กระบวนทัศน์ใหม่ ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย


เมื่อปรมาจารย์สร้างงานวิจัย : รายงานการวิจัยเอกสาร ในลักษณะเอกสารเชิงแนวคิด

ชื่อบันทึกนี้  ความจริง เป็นชื่อหนังสือที่เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์  สินลารัตน์ สำหรับดิฉัน ทุกตัวอักษร ทุกบรรทัด ต้องอ่านอย่างพิถีพิถัน อ่านแล้ววางไม่ลง อ่านแล้วรู้กว้าง รู้ลึก รู้ความต่อเนื่องเชื่อมโยงเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการอุดมศึกษาไทยมากขึ้นอีกหลายเท่าทวีคูณ  อยากให้ทุกท่านได้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้บริหารในระดับต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษา

สำหรับท่านผู้สนใจที่ยังไม่เคยอ่าน และอยากทราบว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง ดิฉันขอคัดหัวข้อในหน้าสารบัญ สรุปโดยย่อให้ท่านทราบ ดังนี้ นะค่ะ

บทนำ: ความจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ 

บทนี้กล่าวถึง ที่มาของ จุดเปลี่ยน แนวคิด ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย ว่า เกิดจากเหตุปัจจัยที่สำคัญๆ อะไรบ้าง  และเสนอแนวทางหลักในการเปลี่ยนแปลง ตามชื่อหนังสือเล่มนี้ ว่า กระบวนทัศน์ใหม่ ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาไทย นั่นเอง ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ

1.  งานวิชาการ  จากระบบใช้  เป็น  การผลิต/สร้างงานวิชาการ

2.  งานบุคคล  จากระบบราชการ  เป็น  ระบบอุดมศึกษา

3.  งานการเงิน  จากระบบใช้  เป็น  ระบบการใช้และการหา

4.  การบริหารสถาบัน  จากระบบภายนอก  เป็น  ระบบดูแลกันเองภายใน

5.  การบริหารของรัฐ  จากระบบบังคับบัญชา  เป็น  ระบบกำกับดูแล

บทที่ 1 ถึง 5  ถัดมา จึงเป็นภาพขยายของแนวคิดหลักในการเปลี่ยนแปลง ทั้ง 5 ด้านดังกล่าว โดยในแต่ละด้าน  จะนำทางด้วยแนวคิดพื้นฐานก่อน  แล้วจึงนำเสนอหลักการของการปฏิรูป และการดำเนินงาน ตามลำดับ

ดังนั้นแม้ว่าท่านจะไม่ได้ป็นผู้บริหาร  เป็นเพียงอาจารย์  หรือเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษา ก็ตาม แนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ท่านมีหลักคิดในการปฏิบัติงานตามภาระกิจหลักของท่าน ของหน่วยงานและของมหาวิทยาลัยมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นอาจารย์ ท่านจะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การสอนให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง (Experiental-Based Learning) ให้มากขึ้น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study Learning) และให้ผู้เรียนรู้จักสร้างและพัฒนาความรู้ขึ้นด้วย (Research-Based Learning) ครูจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการชี้แนะ  ชี้นำในประเด็นต่างๆ รวมทั้งแหล่งความรู้  มากกว่าเป็นคนจัดการกับความรู้ (เน้นการบรรยาย การบอกความรู้) เสียเอง และที่สำคัญคือ ต้องให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิพากษ์ ความรู้ต่างๆ อย่างเข้มข้น จริงจัง (Critical-Based Learning) เป็นต้น

แนวคิดดีดี ยังมีอีกมาก หากท่านยังหาอ่านไม่ได้ ดิฉันจะพยายามถอดประเด็นหลักมาบันทึกให้ท่าน (หรือตัวดิฉันเอง) อ่านวันละเล็กวันละน้อยนะค่ะ 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 2169เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2005 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท