอง ทรงมีความผูกพันใกล้ชิดกับราษฎร์ทรงปฎิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อบำบัดทุกข์แก่อาณาประชาราษฎร์ โดยมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบากตรากตรำพระวรกาย ได้ทรงอุทิศเวลา อุทิศกำลังพระวรกาย กำลังพระปัญญาและกำลังพระราชทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาของราษฎร ยากที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใด ในโลกเท่าเทียมได้

พระองค์ทรงเสด็จไปทุก ๆแห่งในประเทศเพื่อรับรู้ปัญหาและฟูความเป็นอยู่ของพสกนิกรที่ยานจนโดยใช้หลักปรัชญาการพึ่งพาตนเอง ทรงเป็นผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาข้าว ฝนหลวง เกษตรทฤษฏีใหม่ กังหันน้ำชัยพัฒนา ใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของผิวดิน โครงการหลวง โครงการควบคุมโรคสารไอโอดีน การรณรงค์เพื่อป้องกันโรคปอด และวัณโรค ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมแนวคิดใหม่ในการจัดการบริหารน้ำและป่าการเกษตร ซึ่งได้รับการสรรเสริญจากองค์กรนานาชาติ องค์กรสหประชาชาติเป็นองค์กรแรก

ที่ทูลเกล้ารางวัลความสำเร็จ สูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์

ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทยอันมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวมใจคนไทยทั้งประเทศ และรู้สึกปราบปลื้มหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับจากนานาอารยะประเทศ และข้าพเจ้าขอน้อมเกล้าถวายความจงรักภักดีพร้อมน้อมนำปรัชญาแนวคิดที่พระองค์ทรงพระราชทานเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและพัฒนาชุมชน สังคม ให้มีความผาสุก ร่มเย็น ตลอดไป และขอให้พระองค์ท่านทรงมีพระชนม์มายุ ยิ่งยืนนาน เป็นร่มโพธิ์ทองของปวงชนชาวไทย ตลอดกาล

ด.ต.ชัชวาลย์ เมืองแมน รหัส 511307148108

นายเจษฏาภรณ์ มากแก่น

ในหลวง เป็นพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยทั้งปวงรักนั้นมีมาก มากเกินกว่าจะบรรยายแต่ถ้าจะให้พูดสั้นๆ ก็น่าจะเป็นเพราะพระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้ “ผู้ที่ย่อยเป็นที่รัก” และทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดยาก ที่จะหาบุคคลใดเทียบได้โดยเฉพาะทรงมีทศพิธราชธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ดังพระราชดำรัชที่ทรงตรัสว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแด่มหาชนชาวสยาม” ซึ่งนับแต่พระองค์ท่านได้เสร็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2489 ตราบจนปัจจุบัน เป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงรักและห่วงใยพสกนิกรยิ่งกว่าพระองค์เอง ทรงมีความผูกพันใกล้ชิดกับราษฎร์ทรงปฎิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อบำบัดทุกข์แก่อาณาประชาราษฎร์ โดยมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบากตรากตรำพระวรกาย ได้ทรงอุทิศเวลา อุทิศกำลังพระวรกาย กำลังพระปัญญาและกำลังพระราชทรัพย์ เพื่อแก้ปัญหาของราษฎร ยากที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใด ในโลกเท่าเทียมได้

พระองค์ทรงเสด็จไปทุก ๆแห่งในประเทศเพื่อรับรู้ปัญหาและฟูความเป็นอยู่ของพสกนิกรที่ยานจนโดยใช้หลักปรัชญาการพึ่งพาตนเอง ทรงเป็นผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาข้าว ฝนหลวง เกษตรทฤษฏีใหม่ กังหันน้ำชัยพัฒนา ใช้หญ้าแฝกเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของผิวดิน โครงการหลวง โครงการควบคุมโรคสารไอโอดีน การรณรงค์เพื่อป้องกันโรคปอด และวัณโรค ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมแนวคิดใหม่ในการจัดการบริหารน้ำและป่าการเกษตร ซึ่งได้รับการสรรเสริญจากองค์กรนานาชาติ องค์กรสหประชาชาติเป็นองค์กรแรก

ที่ทูลเกล้ารางวัลความสำเร็จ สูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์

ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนคนไทย รู้สึกดีใจภาคภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทยอันมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวมใจคนไทยทั้งประเทศ และรู้สึกปราบปลื้มหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ต่างๆ อันเป็นที่ยอมรับจากนานาอารยะประเทศ และข้าพเจ้าขอน้อมเกล้าถวายความจงรักภักดีพร้อมน้อมนำปรัชญาแนวคิดที่พระองค์ทรงพระราชทานเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและพัฒนาชุมชน สังคม ให้มีความผาสุก ร่มเย็น ตลอดไป และขอให้พระองค์ท่านทรงมีพระชนม์มายุ ยิ่งยืนนาน เป็นร่มโพธิ์ทองของปวงชนชาวไทย ตลอดกาล

ด.ต.ชัชวาลย์ เมืองแมน รหัส 511307148108

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด ๑๘๔ ประเทศ รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นความคิดริเริ่มใหม่ขององค์การ ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในครั้งนี้ เนื่องมาจาก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้ประจักษ์ถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไว้มากกว่า ๒๐ รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก ๑๙ รายการ นอกจากนี้ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน มากกว่า ๑,๐๐๐ รายการ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ และจิตกรรมฝีพระหัตถ์ รางวัลที่พระองค์ทรงได้รับในครั้งนี้สร้างความปลื้มปีติและความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยยิ่งนัก

คุณสมบัติของผู้นำโลกที่ต้องการ

๑. ต้องรอบรู้งาน ทั้งตนเองและผู้อื่นในวงการเดียวกัน

๒. ต้องรู้จักหลักการพื้นฐานเบื้องต้นของการบริหารงาน เช่น การวางแผนงาน การจัดองค์การ การประสานงาน การควบคุมงาน

๓. ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น เห็นอกเห็นใจลูกน้อง เป็นที่ปรึกษาได้ใน

ทุกโอกาส อารมณ์ดีอยู่เป็นนิจ พูดจาสุภาพเรียบร้อย

๔. มีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

๕. ต้องมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

๖. เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง เช่น ขยันขันแข็ง ประพฤติดี

๗. มีความคิดริเริ่ม หาสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ มาปรับปรุงงานอยู่เสมอ

๘. รอบรู้ทันเหตุการณ์โลกปัจจุบัน

๙. นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการพัฒนางาน

นายเจษฏาภรณ์ มากแก่น

นายเจษฏาภรณ์ มากแก่น

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้ประจักษ์ถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไว้มากกว่า ๒๐ รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก ๑๙ รายการ นอกจากนี้ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน มากกว่า ๑,๐๐๐ รายการ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ และจิตกรรมฝีพระหัตถ์ รางวัลที่พระองค์ทรงได้รับในครั้งนี้สร้างความปลื้มปีติและความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยยิ่งนัก

คุณสมบัติของผู้นำโลกที่ต้องการ

๑. ต้องรอบรู้งาน ทั้งตนเองและผู้อื่นในวงการเดียวกัน

๒. ต้องรู้จักหลักการพื้นฐานเบื้องต้นของการบริหารงาน เช่น การวางแผนงาน การจัดองค์การ การประสานงาน การควบคุมงาน

๓. ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น เห็นอกเห็นใจลูกน้อง เป็นที่ปรึกษาได้ใน

ทุกโอกาส อารมณ์ดีอยู่เป็นนิจ พูดจาสุภาพเรียบร้อย

๔. มีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

๕. ต้องมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

๖. เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้อง เช่น ขยันขันแข็ง ประพฤติดี

๗. มีความคิดริเริ่ม หาสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ มาปรับปรุงงานอยู่เสมอ

๘. รอบรู้ทันเหตุการณ์โลกปัจจุบัน

๙. นำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในการพัฒนางาน

นายเจษฏาภรณ์ มากแก่น

พ.ต.ต.ชูชาติ แก้วเรือง

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในวโรกาสที่พระองค์ท่านได้รับรางวัลเป็นผู้นำโลก

ไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขปกครองประเทศมาช้านาน ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทุกคน พระองค์ทรงเป็นพระมหาบพิตรที่สถิตในดวงใจของปวงประชา พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ ให้เจริญรอยตามเบื้องยุคคลบาท ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น เราเป็นไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยพระบารมีของพ่อหลวง ๓ สถาบันหลักของชาติไทยเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษของเรา ธงชาติมี ๓ สี แต่ละสีมีความหมาย ช่วยไทยรักสามัคคี แม้แต่โจรยังรักในหลวง แล้วเราเป็นใครล่ะจะไม่รักหรือเราคงสิ้นแผ่นดินถิ่นอาศัย หากสิ้นชาติ สิ้นศาสน์ สิ้นกษัตริย์ ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตมาหลายคราด้วยพระบารมีของล้นเกล้า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม

เนื่องในโอกาสองค์การทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO) ทูลเกล้าฯถวายรางวัลในหลวง นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จะเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯถวายรางวัล อล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award)

โดยเหตุผลที่ WIPO ทูลเกล้าฯถวายรางวัลดังกล่าว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตนและใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริม และพัฒนาประเทศชาติ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลกมีมติ ให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย

“ในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้งานและมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์พระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี”

สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา)

เครื่องกลเติมอากาศและดูดน้ำ การใช้ปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้จดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิสหรัฐฯ

นอกจากนี้ สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ทูลเกล้าฯถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม จากความแห้งแล้งกลับกลายมาชุ่มชื้น จากผืนทรายกลับกลายเป็นดิน ด้วยพระบารมีในหลวงพระองค์ทรงงานหนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ ความเสียหายของชาติจะบานปลาย ถ้าคนไทยขาดความจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติ

พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ ชาวไทย ทรงเป็นทุกลมหายใจของปวงประชาราษฎร ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ความจงรักภักดีต่อสถาบันอันสูงสุด ถือว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของคนไทยทุกคน สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหนึ่งที่ช่วยให้เราได้มีแผ่นดินอยู่จนถึงลูกหลานและพระบารมีอันแผ่ไพศาล ย่อมบริบาลผู้ที่มีความจงรักภักดีตลอดไป ผู้ใดคิดร้ายทำลายชาติจะพินาศจนสิ้นดี ผู้ใดจงรักภักดีจะสวัสดีศรีมงคล บรรพบุรุษท่านสู้กอบกู้ชาติ ศาสน์ ราชัน แล้วเราเป็นใครกันไม่รักษาให้จงดี ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตมาหลายคราด้วยพระบารมีของล้นเกล้า พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ พระองค์ทรงเป็นมหาราชปกครองแผ่นดินโดยธรรม

ข้าจะขอตามรอยเบื้องพระยุคลบาท จะขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป

พ.ต.ต.ชูชาติ แก้วเรือง

รัฐประศาสนศาตร์มหาบัณฑิตย์

รหัสประจำตัว 511307148112

นายจำเนียร โฉมงาม

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ซึ่งถ้าจะนับภาพความประทับใจแล้วคงจะนับไม่ได้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่พระองค์ท่านมีต่อพสกนิกรไทยล้วนแต่มีคุณค่าเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้ทุกประการ และเนื่องจากข้าพเจ้าเป็นนักธุรกิจที่ประกอบกิจการด้านการศึกษาจึงได้ใช้หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินการและบริหารจัดการ

จากการศึกษาค้นคว้าพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเนื่องในโอกาสต่างๆ จึงสรุปแนวคิดได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพื่อแนะแนวทางการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน และสามารถนำไปประยุกต์กับภาคธุรกิจให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีเงื่อนไข 2 ประการ และคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการดังนี้

เงื่อนไข 2 ประการ คือ

1. เงื่อนไขความรู้ ( Knowledge ) ประกอบด้วย ความรอบรู้ รอบด้านเกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

2. เงื่อนไขคุณธรรม ( Morality ) หมายถึง คุณธรรมในการดำรงชีพเพื่อความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า ทั้งของตนเองและส่วนรวม 4 ประการ คือ เมตตาธรรม สามัคคีธรรม สุจริตธรรม และเที่ยงธรรม โดยเมื่อรวม 2 เงื่อนไข ทั้ง 2 ประการ แล้วอาจเรียกได้ว่า ก่อให้เกิดสติปัญญาในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาตนเองและนำองค์กรไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้

คุณลักษณะ 3 ประการ คือ

1. ความพอประมาณ ( Moderration ) หมายถึง ความพอดี ความพอเหมาะซึ่งมีความหมายชัดเจนมาก คำว่าพอ แปลว่า มี ไม่ได้ขาด แต่มีในลักษณะที่เหมาะสมไม่มากไปหรือน้อยไปเป็นความสมดุลในการกระทำทุกอย่างทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมั่นคง

2. ความมีเหตุผล ( Reasonableness ) คือ การพิจารณาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลกระทบที่จะเกิดโดยต้องมีเงื่อนไขของความรู้และคุณธรรมเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการตัดสินใจ

3. การมีภูมิคุ้มกัน ( Self – immunity System ) หมายถึง การเตรียมความพร้อมที่จะรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นโดยเป็นการคาดคะเนปัญหาที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ และไกล และต้องคำนึงถึงเหตุสุดวิสัยต่างๆ ด้วย

จากการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวข้าพเจ้าได้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในองค์กรของข้าพเจ้าหลายแนวทางแต่สิ่งที่จะเสนอให้เห็นต่อไปนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ข้าพเจ้าได้ยึดถือปฏิบัติตลอดมกล่าวคือ

1. หลักธุรกิจของเราคือ ดูตัวของเราเองว่าจะไม่ใช้จ่ายอะไรฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกันการขยายงานก็ต้องดูว่ามีจุดไหนที่เราจะทำได้ ก็ค่อยๆ ขยายไปเราควบคุมบุคลากรให้อยู่ในจรรยาบรรณ คัดเลือกคนมากขึ้นและให้ความรู้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรู้จักพอประมาณคือต้องนึกถึงคนรอบข้างด้วยหากมีเหลือพอจะต้องเผื่อแผ่ นอกจากใส่ใจสังคมภายนอกแล้วยังต้องสนใจคนของเราเพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจยั่งยืนและถ้าปฏิบัติตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง การดำรงชีวิตจะมีความสุข

2. ความพอเพียงระดับพื้นฐาน คือ กำลังใจพอเพียงสำหรับฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ ความเพียรพยายามพอเพียงที่จะไม่ย่อท้อก่อนไปถึงจุดหมายและผลตอบแทนพอเพียงที่จะยืนหยัดเอื้อประโยชน์สุขให้เกิดแก่ส่วนรวม

3. ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีทั้งวิกฤติและโอกาส สภาวะของการแข่งขันในภาคธุรกิจที่เข็มข้นรุนแรงมากขึ้นทุกขณะเราดำเนินนโยบายทางธุรกิจและการขยายตัวอย่างประมาณตน รอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไปมีฐานความรู้ เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก และมีคุณธรรมรวมทั้งจริยธรรมคอยกำกับ ในทางปฏิบัติ การบริหาร ความเสี่ยงที่ดี ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ มีเหตุผล พิจารณาทั้งผลลัพธ์ระยะสั้นและระยะยาวมีการเตรียมทรัพยากรด้านต่างๆ ให้เพียงพอ

4. การจะพัฒนาสิ่งใดนั้นให้ดูความสามารถของเราเองก่อนและใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินธุรกิจจะพิจารณาก่อนว่าเราอยู่จุดไหน รักษาจุดดีไว้ให้ได้แล้วค่อยพิจารณาว่าจะก้าวไปทางใด เรายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการทำกำไรพอประมาณ แต่ต้องไม่ขาดทุน เพื่อจะเลี้ยงดูพนักงานได้ทั่วถึง บริษัทสามารถอยู่ได้ยาวนาน

5. เราทำธุรกิจด้วยความรอบคอบศึกษาเรียนรู้จนชำนาญ ทำในสิ่งที่ถนัดถือว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวไม่ทำให้มีภาระมากจนเกินไปทำตามกำลังที่ตัวเองมีไม่ทุ่มจนสุดตัวหรือเกินตัวโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ทุกอย่างมีความยุติธรรมไม่เอาเปรียบลูกค้า ฉะนั้น การเริ่มต้นธุรกิจนั้นถือว่ายากแต่การทำให้ยั่งยืนนั้นยากกว่ามากนัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ดีเตือนให้เรารอบคอบ ระมัดระวัง แต่ไม่ได้ห้ามการพัฒนา และให้แสวงหาความยั่งยืนในธุรกิจของตน

จากบทความดังกล่าวเราประยุกต์ใช้ระบบเศรษฐกิจพอเพียงในแบบฉบับของตนเอง มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ จึงทำให้ธุรกิจของข้าพเจ้าเจริญเติบโตอย่างมั่นคงตลอดมา

นายจำเนียร โฉมงาม

รป.ม.รุ่นที่ ๑

๕๑๑๓๐๗๑๔๘๑๐๗

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักธราช ๒๕๕๒

ความประทับใจต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

"ในหลวง"โปรดเกล้าฯ รับมอบรางวัล "ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา" จาก WIPO สดุดียกย่องว่าเป็นพระองค์แรกของโลกที่นอกจากจะเป็นผู้นำแล้ว ยังเป็นผู้สร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ และจุดประกายความคิดทั้งทางเทคโนโลยีนวัตกรรมซึ่งนวัตกรรมเหล่านั้นส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์ให้ดีขึ้น ด้าน รมช.พาณิชย์สรรเสริญพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี แต่จะทำถึงที่สุดขณะที่นายกสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงไทยปลื้มพระอัจฉริยภาพ ทรงเป็นผู้นำและนักพัฒนาที่เป็นแบบอย่างในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแท้จริง

เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(WIPO) ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นความริเริ่มใหม่ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และยังไม่มีผู้ใดเคยได้รับรางวัลนี้มาก่อน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเชิดชูพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่ทรงอุทิศพระองค์ และทรงมีพระราชกรณียกิจโดดเด่นในการส่งเสริมและเผยแพร่บทบาทของทรัพย์สินทางปัญญา คิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก กระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติในโอกาสดังกล่าวขึ้น จำนวน 3 ชนิด เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดทองคำ เงิน และบรอนซ์ โดยจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต และนำเสนอครม.พิจารณา เพื่อออกกฎกระทรวงการใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าว ทั้งนี้มอบหมายกรมธนารักษ์ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ แล้ว สำหรับการจำหน่ายจ่ายแลกนั้น คาดว่าจะเปิดจำหน่ายจ่ายแลกแก่ประชาชนได้ก่อนวันเฉลิมพระชนพรรษา 5 ธันวาคม 2552

กระทรวงการต่างประเทศออกเอกสารทางรายงานระบุว่า ในวันพุธที่ 14 มกราคม 2552 นาย ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลผู้นำโลก ด้านทรัพย์สินทางปัญญาแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการพิจารณามอบให้แก่ผู้มีบทบาทโดดเด่น ในการส่งเสริมและอุปถัมภ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลดังกล่าว.

ผองพสกนิกรไทยสุดปลื้มปีติยินดี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับรางวัลจากสหประชาชาติทางด้านการพัฒนาถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ทั้งนี้ สำนักข่าวเอพีได้รายงานข่าวไปทั่วโลก เมื่อวันอังคารที่ 24 ก.พ. ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ทรงได้รับรางวัล "Habitat Scroll of Honor" จากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) พร้อมสดุดีพระเกียรติคุณ จากพระราชกรณียกิจในโครงการพัฒนาและจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาน้ำเสียตามลำคลองในกรุงเทพฯ ตลอดจนโครงการในพระราชดำริด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยนางแอนนา ทิไบจูกา ผู้ช่วยเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น เตรียมทูลเกล้าฯถวายรางวัล "Habitat Scroll of Honor" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในวันพุธที่ 25 ก.พ. นี้

รางวัล "Habitat Scroll of Honor" นับเป็นรางวัลสูงสุดของยูเอ็นที่มอบให้แก่บุคคล หรือสถาบันที่ทุ่มเททำงาน ด้านโครงการพัฒนาคุณภาพถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ โดยผู้ช่วยเลขาธิการใหญ่ยูเอ็นยังกล่าวเทิดทูนพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยยกตัวอย่างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักว่า เป็นหนึ่งในโครงการในพระราชดำริ ด้านพัฒนาและจัดการแหล่งน้ำ ที่ทรงมุ่งหวังลดปัญหาน้ำเสียในกรุงเทพฯ ซึ่งทรงริเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2543 เนื่องจากทรงมุ่งหวังที่จะสร้างระบบชลประทานใน จ.สระบุรี เพื่อที่ว่าเวลาน้ำมาก จะ ได้สามารถปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสัก ลงมายังกรุงเทพฯ และ น้ำเหนือเหล่านี้จะได้ชำระสิ่งปฏิกูลของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และจากบ้านเรือนประชาชนที่ปล่อยทิ้งลงในลำคลอง

พระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ดีกับสายตาของชาวไทยและคนทั่วโลก

พระองค์ทรงเปรี่ยมล้นด้วยพระเมตตา ชาวประแซ่ซ้องสรรเสริญ

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริที่ทำให้ประชนได้รับประโยชน์มีความผาสุก มั่นคงและยั่งยืนสืบไป

ร้อยรัดร้อยล้านดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น

ทุกโครงการตามแนวทางพระราชดำริที่พระองค์ทรงพระราชทานล้วนแต่เป็นประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทยมาก เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และฝนหลวง เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี

สำหรับผลงานที่ทรงคิดค้นขึ้น และมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วมีมากกว่า 20 รายการ เครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า 1,000 รายการ ทั้งงานศิลปกรรม จิตรกรรม บทเพลง และวรรณกรรม นายเกอร์รี่กล่าวว่าตนหารือกับนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เกี่ยวกับการหาทางลดช่องว่าง ในผลงานที่ได้นำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน โดยไม่กระทบกับผู้คิดค้นผลงานที่จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

ด้านนางพวงรัตน์กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยมีพระราชดำรัสว่า "ทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นมานานแล้ว สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์มีความสำคัญมาก ปี 2500 พูดกันว่า เราไปลอกต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิดเอง ที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตร เราสามารถใช้อะไรจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าใช้สิทธิ การพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการดูถูกคนไทย"

นางพวงรัตน์กล่าวอีกว่าขณะนี้ ผลงานของพระ องค์ที่จดสิทธิบัตรถวายในต่างประเทศแล้ว คือ ฝนหลวงซึ่งจดไว้ที่สหภาพยุโรปและกำลังจดสิทธิบัตรที่สหรัฐอเมริกา พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการจดสิทธิบัตร เช่น เครื่องหมายการค้า "สุวรรณชาด" "โกล เด้น เพลส"

นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และนางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา จะนำนายเกอร์รี่และคณะ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯถวายเหรียญรางวัล ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบ คีรีขันธ์

สำหรับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO เป็นหนึ่งในองค์กรภายใต้สหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาโลก และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบัน มีสมาชิก 184 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

สาเหตุโรคพระหทัยของในหลวง

สาเหตุโรคพระหทัยของในหลวง...จนเกือบพระประชวรหนัก!!ทุกคนคงทราบกันดีว่าในหลวงทรงมีพระอาการประชวรเรื้อรังในส่วนของพระหทัยหากจำกันได้ในหลวงเคยต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2538 ครั้งนั้นพสกนิกรทั้งแผ่นดินแทบไม่เป็นอันทำอะไรใครๆก็รู้ว่าโรคหัวใจไม่ใช่โรคล้อกันเล่นๆได้ทั้งสมัยนั้นการผ่าตัดหัวใจก็เสี่ยงพอดูแต่ทุกอย่างก็เป็นไปโดยเรียบร้อยแต่ทราบกันหรือไม่ว่าสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกตินี้ มาจากอะไร?ราวปี 2530 ในหลวงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่อำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่ทรงพบว่าชาวบ้านจำนวนมากเป็นโรคคอพอกซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทูลว่า การเอาเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประจำแต่ชาวบ้านไม่ยอมใช้ เพราะไม่รู้จักก็กลัวจะเป็นอันตราย ในหลวงจึงรับสั่งให้นำเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประชาชนด้วยพระหัตถ์ ชาวบ้านได้รับเกลือพระราชทานจึงยอมเชื่อว่าเกลือชนิดนี้กินได้จนแพร่หลายต่อๆมา ปัจจุบันไม่มีคนป่วยโรคคอพอกที่สะเมิงแล้วนอกจากนี้ยังทรงเสด็จขึ้น-ลงสะเมิงอีกหลายครั้งเพื่อติดตามแก้ปัญหาเรื่องน้ำและถนน

จนชาวบ้านทำกินกันได้เป็นปกติสุขมีรายได้เลี้ยงชีพได้พอเพียงหากกลับเป็นพระองค์เองที่ทรงพระประชวร!ในหลวงทรงได้รับเชื้อไมโครพลาสม่าจากการเสด็จไปที่สะเมิงนี้เองอันเป็นสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกติเรื้อรังมาถึงปัจจุบันแม้คณะแพทย์จะพยายามเท่าใด ก็ไม่อาจถวายการรักษาให้หายขาดได้ทำได้เพียงถวายพระโอสถประคองพระอาการมาตลอดจนกระทั่งต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่เมื่อปี 2538 ดังเล่ามาแล้วในหลวงเคยมีพระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า..... "ฉันขึ้น-ลงสะเมิงอยู่หลายปีจนได้รับเชื้อ ไมโครพลาสม่าซึ่งในที่สุดทำให้ฉันเป็นโรคหัวใจเต้นไม่ปกติ จนเกือบต้องเสียชีวิต"เป็นถ้อยรับสั่งที่แสนจะเรียบง่ายราวกับว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยธรรมดาเสียเหลือเกิน

ข้าพเจ้าในฐานะพสกนิกรชาวไทย มีความรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ได้รับใช้คนไทยและถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะข้าราชบริพารของพระองค์ ข้าพเจ้าจะยึดถือแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำรงชีวิต, ความซื่อสัตย์และความเสียสละเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม

นางพิสมัย จันทร์ดี การบริหารงานท้องถิ่น

นางพิสมัย จันทร์ดี การบริหารงานท้องถิ่น

ความประทับใจของข้าพเจ้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลก

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นพสกนิกรไทยคนหนึ่ง ข้าพเจ้ามีความปลาบปลื้มและประทับใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลเป็นผู้นำทรัพย์สินทางปัญญาระดับโลก จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือwipo (world Intellectual Property Organization) ที่ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (wipo Global Leaders Aword) ซึ่งรางวัลนี้นับเป็นรางวัลแรกของ wipo ที่จัดทำขึ้นและถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้าพเจ้าประทับใจในหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงงานโดยยึดการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัว และสามารถปฏิบัติได้จริง โดยไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ทรงมีความละเอียด รอบคอบและทรงคิดค้นหาแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งประโยชน์ต่อประชาชนและมีคุณค่าสูงสุด โดยยึดหลักก่อนที่พระองค์จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่งพระองค์จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตรงตามความต้องการของประชาชน และที่ประทับใจโดยไม่มีสิ่งใดเปรียบได้ก็คือ “น้ำพระทัย และพระเมตตา” แห่งพระองค์ ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดินให้พสกนิกรอยู่ดีกินดีมีความสุขสถาพร จนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกันแล้ว่า พระองค์ ทรงมีสายพระเนตรและพระอัจฉริยภาพ ในด้านการพัฒนาต่าง ๆ ปรากฏแก่สายตาประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ภาพพระกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติ นับตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปี ๒๔๘๙ มีอยู่เหลือคณานับ ล้วนแสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด หรืออยู่ห่างไกลสักเพียงใด ก็มิทรงย่อท้อ และไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทรง เข้าไปช่วยเหลือราษฎรทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การเกษตร การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ ป่าไม้ และพลังงาน หรือแม้กระทั่งการจราจร พระองค์ทรงคิดค้นและหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบยล

ความประทับใจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ ทั้งกำลังพระราชหฤทัย และกำลังพระวรกาย สร้างส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย ให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น พระองค์ทรงเป็นผู้นำทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแท้จริง พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่ทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ “ซุปเปอร์มด” แล้วทรงนำไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ถัดจากนั้นทรงประดิษฐ์คิดค้น “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ซึ่งเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ใช้ในการเติมออกซิเจนลงในน้ำที่ระดับผิวน้ำ เพื่อบำบัดน้ำเสีย และได้รับรางวัลจากเอเอฟไอเอ และยังทรงพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศที่ใช้ในการเติมออกซิเจนลงในน้ำระดับน้ำลึกลงไปใต้ผิวน้ำจนถึงด้านล่างของแหล่งน้ำ ทรงคิดค้นดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝนหลวง จากนั้นทรงคิดค้นการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวให้เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ทรงมีผลงานทางด้านวรรณกรรมคือ โครงการทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงได้รับเหรียญรางวัล รางวัล Genius medal พระราชนิพนธ์เ รื่องพระมหาชนก งานด้านศิลปกรรม เช่นเหรียญพระมหาชนก รูปวาดในพระมหาชนก และผลงานที่อดชื่นชมไม่ได้คือเพลงพระราชนิพนธ์ นอกจากนี้ยังมีองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทูลเกล้าถวายรางวัลมากมาย ส่วนมากแล้วเป็นองค์กรระดับโลกทั้งนั้น และล่าสุดนายโคฟี่ อันนัน ในนามยูเนสโก ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่พระองค์ทรงเป็นผู้นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการจดสิทธิบัตรต่าง ๆ

ความประทับใจของข้าพเจ้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลกมีอยู่คณานับ ยากที่บรรยายได้หมด ข้าพเจ้าในฐานะพสกนิกรไทยจะขอน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต และในการทำงาน ข้อนี้ข้าพเจ้าถือว่าสำคัญที่สุด เพราะหากคนเรามีชีวิตที่พอเพียงแล้ว เราก็จะมีความสุข ในทุก ๆ ที่ที่เราอยู่ และทุก ๆ ที่ที่เราไป ทำงานก็มีความสุข ไม่ทะเยอทะยานจนเกินไป และ ไม่ทำอะไรจนเกินตัว โดยยึดหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุและผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการตามความคิดของข้าพเจ้ามีดังนี้

๑. เป็นคนดี มีความเสมอภาค โปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความยุติธรรม คำนึงถึงคุณค่าและความต้องการของประชาชน

๒. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการทำงาน และสามารถนำทักษะไปเผยแพร่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และเป็นผู้มีจิตวิทยาในการบริหารคนที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสร้างสรรค์

๓. มีความวิริยะอุตสาหะและเสียสละต่อส่วนรวม ทันต่อกระแสโลกและการเปลี่ยนแปลงมีความรับผิดชอบสูง

๔. มองการไกล มีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัยเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ใส่ตนเองอยู่เสมอต้องคิดเชิงรุก

๕. เป็นหัวเรือใหญ่ที่ยืนหยัดอยู่แนวหน้า พร้อมที่จะทุ่มเทพลังทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของทุกคน และพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อส่วนรวมและมีความเป็นประชาธิปไตย สมานฉันท์

นางสาวสมพิศ สายบุญชื่น

นโยบายสาธารณะ

นางสาวสมพิศ สายบุญชื่น

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงได้รับรางวัลเป็นผู้นำโลก

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 นับเป็นนิมิตรหมายอันดีของปวงชนชาวไทย ที่มีพระประมุขที่มากด้วยพระปรีชาสามารถในการประกอบพระราชกรณียกิจจนเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เป็นทบวงการชำนาญพิเศษ ของสหประชาชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญานี้ เป็นความริเริ่มใหม่ขององค์การ ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในครั้งนี้ เนื่องมาจาก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้ประจักษ์ถึงพระราชกรณียกิจ ที่ทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม อีกทั้งมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ไว้มากกว่า 20 รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน มากกว่า 1,000 รายการ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ และจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ เป็นต้นโดย องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เคยทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลนักประดิษฐ์ยอดเยี่ยม แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำหรับสิ่งประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา มาวาระหนึ่ง

ข้าพเจ้ามีความปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลกในครั้งนี้ และข้าพเจ้าก็หวังว่าปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าก็ปลื้มปีติมิใช่น้อยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถและที่สำคัญพระองค์ท่านยังครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดหลักทศพิธราชธรรมในการปกครองประเทศซึ่งประกอบด้วย 1. ทานัง คือ การให้ 2. ศีล คือ การประพฤติดีงาม 3. บริจาคะ คือ การบริจาค เสียสละความสุขส่วนตัว 4. อาชชวะ คือการปกิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 5. มัททวะ คือ ความอ่อนโยนมีอัธยาศัยดี 6. ตปะ คือ การบำเพ็ญความเพียร 7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธไม่ผูกพยาบาท 8. อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียน 9. ขันติ ได้แก่การอดทนอดกลั้นต่อความโลภ แรงกดดันต่างๆ 10. อวิโรธนะ คือ ความโปร่งใสตรงไปตรงมา น้ำพระทัยของพระองค์ท่านมีมากกว่ามหาสมุทรทั้งโลก ดังคำกล่าวที่ว่า “ทุกข์สุขของราษฏร คือทุกข์สุขของพระองค์เอง” พระองค์ท่านทรงเป็นนักพัฒนา ดังจะเห็นได้จาก โครงการหลวงหลายๆโครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทย เช่น โครงการพัฒนาชนบท พระองค์ท่านทรงมีความเห็นว่า “การพัฒนาชนบทเป็นงานที่สำคัญ เป็นงานยาก เป็นงานที่จะต้องทำให้ได้ด้วยความสามารถ ด้วยความเฉลียวฉลาด คือทั้งเฉลียวทั้งฉลาด ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ” โครงการฝนเทียม พระองค์ท่านทรงมีความเห็นว่า “เกษตรกรไทยเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประเทศมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบันแม้พลเมืองของชาติจะทวีขึ้นมากเพียงใดเกษตรกรก็ผลิตอาหารได้เพียงพอเสมอ ซ้ำยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลโลกได้อีกเป็นจำนวนมาก” และกล่าวว่า “หลักสำคัญว่าค้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกเพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ” เมื่อถิ่นที่ใดในแผ่นดินของพระองค์แห้งแล้ง ขาดน้ำกินน้ำใช้ขาดน้ำทำการเกษตรเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนพระองค์ท่านก็จัดให้มีโครงการฝนเทียม แม้ในถิ่นทุรกันดารที่ยากจะเข้าถึงก็ยังได้รับน้ำพระทัยจากพระองค์ท่าน และพระองค์ท่านยังจัดให้มีโครงการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดินให้อุดมสมบูรณ์ และยังมีโครงการสำคัญที่ขาดไม่ได้คือโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ดังคำกล่าวที่ว่า “การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนา ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า โครงการเศรษฐกิจพอเพียงถือเป็นทฤษฏีๆหนึ่งที่เราควรถือปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวันไม่เพียงแต่ก็ให้เกิดความสุขในครอบครัวแล้วเศรษฐกิจพอเพียงยังก่อให้เกิดความสุขต่อสังคมอีกด้วย

ไม่มีชนชาติใดในโลกที่จะมีพระมหากษัตริย์ผุ้นำประเทศที่เปี่ยมไปด้วยน้ำพระทัยและพระปรีชาสามารถอย่างกษัตริย์ไทยซึ่งหาได้ยาก พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา และพระวิริยะอุตสาหะ อีกทั้งยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทุกๆด้าน ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุข และทรงเกื้อหนุนพสกนิกรชาวไทยให้มีความสุขกายสุขใจอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

นางสาวสมพิศ สายบุญชื่น

จ่าสิบตำรวจเทอดพนธ์ ดีพา

มหากษัตริย์นักคิด

พระราชปณิธานขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์ ประโยคแรกๆที่พสกนิกรชาวไทยได้ยินแล้วมีความปลื้มปิติคือ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม นับเป็นเครื่องบ่งบอกถึงพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ที่จะอุทิศพระองค์ เพื่อพสกนิกรชาวไทยพระองค์เปรียบเสมือนบิดาที่อุทิศตนเพื่อบุตร และตลอดเวลา 60 ปี ที่ทรงครองราชย์นั้น พระองค์ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชปณิธานไว้ ทรงเป็นพระบิดาของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริงคำว่า โดยธรรมอาจหมายความได้ 2 ลักษณะคือ ทำทุกอย่างเป็นอย่างดีและถูกต้องเสมอเปี่ยมด้วยความรักและเมตตากรุณา เอื้ออารี เสมอหลวงของพวกเราชาวไทยทรงเป็นเช่นนั้นจริง

ในส่วนของกระผมที่เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง มีความประทับใจในการที่พระองค์ทรงได้รับรางวัล โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด(WIPO gobal leaders Award)ซึ่งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกได้น้อมเกล้าถวาย ในการที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในทางสร้างสรรค์ผลงานและประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆมากมายล้วนเป็นผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้นเป็นต้นว่า บทเพลงต่างๆ ทรงสร้างเรือใบมด กังหันน้ำชัยพัฒนาซึ่งเป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุนลอยที่สามรถแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย นับแต่นั้นมาพระองค์ทรงประดิษฐ์คิดค้นอีกหลายอย่างอาทิเครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฝนหลวงที่แก้ปัญหาฝนแล้งให้กับเกษตรกร ถือว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกซึ่งผลของการทำฝนหลวงนั้นต้องถือว่าพระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชา อุทิศพระองค์ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกายสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆเพื่อพัฒนาความป็นอยู่ ของพสกนิกรชาวไทยโดยทรงใช้ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมและพัฒนาประเทศรวมถึงพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก พระองค์ทรงเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรอันยิ่งใหญ่ที่แผ่ความร่มเย็นให้ชาวไทยทุกผู้ทุกนาม

สุดท้ายนี้กระผมที่เป็นข้าแผ่นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะขอน้อมนำหลักธรรมที่พระองค์ทรงปฏิบัติ มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่และในครอบครัวเพื่อจะตามรอยพระยุคคลบาทให้สมกับเกิดมาเป็นคนไทยที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระประมูข จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ยุติธรรมและขอให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีความรักและมีความสามัคคีไม่แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย สีแดงสีเหลืองขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำความดีเพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแก่ในหลวงของเราให้มีพระชนย์มายุยิ่งยืนนานตลอดไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหมอ่มขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

จ่าสิบตำรวจเทอดพนธ์ ดีพา

รหัส 511307148113 รป.ม. รุ่น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

นางประนอม อำภา

รปม.บริหารงานท้องถิ่น 511307149111

จากการที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO (World Intellectual Property Organization) ซึ่งเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติมีภารกิจในการส่งเสริมคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ได้แถลงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด” (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นข่าวที่น่าปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวไทยทุกคน ซี่งการที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกได้มองเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงมีส่วนสนับสนุนอย่างสำคัญในการเผยแพร่บทบาทที่มีพลังของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทรงสร้างผลงานที่มีความสร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมด้วยพระองค์เอง ซึ่งได้รับการคุ้มครองในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งยังทรงสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้อื่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและผลงานอีกด้วย

ในการแบ่งปันผลของความคิดสร้างสรรค์ของพระองค์ในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ และงานด้านการดนตรีและศิลปะ พระองค์มิได้เพียงทรงแสดงให้เห็นถึงพลังของทรัพย์สินทางปัญญาในการส่งเสริมและเพิ่มคุณภาพชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังทรงส่งเสริมประชาชนทุกหนแห่งให้สร้างสรรค์ เคารพและคุ้มครองผลงานนั้น ๆ อีกด้วย ประเทศไทยจึงเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกโดยพระองค์ทรงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเด่นชัด

โครงการตามพระราชดำริจำนวนมากที่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ ของพระองค์ซึ่งได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสังคมชนบทของประเทศไทย สิ่งประดิษฐ์ของพระองค์ อาทิ กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม ได้แก้ปัญหาความเดือดร้อนซึ่งส่งผลโดยตรงในการทำให้ชีวิตพสกนิกรนับล้านดียิ่งขึ้น

จากการที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานและสิ่งประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ มากมายนี้เองทำให้ข้าพเจ้ามีความประทับใจในพระองค์ที่ได้รับรางวัล “ผู้นำโลก” ซึ่งได้แก่

-โครงการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับการทำฝนเทียม นับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงเรียนรู้จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรในถิ่นทุรกันดารว่าในบางพื้นที่ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่ทำการเกษตร เป็นพื้นที่แห้งแล้งอย่างรุนแรง ปัญหาเกิดจากภูมิอากาศแบบมรสุมในเอเชียซึ่งมีทั้งฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในการทำฝนเทียมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก เมื่อ พ.ศ. 2498 พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเพื่อดำเนินการโครงการฝนหลวง ซึ่งทรงศึกษาวิจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาและการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยทรงอุทิศทั้งเวลาและกำลังพระวรกาย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง การทดลองทำฝนเทียมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 ในเขตภูเขาของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้ทรงคิดค้นกระบวนการทางเคมีในการทำฝนเทียมด้วยพระองค์เองโดยใช้เครื่องบินโปรยน้ำแข็งแห้งหรือคาร์บอนไดออกไซด์แข็งเพื่อกระตุ้นการรวมตัวของละอองเมฆให้กลายเป็นเม็ดฝน เทคโนโลยีดังกล่าว เป็นต้นแบบให้ประเทศต่าง ๆ และนักวิทยาศาสตร์นำไปพัฒนาในการทำฝนเทียมต่อไป ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรนับล้านคนทั่วทั้งประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อันเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น

-โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์เพื่อทรงรับทราบถึงทุกข์ สุขความเป็นอยู่ตลอดจนสภาพการทำมาหากินของพสกนิกรในทุกหมู่เหล่า และพระราชทานความช่วยเหลือเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรที่มีอยู่มากมาย

-โครงการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้แก่ราษฎรทั้งหลายเป็นแนวปรัชญาที่สอนให้รู้จักประมาณตน พร้อมกับที่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก รู้จักอดทน อดออม ขยันหมั่นเพียร รอบคอบและซื่อสัตย์สุจริต อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เพื่อมิให้เกิดการผิดพลาดในภายหลัง แนวทางนี้คือคติธรรมที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือและได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรอย่างต่อเนื่องตลอดมา

นับเป็นความโชคดีของคนไทยที่ได้เกิดมาใต้ร่มโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระปรีชาสามารถและพระหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เสด็จในทุกหัวระแหงของประเทศ เพื่อทรงทราบถึงความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์อย่างแท้จริง ทรงทุมเทพระสติปัญญาค้นคิดแนวทางการพัฒนาประเทศ และความอยู่ดีกินดีของพสกนิกร เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกายสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ พัฒนาความเป็นสุขของพสกนิกรชาวไทย ทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงเป็นที่น่าปลาบปลื้มยิ่งของเราชาวไทยทุกคน ที่พระองค์ทรงได้รับรางวัล “ผู้นำโลก”

ความประทับใจของข้าพเจ้า

ต่อ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในวโรกาสที่พระองค์ท่าน ได้รับรางวัล “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด ”

( WIPO Global Leaders Award )

………………………………………………

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และ สมเด็จพระราชชนนี ศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระเชษฐา เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา เสด็จเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2476 เสด็จไปประทับ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษา ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และ ภาษาอังกฤษ ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ แล้วทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย โลซาน โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์

ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต โดยกระทันหัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกัน โดยพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” สิงหาคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินกลับยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์

ทรงหมั้นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พระราชพิธี ภิเษกสมรส ในวันที่ 28 เมษายน 2493 ที่พระตำหนัก สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาลัยอัยยิการเจ้า

จากวันที่ทรงหมั้น มาจนถึงวันราชาภิเษกสมรส จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวไทย และ ชาวโลก ต่างประทับใจในชีวิตคู่ของ พระมหากษัตริย์ และ พระราชินี ของประเทศไทย ที่ทรงร่วมปณิธาน และการบำเพ็ญพระองค์เพื่อประโยชน์สุข ของอาณาประชาราษฏรตลอดมา ทำให้ประเทศไทย มีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจหลายประการ ดังโลกได้ประจักษ์มา จนถึงทุกวันนี้ว่า พระมหากษัตริย์ไทย ครองสิริราช ยาวนานที่สุดในโลก

นักประดิษฐ์โลก

พสกนิกรชาวไทย ปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO ( World Intellectual Property Organization ) ได้แถลงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด ” ( WIPO Global Leaders Award ) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

โดยเหตุที่ WIPO ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลดังกล่าวเป็นเพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริม และพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก นอกจากนี้ จากการหารือกันของ สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ ( International Federal Of Inventor Association : IFIA ) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศ ทั่วโลกได้มีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตร กังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวัน นักประดิษฐ์โลกด้วย ( International Inventor Day )

สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจเป็นที่สุด ในขณะเวลาพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินเพื่อปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ต่าง ๆ ที่ปรากฏตามสื่อ พระองค์ท่านทรงใช้กล้องสำหรับบันทึกภาพ และแผนที่อยู่คู่พระวรกายตลอด สิ่งนี้ที่ทำให้ข้าพเจ้าทราบซึ้งว่า นี่แหละคือ นักคิด นักประดิษฐ์ นักวิจัย ที่ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลด้วยพระองค์เองจากประสบการณ์จริง จึงบังเกิดผลงานและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่พสกนิกรชาวไทยควรยึดถือเป็นต้นแบบที่ยากจะหาบุคคลอื่นเทียบเท่าได้

หกสิบปีที่พระองค์ทรงบากบั่น เพื่อสักวันประชาชนพ้นทุกข์เข็ญ

พระเสโทหยาดหยดเช้ารจดเย็น ธ ทรงเป็นเช่นบิดาผู้ปราณี

เหนื่อยเพียงใดหทัยพ่อไม่ท้อถอย ป่าเขาดอยพ่อก็ไปในทุกที่

เป็นสุขเพราะพระเมตตาทั่วธรณี พระบารมีแผ่คลุมทั่วทุกหัวใจ

ตื่นขึ้นเถิดผองไทยใช้สติ เป็นอริกันเองเก่งตรงไหน

ลูกทะเลาะพ่อระทมตรมฤทัย ลูกรักใคร่สามัคคีพ่อปรีดา

ขอปวงชนทั้งชาติหยุดบาดหมาง ร่วมกันสร้างสันติสุขทุกทิศา

ถวายองค์ราชันห้าธันวา เฉลิมพระชนมพรรษาสถาพร

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

พ.ต.ต.วัตร โฉมคำ

( ประพันธ์ โดย ยุทธพล พละศึก )

ความประทับใจ ในหลวง ทรงเป็นผู้นำโลก ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ( WIPO ) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลในหลวง เนื่องจากพระบาทสมเด็จพรพะเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นอย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรกที่ได้รับทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้ จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศ ทั่วโลกมีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกอีกด้วย

ข้าพเจ้า นายฐากูล เตจะวัน นักศึกษาปริญญาโท รปม. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ มีความประทับใจ ปราบปลื้มยินดี ในพระองค์ท่านที่ทรงมีพระราชดำริโครงการที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งาน และมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เห็นได้ชัดว่าพระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเข้าพระทัยระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาได้เป็นอย่างดี อันได้แก่ กังหันน้ำชัยพัฒนา ฝนหลวง เป็นต้น

พระองค์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศไทย ซึ่งมิใช่ประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่ใหญ่ที่ใหญ่โตอะไรมากมาย แต่บารมีของพระองค์ท่านได้แผ่ไปทั่วโลก ทำให้นานาอารยประเทศรู้จักพระองค์ท่านและประเทศไทย เป็นประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรของพระองค์ พระบารมีของพระองค์ได้ประจักษ์แก่ชาวโลก

พระองค์ทรงคิดค้นหลักทฤษฎี หลักความเป็นอยู่ให้กับพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่ดีกินดี นั่นคือ ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งไม่ว่าคนจนหรือคนรวยหากอยู่แบบพอเพียงก็จะไม่มีการชิงดีชิงเด่นกันทุกอย่างก็จะสงบลง ดังพระองค์ท่านได้ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมืองให้มีความเป็นไป โดยธรรมและยังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ดังนี้

1. ทาน หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สินสิ่งของแล้วยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย

2. ศีล หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจาและใจให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครองอันได้แก่กฎหมาย นิติราชประเพณีและในทางศาสนา

3. บริจาค หมายถึง การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม

4. ความซื่อตรง หมายถึง ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครองดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

5. ความอ่อนโยน หมายถึง การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพให้เหตุผลที่ควรมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

6. ความเพียร หมายถึง การมีความอุตสาหะในการปฎิบัติงานโดยปราศจากความเกียจคร้านในหน้าที่

7. ความไม่โกรธ หมายถึง การไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

8. ความไม่เบียดเบียน หมายถึง การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้นให้ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

9. ความอดทน หมายถึง การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย

10. ความยุติธรรม หมายถึง ความหนักแน่น ความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลักไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

- ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

- สามัคคีกันเถิดพี่น้องชาวไทยทั่วหล้า เพื่อถวายแด่พ่อหลวง

- พระองค์ทรงเป็นทุกลมหายใจของปวงประชาราษฎร

- ขอให้พระองค์ทรงอยู่เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย

- จะทำดีมุ่งดีตามคำสอนของพ่อ

- ขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป

- ประเทศไทย พสกนิกรชาวไทยจะเป็นอย่างไรหากไม่มีพระองค์ท่าน

ขอเทิดไทองค์ราชัน ทำความดี เพื่อพ่อหลวง ชาวไทย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

นายฐากูล เตจะวัน

รหัส 511307148142 รป.ม. รุ่น 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “ผู้นำโลก” ที่ทรงได้รับรางวัลโกบอล ลีดเดอร์อ วอร์ดพระองค์แรก เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก และคณะได้ทูลเกล้าถวายเหรียญรางวัลโกบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Glolal Leader Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักเปี่ยมสุขวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เชิดชู “ในหลวง” ว่าทรงเป็นผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาทรงเป็นผู้นำพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศนี้เป็นรางวัลอันมีเกียรติสูงสุดที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกมอบให้ซึ่งไม่มีผู้ใดเคยได้รับรางวัลนี้มาก่อน

ความประทับใจที่ “ในหลวง” ได้รับรางวัลเป็นผู้นำระดับโลกตรงที่ทรงอุทิศพระองค์ใช้งานทางทรัพย์สินทางปัญญาในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นและนำประโยชน์

สู่ปวงชนโดยคิดริเริ่มโครงการจำนวนมากมายหลายโครงการทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆและเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี เพื่อใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเช่น โครงการฝนหลวง ทรงประดิษฐ์ ตำราฝนหลวง ด้วยคอมพิวเตอร์แสดงขั้นตอนและกรรมวิธีการดัดแปลงสภาพอากาศ ให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็น และพระราชทานวิชาการฝนหลวงถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542 พระองค์ไม่ทรงแต่เป็นกษัตริย์ผู้ครองแผ่นดินเท่านั้นแต่ยังเป็นผู้มีพระอัจฉริยภาพและปรีชาสามารถในด้านเทคโนโลยี ทรงนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อปัดเป่าความเดือดร้อนของประชาชนให้พ้นจากทุกข์ยากนั้น ทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวคิดของ ปีเตอร์ แซงกี้ (Peter Senge) ที่กล่าวถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization) ว่าเป็นสถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนได้อย่างต่อเนื่องสามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็นที่เกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมายที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นที่ทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน และได้เสนอวินัยอันเป็นพื้นฐานของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ 5 ประการ คือ

1. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal mastery)

2. รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental models)

3. การสร้างสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared vision)

4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team learning)

5. การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

(1.) การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal mastery)

จากการที่พระองค์ทรงใกล้ชิดประชาชนในทั่วทุกภาคทำให้ทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนของ

ประชาชนโดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม ทรงห่วงใยและมีพระราชดำริเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดผลกระทบกับประชาชน พระองค์ทรงมองการณ์ไกลได้มีพระราชดำริโครงการ ฝนหลวง เพื่อสามารถใช้แก้ไขปัญหาภัยแล้งได้ทันเหตุการณ์

(2.) รูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง(Mental models)

จากที่ประองค์ทรงมีพระราชปฏิสันฐานกับพสกนิกรเป็นการเปิดกว้างให้พสกนิกรทูลถามถึง

ปัญหาทำให้ทรงทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยเฉพาะที่มีอาชีเกษตรกรรม ซึ่งประสบปัญหาภัยแล้ง

(3.) การสร้างสานวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared vision)

พระองค์ทรงมองภาพอนาคตพสกนิกรชาวไทยส่วนใหญ่มีอาชีเกษตรกรรมแต่ต้องประสบปัญหา

ภัยแล้งจึงมีพระราชดำริโครงการฝนหลวง เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร

(4.) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team learning)

พระองค์ทรงประดิษฐ์ภาพตำราฝนหลวงด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอนและกรรมวิธีการ

ดัดแปลงสภาพอากาศให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็น และพระราชทานแก่นักวิชาการฝนหลวงถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน ดังนั้นนักวิชาการจะต้องนำตำราฝนหลวงซึ่งเป็นองค์ความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดตามวิสัยทัศน์ของพระองค์

(5.) ความคิดเชิงระบบ (System Thinking)

พระองค์ทรงนำหลักอริยสัจ 4 เป็นกระบวนการแก้ไขปัญหากับพสกนิกรที่ได้รับความเดือน

ร้อนหรือที่เรียกว่าดับทุกข์นั้นเองโดย ประการแรก พระองค์ทรงกำหนดรู้ปัญหาหรือทุกข์ของพสกนิกรแล้ว

ประการที่สอง พระองค์ทรงค้นพบสาเหตุของความทุกข์ของพสกนิกรว่ามาจากภัยแล้ว ฝนไม่ตกตามฤดูกาลจึงทำให้พืชผลของเกษตรเสียหาย ประการที่สาม พระองค์ทางเข้าพระทัยเป้าหมายของการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจนว่าถ้าหากฝนตกตามฤดูกาลแล้วพสกนิกรก็จะผลิตพืชผลทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้มีพออยู่พอกินได้ไม่เดือดร้อน ประการที่สี่ พระองค์ทรงปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องด้วยการประดิษฐ์ภาพตำราฝนหลวง พระราชทานแก่นักวิชาการฝนหลวงนำไปปฏิบัติ กระบวนการทั้ง 4 เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามหลักพระพุทธศาสนาที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่า “ความคิดเชิงระบบ” นั้นเอง

สรุป

พระองค์ทรงได้รับรางวัลโกบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 และทรงได้รับการ เชิดชู จากองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาว่าเป็นผู้นำของโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญาพระองค์แรกทำให้ผู้เขียนมีความประทับใจที่พระองค์ทรงเป็น ผู้นำที่ทรงนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแบบ องค์กรแห่งการเรียนรู้( Learning Organization) และทรงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ว่า “อริยสัจ 4 “ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเสมอมา

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

นางประนอม ปันจันทร์

ทวีพงษ์ รินนาศักดิ์

ทวีพงษ์ รินนาศักดิ์

รหัสประจำตัว 511307148141

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ แขนงวิชาเอกนโยบายสาธารณะ

ความประทับใจที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่พระองค์ท่านทรงได้รับ “รางวัลเป็นผู้นำโลก”

พระมหากษัตริย์ของชาวสยาม (พ่อของแผ่นดิน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี แห่งการครองราชย์ พระองค์ท่านทรงมีปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ ทรงใช้ธรรมะหรือความดีความถูกต้องในการปกครองประเทศ โดยยึดถือในทศพิธราชธรรมและพระองค์ท่าน ทรงต้องการให้พสกนิกรชาวไทยทุกคนปฏิบัติตามพระองค์ท่านด้วยพระองค์พระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ มีความประพฤติดีงาม ความเสียสละ ความซื่อตรง ความอ่อนโยน พากเพียร ไม่แสดงความโกรธ ไม่ข่มเหงเบียดเบียน อดทนเข้มแข็ง ไม่ทำผิดจากทำนองคลองธรรม ให้อาณาประชาราษฎร์ สามารถพึ่งตนเองได้ มีความสุขความเจริญในชีวิต

และพระองค์ท่านทรงมีพระราชกรณียกิจต่างๆ นานัปการของพระองค์ท่านในการพัฒนาชีวิตความ

เป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยตลอด ทรงทุ่มเท ทรงมีวิริยะอุสาหะถือได้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลกก็ว่าได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณีย์กิจของพระองค์ท่านมีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์ท่านจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์ท่านเอง พระองค์ท่านจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ ละปี เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า “ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ท่านไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง”

ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานความช่วยเหลืออันหาที่สุดมิได้กับประเทศไทยด้วยพระอัจฉริยะภาพของพระองค์ท่าน โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” รวมทั้งภูมิปัญญาอื่นๆ ที่พระองค์ทรงสั่งสม มานานหลายสิบปีจากการที่พระราชทานพระราชดำริเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการนับพันโครงการและเป็นที่ปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวไทยอย่างยิ่งในรอบปี เมื่อ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ (World Intellectual Property Organization - WIPO) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ผู้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา” (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เนื่องจากพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์กันแล้วทั่วโลกว่าทรงเป็นนักประดิษฐ์ และทรงมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนา

พระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้น เพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทของไทยให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนาและเทคโนโลยีการทำฝนเทียม และที่ผ่านมา มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากกว่า 20 รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก จำนวน 19 รายการ

พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่ทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ “ ซุปเปอร์มด ” แล้วทรงนำไปจดทะเบียนในต่างประเทศ ถัดจากนั้นต่อมา ทรงประดิษฐ์คิดค้น “ กังหันน้ำชัยพัฒนา ” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำงานได้ผลอย่างจริงจัง ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย และถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรก ที่จดทะเบียนในประเทศไทย “ กังหันน้ำชัยพัฒนา ” เรียกได้ว่าเป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย สามารถแก้ปัญหาน้ำเสียเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม การจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับแรกในปี 2536 เรื่องการแก้ปัญหาการขาดน้ำในช่วงฤดูแล้งการทำฝนหลวง เครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ดีเซล เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (ไบโอดีเซล) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ในนามพระปรมาภิไธย แต่ใช้เป็นเครื่องหมายทางการค้า เช่น บริษัท สุวรรณชาด ทรงใช้เครื่องหมายทางการค้าเป็นรูปสุนัขทรงเลี้ยง “ คุณทองแดง ” หรือ โครงการหลวง ทรงใช้เครื่องหมายการค้า “ ธรรมชาติ ” เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้างในสี่เหลี่ยมเป็นพื้นสีเขียวเขียนคำภาษาอังกฤษ “ THAMMACHAD ” ใต้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย “ ธรรมชาติ ” ทั้งนี้ ก็เพื่อสื่อให้คนไทยหันมารักสุขภาพ กินอาหารที่มาจากธรรมชาติ นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า 1,000 รายการ เช่น งานศิลปกรรม, จิตรกรรม, ภาพถ่าย, บทเพลง และวรรณกรรม เช่น บทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่ ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระผู้นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง ทรงประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มากมายที่สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ และทรงเป็นแบบอย่างให้นักประดิษฐ์ได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมากมาย ส่วนมากแล้วเป็นองค์กรระดับโลกทั้งนั้น ความที่พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ผลงานทั้งหมดที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นนั้น หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ แล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือรางวัลทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรเทียบได้ ก็คือ “ น้ำพระทัย ” และ “ พระเมตตา ” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ให้พสกนิกรอยู่ดีกินดี มีความสุข ท่านเป็น “ หนึ่งในดวงใจ ” ของทุกคนในประเทศไทย “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ”

(พ่อหลวงของเราชาวไทยทุกคน)

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

ทวีพงษ์ รินนาศักดิ์

ความประทับใจในวโรกาสที่ในหลวงของเรา ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก"

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามมินทราธิราช ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม ปกเกล้าปกกระหม่อมชาวไทย พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการและโครงการตามพระราชดำริ กว่า ๓,๐๐๐ โครงการ บังเกิดประโยชน์สุขแก่พสกนิกร โดยทั่วถึงกันทั้งยังเป็นที่ประจักษ์ชัดในระดับโลกด้วยว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ โดยเฉพาะในด้านสิ่งประดิษฐ์ซึ่งสมาชิกองค์กรด้านการประดิษฐ์ทั่วโลก ต่างยกย่องพระเกียรติคุณและพร้อมใจถวายพระราชสมัญญานาม “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก” ในฐานะที่ทรงคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อันเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมากมายหลายโครงการ อาทิ ฝนหลวง ไบโอดีเซล เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง กังหันน้ำชัยพัฒนา

โครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาการขาดแคลนน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์วิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในขณะนั้นได้ดำเนินการวิจัยตามพระราชประสงค์ เพื่อพลิกฝื้นผืนดินที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งจากภาวะฝนทิ้งช่วงให้บังเกิดความอุดมสมบูรณ์ โดยโปรดเกล้าฯให้ทำการทดลองบนท้องฟ้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ – ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒

โครงการไบโอดีเซล-แก๊สโซฮอล เป็นโครงการเพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทนจากพืชผลทางการเกษตร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มเป็นครั้งแรกในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ มารถช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงสามารถช่วยเกษตรกรที่ประสบปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำได้เป็นอย่างดี

โครงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนแก่พสกนิกรมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ทรงเน้นถึงองค์ประกอบ ๓ ประการ คือวามพอประมาณ ความมีเหตุผลและการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทุกระดับ ตังแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ เพื่อให้ชีวิตตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท ตลอดจนสามารถใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจรวมถึงการกระทำได้อย่างถูกต้อง

เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยได้ปลาบปลื้มและประทับใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลเป็นผู้นำทรัพย์สินทางปัญญาระดับโลก จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือWIPO (world Intellectual Property Organization) ที่ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (WIPO Global Leaders Aword) ซึ่งรางวัลนี้นับเป็นรางวัลแรกของ WIPO ที่จัดทำขึ้นและถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าดูข่าวในทีวีผู้อ่านข่าวอ่านข่าวและได้เห็นภาพที่พระองค์ท่านรับรางวัลข้าพเจ้าน้ำตาไหลออกมาโดยไม่รู้ตัวเพราะพระองค์ท่านทำอะไรหลาย ๆ อย่างให้กับบ้านเมืองและประเทศชาติของเราแล้วทำไมผู้นำของประเทศถึงไม่ปฏิบัติตามที่พระองค์ท่านให้แนวคิด มีแต่จะแย้งชิงกัน ทำไมไม่สงสารพระองค์ท่านบ้าง

พระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศทั้งกำลังพระวรกายและกำลังพระราชหฤทัย ส่งเสริมและพัฒนาประเทศ ทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาชีวิตของปวงชนชาวไทยให้มีความอยู่ดี โครงการหลาย ๆ โครงการที่พระองค์ท่านได้ประดิษฐ์คิดค้นล้วนเป็นงานประดิษฐ์ที่มีประโยชน์กับปวงชนชาวไทย แม้จะอยากลำบากเพียงใดท่านก็ทุ่มเทพระวรกายเพื่อที่จะทำให้ลูกหลานของพระองค์ท่านได้พบกับสิ่งที่ทันสมัย นำสมัย ไม่ล่าสมัย สมควรแล้วแล้วที่พระองค์ท่านได้รับรางวัล “ผู้นำระดับโลก” จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO (world Intellectual Property Organization) ที่ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (WIPO Global Leaders Aword) ซึ่งรางวัลนี้นับเป็นรางวัลแรกของ WIPO

คุณสมบัติของผู้นำในแนวความคิดของข้าพเจ้า

๑. ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการทำงานและมีทักษะ

๒. มีความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความยุติธรรม

๓. มีความอุตสาหะและเสียสละ

๔. มองการไกล วิสัยทัศน์ที่ทันสมัย

๕. เป็นผู้ที่พร้อมที่จะทุ่มเทและพร้อมอุทิศตนเพื่อการทำงาน

๖. มีความละเอียด รอบคอบ ประหยัดตรงต่อเวลา กระตือรือร้นอยู่เสมอ

นางชูใจ บุญสุด MPA 1 สาขา นโยบายสาธารณะ

“กำลังของสามัคคีก็เป็นกำลังอีกอย่างหนึ่งที่ต้องการ และที่พูดแล้วซ้ำซากกว่าขอให้สามัคคี จะเป็นในหมู่คณะใดก็ต้องมีความสามัคคี โดยเฉพาะถ้าหมู่คณะใหญ่ก็คือประเทศที่ตั้งขึ้นมาเป็นส่วนรวมประเทศชาติก็ต้องมีกำลังของสามัคคีเพื่อจะให้อยู่ได้ เพราะว่าถ้าสามัคคีนั้นมีขึ้นแล้วก็สามัคคีที่สร้างสรรค์ ก็เป็นสามัคคีที่ดี ก็มาจากจิตใจที่ดีนั่นเองหรือมาจากความคิดที่มีเหตุผลที่ถูกต้อง ความสามัคคีนั้นก็จะดี ความสามัคคีนี้เป็นการรวมพลัง คำว่าพลังมาอีกแล้ว เป็นการรวมพลังของทุกคนที่ประกอบขึ้นมาเป็นประเทศชาติ ถ้าพลังนั้นของแต่ละบุคคลมาจากจิตใจที่ดี หมายความว่ามี เหตุผลที่แท้จริง สามัคคีนั้นก็จะเป้นของดี ก็จะเท้าความถึงคำของท่านนายกรัฐมนตรีอีกอย่างหนึ่งก็คือคำว่าเมตตา เมตตาซึ่งกันและกันนั้นเป็นความคิดหรือเป็นจิตใจที่ดี เอาจิตใจที่ดีนี้มาเป็นสามัคคีก็ทำให้ส่วนรวมอยู่ได้ และความจริงประเทศชาติจะอยู่ได้ก็เพราะสามัคคีที่มาจากใจที่ดี และเชื่อได้ว่าเมืองไทยนี้อยู่ได้เพราะว่าจิตใจของแต่ละบุคคลที่นับว่าดีเฉลี่ยแล้วก็ดีเมตตาของแต่ละตนก็เป็นกำลังที่ดี ออกมาทางวาจาก็ตาม ทางกายก็ตาม ก็แสดงออกมาในสิ่งที่ดี ใช้กำลังในทางที่ถูก และทำอย่างนั้นร่วมกันมากๆ ก็เป็นสามัคคีจึงทำให้ประเทศไทยอยู่ได้ แม้ตั้งแต่เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วก็มีการทำนาย อันนี้ใช้ไม่ฝันมีการทำนายกันทั้งในด้านหลักวิชา หลักวิชาโดยมากเป็นหลักวิชาทางรัฐศาสตร์ หรือการเมือง หรือการฑูต อะไรนี่ ก็พูดว่าเมืองไทยนี้อยู่ไม่ได้ เวลานั้นก็ยืนยันมาเรื่อยว่าเมืองไทยอยู่ได้ เพราะว่าเข้าใจถึงกำลังความสามัคคีนี้ที่มีอยู่ สามัคคีที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความสามัคคีเฮโลกันไป สามัคคีนี้บางทีก็ใช้ในทางที่ผิดก็ได้ ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็มีหวังที่มีการปะทะกัน แต่สามัคคีในทางที่ถูกนั้นต้องอาศัยกำลังใจของแต่ละคนที่ทำอะไร หรือคิดอะไรในทางที่ถูก ที่ถูกหลักเหตุผลและประกอบด้วยเมตตา ถ้าหากว่าบุคคลมีจิตใจที่ดีและหมู่คณะมีความสามัคคีที่ดีอาศัยใจทีีมีเหตุผลดังกล่าวก็ทำให้หมู่คณะอยู่ดีได้ แต่ว่าต้องระวังคำว่าสามัคคีในหมู่คณะเพราะว่าถ้าหากว่ามีกำลังที่ที่ไปในทางที่ไม่ดี คือหมายความว่าคิดไม่รอบคอบหรือมีเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ก็ทำให้ความสามัคคีนั้นกลายเป็นสามัคคีที่ไม่ถูกต้อง สามัคคีที่พาให้ตีกันถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้นก็ไม่ดี แต่เมืองไทยนี้ที่ผ่านมาก็นับว่าอาศัยความรู้เหตุผลนี้และเผื่อแผ่กันทำให้ผ่านพ้นอุปสรรคต่อไปในอนาคตได้อย่างดียิ่ง เพราะว่าเชื่อว่ากำลังความสามัคคีที่มีรากฐานที่มั่นคงในเหตุและผลนั้น จะทำให้ที่จะรักษาโดยเรียกว่าโดยอัตโนมัติ และจะเป็นที่มหัศจรรย์ในโลกว่าประเทศไทยไมอยู่ได้”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๒๘

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(World Intellectual Property Organization-WIPO) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา(WIPO Global Leader Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะที่พระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานพัฒนา

นับตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งสิ้นมากกว่าสองพันโครงการ ล้วนเกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งหวังให้ปวงพสกนิกรไทยได้พ้นจากความทุกข์ยากในการดำรงชีวิต ดังนั้นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงครอบคลุมในหลายสาขา อาทิทางด้านการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน การแพทย์และสาธารณสุข การศึกษา และการศึกษาวิจัย ค้นคว้า ทดลอง เป็นต้น

การเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรม โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงเป็นโครงการที่มุ่งเน้นแก้ปัญหากาการเกษตรในทุกภูมิภาคของประเทศอย่างครบวงจร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตรอันหมายถึงฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น ซึ่งมีผลให้เศรษฐกิจของประเทศชาติเจริญก้าวหน้าตามไปอีกด้วย

การพัฒนาแหล่งน้ำ น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการทำเกษตรกรรม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพราะปลูกและอุปโภคและบริโภค โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า โครงการระบายน้ำออกจากที่ลุ่ม โครงการบรรเทาอกทกภัย อันได้แก่โครงการแก้มลิง ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการจัดและควบคุมปริมาณน้ำเพื่อประโยชน์ในการบรรเทาอุทกภัยในฤดูน้ำหลาก และยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรกรรมอีกด้วย

การแพทย์และสาธารณสุข การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรงพบว่ามีราษฎรเป็นจำนวนมากที่เจ็บป่วยเพราะขาดความรู้ในการดูและรักษาสุขภาพ บ้างก็ไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะใช้ในการรักษา จึงทรงตั้งโครงการต่างๆขึ้น อาทิ โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน และโครงการเกลือเสริมไอโอดีนพระราชทาน

การศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล พระองค์ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียนและพระราชทานคำแนะนำและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สนับสนุน

การศึกษาวิจัย ค้นคว้า ทดลอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นเป็นสถานศึกษา ทดลอง ทดสอบ และแสวงหาแนวทางการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

วิธีการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้กระทำโดยหลักวิชาการ ที่สามารถเป็นแบบอย่างในการทำงานให้กับบุคคลทั่วไป ดังนี้

1.การศึกษาปัญหาและข้อมูลโดนถ่องแท้

2.การศึกษาวิชาการปฏิบัติงานด้วยพระองค์เอง

3.การปฏิบัติงานบนหลักวิชาการ

4.การทดลอง วิจัยเผยแพร่ ขยายผล และพัฒนา

5.ใช้หลักธรรมชาติและการปฏิบัติที่เรียบง่าย

6.การทรงงานอย่างต่อเนื่อง

7.การติดตามผลการปฏิบัติงานด้วยพระองค์เอง

8.การใช้พระอัจฉริยภาพทางภาษาในการทำงาน

9.การใช้กุศโลบายโดยพระราชทานแนวพระราชดำริ

10.การใช้วิธีการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองได้

11.ดำเนินงานทีครบวงจร

12.การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

13.การเลือกสรรวิธีการที่เหมาะสม

14.การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และให้ตัวอย่างที่สัมฤทธิผล

คุณสมบัติผู้นำที่โลกต้องการ

1.ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ

2.เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ

3.ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

บุญทัน ดอกไธสง(2535:266)

1. มีความรู้

2. มีความ

3. มีความกล้าหาญและเด็ดขาด

4.มีมนุษยสัมพันธ์

5.มีความยุติธธรรมและซื่อสัตย์สุจริต

6.มีความอดทน

7.มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม

8.มีความภักดี

9.มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว

ศิริพงษ์ ศรีชัยรมรัตน์ “กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหาร” หน้า 25-26

1. มีความรู้

2. มีคุณธรรม

3. มีประชาธิปไตย (ยม นาคสุข)

ความประทับใจต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลก

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลก เป็นข่าวที่พสกนิกรชาวไทยตื่นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนชาวไทยรู้สึกภาคภูมิใจที่ในหลวงของปวงชนชาวไทยได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากนานาประเทศให้เป็นผู้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก WTPO (World Intellectual Property Organization)

ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงครองศิริราชสมบัติ และในฐานะพระประมุขของประเทศไทย ได้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนคนไทยทั่วประเทศและทั่วโลกในพระอิจฉริยภาพของพระองค์ท่านที่ได้ทรงคิดค้นวิธีการและสิ่งประดิษฐ์รวมทั้งโครงการพัฒนาต่างๆ มากมายด้วยมุ่งหวังที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรของพระองค์ให้ดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข โดยเฉพาะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดของพระองค์ท่านที่ต้องการให้เป็นเกราะป้องกันประชาชนคนไทยพ้นจากภัยคุกคามต่างๆ ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าการดำเนินชีวิตของประชาชนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่อารยธรรมและความเจริญต่างๆ ได้เข้ามาอย่างรวดเร็ววัฒนธรรมในครัวเรือนในสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปพระองค์จึงมีกระแสพระราชดำรัสในการดำเนินชีวิตสายกลางเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นความพอเพียงคือความพอประมาณ ความมีเหตุผล เมื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองครอบครัว สังคม เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันในผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในโดยมีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังให้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือนักวิชาการทั้งหลายที่มีหน้าที่วางแผนการพัฒนาประเทศจะต้องเสริมสร้างจิตใจของคนไทยให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติและปัญญารวมทั้งความรอบคอบเพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คนไทยทุกคนได้ดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนนอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงคิดค้นโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรของพระองค์อื่นอีกมากมายด้วยการนำหลักการของธรรมชาติมาแก้ไขปัญหา เช่น โครงการฝนหลวงด้วยการทำฝนเทียมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในหน้าแล้ง โครงการแก้มลิง เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในเขตปริมณฑลและกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2538 ด้วยการปรับปรุงทำความสะอาดคูคลองหนองบึง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำเหนือที่ไหลป่าเข้ากรุงเทพมหานครจนกลายเป็นโครงการขยายผลไปทั่วประเทศเพื่อป้องกันน้ำท่วม และสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำเมื่อภาวะวิกฤติน้ำท่วมผ่านพ้นไป และยังมีโครงการพัฒนาอื่นอีกมากมายนอกจากโครงการพัฒนาต่างๆ แล้วยังมีหลายองค์กรได้ทูลเกล้าถวายเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรอาทิ IFIA ประเทศฮังการีทูลเกล้าถวายด้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงานทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง และ KIPA ประเทศเกาหลีทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัวเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าทรงพระอัฉริยภาพและมีพระวิริยะสูงส่งในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ มากมายหลายร้อยชิ้นอันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย และรางวัลผ้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Global Leader Award) โดยผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกได้ทูลเกล้าถวาย เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 และรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในโลกที่ได้รับทูลเกล้าถวายรางวัลนี้ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่คิดสิ่งประดิษฐ์ แล้วนำมาจดสิทธิบัตร ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ทุกๆ ชิ้นทั้งหมดทั้งปวงล้วนเกิดจากพระองค์ท่านมีราชประสงค์เพียงเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับราษฎรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งเป็นพระปณิธานอยู่บนหลักการทศพิศราชธรรม คือ

1. การให้ได้แก่ให้สิ่งของ การให้ความรู้ และการให้อภัย

2. การมีความประพฤติดีงามสำรวมกายวาจาใจเป็นตัวอย่างที่ดีเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน

3. การเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

4. การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมีความจริงใจ

5. ความอ่อนโยน มีอัธยาศัยดี ไม่ดื้อรั้น มัวเมาในอำนาจ

6. การบำเพ็ญความเพียร เพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว

7. การไม่ถือโกรธไม่ผูกพยาบาท

8. การไม่เบียดเบียนประชาชนเพื่อนร่วมงาน

9. การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ

10. ความโปร่งใสอย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย

เหล่านี้เป็นความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลกโดยจะตั้งปณิธานอันแน่วแน่จะเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในการดำรงชีวิตประจำวันและปฏิบัติงานราชการให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างเต็มกำลังความรู้ความสามารถโดยยึดเอาแนวพระราชดำริเกี่ยวกับหลักปกครองที่มี 7 ประการมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานราชการ กล่าวคือ

1. การบริหารจะต้องเข้าถึงประชาชน

2. ประชาชนต้องให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหาร

3. การปกครองต้องยืดหยุ่นในทางที่ดี

4. การปกครองต้องมีความยุติธรรม โดยมีกฎหมายเพื่อผดุงรักษาความยุติธรรม และความสงบเรียบร้อย

5. การปกครองต้องมีกำลังทหารป้องกันประเทศ

6. การปฏิบัติของรัฐบาลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความมั่นคงและความเจริญ ก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองและประชาชน

7. เมื่อประชาชนประสบภัย ทางราชการต้องไปช่วยอย่างทันท่วงที

เพื่อให้การเมืองการปกครองเป็นไปเพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวม

นายพรพิชัย ดิสโร

กษัตริย์ยอดผู้นำระดับโลก

โดย สุรพงษ์ พรมเท้า. 511307148135

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

**************************************************************

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๖๐ ปี พระองค์ทรงยึดหลักธรรมะเป็นแนวทางและทรงงานเพื่อประโยชน์สุข

ของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา ส่งผลให้การพัฒนาประเทศเกิดความมั่นคงและยั่งยืน

ด้วยพระราชปณิธานที่จะทรงเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทยทั้งมวล โดยไม่แบ่งแยกสถานะศาสนา ชาติพันธุ์ หรือหมู่เหล่า และทรงถือว่า ทุกข์ของพสกนิกรคือทุกข์ของพระองค์

ดังจะเห็นได้ว่าพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัตินั้น แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ

ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งสิ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหา

ความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ ทรงเข้าไปช่วยเหลือราษฎร

ในด้านต่างๆ ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

และทรงหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างแยบยล ด้วยทรงตระหนักดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม

โดยพื้นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท

ดังนั้น เพื่อที่จะช่วยให้ประชาชนมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนและศึกษาความเป็นอยู่ของพสกนิกรในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

ในปัญหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

นำไปสู่การพระราชทานแนวพระราชดำริที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อ “เศรษฐกิจพอเพียง”

บทความนี้ผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ 10 วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน – วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2550 ผู้เขียนมีความภาคภูมิใจซาบซึ้งใจในแนวคิดและการปฏิบัติของพระองค์ท่าน ความรู้สึกเช่นนี้คงไม่ต่างจากพสกนิกรชาวไทยทุกคนเพราะสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทรงปฏิบัตินั้นก็เพื่อความสุขของราษฎรที่พระองค์ท่านดูแลเอาใจใส่เสมือนเป็นลูกเป็นหลาน และสิ่งที่พระองค์ท่านปฏิบัตินั้นมิใช่ทรงปฏิบัติเพียงแค่วันใดวันหนึ่งเท่านั้นแต่ได้ทรงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวันมิเคยว่างเว้นแม้แต่วันเดียวตลอดระยะเวลา 60 กว่าปีจนบ้างครั้งเราเองยังรู้สึกว่าพระองค์ท่านยังมีพระชันษาไม่มากนัก ทั้งที่ขณะนี้พระองค์ท่านมี พระชันษากว่า 80 ชันษาแล้วไม่มีแห่งใดในประเทศไทยที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินดูแลสาระทุกข์ สุขดิบเพื่อบำบัดทุกข์บำรงสุขให้ราษฎรดั่งพระปฐมพระบรมราชโองการที่ว่า “เราจะครองแผ่นดิน....โดยธรรม..... เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”

รางวัลผู้นำระดับโลกที่พระองค์ท่านได้รับการถวายในฐานะผู้นำที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยหลักการปกครองที่ดีจนสามารถลดความขัดแย้งนำพาประเทศผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆอย่างมากมายนั้นเป็นการการันตีแนวคิดการปฏิบัติของพระองค์ท่านผู้เขียนมีประทับใจและภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยที่อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิ์สมภารของพระองค์ท่านจึงได้สรุปและน้อมนำเอาแนวความคิดมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตปฏิบัติตนตามลอยพระยุคลบาทคือ

1. การพัฒนาที่เอา “คน” เป็นตัวตั้ง ยึดหลัก “ประโยชน์สุขของประชาชน” และการมีส่วนร่วม ตัดสินใจของประชาชน โดยในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ ทรงยึดหลักประชาชนทุกคนต้องได้รับประโยชน์จากโครงการและคนส่วนใหญ่ต้องเสียสละดูแลช่วยเหลือคนส่วนน้อย ยึดหลักคุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุนหรือขาดทุนคือกำไร คือ เน้นการให้และการเสียสละเพื่อผลแห่งความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และต้องให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการตั้งแต่ตอนก่อนเริ่มต้นโครงการ แล้วจึงให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกันต่อไป

2. ยึดหลัก ภูมิสังคม ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ว่าการพัฒนาตามแนว

พระราชดำริจะเน้นกระบวนการศึกษาและวางแผนที่สอดคล้องกับ ภูมิสังคม หรือลักษณะภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สภาพธรรมชาติแวดล้อมรอบๆตัวคน คำนึงถึงการดำเนินวิถีชีวิตของคนในสังคมที่จะเข้าไปพัฒนา ตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อและศาสนา ประเพณีที่ต่างกันนอกจากนี้ ยังทรงให้ความสำคัญกับการใช้หลักวิชาในการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ และพัฒนาคน โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจของคนในพื้นที่ต่อหลักการและประโยชน์จากการพัฒนา ก่อนส่งเสริมให้ข้าราชการทุกคนยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา คือ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสภาพภูมิสังคมของคนในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีปัญหาเช่นไรและมีความต้องการอะไร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การวางแผนและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริช่วยแก้ปัญหาและตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่มากที่สุด

3. การพัฒนานั้นต้องเริ่มต้นจาก การพึ่งตนเอง ให้ได้ก่อน รู้จักประมาณตนรู้ศักยภาพของตน และดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และทำตามลำดับขั้น สร้างพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชนและครอบครัวให้พอมี พอกิน พอใช้ก่อน โดยวิธีการที่ประหยัดและถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งและเป็นอิสระแล้ว จึงค่อยพัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มพึ่งพากันและร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้แล้วจึงขยายเครือข่ายเชื่อมสู่สังคมภายนอก ดังที่ทรงใช้คำว่า ระเบิดจากข้างในจากหลักการทรงงานข้างต้น จะเห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยทรงให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกในศีลธรรมแก่ประชาชน ให้รู้จักประมาณตน ไม่โลภ เสียสละมีคุณธรรมและความเพียรและซื่อสัตย์สุจริตอยู่เสมอ

ดังนั้นจึงสามารถสรุปภาวะผู้นำที่โลกต้องการโดยใช้แนวพระราชดำริคือการเสริมสร้างศักยภาพของคนในทุกมิติ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่สำนึกในคุณธรรม มีความเพียรและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต อัน

จะเป็นการขยายโอกาสและทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมั่นคง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนตามไปด้วยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ของปีเตอร์ เซ็งเก้

เมื่อครั้งเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจนั้นจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดเพราะมองหาทางออกไม่พบจนคิดที่จะฆ่าตัวตายแต่พอได้ศึกษาปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านด้วยหลักที่ว่า “ถ้าเรารู้จักคำว่าพอเพียง เราก็จะเพียงพอ” ข้าพเจ้าได้ค้นพบทางออกของชีวิตด้วยการน้อมนำเอากระแสพระราชดำรัสของพระองค์ท่านมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตดำเนินกิจกรรมจนถึงปัจจุบันและด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณผู้เขียนได้นำหลักการเหล่านั้นมาเผยแพร่ถ่ายทอดสิ่งที่ผู้เขียนปฏิบัติจนประสบความสำเร็จต่อสังคมเพื่อช่วยดูแลราษฎรที่ลูกหลานของพระองค์เพื่อมิให้พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนี่อยพระวรกายเพราะอย่างน้อยก็เป็นการแบ่งเบาภาระของพระองค์ท่านยิ่งตอนที่ทราบว่าพระองค์ท่านทรงพระประชวรบ่อยครั้งที่ผู้เขียนน้ำตาไหลด้วยความห่วงใยและยิ่งสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขนาดพระองค์ท่านทรงพระประชวรก็ยังทรงงานไม่เคยหยุดทำให้เรายิ่งต้องทำงานให้หนักขึ้นเมื่อยามที่เหนี่อยและท้อแท้ที่เกิดจากการทำงานพอมองเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านความเหนี่อยยากนั้นก็หายไปแล้วลุกขึ้นมาลุยต่อเคยมีคนเคยถามเช่นกันว่าทำไปทำไมทำแล้วได้อะไรเมื่อไหร่จะหยุด ผู้เขียนไม่พูดอะไรเพียงแต่ชี้ให้ดูในหลวงของเราคนที่ถามเขาก็จะเข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบายเพราะเราไม่เคยเห็นพระองค์ทรงเหนี่อยและท้อแท้ต่อการปฎิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนแล้วเราจะเหนี่อยได้อย่างไร

สุดท้ายนี้ผู้เขียนของนำเอาพระราชดำรัส ของพระองค์ที่ทรงได้มีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันขึ้น

ปีใหม่ 2546 พระราชทานไว้เมื่อวันที่31 ธันวาคม 2545 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ ว่า

“...ข้าพเจ้าปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นชาวไทยมีความสุขถ้วนหน้ากัน ด้วยการให้

คือให้ความรัก ความเมตตากัน ให้น้ำใจไมตรีกัน ให้อภัย ไม่ถือโทษ โกรธเคืองกัน ให้การสงเคราะห์

อนุเคราะห์กัน โดยมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ด้วยความบริสุทธิ์ และจริงใจ...”

นั้นคือน้ำพระทัยของพระองค์... พระมหากษัตริย์ของปวงชนชาวไทย.....กษัตริย์ยอดผู้นำระดับโลก

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน...ด้วยกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า นายสุรพงษ์ พรมเท้า และครอบครัว

*********************************************************

-เอกสารอ้างอิง

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ 10

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน – วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2550

อำพน กิตติอำพน.(2550).พระมหากรุณาธิคุณด้านสังคม : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

ความประทับใจที่ในหลวงของเรา ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก"

การที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization -) ทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด หรือ WIPO Global Leader Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมและให้ความสำคัญทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนาประเทศ ทรงประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม อีกทั้งมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ไว้มากกว่า 20 รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน มากกว่า 1,000 รายการ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ และจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ เป็นต้น

ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นประชาชนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท มีความรู้สึกปลาบปลื้มยินดีและตื้นตันใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับรางวัลเป็นผู้นำทรัพย์สินทางปัญญาระดับโลก จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO (world Intellectual Property Organization) ซึ่งรางวัลนี้นับเป็นรางวัลแรกของ WIPO ที่จัดทำขึ้นและถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่พระองค์ตรัสกับปวงชนชาวไทย เมื่อ 60 กว่าปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ข้าพเจ้าจำความได้ทีวีจะถ่ายทอดพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกวัน ส่วนใหญ่จะเป็นการเสด็จบุกป่าฝ่าดงเข้าไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ชาวเขา ในถิ่นทุรกันดาร พร้อมสำรวจดิน น้ำและอาชีพของประชาชนในแต่ละภาค และทุกครั้งที่ทรงเสด็จพระองค์จะพกสมุด ดินสอเพื่อจดตลอด และที่ขาดไม่ได้คือกล้องถ่ายรูปที่คล้องอยู่ที่พระศอตลอดเวลา ทำให้ทรงทราบปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงคิดหาทางแก้ไข และด้วยพระอัจฉริภาพ พระองค์ทรงคิดหาลู่ทางการปัญหาฝนแล้ง จนกระทั่งทรงพบ วิธีการทำฝนเทียม หรือฝนหลวง การแก้ปัญหาน้ำเสีย โดยทรงประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของพระองค์ให้ดีขึ้นตลอดเวลา ซึ่งสิ่งประดิษฐ์แต่ละชิ้นพระองค์จะให้ความสำคัญเรื่องการจดสิทธิบัตรเป็นอย่างยิ่ง

จากความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าขอน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวต่อไป

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

นางสกีนา ปาทาน รปม. รหัส 511307149116

นายคมสันติ์ เจริญพันธ์

ความประทบใจที่มีต่อผู้นำระดับโลก "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ทูลเกล้าฯถวายรางวัลในหลวง นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยเมื่อเร็วๆนี้ ว่า ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จะเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯถวายรางวัลโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) ซึ่งในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับการทูลเกล้าฯแทน

โดยเหตุผลที่ WIPO ทูลเกล้าฯถวายรางวัลดังกล่าวเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้ จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลก มีมติให้วันที่ 2 ก.พ. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย “ในโครงการพระราชดำริต่างๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งาน และมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี” สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)ด้านเครื่องหมายการค้า ไม่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในพระปรมาภิไธย แต่พระราชทานให้บริษัท สุวรรณชาด จำกัด และมูลนิธิชัยพัฒนา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 13 คำขอ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าสุวรรณชาด 1 คำขอ, ทองแดง 2 คำขอ, โกลเด้นเพลส 4 คำขอ, ธรรมชาติ 5 คำขอ และมุมสบายๆ 1 คำขอ ด้านลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือต่างๆ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นต้น และที่ทรงจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 4 ผลงาน คือ ด้านวรรณกรรม 3 ผลงานคือ หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่, โครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพระมหาชนก ด้านศิลปกรรม 1 ผลงานคือ ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนกส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้รับการจดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐฯ หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้าฯถวายเหรียญรางวัล และประกาศนียบัตรต่างๆ แด่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศฮังการี ทูลเกล้าฯถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงานทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ทูลเกล้าฯถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

พระองค์ทรงคิดค้นหลักทฤษฎี หลักความเป็นอยู่ให้กับพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่ดีกินดี นั่นคือ ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งไม่ว่าคนจนหรือคนรวยหากอยู่แบบพอเพียงก็จะไม่มีการชิงดีชิงเด่นกันทุกอย่างก็จะสงบลง ดังพระองค์ท่านได้ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 ประการ

1. ทาน หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สินสิ่งของแล้วยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย

2. ศีล หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม ทั้งกาย วาจาและใจให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครองอันได้แก่กฎหมาย นิติราชประเพณีและในทางศาสนา

3. บริจาค หมายถึง การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม

4. ความซื่อตรง หมายถึง ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครองดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

5. ความอ่อนโยน หมายถึง การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพให้เหตุผลที่ควรมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส

6. ความเพียร หมายถึง การมีความอุตสาหะในการปฎิบัติงานโดยปราศจากความเกียจคร้านในหน้าที่

7. ความไม่โกรธ หมายถึง การไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

8. ความไม่เบียดเบียน หมายถึง การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้นให้ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

9. ความอดทน หมายถึง การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย

10. ความยุติธรรม หมายถึง ความหนักแน่น ความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลักไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ

ข้าพเจ้าประทับใจและจะยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพสกนิกรชาวไทยและต่างชาติ ผู้นำระดับโลก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

นายคมสันติ์ เจริญพันธ์

บริหารงานท้องถิ่น

ความประทับใจต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงได้รับรางวัลผู้นำระดับโลก

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงได้รับรางวัล

ผู้นำระดับโลก เป็นข่าวที่พสกนิกรชาวไทยตื่นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนชาวไทยรู้สึกภาคภูมิใจที่ในหลวงของปวงชนชาวไทยได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากนานาประเทศให้เป็นผู้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก WTPO (World Intellectual Property Organization)

ในการแบ่งปันผลของความคิดสร้างสรรค์ของพระองค์ในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์ และงานด้านการดนตรีและศิลปะ พระองค์มิได้เพียงทรงแสดงให้เห็นถึงพลังของทรัพย์สินทางปัญญาในการส่งเสริมและเพิ่มคุณภาพชีวิตและการทำงานในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังทรงส่งเสริมประชาชนทุกหนแห่งให้สร้างสรรค์ เคารพและคุ้มครองผลงานนั้น ๆ อีกด้วย ประเทศไทยจึงเป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกโดยพระองค์ทรงเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเด่นชัด

โครงการตามพระราชดำริจำนวนมากที่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์ ของพระองค์ซึ่งได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสังคมชนบทของประเทศไทย สิ่งประดิษฐ์ของพระองค์ อาทิ กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม ได้แก้ปัญหาความเดือดร้อนซึ่งส่งผลโดยตรงในการทำให้ชีวิตพสกนิกรนับล้านดียิ่งขึ้น

จากการที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานและสิ่งประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ มากมายนี้เองทำให้ข้าพเจ้ามีความประทับใจในพระองค์ที่ได้รับรางวัล “ผู้นำโลก” ซึ่งได้แก่

-โครงการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับการทำฝนเทียม นับตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงเรียนรู้จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรในถิ่นทุรกันดารว่าในบางพื้นที่ซึ่งราษฎรส่วนใหญ่ทำการเกษตร เป็นพื้นที่แห้งแล้งอย่างรุนแรง ปัญหาเกิดจากภูมิอากาศแบบมรสุมในเอเชียซึ่งมีทั้งฤดูแล้งและฤดูน้ำหลาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในการทำฝนเทียมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก เมื่อ พ.ศ. 2498 พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเพื่อดำเนินการโครงการฝนหลวง ซึ่งทรงศึกษาวิจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาและการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยทรงอุทิศทั้งเวลาและกำลังพระวรกาย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง การทดลองทำฝนเทียมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 ในเขตภูเขาของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้ทรงคิดค้นกระบวนการทางเคมีในการทำฝนเทียมด้วยพระองค์เองโดยใช้เครื่องบินโปรยน้ำแข็งแห้งหรือคาร์บอนไดออกไซด์แข็งเพื่อกระตุ้นการรวมตัวของละอองเมฆให้กลายเป็นเม็ดฝน เทคโนโลยีดังกล่าว เป็นต้นแบบให้ประเทศต่าง ๆ และนักวิทยาศาสตร์นำไปพัฒนาในการทำฝนเทียมต่อไป ซึ่งการปฏิบัติการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรนับล้านคนทั่วทั้งประเทศไทยในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อันเป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น

-โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์เพื่อทรงรับทราบถึงทุกข์ สุขความเป็นอยู่ตลอดจนสภาพการทำมาหากินของพสกนิกรในทุกหมู่เหล่า และพระราชทานความช่วยเหลือเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรที่มีอยู่มากมาย

-โครงการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานให้แก่ราษฎรทั้งหลายเป็นแนวปรัชญาที่สอนให้รู้จักประมาณตน พร้อมกับที่รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก รู้จักอดทน อดออม ขยันหมั่นเพียร รอบคอบและซื่อสัตย์สุจริต อันจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เพื่อมิให้เกิดการผิดพลาดในภายหลัง แนวทางนี้คือคติธรรมที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือและได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรอย่างต่อเนื่องตลอดมา

นับเป็นความโชคดีของคนไทยที่ได้เกิดมาใต้ร่มโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระปรีชาสามารถและพระหฤทัยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกายอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เสด็จในทุกหัวระแหงของประเทศ เพื่อทรงทราบถึงความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์อย่างแท้จริง ทรงทุมเทพระสติปัญญาค้นคิดแนวทางการพัฒนาประเทศ และความอยู่ดีกินดีของพสกนิกร เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกายสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ พัฒนาความเป็นสุขของพสกนิกรชาวไทย ทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงเป็นที่น่าปลาบปลื้มยิ่งของเราชาวไทยทุกคน ที่พระองค์ทรงได้รับรางวัล “ผู้นำโลก”

จะดำเนินเจริญลอยตามพระยุคลบาท

เป็นผู้นำที่มีเมตตากรุณา ประสานเอากลุ่มต่าง ๆ ที่มีความคิดแตกต่างกัน ให้หันหน้าเข้าหากันปรองดองกัน แม้เชื้อชาติ ภาษา ศาสนาต่างกัน แต่ก็สามารถร้อยรัดรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นผู้นำโดยมีธรรมะกำกับ เสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ สร้างและรักษาความสงบสุข ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ อำนวยความสุขสวัสดีแก่ประชาชน คือ การอำนวยความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การพัฒนาอาชีพและฐานะความเป็นอยู่ การพัฒนาจิตใจให้อยู่รวมกันได้ด้วยความสุข ความสามัคคีปรองดอง และส่งเสริมการให้การศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่แจ่มใส จะต้องระมัดระวังปฏิบัติการทุกอย่างด้วยความสุจริตเที่ยงตรง ให้สมควรและถูกต้องด้วยหลักวิชา กฎหมาย ความชอบธรรมโดยไม่มีอคติ

คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการตามความคิดของข้าพเจ้า นั้นมีดังต่อไปนี้

- มีความสามารถในการใช้อำนาจให้เกิดประสิทธิผลและเป็นที่ยอมรับ

- มีความสามารถในการนำ มีความสามารถในการแก้ปัญหา

- เป็นคนมีเหตุผล ศึกษาหาความรู้ ฝึกฝนตนเอง

- มีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถบริหารจัดการ

- มีความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง

- มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ คิดทำในสิ่งใหม่ ๆ

- แสวงหาความร่วมมือจากบุคคล หรือองค์กรอื่นเป็นระบบเครือข่าย

- ทำงานเป็นทีม มีความเป็นมิตร

- การมองอะไรในแง่บวก มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

- มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ยกย่องให้เกียรติผู้อื่น

- พูดจาด้วยความไพเราะ จริงใจ กริยามารยาทอ่อนโยน

- ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

- มีความเพียร ขยันอดทน รับผิดชอบ กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง

- มีระเบียบวินัย อ่อนน้อมถ่อมตน ความสงบเสงี่ยม ประพฤติดี ทั้งกาย วาจา ใจ

- มีจิตสำนึกในการสร้างความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ มีมนุษย์สัมพันธ์

นางรัศญา คำรินทร์ รหัส 511307149113 รป.ม.รุ่น 1

นายวัฒนา ไผ่นอก

511307148125

รปม.รุ่นที่ 1

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

ความภาคภูมิใจของข้าพเจ้าที่มีต่อพระองค์ท่านที่ได้รับรางวัล “ ผู้นำระดับโลก ”

ข้าพเจ้าที่เกิดมาเป็นคนไทยในแผ่นดินไทยของพระองค์ท่าน และประชาชนคนไทยทุกคนต่างก็มีความรักและเทแดทูลไว้เหนือหัวและมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้อยู่แล้ว พระองค์ท่านทรงเป็นมิ่งขวัญปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ เพราะพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมในการปกครองประเทศ คือพระองค์ มีทาน คือการให้ กาเสียสละ ทั้งแรงพระวรกาย และทั้งทรัพย์สอนส่วนพระองค์ พระองค์ มีศีล คือความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจา และใจ ให้ปราศจากโทษทั้งในการปกครอง กฎหมาย และนิติราชประเพณี และในศาสนา พระองค์มีบริจาค คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม พระองค์มีความซื่อตรงคือความซื่อตรง ในฐานะที่เป็นผู้ปกครองดำรงในสัตย์สุตจริต พระองค์ มี ความอ่อนโยน เคารพให้เหตุผลที่ควรมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอ่อนโยนต่อผู้เสมอกันและต่ำกว่า พระองค์มีความเพียร มีอุตสาหะในการปฏิบัติงานโดยปราศจากความเกียจค้าน พระองค์มีความไม่โกรธ ความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล พระองค์มี ความไม่เบียดเบียน การไม่เบียดเบียนหรือบีบคั้นไม่ก่อทุกข์ หรือเบียดเบียนผู้อื่น พระองค์มีความอดทน มีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวงรักษาอาการ กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยมีความยุติธรรม มีความหนักแน่น คือ ความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหว ด้วยคำพูด อารมณ์ หรือ ลาภสักการะใดๆ ด้วยพระองค์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมมาปกครองเหล่าทวยราชทั้งหลายทั้งปวงจึงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ก็เป็นที่ทราบและรู้จักของเหล่านานาประเทศทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้เองพระองค์ท่านจึงได้รับรางวัล “ ผู้นำระดับโลก ” เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็น “ผู้นำระดับโลก” ที่ทั่วโลกได้รู้จักและควรนำเอาแบบอย่างของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ เพราะพระองค์ท่านเปรี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงรักและห่วงใยประสกนิกรของพระองค์โดยตลอด โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่จะช่วยเหลือปวงชนชาวไทยให้อยู่เย็นเป็นสุขไปทุกหย่อมหญ้าโดยมิได้เห็นแก่ความเหน็จเหนื่อยและย่อท้อแต่อย่างใด เพื่อมุ่งหวังให้ชาวไทยและประเทศชาติเจริญรุ่งเรื่องเทียบทันอาณาประเทศอื่นๆ พระองค์ท่านไม่อยู่นิ่งเฉยโดยไม่ใช้ความคิด พระองค์ท่านทรงคิดอยู่ตลอดเวลา พยายามพระราชดำริโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนส่วนมากได้ประโยชน์จากโครงการพระราชดำริ แม้จะกระทบคนส่วนน้อยบ้างก็ทรงยอม พระองค์ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ท่านทรงมีพระราชโองการให้ประชาชนชาวไทยทุกคนได้นำไปปฏิบัติ ให้กินอยู่แบบพอเพียง จนต่างประเทศได้ไปใช้ จากความดีและพระปรีชาสามารถขอลพระองค์ ทำให้ทุกคน และข้าพเจ้าเชื่อว่าชาวต่างชาติที่มีพระหมากษัตริย์ต่างก็ต้องอิจฉาประชาชนชาวไทยที่มีพระหมากษัตริย์อย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของคนไทย ข้าพเจ้าปราบปลื้มเป็นอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยบนผืนแผ่นดินไทย และยิ่งมีความภาคภูมิใจอย่างมากที่พระองค์ท่านทรงได้รับ การถวายรางวัล “ ผู้นำระดับโลก” ฉะนั้นคนไทยทุกคนก็ต้องช่วยกันรักษาความภาคภูมใจนี้เอาไว้ให้นานเทานาน โดยการปฏิบัติตน และนำเอาแนวทางของพระองค์ท่านมาดำเนินชีวิต และการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นประชาชนคนธรรมดา หรือข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะเหล่านักการเมืองทั้งหลายแหล่ยิ่งน่าจะนำแบบอย่าของพระองค์ท่านมาใช้ในการบริหารบ้านเมือง นักการเมืองทั้งจงอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ของพรรคมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจงปฏิบัติและเดินตามพระองค์ท่านเถิดแล้วท่านและประเทศชาติ และการเมืองไทยจะได้เจริญรุ่งเรืองเสียทีเลิกแบ่งข้างแบ่งสีแล้วต่างชาติเขาจะมองว่าชาติเจริญแล้วเราทุกคนสมารถที่จะทำได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะความสามัคคี ปัจจุบัน กว่าพระองค์จะได้รับรางวัลนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย พระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระองค์มาตั้งแต่ขึ้นครองราชย์สมบัติมาเป็นเวลาถึง 62 ปี กว่าคนไทยทุกคนจะได้รู้จะได้เห็นพระปรีชาของพระองค์ และนานาประเทศกว่าจะรู้จะเห็นจน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพวกเราชาวไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาความดีของพระองค์อันเปรียบเสมือนชื่อเสียงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติโดยการรักใคร่สามัคคีปองดองกันไม่แบ่งพรรคไม่แบ่งพวก และไม่แบ่งสี มาช่วยกันดูแลคุมครองปกป้องผืนแผ่นดินไทย และสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยให้ดำรงไว้ไปตลอดกาล

ขรรค์ชัย เจียมประกอบ

ความประทับใจในวโรกาสที่ในหลวงของเรา ได้รับการถวายรางวัล "ผู้นำระดับโลก"

พระราชกรณีย์กิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติด้วยพระวิริยะอุตสาหะ “เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” มาตลอดที่ทรงครองสิริราชสมบัติ นานาชาติทั่วโลกได้ยกย่องสรรเสริญพระเกียรติคุณมาตลอดเวลา โดยมีสถาบัน องค์การ หน่วยงาน ต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลแด่พระองค์มากมายดังที่เราจะได้ทราบข่าวกันทั่วไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นอัจฉริยะบุคคลตัวอย่างในการคิดดีทำดี และประพฤติปฏิบัติตนตามครรลองครองธรรมของผู้ซึ่งยึดถือความดี เป็นแสงสว่างส่องนำทางชีวิต พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยะภาพในด้านการประดิษฐ์คิดค้นโดยเฉพาะผลงานในโครงการพระราชดำรัสต่าง ๆ อาทิ เช่น โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา โครงการทฤษฎีใหม่ ฯลฯ รวมถึงโครงการตามแนวพระราชดำริอีกหลายโครงการ ทั้งหมดล้วนแต่เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวมได้เป็นอย่างดียิ่ง จึงถือเป็นเกียรติประวัติของประเทศชาติและเป็นความภาคภูมิใจที่ทรงคุณค่ายิ่งของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลเป็นผู้นำทรัพย์สินทางปัญญาระดับโลก จากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ wipo (world Intellectual Property Organization) ที่ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (wipo Global Leaders Aword) ซึ่งรางวัลนี้นับเป็นรางวัลแรกของ wipo ที่จัดทำขึ้นและถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้ทรงทราบถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรด้วยพระเนตรพระกรรณ จึงทรงศึกษาหาวิธีการต่าง ๆ มาช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้เกิดโครงการตามแนวพระราชดำริมากมาย กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

เวลานี้วิกฤตเศรษฐกิจได้เกิดขึ้นกับทั่วโลก หากเรานำพระราชดำรัสมายึดถือปฏิบัติตามโดยเฉพาะในเรื่องของการรู้จักปรับตัวให้พร้อมรับ และพร้อมแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจด้วยการจัดสรรชีวิต ให้ดำรงอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนนับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป โดยสมาชิกในครอบครัวร่วมกันตั้งใจ ที่จะใช้ชีวิตอย่างพอเพียงให้ได้ รู้จักคุณค่าของสิ่งของ และทรัพย์สินที่หามาได้ ดำเนินชีวิตด้วยความมานะ อดทน สร้างหลักสร้างฐานให้กับครอบครัว อดทนสู้กับปัญหา รู้จักอดออม รวมถึงการรู้จักใช้ความรู้ ความสามารถที่มี สร้างสรรค์ประโยชน์ และโอกาสต่อตนเอง ครอบครัว ประเทศชาติให้มากที่สุด หากคนไทยทุกคนยึดหลักตามแนวพระราชดำรัส และดำเนินเจริญรอยตามพระยุคลบาทก็จะถึงซึ่งความเจริญก้าวหน้าได้ในอนาคต

คุณสมบัติของผู้นำที่โลกต้องการ

ผู้นำคือผู้ที่มีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นและได้รับการยกย่อง ผู้นำที่ดีและเข้มแข็งยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ผู้นำต้องให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

- ผู้นำต้องวางตัวเสมอต้นเสมอปลายไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

- ต้องสื่อสารความสำคัญของวิสัยทัศน์ให้แก่พนักงานทุกคน

- ให้ความเคารพทุกคนในองค์การเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน

- ให้ความสำคัญและเปิดกว้างต่อความคิดของผู้อื่น

- ต้องโปร่งใส

- พยายามทำให้คนในองค์การยอมรับ

- ช่วยผลักดันและแก้ไขเพื่อให้พนักงานประสบความสำเร็จในงานของเขา

- กระจายอำนาจแก่พนักงานให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของเขา

คุณสมบัติดังกล่าวเป็นคุณสมบัติของผู้นำในองค์การ ผู้นำระดับโลกนอกจากจะมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ควรมีทศพิธราชธรรม สัปปุริสธรรม ๗ และความเป็นคนที่มีอัตตาต่ำจะถือว่าเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของโลก

ขรรค์ชัย เจียมประกอบ รหัสประจำตัว 511307148105

นางสาวขนิษฐา คะสีทอง รหัสนักศึกษา 511307148104

 

พระมหากษัตริย์ของโลก

… King of The World…

ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช๒๔๗๕ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่พระมหากษัตริย์ยอมอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรทั้งปวงปกครองกันเอง ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติตอนหนึ่งความว่า
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ     เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชนราษฎรนับแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยก็มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาตราบจนทุกวันนี้

ในโลกนี้มีเพียง 29 ประเทศเท่านั้นที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คำว่า “พระ”  หมายถึง     ผู้ประเสริฐ...ผู้ยอดเยี่ยม...เป็นผู้มีคุณความดี...อยู่ในตัว... และประกอบคุณความดีต่อผู้อื่น...โดยไม่หวังผลตอบแทน จิตใจเปี่ยมล้นด้วยความรัก...ความปรารถนาดี และความเมตตาเป็นมูลฐาน  คำว่า “มหา” คือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ ส่วนคำว่า “กษัตริย์” นั้น หมายถึง นักรบผู้กล้า พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อรวมความหมายได้ความว่า “พระมหากษัตริย์” คือ พระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่และเป็นผู้ประเสริฐ...ผู้ยอดเยี่ยม...เป็นผู้มีคุณความดี...อยู่ในตัว... และประกอบคุณความดีต่อผู้อื่น...โดยไม่หวังผลตอบแทน จิตใจเปี่ยมล้นด้วยความรัก...ความปรารถนาดี และความเมตตาเป็นมูลฐาน...

จากกระแสโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะสังเกตเห็นได้ว่าแม้ระบบกษัตริย์จะมีมาอย่างช้านานแต่ประเทศไทยก็มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเมตตาที่พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลยเดช มีให้แก่ปวงชนชาวไทย และเป็นบุคคลมีการเรียนรู้ เรียนรับ เรียนปรับ เรียนเปลี่ยน ให้ทันต่อสถานการณ์โลกอันจะเห็นได้จากโครงการพระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจคิดค้นนวัตกรรมใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ให้เอื้อต่อประโยชน์สุขของประชาชน ดังนี้

พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ                           

พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านศิลปะและวัฒนธรรม

พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านการศึกษา

              พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข

พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคมนาคม                                             

พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน

พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านการสิ่งแวดล้อม

              พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านการเกษตร

              พระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการน้ำ

ความหมายของผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่ริเริ่มหรือส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงการกระทำของกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นผู้นำที่สนับสนุนส่งเสริมให้มีการสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่มดำเนินไปด้วยดี (Fiedler,1967)  ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าพระองค์ทรงอัจฉริยะภาพในด้านต่างๆ ซึ่งครอบคลุมคุณสมบัติของผู้นำดังนี้ Best Leader (Honesty, Responsiveness,       Vigilance = Continued Success, Livingness, to learn and relearn, Sense, of adventure, Vision, Altruism) Susan Annunzio.2006 eLEADERSHIP:27-32

จากการที่ไวโป ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในหลวงผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา พระองค์แรกของโลก (WIPO Global Leaders Award)เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ ทรงมีบทบาทในการส่งเสริมการใช้ทรัพย์สิน ทางปัญญา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทของไทย ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นประชาชนคนหนึ่งมีความซาบซึ้งและปลื้ม  ปิติอย่างยิ่งที่พระมหากษัตริย์ไทยเป็นพระองค์เดียวของโลกที่ได้รับรางวัลและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องนี้คือ พระองค์เป็นบุคคลเรียนรู้ตลอดเวลา มีความมุ่งมั่น วิริยะ อุตสาหะ ซึ่งในสิ่งที่พระองค์ได้ทำนั้นเชื่อได้ว่าเป็นผู้นำที่โลกต้องการ สามารถทำงานได้ทุกอย่างด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่น เป็นผู้ริเริ่มก่อน จะให้เห็นภาพชัดได้ดังนี้

พระองค์ท่านเริ่มจาก....

 

คิด ---> ทำ---> ความรู้ ---> ชุดความรู้ ---> พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ---> คิดใหม่     

       หากมีกระบวนการจัดการความรู้แล้ว ความรู้นั้นจะสามารถถ่ายทอดและนำไปใช้ได้เมื่อนำไปใช้แล้วผลเป็นอย่างไรก็สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องจนตกผลึกเกิดเป็นความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมหากเปรียบเทียบกับยุคนี้แล้วเป็นยุคสังคมแห่งการเรียนรู้พระองค์ท่านจึงได้รับรางวัลนี้เพราะยุคนี้ยกย่องชมเชยผู้ที่มีความรู้และสามารถให้ผู้อื่นทำตามได้จึงเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบ ดังคำกล่าวที่ว่า แค่ผีเสื้อกระพือปีกก็สะเทือนถึงดวงดาว หลายๆ สิ่งที่เราทำไว้ในวันนี้อาจจะยังไม่เห็นผลแต่ถ้าเราสั่งสมไว้เป็นทุนก็จะปรากฏขึ้นอย่างแน่นอน ขอเพียงแต่วันนี้ดำเนินชีวิตด้วยความมุ่งมั่นด้วยความเชื่อและศรัทธา เชื่อว่าความสำเร็จคงไม่ไกลในชีวิตของข้าพเจ้านี้...ดังนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าจะปฏิบัติต่อจากนี้ไปคือ Change เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองให้เป็นบุคคลที่เป็นผู้นำรับใช้และกล้าเปลี่ยนแปลง สิ่งแรกที่จะเปลี่ยนโดยไม่ต้องเสียสตางค์นั่นคือ “ความคิด” เปลี่ยนความคิดชีวิตก็เปลี่ยน... คุณลักษณะของผู้นำที่โลกต้องการ คือ ผู้ที่กล้าจะเปลี่ยนแปลงโลกและเปลี่ยนแปลงตัวเอง... CHANGE WE NEED…

        ขอพรทุกสิ่งในโลกนี้จงบังเกิดแด่ผู้ที่ให้แสงสว่างชี้นำชีวิตให้แก่ข้าพเจ้าได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน  ครอบครัวคะสีทอง คณะครูอาจารย์  ครูสุรพงษ์ พรมเท้า  ผู้ที่ชี้นำชีวิตบนโลกกว้างนี้ และพี่น้องผองเพื่อนทั้งหลายบนโลกใบนี้ จึงขอฝากบทเพลงนี้ไว้เป็นพลังให้กับผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกท่าน

ชีวิตกับความหวัง
วสันต์ โชติกุล
เราเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง เราอาจจะอยู่ดูโลกได้ไม่นานนัก
ทุกคนที่มีชีวิตผ่านมาในอดีต ย่อมพบกับความสุข ความทุกข์
ความสมหวัง และ ความผิดหวัง ในชีวิต
ความผิดหวัง ในชีวิตที่ผ่านมาขอให้มันผ่านไป
เรามาเริ่มความหวังในชีวิต กันใหม่ดีกว่า
เราได้เกิดมาหนึ่งหน
เราผจญเพื่อความหวัง ทุกข์ประดังเมื่อความหวังพังทลาย
ลืมอดีตที่ขื่นขม ทุกข์ระทมให้ลืมหาย
เหมือนนิยายผ่านฝันร้ายที่อับเฉา
แม้บางวันฝันชื่น หรือบางคืนฝันเศร้า
ยิ้มระรื่นโลมเล้าคลายเศร้าใจ
ยังไม่สิ้นแห่งความหวัง
ชีวิตยังสดแจ่มใส ทุกข์ทำไมสู้ต่อไป ในโลกเอย
แม้บางวันฝันชื่นหรือบางคืนฝันเศร้ายิ้มระรื่นโลมเล้าคลายเศร้าใจ
ยังไม่สิ้นแห่งความหวัง
ชีวิตยังสดแจ่มใส ทุกข์ทำไมสู้ต่อไป ในโลกเอย
ทุกข์ทำไมสู้ต่อไป ในโลกเอย

 

เอกสารอ้างอิง

สำนักราชเลขาธิการhttp://www.ohmpps.go.th

สรรพศิลศาสตราธิราช http://www.web.ku.ac.th/king72/king72_01.html

เอกสารประกอบการสอน เรื่องภาวะผู้นำการจัดการความขัดแย้ง ดร.ยม นาคสุข

เก็บภาพรางวัลที่สุดยอดของโลกมาฝากอาจารย์และเพื่อนๆ ค่ะ

กังหันชัยพัฒนา

ชมใกล้ๆอีกครั้ง

และแล้วก็สามารถลงรูปได้แล้วค่ะ ขอบคุณการเรียนรู้ที่ไม่หยุดยั้ง ยอมรับค่ะว่าทุกคนสามารถทำได้..ขอบคุณดร.ยม ค่ะ

อนุชา สัมมะจารินทร์

บทความ ประทับใจในหลวงของแผ่นดิน

ในประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้นประชาชนชาวไทยได้เสียสละชีวิตร่วมมือกันฟันฝ่าอุปสรรค ช่วยกันพัฒนาสร้างบ้านเมืองมาโดยลำดับ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ได้ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ทุ่มเทให้แก่แผ่นดิน ช่วยสร้างความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงสถาพรให้ชาติไทยได้มีเอกราชสืบต่อมาจนทุกวันนี้ ประเทศไทยปกครองโดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เรียกการปกครองว่า “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตสมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุข และทรงปกครองในลักษณะ "พ่อปกครองลูก"

ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดย “ระบบประชาธิปไตย” โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา มีพระราชภารกิจเรื่องการศึกษา ครั้งนั้นได้มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ว่าทรงอยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า “ถ้าประชาชนไม่ ทิ้ง ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ ละทิ้ง อย่างไรได้” ทรงเปลี่ยนจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาทรงศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นพระประมุขของประเทศ

ในหลวงของเราทรงเป็นผู้นำในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ

เหตุผลที่คนไทยรักในหลวงนั้นมีมากมายเกินกว่าจะบรรยาย แต่ถ้าจะให้พูดสั้นก็น่าจะเป็นเพราะพระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้ "ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก" และทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดยากที่จะหาบุคคลใดเทียบได้ โดยเฉพาะทรงมีทศพิธราชธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ ดังพระราชดำรัสที่ทรงตรัสว่า "เราจะครองแผ่นโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแด่มหาชนชาวสยาม" ขอยกตัวอย่างเรื่อง "ดอกไม้จากหัวใจ" ซึ่งประทับใจผู้เขียนมาก ภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ แม่ตุ้ม จันท์นิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรา ยังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความ จงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอย่างอ่อนโยน เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่ตุ้ม

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังทรงเป็นผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดย พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ Dr.Framcos Gurry ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization - WIPO) และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ WIPO Global Leader Award เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ในฐานะที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำโดยแท้จริง กล่าวคือ ผู้นำในทัศนะของพระธรรมปิฏก

"ผู้นำ คือ บุคคลที่จะมาประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมตัวกัน โดยที่ว่าจะเป็นการอยู่รวมกันก็ตาม หรือทำการร่วมกันก็ตาม ให้พากันไปด้วยดี (โดยสวัสดิภาพ) สู่จุดหมายที่ดีงาม (โดยถูกต้องตามธรรม)" ตรงกับที่ ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง (2535:266) ได้สรุปเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง

(1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ

(2) เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ

(3) ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

ผู้เขียนเองมีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งคนไทยทั้งหลายเรียกว่า ”พ่อหลวงของแผ่นดิน” พระองค์ทรงดูแลลูกๆของแผ่นดินด้วย ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการ ดังนี้ ทาน(ทานํ) , ศีล (ศีลํ) , บริจาค (ปริจาคํ) , ความซื่อตรง (อาชชวํ) , ความอ่อนโยน (มัททวํ) , ความเพียร (ตปํ) , ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) , ความไม่เบียดเบียน(อวีหึสา) , ความอดทน (ขันติ) และความยุติธรรม (อวิโรธนํ) แท้ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเป็นผู้นำยุคใหม่ โดยทรง สร้างปณิธานให้แก่ผู้ตามอาศัยเจตจำนงที่เสรี , ทรงแผ่ความรักความปรารถนาดี และพูดแทนพระองค์ว่า “เรา” แสดงให้รู้ว่าอะไรผิด และควรทำอย่างไร เช่นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พระองค์รู้ว่า จะต้องแนะนำให้เข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง และท้ายที่สุดพระองค์ทรงบริหารความเคารพ สร้างความศรัทธาไม่ใช่บังคับ ทำให้ผู้เขียนเห็นแนวโน้มว่าประชาชนชาวไทยจักต้องรอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ ได้พบกับความสุขตามปณิธานของพระองค์ท่าน และประเทศไทยควรที่เป็นต้นแบบความสุขของสังคมโลก สมดังกับที่พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

อนุชา สัมมะจารินทร์ มกราคม 2552

นโยบาย สาธารณะ

นางสาววาสนา ทองใบ

รปม.1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ความประทับใจต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ได้รับรางวัล ผู้นำโลกด้าน “ทรัพย์ทรัพย์สิน ทางปัญญา”

“ บุญของแผ่นดินไทย พ่อหลวง บันดาลให้ ที่ในยุ้งฉางมีข้าว

น้ำรินดินดีใครเล่า ทุกข์ใดเหินไปบรรเทา ด้วยพระบาท

เกือบศตวรรษ ธ นำไทยทั้งชาติ พ้นภัย

แผ่นดินถิ่นเมืองทอง ผ่านพ้นโพยภัยเนืองนอง พระทรงคุ้มครองไทยไว้

ธ เป็นพลังแผ่นดิน สมานพลังชีวินของชนชาวไทย

อุ่นใจไพร่ฟ้า พระบุญญาเกริกไกร ภูมิพลมหาราชา”

ข้อความตอนหนึ่งของบทเพลง

ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา

จากบทเพลง ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา คงสะท้อนถึงความโชคดีของคนไทยทั่วทั้งแผ่นดิน ที่มีพระมหากษัตริย์ ผู้นำนักปกครองนักพัฒนา ทรงปกครองบ้านเมือง โดยยึดหลักธรรม ทรงปกครองพสกนิกร และห่วงใยพสกนิกรของท่าน ดังความรักของพ่อที่มีต่อลูก เปรียบเสมือนความรักที่มีแต่การให้ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี และความร่วมเย็น เป็นสุขของประชาชนไทย

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จ ขึ้นครองราชย์ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส แสดงถึงพระราชปณิธาน ในการบริหารบ้านเมืองกล่าวคือ “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม” ตลอดระยะเวลามากกว่า 60 ปี พสกนิกรไทย ต่างซาบซึ้งในน้ำพระราชหฤทัย และการทรงงานหนักของพระองค์ พระราชกรณียกิจต่างๆเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวโลก

ด้วยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในทุกๆด้าน ด้วยการเป็นผู้นำที่ไฝ่รู้ และพัฒนา ทำให้พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยะภาพหลากหลายที่ปรากฏ ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านการสื่อสารคมนาคม ด้านการศาสนา

นอกจากนี้พระอัจฉริยภาพที่หลากหลายพระองค์ใช้หลักธรรมในการปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงบำเพ็ญตนอยู่ในราชธรรมจริยา ได้แก่ ทศพิศราชธรรม 10 ประการ ได้แก่ 1.ทานัง คือการให้ 2. ศิล คือ การมีความประพฤติดีงาม เป็นที่เครารพนับถือของประชาชน 3. บริจาคะ คือ การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและบ้านเมือง 4. อาชวะ คือการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ซื่อตรง 5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ไม่มัวเมาอำนาจ 6. ตปะ ได้แก่ การบำเพ็ญความเพียร เพื่อกำจัดความเกียจคร้าน 7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8. อหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หน่วยงานและครอบครัวตนเอง 9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทน อดกลั้นต่อความโลภ แรงกดดันต่างๆ 10. อวิโรธนะความโปร่งใส การทำงานโปร่งใส ตรงไป ตรงมา

ภาวะผู้นำด้านการบริหาร จัดการ พระองค์ยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้หลัก ความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา ดั่งเช่น โครงการในพระราชดำริต่างๆ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหลักคิด ความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ใฝ่เรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม

ภาวะผู้นำทางด้านความคิดและปัญญา พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อการพัฒนาชนบทให้มีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม สิ่งประดิษฐ์มากกว่า 20 รายการ เครื่องหมายการค้า 19 รายการ ทรงเป็นศิลปิน ที่มีผลงานมากกว่า 1000 รายการ อาทิ เพลงราชนิพนธ์ ภาพถ่ายพระหัตถ์ และจิตรกรรม

ผลงานของพระองค์ท่านมีความโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization –WIPO) ซึ่งเป็นทบวงการชำนาญพิเศษ องค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ จึงได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย รางวัลผู้นำโลก ด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ WIPO Global Leader Award ซึ่งเป็นความริเริ่มขององค์กร ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน

รางวัลผู้นำระดับโลกที่พระองค์ได้รับการถวาย เป็นการยืนยันถึงภาวะผู้นำในระดับโลก ของพระองค์ท่าน ซึ่งจะเป็นแนวทางที่เกิดประโยชน์ต่อ ผู้คนทั่วโลกที่จะก้าวข้าม “ยุคโลกาภิวัตน์” ที่ส่งผลให้ผู้คนในโลกเกิดความขัดแย้ง ทั้งในระดับบุคคล ชุมชนและสังคมโลกยุคผู้คนมีจุดอ่านในด้านความคิดและสติปัญญา ทำให้สังคมโลกขาดสันติภาพ และความมั่นคง เพื่อก้าวไปสู่ยุคปัญญาภิวัฒน์”

หากพิจารณา ถึงภาวะผู้นำที่โลกต้องการในยุคนี้ สอดคล้องกับแนวคิดและการปฏิบัติตนของพระองค์ท่าน ทรงเป็นนักปกครอง โดยยึดหลักธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำนวัตตกรรมทางความคิด และปัญญา ผู้นำการบริหารจัดการความขัดแย้ง โดยยึดหลักการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งสอดคล้องกับภาวะผู้นำที่โลกต้องการ ตามแนวคิดของ ปีเตอร์ เซงกี้ (Peter Senge) ในการลดความขัดแย้งและการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) แนวคิดการเป็นองค์การที่มีคุณภาพ ของ ศ.ดร บุญทัน ตามแนวคิดทฤษฎี KSM Model คือ ความรู้ (Knowledge) มีทักษะความชำนาญ (Skill) และ การบริหารจัดการ (Management)

ดังนั้น ภาวะผู้นำที่โลกต้องการ และสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ และการปฏิบัติของพระองค์ คือ

1. สามารถต่อกรกับ ความไม่แน่นอนขององค์กรของตน

2. แสวงหา รักษา พัฒนา “คน” ให้มีทุนมนุษย์มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

3. สร้างนวัตกรรม แนวคิดใหม่ ของการงานของตนอยู่เสมอ

4. ดำเนินด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ให้ผลดี

5. แสวงหา รักษาความสัมพันธ์ที่ดี กับทุกฝ่าย

6. สร้างคุณค่า เพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย กับกิจการงานขององค์กร

โดยสรุป ภาวะผู้นำที่โลกต้องการ โดยใช้แนวพระราชดำริ คือ ผู้นำสามารถเสริมสร้าง

ศักยภาพ ของคนในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความเพียรในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพขององค์กรชุมชน สังคมโลก สู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ในวโรกาส พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ผู้นำระดับโลก ข้าพเจ้ารู้สึก ประทับใจ ซาบซึ้งใจ ภาคภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนไทย บนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ท่าน และขอน้อมนำ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ความเพียรพยายามในการพัฒนาตนเองให้เกิดภาวะผู้นำ ในการทำงานหรือกิจการใดๆ ยามใดที่มีความทุกข์ยากหรือท้อแท้ เมื่อได้คำนึงถึงแนวพระราชดำริ พระบรมฉายาลักษณ์ ที่ทรงงานหนัก ไม่เหน็ดเหนื่อย ท้อแท้ ทำให้คลายความทุกข์ ความท้อแท้ได้อย่างหมดสิ้น สุดท้ายนี้ จึงขอเชิญชวนชาวไทย ได้มีความรัก ความสามัคคี พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม เพื่อสร้าง ความสุข สงบ สันติภาพให้เกิดขึ้นกับ สังคมไทย และสังคมโลกต่อไป

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

นางสาววาสนา ทองใบ

นายสุรพงษ์ พรมเท้า

 

กษัตริย์ยอดผู้นำระดับโลก

โดย สุรพงษ์  พรมเท้า. 511307148135

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

**************************************************************

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๖๐ ปี พระองค์ทรงยึดหลักธรรมะเป็นแนวทางและทรงงานเพื่อประโยชน์สุข

ของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา ส่งผลให้การพัฒนาประเทศเกิดความมั่นคงและยั่งยืน

 ด้วยพระราชปณิธานที่จะทรงเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทยทั้งมวล โดยไม่แบ่งแยกสถานะศาสนา ชาติพันธุ์ หรือหมู่เหล่า และทรงถือว่า ทุกข์ของพสกนิกรคือทุกข์ของพระองค์

 ดังจะเห็นได้ว่าพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัตินั้น แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ

ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทั้งแผ่นดินให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งสิ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำและมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหา

ความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกรทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ ทรงเข้าไปช่วยเหลือราษฎร

ในด้านต่างๆ ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

 และทรงหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างแยบยล ด้วยทรงตระหนักดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม

โดยพื้นฐาน ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท

 ดังนั้น เพื่อที่จะช่วยให้ประชาชนมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนและศึกษาความเป็นอยู่ของพสกนิกรในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

ในปัญหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

 นำไปสู่การพระราชทานแนวพระราชดำริที่รู้จักกันดีภายใต้ชื่อเศรษฐกิจพอเพียง

         บทความนี้ผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ 10 วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายนวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2550 ผู้เขียนมีความภาคภูมิใจซาบซึ้งใจในแนวคิดและการปฏิบัติของพระองค์ท่าน ความรู้สึกเช่นนี้คงไม่ต่างจากพสกนิกรชาวไทยทุกคนเพราะสิ่งที่พระองค์ท่านได้ทรงปฏิบัตินั้นก็เพื่อความสุขของราษฎรที่พระองค์ท่านดูแลเอาใจใส่เสมือนเป็นลูกเป็นหลาน และสิ่งที่พระองค์ท่านปฏิบัตินั้นมิใช่ทรงปฏิบัติเพียงแค่วันใดวันหนึ่งเท่านั้นแต่ได้ทรงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวันมิเคยว่างเว้นแม้แต่วันเดียวตลอดระยะเวลา 60 กว่าปีจนบ้างครั้งเราเองยังรู้สึกว่าพระองค์ท่านยังมีพระชันษาไม่มากนัก ทั้งที่ขณะนี้พระองค์ท่านมี พระชันษากว่า 80 ชันษาแล้วไม่มีแห่งใดในประเทศไทยที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินดูแลสาระทุกข์ สุขดิบเพื่อบำบัดทุกข์บำรงสุขให้ราษฎรดั่งพระปฐมพระบรมราชโองการที่ว่า  “เราจะครองแผ่นดิน....โดยธรรม..... เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”

รางวัลผู้นำระดับโลกที่พระองค์ท่านได้รับการถวายในฐานะผู้นำที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยหลักการปกครองที่ดีจนสามารถลดความขัดแย้งนำพาประเทศผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆอย่างมากมายนั้นเป็นการการันตีแนวคิดการปฏิบัติของพระองค์ท่านผู้เขียนมีประทับใจและภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยที่อยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิ์สมภารของพระองค์ท่านจึงได้สรุปและน้อมนำเอาแนวความคิดมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตปฏิบัติตนตามลอยพระยุคลบาทคือ

1.               การพัฒนาที่เอาคนเป็นตัวตั้ง ยึดหลักประโยชน์สุขของประชาชนและการมีส่วนร่วม  ตัดสินใจของประชาชน โดยในการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ ทรงยึดหลักประชาชนทุกคนต้องได้รับประโยชน์จากโครงการและคนส่วนใหญ่ต้องเสียสละดูแลช่วยเหลือคนส่วนน้อย ยึดหลักคุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุนหรือขาดทุนคือกำไร คือ เน้นการให้และการเสียสละเพื่อผลแห่งความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และต้องให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงการตั้งแต่ตอนก่อนเริ่มต้นโครงการ แล้วจึงให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกันต่อไป

2.               ยึดหลัก ภูมิสังคม ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ว่าการพัฒนาตามแนว 

พระราชดำริจะเน้นกระบวนการศึกษาและวางแผนที่สอดคล้องกับ ภูมิสังคม หรือลักษณะภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สภาพธรรมชาติแวดล้อมรอบๆตัวคน คำนึงถึงการดำเนินวิถีชีวิตของคนในสังคมที่จะเข้าไปพัฒนา ตามลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อและศาสนา ประเพณีที่ต่างกันนอกจากนี้ ยังทรงให้ความสำคัญกับการใช้หลักวิชาในการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ และพัฒนาคน โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจของคนในพื้นที่ต่อหลักการและประโยชน์จากการพัฒนา ก่อนส่งเสริมให้ข้าราชการทุกคนยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา คือ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสภาพภูมิสังคมของคนในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีปัญหาเช่นไรและมีความต้องการอะไร ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การวางแผนและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริช่วยแก้ปัญหาและตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่มากที่สุด

3.               การพัฒนานั้นต้องเริ่มต้นจาก การพึ่งตนเอง ให้ได้ก่อน รู้จักประมาณตนรู้ศักยภาพของตน และดำเนินการด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และทำตามลำดับขั้น สร้างพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชนและครอบครัวให้พอมี พอกิน พอใช้ก่อน โดยวิธีการที่ประหยัดและถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งและเป็นอิสระแล้ว จึงค่อยพัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยน การรวมกลุ่มพึ่งพากันและร่วมกันพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้แล้วจึงขยายเครือข่ายเชื่อมสู่สังคมภายนอก ดังที่ทรงใช้คำว่า ระเบิดจากข้างในจากหลักการทรงงานข้างต้น จะเห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยทรงให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกในศีลธรรมแก่ประชาชน ให้รู้จักประมาณตน ไม่โลภ เสียสละมีคุณธรรมและความเพียรและซื่อสัตย์สุจริตอยู่เสมอ

 ดังนั้นจึงสามารถสรุปภาวะผู้นำที่โลกต้องการโดยใช้แนวพระราชดำริคือการเสริมสร้างศักยภาพของคนในทุกมิติ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่สำนึกในคุณธรรม มีความเพียรและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต อัน

จะเป็นการขยายโอกาสและทางเลือกให้แก่ประชาชนในการดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมั่นคง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนตามไปด้วยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้ของปีเตอร์ เซ็งเก้

               เมื่อครั้งเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจนั้นจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดเพราะมองหาทางออกไม่พบจนคิดที่จะฆ่าตัวตายแต่พอได้ศึกษาปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านด้วยหลักที่ว่า “ถ้าเรารู้จักคำว่าพอเพียง เราก็จะเพียงพอ” ข้าพเจ้าได้ค้นพบทางออกของชีวิตด้วยการน้อมนำเอากระแสพระราชดำรัสของพระองค์ท่านมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตดำเนินกิจกรรมจนถึงปัจจุบันและด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณผู้เขียนได้นำหลักการเหล่านั้นมาเผยแพร่ถ่ายทอดสิ่งที่ผู้เขียนปฏิบัติจนประสบความสำเร็จต่อสังคมเพื่อช่วยดูแลราษฎรที่ลูกหลานของพระองค์เพื่อมิให้พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนี่อยพระวรกายเพราะอย่างน้อยก็เป็นการแบ่งเบาภาระของพระองค์ท่านยิ่งตอนที่ทราบว่าพระองค์ท่านทรงพระประชวรบ่อยครั้งที่ผู้เขียนน้ำตาไหลด้วยความห่วงใยและยิ่งสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขนาดพระองค์ท่านทรงพระประชวรก็ยังทรงงานไม่เคยหยุดทำให้เรายิ่งต้องทำงานให้หนักขึ้นเมื่อยามที่เหนี่อยและท้อแท้ที่เกิดจากการทำงานพอมองเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านความเหนี่อยยากนั้นก็หายไปแล้วลุกขึ้นมาลุยต่อเคยมีคนเคยถามเช่นกันว่าทำไปทำไมทำแล้วได้อะไรเมื่อไหร่จะหยุด ผู้เขียนไม่พูดอะไรเพียงแต่ชี้ให้ดูในหลวงของเราคนที่ถามเขาก็จะเข้าใจได้โดยไม่ต้องอธิบายเพราะเราไม่เคยเห็นพระองค์ทรงเหนี่อยและท้อแท้ต่อการปฎิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนแล้วเราจะเหนี่อยได้อย่างไร

          สุดท้ายนี้ผู้เขียนของนำเอาพระราชดำรัส ของพระองค์ที่ทรงได้มีพระราชดำรัส  เนื่องในโอกาสวันขึ้น

ปีใหม่ 2546 พระราชทานไว้เมื่อวันที่31 ธันวาคม 2545 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ ว่า

“...ข้าพเจ้าปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นชาวไทยมีความสุขถ้วนหน้ากัน ด้วยการให้

คือให้ความรัก ความเมตตากัน ให้น้ำใจไมตรีกัน ให้อภัย ไม่ถือโทษ โกรธเคืองกัน ให้การสงเคราะห์

อนุเคราะห์กัน โดยมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน ด้วยความบริสุทธิ์ และจริงใจ...”

นั้นคือน้ำพระทัยของพระองค์... พระมหากษัตริย์ของปวงชนชาวไทย.....กษัตริย์ยอดผู้นำระดับโลก

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน...ด้วยกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า นายสุรพงษ์  พรมเท้า และครอบครัว

 

*********************************************************

-เอกสารอ้างอิง

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ 10

              วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายนวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2550

อำพน  กิตติอำพน.(2550).พระมหากรุณาธิคุณด้านสังคม : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย.

              สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

 

 

อนุชา สัมมะจารินทร์

บทความ ประทับใจในหลวงของแผ่นดิน

ในประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้นประชาชนชาวไทยได้เสียสละชีวิตร่วมมือกันฟันฝ่าอุปสรรค ช่วยกันพัฒนาสร้างบ้านเมืองมาโดยลำดับ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ได้ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ทุ่มเทให้แก่แผ่นดิน ช่วยสร้างความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงสถาพรให้ชาติไทยได้มีเอกราชสืบต่อมาจนทุกวันนี้ ประเทศไทยปกครองโดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เรียกการปกครองว่า “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้ปกครองในระบบประชาธิปไตยจนถึงปัจจุบัน พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตสมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุข และทรงปกครองในลักษณะ "พ่อปกครองลูก"

ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดย “ระบบประชาธิปไตย” โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา มีพระราชภารกิจเรื่องการศึกษา ครั้งนั้นได้มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ว่าทรงอยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า “ถ้าประชาชนไม่ ทิ้ง ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ ละทิ้ง อย่างไรได้” ทรงเปลี่ยนจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาทรงศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นพระประมุขของประเทศ

ในหลวงของเราทรงเป็นผู้นำในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ

เหตุผลที่คนไทยรักในหลวงนั้นมีมากมายเกินกว่าจะบรรยาย แต่ถ้าจะให้พูดสั้นก็น่าจะเป็นเพราะพระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้ "ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก" และทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดยากที่จะหาบุคคลใดเทียบได้ โดยเฉพาะทรงมีทศพิธราชธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ ดังพระราชดำรัสที่ทรงตรัสว่า "เราจะครองแผ่นโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแด่มหาชนชาวสยาม" ขอยกตัวอย่างเรื่อง "ดอกไม้จากหัวใจ" ซึ่งประทับใจผู้เขียนมาก ภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศ ภาพที่พูดได้มากกว่าคำพูดหนึ่งล้านคำ แม่ตุ้ม จันท์นิตย์ วัย 102 ปี ไปรอรับเสด็จ เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนสาย เที่ยงจนบ่าย แผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจรักภักดีของหญิงชรา ยังเบิกบาน เมื่อเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจบเหนือศีรษะแสดงความ จงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง พระเจ้าแผ่นดินทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุด จนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า ทรงแย้มพระสรวลอย่างเอ็นดู พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชราชาวอีสานอย่างอ่อนโยน เป็นคำบรรยายเหมือนไม่จำเป็น สำหรับภาพที่ไม่จำเป็นต้องบรรยาย ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับแม่ตุ้ม

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ยังทรงเป็นผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดย พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ Dr.Framcos Gurry ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization - WIPO) และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ WIPO Global Leader Award เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ในฐานะที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำโดยแท้จริง กล่าวคือ ผู้นำในทัศนะของพระธรรมปิฏก

"ผู้นำ คือ บุคคลที่จะมาประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมตัวกัน โดยที่ว่าจะเป็นการอยู่รวมกันก็ตาม หรือทำการร่วมกันก็ตาม ให้พากันไปด้วยดี (โดยสวัสดิภาพ) สู่จุดหมายที่ดีงาม (โดยถูกต้องตามธรรม)" ตรงกับที่ ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง (2535:266) ได้สรุปเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง

(1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ

(2) เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ

(3) ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

ผู้เขียนเองมีความภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และมีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งคนไทยทั้งหลายเรียกว่า ”พ่อหลวงของแผ่นดิน” พระองค์ทรงดูแลลูกๆของแผ่นดินด้วย ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการ ดังนี้ ทาน(ทานํ) , ศีล (ศีลํ) , บริจาค (ปริจาคํ) , ความซื่อตรง (อาชชวํ) , ความอ่อนโยน (มัททวํ) , ความเพียร (ตปํ) , ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) , ความไม่เบียดเบียน(อวีหึสา) , ความอดทน (ขันติ) และความยุติธรรม (อวิโรธนํ) แท้ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเป็นผู้นำยุคใหม่ โดยทรง สร้างปณิธานให้แก่ผู้ตามอาศัยเจตจำนงที่เสรี , ทรงแผ่ความรักความปรารถนาดี และพูดแทนพระองค์ว่า “เรา” แสดงให้รู้ว่าอะไรผิด และควรทำอย่างไร เช่นปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พระองค์รู้ว่า จะต้องแนะนำให้เข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียง และท้ายที่สุดพระองค์ทรงบริหารความเคารพ สร้างความศรัทธาไม่ใช่บังคับ ทำให้ผู้เขียนเห็นแนวโน้มว่าประชาชนชาวไทยจักต้องรอดพ้นจากวิกฤตต่างๆ ได้พบกับความสุขตามปณิธานของพระองค์ท่าน และประเทศไทยควรที่เป็นต้นแบบความสุขของสังคมโลก สมดังกับที่พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

อนุชา สัมมะจารินทร์ มกราคม 2552

นโยบาย สาธารณะ

นางสาววาสนา ทองใบ

รปม.1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ความประทับใจต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ได้รับรางวัล ผู้นำโลกด้าน “ทรัพย์ทรัพย์สิน ทางปัญญา”

 

“ บุญของแผ่นดินไทย พ่อหลวง บันดาลให้ ที่ในยุ้งฉางมีข้าว

น้ำรินดินดีใครเล่า ทุกข์ใดเหินไปบรรเทา ด้วยพระบาท

เกือบศตวรรษ ธ นำไทยทั้งชาติ พ้นภัย

แผ่นดินถิ่นเมืองทอง ผ่านพ้นโพยภัยเนืองนอง พระทรงคุ้มครองไทยไว้

ธ เป็นพลังแผ่นดิน สมานพลังชีวินของชนชาวไทย

อุ่นใจไพร่ฟ้า พระบุญญาเกริกไกร ภูมิพลมหาราชา”

ข้อความตอนหนึ่งของบทเพลง

ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา

จากบทเพลง ภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา คงสะท้อนถึงความโชคดีของคนไทยทั่วทั้งแผ่นดิน ที่มีพระมหากษัตริย์ ผู้นำนักปกครองนักพัฒนา ทรงปกครองบ้านเมือง โดยยึดหลักธรรม ทรงปกครองพสกนิกร และห่วงใยพสกนิกรของท่าน ดังความรักของพ่อที่มีต่อลูก เปรียบเสมือนความรักที่มีแต่การให้ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี และความร่วมเย็น เป็นสุขของประชาชนไทย

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จ ขึ้นครองราชย์ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส แสดงถึงพระราชปณิธาน ในการบริหารบ้านเมืองกล่าวคือ “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม” ตลอดระยะเวลามากกว่า 60 ปี พสกนิกรไทย ต่างซาบซึ้งในน้ำพระราชหฤทัย และการทรงงานหนักของพระองค์ พระราชกรณียกิจต่างๆเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนชาวไทยและชาวโลก

ด้วยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในทุกๆด้าน ด้วยการเป็นผู้นำที่ไฝ่รู้ และพัฒนา ทำให้พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยะภาพหลากหลายที่ปรากฏ ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านการสื่อสารคมนาคม ด้านการศาสนา

นอกจากนี้พระอัจฉริยภาพที่หลากหลายพระองค์ใช้หลักธรรมในการปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงบำเพ็ญตนอยู่ในราชธรรมจริยา ได้แก่ ทศพิศราชธรรม 10 ประการ ได้แก่ 1.ทานัง คือการให้ 2. ศิล คือ การมีความประพฤติดีงาม เป็นที่เครารพนับถือของประชาชน 3. บริจาคะ คือ การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและบ้านเมือง 4. อาชวะ คือการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ซื่อตรง 5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ไม่มัวเมาอำนาจ 6. ตปะ ได้แก่ การบำเพ็ญความเพียร เพื่อกำจัดความเกียจคร้าน 7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8. อหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หน่วยงานและครอบครัวตนเอง 9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทน อดกลั้นต่อความโลภ แรงกดดันต่างๆ 10. อวิโรธนะความโปร่งใส การทำงานโปร่งใส ตรงไป ตรงมา

ภาวะผู้นำด้านการบริหาร จัดการ พระองค์ยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้หลัก ความเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา ดั่งเช่น โครงการในพระราชดำริต่างๆ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหลักคิด ความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ใฝ่เรียนรู้ ควบคู่คุณธรรม

ภาวะผู้นำทางด้านความคิดและปัญญา พระองค์ทรงเป็นนักประดิษฐ์ คิดค้น เพื่อการพัฒนาชนบทให้มีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม สิ่งประดิษฐ์มากกว่า 20 รายการ เครื่องหมายการค้า 19 รายการ ทรงเป็นศิลปิน ที่มีผลงานมากกว่า 1000 รายการ อาทิ เพลงราชนิพนธ์ ภาพถ่ายพระหัตถ์ และจิตรกรรม

ผลงานของพระองค์ท่านมีความโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization –WIPO) ซึ่งเป็นทบวงการชำนาญพิเศษ องค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ จึงได้เข้าเฝ้าเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย รางวัลผู้นำโลก ด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ WIPO Global Leader Award ซึ่งเป็นความริเริ่มขององค์กร ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน

รางวัลผู้นำระดับโลกที่พระองค์ได้รับการถวาย เป็นการยืนยันถึงภาวะผู้นำในระดับโลก ของพระองค์ท่าน ซึ่งจะเป็นแนวทางที่เกิดประโยชน์ต่อ ผู้คนทั่วโลกที่จะก้าวข้าม “ยุคโลกาภิวัตน์” ที่ส่งผลให้ผู้คนในโลกเกิดความขัดแย้ง ทั้งในระดับบุคคล ชุมชนและสังคมโลกยุคผู้คนมีจุดอ่านในด้านความคิดและสติปัญญา ทำให้สังคมโลกขาดสันติภาพ และความมั่นคง เพื่อก้าวไปสู่ยุคปัญญาภิวัฒน์”

หากพิจารณา ถึงภาวะผู้นำที่โลกต้องการในยุคนี้ สอดคล้องกับแนวคิดและการปฏิบัติตนของพระองค์ท่าน ทรงเป็นนักปกครอง โดยยึดหลักธรรมในการปกครอง ภาวะผู้นำนวัตตกรรมทางความคิด และปัญญา ผู้นำการบริหารจัดการความขัดแย้ง โดยยึดหลักการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งสอดคล้องกับภาวะผู้นำที่โลกต้องการ ตามแนวคิดของ ปีเตอร์ เซงกี้ (Peter Senge) ในการลดความขัดแย้งและการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) แนวคิดการเป็นองค์การที่มีคุณภาพ ของ ศ.ดร บุญทัน ตามแนวคิดทฤษฎี KSM Model คือ ความรู้ (Knowledge) มีทักษะความชำนาญ (Skill) และ การบริหารจัดการ (Management)

ดังนั้น ภาวะผู้นำที่โลกต้องการ และสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ และการปฏิบัติของพระองค์ คือ

1. สามารถต่อกรกับ ความไม่แน่นอนขององค์กรของตน

2. แสวงหา รักษา พัฒนา “คน” ให้มีทุนมนุษย์มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

3. สร้างนวัตกรรม แนวคิดใหม่ ของการงานของตนอยู่เสมอ

4. ดำเนินด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ให้ผลดี

5. แสวงหา รักษาความสัมพันธ์ที่ดี กับทุกฝ่าย

6. สร้างคุณค่า เพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย กับกิจการงานขององค์กร

โดยสรุป ภาวะผู้นำที่โลกต้องการ โดยใช้แนวพระราชดำริ คือ ผู้นำสามารถเสริมสร้าง

ศักยภาพ ของคนในทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความเพียรในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพขององค์กรชุมชน สังคมโลก สู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ในวโรกาส พระองค์ได้รับการถวายรางวัล ผู้นำระดับโลก ข้าพเจ้ารู้สึก ประทับใจ ซาบซึ้งใจ ภาคภูมิใจ ที่ได้เกิดเป็นคนไทย บนผืนแผ่นดินไทย ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ท่าน และขอน้อมนำ แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต ความเพียรพยายามในการพัฒนาตนเองให้เกิดภาวะผู้นำ ในการทำงานหรือกิจการใดๆ ยามใดที่มีความทุกข์ยากหรือท้อแท้ เมื่อได้คำนึงถึงแนวพระราชดำริ พระบรมฉายาลักษณ์ ที่ทรงงานหนัก ไม่เหน็ดเหนื่อย ท้อแท้ ทำให้คลายความทุกข์ ความท้อแท้ได้อย่างหมดสิ้น สุดท้ายนี้ จึงขอเชิญชวนชาวไทย ได้มีความรัก ความสามัคคี พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม เพื่อสร้าง ความสุข สงบ สันติภาพให้เกิดขึ้นกับ สังคมไทย และสังคมโลกต่อไป

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

นางสาววาสนา ทองใบ

พ.ต.ท.สมบัตื บุญปาน

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่พระองค์ท่านได้รับรางวัลเป็นผู้นำโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประมุขปกครองประเทศมาช้านาน ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทุกคน พระองค์ทรงเป็นพระมหาบพิตรที่สถิตในดวงใจของปวงประชา พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ ให้เจริญรอยตามเบื้องยุคคลบาท ร้อยรักดวงใจเพื่อเทิดไท้ องค์ราชัน ที่พระองค์ทรง ฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น เราเป็นไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ก็ด้วยพระบารมีของพ่อหลวง ๓ สถาบันหลักของชาติไทยเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษของเรา ธงชาติมี ๓ สี แต่ละสีมีความหมาย ช่วยไทยรักสามัคคี แม้แต่โจรยังรักในหลวง แล้วเราเป็นใครล่ะจะไม่รักหรือเราคงสิ้นแผ่นดินถิ่นอาศัย หากสิ้นชาติ สิ้นศาสน์ สิ้นกษัตริย์ ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตมาหลายคราด้วยพระบารมีของล้นเกล้า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม

เนื่องในโอกาสองค์การทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO) ทูลเกล้าฯถวายรางวัล โกบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) โดยเหตุผลที่ WIPO ทูลเกล้าฯถวายรางวัลดังกล่าว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตนและใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริม และพัฒนาประเทศชาติ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลกมีมติ ให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย

“ในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้งานและมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์พระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี” สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศและดูดน้ำ การใช้ปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน) ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้จดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิสหรัฐฯ นอกจากนี้ สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ทูลเกล้าฯถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าทรงมีพระอัจฉริยภาพและมีพระวิริยสูงส่ง พระองค์ทรงใช้ธรรมะหรือความดีความถูกต้องในการปกครองโดยทรงยึดถือปฏิบัติในทศพิธราชธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิบัติเท่านั้น พสกนิกรชาวไทยทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติด้วย เพื่อเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งมี 10 ประการ ดังนี้

1. ทาน คือ การให้ ได้แก่ให้ทรัพย์สินสิ่งของ ให้กำลังกาย ให้กำลังใจ ให้กำลังความคิด ให้ปัญญา ความรู้

เป็นการให้โดยไม่หวังผลประโยชน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์พระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติทุกสิ่งล้วนแต่แสดงถึงการเป็นผู้ให้ของพระองค์ จนทำให้ผู้รับ คือ อาณาประชาราษฎร์สามารถพึ่งตนเองได้และมีความสุขความเจริญในชีวิต

2. ศีล คือ ความประพฤติดีงาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งมั่นอยู่ในศีลอันเป็นข้อพึงปฏิบัติโดย

สมบูรณ์ การถือศีล คือ ละเว้นประพฤติชั่ว ทุจริต ไม่ฆ่า ไม่ขโมย ไม่โกหก ไม่ละเมิดลูกเมียเขา ไม่ใช้ยาเสพติด กล่าวโดยรวมคือไม่ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ดี เพราะถ้าเราไม่อยากให้คนอื่นเขาทำกับเราเช่นไร เราไม่สมควรที่จะไปทำกับผู้อื่นเช่นนั้น

3. บริจาค คือ ความเสียสละ เช่นเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อช่วยเหลือพสกนิกร ทรงสละความสุขส่วนพระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในทุกท้องที่ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อนำประโยชน์สุขมาสู่อาณาประชาราษฎร์ การบริจาค คือ การสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อประโยชน์ที่ใหญ่กว่า เช่น ช่วยกันบริจาคคนละเล็กละน้อย ได้โรงพยาบาล ได้โรงเรียน ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์เราก็ได้ใช้ประโยชน์ลูกหลานเราก็ได้ใช้ประโยชน์

4. อาชวะ คือ ความซื่อตรง ซื่อสัตย์สุจริตไม่ประพฤติหลอกลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งสอนให้

ทุกคนเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เป็นคนทุจริต ผู้ที่เป็นคนทุจริตรับเงินเขาต้องคิดว่าเป็นการกระทำต่อหน้าพระพักตร์ทุกครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดทั้งกฎหมายและผิดคุณธรรม ศีลธรรม

5. มัทวะ คือ ความอ่อนโยน อ่อนน้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่สูงสุด ทรงเป็นที่เคารพรัก

สักการะของประชาชนชาวไทยทุกคน เวลาจะรับสั่งกับใครทรงโน้มพระวรกายลงมา บางครั้งก็ทรงคุกเข่าหรือประทับพับเพียบอยู่กับประชาชน เพราะฉะนั้น ทุกคนต้องเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทต้องนอบน้องถ่อมตนต้องสุภาพเรียบร้อย

6. ตบะ คือ ความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถึงพร้อมด้วยความเพียร

ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั่วพระราชอาณาจักร

7. อักโกธะ คือ การไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี

พระอาการสงบนิ่งทุกโอกาส ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยอันบริสุทธิ์สะอาดเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา ดังนั้น เราจะต้องไม่โกรธผู้อื่น ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เสียสุขภาพจิตด้วย

8. อวิหิงสา คือ การไม่ข่มเหงเบียดเบียน ไม่ก่อความทุกข์ยากแก่ผู้อื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี

พระราชอัธยาศัยกอปรด้วยพระมหากรุณาไม่ทรงก่อทุกข์ หรือเบียดเบียนผู้อื่นทรงเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง

9. ขันติ คือ ความอดทนเข้มแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัจริยวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้ง

ปวง ทรงอดทนต่อทุกขเวทนา เดือดร้อน รำคาญต่าง ๆ แม้ยามประชวรก็ไม่ทรงยอมหยุดพระราชภารกิจจึงทำให้ทรงสามารถปฏิบัติพระราชภารกิจน้อยใหญ่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

10. อวิโรธนะ คือ ความไม่คลาดในธรรม การไม่ทำผิดจากทำนองคลองธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ทรงตั้งอยู่ในขัตติราชประเพณีทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมใน พระราชอัธยาศัยเป็นประจำทั้งในด้านกฎหมายและความเป็นธรรม ทรงใช้ธรรมเป็นหลักในการพิจารณา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่องประทีปนำทางคนไทยไปสู่ความสุข พระองค์พระราชทาน

หลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งช่วยชี้ทางแห่งความสุขให้กับทุกคน พระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่าการได้มาซึ่งประโยชน์สุขนั้นต้องตั้งอยู่บนความพอดี เพราะฉะนั้น ถ้าเรารักษาความพอดีทั้งร่างกายและจิตใจไว้ได้ก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขและที่สำคัญพสกนิกรไทยทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นการดำเนินตามรอยพระยุคลบาท เพื่อนำไปสู่ความสุขของคนไทยทุกคน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ทำให้พสกนิกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความผาสุก แม้แต่โจรยังรักในหลวง แล้วเราเป็นใครล่ะจะไม่รักหรือเราคงสิ้นแผ่นดินถิ่นอาศัย หากสิ้นชาติ สิ้นศาสน์ สิ้นกษัตริย์ ชาติไทยผ่านพ้นวิกฤตมาหลายคราด้วยพระบารมีของล้นเกล้า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พรั่งพร้อมด้วย ทศพิธราชธรรม เพื่อนำไปสู่ความสุขของคนไทยทุกคน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ทำให้พสกนิกรสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความผาสุกภายใต้พระบารมีตลอดไป ข้าพเจ้า พ.ต.ท.สมบัติ บุญปาน ขอตามรอยพระยุคลบาทดังที่ได้ตั้งพระราชปณิธารอันแน่วแน่ ที่พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

พ.ต.ท.สมบัติ บุญปาน

รัฐประศาสนศาตร์มหาบัณฑิตย์

…………………………………………

นางเครือฟ้า จาตุกรณีย์

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่พระองค์ท่านได้รับรางวัลเป็นผู้นำโลก

การที่พระองค์ทรงได้รับรางวัลครั้งนี้ ยังความปราบปลื้มปีติชื่นชมโสมนัสมาสู่ข้าพเจ้าและ

ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานพระมหากษัตริย์แห่งพสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกอย่างเพื่อประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนอย่างเต็มพระกำลังและความสามารถด้วยพระวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ พระองค์ทรงปฏิบัติพระองค์และปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความบริสุทธิ์สมบูรณ์ทุกสถาน พระเกียรติคุณเป็นที่ประจักษ์ ขจรขจายทั้งในหมู่พสกนิกรชาวไทยและชาวโลกทั้งมวล ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์สุดประเสริฐ ทรงเป็นเลิศด้านการพัฒนา เปี่ยมด้วยพระอัจฉริยภาพ และกอปรด้วยน้ำพระราชหฤทัยแห่งสุนทรียภาพและพระเมตตา เพียบพร้อมด้วยบุญญาธิการและพระบารมีเป็นอเนกประการ

เนื่องในโอกาสองค์การทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO) ทูลเกล้าฯถวายรางวัล โกบอล ลีดเดอร์

อวอร์ด (Global Leader Award) โดยเหตุผลที่ WIPO ทูลเกล้าฯถวายรางวัลดังกล่าว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตนและใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริม และพัฒนาประเทศชาติ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาโลกนอกจากนี้สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) มีมติ ให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย พระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้งานและมีพระบรม ราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์พระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี” สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศและดูดน้ำ การใช้ปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน) ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้จดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิสหรัฐฯ นอกจากนี้ สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ทูลเกล้าฯถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด ๑๘๔ ประเทศ รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นความคิดริเริ่มใหม่ขององค์การ ยังไม่เคยมอบให้ผู้ใดมาก่อน การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในครั้งนี้ เนื่องมาจาก องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ได้ประจักษ์ถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ไว้มากกว่า ๒๐ รายการ และเครื่องหมายการค้าอีก ๑๙ รายการ นอกจากนี้ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงาน มากกว่า ๑,๐๐๐ รายการ อาทิ เพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ และจิตกรรมฝีพระหัตถ์ รางวัลที่พระองค์ทรงได้รับในครั้งนี้สร้างความปลื้มปีติและความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยยิ่งนัก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญามาก อย่างเช่น เมื่อทรงคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใดได้ ทรงนำเข้าสู่ระบบทางทรัพย์สินทางปัญญาทันทีคือ เอามาจดสิทธิบัตร มาจดเครื่องหมายการค้า ท่านทรงจดทุกอย่างทั้งทางด้านลิขสิทธิ์ ฉะนั้น นอกจากเป็นผู้นำที่ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ไวโป ยังยกย่องพระองค์ท่านเป็นผู้นำที่มองเห็นหรือให้ความสำคัญทางทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” มาโดยตลอด ทรงยึดมั่นในพระปฐมบรมราชโองการและพระราชสัตยาธิษฐาน ทรงพระวิริยอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ ทรงริเริ่มโครงการต่าง ๆ อย่างหลากหลายเพื่อขจัดทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกรจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ ทั้งยังพระราชทานแนวทางในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามแนว “ทฤษฎีใหม่” และพระราชทานวิถีทางดำรงชีวิตแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ประชาชนทุกระดับสามารถดำเนินชีวิตด้วยความผาสุกในทุกสภาวการณ์ของวิกฤติอันใหญ่หลวงนานัปการ ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาญาณปราดเปรื่องสุขุมคัมภีรภาพ ประเทศไทยมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามั่นคงเป็นปึกแผ่นตลอดมา พระบารมีมิเพียงปกแผ่แก่พสกนิกรไทยเท่านั้น ยังกว้างไกลไปสู่ต่างแดน พระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ พระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจทั้งปวงล้วนอำนวยคุณูปการ เป็นที่ประจักษ์แก่มวลมนุษย์ชาติ ดังพระเกียรติคุณที่ทรงได้รับจากนานาประเทศตลอดมา พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ ข้าพเจ้าและชาวไทยทั้งมวลจักเทิดทูนไว้เหนือเศียรเกล้าและสถิตเสถียรในดวงใจตลอดกาลนาน

นางเครือฟ้า จาตุกรณีย์

รป.ม. ม.ราชภัฏเพชรบูรณ์

นายศุภฤกษ์ โชติวรรณ

นายศุภฤกษ์    โชติวรรณ    รหัสประจำตัว  511307148127

ภาคพิเศษ (ป.โท๗

สาขาวิชา  รัฐประศาสนศาสตร์  แขนงวิชานโยบายสาธารณะ

 

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่พระองค์ได้รับถวายรางวัล 

ผู้นำระดับโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Global  Leader  Award)

 

สายฝน

                                เมื่อลมฝน บนฟ้ามาลิ่ว                                        ต้นไม้พลิ้ว  ลู่กิ่งใบ

                                เหมื่นจะเอน รากคลอนถอนไป                                        แต่เหล่าไม้ยิ่งกลับงาม

                                                พระพรหมท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง เพื่อประทังชีวิตมิทราม

                                น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม                             ทั่วเขตคามชื่อธารา

                                                สายเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง                             แดดทอรุ้งอร่ามตา

                                รุ้งเลื่อมลายพร่างพรายนภา                                               ยามเมื่อฝนมาแต่ไกล

                                                พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ                       เพื่อจะนำดับความร้อนใจ

                                น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล                                      พืชพรรณไม้ชื่นยืนยง

 

                บทเพลงพระราชนิพนธ์ข้างต้นนี้คุณครูที่สอนวิชาขับร้องได้สอนข้าพเจ้าตั้งแต่เรียนอยู่ระดับประถมศึกษาเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา    เมื่อเป็นเด็กข้าพเจ้าได้ขับร้องเพราะการเรียนต้องร้องตามที่คุณครูท่านสอน  เมื่อเติบโตขึ้นมาก็ได้อ่านข่าวสาร  ดูข่าวในพระราชสำนักในทีวี  จึงได้มีความเทิดทูลจงรักภักดีพระเจ้าอยู่หัวฯ มากยิ่งขึ้น 

                นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์  ได้ทรงอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจในทุกด้านที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองของราษฎรและประเทศชาติ  พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติจึงครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค    การเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร  ทำให้พระองค์ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นจริงและทรงตะหนักถึงปัญหาอันแท้จริงของราษฎร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของเกษตรกร  ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

                ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกร  พระองค์ทรงตรากตรำพระวรกายเสด็จทั่วผืนแผ่นดินไทย  เพื่อทรงศึกษาปัญหาและพระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาด้วยพระปรีชาชาญอันล้ำลึก  พระองค์ทรงทำให้ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าตระหนักถึงมรดกอันล้ำค่าซึ่งฝังอยู่ในแผ่นดินไทยทุกตารางนิ้วหากทุกคนรู้จักคุณค่าและมีสำนึกหวงแหนใน แผ่นดินของเรา

 

               

 

 

 

 

 

                                           โครงการพระราชดำริฝนหลวง

 

จากบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ข้าพระเจ้าขับร้องในวัยเด็ก  ต่อมาก็เป็น  โครงการพระราชดำริฝนหลวง  เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ  ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร  ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ  เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม  อันเนื่องมา

จากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่า  สร้างความเดือดร้อนให้แก่ในทั่วทุกภาคของประเทศ  ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

                พระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ  ทรงมีพระปรีชาสามารถ  ทรงเป็นศิลปินและนักประดิษฐ์  ค้นคิดสิ่งที่ทำเป็นประโยชน์มิใช่แต่พสกนิกรชาวไทย  ยังส่งผลประโยชน์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก      อย่างไม่เคยหยุดหย่อน  สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ  เป็นแบบอย่างให้นักประดิษฐ์ได้เจริญตามเบื้องพระยุคลบาทในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

                วันหนึ่งข้าพเจ้าได้อ่าน E – Mail  ที่เพื่อนส่งมาให้เรื่อง พระเนตรขวาของในหลวง...เรื่องที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้  ทรงเก็บความทุกข์ส่วนพระองค์ไว้  จากนั้นก็ทรงใช้พระเนตรเพียงข้างเดียว ทรงศึกษาค้นคว้าอ่านหนังสือต่าง ๆ มากมาย  เพื่อทรงงานของบ้านเมือง  บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรของพระองค์มาตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี  นั่นคือความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของในหลวง  เพื่อราษฎรที่รักยิ่งของพระองค์

ข้าพเจ้าอ่านแล้วรู้สึกรักและเป็นห่วงพระเจ้าอยู่หัวฯ มากยิ่งขึ้นจนไม่รู้ว่าในชีวิตนี้จะปฏิบัติความดีเท่าใด หรือ อย่างไรถึงจะเป็นการแบ่งเบาความทุกข์ ของพระองค์ท่านได้ 

 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

               

 

 

 

จ.ส.ต.วิโรจน์ ขันทะเสน

ความประใจในหลวงผู้นำระดับโลก

พสกนิกรไทยล้วนมีความภาคภูมิใจในพระอัจฉริยภาพขององค์พระเจ้าแผ่นดินของเราอย่างเปี่ยมล้น กับหลากหลายผลงานทรงประดิษฐ์คิดค้นนับร้อยๆ ชิ้น

องค์การทรัพย์สินปัญญาโลก เชิดชู "ในหลวง" ทรงเป็นผู้นำของโลกด้านทรัพย์สิน ทางปัญญา ประกาศยกย่องทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาในการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็น ที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงขอเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯถวายรางวัลโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด รางวัลอันมีเกียรติสูงสูดที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกมอบให้แก่ผู้นำของโลก เผยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้นำพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศนี้

เมื่อเวลา 13.50 น.วันที่ 13 ม.ค. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโป้) หรือ World Intellectual Property Organization : WIPO นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ณ นครเจนีวา และนางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกันแถลงข่าวการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงมีบทบาทโดดเด่น ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา และทรงอุปถัมภ์ส่งเสริมการสร้างนวัต กรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์สุขของสังคมและประเทศ

สำหรับรางวัลดังกล่าว เป็นความคิดริเริ่มใหม่ของไวโป้ เมื่อปี 2551 และยังไม่มีผู้ใดเคยได้รับรางวัลนี้ มาก่อน ไวโป้ตัดสินใจทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้เป็น พระองค์แรก เพราะทรงเป็นผู้นำและทรงมีพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมและเผยแพร่บทบาทของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อการพัฒนาประเทศไทยและในต่างประเทศ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและนำประโยชน์ สู่ปวงชน โดยทรงริเริ่มโครงการจำนวนมากที่คิดค้นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน และเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งองค์การไวโป้เคยทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนักประดิษฐ์ยอดเยี่ยม เมื่อปี 2544 และเทคโนโลยีการทำฝนเทียม

WIPO ได้สรรเสริญพระเกียรติคุณ และให้เหตุผลในการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้ว่า เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาในการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก โดยในโครงการพระราชดำริต่างๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และฝนหลวง เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี

สำหรับผลงานที่ทรงคิดค้นขึ้น และมีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วมีมากกว่า 20 รายการ เครื่องหมายการค้าอีก 19 รายการ นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า 1,000 รายการ ทั้งงานศิลปกรรม จิตรกรรม บทเพลง และวรรณกรรม

กรมทรัพย์สินทางปัญญาแจ้งว่า การขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยที่ผ่านมาคือ

1.คำขอสิทธิบัตร เลขที่ 013185 ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2535 ผลงานการประดิษฐ์คือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เลขที่สิทธิบัตร 3127 ทูลเกล้าฯสิทธิบัตรเมื่อปี 2536

2.คำขอสิทธิบัตร เลขที่ 063072 ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 ผลงานการประดิษฐ์คือ เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ เลขที่สิทธิบัตร 10304 ทูลเกล้าฯสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544

3.คำขอสิทธิบัตร เลขที่ 064881 ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ผลงานการประดิษฐ์คือ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เลขที่สิทธิบัตร 10764

4.คำขอสิทธิบัตร เลขที่ 076122 ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545 ผลงานการประดิษฐ์คือ การดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) เลขที่สิทธิบัตร 13898 ทูลเกล้าฯสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546

5.คำขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 0203000713 ยื่นคำขอเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545 ผลงานประดิษฐ์คือ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ เลขที่อนุสิทธิบัตร 841

นอกจากสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงพระอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ไว้มากมาย อาทิ พระราชนิพนธ์งานหนังสือ บทเพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ ส่วนเครื่องหมายการค้าก็มี อาทิ ตราสินค้าพระราชทาน สุวรรณชาด (คุณทองแดง) เป็นต้น

นอกจากกรมจะได้รับจดสิทธิบัตร และรับแจ้งข้อมูลสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์อีกหลายพระองค์ โดยผลงานดังกล่าว เช่น พระราชนิพนธ์งานหนังสือ บทเพลงพระราชนิพนธ์ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ การออกแบบเครื่องประดับ ลายผ้า เป็นต้นแล้ว ล่าสุดกรมได้รับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ผลงานในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ซึ่งเป็นงานลิขสิทธิ์ประเภทงานสถาปัตยกรรม 2 ชิ้น ได้แก่ พระวิหารวัดธาราทิพย์ และบ้านกู้ภัยร่วมใจสิริภาจุฑาภรณ์ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2549 โดยแบบบ้านดังกล่าว พระองค์ทรงเป็นผู้ออกแบบให้เป็นที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดแพร่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยมีพระราชดำรัสว่า "ทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นมานานแล้ว สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์มีความสำคัญมาก ปี 2500 พูดกันว่า เราไปลอกต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิดเอง ที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตร เราสามารถใช้อะไรจากต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าใช้สิทธิ การพูดอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการดูถูกคนไทย"

ผลงานของพระ องค์ที่จดสิทธิบัตรถวายในต่างประเทศแล้ว คือ ฝนหลวงซึ่งจดไว้ที่สหภาพยุโรปและกำลังจดสิทธิบัตรที่สหรัฐอเมริกา พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการจดสิทธิบัตร เช่น เครื่องหมายการค้า "สุวรรณชาด" "โกล เด้น เพลส"

สำหรับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO เป็นหนึ่งในองค์กรภายใต้สหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาโลก และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบัน มีสมาชิก 184 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

"ผลงานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านการสร้างสรรค์ผลงานลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะงานศิลปกรรมของพระองค์ท่านให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ได้อย่างน่าชื่นชม อีกทั้งก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม เพราะผลงานของพระองค์ท่านได้ถูกนำมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัยของประเทศอีกด้วย"

จะเดินตามรอยพระยุคลบาทอย่างไร

“...ในชีวิตการทำงานนั้น ทุกคนมีภาระอันหนักที่จะต้องกระทำ

มากมาย ประการแรกคือ หน้าที่ในงานอาชีพ ซึ่งควรจะต้องปฏิบัติ

ให้สำเร็จลุล่วง ไปด้วยดีทุก ๆ อย่าง ประการต่อไป ได้แก่ หน้าที่จะ

ต้องทำประโยชน์ให้แก่สังคมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

และเป็นผู้ที่ได้รับความเกื้อกูลจากสังคมโดยทางตรงและทางอ้อม

อยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติรับใช้ชาติบ้านเมือง

ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย อีกประการหนึ่งด้วย....”

(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ

มหาวิทยาลัยศิลปากร : 14 ตุลาคม 2512)

“การทำหน้าที่ให้สอดคล้องกับผู้มีหน้าที่อย่างอื่น ๆ นั้น บัณฑิตหรือนักวิชาการ

จำเป็นจะต้องไม่ประมาท ความรู้ความสามารถของผู้อื่น ทั้งนักวิชาการด้วยกัน

ทั้งผู้มีความชำนาญทางการปฏิบัติทั้งหมดจะต้องใช้ความรู้ ความจัดเจนของตน

ร่วมงานกันด้วยความคิด ความเห็น ที่ถูกต้องตามเหตุผล สุจริต เที่ยงตรง

เป็นอิสระจากอคติ กลอุบาย และความเห็นแก่ตัว ให้ภารกิจทั้งมวลบรรลุ

ความสำเร็จได้โดยครบถ้วน

ฉะนั้น ก็เชื่อว่า ถ้าช่วยกันทำตามหน้าที่ก็สามารถที่จะทำให้ประเทศชาติ

อยู่เย็นเป็นสุขได้ วันนี้ได้พูดเรื่องราวที่อาจจะน่าคิด และท่านเองเป็นผู้มีความรู้

ก็จะใช้ความรู้ ความลาก เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จำมีมา และในการนี้ ขอทุกคนทุกท่าน

ที่มีหน้าที่แต่ละท่านพยายามใช้สติปัญญาและกำลังใจ ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ทั้งนี้ ประเทศชาติจะก้าวหน้าและมีความปลอดภัยต่อไป

ในเรื่องการเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท ได้ฝากหลักหลักคิด เรื่อง การทำ

หน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติ

ดังนั้น เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติดังกล่าว จึงขออัญเชิญ พระบรมราโชวาทและราชดำรัส

ในองค์ที่เกี่ยวข้องมาแสดง ซึ่งพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสทั้งสามองค์นี้

ได้มีขึ้นในโอกาสและเวลาที่ต่างกัน แต่เมื่อนำมาประสานเข้าด้วยกันก็สามารถอธิบาย

หลักคิด หลักปฏิบัติ ในเรื่องหน้าที่ของแต่ละคนได้อย่างทุจริต ฉะนั้น เมื่อต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ตามแนวทาง และหลักการดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมเกิด

ประโยชน์ต่อสังคม เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และสุดท้ายก็คือ เกิดประโยชน์และความสุข

ต่อตัวเราเอง

คุณธรรม ๔ ประการที่จะเดินตามรอยพระยุคลบาท

ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี

ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด

ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เสียประโยชน์ส่วนน้อย

คุณสมบัติของผู้นำที่ดี

1.ความรู้ (Knowledge)

การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น

2.ความริเริ่ม (Initiative)

ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง

ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า

3.มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)

ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย วาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น

ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย

4.การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations)

ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้

คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่

นักพัฒนาชุมชนควรช่วยสร้างและพัฒนาคุณสมบัติของผู้นำชุมชนให้สามารถเป็นแกนนำในการสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของชุมชนที่จะเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านต่อไป คุณสมบัติที่ควรสร้างและพัฒนาให้เกิดขึ้นได้แก่

1. ความสามารถในการพัฒนาและจูงใจคนในชุมชน

2. ความสามารถในการนำการสนทนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนดำเนินกิจกรรมพัฒนา

3. ความสามารถในการมองเห็นความแตกต่างและจัดการกับความแตกต่างของความคิดเห็นและวิธีการทำงานของสมาชิกในชุมชน

4. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

5. ความสามารถในการฟัง คิดวิเคราะห์ ความสามารถในการกำหนดและกระจายความรับผิดชอบความสามารถในการแก้ไขปัญหาและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ทางเลือกใหม่ ๆ ความสามารถในการกำหนดวิสัยทัศน์ความมุ่งมั่นและจิตสำนึกสาธารณะ

อมรศักดิ์ รินนาศักดิ์

ความประทับใจต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวได้รับรางวัลผู้นำโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติทรงเป็นประมุขของประเทศและทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทั้งปวง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงงานหนักโดยทรงมุ่งหวังพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีความสุขมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตประจำวันจนก่อให้เกิดโครงการตามแนวพระราชดำริมากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับราษฏรและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าทั้งสิ้น นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงคิดค้นอุปกรณ์เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ มากมายจนเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก

ในฐานะที่เป็นคนไทยเมื่อได้รับทราบข่าวจาก นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาประเทศไทย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)รางวัลโกลบอล ลีดเตอร์ อวอร์ด (Global Leader Award)รู้สึกดีใจมากเพราะพระองค์ทรงงานหนักมาก เพื่อความสุขของประชาชนของพระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตนและทรัพย์สินทางปัญญา ส่งเสริมและพัฒนาประเทศรวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้น ได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้

ในโครงการพระราชดำริต่าง ๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการใช้งาน และมีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นและเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาอย่างดี

สำหรับผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาด้านสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่น สำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน(ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงเป็นสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก(โครงการแกล้งดิน)

เครื่องหมายการค้า ไม่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในพระปรมาภิไธย แต่พระราชทานให้บริษัทสุวรรณชาติ จำกัด และมูลนิธิชัยพัฒนาจดทะเบียนเครื่องหมายค้ารวม 13 คำขอ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าสุวรรณชาต 1 คำขอ ทองแดง 2 คำขอ,โกลเด้นเพลส 4 คำขอ, ธรรมชาติ 5 คำขอ และมุมสบายฯ 1 คำขอ ด้านผลงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือต่าง ๆ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ เป็นต้น และที่ทรงจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 4 ผลงาน คือ ด้านวรรณกรรม 3 ผลงาน คือ หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่, โครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริและพระมหาชนก ด้านศิลปกรรม 1 ผลงาน คือ ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนก

ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้รับการจดทะเบียนที่ยุโรป และเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐ

นางพวงรัตน์ กล่าวอีกว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2550 หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้เคยทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลและประกาศนียบัตรต่าง ๆ แด่พระองค์มากมาย ได้แก่ IFIA ประเทศอังกฤษ การทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนาเหรียญ Genius Prize สำหรับผลงาน ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง

Association; (KIPA) ทูลเกล้าถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

ผลงานทั้งหมดที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นนั้น หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงเกียรติยศใด ๆ แล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือรางวัลทั้งหลายทั้งปวง ไม่มีอะไรเทียบได้ ก็คือ "น้ำพระทัย" และ "พระเมตตา" แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่รงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ให้พสกนิกรอยู่ดี กินดี มีความสุขสถาพร

อมรศักดิ์ รินนาศักดิ์

รป.ม.รุ่น 1

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) สดุดี "ในหลวง"

 ผู้นำด้านการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

โดย  ว่าที่ ร.ต. สุชิน   ชูรัตน์  รหัสนักศึกษา 511307148134

นักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต รุ่น ๑

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

 

ด้วยความห่วงใยในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ นับแต่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นต้นมา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยากจน อยู่ในภูมิภาคต่างๆ มากกว่าประทับอยู่ในพระราชวังที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้เพื่อทรงค้นหาข้อมูลที่แท้จริงจากประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำพื้นที่ และทรงสังเกตการณ์ สำรวจสภาพทางภูมิศาสตร์ไปพร้อมๆกันด้วย ทั้งนี้เพื่อทรงรวบรวมข้อมูลไว้เป็นแนวทางที่จะพระราชทานพระราชดำริในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่อไป

ทูลเกล้าฯถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ ไวโป (WIPO) ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ และสะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพ และพระวิริยะอันสูงส่งในการทรงเป็นผู้นำในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา เผยเป็นพระองค์แรกที่ได้รับการถวายรางวัลฯ นี้ เสด็จฯ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2549 ทรงชื่นชมเป็นบุคคลที่มีความเสียสละ ทำงานเพื่อประโยชน์ของมนุษย ชาติโดยแท้

จากข้อความข้างต้นพระองค์ท่านทรงมีคุณลักษณะของความเป็นผู้นำตามแนวคิดของ Donald H. McGannon กล่าวว่า“Leadership is an action, not a position.”  ในการทำงานนั้นหากเรามัวแต่คิดถึงตำแหน่งแต่ไม่ทำงานใดๆ เลยนั้นก็ไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้  ผู้นำในยุคใหม่ต้องมีการพัฒนาคนให้มีศักยภาพนั้น Stephen R. Covey หนึ่งใน Quality Guru ที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันและอดีตประธานที่ปรึกษาของประธานาธิบดี Clinton กล่าวไว้โดยสรุปดังนี้

1. Be proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน

(อุปนิสัยของการเลือกตอบสนองความรับผิดชอบ)

2. Begin with the end in mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ

            (อุปนิสัยของวิสัยทัศน์ มองภาพสุดท้ายที่จะเกิดก่อน

3. Put first things first ทำตามลำดับความสำคัญ

            (อุปนิสัยของความซื่อสัตย์และวินัยในการปฏิบัติ)

4. Think win / win คิดแบบชนะ / ชนะ

            (อุปนิสัยของผลประโยชน์ร่วมกัน)

5. Seek first to understand, then to be understood เข้าใจผู้อื่นก่อนจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา

            (อุปนิสัยของความเข้าใจซึ่งกันและกัน)

6. Synergy ประสานพลัง

            (อุปนิสัยของการร่วมมืออย่างสร้างสรรค์)

7. PDCA ลับเลื่อยให้คม

            (อุปนิสัยของการเติมพลังชีวิต)

* 8. Find your voice หาเสียงของคุณให้เจอ แล้วก็ช่วยให้ผู้อื่นพบเสียงของเขา

            (อุปนิสัยของการพัฒนาตนเอง และผู้อื่น)

            ข้าพเจ้ารู้สึกปลื้มปิติเป็นที่สุดที่ทั่วโลกยอมรับในพระปรีชาสามารถของพระองค์จึงได้ทูลเกล้าถวายรางวัลGlobal Leader Award จึงอยากให้ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ถวายความจงรักภักดี ร่วมกระทำแต่ความดีถวายพระองค์ท่าน น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ถือปฏิบัติและถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์ท่านด้วยชีวิตตลอดไป

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

 

นางสาวอุทัยวรรณ นุ่มน้อย

บทความ

เรื่อง

ความประทับใจที่ข้าพเจ้ามีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อการได้รับรางวัลในระดับโลกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำของปวงประชาชนชาวไทย เป็นผู้ที่สามารถรวบรวมคนไทยให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่มีตั้งไว้ให้ได้เป็นผู้นำที่เป็นที่มีริเริ่มส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงการกระทำของกลุ่มคนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำที่สนับสนุนส่งเสริมให้มีการสัมพันธ์ของสมาชิกภายในกลุ่ม ดำเนินไปด้วยดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำยุคใหม่

1. ทรงเป็นผู้นำที่จะพัฒนาริเริ่มวิธีการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป (Innovate)

2. ทรงเป็นผู้นำที่จะพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้สถานการณ์ใหม่ตรงกับความจำเป็นที่เปลี่ยนไป (Develop)

3. ทรงเป็นผู้นำที่จะจูงใจกระตุ้นให้คนดำเนินการด้วยความตั้งใจของตนเอง ไม่ต้องถูกควบคุม (Inspire)

4. ทรงเป็นผู้นำที่จะมุ่งและหลังผลระยะยาวมีวิสัยทัศน์เป้าหมายในอนาคตข้างหน้า (Long-term View)

5. ทรงเป็นผู้นำที่จะกระตุ้นให้คนคิดด้วยการถามว่าอะไรและทำไม (What & Why)

6. ทรงเป็นผู้นำที่จะริเริ่มเป็นเจ้าตำรับของการคิดการกระทำโดยไม่เปลี่ยนแบบจากผู้ใด (Originate)

7. ทรงเป็นผู้นำทีจะพยายามท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่เพื่อหาแนวทางใหม่เสมอ (Challenge it)

ตัวอย่างที่ทรงคิดริเริ่ม เช่น โครงการเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้คนไทยทุกคนอยู่อย่าง ?

องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้หลักทศพศราชธรรมในการปกครองประเทศให้อยู่รอดได้จนทุกวันนี้มี 10 ประการ

1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน (การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรู้) และอภัยทาน (การให้อภัยอันนี้สุดยอดแห่งการให้)

2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจากาย วาจาใจประพฤติ ตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน

3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือการสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ ซื่อตรงต่อเวลา ซื่อตรงต่อตัวเอง ซื่อตรงต่อความถูกต้องชอบธรรม

5. มัททวะ ได้แก่ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟังให้ประชาชนติติงได้ ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ

6. ตปะ ได้แก่ การบำเพ็ญควารเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตนซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆ วิ่งผ่านหน้าตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวแน่นรั้งไม่ให้คนดีเสียคน

7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใดครองธรรมะข้อนี้ไม่ได้ก็อาจจะนำไปสู่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ

8. อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียน อันได้แก่ ประชาชน เพื่อนร่วมงานลูกน้องของตน, หน่วยงานและครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสู่การเอาเปรียญการเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสู่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น

9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ

10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงานอย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปรงใส ตรงไปตรงมา

นายอำนาจ ภิญโญศรี

รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization - WIPO) ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลผู้นำระดับโลกทางทรัพย์สินทางปัญญา (World Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 เนื่องด้วยพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจซึ่งเป็นที่ประจักษ์ไปแล้วทั่วโลกว่าทรงเป็นนักประดิษฐ์ และทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมการพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น พระองค์ทรงเ)นผู้นำประเทศพระองค์แรกที่ได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้ สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย สร้างความปิติยินดีแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการใช้งานและได้มีพระบรมราชานุญาตให้ยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้น และเข้าพระทัยถึงระบบงานทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างดี และได้ทรงกระทำให้เป็นแบบอย่างแก่คนไทย

ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว และจดแจ้งแล้วต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ด้านสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ได้แก่ สิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ การคิดแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) ภาชนะรองรับของเสียที่ขัยออกจากร่างกาย อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวให้เหมาะกับการเพาะปลูก

ด้านเครื่องหมายการค้าไม่ได้มีการจดทะเบียนการค้าในพระปรมาภิไธย แต่พระราชทานให้ บริษัทสุวรรณชาด จำกัด มูลนิธิชัยพัฒนา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวม 13 คำขอ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าสุวรรณชาด 1 คำขอ ทองแดง 2 คำขอ โกลเด้นเพลส 4 คำขอ ธรรมชาติ 5 คำขอ และมุมสบาย ๆ 1 คำขอ ด้านลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับการคุ้มคาองลิขสิทธิ์ เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ หนังสือต่าง ๆ ภาพถ่ายและภาพวาดฝีพระหัตถ์ และที่ทรงจดแจ้งต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญามี 4 ผลงาน คือ ด้านวรรณกรรม 3 ผลงาน ได้แก่ หนังสือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพระมหาชนก ด้านศิลปกรรม 1 ผลงานคือ ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนก

ส่วนผลงานที่ได้รับการถวายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ ได้แก่ ฝนหลวง ซึ่งได้รับการจดทะเบียนที่ยุโรปและเขตเศรษฐกิจพิเศษฮ่องกง ส่วนในสหรัฐอเมริกา อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 หลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าถวายเหรียญรางวัล และประกาศนียบัตรต่าง ๆ แด่พระองค์มากมาย เช่น IFIA ประเทศฮ้ฃังการี ทูลเกล้าถวายถ้วยรางวัล IFIA CUP 2007 สำหรับผลงานกังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญ Genius Prize สำหรับผลงานทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง

นอกจากนี้ สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Invention Promotion Association : KIPA) ทูลเกล้าถวายรางวัล Special Prize พร้อมประกาศนียบัตร ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติของนักประดิษฐ์ในระดับโลก

นับว่าเป็นบุญของคนไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสมารถเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลก นอกจากทรงเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นแล้ว พระองค์ยังทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตา ปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยไม่คำนึงถึงความลำบากพระวรกาย ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์ให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทรงมีพระบรมราโชวาท และพระราชดำรัสในโอกาสต่าง ๆ สั่งสอนคนไทยดั่งพ่อสอนลูก พระองค์ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล พระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของคนไทย และของคนทั้งโลกให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมั่นคง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือสันติสุขแห่งโลก ในฐานที่เป็นคนไทย เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานจะประสานการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้บรรลุผลเพื่อถวายแด่พระองค์ท่านจนกว่าชีวิตจะหาไม่ นั่นคือความหวังอันสูงสุด

ส.ต.อ.วัชรวัฒน์ ขัตธรรมศรี รหัสประจำตัว 511307148124

ความประทับใจที่พระเจ้าอยู่หัว ในฐานะเป็นผู้นำแรงจูงใจระดับโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา 60 ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา 60 ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน เพื่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์ เสียสละความสุขส่วนพระองค์

“ในโครงการพระราชดำริต่างๆ มีหลายโครงการที่ได้ทรงประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งาน เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น”

เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา)

เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ

การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ

การดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง)

ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย

อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว

กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะต่อการเพาะปลูก

ด้านวรรณกรรม 3 ผลงาน

หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่

โครงการทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระมหาชนก

ด้านศิลปกรรม 1 ผลงาน

ประติมากรรมเหรียญพระมหาชนก

ทฤษฎีใหม่

เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัย/เลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3:3:3:1 เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน

2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี

3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง

ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงเป็นช่วงเวลา 60 ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ด้วยเหตุนี้เองพระองค์จึงทรงอยู่ในดวงใจของชาวไทยทุกคน และนี่แหละคือ “ความประทับใจของปวงชนชาวไทยที่มีพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะเป็นผู้นำแรงจูงใจระดับโลก”

ส.ต.อ.วัชรวัฒน์ ขัตธรรมศรี

รหัสประจำตัว 511307148124

พ.ต.ต.รังสรรค์ คำวิเศษ

ถวายในหลวง รางวัลผู้นำโลก

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ทูลเกล้าฯถวายรางวัลในหลวง

นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยเมื่อเร็วๆนี้ ว่า ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ นายฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จะเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯถวายรางวัลโกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด (Global Leader Award) ซึ่งในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับการทูลเกล้าฯแทน

โดยเหตุผลที่ WIPO ทูลเกล้าฯถวายรางวัลดังกล่าว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศตน และใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อีกทั้งยังทรงเป็นผู้นำของประเทศพระองค์แรก ที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลนี้ นอกจากนี้ จากการหารือกันของสหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์ระหว่างประเทศ (International Federal of Inventor Association : IFIA) ซึ่งมีสมาชิก 84 ประเทศทั่วโลก มีมติให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ทรงได้รับการจดสิทธิบัตรกังหันน้ำชัยพัฒนา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกด้วย

ความเป็นอัฉริยะภาพที่มีความโดดเด่นจากการ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสำคัญจากการที่พระองค์ท่านไม่ว่าเป็นกังหันหมุ่นช้าเครื่องกลเติมอากาศซึ่งพระองค์ได้คิดค้นพร้อมทั้งนำมาใช้จนได้ผลดีเมื่อนำมาใช้ในการเติมอ๊อกชิเจนในน้ำเครื่องประดิษฐ์ของพระองค์ เกษตรทฤษฎีใหม่เกิดจากการคิดของพระองค์ซึ่งได้ประยุกต์ให้ทันสมัยทฤษฎีนี้เมื่อได้พิสุทธิ์ได้ผลจริงที่พระองค์ท่านมีความป็นอัฉริยะภาพจากแบ่งที่ดินปลูกพีชพร้อมทั้งเลี้ยงสัตว์และสร้างความเป็นอยู่อย่างประหยัดและเพียงพอเพียง ฝนเทียมที่คิดค้นได้พระองค์ท่านได้เป็นผู้จุดประกายความคิดของผู้นำนักประดิษฐ์เพราะพระองค์นั้นเข้าพระหทัยดีว่าการจดสิทธิ์บัตรและจดอนุสิทธิ์บัตรนั้นมีแง่มุมของการรักษาความเป็นสมบัติของพระองค์ของชาติและบุคลคลทั่วโลกรับรู้รับทราบความเป็นอัฉริยะภาพองค์กรดังกล่าวเป็นทบวงชำนัญการพิเศษเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นนำทางด้านสิทธิ์บัตรและสิทธิ์ทางปัญญา ได้ถวายรางวัลนั้นแด่พระองค์ท่านดั่งสมความภาคภูมิใจของพระสกนิกรณ์ของพระองค์ท่าน

ตัวผู้ตอบเองมีแนวคิดที่จะเดินรอยตามทางของพระองค์อย่างไรที่เป็นแบบอย่างที่นั้นมีดังนี้ ผู้เป็นอัฉริยะทางความคิดซึ่งบางอย่างนั้นข้าเห็นว่าพระองค์ท่านนั้นมีแนวคิดที่จะสั่งสอนไทยให้เป็นผู้ประหยัดและรู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทยเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาป่าต้นน้ำอันเป็นสมบัติของชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมมีบางคำพูดของพระองค์กลายเป็นปราช์ญาไปแล้วเป็นสิ่งที่ผู้ตอบได้ยึดถึอเป็นแบบอย่างตลอดโดยพระองค์ท่านมีความเมตตากรุณาพร้อมทั้งสั่งสอนด้วยวิธีการยกตัวอย่างเรื่องความเพียรอย่างมหาชนกที่ว่ายน้ำข้ามมหาสมุททรงเป็นตัวอย่างในเรื่องของความประหยัดมีความรักในพสกพ์นิกรของพระองค์ไม่ถึอว่าเป็นชาติใดภาษาใดซึ่งไม่ปรากฎความเป็นผู้มีความเป็นทศพิศราชธรรมมหากษัตริย์ในโลกนี้จะมีประเทศใดเสมอเหมือน

สรุป ความเป็นอัฉริยะภาพของพระองค์นั้นเห็นได้จากการที่พระองค์ได้สร้างประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใหม่ ๆ อย่างเรื่องธรรมาภิบาลพระองค์ก็คิดได้พระท่านมีแนวคิดดำริจะปกครองแผ่นดินโดยธรรมพร้อมกับความปกติสูขของชนชาวสยามเป็นแนวคิดและดำริและกล่าวมาช้านานแล้วและพระองค์ท่านก็ได้ประกอบคุณงามความดีมาตลอดจนได้รับรางวัลสมความภาคภูมิใจปวงชนชาวไทยทุกคน ถ้ามีผู้มีแนวคิดและนำวิธีการผลปฎิบัติตามโดยเคร่งครัดแล้วก็จะเป็นมงคลชีวิตยิ่งพร้อมก็จะมีความเอื้อยเฟื้อยเผื่อแผ่มากกว่านี้ซึ่งพระองค์ท่านมีในตัวพร้อมทั้งไม่เคยหยุดหยั่งที่จะทำและคิดว่าพระองค์จะหาแนวทางใดให้ราษฎร์ของพระองค์ได้อยูดีกินดีตลอดไป

นายสวัสดิ์ สุธีบรรเจิด

 

ความประทับใจที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสได้รับรางวัล ผู้นำระดับโลก เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 THE KING OF THAILAND องค์พ่อหลวง (ในหลวง) เมื่อนึกถึงในอดีตที่ผ่านมาเมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จนิวัตกลับเมืองไทยได้ไม่นาน พระองค์ได้เสด็จออกเยี่ยมเยียนประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ที่ห่างไกลความเจริญครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นภาพที่ประทับใจของคนไทยทุกคนที่พระองค์ทรงทักทายกับราษฎรของพระองค์อย่างเป็นกันเอง โดยมิได้ถือพระองค์แต่อย่างใดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ถามถึงปัญหาต่างๆ เพื่อที่พระองค์จะได้นำปัญหาไปช่วยเหลือและแก้ไข ภาพที่ประทับใจของคนไทยทุกคนได้เห็นในอดีตก็คือภาพที่พระองค์เสด็จออกเยี่ยมราษฎรในชนบททุกครั้งจะได้เห็นภาพของราษฎร ได้นำเอาผ้าเช็ดหน้ามาปูกับพื้นที่พระองค์จะเดินเสด็จผ่าน เพื่อให้พระองค์เดินเสด็จผ่านผ้าเช็ดหน้าเหล่านั้น โดยที่ราษฎรจะเก็บผ้าเช็คหน้าไว้เป็นของสิริมงคลในชีวิตและทุกครั้งที่พระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดจะมีประชาชนจำนวนมากมาเฝ้ารอรับเสด็จซึ่งทุกคนต่างมาจับจองพื้นที่นั่งริมทางที่พระองค์จะเสด็จผ่านโดยที่มาเฝ้ารอเป็นเวลานับสิบชั่วโมง องค์พ่อหลวง (ในหลวง) ของคนไทย มิได้มีแต่เฉพาะคนไทยเท่านั้น ที่รักและเทิดทูนพระองค์ คนต่างชาติในหลายทวีปในหลายประเทศ ที่ได้ติดตามข่าวสาร และได้เรียนรู้ประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักวิชาการในหลายประเทศที่เจริญแล้ว ได้ติดตามผลงานวิชาการในด้านต่างๆ ของพระองค์อย่างเสมอมา ย่อมทราบดีในพระปรีชาสามารถของพระองค์ ซึ่งพระองค์ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วอย่างมากมาย ในหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เป็นต้นมา เช่น วันที่ 19 กรกฎาคม 2518 ทูลเกล้าถวายเหรียญรัฐสภายุโรป วันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ถวายรางวัลสันติภาพของสมาคมอธิบดีระหว่างประเทศ วันที่ 21 กรกฎาคม 2530 ถวายเหรียญทองเฉลิมพระเกียรติในการนำชนบทให้วัฒนา วันที่ 29 ตุลาคม 2530 ถวายเหรียญจำลองโดโนแวน (Donovan) วันที่ 14 ธันวาคม 2530 ถวายเหรียญดุษฎีกิตติศักดิ์ อิสริยาภรณ์โอลิมปิคชั้นสูงสุด วันที่ 17 สิงหาคม 2534 ถวายเหรียญสดุดีขององค์กรโรตารีสากล (The Rotary international) วันที่ 31 สิงหาคม 2531 รางวัลแมกไซไซ แก่โครงการหลวง วันที่ 4 พฤศจิกายน 2534 ถวายเหรียญทองประกาศเกียรคุณด้านสิ่งแวดล้อม วันที่ 2 ธันวาคม 2534 ถวายเหรียญฟีแล (Philae modal) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 ถวายเหรียญทองเฉลิมพระเกียรติที่ทรงพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม วันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 ถวายเหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน วันที่ 26 มกราคม 2536 ถวายเหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในด้านการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 ถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award วันที่ 14 กันยายน 2536 ถวายรางวัลที่ 1 ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติฝ่าย วิทยาศาสตร์ วันที่ 30 ตุลาคม 2536 ถวายรางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด วันที่ 12 ธันวาคม 2537 ถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด วันที่ 4 เมษายน 2539 ถวายพระเกียรติ Telecom man of the nation วันที่ 5 มิถุนายน 2539 ถวายเหรียญทองเทิดพระเกียรติในฐานะอุทิศพระองค์ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ของเกษตร วันที่ 13 พฤศจิกายน 2539 ถวายรางวัล Partnering for World Health Award วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ” วันที่ 6 ธันวาคม 2539 ถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณด้านการพัฒนาเกษตร วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 ถวายโล่สัญลักษณ์และประกาศเกียรติบัติคุณขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก วันที่ 25 มิถุนายน 2540 ถวายเหรียญทองสดุดีพระเกียรติคุณในการทรงเป็นผู้นำ ผู้บุกเบิกและผู้ดำเนินงานโครงการควบคุมปัญหาการขาดสารไอโอดิน วันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 ถวายเหรียญทองสดุดีพระเกียรติคุณในการที่ทรงห่วงใยสุขภาพปอดของประชาคมโลก วันที่ 3 มีนาคม 2542 ถวายรางวัล Lions Humanitarean Award วันที่ 9 ธันวาคม 2542 ถวายเหรียญThe Telefood Modal วันที่ 18 มกราคม 2543 ถวายเหรียญ Sandford Modal วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 รางวัล Lalaounis cup วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ถวายโล่เฉลิมพระเกียรติ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) วันที่ 5 มิถุนายน 2543 ถวายเหรียญรางวัล Merite de L lnvention วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ถวายเหรียญ The Berkeley Model วันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2543 ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น 5 รางวัล ที่ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศ เบลเยียม วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ถวายแผ่นจารึกเทิดพระเกียรติขององค์กรอนามัยโลก วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 ถวายรางวัล Gold Modal with mention วันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ถวายเหรียญทองคำ Golden shining Symbol of world Leadership วันที่ 22 ธันวาคม 2546 ถวายรางวัล Colombo Plan วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 ถวายรางวัล UN-HABITAT-Scroll of Honour Award (special citation) วันที่ 23 พฤษภาคม 2548 ถวายรวงข้าวทองคำ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP) วันที่ 19 ตุลาคม 2549 ถวายเหรียญรางวัล Dr.Norman Borlaug Medallion วันที่ 29 มกราคม 2550 ถวายรางวัล Global Leaders’Award วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ถวายรางวัล IFIA Cup วันที่ 14 มกราคม 2552 รางวัลผู้นำระดับโลก คือรางวัลล่าสุด ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมอบให้กับพระองค์ท่านในหลายสาขา ที่ทั่วโลกยอมรับในผลงานและความเสียสละ เพื่อช่วยเหลือประชาชนคนไทย และมวลมนุษย์โครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระองค์นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 เป็นต้นมา นับเป็น 1,000 – 2,000 โครงการขึ้นไป ได้ช่วยเหลือประชาชนคนไทยแล้ว ยังได้ช่วยเหลือชาวต่างชาติหลายประเทศทั่วโลก ที่ได้นำโครงการในพระราชดำริไปใช้ในประเทศของตนเองโดยมาศึกษาดูงาน และส่งผู้เชี่ยวชาญมาเรียน พร้อมกับขอนักวิชาการของไทยที่มีประสบการณ์ไปแนะนำเป็นต้น ในนามพสกนิกรชาวไทย มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในพระองค์ท่านที่ชาวไทยและหลายประเทศทั่วโลก ยอมรับผลงานที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ ในชื่อ “ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง” (SUFFICIENCY ECONOMY) โครงการของพระองค์ที่มากมาย นอกจากจะช่วยเหลือราษฎรให้มีชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยแก้ไขคนในสังคมไทยลดความขัดแย้ง มีความรู้ รัก สามัคคี พระองค์ยังเป็นผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโดยได้นำพระราชพิธีต่างๆ ในอดีตมาใช้ใหม่ เช่น พิธีเสด็จทอดพระกฐิน ทางชลมารค และล่าสุดที่ประทับใจมากในงานออกเมรุพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จัดได้สมพระเกียรติ สรุป ในชีวิตของกระผมที่ได้เกิดมาในผืนแผ่นดินไทย ได้เห็นภาพ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ในวันที่พระองค์ท่านทรงเฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี มีกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์จากทั่วโลกมาร่วมชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงที่ประเทศไทย ยังเห็นภาพที่ประชาชนเป็นจำนวนหลายแสนคน ใส่เสื้อเหลืองมาเฝ้ารับเสด็จที่พระที่นั่งอนันต์คสมาคม แล้วอดภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย หรือลูกของพ่อหลวงเป็นอย่างยิ่ง สมแล้วที่พระองค์ท่านเป็นนักคิด นักเขียน นักพัฒนา นักสร้างทฤษฎีใหม่ให้กับคนทั่วไป “ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในโลก” THE KING OF THE WORLD นายสวัสดิ์ สุธีบรรเจิด รหัส 511307148128 มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

นายสวัสดิ์ สุธีบรรเจิด

ความประทับใจที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสได้รับรางวัล ผู้นำระดับโลก เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552

THE KING OF THAILAND

องค์พ่อหลวง (ในหลวง) เมื่อนึกถึงในอดีตที่ผ่านมาเมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จนิวัตกลับเมืองไทยได้ไม่นาน พระองค์ได้เสด็จออกเยี่ยมเยียนประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ที่ห่างไกลความเจริญครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นภาพที่ประทับใจของคนไทยทุกคนที่พระองค์ทรงทักทายกับราษฎรของพระองค์อย่างเป็นกันเอง โดยมิได้ถือพระองค์แต่อย่างใดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด ถามถึงปัญหาต่างๆ เพื่อที่พระองค์จะได้นำปัญหาไปช่วยเหลือและแก้ไข ภาพที่ประทับใจของคนไทยทุกคนได้เห็นในอดีตก็คือภาพที่พระองค์เสด็จออกเยี่ยมราษฎรในชนบททุกครั้งจะได้เห็นภาพของราษฎร ได้นำเอาผ้าเช็ดหน้ามาปูกับพื้นที่พระองค์จะเดินเสด็จผ่าน เพื่อให้พระองค์เดินเสด็จผ่านผ้าเช็ดหน้าเหล่านั้น โดยที่ราษฎรจะเก็บผ้าเช็คหน้าไว้เป็นของสิริมงคลในชีวิตและทุกครั้งที่พระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัดจะมีประชาชนจำนวนมากมาเฝ้ารอรับเสด็จซึ่งทุกคนต่างมาจับจองพื้นที่นั่งริมทางที่พระองค์จะเสด็จผ่านโดยที่มาเฝ้ารอเป็นเวลานับสิบชั่วโมง

องค์พ่อหลวง (ในหลวง) ของคนไทย มิได้มีแต่เฉพาะคนไทยเท่านั้น ที่รักและเทิดทูนพระองค์ คนต่างชาติในหลายทวีปในหลายประเทศ ที่ได้ติดตามข่าวสาร และได้เรียนรู้ประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักวิชาการในหลายประเทศที่เจริญแล้ว ได้ติดตามผลงานวิชาการในด้านต่างๆ ของพระองค์อย่างเสมอมา ย่อมทราบดีในพระปรีชาสามารถของพระองค์ ซึ่งพระองค์ได้รับรางวัลระดับโลกมาแล้วอย่างมากมาย ในหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เป็นต้นมา เช่น

วันที่ 19 กรกฎาคม 2518 ทูลเกล้าถวายเหรียญรัฐสภายุโรป

วันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ถวายรางวัลสันติภาพของสมาคมอธิบดีระหว่างประเทศ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2530 ถวายเหรียญทองเฉลิมพระเกียรติในการนำชนบทให้วัฒนา

วันที่ 29 ตุลาคม 2530 ถวายเหรียญจำลองโดโนแวน (Donovan)

วันที่ 14 ธันวาคม 2530 ถวายเหรียญดุษฎีกิตติศักดิ์ อิสริยาภรณ์โอลิมปิคชั้นสูงสุด

วันที่ 17 สิงหาคม 2534 ถวายเหรียญสดุดีขององค์กรโรตารีสากล (The Rotary international)

วันที่ 31 สิงหาคม 2531 รางวัลแมกไซไซ แก่โครงการหลวง

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2534 ถวายเหรียญทองประกาศเกียรคุณด้านสิ่งแวดล้อม

วันที่ 2 ธันวาคม 2534 ถวายเหรียญฟีแล (Philae modal)

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2535 ถวายเหรียญทองเฉลิมพระเกียรติที่ทรงพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 ถวายเหรียญทองสาธารณสุขเพื่อมวลชน

วันที่ 26 มกราคม 2536 ถวายเหรียญรางวัลเทิดพระเกียรติในด้านการสงวนรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 ถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s

International Merit Award

วันที่ 14 กันยายน 2536 ถวายรางวัลที่ 1 ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติฝ่าย

วิทยาศาสตร์

วันที่ 30 ตุลาคม 2536 ถวายรางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด

วันที่ 12 ธันวาคม 2537 ถวายรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

วันที่ 4 เมษายน 2539 ถวายพระเกียรติ Telecom man of the nation

วันที่ 5 มิถุนายน 2539 ถวายเหรียญทองเทิดพระเกียรติในฐานะอุทิศพระองค์ในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่

ของเกษตร

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2539 ถวายรางวัล Partnering for World Health Award

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 ถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ”

วันที่ 6 ธันวาคม 2539 ถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณด้านการพัฒนาเกษตร

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 ถวายโล่สัญลักษณ์และประกาศเกียรติบัติคุณขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก

วันที่ 25 มิถุนายน 2540 ถวายเหรียญทองสดุดีพระเกียรติคุณในการทรงเป็นผู้นำ ผู้บุกเบิกและผู้ดำเนินงานโครงการควบคุมปัญหาการขาดสารไอโอดิน

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 ถวายเหรียญทองสดุดีพระเกียรติคุณในการที่ทรงห่วงใยสุขภาพปอดของประชาคมโลก

วันที่ 3 มีนาคม 2542 ถวายรางวัล Lions Humanitarean Award

วันที่ 9 ธันวาคม 2542 ถวายเหรียญThe Telefood Modal

วันที่ 18 มกราคม 2543 ถวายเหรียญ Sandford Modal

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 รางวัล Lalaounis cup

วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ถวายโล่เฉลิมพระเกียรติ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)

วันที่ 5 มิถุนายน 2543 ถวายเหรียญรางวัล Merite de L lnvention

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ถวายเหรียญ The Berkeley Model

วันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2543 ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น 5 รางวัล ที่ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศ เบลเยียม

วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ถวายแผ่นจารึกเทิดพระเกียรติขององค์กรอนามัยโลก

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2544 ถวายรางวัล Gold Modal with mention

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 ถวายเหรียญทองคำ Golden shining Symbol of world

Leadership

วันที่ 22 ธันวาคม 2546 ถวายรางวัล Colombo Plan

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 ถวายรางวัล UN-HABITAT-Scroll of Honour Award

(special citation)

วันที่ 23 พฤษภาคม 2548 ถวายรวงข้าวทองคำ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP)

วันที่ 19 ตุลาคม 2549 ถวายเหรียญรางวัล Dr.Norman Borlaug Medallion

วันที่ 29 มกราคม 2550 ถวายรางวัล Global Leaders’Award

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ถวายรางวัล IFIA Cup

วันที่ 14 มกราคม 2552 รางวัลผู้นำระดับโลก คือรางวัลล่าสุด ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมอบให้กับพระองค์ท่านในหลายสาขา ที่ทั่วโลกยอมรับในผลงานและความเสียสละ เพื่อช่วยเหลือประชาชนคนไทย และมวลมนุษย์โครงการพระราชดำริต่างๆ ของพระองค์นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 เป็นต้นมา นับเป็น 1,000 – 2,000 โครงการขึ้นไป ได้ช่วยเหลือประชาชนคนไทยแล้ว

ยังได้ช่วยเหลือชาวต่างชาติหลายประเทศทั่วโลก ที่ได้นำโครงการในพระราชดำริไปใช้ในประเทศของตนเองโดยมาศึกษาดูงาน และส่งผู้เชี่ยวชาญมาเรียน พร้อมกับขอนักวิชาการของไทยที่มีประสบการณ์ไปแนะนำเป็นต้น

ในนามพสกนิกรชาวไทย มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในพระองค์ท่านที่ชาวไทยและหลายประเทศทั่วโลก ยอมรับผลงานที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ ในชื่อ “ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง” (SUFFICIENCY ECONOMY)

โครงการของพระองค์ที่มากมาย นอกจากจะช่วยเหลือราษฎรให้มีชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยแก้ไขคนในสังคมไทยลดความขัดแย้ง มีความรู้ รัก สามัคคี

พระองค์ยังเป็นผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโดยได้นำพระราชพิธีต่างๆ ในอดีตมาใช้ใหม่ เช่น พิธีเสด็จทอดพระกฐิน ทางชลมารค และล่าสุดที่ประทับใจมากในงานออกเมรุพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่จัดได้สมพระเกียรติ

สรุป

ในชีวิตของกระผมที่ได้เกิดมาในผืนแผ่นดินไทย ได้เห็นภาพ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ในวันที่พระองค์ท่านทรงเฉลิมฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี มีกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์จากทั่วโลกมาร่วมชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงที่ประเทศไทย ยังเห็นภาพที่ประชาชนเป็นจำนวนหลายแสนคน ใส่เสื้อเหลืองมาเฝ้ารับเสด็จที่พระที่นั่งอนันต์คสมาคม แล้วอดภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย หรือลูกของพ่อหลวงเป็นอย่างยิ่ง สมแล้วที่พระองค์ท่านเป็นนักคิด นักเขียน นักพัฒนา นักสร้างทฤษฎีใหม่ให้กับคนทั่วไป

“ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในโลก”

THE KING OF THE WORLD

นายสวัสดิ์ สุธีบรรเจิด

รหัส 511307148128

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

พระอนันต์ยศ พฤทธิ์พิพิธธน

ยกย่อง"ในหลวง"นักประดิษฐ์โลก ผู้นำด้านทรัพย์สินทางปัญญา

เป็นข่าวปลาบปลื้มของพสกนิกรชาวไทยอย่างยิ่งในรอบปี เมื่อ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO (World Intellectual Property Organization) ได้แถลงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล "โกลบอล ลีดเดอร์ อวอร์ด" (WIPO Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ด้วยทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระองค์ ทั้งกำลังพระราชหฤทัยและกำลังพระวรกาย สร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ พัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย ทรงใช้งานทรัพย์สินทางปัญญาส่งเสริมและพัฒนาประเทศ รวมถึงพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นได้อย่างโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก

การที่ทรงพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ มากมายนั้น ล้วนแต่เป็นผลงานที่เป็น ทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งสิ้น เช่น บทเพลงพระราชนิพนธ์ทุกบทเพลง หนังสือพระมหาชนก หนังสือแนวคิดทฤษฎีใหม่ ฯลฯ

ปัจฉิมา ธนสันติ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เล่าถึงรายละเอียดต่างๆ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแท้จริง พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เริ่มตั้งแต่ทรงประดิษฐ์สร้างเรือใบ "ซุปเปอร์มด" แล้วทรงนำไปจดทะเบียนในต่างประเทศ

ถัดจากนั้นต่อมา ทรงประดิษฐ์คิดค้น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำงานได้ผลอย่างจริงจัง ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรของไทย และถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่จดทะเบียนในประเทศไทย "กังหันน้ำชัยพัฒนา" เรียกได้ว่าเป็นเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย สามารถแก้ปัญหาน้ำเสียเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม จดทะเบียนสิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536

นับแต่นั้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงประดิษฐ์คิดค้นหลายสิ่งหลายอย่างมาอย่างต่อเนื่อง และได้จดทะเบียนสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตรรวมแล้วมีทั้งหมด 8 คำขอ อาทิ เครื่องเติมอากาศแบบอัดและดูดน้ำ, การใช้น้ำมันปาล์มแบบกลั่นบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ดีเซล เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (ไบโอดีเซล) การทำฝนหลวง เป็นต้น

"โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฝนหลวงนี้ ถือว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมาก ได้ไปยื่นคำขอจดทะเบียนในยุโรป เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2548 ซึ่งตามขั้นตอนระบบของการขอจดสิทธิบัตรนั้น เมื่อยื่นคำขอไปแล้วจะใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 1-2 ปี หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เคยมีมาก่อนก็จะได้รับการจดทะเบียน ซึ่งผลงานการทำฝนหลวงของในหลวงนั้นต้องถือว่าพระองค์ท่านทรงมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และทรงให้ความสำคัญในการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา ดังเช่นเมื่อปี 2544 เมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านมีพระดำรัส ว่า "...เรื่องทรัพย์สินทางปัญญามีมานานแล้ว ทั้งเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร มีความสำคัญมาก..."

รองอธิบดีปัจฉิมา กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อปี 2500 ประเทศไทยเรามักไปลอกเลียนสิ่งประดิษฐ์มาจากประเทศอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นว่าคนไทยเมื่อก่อนมาจากการลอกเลียนแบบ แต่จริงๆ แล้วคนไทยก็เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น แล้วพระองค์ท่านมีรับสั่งว่า ถ้าประเทศไทยมีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา คนไทยจะเจริญ

รองอธิบดีปัจฉิมา กล่าวต่อไปว่าในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงจดในนามพระปรมาภิไธย แต่ใช้เป็นเครื่องหมายทางการค้า เช่น บริษัท สุวรรณชาด ทรงใช้เครื่องหมายทางการค้าเป็นรูปสุนัขทรงเลี้ยง "คุณทองแดง" หรือ โครงการหลวง ทรงใช้เครื่องหมายการค้า "ธรรมชาติ" เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้างในสี่เหลี่ยมเป็นพื้นสีเขียวเขียนคำภาษาอังกฤษ "THAMMACHAD" ใต้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย "ธรรมชาติ" ทั้งนี้ ก็เพื่อสื่อให้คนไทยหันมารักสุขภาพ กินอาหารที่มาจากธรรมชาติ

นอกจากนี้ทรงมีผลงานทางด้านวรรณกรรม คือ โครงการทฤษฎีใหม่, พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก งานทางด้านศิลปกรรม เช่น เหรียญพระมหาชนก รูปวาดในพระมหาชนก ซึ่งเกิดจากพระราชดำริของพระองค์ท่าน และที่จะอดกล่าวถึงไม่ได้ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ ก็เป็นผลงานที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของพระองค์ท่านทั้งสิ้น

รองอธิบดีปัจฉิมา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระผู้นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจึงมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมากมาย ส่วนมากแล้วเป็นองค์กรระดับโลกทั้งนั้น อาทิ รางวัลจากไอเอฟไอเอ จากผลงาน กังหันน้ำชัยพัฒนา เหรียญรางวัล Genius Medal จากผลงาน ทฤษฎีใหม่ และเศรษฐกิจพอเพียง ถวายรางวัล Special Prize จากองค์กร KIPA ล่าสุด นายโคฟี อันนัน ในนามยูเนสโก ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

"ความที่พระองค์ท่านทรงเป็นนักประดิษฐ์เช่นนี้เอง ทำให้องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล WIPO Global Leaders Award หรือรางวัลผู้นำทรัพย์สินทางปัญญาโลก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะมีผู้แทนขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เดินทางมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในฐานะที่ทรงเป็นนักประดิษฐ์โลก โดยรางวัลนี้นับเป็นรางวัลแรกของ WIPO ที่จัดทำขึ้นและถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นลำดับแรก

"กรมทรัพย์สินทางปัญญามีความภาคภูมิใจอย่างมากที่พระเจ้าอยู่หัวของเราทรงเป็นผู้นำทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา และทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการจดสิทธิบัตรต่างๆ เพราะถ้าหากพระองค์ท่านแค่สร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมา แต่ไม่ได้คำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิ คนไทยก็จะสูญเสียประโยชน์อย่างมหาศาล" รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าว

สำหรับผลงานด้านสิทธิบัตรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีมากมาย ส่วนหนึ่งที่ทรงได้รับการถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ได้แก่

1.สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 3127 เรื่อง เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (กังหันน้ำชัยพัฒนา) เป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ใช้ในการเติมออกซิเจนลงในน้ำที่ระดับผิวน้ำ ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536

2.สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 10304 เรื่อง เครื่องกลเติมอากาศแบบอัดอากาศและดูดน้ำ เป็นเครื่องกลเติมอากาศใช้ในการเติมออกซิเจนลงในน้ำที่ระดับลึกลงไปใต้ผิวน้ำจนถึงด้านล่างของแหล่งน้ำ ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2544

3.สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 10764 เรื่อง การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2544

4.อนุสิทธิบัตรเลขที่ 841 เรื่อง การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ เป็นการใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ทดแทนน้ำมันหล่อลื่นที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียมสำหรับเครื่องยนต์สองจังหวะ (เช่น เครื่องรถมอเตอร์ไซค์ เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น) ถวายการรับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2545

5.สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 13898 เรื่อง การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) เป็นกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่มีการทำฝนทั้งในระดับเมฆอุ่นที่ระดับต่ำกว่า 1 หมื่นฟุต และเมฆเย็นที่ระดับสูงกว่า 1 หมื่นฟุต พร้อมๆ กัน ซึ่งทรงเรียกว่า "ซุปเปอร์แซนด์วิช" ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2545

6.สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เลขที่ 14859 เรื่อง ภาชนะรองรับของเสียที่ขับออกจากร่างกาย เป็นภาชนะที่ทรงออกแบบไว้เป็นการเฉพาะสำหรับรองรับปัสสาวะของผู้ป่วย ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546

7.สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 16100 เรื่อง อุปกรณ์ควบคุมการผลักดันของเหลว เป็นเครื่องยนต์ที่ขับดันน้ำเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเรือ ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2547

8.สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 22637 เรื่อง กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน) เป็นการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ ให้เป็นดินที่มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชต่างๆ ได้ โดยใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติเพื่อแกล้งให้ดินมีสภาพเปรี้ยวจัดก่อน แล้วทำการชะล้างความเปรี้ยวของดิน และทำการปรับสภาพดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกต่อไป ถวายการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2550

ผลงานทั้งหมดที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นนั้น หากจะเปรียบเทียบกับชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ แล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือรางวัลทั้งหลายทั้งปวงไม่มีอะไรเทียบได้ ก็คือ "น้ำพระทัย" และ "พระเมตตา" แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทำทุกอย่างเพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน ให้พสกนิกรอยู่ดีกินดี มีความสุขสถาพร

พระอนันต์ยศ พฤทธิ์พิพิธธน

รหัส 511307149121

ในหลวงของเรา : ผู้นำในดวงใจของคนไทยทั้งชาติ

เหตุผลที่คนไทยรักในหลวงนั้นมีมากมายเกินกว่าจะบรรยายแต่ถ้าจะให้พูดสั้นก็น่าจะเป็นเพราะพระองค์ท่านทรงเป็นผู้ให้...."ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก" และทรงเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดยากที่จะหาบุคคลใดเทียบได้ โดยเฉพาะทรงมีทศพิธราชธรรมในการปกครองอาณาประชาราษฎร์ ดังพระราชดำรัสที่ทรงตรัสว่า ..."เราจะครองแผ่นโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแด่มหาชนชาวสยาม" ซึ่งนับแต่ใพระองค์ท่านได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ.2489 ตราบจนปัจจุบัน เป็นเวลาถึง 63 ปี เป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงรักและห่วงใยพสกนิกรยิ่งกว่าพระองค์เอง ทรงมีความผูกพันใกล้ชิดกับราษฎร ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อขจัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์โดยมิได้ทรงย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบากตรากตรำพระวรกาย ได้ทรงพระกรุณาอุทิศเวลา อุทิศกำลังพระวรกาย กำลังพระปัญญา และกำลังพระราชทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาของราษฎร ยากที่จะหากษัตริย์พระองค์ใด ๆ ในโลกเทียบเทียมได้ คนไทยทั้งชาติได้ประจักษ์.....

บันทึก ๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ เพราะเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี...ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก และเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวโรกาสสำคัญยิ่งนี้ ทีมข่าวสตรีไทยรัฐ ได้ทำการรวบรวม ๖๐ เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับในหลวงของเรา นำมาถ่ายทอดสู่สาธารณชน โดยครอบคลุมทั่วทุกด้าน ตั้งแต่พระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจสำคัญๆ รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยส่วนพระองค์

๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเฉลิมพระ ปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

๒) เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่

๓) ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทุกพระองค์ประสูติในต่างประเทศ

๔) เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อพระชนม์ได้ ๑ ชันษา ในเดือนธันวาคม ๒๔๗๑

๕) ทรงสูญเสียทูลกระหม่อมพ่อตั้งแต่ พระชนม์ไม่ถึง ๒ พรรษา โดยสมเด็จพระบรมราชชนกทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒

๖) ทรงศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศตลอดพระชนม์ชีพ เว้นแต่ในช่วงพระชนมพรรษา ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี ๑ ปี ก่อนเสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

๗) ทรงจบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์, ชั้นมัธยมจากโรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ ต่อมาในปี ๒๔๘๑ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากนั้น จึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกแผนกวิทยาศาสตร์

๘) เสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่สอง วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ ขณะมีพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา

๙) เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ คณะรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์แทน แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จฯกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

๑๐) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่สอง หลังประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข

๑๑) ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒

๑๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในเดือนต่อมา

๑๓) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีขึ้นเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

๑๔) ทรงมีพระราชธิดา ๓ พระองค์ และพระราชโอรส ๑ พระองค์ โดยทุกพระองค์ประสูติที่เมืองไทย ยกเว้นพระราชธิดาองค์โตคือ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

๑๕) ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยทรงมีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

๑๖) เสด็จเยือนต่างประเทศเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๒ โดยเสด็จเยือนเวียดนามเป็นประเทศแรก และเสด็จเยือนแคนาดาเป็นประเทศสุดท้าย ในปี ๒๕๑๐ รวมทั้งสิ้น ๓๑ ครั้ง ๒๘ ประเทศ และนับแต่นั้นมามิได้เสด็จออกนอกพระราชอาณาจักรอีกเลย

๑๗) การเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการยาวนานที่สุดกินเวลา ๗ เดือนเต็ม มีขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๓ โดยเสด็จเยือน ๑๔ ประเทศในภูมิภาคยุโรป และอเมริกา

๑๘) จตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสะท้อนความภาคภูมิใจของชาวเมืองเคมบริดจ์ ในฐานะที่เป็นเมืองเดียวของสหรัฐอเมริกาที่เคยมีพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชสมภพ

๑๙) ทรงขึ้นชื่อว่าเป็นอัครศิลปิน เพราะทรงเปี่ยมด้วยพระอัฉริยภาพหลายด้าน โดยทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจากตำราต่างๆ ในด้านจิตรกรรม ทรงเริ่มสนพระทัยวาดภาพ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และทรงวาดภาพอย่างจริงจัง เมื่อปี ๒๕๐๒ โดยมักจะทรงใช้เวลาในตอนค่ำหลังว่างจากพระราชภารกิจ แต่นับจากปี ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ก็มิได้ทรงเขียนภาพอีกเลย

๒๐) เมื่อปี ๒๕๒๕ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ จำนวน ๔๗ ภาพ ไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งยังทรงดำรงสิริราชสมบัติอยู่ ทรงแสดงภาพจิตรกรรมในฐานะศิลปินเดี่ยว

๒๑) ด้านประติมากรรม ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ ทั้งงานปั้น, หล่อ และทำแม่พิมพ์ งานประติมากรรมฝีพระหัตถ์แบบลอยตัว เก็บรักษาที่ตู้บนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มี ๒ ชิ้นคือ รูปปั้นผู้หญิงเปลือยนั่งคุกเข่า ปั้นด้วยดินน้ำมัน และพระรูปปั้นครึ่งพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ

๒๒) โปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ เช่นเดียวกับสมเด็จพระ บรมราชชนนี โดยทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงจัดทำห้องมืดขึ้นที่ชั้นล่างตึกทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ส่วนใหญ่เป็นแบบฉับพลันทันเหตุการณ์ ซึ่งทรงบันทึกไว้ระหว่างเสด็จฯไปตามสถานที่ต่างๆ

๒๓) ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทุกภาพ จะทรงจัดให้มีหมายเลขประจำภาพ เช่น ภาพครอบครัว, พระราชพิธี, ภาพราษฎรที่มาเฝ้า รวมถึงภูมิประเทศต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

๒๔) ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานที่ใด จะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ ๓ สิ่งคือ แผนที่ ซึ่งทรงทำขึ้นเอง, กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ โดยเวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนลงบนแผนที่ เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงกระทำมาก่อน

๒๕) ทรงเคยประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องร่อน และเรือรบจำลอง

๒๖) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของโลก ที่ทรงได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์ คิด ค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา เมื่อปี ๒๕๓๖

๒๗) กีฬา โปรดของพระ องค์คือ แบดมินตัน, สกี และเรือใบ

๒๘) เมื่อปี ๒๕๐๗ ทรงต่อเรือใบที่ใช้งานได้จริงลำแรก เป็นเรือมาตรฐานสากลประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ คลาส พระราชทานชื่อว่า ราชปะแตน และปล่อยเป็นปฐมฤกษ์ในคูน้ำรอบสวนจิตรลดา

๒๙) ทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองมาแล้วหลายลำ รวมถึงเรือชื่อ มด, ซุปเปอร์มด และไมโครมด ซึ่งจดทะเบียนระดับนานาชาติประเภท Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ

๓๐) นอกจากจะทรงโปรดเครื่องดนตรีเป่าทุกชนิดแล้ว ยังทรงกีตาร์และเปียโนด้วย ทรงเป็นผู้นำด้านการประพันธ์เพลงสากลของเมืองไทย โดยใส่คอร์ดดนตรีแปลกใหม่และซับซ้อน ทำให้เกิดเสียงประสานที่เข้มข้น

๓๑) เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงซื้อคือ คลาริเน็ต เมื่อพระชนมพรรษา ๑๐ พรรษา

๓๒) ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา โดยเพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ แสงเทียน และจนถึงขณะนี้ พระราชนิพนธ์เพลงไว้แล้ว ๔๗ เพลง

๓๓) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๒๙ ทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์พระราชนิพนธ์ คำร้องและโน้ตเพลงครั้งแรก

๓๔) ทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๓๕) ทรงตั้งวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ย่อมาจากชื่อพระที่นั่งอัมพรสถาน สถานที่ทรงก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ส่วนวันศุกร์คือ วันที่ทรงดนตรีเป็นประจำ

๓๖) ทรงมีพระปรีชาสามารถโดดเด่นด้านภาษา โดยทรงถนัดทั้งภาษาฝรั่งเศส, เยอรมัน และอังกฤษ

๓๗) นอกจากจะทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง อาทิ พระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และเรื่อง เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ยังทรงอุทิศเวลาให้ กับพระราชนิพนธ์แปลด้วย เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ, ติโต และพระมหาชนก ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากพระไตรปิฎก

๓๘) พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ๒๕๓๑ ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดพิมพ์ในโอกาสพระราชพิธีฉลองปี กาญจนาภิเษก เมื่อปี ๒๕๓๙

๓๙) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงขับรถยนต์ พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง โดยเป็นระยะทางไกลจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงใหม่

๔๐) เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของประเทศไทย

๔๑) เสด็จฯทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคลสายแรกของประเทศ และประทับรถไฟใต้ดิน เมื่อวันที่๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗

๔๒) ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตร เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์, ดีโซฮอล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี

๔๓) ทรงมีสุนัขทรงเลี้ยง ๓๔ ตัว มีคุณทองแดง สุวรรณชาด เป็นสุนัขทรงโปรด ได้รับฉายาว่า สุนัขประจำรัชกาล

๔๔) ทรงช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่เกษตรกร ทำให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน

๔๕) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ โครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน

๔๖) ทรงริเริ่มโครงการนาข้าวทดลอง ในบริเวณสวนจิตรลดา จากนั้นทรงริเริ่มโครงการโรงโคนม จัดตั้งเป็นโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การเลี้ยงโคนมอย่างถูกวิธี

๔๗) จนถึงปัจจุบัน มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วเกือบ ๓ พันโครงการ มีทั้งเรื่องการศึกษา, สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุข, สวัสดิการสังคม และชลประทาน

๔๘) โครงการหลวง เป็นโครงการที่ทรงริเริ่มขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๒ เพื่อช่วยเหลือชาวเขาทางภาคเหนือให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกปลูกฝิ่นและหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทน

๔๙) เนื่องจากทรงห่วงใยพสกนิกรที่ต้องทนทุกข์จากการอาศัยในถิ่นทุรกันดารขาดแคลนน้ำ จึงทรงริเริ่มโครงการฝนหลวง โดยทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าครั้งแรก ที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี ๒๕๑๒

๕๐) ทรงริเริ่มโครงการเพื่อการศึกษาไว้มากมาย โดยทรงตั้งทุนภูมิพลพระราชทานทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนทุนเล่าเรียนหลวง ริเริ่มขึ้นในสมัย ร.๕ และยกเลิกไปเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังทรงรื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี ๒๕๐๘ เพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ นำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง

๕๑) โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

๕๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามภูมิภาคต่างๆ รวม ๖ แห่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชนบท

๕๓) โครงการพระดาบส เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นปี ๒๕๑๙ เพื่อให้การศึกษาแก่บุคคลทั่วไไม่จำกัดเพศ วัย และวุฒิการศึกษา

๕๔) ในปี ๒๕๓๕ องค์การอนามัยโลก ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญเทิดพระเกียรติ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านสุขภาพอนามัยเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง

๕๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาล ที่ปากทางเข้าเขตพระราชฐานเกือบทุกแห่ง โดยไม่คิดค่ารักษา

๕๖) ชาวบ้านจำนวนมากทุกข์ทรมานจากโรคฟัน จึงทรงให้จัดตั้งหน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่

๕๗) ทรงก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาประเทศไว้หลายแห่ง รวมถึง มูลนิธิชัยพัฒนา เน้นช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเร่งด่วน ซึ่งทางราชการไม่สามารถดำเนินการพัฒนาได้ทันที

๕๘) โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทรงคิดค้นเพื่อระบายน้ำท่วมขัง และกักน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง

๕๙) ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทรงพระราชทานปรัชญาสำคัญแก่ประชาชนชาวไทย นั่นคือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีพอย่างพอเพียง โดยยึดหลักทางสายกลาง

๖๐) ล่าสุด ทางสหประชาชาติ นำโดย โคฟี อันนัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ยูเอ็นยกย่องว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ซึ่งทรงริเริ่มปรัชญาสำคัญๆไว้มากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการชื่นชมไปทั่วโลก และมีหลายประเทศนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนา

ความรู้สึกรักในหลวงของคนไทยไม่ใช่เพียงแต่ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่เพราะมีเหตุผลมากมายที่เป็นที่ประจักษ์ชัด ซึ่งเราต่างมีเหตุผลที่คงไม่แตกต่างกันเพราะทุกคนได้เห็นพระจริยวัตรอันงดงามจากสื่อต่าง ๆ ถึงแม้จะเป็นเพียงบางส่วนของสิ่งที่พระองค์ทำเพื่อคนไทย ความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่คงเหมือนกับข้าพเจ้าที่รู้สึกซาบซึ้งจนไม่อาจกลั้นน้ำตาแห่งความปลื้มติทุกครั้งที่ได้สัมผัสกับภาพอิริยาบถของท่านจากสื่อต่าง ๆ จากความรู้สึกของคนไทยที่ถ่ายทอดผ่านสื่อ หลายคนคงรู้สึกเช่นนี้เหมือนกันใช่มั้ยครับ

จากมุมมองของผมคนไทยรักในหลวงเพราะ

1. ในหลวงมีพระหฤทัยที่อ่อนโยน เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของพสกนิกรทุกระดับ ทุกเชื้อชาติศาสนา

2. ในหลวงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งปวงเพื่อความสุขของคนไทยเป็นที่ตั้ง

3. ในหลวงทรงพระปรีชาสามารถในทุกด้าน และทรงอุทิศกำลังพระวรกาย พระหฤทัย รวมทั้งพระปรีชาสามารถนั้นให้แก่ประเทศไทยเพื่อความสุขของคนไทยอย่างแท้จริง

4. ในหลวงทรงเป็นตัวอย่างในเรื่องการศึกษา ท่านทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เองในหลาย ๆ ด้าน ทำให้ท่านมีความรอบรู้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาการเกษตร สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

5. ในหลวงทรงเป็นแบบอย่างของความพอเพียงที่ใช้สอนให้คนไทยได้ประจักษ์จากสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติเองเป็นแบบอย่าง

***และอีกหลายเหตุผลที่คงพรรณนาไม่หมด****

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท