สะเมิง: เมื่อม้งเข้าห้องเรียน


โครงการที่ผมทำที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่เมื่อ 30 ปีที่แล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคแรกๆของ องค์กรพัฒนาเอกชน ที่เรียกว่า อพช. หรือ NGO ก็ได้ ทีมงานไม่ถึง 10 คน รับผิดชอบกันคนละตำบล และมีทีมงานกลาง 2 คนที่รับผิดชอบทุกตำบลเฉพาะด้าน  ผมเองรับผิดชอบงานด้านสังคม เน้นการจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน หรือกลุ่มออมทรัพย์นั่นเอง


โครงการนี้สนับสนุนโดยมูลนิธิจากประเทศเยอรมันแห่งหนึ่ง โดยการชักชวนของ ส.ศิวรักษ์ เนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษฝีปากกล้า พนักงานโครงการจึงถูกฝึกอบรมก่อนทำงานที่ โครงการบูรณชนบทแห่งประเทศไทย จังหวัดชัยนาท ที่มีอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นประธาน ที่เรียกย่อๆว่า บชท. คือ Thailand Rural Reconstruction Movement (TRRM) ซึ่งจำลองหลักการมาจาก ดร. เจมส์ ซี เยน แห่งประเทศ ฟิลิปปินส์ ที่เรียกว่า PRRM หลักการของท่านเรียก Credo 10 ท่านที่สนใจเข้าไปที่กูเกิลครับ

สมัยเมื่อ 30 ปีที่แล้วหลักการพัฒนาชนบทของบ้านเรานั้นเรียกได้ว่านำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งนั้น ไม่ว่า คิบบุช โมชารป จากอิสราเอล เซมาเอิล อุลดอง จากเกาหลีใต้ ซาโวดายา จากศรีลังกา กรามินส์แบ้งค์ จากบลังกาเทศ(ที่ได้รับรางวัลโนเบล) เครดิตยูเนี่ยน ที่ท่านคุณพ่อบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ แห่งสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทยนำเข้ามาจากยุโรป ในปี 2509 ซึ่งมีต้นกำเนิดที่เยอรมันสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง


เท่าที่ผมทบทวนดูสมัยนั้นยังไม่มีคำว่า การมีส่วนร่วม การบูรณาการ ฯลฯ แต่มีคำว่า การยืนอยู่บนขาตนเอง  การช่วยเหลือเขาให้เขาช่วยตัวเองได้  Top down-Bottom up และศัพท์แสงทางวิชาการก็เกิดมาภายหลังที่งานพัฒนาชนบท โดยองค์กรพัฒนาเอกชน กระจายไปทำงานทั่วประเทศ    และพัฒนาประสบการณ์งานพัฒนาสังคมขึ้นมาเอง ผนวกกับกระแสงานพัฒนาสังคมทั่วโลกที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น เพราะ คนทำงานด้านนี้ส่วนใหญ่ก้าวมาจากสถาบันการศึกษา ที่มีสำนึกทางการเมืองในยุคนั้น จึงนิยมสุมหัวคุยกัน เป็นประจำจนต่อมาก่อให้เกิด ศูนย์ประสานงานองค์กรพัฒนาสังคมเอกชนที่เรียก NGO-CORD หรือ พอช. ขึ้นทุกภูมิภาค

เดี๋ยวจะกลายเป็นเล่าพัฒนาการ NGO ในเมืองไทยไปซะ... วกเข้ามาที่ สะเมิง


เราไปจัดตั้งผู้นำชาวนาขึ้นทุกหมู่บ้าน สมัยนั้นสุ่มเสี่ยงมาก เพราะเป็นยุคที่รัฐต่อต้านแนวความคิดคอมมิวนิสต์ ชื่อผู้นำชาวนาจึงเป็นเป้ามองของสันติบาลว่า ทำอะไรกัน ทุกเดือนเราก็เอาผู้นำชาวนานี้มาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมที่สำนักงานเกษตรภาคเหนือ(บริเวณสำนักงานที่มีร้านอาหารชื่อกาแลตั้งอยู่ในปัจจุบัน) ซึ่งมี ดร.ครุย บุญยสิงห์เป็นผู้อำนวยการสำนักงานอยู่ คนสมัยนี้ไม่รู้จักท่านแล้ว ท่านก็คือสามีของอาจารย์เต็มศิริ บุญยสิงห์ นักอภิปรายทางทีวีตัวยงในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา ดร.ครุยเอง ท่านจบมาจาก มหาวิทยาลัยคอแนล ที่มีชื่อเสียงของอเมริกา และท่านเป็นทีมงานศาสตราจารย์ที่ได้รับรางวัลโนเบลในช่วงนั้นด้วย ..

ผู้นำชาวนาที่มาเข้าหลักสูตรฝึกอบรมนั้นก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำมาหากิน  การยกระดับผลผลิต การปรับปรุงพันธุ์พืช การพัฒนาการเกษตรโดยเอาพืชเศรษฐกิจใหม่ๆเข้าไป ตามยุคสมัยนั้น..  ปรากฏว่าเมื่อผู้นำชาวนากลับไปในหมู่บ้านเขา บางคนก็ไปเล่าความรู้ใหม่ๆให้ญาติพี่น้องฟัง ให้เพื่อนบ้านฟัง อันเนื่องมาจากสะเมิงเป็นเมืองค่อนข้างปิดดังกล่าว 


ความรู้เหล่านี้เป็นที่สนใจของชาวบ้านที่ตื่นตัว อยากรู้มาก และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ผู้นำชาวเขาเผ่าม้งที่ตำบลยั้งเมิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไกลที่สุดของโครงการ ผู้นำม้งติดต่อโครงการขอมารับการฝึกอบรมด้วย เขาจึงได้มาเข้าร่วมเพิ่มพูนความรู้ทุกเดือน แต่เนื่องจากเขามีข้อจำกัด เพราะว่าม้งฟังภาษาไทยได้ แต่คำที่เป็นศัพท์ทางวิชาการเขาจะไม่ค่อยรู้เรื่อง และที่สำคัญเขาไม่สามารถทำการบันทึกความรู้ได้ ใช้วิธีจำใส่หัวโตๆอย่างเดียว

ต่อมาผู้นำม้งขออนุญาตโครงการเอาลูกชายที่ผ่านระบบโรงเรียนของไทยมาแล้วเอามาด้วย เพื่อวัตถุประสงค์ทำการบันทึกความรู้โดยตรง....???  นี่คือความพยายามของเขาที่จะเรียนรู้ หรือพูดในภาษานักพัฒนาก็คือ มีความตื่นตัวในการรับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ มีความตื่นตัวในการปรับตัวเองไปตามสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ดีไม่ดี ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์


การอบรมครั้งหนึ่ง ที่ประชุมพูดถึงว่าพื้นที่สะเมิงนั้นล่อแหลมต่อการเป็นแหล่งผลิตฝิ่น ที่นำไปทำเป็นเฮโรอิน ซึ่งผิดกฎหมายไทย และมีผลร้ายแรงต่อคนที่เสพติด ผู้นำม้งท่านนั้นก็บอกว่า เป็นความจริงที่ ชาวเขาหลายเผ่าทำการปลูกฝิ่น โดยเฉพาะเผ่าม้ง ปลูกกันเป็นไหล่เขาเลย  

แต่ผู้นำม้งกล่าวว่า เฮาปลูกฝิ่น แต่เฮาบ่กินฝิ่น คนไทยน่ะง่าว กินฝิ่นกันมากมาย.... ??? แปรความได้ว่า เราปลูกฝิ่นแต่เราไม่เสพฝิ่น คนไทยน่ะโง่ที่ไปเสพฝิ่น...???

 

เจ็บไหมล่ะพี่น้องที่ได้ยินคำนี้....โส..น้า..น่า..โค กิ ฝิ่.. อิอิ

(รูปเหล่านี้มีอายุประมาณ 30 ปีแล้วครับ)

หมายเลขบันทึก: 233445เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2009 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

นานมาแล้วจริงๆๆด้วย ผมมารู้จักอาจารย์ ส ศิวรักษ์ สมัยอยู่หมู่บ้านเด็ก มาสวัสดีปีใหม่ก่อนครับ

หา....ขจิตเคยอยู่หมู่บ้านเด็กหรือ ของพิภพ ธงไชยน่ะหรือ ที่เมืองกาญจน์ พี่ส่งเด็กสะเมิงไปอยู่ที่นั่นคนหนึ่งชื่อ จุ้ง เขาออกมานานแล้วและแต่งงานกับชาวญี่ปุ่น

โอ้..ใกล้กัน.แค่นี้เองเน๊าะ..

สวัสดีปีใหม่ครับ

อ่านสนุกดีครับ...อย่างน้อย ประวัติศาสตร์การทำงานของพี่มีคุณค่า ให้ผมและผู้สนใจหลายท่านได้ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่มีคุณค่าเหล่านี้ครับ

ขอให้กำลังใจในการเขียนเรื่องราวดีๆนี้นะครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ..

รู้จักแม่จุ้งครับ ตอนนี้แม่จุ้งน่าจะอยู่เชียงใหม่ครับ สามีแม่จุ้งเป็นญี่ปุ่น แม่จุ้งมีลูกสาวชื่อหิมะ จำไม่ได้ว่าลูกชายชื่ออะไีร แต่นานมากๆๆแล้ว เกือบสิบกว่าปี มาแล้วครับ ตอนนั้นแม่แอ๊วและพ่อเปี๊ยกยังเป็นหนุ่มๆๆอิอิๆๆ

ขอบคุณน้องเอกครับ พยายามเก็บเรื่องราวอดีตมาบันทึกไว้ คนรุ่นหลังอาจมาเรียนรู้บางอย่างได้ครับว่า พวก NGO ยุคแรกๆทำอะไรกันครับ

น้องขจิตครับ

พี่เรียกไอ้จุ้ง...เพราะสนิทกันมาก เขาไปเมืองกาญจน์ก็เพราะเราครับ

โดยเฉพาะพี่สาวเขาที่พี่เคยเขียนบันทึกไว้บ้างแล้ว เดี๋ยวจะเขียนบางมุมอีกครับเพราะเป็นประวัติศาสตร์การพัฒนาชนบทเราด้วยครับ

เราวิ่งไล่ตีไอ้จุ้งกันสมัยเขาเป็นเด็กๆในหมู่บ้าน มันซนซะไม่เมี๊ยะ และชอบแหย่คนโน้นคนนี้เวลามีการอบรมเยาวสตรีเพื่อเสริมสร้างอาชีพ.. แต่เธอเป็นคนดี มาจากครอบครัวที่มีแรงขับ(drive)มากมายมหาศาล จึงได้ดีหมดทั้งครอบครัว

ปัจจุบันทำงานกับพี่สาวเขาที่ลำพูน แยกกิจการกัน แต่อยู่ในบริเวณพื้นที่ติดต่อกัน เรียกได้ว่าเป็นน้องๆผู้มีอันจะกินไปแล้วครับ...อ.ขจิต

พี่ขึ้นไปเชียงใหม่ก็จะแวะหาเขา ครับ...

พ่อแม่เขาอยู่ในหมู่บ้าน สะเมิงที่เป็นพื้นที่ที่เราทำงานสมัยนั้น เราเห็นแววเด็กสาวเหล่านี้เลยเอาตัวมาฝึกซะ และก็ได้ดีหมด (เราแอบภูมิใจเล็กๆ) ที่มีส่วนบ้างในการสนับสนุนเขาเบื้องต้น...

ฮ่าๆๆๆๆๆ พี่บางทรายโลกกลมจริงๆๆด้วย ฮ่าๆๆๆๆๆ

  • สวัสดีค่ะมาทักทายตามแบบ คนรักคนชนเผ่า ค่ะ
  • www.hilltribe.org  นะคะ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรูค่ะ
  • ขอบคุณคะ
  • ขอบคุณมากครับที่แนะนำ web ที่มีคุณค่าแก่การสนใจชนเผ่า
  • ผมลองเข้าไปดูเบื้องต้นแล้ว ต้องใช้เวลาท่อง web นี้หน่อย
  • อยู่ขอนแก่นแถวไหนครับ
  • อาจจะมีโอกาสร่วมกิจกรรมกัน จะได้สื่อสารให้ทราบครับ

พี่ บางทราย ... สบายดีนะครับ :)

โส..น้า..น่า..โค กิ ฝิ่.. :))))

สวัสดีครับน้อง Wasawat Deemarn

 

พี่สบายดีครับอ้วนท้วนสมบูรณ์มากขึ้น อิอิ..

ถือโอกาสนี้สวัสดีปีใหม่นะครับ พี่ค่อยๆกลับมาเขียนบันทึกครับ หลังจากลุยงานซะเต็มที่...ครับ

 

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ   อยู่แถวเมืองพล นะคะ
  • ด้วยความยินดีค่ะ  กับการร่วมกิจกรรมดีๆค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

* มาเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานที่มีคุณค่าค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

 

สวัสดีค่ะพี่ชาย

  • คิดถึงจังค่ะ สวัสดีปีใหม่นะคะ

 

ขอบคุณครับเทียนน้อย หากมีโอกาสคงได้ร่วมกิจกรรมกันนะครับ

สวัสดีน้องสาว ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี 

 

พี่เห็นดาวลูกไก่สุกสกาวบนท้องฟ้าแห่งนี้ครับ อิอิ เห็นภูหลวงเชียงดาวแล้วนึกถึงความหลัง เคยลุยแถบนี้มาเหมือนกัน ไม่ได้มานานแล้ว..

 

ขอบคุณครับน้องสาว

สวัสดีปีใหม่ครับ

สองวันก่อน เดินทางจากสกลนคร จะไป อ.เขาวง

ผ่านดงหลวง เอ มีคลองชื่อ บางทราย

ชะลอรถ แต่ถ่ายไม่ทัน จะถอยก็ยาวเกิน

นึกถึงพี่ชายชื่อบางทรายขึ้นมาทันที

หวังว่าสบายดีนะครับ...

สวัสดีครัลน้องชาย ธวัชชัย

ใช่เลย นั่นแหละห้วยบางทราย ที่มาของชื่อพี่หละครับ

ห้วยบางทรายเป็นเส้นเลือดของชนเผ่าโส้แห่งดงหลวง และมีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับการต่อสู่สมัย พคท. ทุก 2-3 ปีฝนตกใหญ่น้ำก็จะท่วม ล้นเอ่อลำห้วยบางทราย ท่วมที่นาที่ไร่บางส่วน ถนนหนทาง ไม่สามารถติดต่อใครได้

แต่แค่ 2 วันน้ำก็ลดหายไป เพราะห้วยบางทรายมีความต่างระดับสูง น้ำจึงไหลออกแม่น้ำโขงเร็ว แต่ก็ทำลายหลายสิ่งหลายอย่างไปด้วย

ห้วยบางทรายคือประวัติศาสตร์โส้ ดงหลวง เมื่อพี่ทำงานที่นี่ประทับใจหลายๆอย่างเลยเอาชื่อนี้มาเป็นชื่อตัวเองครับน้องธวัชชัยครับ

เสียดายไม่ได้พบกันนะ หากมีโกาส บอกกล่าวกันก่อนนะ พี่ก็วนเวียนแถบนั้นแหละครับ

หวาดดีค่ะ

บังเอิญว่าอาจารย์ให้หาฐานข้อมูล

ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแล้วน้องได้เก็บที่อ.สะเมิง

เลยมาเห็นบทความนี้เข้าอะค่ะ น้องก้อเป็นคนขาวเชาค่ะ เผ่าม้งด้วยนะคะ

พอได้อ่านแล้วก้อ รู้สึกดีใจมากนะคะที่ได้เข้าไปเผยแพร่เรื่องแบบนี้

ให้กับคนชนเผ่าด้วยอะค่ะ แล้วอยากทราบว่ากลุ่มเครดิตยูเนี่ยนที่

สะเมิงนี่ยังมีการเยอะอยู่หรือเปล่าคะ เพราะน้องเข้าไปดูแล้วมีแค่ไม่กี่ที่ค่ะ

น้องอยากทราบอะค่ะเพื่อนตอนนี้น้องทำแบบสอบถามเป็นงานวิจัยอะค่ะ

สวัสดีครับน้องเด็กดอย

แนะนำตัวเองละเอียดหน่อยได้ไหมครับ ลุลบางทรายอยากรู้จักมากกว่านี้ อยู่ยั้งเมินหรือครับ หรือบ่อแก้ว หรือ... ขณะนี้เรียนอะไรอยู่ครับ  แล้วครูส่วนไหนให้มาศึกษาเรื่องเครดิตยูเนี่ยน  มาถูกคนแล้ว เพราะลุงนี่แหละเป็นคนเอาเครดิตยูเนี่ยนเข้าไปในสะเมิง

แม้ว่าจะมีน้อย แต่ประวัติศาสตร์มีมาก แต่ต่อมาแต่ละกลุ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะที่สะเมิงเหนือและที่ยั้งเมิน แม่สาบ นะ ลุงก็ห่างมานานสถานการณ์ปัจจุบันไม่ทราบ แต่หากต้องการพัฒนาการจากวันก่อตั้งมาละก็เล่าให้ฟังได้อยู่ครับ

 

ยินดีสนับสนุนข้อมูลครับ

 

ก่อนฝันดีค่ะพี่ท่านบางทราย มาอ่านเรื่องราวดีๆ

ผลงานพัฒนาศักยภาพบุคคลของพี่ท่าน เป็นสิ่งที่ยั่งยืนนะคะ

ไว้จะมาอ่านรายละเอียดอีกครั้งนะคะ

สวัสดีครับน้องสาวปู เพราะน้องเขาต้องการหาข้อมูลเราควรสนับสนุน และรายละเอียดของเรื่องเครดิตยูเนี่ยนก็น่าจะก่อประโยชน์แก่การศึกษาของน้องๆคนนี้ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท