การบริหารทรัพยากรการเงิน


มาสมัยนี้ โลกเปลี่ยนไป แม้สถานศึกษาก็ต้องหาเงินเพื่อความอยู่รอด ความยากของการเป็นผู้บริหารในหน่วยงานของรัฐยุคนี้ ยิ่งกว่าการเป็นผู้บริหารในบริษัทเอกชน เพราะต้องบริหารองค์กรที่มีแต่ลูกน้องที่ใช้เงินเป็นอย่างเดียว หนำซ้ำยังคิดว่า เป็นความรับผิดชอบของเจ้านาย ที่จะต้องหาเงินมาให้ใช้เสียอีก

ขึ้นชื่อว่าข้าราชการ ก็รู้กันดีว่า เราไม่เคยถูกฝึกให้หาเงิน เราพอใจกับการใช้เงินเดือนไปวันๆ สมัยก่อน คนรับราชการที่หาลำไพ่พิเศษ จะได้รับการดูหมิ่น (อาจเพราะอิจฉาที่รวยกว่า)

มาสมัยนี้ โลกเปลี่ยนไป แม้สถานศึกษาก็ต้องหาเงินเพื่อความอยู่รอด ความยากของการเป็นผู้บริหารในหน่วยงานของรัฐยุคนี้ ยิ่งกว่าการเป็นผู้บริหารในบริษัทเอกชน เพราะต้องบริหารองค์กรที่มีแต่ลูกน้องที่ใช้เงินเป็นอย่างเดียว หนำซ้ำยังคิดว่า เป็นความรับผิดชอบของเจ้านาย ที่จะต้องหาเงินมาให้ใช้เสียอีก

คงต้องเปลี่ยนค่านิยม/วัฒนธรรม การใช้เงิน/หาเงิน ของข้าราชการด้วยกระมัง จึงจะอยู่รอดได้

แนวทางการจัดหารายได้ของสถาบัน ที่ดิฉันคัดลอกมาให้เป็น idea เป็นรูปแบบที่เสนอโดยผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโก (จากหนังสือเรื่อง กระบวนทัศน์ใหม่ ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย. ไพฑูรย์ สินลารัตน์) ดังนี้

1. ให้บริการทางวิชาการ (Sale of Service) 

  • หลักสูตรระยะสั้น
  • การให้คำปรึกษา
  • การให้บริการทางวิชาชีพ
  • การทดสอบผลิตภัณฑ์สินค้าและกระบวนการ
  • การรับรองมาตรฐาน
  • Bureau Services
  • การให้บริการข้อมูล
  • การบริการคอมพิวเตอร์
  • การขายบริการโสตทัศนูปกรณ์
  • การขายบริการทางความชำนาญต่างๆ

2.  การขายผลิตภัณฑ์ทางวิชาการ (Sale of Products)

  • สิทธิบัตร
  • Photo type Building
  • สิ่งพิมพ์
  • โปรแกรมสำเร็จรูป

3.  การให้เช่า (Use of Physical Facilities)

  • สถานที่ที่มีอยู่เดิม  เช่น ห้องเรียน ห้องบรรยาย ห้องสตูดิโอ ห้องปฏิบัติการ ห้องฝึกงาน ห้องสังสรรค์ ที่จอดรถ ศูนย์กีฬา ศูนย์วัฒนธรรม
  • สถานที่ใหม่  เช่น ให้เช่าที่ทำร้านอาหาร ทำศูนย์ท่องเที่ยว ไปรษณีย์  ธนาคาร ศูนย์ข้อมูล  ร้านทำผม  ร้านขายของชำ
  • ให้เช่าเป็นเดือน หรือเป็นปี

4.  บริการหอพัก อาหาร และการประชุมสัมมนา (Residence, Catering and Conferences)

  • คิดค่าเช่าเป็นรายสัปดาห์แก่นักเรียน แก่การสัมมนาภายนอก หรือให้เช่าในช่วงฤดูร้อน
  • คิดค่าสิทธิประโยชน์จากการให้เช่าหอพัก เป็นค่าซักผ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอาหาร
  • ให้เอกชนเช่าหอพักและคิดสิทธิประโยชน์จากเอกชน
  • บริการจัดเลี้ยงและให้บริการภายนอกแก่องค์กรต่างๆ
  • ให้ใช้หอพักหรือห้องประชุมสำหรับการประชุมสัมมนา

5.  ค่าโฆษณาภายในสถาบัน (Inward Advertising)

  • สถาบันจะเป็นแหล่งโฆษณาได้ดีในสิ่งพิมพ์ Databases และบริเวณต่างๆของสถาบัน

6.  การขายบริการต่างๆ ในสถาบัน (Sale of Internal Services)

  • การขายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์
  • ลดราคาสำหรับการให้บริการหลังการขาย
  • การลดราคาหนังสือ
  • สินค้าและบริการต่างๆ
  • บริการจัดหางาน
  • บริการถ่ายเอกสาร
  • ขายกระดาษเก่า
  • ขายโปสการ์ด การ์ดต่างๆ และสิ่งของที่ระลึกที่เกี่ยวกับสถาบัน

7.  นำวัสดุมาสร้างคุณค่าใหม่ (Recycling)

  • กระดาษใช้แล้ว
  • กระป๋อง ขวด ใช้แล้ว
  • วัสดุห้องปฏิบัติการ
  • หนังสือเก่า
  • เฟอร์นิเจอร์เก่า

8.  งานพิธีการ (Adward ceremony)

  • การให้เช่าสถานที่ห้องพักระหว่างวันหยุด
  • การโฆษณาจัดงาน
  • การคิดค่ามาร่วมงาน
  • การคิดค่าเข้างาน
  • การคิดค่าบริการจากร้านเช่าเสื้อ
  • การคิดค่าบริการจากร้านถ่ายรูป
  • การขายของที่ระลึก

9.  เป็นตัวกลาง (Brokerage Function)

  • เป็นนายหน้าจัดหาแหล่งทุนวิจัย ฝึกอบรม
  • รับงานมาจ้างงานต่อ
  • จัด Franchise หลักสูตรให้กับสถาบันอื่น
  • จัดบุคลากรให้ช่วยองค์กรอื่นๆ

10. บริการสื่อใหม่

  • จัด Course สอนด้วยสื่อทางไกลโดยคิดค่าบริการเต็ม หรือให้บริการเคลื่อนที่

11. การลงทุน (Invesment)

  • การบริหารการเงินจากการลงทุนทั้ง Cash Reserves และ Cash Flows ให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด

     เก็บมาเล่า ยาวหน่อยนะค่ะ เพราะ UKM ครั้งที่ 3 เดือนหน้าที่ใกล้เข้ามา จะต้องเตรียมตัว เพื่อแลกเปลี่ยนกันเรื่อง การบริหารทรัพยากรการเงิน ไม่ใช่หรือค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 2178เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2005 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท