อาจารย์ศาสตราจารย์ ดร.วลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์ บรรยายที่โรงพยาบาลราชวิถี ในงานวันข้อสากลปี 2548 ว่า เด็กไทยมีความสูงต่ำกว่ามาตรฐานโลกจากการขาดแคลเซียม สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่นิยมดื่มนม...
ผู้เขียนสังเกตว่า นิสิตนักศึกษารุ่นใหม่สูงเพิ่มขึ้น เวลาพูดกับนิสิตนักศึกษาต้องยืนให้ห่างหน่อย เพราะถ้ายืนใกล้เกินต้องแหงนหน้ามาก ทำให้ปวดเมื่อยคอ หรือเวียนหัวง่าย...

ท่านอาจารย์ศาสตราจารย์ ดร.วลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์บรรยายที่โรงพยาบาลราชวิถีในงานวันข้อสากลปี 2548 ว่า
เด็กไทยมีความสูงต่ำกว่ามาตรฐานโลกจากการขาดแคลเซียม สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่นิยมดื่มนม

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสำรวจในปี 2518, 2529 และ 2538 พบว่า
คนไทยได้รับแคลเซียมวันละประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกบางหรือกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น

อาจารย์ท่านแนะนำวิธีปรับปรุงแก้ไขไว้อย่างนี้ครับ...
-
กินนมและผลิตภัณฑ์นม:
ผู้ใหญ่ควรดื่มนม 1-2 แก้วต่อวัน เด็กควรดื่มนม 2-3 แก้วต่อวัน นมมีวิตะมินดีซึ่งช่วยดูดซึมแคลเซียม ถ้าดื่มแล้วเกิดอาหารท้องอืดหรือท้องเสีย ให้เริ่มดื่มครั้งละไม่เกิน ½ แก้ว แล้วค่อยๆ เพิ่มทีละน้อย ร่างกายจะปรับตัวโดยสร้างน้ำย่อยเพิ่มขึ้น หรือจะเปลี่ยนไปกินโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวก็ได้
- กินอาหารที่มีแคลเซียม:
อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กุ้งฝอย ปลาตัวเล็กตัวน้อย กะปิ งาดำ(งาดำมีแคลเซียมสูงมาก) เต้าหู้(เต้าหู้แข็งมีแคลเซียมสูงกว่าเต้าหู้อ่อน) กุ้งแห้งตัวเล็ก น้ำปู นมถั่วเหลือง(มีแคลเซียมน้อยกว่าเต้าหู้) ฯลฯ
- ไม่กินเนื้อมากเกิน:
เนื้อมีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงมาก การกินเนื้อมากเกินมีส่วนทำให้สัดส่วนของฟอสฟอรัสต่อแคลเซียมสูงเกิน ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง
- ไม่กินมันมากเกิน:
การกินไขมันมากเกินมีส่วนทำให้แคลเซียมจับตัวกับไขมัน เกิดเป็นเกลือของกรดไขมัน ซึ่งร่างกายจะดูดซึมไปใช้ไม่ได้
- ออกกำลังกาย:
คนที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายน้อย จะเสียแคลเซียมประมาณ 0.5 % ใน 1 เดือน ตรงกันข้ามถ้าเราออกกำลังกาย และใช้แรงในชีวิตประจำวันสม่ำเสมอ ร่างกายจะสูญเสียแคลเซียมน้อยลง
- ของแสลง:
แอลกอฮอล์(เหล้า เบียร์ ไวน์...) ความเครียด การสูบบุหรี่จัด การดื่มกาแฟมากมีส่วนทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง
คำแนะนำ:

ข้อควรระวังสำหรับนมเปรี้ยวได้แก่ ควรเลือกชนิดมีน้ำตาลต่ำ การกินน้ำตาลมากเกินอาจทำให้ไขมันในเลือด(ไตรกลีเซอไรด์)สูง หรือเสี่ยงต่อโรคอ้วน
ถ้าไม่ชอบดื่มนม หรือดื่มนมไม่ได้... การดื่มนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมช่วยได้มากทีเดียว

แหล่งที่มา:
- ขอขอบคุณ > กองบรรณาธิการ. In Focus: กิน...กิน...กิน ป้องกันกระดูกพรุนได้จริงหรือ. วงการแพทย์ ปีที่ 8 ฉบับ 215 (1-15 กุมภาพันธ์ 2549). หน้า 15-16.
- ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก “บ้านสุขภาพ” มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
-
ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
- ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
-
ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
- นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ความเห็น
มารับความรู้จากคุณหมอนะคะ แคลเซียมจากผักใบสีเขียว ผลไม้
ก็มีด้วยใช้มั้ยค่ะ ปริมาณผัก ผลไม้จำนวนเท่าไรคะ ใน
1วัน จึงจะได้รับแคลเซียมเพียงพอกับร่างกายละค่ะ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- ขอขอบคุณอาจารย์สุวรรณา และท่านผู้อ่าน...
- ผักใบเขียวมีแคลเซียม
แต่การดูดซึมมักจะไม่ดีเท่าที่ควร
ผลไม้ส่วนใหญ่มีแคลเซียมต่ำ หรือต่ำมาก
ถั่วชนิดที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ ถั่วเหลือง
เต้าหู้มีแคลเซียมเพิ่มขึ้นจากขบวนการผลิต
งาดำมีแคลเซียมประมาณ 10 เท่าของนม
(เทียบน้ำหนักเท่ากัน)
- ถ้าไม่ชอบกินนม และผลิตภัณฑ์นม
งาดำ นมถั่วเหลือง
และเต้าหู้น่าจะช่วยได้มากกว่าผักและผลไม้อื่นๆ
- ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
กรุณาอ่านจากบทความย้อนหลัง
ซึ่งมีตารางแสดงจำแนกไว้แล้วครับ
- ขอขอบคุณ
ข้อมูลนี้น่าสนมจมากคะ
เพราะในปัจจุบันการดูแลสุขภาพของคนไทยขาดการละเลยไปเยอะ
เราจะเห็นว่าเด็กสาวสมัยนี้รักษาหุ่นกันมาก โดยขาดการดูแลสุขภาพที่ดี
ทำให้บางคนตัวเล็กเกินมาตรฐานกำหนด บ้างก็มีน้ำหนักน้อยจนเกินไป
และนอกจากการทานอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบและพอเพียงต่อความต้องการ
การออกกำลังกายก็สำคัญเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตคะ
ขอบคุณบทความดีๆ ที่ช่วยให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น
ขอขอบคุณอาจารย์วัลลภกับบทความดีๆ ค่ะ
มีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการจะมีกระดูกแข็งแรงที่ขออนุญาตให้ความเห็นค่ะ
คือมีการศึกษาในสหรัฐในคนพบว่า
ไม่เพียงแต่แคลเซี่ยมเท่านั้นที่ป้องกันกระดูกผุ
แต่แมกนีเซี่ยมก็สำคัญค่ะ โดยเฉพาะในคนผิวขาว จากอ้างอิง
Journal of the American Geriatrics
Society
Volume 53 Page 1875 -
November 2005
และมีข้อแนะนำจาก Dr Ben Kim
จากแคนาดาว่า การป้องกันกระดูกผุ ควรประกอบด้วย
ได้รับแมกนีเซี่ยมเพียงพอ
ได้รับแคลเซี่ยมเพียงพอ
ได้รับวิตามินดี
เพียงพอ
มีกิจกรรมทางกายที่มีการลงน้ำหนัก เช่นเดิน การวิ่ง
ปั่นจักรยาน ยกน้ำหนัก
และสุดท้ายต้องนอนหลับสนิทกลางคืน เพื่อเพิ่ม
erythropoietin, growth hormone, and testosterone,
ซึ่งสำคัญสำหรับการสร้างและคงสภาพของกระดูกด้วยค่ะ
ซึ่งแมกนีเซี่ยมที่ดีควรเป็นสารอาหารไม่ใช่สารสังเคราะห์
เพราะสารสังเคราะห์จะถูกขับทางไต และเป็นอันตรายกับไตค่ะ
สำหรับประเทศไทย ก็เอาง่ายๆ จากข้าวกล้อง ถั่วลิสงค่ะ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- ขอขอบคุณอาจารย์จ๊ะจ๋า และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
- ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี
มีกระดูกแข็งแรงทั่วหน้าครับ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- ขอขอบคุณอาจารย์ JC มากเป็นพิเศษครับ
- คำแนะนำ
และข้อคิดเห็นของอาจารย์ JC มีประโยชน์มาก และนำไปใช้ได้จริง
(practical) ทันทีที่หุงข้าว เพราะอาจารย์แนะนำของที่หาได้ง่าย
ประหยัด ปลอดภัย เช่น ข้าวกล้อง ถั่วลิสง(คงจะรวมถั่วชนิดอื่นๆ
ด้วย) ฯลฯ
-
เรื่องกระดูกนี่ขึ้นกับปัจจัยหลากหลายอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้ทั้งหมด...
ขออนุโมทนากับบันทึกของอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง
- Harward health e-newsletter, March 2006 ตอนจบเขียนไว้ว่า
"ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาที่ซับซ้อน
(complex) การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมักจะแก้ด้วยวิธีเดียวโดดๆ (simple)
ไม่ได้"
- เรื่องกระดูกก็เช่นเดียวกันครับ ไม่ใช่แคลเซียมอย่างเดียว ทำอะไรๆ
หลายอย่างตามที่อาจารย์ JC แนะนำดีที่สุด
- ขอขอบคุณอาจารย์ JC และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพดี มีกระดูกแข็งแรง
และอย่าลืมทำอย่างที่อาจารย์ JC แนะนำไว้ครับ
โอ้โฮ ! ผมนี่อยู่ในเกณฑ์มีภาวะเสี่ยงเลยนะครับเนี่ย
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- ขอขอบคุณอาจารย์หนึ่ง และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
- การได้ข้อมูลข่าวสารใหม่นี่ดีนะครับ
เราจะมีโอกาสปรับปรุงแก้ไข
- คนเรามีศักยภาพที่จะทำอะไรดีๆ
ได้มากกว่าที่เราคิดเสมอ...
- ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี
มีกระดูก ข้อ และเอ็นแข็งแรง
จะได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากหน่อย...
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- ขอขอบคุณอาจารย์จ๊ะจ๋าครับ...
- บทความของอาจารย์มีประโยชน์มาก
- ขอให้อาจารย์ ท่านผู้อ่าน
และท่านผู้ให้ข้อคิดเห็นทุกท่านมีสุขภาพดี มีแคลเซียม แร่ธาตุ
และวิตะมินพอดีกันทุกท่าน
จะได้ทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมได้นานๆ...
ขอบคุณน่ะค่ะที่เอาลงมาบอกกัน
อยากรู้ว่าถ้ากินแคลเซียมเม็ดจะเป็นอะไรกับร่างกายมัยค่ะ ถ้าใครรู้
ช่วยส่งมาที่เมลหน่อยน่ะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
เขียนเมื่อ
- ขอขอบคุณอาจารย์มดตะนอย...
- การกินแคลเซียมเป็นเม็ดมีข้อดีที่สะดวก
รู้ปริมาณแคลเซียมแน่นอน
ไม่ต้องกินนม ลดปริมาณน้ำตาลลง(นมสัตว์มีน้ำตาลนมประมาณ 4.5
% โดยน้ำหนัก เช่น นม 200 มล. มีน้ำตาลนมประมาณ 9 กรัม
ฯลฯ
- การลดปริมาณน้ำตาลมีประโยชน์มากกรณีเป็นเบาหวาน
หรือโคเลสเตอรอลสูง
- แคลเซียมเป็นเม็ดไม่มีไขมันอิ่มตัว
ซึ่งพบได้ในนมเต็มส่วน (whole milk)
- นมไขมันต่ำ (low fat)
หรือนมไม่มีไขมัน (non fat) จะมีไขมันน้อยลงไปมาก
- ข้อเสียของการกินแคลเซียมเป็นเม็ดได้แก่
ขาดสารอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เช่น
แมกนีเซียม(มีมากในข้าวกล้อง ถั่วชนิดต่างๆ ผัก) ฯลฯ
- ความเห็นส่วนตัวของผมคือ การกินนมมีส่วนช่วยให้คนไทย เช่น
คนเลี้ยงวัว คนเก็บนม คนงานในโรงงาน ฯลฯ มีงานทำ มีรายได้
- ถ้าเรากินนมวัว
และตั้งความปรารถนาให้คนไทยมีงานทำน่าจะเป็นอารมณ์ของเมตตา
หรือกรุณาได้ครับ...
ภูริดา พิมานมาศ
เขียนเมื่อ
อยากทราบว่า การกิน dolomite ดีกว่าการกิน calcium ในรูป calcium carbonate หรือเปล่าคะ และควรกินหลังอาหารทันที หรือตอนท้องว่างคะ
ระหว่างนมโคกับนมถั่วเหลืองอย่างไหนให้แคลเซียมมากกว่า(เกี่ยวกับด้านความสูง) ขณะนี้น้องอายุ 11 ปี มีความสูงประมาณ 140 ซ.ม. (ผู้ชายครับ)
ขอขอบคุณ... คุรภูริดา และท่านผู้อ่านทุกท่าน
- โดโลไมต์มีสูตรทางเคมีอย่างนี้... CaMg(CO3)2 นั่นคือ มีแคลเซียม และแมกนีเซียม
- การกิน dolomite มีข้อดีกว่าการกินแคลเซียมอย่างเดียวตรงที่ได้แมกนีเซียมด้วย
ความแข็งแรง...
- ความแข็งแรงของกระดูกขึ้นกับการได้รับแร่ธาตุหลายอย่าง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โบรอน ฯลฯ ไม่ใช่แคลเซียมอย่างเดียว
- อย่างไรก็ตาม... ส่วนใหญ่คนเรามักจะขาดแคลเซียมมากกว่าแร่ธาตุตัวอื่น
- ปัจจัยสำคัญจึงขึ้นกับ "ราคา" ว่า แพงหรือไม่... คุ้มหรือไม่
แคลเซียมเสริม...
- แคลเซียมเสริมกินพร้อมอาหารดีกว่าตอนท้องว่าง
- เนื่องจากโอกาสปวดท้อง ท้องอืดน้อยกว่า + ช่วยป้องกันนิ่ว (โดยจับกับแร่ธาตุในผัก หรือดินบางอย่างที่ตกตะกอนง่าย และขับออกไปทางอุจจาระ) + การดูดซึมมักจะดีกว่า
- ถ้าเป็นไปได้... ควรแบ่งยาเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ
อาหาร...
- การกินนมไขมันต่ำ หรือนมไม่มีไขมันวันละ 1-2 แก้วน่าจะดี
- โยเกิร์ตวันละ 1-2 ถ้วยน่าจะดี เพราะจะได้รับแร่ธาตุหลายอย่าง รวมทั้งได้แบคทีเรียชนิดดี (probiotics) ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค
- นมไขมันเต็มส่วน (whole milk) มีอันตรายจากไขมันอิ่มตัวสูง หน่วยงานสุขภาพอเมริกันไม่แนะนำให้คนที่อายุเกิน 2 ปีดื่ม
ถ้าไม่ชอบนมสัตว์...
- ปลาตัวเล็กตัวน้อย หรือปลากระป๋อง(กินพร้อมกระดูก) + งาดำป่น + นมถั่วเหลือง + เต้าหู้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีมาก
- แหล่งแมกนีเซียมที่ดีมากคือ ข้าวกล้อง ถั่ว งา ผักใบเขียว
- อย่าลืมเดินวันละ 30-60 นาที และยกของ เช่น ขวดน้ำ 0.5-1 ลิตรทุกวัน เพื่อให้กระดูกแข็งแรงจากการออกกำลัง
ที่มา:
ขอขอบคุณ... คุณไม่ระบุชื่อและท่านผู้อ่านทุกท่าน
- นมถั่วเหลืองมีแคลเซียมน้อยกว่านมวัว
ถ้าเทียบคุณค่า...
- น้ำนมวัวปริมาณ 1 ถ้วย / 240 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ให้แคลเซียมประมาณ 30% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน
- นมวัวชนิดไม่มีไขมัน หรือไขมันต่ำจะมีแคลเซียมสูงกว่าชนิดไขมันเต็มส่วนดังนี้
- นมไขมันเต็มส่วน 290 mg (มิลลิกรัม)
- นมไขมันต่ำ 2% > 297 mg
- นมไม่มีไขมัน 0% > 302 mg
- แนะนำให้ดื่มนมไขมันต่ำ หรือนมไม่มีไขมัน ไม่แนะนำให้ดื่มนมไขมันเต็มส่วน เนื่องจากไขมันนมมีไขมันอิ่มตัวสูง
นมถั่วเหลือง...
- นมถั่วเหลืองปริมาณ 1 ถ้วย / 240 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) มีแคลเซียมประมาณ 10 mg (มิลลิกรัม) หรือประมาณ 1 ใน 30 ของนมวัว
- ให้แคลเซียมประมาณ 0.1 % ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน
เต้าหู้...
- เต้าหู้ งาดำ ปลาตัวเล็กตัวน้อยให้แคลเซียมได้ดีกว่านมถั่วเหลือง
- ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการเสริมแคลเซียมเข้าไปในนมถั่วเหลือง ทำให้นมถั่วเหลืองมีแคลเซียม และแร่ธาตุสูงขึ้นมาก (โปรดดูจากข้างกล่องนม)
ที่มา: