เชิญประชุมพันธกิจบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย


ศูนย์บริการวิชาการว่าทำหน้าที่อะไร

ผมคุยวิสาสะกับอ.ไพโรจน์ นวลนุ่ม สำนักวิชาการจัดการ สอบถามเรื่องนักศึกษา งานสอน และงานบริการวิชาการ อาจารย์มีความเห็นว่ายังสับสนกับระบบบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะบทบาทของศูนย์บริการวิชาการว่าทำหน้าที่อะไร และเสนอความเห็นว่าศบว.ควรทำหน้าที่อะไรไว้ด้วย

ผมขอรายงานบทบาทของศบว.ว่า โดยพันธกิจที่วางไว้คือ เป็นหน่วยกลางด้านนโยบายและประสานเชื่อมโยงงานบริการวิชาการระหว่างภายในกับความต้องการจากภายนอก หมายความว่ามวล.มีหน่วยบริการวิชาการจำนวนมาก ที่เป็นหลักคือ สำนักวิชา11สำนัก หน่วยวิจัย8หน่วยที่สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา(มีตัวชี้วัดบริการวิชาการด้วย) ส่วน/หน่วยต่างๆก็มีโครงการบริการวิชาการ ศูนย์ฯต่างๆ  ก็มี รวมทั้งโครงการต่างๆของมหาวิทยาลัย เช่น โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ โครงการศูนย์กีฬาและสุขภาพ โครงการชุมชนสาธิตฯ เป็นต้น ก็มีงานบริการวิชาการด้วย ในส่วนของศูนย์บริการวิชาการ ตอนนี้ได้จัดแบ่งเป็น2ฝ่ายที่ถือเป็นหน่วยบริการวิชาการคือฝ่ายวิสาหกิจบริการ
มีคุณนันทกาญจน์ จิตรมานะศักดิ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายและลูกจ้างโครงการ 5 คน และฝ่ายกิจกรรมและโครงการพิเศษ มีคุณธนิต สมพงศ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายและลูกจ้างโครงการ 3 คน

งานสนับสนุนบริการวิชาการของศูนย์บริการวิชาการจะเอื้ออำนวยให้หน่วยบริการทั้งหมดทำหน้าที่ได้เต็มศักยภาพเพื่อนำบริการวิชาการสู่สังคม งานในฝ่ายนี้มี4คน คือ1)คุณสุขุม ศรีสมบัติ ทำหน้าที่เผยแพร่บริการวิชาการของมวล.ผ่านสื่อโทรทัศน์ รายการวลัยลักษณ์สู่สังคมทุกวันอังคารและช่วยงานสื่ออื่นๆผ่านเครือข่ายที่มี 2)คุณอารีรัตน์ โภคาและผม ทำหน้าที่สนับสนุนหน่วยบริการในกิจกรรมหลักคือ  -รายงานผลการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยในภาพรวมในช่องสื่อสารต่างๆและทำรายงานบริการวิชาการประจำปีของมวล. (การเขียนBlogรายงานข้อมูล/วิชาการของผมก็ถือว่าทำหน้าที่นี้ด้วย)         -สนับสนุนงานบริการวิชาการเชิงบูรณาการ หมายถึงการประสานเชื่อมโยงให้เกิดงาบริการวิชาการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย เป็นต้น - การพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายให้บริการวิชาการ -การประสานให้เกิดกิจกรรมใหม่ และงานระบบฐานข้อมูลบริการวิชาการ(งานนี้ศูนย์คอมฯกับกจน.เป็นหน่วยรับผิดชอบงานฐานข้อมูลกลางของมวล. โดยที่ในส่วนของฐานข้อมูลบริการวิชาการฝ่ายเราจะประสานให้ได้ระบบฐานข้อมูลและการใช้งานที่ถูกต้องครบถ้วน 3)คุณกนิษฐา เอียดมาก    ทำหน้าที่สนับสนุนเรา3คน ฝ่ายนี้ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการครับ(ไม่มีหัวหน้าฝ่าย)

และเพื่อให้การทำงานบริการวิชาการของมวล.ก้าวไปตามพันธกิจที่วางไว้ ศบว.จึงเตรียมประชุมหารือกลไกระบบรวมบริการประสานภารกิจงานบริการวิชาการในวันที่21พ.ย.2551 โดยเชิญหน่วยบริการทั้งหมดจำนวนประมาณ50หน่วย ร่วมประชุมหารือตั้งแต่เวลา13.00-16.20น. ณห้องโมคลาน อาคารบริหาร จึงขอเชิญชวนหัวหน้า/ผู้แทนหน่วยทุกท่านเข้าร่วมประชุมหารือในวันเวลาดังกล่าวด้วยครับ

จดหมายเป็นทางการจะส่งถึงโดยเร็ววันครับ

หมายเลขบันทึก: 221214เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาเชียร์พี่ภีม
  • อยากเห็นมหาวิทยาลับบริการชุมชน
  • อิอิๆๆๆๆ

สวัสดีครับอ.ขจิต

ไม่เจอกันนาน ยังขยันเหมือนเดิมนะ

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ

สวัสดีค่ะ

ตามมาเชียร์เหมือนอาจารย์ขจิต

วิธีแบ่งงานของ มวล.น่าสนใจค่ะ ที่คณะเศรษฐฯ มธ. งานเหล่านี้จะกระจายอยู่ในหลายฝ่าย จากจุดที่ว่า งานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย การเรียนการสอน การสัมมนาเผยแพร่ความรู้ การอบรม การวิจัย การแบ่งโครงสร้างการทำงานจึงเอากิจกรรมเหล่านี้เป็นตัวตั้ง

  • การเรียนการสอน ที่ภายนอกขอมา ก็จะอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ
  • การสัมมนา อยู่ที่ฝ่ายสัมมนา
  • เผยแพร่ความรู้ ทางสื่อ หนังสือ สิ่งพิมพ์ อีกฝ่ายหนึ่ง
  • การอบรม การวิจัย แบบหารายได้
  • การอบรม การวิจัย แบบไม่หารายได้

จึงมีตั้ง 5 หน่วยที่ดูแล ประเภทเอาให้ทะลุกันเป็นเรื่องๆไปเลย

แถมยังมีการแบ่งระหว่างหน่วยวิจัย อบรม แบบโครงการหารายได้ กับหน่วยวิจัย อบรมที่เป็นบริการจริงๆไม่หารายได้ เพราะคิดแบบเศรษฐศาสตร์ว่า เป้าหมายต่างกัน รูปแบบกิจกรรมและการบริหารจัดการก็ต้องต่างกัน

แต่หน่วยที่หารายได้จะเป็นแหล่งงบประมาณสำคัญของหน่วยที่ไม่หารายได้ค่ะ (เพราะคณะฯพึ่งงบคลังน้อยกว่าครึ่งของงบทั้งหมด)

โมเดลวลัยลักษณ์น่าสนใจตรงที่จะมีการใช้ทรัพยากรร่วมกันของสำนักต่างๆ และมีการให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสนับสนุน

ของที่คณะฯก็คล้ายกับว่าหน่วยต่างๆข้างบนต่างหน่วยต่างสร้างเครือข่าย (โดยไม่ตั้งใจ คือไม่ได้ตั้งเป็นเป้าหมายชัดเจน และมักเป็นเครือข่ายในประเทศ) แม้จะมีหน่วยวิเทศอีกหน่วยหนึ่งที่ประสานงานการสร้างเครือข่ายตรงกลาง แต่หน่วยวิเทศมักจะให้ความสำคัญกับเครือข่ายต่างประเทศเสียมากกว่า

งานที่ยากคือ การบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอน ปัจจุบันใช้วิธีบูรณาการโดยตัวผู้สอนเองที่ทำงานวิจัยด้วย การทำงานของหน่วยสนับสนุนคือ การเปิดพื้นที่ให้ผู้สอนได้มีโอกาสทำงานวิจัย แต่สิ่งที่คณะฯคาดหวังคือ การบูรณาการอย่างเป็นระบบที่ปรากฏความรู้แบบบูรณาการออกมาในตัวหลักสูตรและตำรา ตรงนั้นไม่ง่ายเท่าไหร่ค่ะ

สถานการณ์น้ำที่นครฯเป็นไงบ้างคะ จะโทรไปถามข่าวพี่เรืองว่า "น้ำท่วมทุ่ง (นา)" หรือไม่ หวังว่าคงเกี่ยวข้าวหมดแล้วและบ้านดินยังอยู่ดี ฝากไปเยี่ยมพี่เรือง น้าฝาก ฝากนมัสการพระอาจารย์สุวรรณ และสวัสดีครูนงด้วยค่ะ

หวังว่าอีกไม่นานคงได้เริ่มงานวิจัยกับอาจารย์ไพโรจน์ค่ะ

ปัทมาวดี

ขอบคุณอาจารย์มากที่เข้ามาแลกเปลี่ยน

มธ.เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ แต่ละคณะก็อาจเท่ากับครึ่งหนึ่งของมวล. ระบบงานของมวล.ยึดแนวทางรวมบริการประสานภารกิจ กล่าวคือ  ในแต่ละภารกิจของหน่วยงานย่อยจะมีหน่วยรวมบริการกลางในระดับมหาวิทยาลัย เช่น งานยานพาหนะก็จะรวมอยู่ที่กองกลาง ไม่แยกไปตามคณะ ห้องเรียนก็ใช้ร่วมกัน เรียกว่าอาคารเรียนรวม1,2,3..ที่ทำงานอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน แม้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ก็จะอยู่ในตึกวิชาการที่อยู่รวมกับคณะอื่นด้วย ที่นี่จึงไม่มีตึกของคณะใดคณะหนึ่ง เป็นต้น (มวล.เรียกสำนักวิชาแทนคณะ)

ระบบงานของคณะเศรษฐฯมธ.ตามที่อาจารย์เล่าให้ฟัง ถ้าเปรียบก็คงเทียบเท่ากับมวล.

พันธกิจ2ด้าน(นอกจากการเรียนการสอน)คือการวิจัยและบริการวิชาการของคณะเศรษฐฯตามที่อาจารย์แยกให้ดู
การเรียนการสอน ที่ภายนอกขอมา ก็จะอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ

การสัมมนา อยู่ที่ฝ่ายสัมมนา

เผยแพร่ความรู้ ทางสื่อ หนังสือ สิ่งพิมพ์ อีกฝ่ายหนึ่ง

การอบรม การวิจัย แบบหารายได้

การอบรม การวิจัย แบบไม่หารายได้

โดยคณะพยายามเอื้ออำนวยและบูรณาการการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆทั้งแนวดิ่งคือเชื่อมโยงบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย และระหว่างหลักสูตรแบบสหวิชา นั่นคือสิ่งที่ผมพยายามทำในภาพรวมของมวล. เนื่องจากหน่วยที่ผมรับผิดชอบคือศูนย์บริการวิชาการถือเป็นกองกลางภารกิจงานบริการวิชาการของทุกสำนักวิชา รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ(หากเรานับรวมความรู้ปฏิบัติของคนหน้างานด้วย) ผมเห็นว่า ความรู้ทฤษฎีที่มีในหลักสูตรต่างๆคือวิชาการในความหมายเดิม หลังจากแนวคิดจัดการความรู้เฟื่องฟู ความรู้ปฏิบัติก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น ซึ่งถือว่างานทุกอย่างมีความรู้ปฏิบัติแฝงอยู่ บุคคลากรทุกคนจึงอาจจะมีทักษะทางวิชาการด้วย

เข้ามาเยี่ยมคะ หวังว่าคงสบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท