ใต้สันติสุข : จากนราธิวาส สู่ มหกรรมสันติวิธีชายแดนใต้ ที่ยะลา


๑.

บันทึกเดิม : ใต้สันติสุข : บทเริ่มต้นของการเดินทางไปนราธิวาส

-----------------------------------------------------------------

Dsc03253

๒.

โรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.นราธิวาส

โทรศัพท์จากกรุงเทพฯ โทรมาทวงรูปภาพตั้งแต่เช้า ...ผมเคยสัญญากับผู้ที่โทรมาว่าจะบันทึกรูปภาพลงแผ่นให้ วันนี้ที่ทางคณะจากกรุงเทพฯจะมาถึงที่สนามบิน และรูปภาพที่เตรียมไว้นั้นคงเตรียมไว้งานเลี้ยงรับรองคณะนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าที่มาเยือนนราธิวาสในช่วงค่ำ ช่วงสนทนาก่อนวางสาย ผู้ที่โทรมาบอกกับผมว่าจะมีคนมารับผมที่โรงแรมให้เตรียมตัวไว้ก่อน

เช้าๆที่นราธิวาส อากาศเย็นสบาย ความเงียบสงบของเมืองเป็นเหมือนต่างจังหวัดทั่วไป ผมทำกิจธุระส่วนตัวเสร็จ คว้าคูปองอาหารเดินทางมาที่ห้องอาหาร กะว่าจะมีเมนูข้าวยำแต่ก็ไม่มี เลยต้องทาน ABF +กาแฟ เหมือนพักโรงแรมอื่นๆทั่วไป เสียดายครับโรงแรมแถบใต้ น่าจะมีเมนูข้าวยำ และโรตี ชาชัก ตอนเช้าน่าจะเป็นเช้าที่แช่มชื่นมาก

ผมใช้เวลาไม่นานจัดการอาหารเช้าจนเรียบจาน รวบช้อนพร้อมกับจิบกาแฟ นั่งเหม่อออกไปจากห้องเรือนกระจก เห็นใบไม้สีทองที่เห็นนำมาประดับในกรอบรูปสวยๆ  ผมทราบมาว่าใบไม้ชนิดนี้ขึ้นมากที่น้ำตกบาโจที่ อ.บาเจาะ ใบอ่อนจะมีขนนุ่มๆสะท้อนแสงเป็นสีทอง น่าชมมาก เลยเรียกใบไม้ชนิดนี้ว่า “ใบไม้สีทอง” ภายหลังมีการเพาะพันธุ์ขายราคาต้นละไม่กี่สิบบาท หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายต้นไม้ที่นราธิวาส

เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ทำเอาผมสะดุ้ง...ปลายสายแนะนำตัวว่าเป็นใคร และบอกความประสงค์ว่าจะมารับผมที่โรงแรมเพื่อไปรอรับคณะนักศึกษาจากสถาบันพระปกเกล้าที่เดินทางมาลงเครื่องที่ สนามบินบ้านทอน นราธิวาส

.....

สนามบินบ้านทอน นราธิวาส

ผมขอตัวเข้าไปนั่งรอคณะในสนามบิน ถือโอกาสไปสำรวจพื้นที่ไปด้วย ผู้โดยสารที่นี่เป็นคนท้องถิ่นที่เป็นคนมุสลิม คลาคล่ำไปด้วยผู้คนเสื้อยืดสีเขียว ที่ผมแอบอ่านข้อความที่หน้าอกว่า “เครือข่ายสันติภาพ” ผู้หญิงที่คลุมศรีษะทุกคนมีสีหน้ายิ้มแย้ม และหลายคนมีช่อดอกไม้ที่เขียนการ์ดมีใจความว่า “ยินดีต้อนรับ กลับบ้านชายแดนใต้ ด้วยความยินดี” พอดีผมนั่งใกล้กับช่อดอกไม้จึงอ่านได้ชัดถนัดตา

ผมคิดในใจว่าคงมารอรับใครสักคนที่มากับคณะนี้ และคนๆนี้คงเป็นคนพิเศษสำหรับพวกเขามาก

ผมเตร็ดเตร่ เดินสำรวจพื้นที่สนามบินเงียบคนเดียวท่ามกลางเสียงอึกทึกของผู้คน ...รอเวลาเครื่องลงอย่างจดจ่อ ...กาแฟสดสักถ้วยเพื่อฆ่าเวลาน่าจะดี ผมสั่งกาแฟสดในสนามบิน นั่งจิบกาแฟพลาง ดูความเป้นไปของผู้คนในสนามบินไปพลาง อีกไม่กี่นาทีเครื่องก็จะลงแล้ว ...

ท่ามกลางผู้คนมากมายที่ยืนชักแถวรอรับ ”ใครสักคน” ทำให้หน้าที่ของผมที่ต้องมารับคณะนักศึกษาของพระปกเกล้าครั้งนี้ ดูตื่นเต้นดี เหมือนคนดังที่กำลังจะก้าวย่างลงเครื่อง และทุกคนที่รอต่างพุ่งสายตาไปยังช่องประตู

นักศึกษาหลักสูตร เสริมสร้างสังคมสันติสุข เดินทางมาศึกษาดูงานที่ นราธิวาส ประมาณ ๑๗ คน เสียงโทรศัพท์จากกรุงเทพฯ แจ้งผมในช่วงเช้าว่า ขาดเพียงท่านเดียวที่ไม่สามารถร่วมเดินทางมาได้

เวลาแห่งความระทึกใจ...เสียงฮือฮาของผู้คนที่รอรับดังขึ้นเมื่อ นศ.ของพระปกเกล้าปรากฏตัว...สิ่งที่ผมสงสัยก็ถึงคราได้คำตอบแล้ว ภาพที่ผู้คนรุมล้อมมอบช่อดอกไม้ และดอกกุหลาบที่อยู่ในมือ พร้อมโผเข้ากอดนั้น คือ คุณอมรา พวงชมภู  เจ้าของโครงการเสื้อแตงโม สมานฉันท์ นักธุรกิจหญิงที่ให้โอกาสกับพี่น้องชาวใต้ ในการสร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจระดับชุมชน และอีกท่านที่ได้รับวงกอดและดอกไม้ไม่ต่างจากคุณอมรา คือ พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาค ๔  นายทหารที่อยู่ในหัวใจของพี่น้องชาวบ้าน ภาพความชุลมุนที่น่ายินดีทำให้ผมครุ่นคิด ว่าทั้งสองท่าน เข้าไปนั่งในใจพี่น้องชาวบ้านได้ขนาดนี้เชียวหรือ

 

คุณอมรา พวงชมภู

อ้างอิงภาพจาก : http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=3977&Key=HilightNews

 

พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร

อ้างอิงภาพจาก : http://web.schq.mi.th/~jsc/piched44/piched.htm

ผมสอบถามชาวบ้านบางท่านที่มา ทราบมาว่าตั้งใจพาพี่น้องชาวบ้านมาต้อนรับทั้งสองท่านด้วยความดีใจที่มาเยือนเมืองใต้อีกครา  แผ่นการ์ดเล็กๆที่ติดช่อดอกไม้เหล่านั้น ผมเห็นข้อความอย่างชัดเจนว่า “ยินดีต้อนรับ กลับบ้านชายแดนใต้ ด้วยความยินดี”  เสมือนน้ำใจแรกรับให้กับนักศึกษาของสถาบันพระปกเกล้าทุกท่านที่มาเยือน เมืองนราธิวาส และมีภาระกิจในการศึกษาดูงานสามจังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงเข้าร่วมงาน มหกรรมสันติวิธีเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ที่ จ.ยะลา ในระหว่างวันที่ ๒๙ – ๓๑ ส.ค.๕๑

จากนราธิวาสจนถึงยะลา

ตลอดระยะเวลาการศึกษาดูงานของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑ ในครั้งนี้ เป็นภาระกิจอันสำคัญยิ่งในการระดมความคิดที่จะมีส่วนช่วยให้ สามจังหวัดชายแดนใต้สันติสุข ร่มเย็นเช่นดังเดิม...

เราไปช่วยกันระดมความคิด ร่วมคิด ร่วมทำ กับพื้นที่จริง ปัญหาจริง มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ(Interactive learning through action) และช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา ทำอย่างไรให้ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”

เรามุ่งหวังสังคมสันติ สามารถแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ขจัดความรุนแรงประเภทต่างๆมีสันติภาพ  เรามุ่งหวังการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เกิดปัญญาอยู่ร่วมกัน ณ ปลายด้ามขวาน

วันนี้เราจึงมา...

 

เรื่องราวที่ใต้ กับ นศ.หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑ สถาบันพระปกเกล้า มีมากมาย ตลอดระยะเวลา ๓  วัน ๒  คืนที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ส่วนหนึ่งผมขอนำเสนอด้วยภาพ ต่อไปนี้ครับ

งานสร้างอาชีพที่ รอตันบาตู นราธิวาส
ลองกอง ผลไม้อร่อย ของดีปักษ์ใต้

เอื้อ อาทร

ภายใน เขตพระตำหนักทักษิณฯ

Nara001

Nara002

งานเลี้ยงต้อนรับ คณะ นศ.สถาบันพระปกเกล้าที่ โรงเรียนอนุบาลยะลา จ.ยะลา

Nara003

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ศึกษาดูงาน ที่ ศปก.ตร. ยะลา (ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนหน้า จ.ยะลา)  

Nara004

 

 "ขอสันติสุข จงมีแด่ท่าน"

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 208520เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่ แม่ทัพภาค ๔ ของ

พลตรีพิเชษฐ์  พิสัยจร

Dsc03297

(ถ่ายที่ รร.มูลนิธิอาซิซสถาน จ.ปัตตานี ๓๑ ส.ค.๕๑)

ให้กำลังใจคนดี มีความสามารถในการร่วมพัฒนาสังคมไทยครับ

 

แวะมาอ่านบันทึกดีๆ  และมาทักทาย

มีความสุขในทุกๆที่  ทุกๆวัน  ทุกๆวินาที  

ปลอดภัยเสมอๆ นะคะ

สุขภาพแข็งแรง :)

‘แตงโม’ สมานฉันท์ “ความสุขอยู่ที่การได้ทำ”อมรา พวงชมพู

 

 

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2006 17:37น.

กิ่งอ้อ เล่าฮง, ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 Dscf4216

 

ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แทบไม่เว้นแต่ละวัน ไม่เพียงส่งผลให้ประชาชนทั่วไปต้องอยู่อย่างหวาดผวาต่อเหตุการณ์ที่ไม่อาจจะคาดเดาได้เท่านั้น หากทว่ายังทำให้ความรู้สึกของผู้คนภายนอกตระหนักได้ถึงอันตรายจนแทบไม่อยากย่างกรายเข้ามา

 

แต่เชื่อหรือไม่ว่าที่บ้านบอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส กลับมีนักธุรกิจหญิงคนหนึ่งเดินทางเข้าออกมาพบปะกับชาวบ้านและกลุ่มผู้หญิง พร้อมเสียงทักทายอย่างอารมณ์ดีแทบทุกครั้งแม้ว่าจะมีอุปสรรคทางการสื่อสารบ้างก็ตาม แต่นั่นก็ไม่เป็นปัญหา

 

อมรา พวงชมภู กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อแบรนด์ดังยี่ห้อ แตงโมคือผู้หญิงคนนั้น

 

และบรรทัดต่อถัดจากนี้ คือ มูลเหตุที่ทำให้เธอได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสผู้คนและพื้นที่ที่ถูกจัดให้อยู่ในโซนอันตรายที่สุดแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดนราธิวาส

 

พี่รู้จักกับท่านพล.ต.พิเชษฐ์ (พล.ต.พิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4) สมัยเรียนอยู่ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)แล้วก็มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆและมีความเห็นตรงกันในหลายๆเรื่องโดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็คิดว่า เราคนทำเสื้อห่วง บ้านห่วงเมืองได้หรือไม่กรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ กล่าว

 

ภายหลังการหารือไม่นานนัก เธอและครอบครัวก็ได้เดินทางเข้ามายังพื้นที่บ้านบอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาสเป็นครั้งแรกในชีวิต แม้จะรับทราบข้อมูลเบื้องต้นจากรองแม่ทัพภาคที่ 4 แล้วว่าพื้นที่นี้อยู่ในเขตอันตรายสูงสุด

 

กลัวนะคะ แต่ใจลึกๆก็คิดว่า คนที่ละหมาดวันละ 5 เวลา จะฆ่าคนหรือทำร้ายคนมันเป็นไปไม่ได้ แล้วพอมาถึงที่นี่คนก็น่ารักมาก เขามาบอกว่า เขาเป็นคนไทย เรารักในหลวงนะ ให้บอกใครๆด้วย ประโยคนี้เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คิดว่า เราต้องทำให้ได้เจ้าของแบรนด์เสื้อแตงโม กล่าว

 

อมรา กล่าวว่าทำให้ได้ในความหมายของเธอ คือ ความพยายามที่จะสื่อรู้สึกให้คนไทยทั้งประเทศมีความรักต่อคนสามจังหวัดภาคใต้ ด้วยการจัดโครงการแตงโมสมานฉันท์โดยนำแตงโมไร้สารพิษที่ทหารได้เข้ามาสอนชาวบ้านในพื้นที่อ.สุไหงปาดีปลูกแล้วนำไปขายที่โรงงานผลิตเสื้อ จ.นครปฐมให้กับประชาชนทั่วๆไป โดยแตงโมดังกล่าวถูกขายจนหมดเกลี้ยงภายในพริบตา

 

ยอมรับว่าการเดินเข้ามาที่นี่ลำบาก ชาวบ้านเองก็ลำบาก การจะให้เขารับทราบเหตุการณ์ข่าวสารเป็นไปได้ยาก ป่าแล้วป่าเล่าที่ขับรถผ่านเข้ามาเป็นป่ายาง หากมีอันตรายเกิดขึ้นจะไม่มีใครรู้เลย แล้วก็ชาวบ้านในนี้เขาไม่รู้โลกข้างนอก ดังนั้นใครบอกอะไรเขา โอกาสที่เรารับข่าวสารข้างนอกหลายๆด้านไม่มี เขาก็ต้องเชื่อข้อมูลข่าวสารด้านที่มาถึงเขาเท่านั้นอมรา กล่าว

 

และย้ำว่าการเข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านที่นี่ทำงานฝีมือไม่ได้สร้างความผิดหวังให้เลย เนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีฝีมือเรื่องการปักเย็บอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อไปฝึกทักษะเพิ่มเติมจึงเรียนรู้ได้เร็ว

 

“ 6 เดือนแรก พี่อยากให้เขาเย็บเสื้อตรงนี้ให้เข้าที่ก่อน เพราะเสื้อสมานฉันท์ฉลองสิริราชครบ 60 ปีจะทำไปจนถึงวันที่ 5 ธันวาคม แล้วการที่ชาวบ้านได้เย็บงานอย่างเดียวกันเป็นระยะเวลา 6-7 เดือนขึ้นไปจะทำให้เขาเกิดความชำนาญและมีฝีมือดีขึ้น ถือเป็นโชคดีของชาวบ้าน เราก็นั่งคิดอยู่เหมือนกันว่า ถ้าเปลี่ยนการผลิตเสื้อเพื่อธุรกิจมันก็จะเปลี่ยนอยู่เรื่อย ชาวบ้านจะฝึกได้ยากเธอเล่า

 

สำหรับวิธีการผลิตเสื้อแตงโมสมานฉันท์นั้น อมรา เล่าว่า ทางโรงงานจะส่งชิ้นส่วนของเสื้อมาที่นี่ แล้วให้ชาวบ้านเย็บอย่างเดียว

 

ไม่ได้สิ้นเปลืองอะไร ไม่เป็นไรค่ะ ยิ่งให้ยิ่งได้รับ ความรู้สึกที่เขาคิดว่าคนไทยทั้งประเทศห่วงใยเขา ไม่ทิ้งขว้างเขา มันมีค่ามหาศาลมากกว่ากำไรไม่กี่สตางค์เธอตอบเมื่อถูกถามเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

 

สำหรับการช่วยเหลือในการจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพสตรีบ้านบอเกาะนั้น กรรมการผู้จัดการบรัทสยามแฮนด์ เล่าให้ฟังว่า ไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากทางกองทัพภาคที่ 4 และกลุ่มเพื่อนนักธุรกิจที่เข้ามาช่วยสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างอาคาร

 

เพื่อนๆนักธุรกิจด้วยกัน เช่น บริษัทดูราเกรส ก็ให้กระเบื้องปูพื้น บริษัทกระเบื้องโอลิม ปิคให้หลังคา ส่วนแกรนโฮมมาร์ทก็อุปถัมป์การก่อสร้าง คือ ทุกคนเขาก็ยินดีกับโครงการนะคะ เพียงแต่ยังหาเวลาลงมาไม่ได้

 

พี่อยากให้ธุรกิจหรือเอกชนเข้ามามีส่วนในการดูแลชุมชนและคนสามจังหวัดมากๆ สิ่งดีๆจะได้เกิดขึ้น อยากให้เขารู้ว่าชาวบ้านที่นี่อบอุ่นมาก ไม่ได้น่ากลัว แค่ขอโอกาส ได้เข้ามาเห็นเขารับฟังเขาบ้างเท่านั้นเองกรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงต้นจะมีเสียงท้วงติงจากผู้คนรอบข้างไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ภาคใต้เนื่องจากเกรงจะมีอันตรายเกิดขึ้นแต่อมรา บอกว่า หากไปยุ่งที่อื่นก็ไม่ได้ช่วยอะไรใครเลย แต่ถ้าตรงนี้เป็นเรื่องความสงบสุขของแผ่นดิน และเป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครทำ เมื่อทำแล้วจะเป็นการช่วยดูแลพสกนิกรของพระองค์ท่าน ในฐานะที่เป็นข้าแผ่นดินก็อยากจะทำให้ได้

 

พี่ไม่เคยคิดมาก่อนเลยนะคะวันหนึ่งจะมาอยู่ตรงนี้ ปกติตัวเองจะทำงานพัฒนาชาวเขาที่อยู่ที่ อ.ลี้ จ.ลำพูน ให้กับครูบาชัยวงศาพัฒนาที่พระพุทธบาทห้วยต้ม พี่เป็นลูกศิษย์ท่านมาตั้งแต่ตอนเรียนปี 1 ที่ธรรมศาสตร์ ตอนนั้นประมาณปี 2518 ที่โน่นมีชาวเขาอยู่เป็นหมื่นคนๆ พอพระอาจารย์ละสังขาร พี่เป็นลูกศิษย์เลยต้องสานงานต่อ ด้วยการหารายได้ให้เขาด้วยการจ้างงาน ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วก็สร้างโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมให้พระเณรบนภูเขาได้มีโอกาสเรียนหนังสือ

 

อมรา บอกว่า การทำงานกับชาวเขาและชาวไทยมุสลิมไม่มีความแตกต่างกัน แม้ชาติพันธุ์จะต่างกัน แต่ก็มีหลายอย่างเหมือนกัน ชาวเขาที่โน่น ไม่ทานเนื้อสัตว์ มีฝีมือในการปักเย็บ ก็เหมือนกับคนที่นี่ มีศิลปวัฒนธรรมของตนเอง แล้วก็มีฝีมือการปักเย็บไม่แพ้กัน

 

เสื้อแตงโมสมานฉันท์ล็อตแรกที่ส่งกลับไปขาย 1,000 กว่าตัว 3 แสนกว่าบาท พี่บอกชาวบ้านว่า ให้เอาไปบำรุงมัสยิด จะไม่เอากลับกรุงเทพ พี่มีความเชื่อในเรื่องศาสนาค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม แล้วคนที่นี่วิถีชีวิตผูกพันกับมัสยิดเหมือนกับชาวเขาที่โน่นผูกพันกับวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

 

การลงทุนทำสิ่งใดก็ตามของนักธุรกิจส่วนใหญ่มักจะมองในเรื่องผลประโยชน์และกำไรเป็นหลัก แต่สำหรับกรรมการผู้จัดการสยามแฮนด์กลับบอกว่า

 

พี่มาตรงนี้ คงไม่ใช่เรื่องกำไร มันอยู่ไกลจังเลยที่จะคิดไปถึง มันเป็นเรื่องของสันติภาพ ความสุข ความสงบที่เกิดบนแผ่นดินไทย และเป็นเรื่องของความรักที่อยากจะให้ผู้คนสื่อถึงกันมากกว่า พี่จะกันรายได้จากการจำหน่ายเสื้อตัวนี้ นำขึ้นทูลเกล้าฯ อีกส่วนหนึ่งเอาไว้ทำงานพัฒนาด้านสังคม คือ ชีวิตพี่ทำงานให้กับแผ่นดิน เวลาทำอะไรให้กับในหลวงและศาสนาจะไม่คิด อุทิศทุกอย่างถวายให้หมด

 

เธอบอกว่า ทุกงานที่ทำไม่ว่าจะเป็นเบื้องหน้าหรืออยู่เบื้องหลังไม่เคยหวังอะไรและสังคมยังไม่รู้อะไรมากมายที่แตงโมทำ

 

เราไม่ได้เอาหน้า งานช่วยเหลือชาวเขายังยาว เราทำไปเรื่อยๆหลายโครงการที่พอรู้ว่าเป็นโครงการที่พระองค์ท่านมีพระราชดำริ ต้องการให้ชาวบ้านอยู่กับบ้านไม่ต้องเคลื่อนย้าย อยู่กับพ่อแม่ญาติพี่น้อง เพราะความยากจน เราก็รับโครงการร่วมกับซีพี...ไม่เคยบอกใครค่ะ ความสุขของเราไม่ได้อยู่ที่ปิดทองหลังพระ แต่อยู่ที่การได้ทำกรรมการผู้จัดการบริษัทสยามแฮนด์ กล่าว

----------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก : http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=3977&Key=HilightNews

อ่านแล้วเต็มตื้นในใจนะคะ ขอบคุณคุณเอกที่นำเรื่องดีๆมาฝากกันในยามที่บ้านเมืองเรากำลังเผชิญกับความทุกข์เข็ญทั้งภัยธรรมชาติและการบริหารบ้านเมือง

  • ธรรมสวัสดีนะโยมเอก
  • มาเยี่ยมอ่านบันทึกดีๆ
  • สันติสุขจงกลับมาสู่แผ่นดินไทย
  • ขอเป็นกำลังใจกับแนวหน้าทุกคนๆ
  • ให้มีความสุขสุขภาพแข็งแรง
  • ทำงานเพื่อชาติต่อไปนานๆ
  • อนุโมทนาสาธุ..

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่โรงเรียน อนุบาลยะลา

รวมของเก่า ของโบราณ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเมินค่าไม่ได้

Dsc03241

ขอบคุณ ครู @..สายธาร..@  กำลังใจที่ดี มีให้ตลอดครับ

ขอบคุณครับ พี่ โอ๋-อโณ    เรื่องราวดีๆที่ใต้ ยังมีอีกมาก ผมเองขอเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดความงามเหล่านั้นครับ

นมัสการครับ ท่านtukkatummo    เราต่างก็หวัง "สันติสุข" กลับคืนมาดังเดิมครับ

กราบขอพรท่านครับ  สาธุ

Dsc03215

สวัสดีค่ะ

อ่านและติดตามเรื่องราวของคุณจตุพรแล้ว  ทำให้คิดถึงทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านชาวเมืองที่อยู่ทางใต้  เป็นห่วงและเห็นใจ  ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเรื่องของ "ผู้กองแคน" และ "หมวดตี้" มีข้อความตอนหนึ่งค่ะ

ภาพแรก  ผู้ชายใส่เสื้อเชิ้ต ผูกไทด์ กางเกงแสล็ค  ผมเป๋มันวาว ขับรถหรู ทำงานเก้าโมงเช้าเลิกห้าโมงเย็น ตอนเย็นกลับบ้าน คืนวันศุกร์ไปเที่ยว  ชีวิตโก้หรู  เงินเดือนหลายหมื่น  แต่...ทำงานเพื่อตัวเอง

ภาพสอง  ผู้ชายใส่เสื้อเกราะ  สะพายปืน  ผมกระเซิง หน้ามัน  เงินเดือนหมื่นนิด ๆ  ทำงานทั้งวัน  บ้านอยู่ห่างออกไปอีกพันกว่า ไม่รู้ว่าวันไหนเป็นวันศุกร์  แต่..ทำงานเพื่อชาติ  (บันทึกของหมวดตี้)

http://www.krukimpbmind.com

ครูคิมครับ

วันก่อนผมไปร้านหนังสือ เเล้วได้อ่านเรื่องของ ผู้กองแคน แบบไม่ตั้งใจ อ่านจนจบเล่มแบบเร็ว สะท้อนลึกๆในใจมาก...ตัดภาพไปที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ เราก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์คสามรุนแรงขึ้นเลย ทหาร ตำรวจ  และชาวบ้านต้องมาผจญชะตากรรมที่ไม่รู้วันจบ..

สถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง รวมไปถึง ความไม่ไว้วางใจต่อกัน อึดอัดไม่น้อย

ผมมีโอกาสได้ไปพื้นที่บ่อยๆ เห็นความเเตกต่าง ของผู้คน ทำให้เห็นมิติของความคิด วิถีที่ต่างกัน ...หัวใจทองคำของคนทำงานใต้นั้น น่าสรรเสริญยิ่งนักครับ

ไปที่ ค่ายจุฬาภรณ์ เห็นภาพทหารนาวิกโยธิน ที่จากไปกับเหตุการณ์ความรุนแรง ที่ผนังห้องบรรยาย ...เป็นความรู้สึกบอกไม่ถูก

ผมเขียนให้เห็นภาพรวมการเดินทางไปศึกษา ดูงาน ของ นศ.สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร สสสส. รุ่นที่ ๑ แต่หากลงในเนื้อหารายละเอียดจริง ยังไม่ได้เจาะลึก เพียงแต่อยากสื่อสารให้ทราบว่า นศ.ตั้งใจไปเรียนรู้กับสถานการณ์จริงในพื้นที่

เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ...

 

ครูคิมอ่านบันทึก ใต้สันติสุข : บทเริ่มต้นของการเดินทางไปนราธิวาส ก่อนนะครับ แล้วเต็มเติมด้วยบันทึกนี้ต่อเนื่อง 

 

ขอความสงบจงมีแด่ ประชาชนชาว 3 จว ทุกคน

สวัสดีครับ คุณขจรศักดิ์ คนโรงงาน

เราต่างมีจุดมุ่งหวังที่เหมือนกัน...ขอให้ ใต้สันติสุข..

:)

น้องเอกไปอยู่แถวภาคใต้นี่เอง  ถิ่นผู้หญิงตาคม ผมสวย

หวังว่า..ภาคใต้จะสงบสุข

สบายดีใช่ไหมคะ..น้องชาย

พี่แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช  ครับ

เป็นบันทึกย้อนหลัง เรื่องราวจากแดนใต้ครับผม

และโดยเนื้อหามีหลายเรื่องราว ที่จะนำเสนอ แต่ก็ถอดบทเรียนออกมาเท่านี้ก่อน

หลังจากกลับมาใต้ ก็เดินทางไปขอนแก่น(อุบลรัตน์) กาญจนบุรี (ทองผาภูมิ พนมทวน)  และกลับไป สงขลา (หาดใหญ่) อีกครั้ง ยังมีเรื่องราวที่ยังไม่ได้เสนออีกหลายแง่มุมครับคิดว่าจะทยอยๆนั่งเขียนมาเเลกเปลี่ยนกัน

และยืนยัน สาวใต้ ตาคม และ สวยครับ

 

ยามพักผ่อนเสร็จจากเรียน มาอ่านบล๊อกของพี่และดูภาพแล้วรู้สึกสบายใจขึ้นเยอะเลย ภาพความอบอุ่น ความเป็นพี่น้องที่ไม่แบ่งแยกความแตกต่าง ช่องว่างแทบไม่มีเลย บางครั้ง "เพียงธรรมดาของเส้นแบ่งจริง"

น้องฟูอ้าท ครับ

ช่วงที่ผมเดินทางไปยะลานั้นไม่ได้ติดต่อเลย ต้องขออภัยด้วย ภารกิจที่ใต้ช่วงนั้นชุกมากจริงๆครับ ตัวเป็นเกลียวเลยครับ 

ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ ธรรมดาของเส้นแบ่ง.. จริงๆครับ

มนุษย์เป็นผู้บงการทั้งหมด และผู้แก้ไขก็คือมนุษย์เองครับ

พี่ชายคนนี้พร้อมเสมอในการให้กำลังใจในการเรียนของน้องนะครับ

สวัสดีค่ะ พี่เอก.... ทำงานอย่างมีความสุขและปลอดภัยนะคะ สู้ๆค่ะ ขอสันติสุขจงเกิดขึ้นเร็ววันนะคะ.... เอารัยมาฝากบ้างคะ... หนุ่มใต้ มีป่าว .. คิดถึง...  นะคะ ...  ถึงแม้ว่าพี่จะคิดถึงสาวอื่นๆ ก็ตาม ฮ่าๆๆ

สวัสดีครับบังครับP

ที่ กรุงเทพฯ กลับไม่ได้สนทนากันเท่าไหร่นักนะครับ ผมยังชุลมุน ตั้งตัวยังไม่ติด

รอเมธัสกลับมาจากออสเตรเลีย คิดว่าจะได้นั่งถกวิเคราะห์กันต่อครับ

ขอบคุณเอกสารที่บังนำมาให้ครับผม

น้องสาวคนสวย paula ที่ปรึกษา~natadee

คิดถึง และ คิดถึง พอลล่าเช่นกันครับ...

ไปใต้ไม่มีอะไรมาฝาก นอกจากรอยยิ้มและความปรารถนาดี ที่ผมมีให้ตลอดเวลาครับ

:)

แหะๆ อ๊ายเพื่อนเราเองอะ2คนเลย ไผ่ กะ สร้อยอะป.3/1 2คนเลยอะ

ขอบคุนค่ะคุนพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท