ครูอาจารย์ ทำร้าย ความสุขในครอบครัวไทย ทุกวันหยุด มักต้องมีสอบ


ช่วงนี้  เจอ งานเลี้ยงบ่อย แบบ ครอบครัว ของหลายๆ ครอบครัว

เราก็คุยกัน

เรื่อง ตลกแบบเจ็บตัว หรือ ตลกปนเศร้า   ที่พบ คือ   ลูก หลาน  นักเรียน นักศึษาไทย ในระบบ

มักจะมาร่่วม วง ทานข้าว ไปเที่ยว  ช่วงวันหยุดยาวไม่ค่อยจะได้  เพราะ หลังวันหยุด จะต้อง "สอบ"

ผมก็นึกได้ว่า  เออ หนอ   ....  ครูอาจารย์   ทำไมถึงได้ ใจร้าย กับ ครอบครัวไทยขนาดนี้   แก คงจะกลัว ( เต็มไปด้วยความกลัว  อุปนิสัย ครูอาจารย์ในระบบอุตสาหกรรมผลิตบัณฑิต)  เด็กๆ เที่ยว เมา ไม่ดูหนังสือ

 

แต่ บางครอบครัว โชคดี  ลูกอยู่  รร นานาชาติ   หรือ  รร ที่ครูใหญ่ มี เมตตา   ... ก็จะไม่มี วันหยุดที่ไม่สามารถ มีความสุขกับ พ่อแม่ได้    เพราะ บ้าท่องหนังสือ

 

หลายๆคน ก็บ่นๆ   แต่ สุดท้าย  ก็ต้องยอมรับ

สมัยผมเรียนจุฬา  หลายสิบปีแล้ว มันก็แบบนี้  คือ  เปิดปีใหม่ คือ สอบกลางเทอม   ดังนั้น  ดูหนังสือ สนั่นลั่นเมือง

ใจก็นึก  "เมื่อไร ตรูจะจบโฟ้ย ...."

การศึกษาไทย  ทำลาย "สุขภาวะแห่งชาติ"  ... หรือเปล่าเนี่ย

ผมไม่ได้ ตำหนิ  ต่อว่า  หรือ กฤษณ์ confirm ว่า ต้องทำอย่างไรนะครับ ... แค่พูดตาม Feeling...  อยากเห็น สังคมไทย ที่ครูอาจารย์  เปิดใจ มา Dialogue กับ ผู้ปกครอง นักเรียน สังคมบ้าง ....   อย่าทุบโต๊ะ ซ่าส์  รอ แปะเจี๊ยะ   รอเรียนพิเศษ มากนักเลย

Open mind , open heart, open will   "หันหน้าเข้าหากัน" ดีกว่านะ  

...  โถ .....ผู้ปกครอง ใหญ่โตมาจากไหน เขาก็ตัวลีบ ตัวเล็ก เดินเข้า รร ของลูกเขาอยู่แล้ว   .........................ครูอย่าได้ใจ  รังแกเอา รังแกเอา ...  อาวุธ ของครู คือ เกรด กับ สถิติลูกศิษย์ entrance ติด  ก็ เอามา ข่มๆ ขู่ๆ  ได้เป็น สิบปี ...."มองตนเอง" บ้างนะครับ

จะมี ครูไทย  "หัวใจมนุษย์"  เพิ่มขึ้นไหมหนอ ?

หมายเลขบันทึก: 231339เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

เห็นประโยค "ทุกวันหยุด มักต้องมีสอบ" ในชื่อบันทึกแล้วต้องรีบมาอ่าน เพราะว่าสมัยตอนเรียนก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน

เช่นช่วงสิ้นปี เช่น ช่วงนี้จะเป็นช่วงสอบ ถ้าใครที่ได้สอบเสร็จก่อนปีใหม่นี่โชคดีอย่างรุนแรงค่ะ แต่ถ้าใครมีสอบหลังปีใหม่ เที่ยวยังไงก็คงไม่สบายใจค่ะ เพราะยังมีความกังวลอยู่ในใจ

ถ้าระบบการศึกษาช่วยปรับระบบ เพื่อช่วยสร้างสมดุลชีวิตให้เด็กๆ อยู่กับครอบครัวก็คงจะช่วยให้ลดความเครียดจากการเรียนลงไปบ้างนะคะ

มะปรางมาคนแรกเลย ... ดีใจจัง

ช่วงนี้ที่มน.กำลังปิดเทอม เนื่องจากงานกีฒาแห่งชาติ แต่เด็กบางส่วนก็เลือกที่จะเข้าห้องสมุด เพราะ อ่านหนังสือ เตรียมสอบกัน ห้องสมุดจึงยังคึกคักอยู่เรื่อยๆ แม้จะปิดเทอมก็ตาม

นึกขึ้นมาได้อีกเรื่องตอนทำแผนยุทธศาสตร์

ทำไมเราถึงเรียกว่า "เรียนจบ" ถามๆกันก็ถามว่า "เมื่อไรจะเรียนจบ?" หรือ "จบแล้วจะทำอะไรต่อ?"

ผมว่ามันเป็น miss-leading term หลอกตัวเองว่าเรียนจบ คนสอนก็หลอกนักเรียนว่าสอนจบ การสอบก็ให้ false delusion ว่านี่คือพอแล้วที่จะพิสูจน์ว่ารู้่ ว่าเข้าใจ

ทำไมยอมรับกันไม่ได้หรืออย่างไรว่า "เรียนไม่มีวันจบ" ฮึ ฮึ ดูมันจะทำให้ท้อแท้หมดหวัง หรือว่าตื่นเต้น มองไปข้างหน้าอย่างแปลกใหม่กันแน่?

ตอนนี้ผมยังพกบัตรนักเรียนอยู่เลย ปีหน้าต้องไปเข้าเรียนต่ออีกสามเดือน ลงทะเบียน ตรวจร่างกายอยู่

  • ไม่ได้เปิดสอน สอบ ช่วงเสาร์อาทิตย์ครับ
  • รอดตัวไป
  • อิอิๆๆ
  • เด็กบ้านเราเรียนพิเศษ เสาร์อาทิตย์ ตอนเย็น จนไม่รู้ว่าเรียนในห้องหรือเรียนพิเศษ
  • มากกว่ากัน
  • เสียดายเด็กๆๆไม่มีโอกาสได้ไปดูธรรมชาติ ไปชนบทกับครอบครัวครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่ง ตอนนี้รมต.ศึกษาคนใหม่เขาจะปฏิรูปการศึกษารอบสอง มาช่วยกันไหมครับ อาจารย์

นี่แหละคือระบบการศึกษาไทย ถ้าจะเปลี่ยนคงต้องใช้เวลาอีกนานครับ เข้าใจและเห็นใจคนไทยเสมอ จากคนไทที่สำนึกรักบ้านเกิด

เรียนท่านอ.

เห็นด้วยกับท่านอ. ค่ะ

หนูอ่านหนังสือ Learn how to learn จบแล้วค่ะ

....

วันหยุดๆ เด็ก ควรใช้เวลากับครอบครัวค่ะ

ตั้งใจ เรียน เฉพาะ ในห้องเท่านั้น พอแล้ว

....

ยังหวัง ยังรอ กับ แผนงานใหม่ ของรัฐใหม่

ขอบคุณค่ะ

 

บางมหาวิทยาลัย ก็สอบก่อนปิดหยุดยาวปีใหม่ แล้วครับ (มธบ.)

ซึ่งเด็ก ๆ และ อาจารย์ชอบมาก

จะได้ไปพักผ่อน จิตใจสบายเต็มที่ช่วงหยุดยาว

กำลังอ่านสอบ เลยครับ ปีใหม่นี้ ไม่ต้องได้ไปไหน

สวัสดีค่ะ

- ขอรอดตัวด้วยคนนะคะอาจารย์ขจิต หนูไม่นัดสอบวันหยุด

- รอความหวังกับ รมต. คนใหม่ว่าปฏิรูปรอบสองจะเป็นอย่างไร

- การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น เรียนได้ตลอดชีวิต

ขอบคุณบทความที่ชักชวนให้มาอ่านค่ะ อิอิ

ตาม Theory U

Field หรือ สนาม หรือ ระดับความสัมพันธ์ ระหว่าง "ครู ผู้บริหารสถานศึกษา กระทรวงศึกษา สื่อมวลชน ธุรกิจ ชุมชน ผู้ปกครอง และ ผู้เรียน" ยังคบหากันในระดับ

I-in-me : ซึ่งเป็น ระดับ เหินห่าง มากมารยาท เห็นแก่ตัว ตั้งแง่ ขาดความจริงใจ ยังฟัง (listening) ไม่เป็น

"งานไม่ได้ผล คนไม่ได้พัฒนา"

เจ้า ผู้บริหาร บางคนก็ กอบโกย โกงๆ บางคน ก็ตั้งใจจะปฏิรูป บางคนก็ "บอดตาใส"(โง่มาก แต่ไม่รู้ตัวว่าโง่) บางคน ก็ "ฉลาดแต่ไม่เฉลียว" (พวก หัวสี่เหลี่ยม) หลายคน ก็ เบื่อหน่าย การศึกษาไทย และ ออกไปสู้เอง บางคนก็ "สาปส่ง"

ต่างคนต่าง อยู่ในโลกของตนเอง ไม่สามารถ เชื่อมโยง "ใจ" ใ้ห้กันและกันได้ ตกไหล ไปตามกระแส "กิเลส"

I-in-it: เอา ความจริง มาใช้แบบ ซื่อๆ บ้าตัวเลข วิชาการ สถิติ หลงข้อมูลเก่า "เอาอดีตมากำหนดอนาคต"

เป็น คนในยุคอุตสาหกรรม เป็น พวก วิทยาศาสตร์เดิม ยุค Newton ค้นพบ เครื่องจักรไอน้ำ

เป็นแบบ "งานได้ผล คนเสียหาย"

I-in-you : คือ การ สนทนา ในระดับ Empathy (ไม่ใช่ Sympathy) เป็นระดับ มองเห็นตนเอง (เช่น ตลอดชีวิตที่ผ่านมาในฐานะ ครู อาจารย์ พ่อแม่ ฯลฯ ฉัน รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตะแบงทำ ตะแบงทำลายการศึกษา ด้วยมือของฉันเอง ด้วยอำนาจของฉัน ที่มาจากความกลัว ลึกแล้วฉันกลัว ฉันทำเพื่อเอาตัวรอด ฯลฯ) เกิดการฟังเชิงลึก (Deep listening)

เป็น ระดับที่ ผมยังไม่เห็น ในคนที่มา มี อำนาจ ต่อการ "ปฏิรูปการศึกษา" ฝึก dialogue จนชำนาญเลยครับ

ส่วนใหญ่ ล้อมวง "ดูเผินๆ เหมือนจะใช่Dialogue แต่ ลึกๆแล้ว ไม่ใช่"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท