HR+QD คณาจารย์ ม.มหิดล


ขอบพระคุณ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ที่กรุณาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นกันเองจนผมได้ข้อคิดในการทำหน้าที่ "อาจารย์" ได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

ประเด็นที่ได้เรียนรู้เพื่อปรับตัวและพัฒนาตนเองในการทำหน้าที่ "อาจารย์" ที่มีคุณภาพและมีความสุข

  • การพัฒนาบุคลากรโดยวิธีเจรจาข้อตกลงให้ปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับพันธกิจหลักของหน่วยงาน และมีการเชื่อมโยงกิจกรรมการทำงานในแต่ละระดับ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลการปฏิบัติงาน (Performance Enhancement) มีตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและปริมาณที่เปรียบเทียบได้ตามช่วงเวลา มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการค้นหาและเตรียมผู้บริหารสู่การจัดทำ Succession Plan ในอนาคต และรับรู้แนวทางไกล่เกลี่ยภาระงานที่ยุติธรรม (พัฒนาหาแนวทางแก้ไขจุดอ่อนของการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา)
  • ในกรณีผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน 2 หน้าที่ (Dual Position) ควรมีการทบทวนปริมาณภาระงานที่มีสัดส่วนในแต่ละระดับงานที่เหมาะสม และสามารถปรับเปลี่ยนไปในงานที่มีคะแนนการประเมินที่ดีกว่าได้ นั่นคือทำให้แบ่งเวลาในการทำหน้าที่หนึ่งมากกว่าอีกหน้าที่หนึ่งอย่างเหมาะสม
  • ประโยชน์ทางอ้อมของการใช้ Performance Agreement Model คือ การเพิ่มโอกาสในการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
  • สาระสำคัญของการเป็นอาจารย์ ม. มหิดล ที่ดีคือ การระดมความคิดหาหนทางพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตโดยเน้นการเพิ่มคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน มิใช่มุ่งทำภาระงานวิจัยเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้การวิจัยพัฒนาคุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาก็มีความสำคัญ ควรให้งานวิจัยสร้างองค์ความรู้เชิงลึกมาสู่การนำมาใช้จัดการเรียนการสอนนักศึกษาด้วยระบบที่มีการสร้างคุณภาพของ "บัณฑิต" ในแนวคิดนอกกรอบและเกิดนวัตกรรม ขณะนี้ทางม.มหิดล กำลังจะสร้าง Track of Becoming Teaching Professor
  • หลักการทำงานที่ดี คือ การสื่อสารที่ดี การทำงานเป็นทีมและเครือข่าย และการสร้างระบบการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
  • การประเมินคุณภาพการทำงานของอาจารย์ต้องมีข้อมูลที่ตรวจสอบได้ (Formative Evaluation) มิใช่มองข้อมูลแบบสรุป (Summative Evaluation) เพราะอาจารย์แต่ละท่านมีความสนใจและความสามารถในการจัดการภาระงานที่ต่างกัน สำหรับอาจารย์ใหม่อาจต้องเรียนรู้ทุกภาระงาน (สอน วิจัย และบริการวิชาการ) แต่จัดสัดส่วนในแต่ละถาระงานอย่างเหมาะสมและมีวิจารณญาณ "อย่าคิดแยกแต่เน้นเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในประสบการณ์ใหม่ที่หลากหลาย ใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ก่อนตัดสินใจเลือกสัดส่วนภาระงานหลัก"
  • ทิ้งท้ายกับการสื่อสารที่ดี ด้วยหลัก "ปิยวาจา" ได้แก่ พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ พูดให้ถูกกาลเทศะ พูดด้วยความเมตตา และพูดด้วยภาษาที่นิ่มนวล
หมายเลขบันทึก: 231336เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท