กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำบทความของตนเองที่เขียนลงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร มารวมเป็นหนังสือ


กรณีศึกษา :

การนำบทความของตนเองที่เขียนลงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร มารวมเป็นหนังสือ จะสามารถกระทำได้มากน้อยเพียงใด ?

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

"...กรณีดังกล่าวจะสามารถกระทำได้มากน้อยเพียงใดนั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น ๒ กรณี

กรณีแรก ... หากการเขียนบทความนั้นมีการว่าจ้างจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และมีการจ่ายค่าจ้างในลักษณะเป็นจ้างทำของ คือ จำนวนสูง จะเข้าลักษณะของการจ้างทำของ ซึ่งตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ กำหนดไว้ว่า

"มาตรา ๑๐ งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น"

โดยผลของมาตรา ๑๐ ลิขสิทธิ์ในบทความในกรณีแรกนี้จึงเป็นของผู้ว่าจ้าง (หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร) ผู้เขียนไม่มีสิทธิในการนำมารวมพิมพ์เป็นหนังสือ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

กรณีที่สอง ... หากการเขียนบทความนั้นไม่มีการตกลงว่าจ้าง แต่เป็นการที่ผู้เขียนเขียนไปลงพิมพ์เผยแพร่ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารบางแห่งไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน กรณีนี้ย่อมชัดเจนว่าลิขสิทธิ์ในบทความนั้นเป็นของผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน แต่ในบางกรณีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารบางแห่งมีการจ่ายค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อย ค่าตอบแทนนี้เป็นเพียงค่าตอบแทนในการนำบทความนั้นลงพิมพ์ในครั้งนั้น ไม่ใช่การตอบแทนการซื้อลิขสิทธิ์ เช่นนี้บทความนั้น ๆ ยังคงเป็นของผู้เขียนบทความ ผู้เขียนบทความจึงสามารถนำมารวมพิมพ์เป็นหนังสือได้

อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ในทางปฏิบัติ บทความมักจะเป็นกรณีที่สอง เว้นแต่มีข้อตกลงที่ชัดแจ้งจึงจะเข้าข่ายเป็นกรณีแรก..."

.....................................................................................................................................

 

ประเด็นเป็นประโยชน์ต่อนักเขียนหลาย ๆ ท่านที่มีข้อตกลงกันระหว่างผู้เขียนกับหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารนั้น ๆ ... โดยส่วนใหญ่เวลาทำสัญญาข้อตกลง ต้องอ่านให้ดี ๆ ระมัดระวังการเอาเปรียบของหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร ...

ทราบประเด็นกฎหมายข้อนี้ คงช่วยท่านได้มากทีเดียว

ประเด็นกฎหมายในบันทึกนี้เป็นประเด็นสุดท้ายที่จะพูดถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจ

ผมอาจจะกลับไปปรับปรุงวิธีการเขียน การอ้างอิงให้ดีกว่าในภายหลัง

ขอบคุณครับที่ติดตามมาโดยตลอด

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (17 มกราคม 2552).

 

หมายเลขบันทึก: 235755เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2009 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณค่ะอ. wasawatdeemarn

ความรู้ที่ควรต้องรู้

ขออนุญาตนำเข้าแพล็นเน็ตนะคะ ต้องอ่านให้ละเอียด

ชาญเวทย์ อิงคเวทย์

ได้รับประโยชน์มากๆครับ ขอบคุณมากครับ

www.chanvate.com

เพิ่งเป็นสมาชิกค่ะ สนใจกฏหมายลิขสิทธิ์ อ่านบันทึกนี้แล้วชอบมาก จะขออ่านบันทึกเก่าของคุณด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณ ชาญเวทย์ อิงคเวทย์ ;)

ยินดีครับ คุณ จันทน์ผา ;)

เรียนท่านสว. หนอนเสือ คะ มีข้อสงสัย แบบคนโลว์เทค ไม่ค่อยรู้เรื่องค่ะ

....

การนำโลโก้ เพื่อใส่ลิงค์ ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ จำเป็นต้องขออนุญาติหรือไม่คะ

เพราะเห็นในหลายๆ เว็บ มีการเชื่อมลิงค์ โดยใช้ โลโก้ ขององค์กร สถาบัน

 

 ขอบคุณค่ะ ...

การนำลิงค์ใส่ไว้ที่ภาพโลโก ... ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตครับ ... หากไม่มีผลประโยชน์จากการค้าการขายได้กำไรจากวิธีการนี้

แต่ด้านเทคนิคการออกแบบเว็บเพจนะครับ ... เขานิยมทำแบบนี้ เพื่อให้ผู้ใช้จะได้กลับมายัง HOMEPAGE ของตัวเองได้เสมอ

ขอบคุณครับ

บทความนี้อ่านแล้วได้ประโยชน์จริงๆ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท