การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition) : ของฝากมือกล้องสมัครเล่น


ผมชอบถ่ายรูปถึงแม้ว่าการถ่ายรูปของผมจะไม่ได้ใช้หลักการอะไร เพียงแต่อยากถ่าย และก็ถ่ายไป สิ่งที่น่าสนใจเสมอในภาพถ่ายของผมคือ มุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองของคนอื่น ทำให้ภาพดูน่าสนใจดี (แม้จะไม่สวย หรือคมชัดมาก)

ผมคิดว่า "รูปภาพ" บอกเรื่องราวต่างๆแทนถ้อยคำ และช่วยให้เกิดสุนทรียะทางอารมณ์ของผู้อ่านได้

เวปที่เก็บรูปผมส่วนใหญ่เก็บไว้ที่ Multiply และที่นี่เองผมมีกัลยาณมิตรอีกกลุ่มที่สนใจการถ่ายรูป ได้ให้คำแนะนำการถ่ายรูปให้กับผม ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีแบบไม่ตั้งใจ

ล่าสุดผมถ่ายรูปที่ อ่างเก็บน้ำ ม.อ.หาดใหญ่ ในส่วนตัวผมมองว่าสวยงามและค่อนข้างพอใจ แต่กุนซือที่อยู่ในมัลติพลายก็ได้วิจารณ์พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ

            Apisit        
apisit69 wrote today at 12:11 AM

อย่าให้ subject อยู่กลางภาพ ให้มันอยู่เยื้องไปทางซ้าย หรือขวาลอง search หาคำว่า กฏสามส่วน ดู

ผมเลยถือโอกาสนี้นำเรื่องราวที่มิตรของผมได้ช่วยวิจารณ์นำมาเขียนบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และมิตรท่านนั้นได้ให้ Link  เกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพ
            Apisit        

ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงนำมาฝากมือกล้องสมัครเล่นใน G2K ครับ


 

ข้อมูลด้านล่างอ้างอิงจาก เวปไซต์ http://www.krootechno.com/wbi/photo/photo-4.htm

 


 

การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)

      สำหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงมาศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 10 ลักษณะ  คือ

  • รูปทรง  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ

ภาพที่ 1  ภาพตึกและอาคาร ถ่ายจากด้านข้างเน้นให้เห็นความมั่นคงใหญ่โต

ภาพที่ 2 หน้ากากผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย  เน้นให้เห็นระยะความลึก และรูปทรงของหน้ากาก

  • รูปร่างลักษณะ มีการจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดีนิยมถ่ายภาพในลักษณะ ย้อนแสง         
             ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้น หมดความงามไป

ภาพที่ 3 ชื่อภาพ เมือบ้าน (กลับบ้าน)  
เป็นการถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อให้เห็นเงาดำให้ดูแปลกตา

ภาพที่ 4 ชื่อภาพ ลอดเหลี่ยมไม้  
เป็นการถ่ายภาพย้อนแสงให้เห็นลีลาของกิ่งไม้  และเน้นดวงอาทิตย์

ภาพที่ ชื่อภาพ ผีตากผ้าอ้อม  
เป็นการถ่ายภาพย้อนแสงเช่นกัน แต่รูปทรงต้นไม้ไม่สะดุดตาเพื่อใช้ประกอบโดยเน้นแสงแดดผีตากผ้าอ้อม

ภาพที่ ชื่อภาพ สูงเสียดฟ้า ศรัทธาไปถึง  
ภาพนี้เน้นให้เห็นรูปร่างของมหาเจดีย์ วัดธาตุ จ.ขอนแก่นภาพดูน่าสนใจและไม่ให้เห็นรายละเอียดของฉากหน้าที่รก

  • ความสมดุลที่เท่ากัน  เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว

 

าพหอประชุมกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาพมีความสมดุลย์เท่ากันสองข้าง มีความเด่นสง่า มั่นคง

ภาพที่ ภาพอาคารเฉลิมพระเกียรติ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม สมดุลย์ทั้งสองข้าง เด่นสง่า แข็งแรง มีฉากหน้าประกอบเรื่องราวได้ดี

ภาพที่ พระที่นั่งอนันตสมคม มีเสาสองข้าง ทำให้ภาพเด่นสง่าและแปลกตา น่าสนใจ

ภาพที่ 10  งานปฏิมากรรมริมบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่นจัดได้สมดุลย์และแปลกตา จนหลายคนต้องหันไปมอง

 

  • ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน  การจัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี  รูปทรง ท่าทาง  ฉากหน้า  ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี
Compo-16

ภาพที่ 11 เรือ 2 ลำ รูปร่าง มุมมอง แตกต่างกันแต่ดูสมดุลย์ได้เพราะส่วนประกอบของฉากหลังมาช่วย

ภาพที่ 12 คล้ายกับภาพที่ 11 โดยมีป้อมลอยน้ำมาเสริมน้ำหนักให้เรือลำที่อยู่ด้านหลังมีความสมดุลย์กับเรือลำแรก

ภาพที่ 13  ภาพเงาดำของต้นไม้ ข้างเดียว แต่มีดวงอาทิตย์มาเสริมให้ เกิดความสมดุลย์

ภาพที่ 14   พระพุทธรูปที่สุโขทัย  เสา และก้อนเมฆมาช่วยให้องค์พระกิดความสมดุลย์

  • ฉากหน้า  ส่วนใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป

 ข้อควรระวัง  อย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง

Compo-17

Compo-18

ภาพที่ 15   ทัศนียภาพ พระตำหนักดอยตุง ใช้ดอกไม้สีแดงเป็นฉากหน้า ภาพจึงดูลึก มีระยะ

ภาพที่ 16   ภาพอาคารเป็นทิวยาว โดยใช้ไม้ประดับเป็นฉากหน้าทำให้ภาพไม่ว่างจนเกินไป

  • ฉากหลัง  พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป

Compo-19

Compo-20

ภาพที่ 17   ชื่อภาพ ความสดใสในป่าลึก
ใบไม้ธรรมดา ๆ แต่ฉากหลังสีดำสนิท (วัดแสงที่ใบไม้)ทำให้ใบไม้ดูเด่นและมีคุณค่าขึ้น

ภาพที่ 18   ผีเสื้อและดอกไม้ เด่นขึ้นมาเพราะฉากหลังสีทึบและกลมกลืน มีสีเหลืองปนมาบ้าง ทำให้ภาพดูน่าสนใจและไม่จืดเกินไป

  • กฏสามส่วน  เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด (ดังภาพที่ 19) หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด  หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก

Compo-21

Compo-22

ภาพที่ 19  ภาพแสดงจุดตัด 4 จุด ควรวางจุดเด่นของภาพใกล้ ๆกับจุด 4 จุด ๆ ใด จุดหนึ่ง ทำให้ภาพน่ามองขึ้น

ภาพที่ 20   ปีกของแมงปออยู่ที่จุดล่างขวา เปิดระยะด้านหน้ามากดูไม่อึดอัด และเป็นธรรมชาติ รู้สึกถึงควา

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 203658เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

โดยส่วนตัวชอบภาพ 3 4 5 6 13 14 18 20 21 ถ่ายได้สวยมากครับพี่

มีประโยชน์มากสำหรับตากล้องสมัครเล่น

ขอบคุณมาก

  • เส้นนำสายตา  เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น

Compo-25

Compo-26

ภาพที่ 23   แม้องค์พระจะมีขนาดเล็ก แต่เสาเรียงตัว เป็นแนวเดียวกันทั้งสองข้าง ทำให้ความสนใจพุ่งเข้าไปหาองค์พระ ทำให้เด่นขึ้น

ภาพที่ 24   ธงทิว และไม้ประดับเรียงตัวกันพุ่งไปสู่โบสต์ทำให้มีทิศทางบอกเรื่องราวได้อย่างดี

Compo-27

Compo-28

ภาพที่ 25   ฝายน้ำล้นที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น มีแนวสันฝาย นำสายตาไปสู่กระแสน้ำ และโยงเข้าหากลุ่มคน ทำให้ภาพมีเรื่องราว สนุกดี

ภาพที่ 26   แนวหินประดับเป็นทางเดินคดเคี้ยวและอ่อนช้อยนำไปสู่ล้อเกวียนและไล่ระดับไปหากิ้งก่า ทำให้ภาพน่ามองยิ่งขึ้น

 

  • เน้นด้วยกรอบภาพ  แม้ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ

Compo-29

Compo-32

ภาพที่ 27 พระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งอยู่ไกลทำให้มีขนาดเล็กจึงใช้ชายคาบังส่วนที่ไม่จำเป็น ทำให้พระธาตุเด่นขึ้นมา (พระธาตุดูเอียงเนื่องจากการใช้เลนส์มุมกว้าง)

ภาพที่ 28   ความนอนปลัก ภาพนี้คงดูโล่ง ๆ ถ้าไม่มีกอหญ้าล้อมควายไว้ ทำให้ภาพกระชับขึ้น และพระเอกเด่นขึ้น

  • เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน   หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา

Compo-30

Compo-31

ภาพที่ 29  ดอกคัตเตอร์สีขาว รวมกันเป็นกลุ่ม ตัดกับพื้นหลังสีดำทำให้ภาพดูสนุก แปลกตา แม้ว่าจะไม่มีจุดเด่นก็ตาม

ภาพที่ 30  เด็กนั่งฟังหมอลำ แสดงอาการสีหน้าท่าทางต่าง ๆดูสดชื่น น่ามอง

            ที่ได้กล่าวมาทั้ง 10 ลักษณะ เป็นเพียงการจัดองค์ประกอบภาพที่เป็นที่นิยมกัน และเป็นพื้นฐาน ในการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพ ควรฝึกการจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะ ที่แปลกใหม่ อยู่เสมอ ซึ่งเชื่อแน่ว่าคุณต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน อย่าลืม ส่งภาพผลงานของคุณมาให้ดูบ้าง

 

น้อง กวิน  ผมไม่ได้ถ่ายเองครับ เป็นการอ้างอิงภาพและเนื้อหาทั้งหมดจาก http://www.krootechno.com/wbi/photo/photo-4.htm

 

พี่ยาวเกษตรยะลา

ผมเก็บไว้เรียนรู้สำหรับตนเองด้วยครับ พร้อมกับนำมาเผื่อพี่น้องใน gotoknow ด้วย

ขอบคุณคุณอภิสิทธิ์ (เพื่อนใน multiply อีกครั้ง)

  • ตามมาดูครับ
  • เป็นแนวทางในการถ่ายรูป
  • สำหรับมือสมัครเล่นครับ

 

ขอบคุณครับพี่เอก

ผมเองก็มีความสุขทุกครั้งที่ได้กดชัตเตอร์ครับ

พยายามเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ครับ

และบางส่วนก็ได้แรงบันดาลใจจากภาพสวยๆ ในบันทึกของพี่เอก นี่แหละครับ

เรื่องการถ่ายรูปนี่ผม บ้า อยู่พีกนึงครับ แต่พอวุ่นๆเลยไม่ได้ถ่ายอีกครับ

 

ภาพนี้ ฝีมือธรรมดาครับ แต่สวยด้วยธรรมชาติ

โอ้โห....พี่เอก คะ ขอบคุณมากเลยค่ะ ชอบๆๆๆ อิอิ หามาสำหรับพอลล่าใช่ป่าวคะ รูปนั้นพอลล่าชอบมากเลย แต่อาจจะไม่สวยตามผู้วิจารณ์แต่เราก็ชอบนะคะ พี่ ...ขออีกๆๆค่ะ

เอ ... ผมเหมือนใช้กฎ โดยไม่ได้ใช้กฎ (งงตัวเอง)

ขอบคุณครับ คุณเอก :)

โพสใหม่ครับ อันเมื่อกี้ผิดพลาดทางเทคนิคนิดหน่อย :)

คุณ จตุพร ถ่ายรูปเก่งนะครับ มีความสนใจและมีอารมณ์เป็นศิลปินมากๆ

ผมก็เคยเห่อภายรูปอยู่พักหนึ่ง เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แต่ตอนนี้งานเยอะเลยไม่ค่อยได้ไปเที่ยวถ่ายรูปครับ

มีรูปที่ไปเที่ยวภูเรือตอนปี 47 มาให้ดูครับขอบอกว่าฝีมือเป็นรองคุณจตุพรอยู่มากๆ ครับ ถ่ายที่บ้านพักริม ๆ ภูเรือนะครับ ภาพอาจจะเล็กไปหน่อย เพราะย่อขนาดมาแล้ว

 

แถมภาพที่ไปสงขลา กับปินังให้ดูนิดหนึง

มาเยี่ยม คุณจตุพร

เออ...ได้เห็นมุมภาพที่ดี ๆ เหมาะที่จะนำไปประยุกต์ใช้นะนี่

ได้ความรู้เรื่องการถ่ายภาพเยอะเลยครับ...

ขอยืมภาพ "เมือบ้าน" ไปใช้นะครับ

..

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ น้องอำนวย สุดสวาสดิ์

การถ่ายรูปเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวอย่างหนึ่ง เป็นความสุขของผมเช่นกัน ดีใจที่การถ่ายภาพ(แบบสมัครเล่น) ของผมสร้างแรงบันดาลใจเล็กๆให้น้องนะครับ ลองเรียนรู้เทคนิคตามที่ผมนำมาเสนอนะครับ

สวัสดีครับน้องแนท Nat_Panik

ภาพทุกภาพมีคุณค่า ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเสนอในมุมใด แต่ก็มีบางภาพที่สวยแบบไม่ตั้งใจ นี่คือเสน่ห์ของการถ่ายภาพนะครับ

ให้กำลังใจครับ มีรูปสวยๆก็นำมาอวดกันนะครับ

น้องพอลล่า paula ที่ปรึกษา~natadee

ภาพที่ผมนำมาให้พอลล่าครับ...ถึงแม้ไม่ถูกต้องตามหลักการถ่ายรูปมากนัก แต่ก็สวยในใจเรานะครับ..

จริงๆผมก็ว่าสิ่งนี้ต่างหากคือสิ่งที่เราค้นพบในการถ่าย อย่างไรก็ตามหากถูกต้องการเทคนิคอาจทำให้ภาพที่สวย สวยมากขึ้น

เรียนรู้กันไปครับ

อ.Wasawat Deemarn

ผมคิดว่าเราก็ได้ใช้ เทคนิคเหล่านี้ไปอย่างไม่รู้ตัวเช่นกัน แต่ลองมาอ่านทฤษฏีบ้างแล้วนำมาเทียบกับสิ่งที่เราคุ้นชินก็ถือว่าได้ประโยชน์นะครับ

คุณจำเริญ เจริญมาก

ภาพคุณ  ที่นำมาเสนอนั้น สวยครับ มีเรื่องราว มุมมองที่น่าสนใจ อย่าให้งานเยอะมาพรากกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุขได้

มีเวลาก็ออกท่องโลกกว้างแล้วนำมาแบ่งปันกันด้วยนะครับ

ให้กำลังใจในการทำงานครับผม

สวัสดีครับ อ.umi

เทคนิคเหล่านี้ เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ครับ

ต่อไปภาพที่เราถ่ายได้สวยอยู่แล้ว(ในความคิดเรา) ก็จะสวยแบบสากลมากขึ้น :)ขอบคุณครับผม

พี่คุณพิทักษ์

เรียนรู้ และรอชมภาพสวยๆจากอีสานนะครับ นอกเรื่องราวดีๆที่พี่พิทักษ์ได้นำเสนอแล้ว หากมีภาพสวยๆมาประดับ ก็เรียกได้ว่า "สุดยอด"ครับผม

 

สวัสดีค่ะ

ถ่ายภาพด้วยความรู้สึกอย่างเดียวเลย

ตอนนี้คงต้องลอง ถ่ายด้วยความรู้สึก+หลักการดูบ้าง

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณนิ'บล

ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมก็ใช้ความรู็สึกล้วนๆเลย และก็มีความสุขที่ได้ภาพมา บางครั้งภาพอาจเบลอบ้าง แต่ก็ชื่นชอบเรื่องราวที่ผมบันทึกไว้

ดังนั้น ใช้ความรู้สึกดีครับ หากเราได้เรียนรู้เรื่องจัดองค์ประกอบเพิ่มเติม น่าจะช่วยให้เราใช้ความรู้สึกร่วมกับหลักการได้

ลองดูแล้วอย่าลืมเอามาอวดกันนะครับ

เมื่อวาน ไปโคราชรีสอร์ตได้ถ่ายรูปไว้ด้วยค่ะ..แต่เขิน..ไม่เอามาให้ดูดีกว่า...ฝีมือไม่ดีเลยแต่ก็ชอบค่ะ...คิดถึงพี่เอก ค่ะ

paula ที่ปรึกษา~natadee

สาวสวยๆมาบอกคิดถึงตั้งแต่เช้า เข้าใจว่าวันนี้ผมคงยิ้ม..ทั้ง

วัน

เอามาโชว์...เอามาแชร์ เร็วพลันครับ อยากชมภาพสวยๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท