การติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของ สพท. ตาม A1 – A4


          ราว พ.ศ.2551  สพฐ.ได้กำหนดวิธีติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายของ สพฐ. โดยตั้งคณะติดตามการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทั้ง 185 เขต(ขณะนั้น)
     วิธีการประเมินติดตามฯก็คือหลังจากที่ สพฐ.กำหนดนโยบายตามกลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ ให้ สพท.นำไปขับเคลื่อนสู่สถานศึกษา  แต่ละปีก็จะมีการไปดูกระบวนการและผลการขับเคลื่อนเป็น 2 ระยะ 
รอบแรกไปดูกระบวนการขับเคลื่อน(
A1-A2)  รอบสองคือครั้งนี้ก็จะไปดูผลที่เกิดขึ้น  และดูความต่อเนื่องยั่งยืน(A3-A4)  การไปครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สองของปีงบประมาณ 2551 จึงเป็นการไปดูผลการขับเคลื่อนตาม A3 และ A4 นั่นเอง
         เครื่องมือและเกณฑ์การติดตามก็คงเหมือนกับทุกครั้งคือ มี 2 ระบบ ได้แก่
       1.
Tracking System (A1-A4)
       2. Rubric  Assessment

           Tracking System  ได้แก่
          
A1 (Awareness)  คือความตระหนัก  ได้แก่  รับรู้  เข้าใจ  มีแนวคิดเชิงประยุกต์  สร้างสรรค์  กระตือรือร้น  มุ่งมั่น  เห็นประโยชน์  ความสำคัญ
          
A2 (Attempt)  คือความพยายาม  ได้แก่  ความพร้อมของข้อมูล  สารสนเทศ  ผู้รับผิดชอบ การวางแผน การดำเนินงาน  การนิเทศติดตาม  ประเมินผลการพัฒนา  ปรับเปลี่ยนกระบวนการเป็นระยะเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย           
          A3 ( Achievement )
คือความสำเร็จ  ได้แก่ผลที่เกิดขึ้นเทียบกับเป้าหมาย ( ผลเชิงกระบวนการ/ผลผลิต/ผลลัพธ์ ) เกิดวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ( Best Practices)
            
A4 ( Accredited System )   คือความต่อเนื่องยั่งยืน  ได้แก่ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดเวทีวิชาการ เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ขยายผล  สร้างเครือข่าย  บุคลากรเกิดจิตวิญญาณในการสืบทอดอย่างยั่งยืน 
       
  ในแต่ละTrack จะกำหนดระดับของการปฏิบัติเป็น Rubric  เพื่อให้เห็นมิติย่อยของการปฏิบัติด้วย
          ที่จริง
Tracking System  ก็เป็นระบบประเมินการขับเคลื่อนที่คล้ายวงจร PDCA นั่นเอง
   อย่างไรก็ตาม ได้มีเสียงสะท้อนถึงวิธีการติดตามแบบนี้จากบางคนว่า

การติดตามและประเมินผลจากส่วนกลางเป็นการดำเนินการที่ส่งผลดีในระดับต่ำมาก  สิ้นเปลืองสูง  สร้างค่านิยมรวมอำนาจ   ถ้าเปลี่ยนเป็นเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น และประชาสังคมติดตามฯ น่าจะได้ผลดีกว่าในระยะยาว

     และทราบว่าในระยะต่อๆมา  สพฐ.ได้ใช้การติดตามในระบบคอมพิวเตอร์เป็นแนวทางหลัก


    หมายเลขบันทึก: 237274เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2020 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (7)
    • การติดตามและประเมินผลจากส่วนกลางเป็นการดำเนินการที่ส่งผลดีในระดับต่ำมาก
    • สิ้นเปลืองสูง
    • สร้างค่านิยมรวมอำนาจ
    • เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น และประชาสังคม ติดตามฯน่าจะได้ผลดีกว่าในระยะยาว
    • เอางบที่ออกติดตามฯจากส่วนกลางนี่แหละไปส่งเสริมท้องถิ่นและประชาสังคม
    • ส่วนพวกเจ้าหน้าที่ที่เคยออกไปติดตามฯเขา ลองลงไปแปรยุทธศาสตร์ให้เป็นผลประจักษ์แก่หู แก่ตา ของฝ่ายปฏิบัติ และคนทั่ว ๆไป น่าจะช่วยกระตุ้นฝ่ายปฏิบัติได้ดีกว่า และได้ทำตัวให้เกิดประโยฃน์มาก ๆด้วย
    • ส่วนกลาง ลองคิดหาวิธีติดตามฯ ที่มันง่าย สร้างสรรค์ ประหยัด และได้ผล บ้างดีไหม?
    • เคยรู้สึกบ้างไหมว่า อยู่กรุงเทพฯ ต้องเดินทาง ขึ้นเหนือ ล่องใต้ เพือไปทำสิ่งที่ได้ผลน้อย ๆ น่ะ มันเพื่ออะไรกัน

                                               
                                                                 paaoobtong
                                                                    25/1/52

    สวัสดีครับ

    • ซิน เจีย ยู่ อี่  ซินนี้ฮวดไช้   
    • เฮง เฮง เฮง

    ขอบคุณ KRUPOM มาส่งความสุขทั้งวันตรุษจีนและวันมาฆะบูชา ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ

    อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ tracking system พอแนะนำบ้างได้ไหมคะ

    สาระก็เหมือนข้างบนนั่นแหละ ก็คือวงจร PDCA ของเดมมิ่งนั่นแหละ เพียงแต่ให้ความสำคัญเรื่องความตระหนัก A1 เป็นพิเศษ เพราะถือว่าเรื่องใจนั้นสำคัญมากๆ และเรื่องความต่อเนื่องยั่งยืนด้วย

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท