ไสว
นาง ไสว เครือรัตนไพบูลย์

การจัดทำแผนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

 

กลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์                                                                                              ช่วงชั้นที่ 2

ชื่อวิชา โครงงานวิทยาศาสตร์                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ : โครงงานสิ่งแวดล้อมกับชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง : เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์                                                                      เวลา   2 ชั่วโมง

............................................................................................................................................................

 

1. สาระที่  8  : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. มาตรฐานการเรียนรู้

2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ            หาความรู้  การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

2.2 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

          2.2.1 สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่

                2.2.2 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลเชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูล                         และประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม

2.2.3 จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และหรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ                      และผลงานของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี

          1. ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามความสนใจ และนำเสนอด้วยวาจา รวมทั้งจัดแสดงผลงานในรูปนิทรรศการ         

4. สาระสำคัญ

          โครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนรู้    ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติจริง โดยการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น สรุปผล         เขียนรายงาน ตลอดจนการนำเสนอผลงานอย่างมีขั้นตอนจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ                           1)โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ 2)โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง 3) โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ และ 4) โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการสร้างทฤษฎีหรือ                    การอธิบาย นักเรียนควรฝึกปฏิบัติกิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เบื้องต้นให้ถูกต้อง                       เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำโครงงานในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ และสาระวิชาอื่น ๆ ต่อไป  

5. จุดประสงค์การเรียนรู้

          5.1 บอกความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

                5.2 ปฏิบัติกิจกรรมตามที่มอบหมายได้

                5.3 บรรยายคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ได้

6. สาระการเรียนรู้

          6.1 ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

                6.2 ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

                6.3 คุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

7. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างสิ่งล่อใจ

                1. ครูนำภาพข่าวการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยระดับโลก มาร่วมอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้

                                1.1 นักเรียนอยากเป็นคนคนหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศหรือไม่

                                1.2 ถ้านักเรียนอยากเป็นคนเก่ง นักเรียนควรทำอย่างไรบ้าง

                                1.3 นักเรียนทราบหรือไม่ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ชนะเลิศจากการประกวด             เป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทใด

          2. ครูและนักเรียนร่วมสนทนาจากการศึกษาดูงานนิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ                 ปี 2550 ที่เกี่ยวกับเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนได้ไปศึกษาในประเด็นต่าง ๆ  ดังนี้

                                2.1 โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องใดที่นักเรียนสนใจและประทับใจมากที่สุด

                                2.2  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าเป็นโครงงานประเภทใด

                                2.3 นักเรียนอยากทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นหรือไม่ เพราะอะไร

ขั้นที่ 2 ขั้นให้แสวงหาองค์ความรู้

3. นักเรียนดูวีดีทัศน์ เรื่อง โครงงานวิทยาศาสตร์ ( ความหมาย ประเภท และคุณค่า และความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์)

4. แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน  โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้ากลุ่ม   พร้อมทั้งตั้งชื่อกลุ่ม

5. นักเรียนศึกษาความรู้เรื่องความหมาย ประเภท และคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์จากแหล่งเรียนรู้ และจากใบความรู้ที่ 2 เรื่อง ความหมาย ประเภท และคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

 

ขั้นที่ 3 ขั้นเข้าสู่การปฏิบัติ

6. นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามแบบบันทึกกิจกรรมที่ 2 เรื่องความหมาย ประเภทและคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

7. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนแผนที่ความคิดเรื่องคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

8. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  พร้อมกับนำผลงานไปช่วยกันจัดแสดงบนบอร์ดหน้าห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 4 ขั้นจัดสรุปโครงสร้างความรู้

9. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปความหมาย ประเภท และคุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

10. นักเรียนแต่ละคนสรุปความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นของตนเองลงในแบบบันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

11.นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต ในส่วนที่นักเรียนต้องการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มแล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล

12. ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ความหมาย ประเภท และคุณค่าและความสำคัญ                 ของโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบ จำนวน 10 ข้อ

8.หลักฐานการเรียนรู้

          8.1  บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องที่ 2 ความหมายและประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

                8.2  แผนที่ความคิด คุณค่าและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

                8.3  บันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

                8.4  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

9. สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้

          9.1 สื่อการเรียนรู้

                   9.1.1 ภาพข่าว

                                9.1.2  บันทึกกิจกรรมที่ 2 เรื่องความหมาย ประเภท และคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

                                9.1.3 ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความหมาย ประเภท และคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

                9.1.4 บันทึกการเรียนรู้หลังเรียน (Learning Log)

                                9.1.5 วีดีทัศน์ เรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์

                                9.1.6 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ

               

9.2 แหล่งการเรียนรู้

                                9.1.1 นิทรรศการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2550

9.1.2 ห้องวิทยาศาสตร์

                                9.1.3 ห้องสมุดโรงเรียน

                                9.2.4 ห้องคอมพิวเตอร์

 

10. การวัดและประเมินผล

          10.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียน

                                10.1.1 ความตั้งใจเรียน

                                10.1.2 การตอบข้อซักถาม

                                10.1.3 การลงมือปฏิบัติกิจกรรม

                                10.1.4 การนำเสนอผลงาน

                                10.1.5 การทำงานเป็นกลุ่ม

                10.2  ตรวจผลงานนักเรียน

                10.3  ทดสอบความรู้ความเข้าใจ เรื่อง เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์

 

11. บันทึกหลังสอน

......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................

 

ลงชื่อ...............................................ผู้สอน

(นางไสว  เครือรัตนไพบูลย์)

ตำแหน่ง ครู โรงเรียนวัดแสงสรรค์

หมายเลขบันทึก: 214526เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2008 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2012 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • แผนการจัดการเรียนรู้ ของอาจารย์น่าสนใจมากค่ะ
  • ครูอ้อย ขออนุญาตถามด้วยความสนใจว่า .... ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง..ตรงที่  ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม หรือคะ ครูอ้อย  หาศัพท์ว่า..เศรษฐกิจพอเพียงน่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ..ขออภัยที่ถามตรงนี้นะคะ สนใจมากค่ะ  เพราะจะจัดทำบ้าง  จะได้แนวไปทำบ้างน่ะค่ะ

น่าสนใจมากๆเลยค่ะ

ตอบครูอ้อย การเขียนขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม นั้นเป็นขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมโครงงานตามแผนการจัดการเรียนรู้ ในการทำโครงงานเริ่มต้นการให้ความรู้เรื่องโครงงานค่ะ ยังไม่ถึงการทำโครงงานกว่าจะทำได้นักเรียนต้องรู้ก่อนว่าโครงงานคืออะไรก่อน แล้วจึงตัดสินใจเลือกว่าจะทำโครงงานเรื่องอะไร แนวไหนค่ะ ในหน่วยนี้มีหลายแผนค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูไหว

แผนดีมาก เป็นแบบอย่างได้ค่ะ

  • แผนดีมากค่ะ มีขั้นตอนที่ทันสมัย นำเข้าสู่บทเรียนของหนูเชยไปแล้วล่ะมีคำใหม่แจ๋วค่ะ
  • อาจารย์คงนำนักเรียนเลือกหัวข้อที่เข้าหลักเศรษฐกิจพอเพียงใช่มั้ย ที่ว่าแผนพอเพียงนะค่ะ
  • อยากให้อาจารย์นำเกณฑ์การประเมินที่เป็นรูบริคมานำเสนอ
  • หนูคงเข้าใจได้ถูกนะค่ะว่าอาจารย์ไฟแรงอยู่ค่ะ
  • ขอบคุณมากที่เผยแพร่ค่ะ

เก่ง มากครับ พี่ ทำต่อให้เยอะๆ นะครับ

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจค่ะ

ขออนุญาตแนะนำต่อนะคะ

ขอขอบคุณค่ะ

โครงงานเศรษฐกิจพอเพียงกับเทียนไขไล่ยุง

โครงงาน เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทยกับเทียนไขไล่ยุง

ผู้จัดทำ เด็กชายอนันต์ อุดรรุ่ง

เด็กหญิงเบญจมาศ ไชยสัตย์

เด็กหญิงสุภางค์ ฤทธิ์สุวรรณ

ครูที่ปรึกษา นายมานิต เหลื่อมกุมมาร

นางนิภาพร ภูผาใจ

ผลงาน รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

การประกวดโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องในงานมหกรมมเศรษฐกิจพอเพียง

จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 18-22 กันยายน 2549

ที่มาและความสำคัญ

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นโครงการในพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลว่ามีความเป็นอยู่อย่างเพียงพอไม่ฟุ่มเฟือย สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองและการพึ่งพาธรรมชาติตลอดจนการดำเนินการอย่างลงตัว จากแนวความคิดดังกล่าวทำให้พวกเราได้คิดหาวิธีการที่จะดำเนินตามรอยพระยุคลบาทของในหลวง โดยศึกษาถึงการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงในเรื่องของพืชผักสวนครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในสภาวะวิกฤติ

ในด้านเศรษฐกิจ การปลูกพืชผักสวนครัวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้อยู่อย่างพอเพียงได้ ในพืชผักสวนครัวประกอบด้วยพืชผักนานาชนิดเช่น ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะเขือ กะเพรา แมงลัก โหรพา ยี่หร่า เป็นต้น พืชผักดังกล่าวเป็นพืชที่เป็นประโยชน์ในด้านการประกอบอาหาร และจากการศึกษาเพิ่มเติมเราก็พบว่า พืชผักบางชนิดมีสารบางอย่างที่สามารถไล่แมลง โดยเฉพาะยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคร้ายที่สามารถคร่าชีวิตของคนได้ นั่นก็คือโรคไข้เลือดออก จึงถือได้ว่าเป็นปัญหาและโรคที่ร้ายแรง แต่เราก็สามารถป้องกันได้โดยการกำจัดตัวพาหะนำโรค นั่นก็คือยุง

เราจึงได้คิดหาวิธีที่จะกำจัดยุงด้วยวิธีการธรรมชาติและสอดคล้องกับทฤษฎีของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบกับโรงเรียนของพวกเราอยู่ในบริเวณวัดเห็นมีเศษเทียนจากการประกอบพิธีทางศาสนาที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์อะไร เราจึงได้คิดที่จะนำเอาเศษ เทียนเหล่านั้นมาใช้ หล่อ เป็นเทียนโดยได้นำเอาพืชผักสวนครัวสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงได้มาผสมลงในการหล่อเทียน เพื่อใช้เป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุง

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

1. เพื่อศึกษาผักสวนครัวที่สามารถไล่ยุงได้และแมลงได้

2. เพื่อศึกษาการใช้เทียนไขสมุนไพรไล่ยุง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ครั้งนี้ กลุ่มได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. สมุนไพรที่ใช้ในการไล่ยุง

2. การหล่อเทียน

ขั้นตอนในการดำเนินการ

1. ศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องผักสวนครัวสมุนไพร

2. จัดทำแม่พิมพ์

3. หล่อเทียนตะไคร้หอม ใบมะกรูด ข่า

4. สรุปผลการทดลองใช้

สรุป อภิปรายผล

จากผลการศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวผักสวนครัวสมุนไพร เราก็พบว่าพืชผักที่สามารถไล่ยุงได้ มีตะไคร้หอม มะกรูด และ ข่า เมื่อเราศึกษาเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงเรขาคณิตและปริมาตร โดยเรากำหนดพื้นที่ฐานและ ความสูงของรูปทรงปริซึม พีระมิด กรวย ทรงกลมและทรงกระบอก ทำให้เราพิสูจน์ว่าเมื่อปริมาตรและความสูงที่เท่ากัน รูปทรงที่สามารถไล่ยุงได้นานที่สุดคือ รูปทรงกรวย กล่าวคือ การนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ในเรื่องของการใช้เศษเทียนไข

สมุนไพรพื้นบ้านมาผสมกันแล้วใช้เป็นยาจุดไล่ยุง รูปทรงเรขาคณิตมีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการไล่ยุง ซึ่งผลการทดลองดังตารางที่ 1-3 และรูปทรงที่มีระยะเวลาในการหลอมละลายหรือไล่ยุงได้นานที่สุดได้แก่รูปทรงกรวย รูปทรงพีระมิด ทรงกระบอกและรูปทรงปริซึมตามลำดับ ทำให้เราเลือกรูปทรงที่จะนำมาเป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุงและสามารถประหยัดทรัพยากรได้มากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

1. สามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดอื่นมาเป็นส่วนผสมได้

2. สามารถใช้วัสดุอย่างอื่นมาหลอมแทนเทียนได้

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ประโยชน์ของพืชผักสวนครัวสมุนไพรที่สามารถไล่ยุงและแมลง

2. ทราบว่ารูปทรงเรขาคณิตที่ใช้ในการไล่ยุงได้นานที่สุดคือ กรวย พีระมิด ทรงกระบอกและปริซึม ตามลำดับ

3. ได้นำแนวความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการนำสิ่งที่มี

อยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้

ขออนุญาตแนะนำต่อนะครับ

ขอขอบคุณครับ

  • เยี่ยมมากค่ะ
  • เป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • เข้ามาในสถานศึกษารูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ
  • เป็นกำลังใจและขอเชียร์ค่ะ..

ขอบคุน มาก คระ

สงสัย จะ ได็ เกณ สังคม 4.00

แล้ว มั้ง คระ

แผนการจัดการเรียนร้นี้ดีมากๆค่ะ

ขออภัยทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมนะคะ....เนื่องจากเปลี่ยนตำแหน่งไปสาบบริหารสถานศึกษาจึงไม่ได้เข้ามาคุย...นานมาก...ตอนนี้เริ่มจะพอมีเวลาเป็นส่วนตัวบ้างจึงได้เข้ามาดูงานที่เขียนไว้...ยังดีนะคะที่ยังเข้ามาคุยกันได้อีก...ตั้งเกือบ4ปี....แล้วจะเข้ามาคุยด้วยอีกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท