ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
นาย ทรงวุฒิ พัฒแก้ว ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน พัฒแก้ว

ต้านนิคมอุตสาหกรรม นิวเคลียร์ นครศรีธรรมราช


จ.นครศรีธรรมราชขึ้นป้ายต้านโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังคณะทำงานลงสำรวจพื้นที่เตรียมการและพ่วงเขตนิคมอุตสาหกรรมใน 3 อำเภอ หวั่นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในกลุ่มปิโตรเคมี ซึ่งจะส่งผลอันตรายหากไม่มีการจัดการที่ดี จี้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลทุกด้านเพื่อลดความคลุมเครือและแรงเสียดทานต่อสังคม โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ลั่นภายใน 3 เดือนจะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อตอกย้ำว่า ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่ภาครัฐสั่งเป็นสั่งตายเพียงฝ่ายเดียว

พันธมิตรฯคอนต้าน

 “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

จี้รัฐเปิดข้อมูลสู่ภาคประชาชนก่อนตัดสินใจ

 

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน  15 มกราคม 2552 22:56 น.

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000004935

 

นครศรีธรรมราช - แกนนำพันธมิตรฯ จ.นครศรีธรรมราชขึ้นป้ายต้านโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังคณะทำงานลงสำรวจพื้นที่เตรียมการและพ่วงเขตนิคมอุตสาหกรรมใน 3 อำเภอ หวั่นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในกลุ่มปิโตรเคมี ซึ่งจะส่งผลอันตรายหากไม่มีการจัดการที่ดี จี้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลทุกด้านเพื่อลดความคลุมเครือและแรงเสียดทานต่อสังคม โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ลั่นภายใน 3 เดือนจะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อตอกย้ำว่า ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ไม่ใช่ภาครัฐสั่งเป็นสั่งตายเพียงฝ่ายเดียว
       
       หลังจากที่กระแสข่าวในการสำรวจพื้นที่ของคณะทำงานสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ นำโดย พลอากาศเอก พิเนต ศุกรวรรณ ในฐานะประธานคณะทำงาน พร้อมด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา เข้าพบกับนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อหารือและแจ้งถึงการดำเนินงานในพื้นที่ เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2551

 

ความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏว่า กระแสของการต่อต้านในการคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ รวมไปถึงนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่แลนด์บริดจ์ ในโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด ได้เริ่มปรากฏขึ้น โดยมีนายทรงวุฒิ พัดแก้ว แกนนำพันธมิตรฯ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน ในกลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้นำแผ่นป้ายไวนีลขนาดใหญ่ติดตั้ง แสดงการคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเขตนิคมอุตสาหกรรมใน 3 อำเภอของนครศรีธรรมราช คือ อ.ขนอม อ.สิชล และ อ.ท่าศาลา ที่บริเวณสะพานลอยบ้านในถุ้ง อ.ท่าศาลา
       
       นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวต่อต้าน กลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้ร่วมกับเครือข่ายชาวบ้านในพื้นที่ เริ่มจากการสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ชาวบ้านจึงเริ่มก่อตัวเป็นกลุ่ม ภาคประชาสังคมเกิดขึ้น ซึ่งในส่วนของกลุ่มศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้รวบรวมข้อมูลเสนอต่อชาวบ้าน
       
       ล่าสุดได้ก่อเกิดชาวบ้านเป็นองค์กรอย่างเข้มแข็งขึ้น เช่น เครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา กลุ่มรักทุ่งปรัง และมีกลุ่มที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ที่กำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็งขึ้น ร่วมกันติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน การตัดสินที่เหลือเป็นเรื่องของชาวบ้านเองที่มีอิสระในการดำเนินการ
       
       "มาวันนี้ต้องยอมรับว่าชาวบ้านกลัวผลกระทบที่จะตามมากับโครงการมาก และจะกระทบต่อนิเวศวิทยาเป็นลูกโซ่กว้างขวางโดยเฉพาะใน อ.สิชล ชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดของนครศรีธรรมราช ชาวประมงจากหลายอำเภอมาทำมาหากินที่นี่ ในปัจจุบันชาวบ้านไม่รู้ข้อมูลเลยหรือรู้ก็รู้น้อยมาก ซึ่งหลังจากรู้แล้วพบว่าเขาลุกขึ้นมาเตรียมเคลื่อนไหวต่อสู้ และใน 2-3 เดือนข้างหน้าเขาจะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อให้รัฐรู้ว่าเรากำลังขับเคลื่อนแล้ว" นายทรงวุฒิกล่าว
       
       ด้านนายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา(อบต.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ชาวบ้านรู้เรื่องการศึกษาพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์น้อยมาก หลายรายเมื่อรู้เขาจึงแสดงออกถึงการต่อต้าน ขณะเดียวกันมีองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอมาเคลื่อนไหวให้ความรู้แก่ชาวบ้าน
       
       "ทางที่ดี ทางการควรเปิดเผยถึงข้อมูลข้อเท็จจริงให้มากกว่านี้ เพราะขณะนี้ต้องยอมรับว่าเงียบทางการไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอะไรออกมาเลย ซึ่งการใช้พื้นที่ในโครงการเช่นนี้กว้างขวางมากย่อมที่จะมีผลกระทบ สิ่งที่ต้องทำ

       เร่งด่วนคือควรที่จะเปิดเผย และมาร่วมกันเรียนรู้ศึกษาหาทางออกร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือชุมชน รวมทั้งกลุ่มชาวบ้าน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดีจริงนั้นชาวบ้านเขาก็ยอมรับ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างมากเขาย่อมที่จะปฏิเสธ" นายก อบต.ท่าศาลากล่าว

       นายจามร เจริญอภิบาล ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผย ว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นประโยชน์ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งหลายประเทศก็ทำจนเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมืองไทยยังบกพร่องในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โรงงานส่วนใหญ่พอเห็นว่าลงทุนแล้วเป็นภาระก็ไม่ลงทุน จนก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่นกรณีโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งถ้าทุกโรงงานทำอย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมาย ปัญหาก็ไม่เกิด
       
       "โดยส่วนตัวค่อนข้างเห็นด้วยกับการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ผ่านมาคนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชก็เปิดใจกว้างกับเรื่องเหล่านี้มาก เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนอมที่ใช้แก๊สในทะเล ก็เปิดดำเนินการมาหลายปีแล้ว คือถ้าระบบการก่อสร้างดี มีหน่วยงานราชการรับรองเราก็สนับสนุน แต่ที่เห็นในหลายพื้นที่คือควบคุมไม่ได้แต่อยากขยายมันจะกลายเป็นปัญหาตามมา" นายจามร กล่าว
       
       นายจามร ยังกล่าวถึงการสำรวจพื้นที่ในอำเภอสิชล เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า หากต้องการใช้พื้นที่จริงก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะล่าสุดมีทั้งภาครัฐ และเอกชนมาสำรวจพื้นที่ในหลายจังหวัดภาคใต้ เพื่อนำโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดมาปัดฝุ่นใหม่ แน่นอนว่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องดูว่าจะทำให้ธุรกิจท้องถิ่น เช่นการประมงสูญเสียไปหรือเปล่า ถ้าสร้างอุตสาหกรรมแล้วทำลายปลาในทะเล สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การท่องเที่ยวเสียหาย ชาวบ้านคงไม่ยอมแน่

 

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในต่างประเทศ รูปแบบนี้กำลังจะเกิดขึ้นพร้อมกับนิคมอุตสาหกรรมอีกหลายแห่ง ที่จ.นครศรีธรรมราช พันธมิตรฯและชุมชน หวั่นปัญหามลพิษจะตามมา ทำให้เวลานี้ในพื้นที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการแล้ว

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 235758เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2009 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

แวะมาเรียนรู้ปัญหาค่ะ ขอบคุณค่ะ

มาอ่านรับข้อมูลแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ

อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

ผมอยู่ในพื้นที่ แต่ได้รับข้อเท็จจริงน้อยมาก

ผมคิดเหมือนนายกเอฯนั้นแหละครับ

ผมจัดเวทีต่อเนื่องในพื้นที่อยู่แล้วครับ

ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มรักษ์ทุ่งปรัง

หรือ ทิ้งอีเมล์ติดต่อเอาไว้ ผมจะติดต่อกลับไปอีกที

หรือ ติดต่อ กลุ่มศึกษาการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมปิตรเคมี

โทรศัพท์ ๐๗๕-๓๑๘๖๒๓

ขอบคุณมากครับ

การพัฒนาที่ขาดการมองสังคมที่เป็นจริงว่า ในความเป็นสังคมไทยนั้นเป็นสังคมแบบไหน ประเทศของเราเป็นสังการเกษตรซึ่งใช้ชีวิตตามวิธีวัฒนธรรมในอดีต

ส่วนภาครัฐบอกจะพัฒนาอย่างเดียวการพัฒนาคืออะไร คือการทำล้ายความเป็นชุมชนการทำล้ายวัฒนธรรมที่เคยปฏิบัติกันมานาน นี้หรือคือความเจริญที่แลกกับการทำหลายชีวิตตัวเอง

รัฐไกล้ตัดสินใจเรื่อง นิวเคลียร์แล้ว น่าจะเป็นที่นคร และชุมพร

รบกวนสอบถามความคืบหน้าของโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ที่ไหน เพราะเมื่อวันที่ 16/2/52 มีการเข้ามาทำการสำรวจชั้นดินที่ หมู่บ้านท่าเรือทอง ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท แต่ไม่มีการแจ้งกับทางชุมชนว่าเข้ามาสำรวจเพื่ออะไร แต่มีข่าวจากชาวบ้านว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะนี้ชาวบ้านไม่มีข้อมูลใดๆจากทางภาครัฐเลย หากชาวบ้านต้องการคัดค้านควรทำอย่างไรบ้าง เพราะชาวบ้านไม่เคยมีการร่วมตัวจัดการเกี่ยวกับเรื่องการคัดค้านนโยบายภาครัฐมาก่อน

เกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้า โดยส่วนตัวไม่คิดว่าประเทศไทยควรมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เพราะพื้นฐานคนไทยยังไม่มีความรับผิดชอบเพียงพอ (ทำตามใจได้คือไทยแท้) ดังนั้นความปลอดภัยจากการดำเนินการตั้งแต่ขนส่งแร่ยูเรเนียมจนถึงขบวนการกำจัด คิดว่าความประมาทหรือมักง่ายต้องเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานอย่างแน่นอน

ผมว่าการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ถ้าสร้างที่นครศรีฯก็ดีนะ ถ้ามองในแง่ว่า ต่อไปที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งสร้างงานและรายได้ให้แก่คนในชุมชนและใกล้เคียง ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ก็จะดีขึ้น เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าขนอม แต่ทั้งนี้ต้องมีการจัดการที่ดีกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย

อย่าเพิ่งต่อต้านเลย ผมว่าถ้าชาวบ้านมีความรู้ที่ถูกต้อง เขาคงยอมรับได้ คุณภาพชีวิตของคนจะได้ดีขึ้น

ต้องการข้อมูล และอยากติดตามเรื่องนิวเคลียร์

ติดต่อคุณสันติ กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือก

อีเมล์ติดต่อ... [email protected]

เพราะจะได้ข้อมูลดีกว่า

เนื่องจากผมทราบข้อมูลในส่วนของนคร

ขอบคุณครับ

วันที่ ๓ -๔ มีการจัดเวที ร่วมกัน ของพี่น้องทั่วภาคใต้

เรื่อง เซาเทิร์นซีบอร์ด ว่าง ขอให้เข้าร่วมนะครับ

ณ บ้านคอเขา ต.สิชล อ.สิชล จังหวัดนคร

การจัดเวที

ให้ความรู้ด้านเดียวหรือเปล่าครับ

ความรู้ในด้านลบ

คุณควรให้ความรู้เป็นกลางนะ

เพราะผมคิดว่าปัจจุบันกลไกการควบคุมการมลพิษ ดีขึ้นมาก

คุณควรจะไปทำความรู้จักกับคำว่า adaptation และ globalization ให้มากขึ้น

ดูมาบตาพุด และแม่เมาะ ตามข่าวครับ และที่ไม่เป็นข่าวละ

เห็นด้วยที่ว่า มาตรการควบคุมมลพิษดีกว่าอดีต แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เห็นว่าจะมีการปฏิบัติการจริงจากผู้รับผิดชอบ เพราะการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีผลทำให้ต้นทุนของบริษัทสูงขื้น เมือต้นทุนสูงกำไรก็ลดลง

ถ้าจะแก้ไขกันจริงๆ ก็ต้องไม่ให้มีการคอร์รัปชั่นในแวดวงราชการและการเมืองนั่นแหละ จึงจะเป็นการแก้ที่ต้นเหตุจริงๆ

ปัจจุบัน การควบคุมมลพิษ อยู่ในมือ คนที่ก่อให้เกิดมลพิษ

คือ หน่วยงานเดียวกัน กล่าว คือ สร้างเอง ควบคุมเอง คงไม่มีใคร บอกว่าตนเองไม่ดี

แท้จริง การควบคุมมลพิษ น่าจะแยกต่างหาก

เอาละครับ คุณทรงวุฒิ

ผมคงไม่เอาเวลาไปต่อล้อต่อเถีงกับคุณอีกต่อไป เพราะผมคิดว่าคงไม่มีประโยชน์

คุณทิ้งท้ายว่า "เราอยากให้คนอื่นเสียสละ แต่ถ้าถามเราละ จะเสียสละเหมือนพวกเขาหรือเปล่า "

ผมมั่นใจครับว่า การศึกษาที่ผมมีอยู่ตอนนี้ ไม่ได้บ่มเพาะผมเฉพาะด้านวิชาการ ยังรวมถึงคุณธรรมอีก

ด้วยครับสำหรับเลือดลูกพระบิดา ได้เอาคำสอนมาไว้ในใจเสมอครับ

"ให้ถือประโยชน์ของตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของคนอื่นเป็นหนึ่ง"

งานแบบผม ถ้าไม่เสียสละ ไม่อดทน ให้มาก ก็มีแต่ไม่เจริญครับ

ผมอยากถามกลับไปว่า ถ้าผมบอกให้คุณเอาคำนี้ไปลองใช้บ้างละครับ คุณจะกล้าเสียสละใหมครับ

สมมติว่าประโยชน์ไม่ได้เกิดแค่บริษัทน้ำมันข้ามชาติ แต่นั่นหมายถึง เศรฐษกิจ (ที่แสนย่ำแย่ของจังหวัด)

ประโยชน์ที่จะเกิดกับประเทศ

--- คุณจะกล้าเสียสละไม๊ ?----

สิ่งที่คุณควรเคารพก็คือการรับฟัง (ไม่ใช่ยอมรับ) ข้อคิดเห็นของผู้อื่นตามหลักประชาธิปไตย (นั่นคือการหาทางออกของปัญหาร่วมกัน)

ไม่ใช่คุณตั้งไว้แล้วว่า มันเป็นเส้นขนานกันระหว่าง ปัญหา และการแก้ปัญหา

วิถีทางแบบนี้เรียกว่าวิถีทางของคนไม่ฉลาด นั่นคือการหนีปัญหา

แม้ว่าผมจะเรียนมาในสายการแพทย์ก็ตาม ความเป็นเลือดเหลืองแดง ในรั้วแม่โดม แหล่งซึ่งเป็นนักคิดด้านประชาธิปไตยของประเทศไทย ทำให้ผมได้ซึมซับ

สังคมประชาธิปไตยไปเยอะพอควร ผมขอชื่นชมและรับฟังในข้อคิดเห็นของคุณครับ

แต่

การเป็นประชาธิปไตยเห็นต่างได้ครับ แต่ไม่แตกแยก นั่นคือ หาทางออกร่วมกัน นั่นคือ พบกันคนละครึ่งทาง

ผมว่า ถ้าคุณจะเรียกร้องให้สร้างสรรค์กว่านี้ นั่นก็คือ ทำยังไง ให้มันออกกฏหมาย หรือ กลไกรัฐที่ชัดเจนในการรับผิดชอบ adverse effects ที่จะเกิดขึ้น

พูดง่ายๆ คือเรียกร้องให้ออกกฏหมายควบคุม ทีได้ผล คุณกลัวว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไร คุณก็เรียกร้องอย่างงั้นซิ สร้างสรรค์กว่าคัดค้านแบบไม่มีเหตุผลเยอะเลย

ท้ายนี้ผมอยากจะบอกคุณว่า ผมคงไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย (จากการตอบ blog คุณครั้งนี้) แถวเมื่อยมือด้วยซ้ำ

ผมคงไม่ได้เรียกร้องให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราช เพื่อให้ผมได้มีที่ทำงานใกล้บ้าน

เพราะ จริงๆแล้ว อาชีพอย่างผมทำงานที่ไหนก็ได้ ตั้งแต่ชุมชนที่มีวิถีชีวตเรียบง่าย ถึง ศูนย์กลางความเจริญของประเทศ อันมีความคิดซับซ้อนมากมาย

ไม่ต้องรอบุณบารมีจาก project ยักษ์ อย่าง นิคมอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราช หรอกครับ

ผมจบมาใหม่ก็เลือกที่จะไม่ทำงานที่นครครับ ผมไปทำงานหาดใหญ่ ก็เลยรู้ดีว่า คนอื่นเค้ามองเรายังไง

ให้ผมจบการศึกษาสูงๆ แล้วมีแหล่งงานที่บ้านเกิดผม ผมก็อยากไปทำน่ะ อยากพัฒนาบ้านเกิดเหมือนกัน

แต่ผมคิดว่า ปัจจุบันนครยังไม่พร้อมครับ ไม่พร้อมด้วยคนเป็นหลัก คนมีการศึกษาแต่แนวคิดไม่เปลี่ยนแปลง

พร้อมรับการพัฒนา การปรับตัว คนนครยังเป็นแบบคุณทรงวุฒิ เยอะครับ ทำให้วัฒธรรมขององค์กรแทบทุกแห่งในนครศรีธรรมราช

ไม่เอื้อแก่การพัฒนา

ผมฝากไว้เท่านี้แหละครับ

ผมอาจเข้ามาดูกระทู้นี้ล่าช้าไป แต่ก้ถือว่าเป็นความรุ้ได้ประโยชน์ครับ ถ้าถามว่าผมคือใครมาจากไหน ก็บอกว่า ผมลูกทุ่งปรัง100% อยู่ ม.4 บ้านนาเหม้า แต่ตอนนี้ เรียน และทำงาน อยู่กรุงเทพ มีครอบครัวอยู่กรุงเทพ เยี่ยมบ้านทุ่งปรังปีละสองครั้ง แต่ก็ติดตาม ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของบ้านเกิดตลอดเวลา ครั้งแรกเมื่อรับข่าวสร้างนิคมอุตสาหกรรม ที่บ้านสิชล ก็บอกพี่ไปว่า เออดีนี่ ความเจริญด้าน เศรษฐกิจหรือเรื่องต่างๆน่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะในยุคนี้สมัยนี้ความต้องการของมนุษย์ด้านพลังงานก็มีเยอะ ไม่ว่าจะเป้นน้ำมัน ไฟฟ้าล้วนจำเป้นในการพัฒนาประเทศ แต่ทำแล้วพัฒนาแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมันมีสองด้านเสมอ ไม่บวกก็ลบ อยู่ที่ว่าัึีีึใครเป็นคนได้ผลประโยชน์ ผลกระทบมันตกอยู่กับใคร ถ้าพูดถึงพ่อแม่พี่น้องชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ ที่ใช้ชิวิตอย่างสงบสุขมาเป็นเวลานานปีต้องหนี ต้องอพยพไปหาที่ทำกินใหม่เป้นใครๆก็ไม่ยอม ถ้าพูดถึงการเสียสละผมก็เสียสละได้ แต่เสียแล้วผลประโยชน์ที่ได้้มามันคุ้มกันมัย ใครต้องรับกรรม คิดให้ดีๆๆ ครับพี่น้อง ถ้าเกิดขึ้นจริงๆ มาตรการต่างๆที่ต้องมารองรับ เช่นความปลอดภัยในชิวิตทรัพย์สินของคนในพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ประเทศชาติพัฒนาแต่พ่อแม่พี่น้องในพื้นที่ไม่ได้เสพสุข ก็ไปทำที่อื่นเหอะไป.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท