ทำไมต้องเป็นมหิดล และทำไมคิดจะขับเคลื่อนการท่องเที่ยว


๑.

วันนี้ผมเข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว โดยทางมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพในการตั้งต้นคิด ที่ผ่านมาในการประชุมครั้งที่ ๒ ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมที่ สถาบันวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว มหิดลศาลายา ยังไม่ได้นำเสนออะไรมากนัก เพราะเป็นเพียงการเข้าไปสังเกตการณ์ผ่านการเชิญของ รศ.ดร.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา ที่ท่านเป็นประธานคณะทำงาน โดยผมผ่านการเข้ามานั่งในเวทีโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มาอีกต่อหนึ่ง

ทราบเพียงคร่าวๆว่า ทางมหาวิทยาลัยมหิดล มีความคิดเห็นว่า ทางมหาวิทยาลัยมหิดลมีโอกาสและมีศักยภาพที่เพียงพอในการขับเคลื่อนประเด็นการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ทำไมต้องเป็นมหิดล  และทำไมคิดจะขับเคลื่อนการท่องเที่ยว

หากเรามองภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว เป็นภาพของมหาวิทยาลัยที่เน้นการแพทย์และด้านสาธารณสุข และมองโดยเผินๆว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการท่องเที่ยว

ผมผ่านเวทีระดมความคิดประเด็นการท่องเที่ยวมาส่วนหนึ่ง ก็พอมองเห็นปรากฏการณ์ของเมืองไทยได้ว่า เราขาด Think tank ด้านการท่องเที่ยวที่สามารถให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศโดยใช้การจัดการความรู้ที่เข้มแข็ง โดยสรุปผมขอฟันธงตรงๆว่า องค์ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวขณะนี้ มีไม่เพียงพอ และขาดการจัดการความรู้ จึงไม่มีพลังพอที่จะขับเคลื่อนงานพัฒนาได้

เวทีแรกที่เข้าร่วมพูดคุยประเด็นงานวิจัยเป็นส่วนใหญ่ ภาพของงานที่คิดเป็นลักษณะการทำงานร่วมกันของคณะต่างๆใน มหิดลเอง เรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการทำงานที่ดึงเอาจุดแข็งแต่ละคณะ/สำนัก มาคิดงานแรกเริ่ม

ผมชอบบรรยากาศการทำงานแบบนี้ ความเชี่ยวชาญศาสตร์ในแต่ละด้าน ทำให้งานที่เกิดชัดเจน และตอบโจทย์ได้ตรงกับการใช้ข้อมูล

·         คณะเวชศาสตร์เขตร้อน เน้นประเด็น Travel and Tourism Medicine

·         คณะแพทยศาสตร์ เน้นประเด็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

·         วิทยาลัยนานาชาติ นำเสนอในประเด็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกระแสหลัก คือ เน้นด้านธุรกิจ

·         ส่วนสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมชนบท นำเสนอโดย ผศ.เอี่ยม ทองดี เน้นการทำ Mapping ด้านวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์

·         และที่ผมสนใจอีกด้านที่เคยมีประสบการณ์ตรงคือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based  Tourism)

ทั้งหมดผมมองว่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นงานวิจัยเชิงบูรณาการที่สามารถตอบโจทย์การขับเคลื่อน “การท่องเที่ยวไทย” ได้ในหลายๆมิติ

จากการคิดโจทย์ที่จะรองรับการพัฒนาโดยใช้ฐานความพร้อมของมหาวิทยาลัยมหิดล และการประชุมครั้งที่ ๓ ในวันนี้ ประเด็นที่พูดคุยกันมาโพกัสที่ “แนวทางการพัฒนาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยมหิดล” จากการพูดคุยระดมความคิดเห็นจากคณะผู้บริหารและนักวิชาการ ร่วมกันคุณภราเดช พยัฆวิเชียร ที่ปรึกษาและอดีตผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

จาก “งานวิจัย”  สู่ “การจัดตั้งสถาบัน”

ผมมองเห็นโครงสร้างที่เห็นอยู่ไกลๆ แน่นอนว่าระยะทางจากวันนี้ น่าจะอีกยาวไกลพอสมควรที่ มหิดลจะต้องนำเสนอความเข้มแข็งผ่านประสิทธิผลของงานวิชาการให้ได้ เรื่องการจัดตั้งสถาบันนั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องยาก

ทำจุดแข็งของมหิดล ให้เด่นชัดมากขึ้น การดำเนินงานวิจัยด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งโจทย์วิจัยควรมีความชัดเจน อยู่บนพื้นฐานที่เป็น Demand based หรือ Issue based และเป็น Policy oriented เน้นการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นด้านการท่องเที่ยวมิติสุขภาพ กาย ใจ และวัฒนธรรม

นอกจากนั้น การเชื่อมเครือข่ายเดิม สร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงการสังเคราะห์งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยทั้งหมดน่าจะเป็นการเคลื่อนองคาพยพการทำงานที่เป็น Road map ที่ชัดเจน เป็นการทำงานเชิงยุทธศาสตร์

ส่วนผมเองก็พยายามดูโจทย์ที่สามารถทำเป็น งานดุษฏีนิพนธ์ สอดคล้องกับแผนงานที่คิดกันอยู่ตอนนี้ ไม่รู้ว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด...ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ผศ.เอี่ยม ทองดี รอง ผอ.สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ไว้แล้วบ้าง เพราะความสนใจของผมโพกัสไปที่ ประเด็นวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว

ข้อคิดเห็นและเนื้อหาทั้งหมด ผมคิดขึ้นภายใต้การเข้าร่วมประชุมร่วมกับคณะทำงาน  ๒ ครั้ง ในมุมมองของผมเอง และคิดว่าน่าจะมีแนวทางที่เป็นไปได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ
มหาวิทยาลัยมหิดล
๑๕ ก.ย.๕๑

 

 

๒.


บันทึกเพิ่มเติม ที่ผมนำเสนอในการประชุมครั้งที่ ๒ ที่อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหิดล

 

ผมมองว่าจุดแข็งของ มหิดล คือ ประเด็น  health  และ การขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยว น่าจะมีเป้าหมายระดับ การสร้าง "สุขภาวะ" ในระดับประเทศ  หากทำได้ขนาดนั้น ผมมองว่า ประสบความสำเร็จ ยั่งยืนด้วย

หากมองการท่องเที่ยว ผมมองออกเป็น ๒ ส่วนหลัก คือ การท่องเที่ยวกระแสหลัก และ การท่องเที่ยวทางเลือก  ต้องขับเคลื่อนทั้งสององค์ประกอบอย่างสมดุล

เราตั้ง "สุขภาวะ" เป็นเป้าหมายใหญ่ มองออกไปถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับผลกระทบงานพัฒนาส่วนใหญ่ คือ ประชาชน 

โจทย์ที่จะต้องทำให้ถึงคือ ทำอย่างไรการท่องเที่ยวจะช่วยสร้างสุขภาวะให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ ความสุขมวลรวมสำคัญกว่า GDP. ที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์มวลรวมที่สูงไม่ได้เป็นหลักประกันว่า เรามีความสุข

หากเราคิดเรื่องงานวิจัยเพื่อวิจัย ประเด็นการท่องเที่ยว ที่ไหนๆก็ทำ ไม่จำเป็นต้องมหิดล  แต่หากคิดใหม่ งานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ของประเทศได้ งานวิจัยที่จะนำพาสังคมไปสู่ สุขภาวะได้ต่างหากที่เป็นโจทย์ที่ท้าทาย

บทบาทที่เป็นไปได้และมหิดลน่าจะทำได้ดี หากคิดจะสร้างสถาบันด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ควรจะ

  • เชื่อมประสาน บูรณาการงานวิจัย สังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ๆ ประเด็นการท่องเที่ยวในทุกมิติ
  • เป็น Think tank ด้านการท่องเที่ยว มีศักยภาพในการพยากรณ์อนาคตของการพัฒนาการท่องเที่ยวได้แม่นยำ
  • เน้นการจัดการความรู้ ประเด็นการท่องเที่ยว (Knowledge management)
  • สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่เป็นนวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่
  • เป็น Call center ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย

งานนี้เป็นงานใหญ่  หากจะเคลื่อนคงต้องมองให้ครบทุกมิติ ที่สำคัญใช้ "ทุน" ที่มหาวิทยาลัยมี รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือ ทัั้งระดับปัจเจก องค์กร และเครือข่ายที่เรามีอยู่แล้ว

 


บันทึกเพิ่มเติมที่สนามบินดอนเมือง ...
๑๖.๒๒ น.
๑๕ ก.ย.๕๑

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 208770เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2008 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

สวัสดีค่ะ พี่เอก คนใจดี ..... แวะมาอ่านค่ะ แต่ไม่มีเม้น นะคะ... คิดถึงเฉยๆๆ ขอเบอร์โทรพี่ด้วยนะคะ จะโทรไปปรึกษา เรื่องงานเขียนค่ะพี่

เป็นประเด็นน่าสนใจดีมากเลยครับ เอาจากทุกมุมมองเพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว แถมท้ายด้วยการทำปริญญาเอก

บันทึกได้ดีมากเลยครับ เป็นมิติ ๆ ดีด้วยครับ......ชื่นชม ศรัทธาครับ.....พี่ชาย ชยพร แอคะรัจน์

น้องเอก

อยากบอกว่าคนเหนือนี้ชื่อเอกนี้เขียนอะไรก็ได้ทั้งสาระ และน่าอ่านทั้งนั้น ด้วยใจจริงทั้งชื่นชม และศรัทธาเจ้า

ใช่ค่ะ  น้องเอก

มหิดลเหมาะมากเลย  พี่เคยมีโอกาสได้ไปร่วมสัมมนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของทุกคน  จัดที่ UNSCAPE เมื่อปลายปีที่แล้ว (พย) ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากตปท.มากนะคะ  เกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยวของทุกคน ไม่ว่าจะ เด็ก ผู้ใหญ่ คนสูงอายุ หรือคนพิการ  เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกจัดให้ในสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆแห่งค่ะ

และสถานที่ท่องเที่ยวของเราเหล่านั้น  ก็ดึงดูดอยากให้ทุกคนเข้ามาเมืองไทยค่ะ

พอลล่า น้องสาวคนสวย

ยินดีครับ แล้วผมจะส่งให้ทางอีเมลนะครับ ผมเองก็วางโครงการเขียนงานออกมาเป็นหนังสือ หลายประเด็นเหมือนกัน ที่กำลังดูตอนนี้ นอกจาก HHC. (Humanized health care) แล้ว ผมยังอยากเขียน Health Public Policy ด้วยครับ เพราะข้อมูลเพียบเลย ที่สำคัญมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศด้วย

คนที่ลงไปคลุก ไปเก็บข้อมูล แบบผม มีข้อมูลแล้วไม่ได้เขียน มันอึดอัดมากนะครับผม :)

เขียนลงใน blog ก็ไม่ได้มากเท่าใจอยากจะเขียนครับ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาเรียนรู้เรื่องการท่องเที่ยวด้วยคนค่ะ เดี๋ยวนี้เห็นหลาย ๆ แห่งเขาส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากยิ่งขึ้น หวังว่าคนไทยจะมีสุขภาพดี ต่อไปนะค่ะ

  • แวะมาให้กำลังใจพี่เอกครับ
  • คิดถึงครับ
  • สบายดีนะครับ
  • ทำงานหนักอย่าลืมพักผ่อนด้วยนะครับ

อ.อีย์ จารุวัจน์

ยอมรับว่า ผมแสวงหาหัวข้อที่เหมาะสมผ่านงานวิจัยที่กำลัง Active และตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้ ผมมองว่าได้ประโยชน์และผมได้เรียนรู้ไปด้วย

แต่ยังไม่แน่ใจนะครับว่าจะได้โจทย์ (ที่ใจอยากหรือไม่)

ขอบคุณ อาจารย์ ชยพร แอคะรัจน์   มากครับที่มาติดตาม พร้อมกับกำลังใจดีๆ ผมนำเสนอตามที่ผมคิดครับ อาจจะถูกบ้างผิดบ้าง ถือว่าเรียนรู้กันไป :)

ชื่นชมอาจารย์เช่นกันครับ

สวัสดีค่ะ คุณจตุพร

.. ได้อ่านเนื้อหาแล้ว เป็นประเด็นนี้ดีมากค่ะ น่าสนใจ

.. เห็นด้วยค่ะที่มองประเด็น"สุขภาวะ" เป็นเป้าหมายใหญ่ที่จะได้รับผลกระทบงานพัฒนาส่วนใหญ่ คือ ประชาชน

.. การดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุขทั้งกาย และ จิต สำคัญมาก มิใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรง จิตแข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคม

.. ยังไงจะคอยติดตามผลงานต่อไป นะค่ะ

พี่ ท้องฟ้า

ถือว่าเป็นแฟนประจำเก่าแก่มากนะครับ ที่คอยให้กำลังใจนายเอก ตลอดเวลา

ขอบคุณมากๆเลยครับ

ยินดีที่พี่ติดตามอ่านสม่ำเสมอ มีข้อแนะนำ หรือแลกเปลี่ยนเรียนเชิญนะครับ

 

พี่หนิงครับ

คำว่าการท่องเที่ยวของทุกคน  เป็นศัพท์ใหม่ และไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อนครับ

การท่องเที่ยวน่าจะเป็นสิทธิของบุคคลนะครับ

ในส่วน ผู้พิการ ผมสังเกตว่าตามสถานที่ท่องเที่ยวได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ น่าดีใจครับ

ขอบคุณมากนะครับ

 

สวัสดีครับ คุณเพชรน้อย

คุยกันในเวทีว่า การท่องเที่ยวนั้นเราใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักทางด้านสุขภาพได้ ยกตัวอย่าง มาตรฐานhome stay ที่พยายามเน้นประเด็น ความสะอาด เป็นต้นครับ 

ดังนั้นสุขภาพจึงแทรกทุกกิจกรรมของชีวิต และแทรกในกิจกรรมการท่องเที่ยวด้วย

ขอบคุณครับผม

ขอบคุณครับ น้อง ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

ผมเองก็ไม่ค่อยสบายครับ ตามอนุทิน@20844

อาจเป็นเพราะพักผ่อนน้อยก็เป็นได้ครับ ต้องพยายามพักผ่อนให้มากๆ

น้องโย่งก็เช่นกันครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

ขอบคุณ คุณ jiwviw   ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ งานชิ้นนี้ของ มหิดลเป็นเพียงจุดเริ่มต้นนะครับ อีกยาวไกล คิดว่าจะนำมาเขียน แลกเปลี่ยนกันอีกนานครับผม :)

ได้ข่าวว่าไม่สบายเจ็บคิ กินยา amoxy ไม่หาย

วันนี้..พี่เรียนสิ่งที่ดีที่สุดในการรักษาโรคหวัด

อาจารย์แพทย์บอกว่า  ไม่ควรทานยาปฏิชีวะนะ เพราะหวัดเป็นเชื้อไวรัส

ทานยาไป  ก็ยิ่งทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น

ควรดื่มน้ำอุ่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ รับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซี (พูดง่าย แต่ทำค่อนข้างยากนะ)

 

สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ น่าจะพาไปชมสิ่งสวยงามตามธรรมชาติ พาไปอาบน้ำแร่ แช่น้ำนม ทานอาหารสุขภาพน่าจะดีนะคะ

สวัสดีค่ะ

พี่คิมแวะมาเยี่ยมและมาให้กำลังใจค่ะ และติดตามอ่านทุกเรื่อง

ขอถาม1.Target คือใคร ทุกคน ?ในและ/หรือนอกประเทศ

2.รัฐบาลสนับสนุน?

3.มวลชนขนส่งของบ้านเรา รองรับ?

4.สิ่งแวดล้อม สถาณการณ์บ้านเมือง เอื้อให้ทำโจทย์นี้ ได้/หรือ ไม่ได้?

ฮิ ฮิ ถาม ถาม ได้แต่ถาม เพราะตัวเองก็ตอบไม่ได้ค่ะ

เวลา เราสามคนจะไปเที่ยว เราดู+ให้คะแนน ตามปัจจัยข้างบนค่ะ

บวกลบออกมาทีไร ไป..สิงคโปร์ มาหลายเที่ยวแล้วค่ะ

อายนะคะ เพราะจริง ๆ ก็ประกาศตัวว่า ชาตินิยม เฮ้อ

สวัสดีครับ

เห็นรูปปายแล้ว..สักวันต้องไปให้ถึง

ขอบคุณมากครับ

พี่เอกไม่ค่อยสบายหรือค่ะ..หายไวไวน่ะค่ะ..รักษาสุขภาพด้วย..มาพักผ่อนเมืองปายบ้านเรา..คงหายเร็วขึ้น

การท่องเที่ยว + มหิดล = การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ลงตัวจริงๆครับ

พี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

ผมคิดว่า จากไข้หวัดพัฒนาเป็นคออักเสบสมบูรณ์แบบแล้วครับ เชื้อสแตรฟ คงเจริญเต็มที่ จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ Anti-biotic  ครับ คาดว่าน่าจะพักผ่อนน้อยและความเครียดที่เราไม่รู้ตัว

ต้องหาวิตามินซีมาทาน หรือไม่ก็หามะขามป้อมที่มีวิตามินซีเยอะๆมากินนะครับ

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ...และห่วงใยครับ

-------------

ประเด็น การท่องเที่ยวที่เอื้อให้ชุมชนเกิด "สุขภาวะ"  เป็นประเด็นงานใหม่ที่ทางมหิดลสนใจและกำลังระดมความคิดกันเต็มที่ และผมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งด้วยครับ

ขอบคุณ krukim  มากๆครับ ผมแวะไปเยี่ยมเวปของคุณครูแล้วครับ น่าสนใจมาก สีสวยและผมคิดว่านำประเด็นที่เคยเขียนแล้วในเวปมาเผยแพร่ใน gotoknow ก็จะดีครับ ที่นี่มีบุคลากรทางการศึกษาอยู่มากครับ

พี่หมอเล็กภูสุภา
ครับ

ผมได้ให้ข้อเสนอไปในมุมของ นักวิจัย นอกมหิดล คิดว่าความตั้งใจของมหิดลนั้นดี แต่ต้องให้เด่น ด้วยทุนที่เขา(มหิดล)มีครับ

คิดว่า ด้วยชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและความตั้งใจที่ดีของทีมงาน นำโดย รศ.ดร.ชื่นฤทัย การขับเคลื่อนเชิงประเด็นครั้งนี้ น่าจับตามองครับ

 

 

 

พี่ยาวครับ

ช่วงปลายฝนต้นหนาว ผมกำลังจะทำทัวร์จิตอาสา ของ คน gotoknow มาที่ปายครับ ตอนนี้มี blogger หลายท่านจองไว้

มีโอกาสมาเยี่ยมบ้านผมครับ

น้องครูแอน

ขอบคุณมากครับ พี่ก็คงต้องดูแลสุขภาพมากขึ้น ที่ผ่านมากรำงานมากไปหน่อย แต่ครั้งนี้กำลังใจเพียบครับ

คุณขจรศักดิ์ ครับ

บันทึกล่าสุดของคุณขจรศักดิ์ เยี่ยมยุทธ์มากครับ แบบนี้หากเราจัดเครือข่าย "คุณอำนวย" ในรอบใหม่ ต้องเชิญคุณขจรศักดิ์ มาแลกเปลี่ยนกันนะครับ

ผมต้องขอเวลาว่างๆ อ่านบันทึกของคุณขจรศักดิ์ละเอียดๆอีกครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอบคุณมากๆครับ กัลยาณมิตรของผม

สวัสดีครับ

มาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

พักผ่อน รักษาสุขภาพ 

หายไว ๆ นะครับ

  • รักษาสุขภาพกาย...สุขภาพใจ
  • เยียวด้วยการกอดๆๆๆคุณแม่นะคะ..
  • ความสุขที่ยั่งยืน..ไม่ต้องลงทุนค่ะ...อิอิ

                   

 

พี่วัชรา ทองหยอด

คนทำงานท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เดี้ยงเสียแล้วครับ ต้องฟื้นฟูร่างกายเร็วพลัน

ขอบคุณครับ ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจ

----------------------------

ว่างๆผมจะดอดไปจิบกาแฟที่ หน้าห้องสมุด มช.นะครับ ...แล้วจะไปจะเอ๋ทักทายครับ

พี่นกNU 11

ข่าวคราวไม่สบายของผมนี่ไปไกลเพราะออนไลน์internet อาการก็ดีขึ้นบ้างแล้วครับ ต้องรับยาครับ คาดว่าใช้วิธีพักผ่อนจิบน้ำมากๆน่าจะหายเร็วขึ้น

วันนี้ก็จะเดินทางไปหาความสุขที่ยั่งยืน ที่ บ้าน ของเราครับผม

จะนำภาพบรรยากาศที่ปายมาฝากครับ

สวัสดีค่ะพี่เอก... พอลล่ายังไม่ได้รับเลยค่ะ พี่

  •   ตะวันพ้นดอย

   เท้าน้อยค่อยก้าว

   บนทางแสนยาว

   สุดหาวริมภู

  •   หากแม้นเหนื่อยอ่อน

   อยากวอนให้รู้

   สายตาทุกคู่

   คอยให้..กำลังใจ

          ............

สวัสดีค่ะพี่เอก... พอลล่ายังไม่ได้รับเลยค่ะ พี่

สวัสดีค่ะพี่เอก... พอลล่ายังไม่ได้รับเลยค่ะ พี่

อ้ายเรากำลังใจเยอะทีเดียวนะค่ะ งานวิจัยประเด็นการท่องเที่ยว มีเยอะมากเลย แต่เป็นห่วงการนำไปใช้และการต่อยอดงานวิจัยเดิม เนื่องจากหากไม่นำไปใช้หรือทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็น่าเสียดาย แต่ด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ การบูรณาการหลาย ๆ สังกัด แต่เป็นประเด็นเดียวกัน ก็อาจจะนำพาความก้าวหน้ามาสู่การท่องเที่ยวของทุกคนได้ดีทีเดียวค่ะ เน้นว่าการท่องเที่ยวของทุกคน มันน่าสนใจดีค่ะ

  • แวะมาอ่านประเด็นเพิ่มเติมค่ะน้องเอก
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
  • ไม่ต้องห่วงสาวแถวนี้ค่ะ น้ำลดแล้วนะคะ

สวัสดีค่ะพี่เอก

แวะมาทักทายค่ะ และให้กำลังใจค่ะ

น้องสาว paula ที่ปรึกษา~natadee

ผมส่ง SMS บอกเบอรืโทรไปแล้ว ผมมีเบอร์โทรน้องแล้วนะครับ จากที่ให้ผมครั้งก่อน

ตอนนี้ผมยังอยู่ที่ปาย คิดว่าจะกลับ กทม.พรุ่งนี้เย็นๆ และน่าจะไปต่างจังหวัดต่อเลยครับ

พี่นก NU 11

ขอบคุณมากครับ ทางนี้ (ปาย) เพื่อนๆน้องๆ หลายคนดูแลผมดีมาก ไข้ก็หายลงบ้าง แต่ความอาทรของคนที่ใกล้ชิดทำให้อาการป่วยทุเลาลงมาก พรุ่งนี้ก็ถึงครากลับ กทม.แล้วครับ

น้องต่ายดอกไม้บานในใจเรา 

งานท่องเที่ยว ผมคงต่อยอดประเด็นเดิมครับ โดยเฉพาะผมมีเครือข่ายอยู่ในมือ และข้อมูลต่างๆ น่าจะนำไปต่อยอดได้เลย

งานนนี้ผมต้องปรึกษาน้องต่ายบ่อยๆด้วยครับ

พี่นารี naree suwan

ขอบคุณมากครับ ที่ส่งข่าวคราว

น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้งนะครับ แต่ท่วมมากๆคงไม่ไหว กลัวงูไปอยู่ด้วยครับ

เห็นสาวลพบุรีแจ้งผมว่า น้ำท่วมต้องลุยไปสอน

น่าเป็นห่วงครับ

น้องนุ้ยcsmsu

พี่ตามไป แฮปปี้เบิร์ดเดย์ คุณเจี้ยบแล้ว น้องนุ้ยทำภาพสวยดี และครีเอทด้วยครับ ชื่นชมจริงๆ

ขอบคุณครับ สำหรับ กำลังใจที่ดีนะครับ

วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์น่าสนใจนะครับ มหิดลรุกหน้าเร็วมากแม้กระทั่งเรื่องภาษาและกลุ่มชาติพันธ์ทั้งๆที่น่าจะเป็นอะไรแถวนี้ นับถือจริงๆครับ ขอเป็นกำลังใจครับพี่ ตุลานี้ผมจะไปกรุงเทพฯครับ มีโอกาสคงได้เจอพี่นะครับ

น้องเสียงเล็กๆ  Fu art

เดือนตุลาคม ฟูอ้าท มาที่ไหนครับ บอกผมด้วยนะครับ ผมจะไปไปหา และต้องเลี้ยงข้าวน้องชายผมสักมื้อนะครับ

ไม่แน่ใจว่า ไปนำเสนอผลงานวิจัยที่ มหิดล หรือเปล่านะครับ ผมทราบมาจาก บล็อก อ.อีย์

---------------------------------------------------------------

ที่ ม.มหิดลไปเร็ว เพราะเป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพครับ ทั้งวิชาการและการตอบโจทย์สังคม

พอดีกะว่าจะไปเยี่ยมน้องสาวและพี่ชายเพราะพวกเขาอยู่กรุงเทพครับ ไม่ได้เจอกัน 1 ปีแล้ว และคิดไว้แล้วว่าจะไปเยี่ยมพี่เอกกับลุงเอกด้วยครับ คงไม่ได้ขึ้นไปธุระอะไรครับ ขอบคุณมากครับสำหรับทุกสิ่งที่หยิบยื่นให้ครับ

น้อง fuart

ลุงเอกทราบ ท่านคงดีใจครับ

ยินดีมากๆครับ หากต้องการไปที่ไหนก็บอกได้ครับ ยินดีต้อนรับเต็มที่

  • ธรรมสวัสดีนะโยมเอก
  • หายป่วยรึยัง
  • ขอให้มีความสุขสุขภาพแข็งแรงนะ
  • จุดเปลี่ยนประเทศไทย
  • ไปสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
  • เมืองไทยมีอะไรที่ดีๆเยอะแยะจริงๆ
  • อนุโมทนาสาธุ

นมัสการกราบ ท่านtukkatummo

ครับ รู้สึกอบอุ่นดีมากเลยครับที่ท่าน มาเยี่ยมไข้กระผม ก็เกือบหายเป็นปกติแล้วครับ เป็นเพราะทำงานหนักไปหน่อย  ความเหนื่อย ความเครียดที่เราอาจไม่รู้ตัวก็มาสะสม

ตอนนี้อาการดีขึ้นมาก แต่ยังเดินทางไม่ลดละครับ

การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของคนครับ ผมคิดว่าหากเราจัดการการท่องเที่ยวที่ดี เราจะได้เปรียบ และเครื่องมือนี้ ช่วยเพิ่มพลังชุมชนไปด้วยครับ

สาธุครับท่านครับ

กราบท่าน สาม ครั้งครับกระผม

.../\....

.../\....

.../\....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท