เสน่ห์คำลาว: "ลูกบ่ไห้ อย่าเอานมให้กิ๋น"


ลูกบ่ให้อย่าเอานมให้กิ๋น” กับ “ระบบนิเวศวัฒนธรรม”

ที่ประชุมคณะทำงานครั้งล่าสุด ในระหว่างการนำเสนอแผนงานของผม แน่นอนล่ะเป็นแผนการฟื้นฟูวิถีชีวิตที่สร้างขึ้นมาจากความห่วงใยพี่น้องชาวบ้าน ก็เขาจ้างผมให้มาเป็น "ฝ่ายชาวบ้าน"นี่นา ข้อเสนอของผมจึงเป็นแบบอภิมหาโปรเจ็คห่วงหน้าพะวงหลัง ทั้งทางด้านอาชีพหลัก อาชีพรอง เรื่องทางสังคม เรื่องของครอบครัวแม่ร้างนางหม้าย ผู้เฒ่าผู้แก่ที่ขาดแรงงาน ครอบครัวคนพิการด้อยโอกาส อาชีพเสริมสำหรับแม่บ้าน  เยอะแยะไปหมด

พอถึงรอบการแสดงความคิดเห็น ท่านเชียงสง หัวหน้าห้องการแรงงานสวัสดิการสังคม อภิปรายว่า "ลูกบ่ไห้ อย่าเอานมให้กิ๋น" แปลเป็นไทยว่า "ลูกยังไม่ร้องอย่าเพิ่งเอานมป้อน"

 

เจอคำโบราณที่โดนใจเข้าอีกคำแล้วครับ ลองนึกถึงสมัยก่อนที่ยังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พอลูกร้องก็จัดการเอานมป้อนลูก อิ่มแล้วเจ้าตัวเล็กก็หลับปุ๋ย แต่ทางพยาบาลเขาว่าแม่จะรู้สึกได้เองว่าถึงเวลาให้นมลูกหรือยังจากอาการคัดเต้านม(breast congest)แสดงว่าคนที่คิดคำนี้เป็นผู้ชายที่ไม่รู้เรื่องทางสรีระของผู้หญิงดีเท่าไร

 

คิดต่อจากคำว่า "ลูกบ่ไห้ อย่าเอานมให้กิ๋น"หากเปรียบกับการวางแผนงาน หรือคิดกิจกรรมใดๆสำหรับพี่น้องละก็ การที่เราคิดเองหรือคิดแทนพี่น้อง แล้วสรรหาทุกสิ่งทุกอย่างมาป้อน

ทั้งๆที่ไม่ใช่ความต้องการของพี่น้องนั้นก็คงจะไม่เข้าท่าเอาเสียเลย เพราะอาจจะเป็นการเยียวยาแบบ "เกาไม่ถูกที่คัน" ผลสุดท้ายความหวังดีของเราก็อาจกลายเป็นประสงค์ร้ายไป หรือกิจกรรมอาจประสบความล้มเหลว พี่น้องจะเข้าร่วมกิจกรรมร่วมโครงการแต่เพียงในระยะแรกเพราะ "เกรงใจหัวหน้า" และในที่สุดก็จะ "ไร้ความยั่งยืน"

แต่โครงการของผมผ่านฉลุยหลังจากที่ได้ชี้แจงเพิ่มเติมครับ

เพราะในการวางโครงการของผมได้ผ่านการสมเทียบกับ นโยบายของพรรคของรัฐ กับสภาพความจำเป็นของชุมชน กับความเหมาะสมทางกายภาพภูมิประเทศและภูมิศาตร์สังคม ที่สำคัญก็คือ เป็นความต้องการที่มาจากพี่น้องชาวบ้าน จากการลงคลุกคลีสัมผัสชุมชน จากเวทีการศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

ผมเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า รูปแบบการพัฒนาชุมชนต้องไร้รูปแบบ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพของ ระบบนิเวศวัฒนธรรม ของชุมชนนั้นๆ นิเวศ + วัฒนธรรม ครับ

ระบบนิเวศ”:

ดินเขาเก็บน้ำไม่อยู่ก็ยังยัดเยียดให้เขาขุดสระในไร่นาตามเป้าสุดท้ายได้สระกักลม

นาเขาเป็นที่ลุ่มน้ำหลายยังจะไปบังคับให้เขาปลูกข้าวพันธุ์ปรับปรุงอายุสั้น พี่น้องลุยโคลนเกี่ยวข้าวได้กินข้าวเปื้อนโคลน

วัฒนธรรม”:

อิสรชนแบบวิถีชนเผ่าที่ชอบเข้าป่าถูกยัดเยียดให้ปลูกผักบนขอบสระ ปลูกแล้วปล่อยให้เทวดารดน้ำ มีไก่มาช่วยตัดยอด วัวควายที่เลี้ยงแบบปล่อยทุ่งแวะมาย่ำ...จบ

พี่น้องเขาเลี้ยงหมูกี้แบบปล่อยอยู่ดีๆ ไปส่งเสริมหมูหลุม....ลำบากหารำหาอาหารมาเกือ...หมูจ่อยตายไปก็หลาย

ลูกบ่ให้อย่าเอานมให้กิ๋น กับ ระบบนิเวศวัฒนธรรม

เกี่ยวกันไหมเอ่ย

 

 

หมายเลขบันทึก: 232016เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2008 13:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เข้ามาอ่านองค์ความรู้ดี ๆ แล้วครับ ได้ความรู้มากเลย

  • สวัสดีเจ๊า...อ้ายเปลี่ยน
  • ยังอยู่ตี้เมืองหงสา..กาเจ๊า ถ้าจะรวดปี๋ใหม่เนาะ....
  • ขออวยพรหื้อมีแต่ความสุขกาย ...สบายใจ๋...
  • สบายดี.......หลวงพระบาง....ตลอดไปเน้อเจ๊า
  • บ่ดี บ่มีลูกเนาะ
  • ป้าแดง มักหลาย กับคำว่า ศอกหลีก อิอิอิ

มาเชียร์แนวคิดและการปฏิบัติเช่นนี้ในการทำงานกับชุมชนค่ะ ส่วนใหญ่นักพัฒนามักคิดแทนชาวบ้านเพราะถือว่าตัวเองมีความรู้เรียนมามากกว่าชาวบ้าน

ขอให้มีกำลังใจ กำลังกายในการสร้างสมบุญนะคะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะ

สวัสดีครับพี่เปลี่ยน

 แวะมากราบสวัสดีปีใหม่นะครับ แบบเด็กดอยใจดีน่ะครับ

สวัสดีค่ะ

* ชาวบ้านยังไม่ขาดแคลนหรือมีความต้องการอย่างแท้จริง เมื่อเรานำสิ่งที่คิดว่าดีมีโยชน์ไปมอบให้เขาก็ไม่เห็นค่า  ในที่สุดก็ปล่อยทิ้งร้างว่างเปล่า

*  ระบบนิเวศน์ กับวัฒนธรรมความคิดความเชื่อ เป็นวิถีชีวิตของสังคม

* ขอให้สุขกายสุขใจนะคะ

  • มาอ่านโครงการ  ลูกบ่ให้อย่าเอานมให้กิ๋น กับ ระบบนิเวศวัฒนธรรม
  • มันเกี่ยว บ่ เกี่ยว บ่ฮู้
  • แต่พี่มาอวยพรให้มีความสุขมากๆ
  • ในปีใหม่ที่จะมาถึงและปีต่อๆไป

ปีใหม่แล้วจ้า

          ปี้น้องสันทรายจงเจริญ  เย้ๆๆ

สวัสดีค่ะ

* แวะมาอ่านบันทึกการเดินทางดีๆ อีกครั้งค่ะ

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ paleeyon

อมยิ้มไปกับการเข้าใจเปรียบเทียบสิ่ง 2 สิ่ง
ให้ไปด้วยกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ..อิอิ..

แป๋มขอยกตัวอย่างสัก 1 กรณีค่ะ........
การทำงานหากหัวหน้ามอบหมายงาน
ให้กับคนใดโดยที่เขาไม่อยากที่จะทำ
ผลงานก็จะเป็นแบบไม่ใส่ใจ
มันคล้ายกับเป็นการลงแส้เขาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท