การค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างไร?..ให้ตรงกับประเด็นที่เราต้องการ


Advanced searching

วันนี้...พวกเราไปเรียนการค้นหาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งที่เราต้องการที่สุดได้อย่างไร

เราก็ได้เทคนิกการค้นหางาน ดังนี้ค่ะ

การค้นด้วย search

ถ้าพิมพ์เฉพาะคำสำคัญ เช่น music therapy

บทความที่ได้ จะที่มีคำนั้นอยู่ทั้งหมด สำคัญหรือไม่สำคัญก็จะได้มาทั้งหมด จะกว้างและได้มากเกินไป

 

ถ้าอยากจำกัดลง

เราควรใช้วิธีกำหนด term หรือ MeSH term (Medical Subject Heading) เป็นคำทีใช้เพื่อจัดกลุ่ม เราจะได้กำหนด paper ที่ตรงและลดจำนวนลง

  •  โดยพิมพ์  คำว่า   Music therapy [mh]

ข้อจำกัดของการใช้ MeSH  

  • จะได้งานวิจัยที่ตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว ถ้าอยากได้งานวิจัยใหม่ๆจะไม่ได้

เราสามารถค้นให้เฉพาะเจาะจงได้อีก 

โดยกำหนดสิ่งที่เราสนใจเพิ่มลงไป เช่น เราสนใจเฉพาะเรื่อง

(Music therapy) AND (systematic or [sb]meta-analysis [pt])

  [sb] ให้ค้นใน field text

 [pt] Publication type

   AND  เป็นคำสั่งเชื่อมระหว่าง key word   จะทำให้ได้บทความน้อยลง เพราะคำนั้นจะต้องอยู่ในบทความนั้นทั้ง 2 คำ  จะได้น้อยกว่า พิมพ์คำว่า OR  เพราะคำนั้นๆจะอยู่ไหนก็ได้ในบทความ ดังนั้นบทความที่ได้จะมากกว่าพิมพ์คำว่า AND

เราอาจจะจำกัดงานวิจัยได้อีกโดย

ใช้คำสั่ง limit แล้วไปคลิก เลือก เช่น RCT Systemmatic review  Age ฯลฯ

ถ้าอยากทราบว่า Search strategy ของเราเป็นอย่างไร

  • หลังจากพิมพ์ key word แล้ว
  • คลิก Search ได้บทความที่ต้องการแล้ว
  • เราก็คลิก history  คำที่ปรากฏในแต่ละบันทัด เรียกว่า  Search strategy เพื่อใช้ดูว่าเราสืบค้นข้อมูลที่ผ่านมา เราใช้คำอะไร เราสามารถเก็บไว้ได้ 100 รายการ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะหายไปอัตโนมัติ แต่ถ้าจะลบเอง ก็ใช้คำว่า clear history
  • การนำมาใช้ เราสามาถใช้หมายเลขหน้ารายการนั้นมาใช้ได้ เช่น #1 AND #7  เป็นการเชื่อมผลการค้นหารายการที่ 1 และ รายการที่ 7 เข้าด้วยกัน

การใช้ Details

หลังจากค้นเอกสารได้แล้ว ใน pub med เราสามารถดูรายละเอียดได้ใน details เพื่อจะได้แก้ไขสิ่งที่ไม่ตรงความต้องการ และสั่งให้ค้นหาใหม่ได้

ถ้าอยากรู้ว่า ตอนนี้มี article ใน Pub med มีเท่าไหร่ 

  • ให้พิมพ์คำว่า all[sb]

เมื่อได้เอกสารแล้ว  เราสามารถเก็บได้ที่

  • My NCBI
  • Export to EnNote
  • Sent to collection

 

การใช้ Clipboard

เป็นการเก็บข้อมูลที่ค้นได้ชั่วคราว 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะหายไปโดยอัตโนมัติ

หวังว่า การค้นหาเอกสารงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา คงเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

หมายเลขบันทึก: 221258เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • แวะมาเรียนรู้ด้วยคนครับ
    พี่แก้ว สบายดีไหม
    เรียนหนักจัง
    เป็นห่วงครับ

ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

บันทึกช่วยจำของพี่เอง

ถ้าเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจบ้าง ก็จะดีมากๆค่ะ

สบายดีค่ะ

-สวัสดีค่ะ น้องแก้ว

-เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากค่ะ

-ขอบคุณค่ะ

-ไปพักผ่อนกันะคะ เขาช่องกระจก จังหวัดประจวบฯค่ะ

ถ้าอยากทราบว่า บทความนั้นตีพิมพ์หรือยัง

เราจะพิมพ์คำว่า Music therapy and publisher [sb] จะบอกสถานะว่าขณะนี้ Paper ทำถึงไหนแล้ว as suplied by pubiisher

ถ้าอยากรู้ว่ากำลังจะเสร็จ ให้พิมพ์คำว่า [in process]

P

น่าสนุกนะคะ

ถ้าจะจำง่ายๆในการค้นหา เช่นจะหาเอกสารที่เกี่ยวกับดนตรีบำบัด ลดปวดในผู้ป่วยมะเร็ง เราจะใช้คำว่า

music therapy cancer pain ถ้าพิมพ์เว้นวรรคแปลว่า คำเชื่อมเป็น AND

 

 

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมแวะมาให้กำลังใจกับคุณแก้วค่ะ
  • ขอขอบคุณกับ..สิ่งที่น้องแก้วนแนะนะคะ

ครูคิม

ลองค้นดูนะคะ ความรู้ทุกอย่างอยู่ภายใต้นิ้วมือเราค่ะ

น่าสนใจดีค่ะ วิธีค้น

คำว่า music therapy เป็นวิธีรักษาด้วยเพลงใช่ไหมคะ

พี่ใบบุญ

เป็นการบำบัดทางการพยาบาลอย่างหนึ่ง โดยใช้ดนตรีบำบัดค่ะ

หวัดดีคะ

ขอบคุณที่บอกวิธีนะคะ

กำลังง่วนหางานวิจัยอยู่เลยคะ

ได้นะคะ..แต่บางตัวที่เราอยากได้ PDF ก็ไม่ได้..เลยต้องหานานมากๆๆ..ยังได้ไม่ครบเลยคะ..

คุณเชือกปอ

เราอาจหาต่อโดยการ Hand searching โดยดูว่าห้องสมุดรับวารสารนั้นไหม แล้วเราก็ไปค้นต่อ หรือให้บรรณารักษ์ขอ paper ให้โดยเสียค่าใช้จ่ายก็ได้ค่ะ

ไม่ว่าจะอ่านหรือค้นอะไร เราก็มีความรู้เพิ่มขึ้นทั้งนั้น จริงหรือเปล่า

จริงค่ะ คุณจิ๋ม ขอบคุณที่มาทักทายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท