ทุนทางสังคม : การทำปราสาท


      เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ผมได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมประเพณีในงานศพของหมู่บ้าน  ซึ่งเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่ผมเคารพนับถือ  จึงได้ไปร่วมงานตลอดทั้ง 3 วัน  หากมองอย่างผิวเผินก็คงจะไม่เห็นอะไร  แต่เมื่อได้ไปร่วมสังเกตและร่วมกิจกรรมแล้ว  ในชุมชนที่ผมอาศัยอยู่ซึ่งเป็นชุมชนในชนบทแต่ก็ไม่ห่างไกลจากตัวมืองมากนัก ในตำบลท่าขุนราม  อำเภอเมืองกำแพงเพชร  ในงานศพนั้นยังมีกิจกรรมที่ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมกันในหลายๆ กิจกรรม  เช่น การทำอาหาร  การจัดสถานที่ เป็นต้น

      มีกิจกรรมหนึ่งที่ผมที่เป็นคนไปอยู่ใหม่ได้พบเห็นและเห็นว่าเป็นประเพณีที่ดีของชุมชนที่นี่ก็คือ  การร่วมกันสร้างปราสาทให้แก่ผู้ที่เสียชีวิต  เป็นความเชื่อของชาวบ้านที่ว่าเมื่อตายไปแล้วจะได้มีปราสาทสำหรับพำนักอาศัย

 

  • เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างภาพที่เห็น  แต่อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง  ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ 

        แต่กว่าที่จะเป็นเหมือนภาพแรกที่เราได้เห็น  มีการทำงานร่วมกันอย้างน่าชื่นชม คือ

  •  ในการสร้างปราสาทนั้น  จะต้องมีการทำพิธีขึ้นครู และทำกระทง(สะตวง)สำหรับให้พระสงฆ์ทำพิธีในวันเคลื่อนย้ายไปสุสาน

 

  • โครงสร้างของปราสาท  จะใช้เก้าอี้ 18 ตัว เขียนชื่อเพื่ออุทิศส่วนบุญ ให้แก่ผู้ตาย  ว่ากันว่าเก้าอี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้  ไม่ใช้ไม้สร้างเหมือนเมื่อในอดีตเพราะหายากและสูญเปล่า

 

  • ใครมีฝีมือทางช่างด้านไหนก็ลงมือตามความถนัด และตวามความสมัครใจ

 

  • ช่างแกะลวดลายกระดาษทอง เท่าที่สอบถามอายุขึ้น  80 ปีแล้ว วาด-แล้วใช้สิ่วตอกเพื่อแกะลวดลาย

 

  • ช่วยกันตกแต่งให้สวยงาม

 

 

          จากการสังเกตการสร้างปราสาทนี้  ใช้เวลาประมาณ 2 วัน  โดยมีคนในหลายๆ รุ่นมาช่วยกัน ทั้งคนแก่-คนหนุ่ม  เป็นการผสมผสาน แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่นอย่างแนบเนียน  จากกิจกรรมนี้ ผมพอจะมองเห็นบางประการที่แฝงอยู่ อาทิ

  • การสืบต่อวัฒนธรรมที่งดงามของชุมชน  ที่ยังหลงเหลืออยู่
  • เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่สร้างโอกาสให้คนในชุมชนได้มาพบปะ และทำกิจกรรมร่วมกัน
  • เป็นเทคนิควิธีการจัดการความรู้อย่างหนึ่งของชุมชน  อย่างเป็นธรรมชาติ
  • กิจกรรมเหล่านี้ ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน เพราะเท่าที่เห็น บางคนมาจากต่างหมู่บ้าน แต่ก็มาร่วมมือกันอย่างน่าชื่นชม
  • แสดงถึงความเป็นชุมชนที่เอื้ออาทร  ที่ร้อยรัดและผูกพันกันด้วยธรรมเนียม-วัฒนธรรมเดียวกัน
  •   ฯลฯ

 

       นอกจากนั้นแล้ว  สิ่งที่ได้พบเห็นและได้เรียนรู้จากชาวบ้านก็คือ  การนำไม้ไผ่(ผิวไม้ไผ่) มาทำเป็นมีดตัดโพมแทนมีดคัตเตอร์ ครับ   ผมได้ทดลองและช่วยตัด-แกะสลักโพมแล้ว ยอมรับว่าใช้ได้ดีกว่ามีดคัตเตอร์ครับ  สามารถเหลารูปทรงของมีดผิวไม้ไผ่ได้ตามใจปรารถนา ดังภาพประกอบครับ

 


การใช้มีดที่ทำจากผิวไม้ไผ่แกะสลักแทนมีดคัตเตอร์ที่เราคุ้นเคย

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทะ  สมป่าสัก  18 ธันวาคม  2551

หมายเลขบันทึก: 230333เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ

* มาส่งความสุขปีใหม่ค่ะ

ขอบคุณบันทึกดีดีครับ

  • หลายพื้นที่มักจ้างเอา ดังนั้นรูปแบบศิลปะพื้นบ้านที่หลากหลายจึงเหลือไม่กี่แบบตามเจ้าของร้าน
  • แบบนี้ งานฝีมือเชิงช่างจะสืบต่อไป
  • ได้ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมด้วย
  • ตามมาดูครับพี่สิงห์
  • เพิ่งเคยเห็น
  • เหมือนแทงหยวกเพชรบุรีเลย
  • สวยดี

สวัสดีครับ

สิ่งดีๆควรที่ต้องอนุรักษ์ หาทาญาตผู้สืบทอด รักษาขนบธรรมเนียมเอาไว้

ขอบคูณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับ  อ. พรรณา ผิวเผือก
  • ขอบคุณครับ
  • ขอให้มีความสุขตลอดปีใหม่นี้เช่นกันนะครับ

P

 

  • สวัสดีครับท่านรองฯ ออต
  • สิ่งเหล่านี้นับวัดจะสูญหายไปพร้อมกับความเข้มแข็งของชุมชน
  • หวังว่าชุมชนต่างๆ จะตระหนัก
  • รวมถึงองค์กรท้องถิ่นต่าง ๆ  จะช่วยส่งเสริมให้คงอยู่
  • ความหลากหลายและแตกต่างของแต่ละพื้นถิ่น คือสิ่งสวยงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.
  • รองฯ ออตสบายดีนะครับ

สวัสดีค่ะ

ชื่นชมประเพณี "การสร้างปราสาท" ให้กับผู้ล่วงลับค่ะ

เคยไปร่วมงานศพของผู้สูงอายุทางภาคอีสาน ครั้งแรกตกใจแกมแปลกใจค่ะ เพราะคนไปร่วมงานใส่เสื้อผ้าที่มีสีสรรค์ต่าง ๆ ไม่ได้ใส่สีดำขาว (ตามที่คนกทม.นิยม) แอบถามผู้รู้ จึงได้ทราบว่ามีความเชื่อ การปฏิบัติที่ต่างกัน ทางอีสานจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุด เรียบร้อยเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ตายและความตายหรือการล่วงลับของสังขารไม่ถือเป็นความโศกเศร้า แต่เป็นการ "ข้ามพ้นวัฏฏสังสาร" ไปสู่ปราสาทที่ได้สร้างด้วยบุญกุศลตั้งแต่มีชีวิตอยู่ค่ะ

เลยได้คิดว่า...เรามักคิด ตีความ แปลความหมาย ตามความเคยชินของเรา  ซึ่งไม่ถูกต้อง ควรที่จะเข้าใจในบริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ จึงจะถูกต้องค่ะ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • คงคล้ายๆ กันกับการแทงหยวกของเพชรบุรี
  • พื้นที่อื่นๆ ก็คงจะมีและแตกต่างกันไป
  • เป็นวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์นะครับ
  • ขอบคุณครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี เกษตรยะลา
  • เห็นด้วยมากครับที่ควรหาทางสืบทอดของดีๆ เหล่านี้
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.

ขอบคุณค่ะ สำหรับความรู้ใหม่

ไม่เคยเห็นเลยค่ะ

อาจเพราะยังไม่เคยไปร่วมงานแบบนี้แถวนั้นมังคะ

ท่านสิงห์ป่าสัก สบายดีนะคะ ^_^

P

 

  • สวัสดีครับ อ.วัลภา คนไม่มีราก
  • ในชุมชนต่างๆ มีความคิด-ความเชื่อที่บางครั้งเราก็คาดไม่ถึงนะครับ
  • แต่ก็คงจะก่อตัวและพัฒนามาจนเหมาะกับสถานการณ์  และล้วนเป็นสิ่งดี
  • ผมก็เคยไปงานศพที่เขาเปิดเพลงของสุนทราภรณ์ทั้งวัน สอบถามได้ความว่าผู้ตายได้สั่งไว้ว่าให้เปิดเพลงที่ชอบ
  • บางพื้นที่ก็ไม่ได้มีบรรยากาศเศร้าโศกแต่อย่างใด
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมา ลปรร.

 

P

  • สวัสดีครับ ครูปู~natadee t'ซู๊ด
  • บางพื้นที่ก็ซื้อครับ แต่ที่นี่เขาช่วยกันสร้าง
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • ผมสบายดี  ครูปู(คนหน้าตาดีที่ซุ๊ด)สบายดีนะครับ

-สวัสดีครับอ้าย

-สบายดีน่อ

-ตามมาดู "ปราสาท" ครับ

-ปี๋ใหม่ไปแอ่วไหนคับ.

P

 

  • ปีใหม่พักผ่อน
  • และออกกำลังครับ (ตัดหญ้าที่สวน)
  • ไม่อยากให้ถึงเลย...
  • อิอิ...แก่ไปอีกหนึ่งปีซิเรา
  • ขอบคุณครับ

เป็นอะไรที่แปลกดีน่าเรียนร้

เป็นอะไรที่แปลกดีน่าเรียนรู้มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท