ห่างหายการบันทึกไปพักใหญ่ เพื่อร่วมดำเนินการจัดการความรู้ตามแผนที่วางไว้ ผ่านพ้นไป 1 เดือน ถึงเวลาเล่าสู่กันฟังต่อแล้วครับ ว่าการเริ่มต้นจัดการความรู้ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอย่างไรบ้าง
1 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ทีม KM ทีม 4
ทีมแรกได้เริ่มจัดกิจกรรมเติมเต็มความรู้
โดยใช้เวลาช่วงบ่ายทุกวันศุกร์เป็นเวลาจัดกิจกรรม เติมเต็ม core
competency เรื่องแรกคือ เพิ่มทักษะการทำงานเป็นทีม
มีการจัดกิจกรรมหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมร่วมกันแก้ไขโจทย์ปัญหา
กิจกรรมแข่งกีฬามหาสนุกที่ต้องใช้การทำงานเป็นทีมจึงจะชนะ
กิจกรรมร่วมพัฒนาทักษะคลายความเครียดของร่างกายและจิตใจ เป็นทีม
ฯลฯ
ทุกครั้งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 45-60 คน บรรยากาศ สนุกสนาน เฮฮา มีการตั้งรางวัลล่อใจ และแจกรางวัลเป็นแรงเสริม เมื่อสิ้นสุดการประชุม ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประเมินผลหลายหัวข้อ แต่ในหัวข้อที่ถามว่า ผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้หรือไม่ ส่วนใหญ่ ให้คะแนน พอใช้ถึงดีมาก(rating scale 3-5)
ผู้บริหารระดับผู้ช่วยคณบดีถึงคณบดีเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง โดยกำหนดผู้บริหารประจำทีมต้องเข้าร่วม ส่วนผู้บริหารคนอื่นขอให้เข้าร่วมถ้ามีเวลาว่าง
หลังจากจัดงานมีการทำ After Action Review ในทีม KM แต่ละทีม เพื่อฝึกทักษะการทำ After Action Review หลังจากนั้นมีการสรุป Knowledge Asset ในแต่ละครั้ง
ผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมในเบื้องต้นนี้ พบว่า
เราสามารถสร้างบรรยากาศที่เือื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในคณะได้แล้ว
ทีมงาน KM ของเราแต่ละทีมเริ่มสะสมทักษะที่เกี่ยวข้องและ
เราเริ่มเก็บเกี่ยว Knowledge asset เข้าสู่คลังความรู้
แต่ถ้าจะวัดระดับความสำเร็จที่คาดหวังไว้ คิดว่าเพิ่งได้ผลไม่ถึง 10%
ของระดับความสำเร็งที่ต้องการ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นพ. วรรษา เปาอินทร์ ใน KM Faculty of Medicine Thammasat University
เรียนคุณหมอวรรษา
ผมแนะนำ blog ของอาจารย์ลงในจดหมายข่าวถักทอสายใยความรู้ฉบับที่ 17 และจะจัดส่งให้อาจารย์จำนวน 10 ฉบับ
จึงขอที่อยู่ทางไปรษณีย์ เพื่อจัดส่งไปตามนั้นครับ
ด้วยความนับถือ
ธวัช หมัดเต๊ะ