เด็กไทย กับ หุ่นยนต์


http://www.kmutnb.ac.th

ขอขอบคุณภาพจาก มจพ.

วันนี้เปิดไปเจอใน Manager Online มีบทความสัมภาษณ์เด็กๆ นักศึกษาที่ทำหุ่นยนต์ Rescue Robot พอดี  สำหรับที่พระนครเหนือก็ติดลำดับมาทุกๆ ปี ก็เลยขอนำบทสัมภาษณ์มาลงต่อเนื่องจากเรื่องเดิม คือ ส่งกำลังใจ เด็กไทยไปแข่งหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก แล้วก็ เด็กไทย คว้าแชมป์โลก Rescue Robot 2007

ตามอ่านบทสัมภาษณ์ได้ที่นี่ค่ะ คุยกับ iRAP_PRO - มะพร้าวหอม ก่อนชิงชัยแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัย

คำสำคัญ (Tags): #rescue robot#มจพ.
หมายเลขบันทึก: 228399เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เด็กทำหุ่นยนต์รับใช้คน

ดีกว่าทำผู้คนให้เป็นหุ่น

...

ขอเป็นกำลังใจให้นักคิดสร้างสรรค์ทุกคนครับ

  • ตามมาทักทายอาจารย์
  • หายไปนาน
  • เอหรือผมหายไปหลายวัน
  • อิอิๆๆ
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ
  • ขอตามไปดูใน link ก่อนนะครับ

เจริญพร โยมอ.กมลวัลย์

ในปัจจุบันเห็นมีหุ่นยนต์เป็นคนรับใช้ตามบ้านแล้ว

โยมอาจารย์หายไปเสียหลายวัน

 

เจริญพร

สวัสดีค่ะคุณครูกานท์

เห็นด้วยมากๆ ค่ะ ไม่ควรสอนคนให้เป็นหุ่น

แต่ดูแนวโน้มทุกวันนี้คนไม่เป็นหุ่นเท่าใด แต่มักจะมีอารมณ์หมุนไปตามแสงสี/กิเลสยั่วใจรอบตัวเสียมากกว่าค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

แหะๆ หายไปเองแหละค่ะ ตามอ่านอยู่บ้าง พอมีเนื้อหาที่พอจะเขียนได้ก็มาเขียนค่ะ ^ ^

กราบนมัสการท่านพระปลัด

ไม่ได้หายไปหลายวันค่ะ หลายเดือนเลยค่ะ ^ ^ แต่ตามอ่านที่ท่านพระปลัดเขียนอยู่บ้างนะคะ เพียงแต่ไม่ได้ให้ข้อคิดเห็นน่ะค่ะ แล้วยังไงจะกลับมาเขียนใน การปฏิบัติธรรม อีกค่ะ

สวัสครับครับ ... BLOGGER ไร้ BLOG อิ อิ :) ตามอาจารย์ว่าเลยนะครับ

แน่นอนอยู่แล้วค่ะ อ.วสวัตฯ ^ ^

เด็กไทยเก่งๆก็มีเยอะ นะคะ น่าภูมิใจ

ข่าวต่อเนื่อง

เปลือยเทคนิคหุ่นยนต์แชมป์โลก มันสมองระดับเทพของเด็กไทย

"...iRAp_PRO จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เจ้าของแชมป์โลก 4 ปีซ้อน ที่มีประสบการณ์ตั้งแต่ปี 2006-2008 ฝึกฝนและพัฒนาหุ่นยนต์กู้ภัยอย่างต่อเนื่อง โดย "โฟม" คฑาวุฒิ อุชชิน นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หัวหน้าทีม iRAp_PRO ผู้ทำหน้าที่บังคับหุ่นยนต์เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพของหุ่นยนต์กู้ภัยถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด 4 ปีเต็ม และต้องเตรียมความพร้อมในการวางแผนก่อนลงสนามทุกครั้ง"
       
       "หุ่น ยนต์กู้ภัยจะมีทั้งหมด 3 ตัวด้วยกัน ประกอบไปด้วยหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ 2 ตัว และหุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 ตัว โดยหุ่นยนต์ทั้งหมดมีลักษณะใช้สายพานในการเคลื่อนที่ สามารถเคลื่อนที่ได้ทุกสภาพผิว ต้นกำลังใช้มอเตอร์ DC 24 V. 95 rpm จำนวน 2 ตัว ในการขับเคลื่อนสายพานซ้าย ขวา วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างเป็นอลูมิเนียม สายพานทำมาจากยางสังเคราะห์ และหุ่นยนต์มี Flipper 2 คู่ คือคู่หน้าและหลัง โดย Flipper คู่หน้าหมุนได้ 360 องศา ส่วน Flipper คู่หลังมีระบบ Mechanic ที่ทำให้แขนคู่หลังยึดเกาะกับผิวตลอดเวลาเพื่อการทรงตัว ทั้งหมดนี้ทำให้หุ่นยนต์มีสมรรถนะสูงในการเคลื่อนที่ไปในสภาพผิวที่เลวร้าย ต่างๆ ได้อย่างสบาย"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท