การฝึกจิตและการเจริญปัญญา๒


 

 ฝึกการยืนอย่างมีสติ

          ๑. ยืนตัวตรง

          ๒. มือขวากุมมือซ้าย

          ๓. ก้มหน้าลงพองามแล้วหลับตา

          ๔. ภาวนาในใจว่า พุท-โธ- พุท -โธ

          (หายใจเข้า ให้กำหนดว่า "พุท" หายใจออก ให้กำหนดว่า "โธ")

          ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ หลาย ๆ ครั้งจนเกิดความชำนาญ

 

 ฝึกการเดินอย่างมีสติ

          ก่อนที่จะเปลี่ยนอิริยาบถจากยืนเป็นเดิน เราควรกำหนดจิตใจเมื่อจะเปลี่ยนอิริยาบถ ดังนี้

          ระลึกถึงการยืน ภาวนาว่า ยืนหนอ

          ระลึกถึงการเปลี่ยนจากยืนเป็นเดิน ภาวนาว่า อยากเดินหนอ

          ระลึกถึงการเดิน ภาวนาว่า เดินหนอ

 

          ๑. ยืนตรง ยกมือซ้ายพร้อมกับภาวนาช้า ๆ ว่า ยกหนอ- มาหนอ - วางหนอ (วางมือซ้ายไว้ที่หน้าท้อง) ยกมือขวาพร้อมกับภาวนาช้า ๆ ว่า ยกหนอ - มาหนอ - วางหนอ (วางมือขวาทับข้อมือซ้ายแล้วใช้นิ้วกลางและหัวแม่มือรวบข้อมือซ้ายไว้)

          ๒. กำหนดในใจว่า "อยากเดินหนอ" ๓ ครั้ง

 

          ๓. การเดินกำหนดรู้ ๓ ระยะ โดยใช้องค์ภาวนาว่า

          ขวา- ยกหนอ- ย่างหนอ -เหยียบหนอ

          ซ้าย -ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ

          ยกหนอ ยกเท้านั้นลอยขึ้นไปข้างหลัง              ย่างหนอ เลื่อนเท้าที่ยกไปข้างหน้าช้า ๆ แล้วนิ่ง   

          เหยียบหนอ  ลดเท้าลงให้ปลายเท้าแตะพื้นก่อน แล้วจึงวางเต็มฝ่าเท้า    

          การเดินจงกรมจะเดินเป็นวงกลม เวียนขวาตามเข็มนาฬิกา

 

 

          ๔. การหยุดเดิน ให้ยืนตรง กำหนดลมหายใจและภาวนาเบา ๆ ว่า "อยากหยุดหนอ" ๓ ครั้ง แล้วยกมือขวาออก ค่อย ๆ เลื่อนลงพร้อมกับภาวนาว่า

          มือขวา-ยกหนอ-ลงหนอ-ปล่อยหนอ       (ปล่อยมือขวาลง)

          มือซ้าย-ยกหนอ-ลงหนอ- ปล่อยหนอ      (ปล่อยมือซ้ายลง)

           ฝึกการนั่งสมาธิ เป็นการฝึกจิตให้มีสมาธิ โดยการนั่งกำหนดลมหายใจ มีวิธีการฝึก ดังนี้

          ๑. ยืนสมาธิ

          ๒. กำหนดลมหายใจว่า "อยากนั่งหนอ"

          ๓. ปล่อยมือขวาและมือซ้ายลงข้างตัวอย่างช้า ๆ

          ๔. เลื่อนเท้าซ้ายถอยหลัง ย่อตัวลง เข่าจรดพื้น

          ๕. มือซ้ายเท้าลงที่พื้น แล้วนั่งลงขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย

          ๖. มือทั้งสองวางบนเข่า

          ๗.เลื่อนมือซ้ายวางหงายบนตัก แล้วเลื่อนมือขวามาวางทับบนมือซ้าย

          ๘. นั่งตัวตรง หลับตา

          ๙. ระลึกถึงลมหายใจ

          ๑๐. เมื่อสูดลมหายใจเข้า ก็ภาวนาว่า "พุท"

          ๑๑. เมื่อปล่อยลมหายใจออก ก็ภาวนาว่า "โธ"

          ๑๒. ภาวนาสลับไปเรื่อย ๆ ให้ใจสงบ

 ฝึกการนอนอย่างมีสติ มีขั้นตอนดังนี้

          ๑.นั่งพับเพียบ ขาซ้ายทับขาขวา

          ๒. ประนมมือสวดมนต์ตามเสียงเพลง

          ๓. กราบ

          ๔. มือซ้ายยกมาวางที่ท้อง

          ๕. มือขวาเท้าพื้น เตรียมเอนตัวนอน

          ๖. ครูร้องเพลงนอนกับสติเบา ๆ  ๑ จบ

          การฝึกนอนอย่างมีสติ เป็นการฝึกจิตให้สงบนิ่ง เมื่อหลับจะไม่ฝันร้ายหรือหวาดกลัว นักเรียนจะหลับสนิท ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นแจ่มใส กระปรี้กระเปร่าไม่ง่วงเหงาหาวนอน

           ฝึกกำหนดรู้ความรู้สึก เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัสสิ่งที่มากระทบ

          ฝึก กำหนดรู้ เป็นการฝึกเมื่ออายตนะ คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่มากระทบมี ๖อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อวัยวะต่าง ๆ ได้สัมผัสกับสิ่งรอบกาย คือ ตามองเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นสัมผัสกับสิ่งรอบกายและอารมณ์ที่เกิดกับใจ แล้วเกิดการรับรู้ของจิต

 

            การฝึกกำหนดรู้ เป็นการฝึกง่าย ๆ ดังนี้        

 ฝึกการเห็น

          ระลึกถึงตา ภาวนาว่า ตาหนอ

ลืมตาขึ้น ภาวนาว่า ลืมตาหนอ

มองดู ภาวนาว่า เห็นหนอ

มองดูดอกไม้ ภาวนาว่า เห็นดอกไม้หนอ

 ฝึกการได้ยิน

          ระลึกถึงหู ภาวนาว่า หูหนอ

          ตั้งใจฟัง ภาวนาว่า ได้ยินหนอ

          ฟังเสียงนก ภาวนาว่า ได้ยินเสียงนกหนอ

ฝึกการได้กลิ่น

          ระลึกถึงจมูก ภาวนาว่า จมูกหนอ

          ตั้งใจดมกลิ่น ภาวนาว่า ดมกลิ่นหนอ

ฝึกการรู้รส

          ระลึกถึงลิ้น ภาวนาว่า ลิ้นหนอ

          ตั้งใจลิ้มรส ภาวนาว่า ลิ้มรสหนอ

          ลิ้มรสน้ำตาล ภาวนาว่า ลิ้มรสน้ำตาลหนอ

 ฝึกการสัมผัส

          ระลึกถึงมือ ภาวนาว่า มือหนอ

          ตั้งใจหยิบของ ภาวนาว่า หยิบของหนอ

          หยิบปากกา ภาวนาว่า หยิบปากกาหนอ

 ฝึกการใช้ความคิด

          ระลึกถึงความคิด ภาวนาว่าใช้ความคิดหนอ

          ตั้งใจคิด ภาวนาว่า ได้คิดหนอ

          คิดถึงพ่อแม่ ภาวนาว่า คิดถึงพ่อแม่หนอ

          การ ฝึกกำหนดรู้ความรู้สึกทำให้จิตนิ่งเป็นสมาธิ จะทำอะไรก็รู้จักระมัดระวัง ความผิดพลาดจะไม่เกิดขึ้น เพราะรู้ตนเองว่ากำลังทำอะไรอยู่

 ฝึกให้มีสมาธิในการฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน การฝึกให้มีสมาธิในการฟัง

          ต้อง ทำจิตใจให้มีสมาธิแน่วแน่ตั้งใจฟัง จนเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดจากการฟัง การศึกษาเล่าเรียน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะได้ดำเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

 

 การฝึกให้มีสมาธิในการอ่าน

          การ ศึกษาเล่าเรียนจะดำเนินไปได้ด้วยดี จะต้องอาศัยการอ่านอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการศึกษาหาความรู้แล้ว การอ่านจะได้ผลดีจำเป็นต้องมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อเรามีสมาธิแล้วจะทำให้เราสามารถอ่านได้รู้เรื่อง อ่านได้เข้าใจและอ่านได้อย่างรวดเร็ว

 

 

 

 การฝึกให้มีสมาธิในการคิด

          เมื่อนักเรียนได้ฟังและอ่านแล้ว พิจารณาเรื่องที่รับรู้มาจากแหล่งต่าง ๆ แล้วนำมาวิเคราะห์จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ "คิดเป็น" เช่น นักเรียนได้ฟังวิทยุ หรืออ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ที่ประสบความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ก็ให้นักเรียนคิดพิจารณาดูว่าทำไมบุคคลเหล่านั้นจึงได้รับผลเช่นนั้นหรือลอง คิดดูอย่างมีเหตุผลว่า คนที่ขยันเรียนหนังสือมักประสบความสำเร็จ หรือคนที่พบเพื่อนดีจะแนะนำชักชวนไปในทางที่ดี

 

 ฝึกให้มีสมาธิในการถาม

          เมื่อ นักเรียน ฟัง อ่าน และคิดแล้ว เกิดความสงสัยหรือยังไม่เข้าใจ นักเรียนควรถามผู้รู้หรือครูอาจารย์ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจให้กระจ่างแจ้ง การ ถามต้องใช้สติที่สงบแน่วแน่ ถามด้วยความอยากรู้ อยากศึกษาให้เข้าใจใช้ถ้อยคำและวาจาที่สุภาพเรียบร้อย จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

 

 ฝึกให้มีสมาธิในการเขียน

          เมื่อ นักเรียนได้ฟังหรือรับรู้ด้วยการอ่าน แล้วนำมาคิดพิจารณาตลอดจนถามในสิ่งที่ตนไม่เข้าใจแล้ว นักเรียนควรจะจดบันทึกไว้เพื่อกันลืมและสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการศึกษา ค้นคว้าในครั้งต่อไป

 

อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน..ธรรมรักษา

 

 

หมายเลขบันทึก: 213932เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ช่วงนี้ฟัง ไม่ค่อยเข้าใจ เป็นเพราะสมาธิไม่ดีไหมคะ พระอาจารย์

P

  • ธรรมสวัสดีนะโยม แก้ว..อุบล
  • ก็มีส่วนที่จิตเราอาจจะไม่นิ่ง
  • จิตอาจจะล้าเพราะหน้าที่การงาน
  • หาโอกาสนั่งพักผ่อนทำจิตให้สงบ
  • บ้างในแต่ละวันเป็นการทบทวนตนเอง
  • และได้พักผ่อนอย่างดีเยี่ยม
  • หรือเรื่องบางอย่างอาจจะยากที่
  • จะเข้าใจในการฟังครั้งเดียว
  • แต่ยังไงเรื่องสมาธิ(จิตตั้งมั่น)
  • ก็เป็นหลักสำคัญในทุกเรื่องราว
  • อนุโมทนาสาธุ

นมัสการเจ้าค่ะ  พระคุณเจ้า

การฝึก  พุทธ  โธ  จะฝึกได้ดีกว่า  ยุบ หนอ  พองหนอ

เพราะจังหวะการหายใจ  และเครียดค่ะ

แต่ก็เอาชนะทรมาณจิตใจและร่างกายได้ในวันที่ 5 ของการฝึก (แบบยุบหนอ พองหนอ)

แต่ปัจจุบันฝึกแบบพุทธ โธ เจ้าค่ะ

นมัสการค่ะพระอาจารย์

***แวะมารับพระธรรมอันเป็นประโยชน์ต่ะ

      P     ธรรมสวัสดี โยมคุณครูคิม

                        อนุโมทนาสาธุ   

            P    ธรรมสวัสดี โยมกิติยา

                          อนุโมทนาสาธุ   

P. watayoot

 

  • ธรรมสวัสดีโยม
  • อนุโมทนาสาธุ
  • บุญรักษา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท