"การเขียน" คือ "การปฏิบัติธรรม"


บันทึกเรื่อง "การเขียน" เดินทางผ่านมาเรื่อย ๆ ทีละน้อย ๆ

 

ประเด็นตอนนี้คือ "การเขียน" ช่างไม่ต่างอะไรกับ "การปฏิบัติธรรม" เชื่อหรือไม่ครับ

เมื่อเครื่องติดก็จะไม่มีผู้เขียน ไม่มีกระดาษ ไม่มีปากกา ไม่มีความคิด มีเพียงการเขียนที่กำลังเขียน อย่างอื่นล้วนมลายหายสูญไปหมด ไม่มีเธอหรือฉันที่กำลังเขียน ไม่มีใครเป็นผู้ตัดสินหรือโอดครวญว่า สิ่งที่เรากำลังเขียนนั้นดีพอหรือไม่ มีเพียงการเขียน การรับรู้ การยอมรับ และการปล่อยวางความคิดที่หลั่งไหลผ่านตัวคุณไปตามความเป็นจริงเท่านั้น

การเขียนสอนเราให้เข้าถึงศักดิ์ศรีแห่งการซื่อสัตย์ต่อตนเองและการยอมรับความจริงได้ดีไม่ต่างจากการฝึการยอมรับชีวิตในปัจจุบันขณะ ตามหลัก "ตถตา" ซึ่งแปลว่า "มันเป็นเช่นนั้นเอง" อันเป็นหนทางสู่การปลดปล่อยอัตตาตันตนทางพุทธศาสนา

 

นาตาลี โกลด์เบิร์ก อาจารย์เซนและผู้เขียนหนังสือ เชื่อในหัวใจ เขียนให้ถึงแก่น ปลดปล่อยนักเขียนในตัวคุณให้เป็นอิสระ กล่าวว่า

"หากคุณแสดงบางสิ่งบางอย่างออกมาโดยปราศจากอัตตา สิ่งนั้นจะเปี่ยมไปด้วยพลัง เพราะมันแสดงถึงวิถีอันจริงแท้ของสรรพสิ่ง ดังนั้นจงปล่อยวางทุกอย่างขณะที่เขียน และลองเริ่มต้นแบบง่าย ๆ ใช้คำพูดธรรมดาสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในใจคุณออกมา การเริ่มต้นอาจไม่ราบรื่น แต่จงปล่อยให้ตัวเองเงอะงะ เพราะการเขียนคือการกำลังเปลื้องผ้าตัวเอง กำลังตีแผ่ชีวิตตัวเอง ไม่ใช่ในแบบที่อัตตาของคุณอยากจะแสดงออก แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง และเพราะเหตุนี้เองทำให้ฉันมองการเขียนเป็นเรื่องทางศาสนาที่จะกะเทาะเปลือกคุณออก และทำให้จิตใจของคุณที่มีต่อโลกอันอบอุ่นใบนี้อ่อนโยนขึ้น"

"ทุกครั้งที่ฉันเขียน ฉันจะรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้น คล้ายกับได้ย่อยสลายความรู้สึกของตัวเองออกมาอย่างเป็นระเบียบลงในกระดาษ แล้วก็สามารถจบกับเรื่องนั้น ๆ ได้ การเขียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาจิตวิญญาณของเรา เปรียบเสมือนการทำความเข้าใจชีวิต เป็นการปลุกให้ตัวเองมาสติ การหยิบปากกาขึ้นมาและจดจ่ออยู่กับตัวเองชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อเขียนสิ่งที่รู้สึกออกมาเป็นตัวอักษร ขั้นตอนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรจากการฝึกสมาธิเลยสักนิดเดียว"

กระบวนการเขียนจะสอนเราถึงเรื่องของสติปชัญญะ เราจะเจริญสติควบคู่ไปกับการเขียนโดยอัตโนมัติ เพราะการเขียนเป็นการอยู่กับปัจจุบันขณะ เป็นการตามดู ตามรู้ และพิจารณาสถาวะจิตของเราอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติธรรมตามแบบเซนและการเขียนจึงทำงานสอดประสานกันเป็นอย่างดี เพราะทั้งการปฏิบัติธรรมและการเขียน คือ การทำงานกับจิต ยิ่งเราเข้าใจจิตของเรามากเท่าไร เราก็ยิ่งทำทั้งสองอย่างได้ดีขึ้นเท่านั้น

 

จงปล่อยให้การเขียนสอนเราเรื่องชีวิต และให้ชีวิตสอนเราเรื่องการเขียน

จงปล่อยให้สองสิ่งนี้หลั่งไหลไปสู่กันและกัน

 

...................................................................................................................................

 

กระบวนการเขียน คือ การปฎิบัติธรรม ด้วยความสัตย์จริง ครับ

ขอบคุณครับ :)

 

....................................................................................................................................

แหล่งอ้างอิง

ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา.  "สมุดชีวิต การเขียนเพื่อพัฒนาชีวิตและปลดปล่อยจิตวิญญาณ", Secret.  1, 13 (10 มกราคม 2552) : 44 - 47.

.....................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 235761เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2009 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์

ขอบคุณคำที่แนะนำ

กำลังพยายามอยู๋ค่ะ

การเขียน เป็นการฝึกตนเอง ในการเรียบเรียงความรู้สึกนึกคิด

เรียบเรียงความคิด จัดระบบความคิด 

ให้เกิดความคิดที่หลากหลาย

ขอบคุณค่ะ

มีความสุข เสมอๆนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

  • ...ชีวิต.."มันเป็นเช่นนั้นเอง"
  • คนเขียนไม่เก่งคงต้องฝึกเขียน  เพื่อการปฏิบัติธรรม
  • จงปล่อยให้การเขียนสอนเราเรื่องชีวิต และให้ชีวิตสอนเราเรื่องการเขียน

    จงปล่อยให้สองสิ่งนี้หลั่งไหลไปสู่กันและกัน

  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ คุณ krutoi :) ... สู้ ๆ ครับ

สวัสดีครับ คุณพยาบาล  สีตะวัน :)

การเขียนสอนเราให้เข้าถึงศักดิ์ศรีแห่งการซื่อสัตย์ต่อตนเองและการยอมรับความจริงได้ดีไม่ต่างจากการฝึการยอมรับชีวิตในปัจจุบันขณะ ตามหลัก "ตถตา" ซึ่งแปลว่า "มันเป็นเช่นนั้นเอง" อันเป็นหนทางสู่การปลดปล่อยอัตตาตันตนทางพุทธศาสนา

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านรอบที่สองค่ะ

ยิ่งอ่านก็ยิ่งชอบและเห็นด้วยมากขึ้นค่ะ

สำหรับตัวเองแล้ว เมื่อได้เขียน...ทำให้พบว่า เราได้รู้จัก ตัวตน ของเราในแง่มุม ที่เราไม่ค่อยเคยเห็น แปลกใจ ดีใจ ตกใจในความเป็นตัวเองด้วยในบางครั้งค่ะ

และเป็นข้อคิดที่ดีค่ะ .... จงปล่อยให้การเขียนสอนเราเรื่องชีวิต และให้ชีวิตสอนเราเรื่องการเขียน...

(^___^)

ขอบคุณมากครับที่คุณ คนไม่มีราก ได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้ชื่นใจ

การเขียน ทำให้รู้จักตัวตนในมุมมองที่ตัวเองก็ไม่ได้ทราบว่า เรามีศักยภาพ นะครับ :)

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ปฏิบัติธรรมค่ะ

เพราะกิเลส ยังเยอะ อยู่ อิ อิ

...

มีแต่ จับภาพ ล้วนๆ ค่ะ อิ อิ

เป็นกำลังใจให้ อ. เสือ

ปฏิบัติธรรม แทน แล้วกันนะคะ

....

ว่างๆ มาปฏิบัติธรรม ที่ทะเลบ้างก็ได้ค่ะ :)

 

ผมเองก็ "คนห่างวัด" ไม่น้อยครับ คุณ poo :)

ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติธรรมอันเป็นเรื่องเป็นราว

อาจจะมีอคติ หรือรู้จักตนเองมากพอแล้วก็ได้ครับ

เคยเห็นเพื่อนไปปฏิบัติธรรมที่เหมือนกับแค่หนีปัญหาไปชั่วคราว

กลับมาก็ต้องเผชิญปัญหาเดิมอยู่ แถมยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง

ผมเลือก "ปฏิบัติธรรม" ในชีวิตจริงก่อนแล้วกันนะครับ :)

๕ ๕ เหมียนเดิม ๆ เลย อ.เสือเรา

...

เอ หรือปูเขียน สื่อสารผิดอีกแล้ว

ก็ อ. บันทึก การเขียน คือ การปฏิบัติธรรม

ปูหมายถึง ปูไม่ค่อยได้ เขียนบันทึกเท่าไหร่ค่ะ

ช่วงนี้ ....

...

คนละรุ่น ๆ ต่างวัย กัน จรีงๆ ด้วย อิ อิ :)

แต่ไงก็ เห็นด้วยกับ

"ปฏิบัติธรรม" ในชีวิตจริง

เพราะ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ จากตัวเอง

....

ไปทะเล กัน ไหมคะ ... มีภูเขาด้วยหนา

*+* ... อิ อิ .. คุณ poo

"ตัวหนังสือ" ไม่เห็นหน้า เข้าใจอารมณ์ผิดเสมอ ครับ

ขออภัย :)

ตามอ่านตั้งแต่บันทึกแรกค่ะ ไม่มีเวลามาทิ้งรอยเลย แต่ขอบคุณที่นำเรื่องดีมาถ่ายทอดค่ะ การเขียนคือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง อันนี้ได้ใจจริงๆ เพราะเมื่อไร ๆ ก็ไม่เห็นใครพูดเรื่องเขียนเท่าเรื่องอ่านเรื่องทำงานเลย

อ้าว พี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี อ่านตั้งแต่แรกแล้วเหรอครับ :)

ขอบคุณครับ ...

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับ สำหรับสิ่งดีๆ ที่นำมาแบ่งปัน

ชอบมากครับ สำหรับประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับ "การเขียนเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณ"

จะขอน้อมรับไปปฏิบัติดูครับ

ขอบคุณครับ คุณ ณภัทร๙  .. ยินดีนัก ๆ ครับ

จงปลอ่ยให้การเขียนสอนเราเรื่องชีวิต

และปลอ่ยให้ชีวิตสอนเราเรื่องการเขียน

จงปลอ่ยให้สองสิ่งนี้หลั่งไหลไปสู่กันและกัน

ขอบคุณบันทึกดีๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท