การสนทนาเป็นพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจ


เมื่อวานได้เข้าฟังบรรยายในเรื่องเกี่ยวกับองค์กร (organization) ได้ยินคำๆ หนึ่งคือ dialogue ก็คือการสนทนากัน หลายคนก็คงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างเหมือนกัน เพราะในทุกองค์กรคงต้องมีการสื่อสารกันอยู่แล้ว เพราะทุกคนก็ต้องมีการสนทนากัน โดยในขณะที่ทำการสนทนาจะมีคนอยู่ 2 ประเภทก็คือ ผู้พูดและผู้รอที่จะพูด ดังนั้น การทำให้เกิดการพูดและการฟังที่มาจากใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยการสนทนาจะต่างจากการประชุมก็คือ ไม่ต้องการข้อยุติ และขณะที่พูดก็ไม่ต้องกลัวว่าจะผิดหรือถูก การสนทนาจึงเป็นพื้นฐานของการสร้างความเข้าใจ ทำให้คนฟังเข้าใจความคิดหรือกรอบแนวคิดของผู้อื่นมากขึ้น

นอกจากนี้การสนทนาเกิดขึ้นในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ จึงทำให้ลดข้อจำกัดในการพูดหรือฟัง ทำให้เกิดแนวคิดที่หลากหลายมุมมองจากคนหลายๆ คน ซึ่งเมื่อทราบแนวคิดต่างๆ แล้ว เราก็สามารถที่จะจัดประชุมเพื่อหาข้อสรุปสำหรับเรื่องนั้นๆ ต่อไปได้  และในการประชุมหลายๆ แห่งก็ได้มีการนำเอาการสนทนา หรือ dialogue เข้ามาใช้กันบ้างแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2175เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2005 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่อง Dialogue และได้เคยนำไปใช้ในหลายโอกาสด้วยกัน บางครั้งก็ Success บางครั้งก็ไม่ค่อย Work ผมเคย Share ประสบการณ์บางส่วนไว้ใน Blog ช่วงต้นเดือนมิถุนาที่ผ่านมา ลอง Click เข้าไปดูนะครับ http://intuitionflow.blogspot.com
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท