ประเทศไหนเป็นแชมป์โอลิมปิคความสุข


ท่านอาจารย์เอเดรียน ไวท์ นักจิตวิทยาสาขาวิเคราะห์สังคม และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยไลแคสเทอร์ สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างทั่วโลก 80,000 คน

 

...

พวกเราคงจะสงสัยกันไม่มากก็น้อยว่า ประเทศไหนมีความสุขที่สุดในโลก และทำไมคนในประเทศนั้นๆ ถึงได้มีความสุข

วันนี้มีผลการศึกษาเรื่องนี้มาฝากครับ

...

ภาพแผนที่ความสุขระดับประเทศจากสำนักข่าว BBC [ picture from BBC ] สีแดงเข้ม และสีที่เข้มกว่าหมายถึงระดับความสุขที่มากกว่า

  • ถ้าต้องการชมภาพใหญ่ (มีประเทศไทยด้วย) โปรดคลิกที่นี่
  • [ Click ]
  • โปรดคลิกที่นี่ถ้าต้องการโปรแกรมอ่านไฟล์ pdf
  • [ Click ]

Happiness map

ท่านอาจารย์เอเดรียน ไวท์ นักจิตวิทยาสาขาวิเคราะห์สังคม และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยไลแคสเทอร์ สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างทั่วโลก 80,000 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนสวีเดนมีความสุขมากที่สุด ตรงกันข้ามประเทศที่คนมีความสุขน้อยที่สุดอยู่ในแอฟริกาได้แก่ ซิมบับเวและบุรุนดี

...

อาจารย์ไวท์กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้คนในประเทศมีความสุขมากหรือน้อยได้แก่ ระดับสุขภาพ ระดับฐานะของประเทศ และโอกาสทางการศึกษา

...

(1). ระดับสุขภาพ (health level)

  • ระดับสุขภาพของคนในชาติ โดยเฉพาะโอกาสในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ (healthcare) มีผลต่อความสุขของคนในชาติมากที่สุด

...

  • นี่อาจเป็นเหตุหนึ่งที่หลายๆ ประเทศมุ่งจะพัฒนาให้คนในชาติใส่ใจสุขภาพ เช่น ออกกำลังเป็นประจำ กินพอประมาณ(ไม่ให้อ้วน) ฯลฯ เพื่อให้ประเทศชาติพัฒนาไปสู่ความเป็น "ชาติที่มีสุขภาพดี (healthy nation)"

...

(2). ระดับฐานะของประเทศและโอกาสทางการศึกษา (prosperity & education)

  • อาจารย์ไวท์กล่าวว่า ความสุขของคนในชาติที่มีระดับฐานะดี โดยเฉพาะประเทศที่มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (gross domestic product / GDP) มีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าประเทศที่มีค่า GDP ต่ำ

...

  • ข้อนี้กล่าวง่ายๆ คือ คนในประเทศที่ร่ำรวย หรือพัฒนาแล้วมีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าประเทศที่ยากจน หรือกำลังพัฒนา
  • เรื่องที่มีผลต่อความสุขของคนในชาติพอๆ กับฐานะของประเทศคือ โอกาสทางการศึกษา

...

  • ประเทศที่คนในชาติมีโอกาสทางการศึกษามากพอ และมีโอกาสใกล้เคียงกัน ไม่เหลื่อมล้ำต่ำสูงมากนักมีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าประเทศที่คนในชาติไม่มีโอกาสทางการศึกษา หรือมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงมากๆ

...

เร็วๆ นี้ผลการสำรวจของสำนักข่าว BBC พบว่า คนในสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) อยากให้รัฐบาลตั้งเป้าในการพัฒนาประเทศเสียใหม่ โดยเปลี่ยนจากการตั้งเป้าให้คนในชาติรวยขึ้น (wealthier) เป็นมีความสุขมากขึ้น (happier)

แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่า ไหลไปตามกระแสการพัฒนาแบบ "ภูฎาน" ที่คนไทยเราชื่นชอบกันหรือเปล่า

...

อาจารย์ไวท์กล่าวว่า เรื่องที่น่าสนใจคือ ผลการสำรวจของท่านพบว่า คนในเอเชียไม่ค่อยมีความสุขกันเท่าไร ดังปรากฏว่า

  • สาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่ที่อันดับ 82 (จาก 178 ประเทศ)
  • อินเดียอยู่ที่อันดับ 125 (จาก 178 ประเทศ)

...

เหตุผลสำคัญคือ ช่วงหลังๆ การพัฒนาของเอเชีย โดยเฉพาะ 2 มหาอำนาจเน้นวัตถุนิยม เน้นการสะสมความมั่งคั่ง เน้นความร่ำรวย

อาจารย์ไวท์บอกว่า การแข่งกันร่ำรวย(รายบุคคล)ไม่ค่อยทำให้คนมีความสุขมากขึ้นเท่าไร

...

ตัวอย่างลำดับโอลิมปิคประเทศที่มีความสุขได้แก่

ประเทศ ลำดับที่ (จาก 178 ประเทศ)
เดนมาร์ค 1
สวิตเซอร์แลนด์ 2
ออสเตรีย 3
ไอซ์แลนด์ 4
บาฮามาส์ 5
สหรัฐอเมริกา 23
สหราชอาณาจักร 41
จีน 82
ญี่ปุ่น 90
อินเดีย 125
บุรุนดี / ซิมบับเว 178
...
ภาพจากแผนที่ความสุขระดับประเทศของสำนักข่าว BBC พบว่า ประเทศในอาเซียนมีความสุขเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้
  • มาเลเซีย บรูไน > ความสุขมากหน่อย
  • ไทย อินโดนีเซีย > รองลงไป
  • เวียดนาม กัมพูชา > รองลงไปอีก
  • พม่า ลาว > ความสุขน้อยหน่อย
...
...
ผลการศึกษานี้สนับสนุนให้พวกเราใส่ใจสุขภาพกันให้มากหน่อย โดยเฉพาะการออกแรง-ออกกำลัง และกินพอประมาณ(ไม่มากเกิน) เนื่องจากคนในชาติที่มีสุขภาพดีมีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่า
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...
...
แนะนำให้อ่าน                           
  • ทำไม คนในบางประเทศถึงได้มีความสุขมากกว่าประเทศอื่นๆ
  • [ Click ]

 ... 

ที่มา                                                             

...

  • Thank BBC > Denmark 'happiest place on earth' > [ Click ] > July 28, 2008.

...

 

 

 

 

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือหมออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

 

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร > 26 สิงหาคม 2551.

...

หมายเลขบันทึก: 203651เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2008 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้วนึกถึงBasic needที่ความสุขระดับต้นของคนเริ่มจากการได้รับการตอบสนองที่เพียงพอในด้านของปัจจัยสี่มาก่อน..ถัดมาค่อยเป็นความสุขอันเกิดจากการได้รับการตอบสนองทางด้านสถานะทางสังคม..ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นมาจากการได้รับการตอบสนองทางด้านจิตวิญาณ/สุนทรียศาสตร์มาหลังสุดเลย..มาหลังจากการที่คนได้ค้นพบถึงความต้องการที่แท้จริงของตนเอง/หรือบรรลุถึงเอกลักษณ์ส่วนบุคคลของตน..ซึ่งมองแล้วตอนนี้บ้านเรามีคนที่ท้องหายหิวแล้วแต่ยังติดกับสถานะทางสังคมอยู่มาก..มากจนกระทั่งเขาบอกให้หยุดกอบโกย/กักตุนให้ลูกให้หลานของตัวเองเสียทีนึงเหอะแต่แกก็ทำไม่ได้สุดท้ายก็ได้แต่ต้องออกไปกินพิซซ่า/หรือขนมปังที่ต่างประเทศโน่น!!

ขอขอบคุณ... คุณ seangja

  • จริงครับ... เรื่องตอนนี้ดูจะคล้ายกับแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow)

ในทางกลับกัน... คนที่รู้จักพอก็มีความสุขจากสันโดษได้มากเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท