Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๔๙)_๒


การจัดการความรู้ของกลุ่มผักปลอดสาร : เรื่องเล่าของนักปฏิบัติตัวจริง
         วิสันต์  ทองเต่ามก ประธานกลุ่มปลูกผัก จังหวัดพิจิตร  “คุณกิจ” ตัวจริงเพียงหนึ่งตัวอย่างของการเป็นนักจัดการความรู้ของเครือข่ายพิจิตร วิสันเป็นเล่าให้ฟังว่า หลังจากจบ ป.6 ก็ออกมาทำงานจนต่อมาได้เข้ามาทำงานในกรุงเทพ และเมื่อประมาณ 2-3 ปีที่ผ่นมาเกิดเจ็บป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ระหว่างที่ป่วยคิดได้ว่า ทำไมเราต้องมาต่อสู้ดิ้นรนอะไรมากมายขนาดหนี้ อยู่บ้านเราไม่ต้องลำบากลำบนมากนัก เมื่อคิดได้ดังนั้น วิสันต์จึงกลับบ้านที่พิจิตร กลับไปปลูกผัก ทำนา ทำไร่ ทำเหมือนกับคนอื่น ๆ ที่ใช้สารเคมีเป็นหลัก   ต่อมาเมื่อจังหวัดพิจิตรเปิดโรงเรียน วปอ.ภาคประชาชน (วิทยากรกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง) โดยมีปราชญ์ชาวบ้านในจังหวัดพิจิตร ที่มีความรู้และภูมิปัญญาในการทำเกษตรปลอดสารมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน วิสันต์ได้แนวคิด วิธีการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีอย่างมากและตรงกับที่อยากจะทำ ในที่สุดจึงรวมกลุ่มคนที่สนใจมาได้ประมาณ 30 คน ช่วยกันคิดหาวีการปลูกผักหรือการทำเกษตรแบบปลอดสาร
         จากนั้นจึงจัดตั้งกลุ่ม “ปลูกผัก”ปลอดสารเคมีขึ้น และมีการสร้างเครือจ่ายระดับตำบลในอำเภอโพธิ์ประทับช้างได้ถึง 6 ใน 7 ตำบล มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เทคนิควิธีการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งระหว่างนั้นกลุ่มได้เรียนรู้เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องการทำตลาด  เพราะเมื่อส่งผักไปขาย ผักของกลุ่มถูกนำไปวางรวมกับผักที่ปลูกด้วยสารเคมี และราคาก็ไม่ได้แตกต่างซ้ำยังอาจถูกกว่าเพราะผักไม่สวยมีแมลงกัดกิน  กลุ่มจึงหาวิธีแก้ไขด้วยการตั้ง “คณะกรรมการการตลาด”ขึ้นมา โดยทำขึ้นอย่างไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย แต่สรุปกันได้ว่า ควรจะต้องเริ่มจากตลาดในบริเวณบ้นของพวกเรากันเองก่อน โดยไปพูดอธิบายให้ลูกค้าฟังว่า สารเคมีนั้นมีอันตรายอย่างไร การปลูกผักปลอดสารเหล่านี้ทำกันอย่างไร ในวันแรก ๆ ขายได้ไม่มากนัก แต่กลุ่มฯก็ทำการตลาดแบบนี้ต่อไปไม่หยุดหย่อน มีการประชาสัมพันธ์และโฆษณาคุณสมบัติของผัก โดยใช้ความจริงและความจริงใจต่อผู้บริโภค  ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคชี้ให้เห็นความแตกต่างของผักปลอดสารกับผักที่ปลูกด้วยสารเคมี ทำให้เกิดการบอกต่อ ๆ กันไปของลูกค้า บางรายยังไม่แน่ใจก็ขอมาดูที่แปลงผักของกลุ่ม  ตลาดเพิ่มขยายออกไปมากขึ้นมีการเชื่อมโยงกับจังหวัดเพื่อนำผักไปวางขาย นอกจากนั้นยังมีการขยายกลุ่มลูกค้าออกไปอีก โดยเจากลุ่มลูกค้าที่ออกกำลังกาย กลุ่มเต้นแอโรบิก เพราะเป็นกลุ่มที่รักสุขภาพโดยเฉพาะ ซึ่งต่อมาลูกค้าเริ่มให้ความสนใจผักปลอดสารของกลุ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้กลุ่มมีกำลังใจปลูกผักปลอดสารเคมีเพราะขายผักได้มากขึ้น ต้นทุนลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง ทำให้คุณภาพชิวตของกลุ่มเกษตรกรดีขึ้น สุขภาพแข็งแรง ไม่มีสารเคมีตกค้างในร่างกาย ครอบครัวมีความสุข
         นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวของการจัดการความรู้ในกลุ่มย่อยๆ ของเครือข่ายพิจิตรปลอดสาร เป็นการทำโดยผู้ทำเองก็ไม่รู้ว่าจัดการความรู้คืออะไร แต่เมื่อได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตร แลกเปลี่ยนในเรื่องที่ชาวเกษตรกรแต่ละคนมีความรู้อยู่แล้ว ซึ่งทุกครั้งที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะได้ความรู้ ความคิด วิธีการต่าง ๆ กลับไปใช้ และการเข้าร่วมกระบวนการจัดการความรู้แบบนี้จะทำให้เกษตรกรมีความรู้ในเรื่องการทำการเกษตรอย่างเป็นระบบและมีทิศทางมากขึ้น
          “เพราะในกระบวนการจัดการความรู้จะมีการประเมินขีดความสามารถของตนเอง ทำให้รู้ว่า ในเรื่องหนึ่ง ๆ ใครเก่งที่สุด ใครเก่งเรื่องอะไรบ้าง ก็จะได้ไปเรียนรู้จากคนนั้น ๆ ต่อไป ซึ่งทำให้แต่ละคนได้ความรู้ในระดับที่ลึกมากขึ้นกว่าที่รู้อยู่แล้ว ต่ปัญหาปัจจุบันคือ กลุ่มรู้ว่าใครเก่งอะไรใครรู้เรื่องอะไร แต่ขาดการบันทึก ขาดการจัดเก็บความรู้ที่ดี ซึ่งตอนนี้ก็กำลังฝึกการบันทึกให้มากขึ้น” วิสันต์ กล่าว

“ผู้นำ”  “ผู้ประสาน”  “คุณอำนวย”
         ในฐานะ“ผู้นำ” “ผู้ประสาน” และ “คุณอำนวย” คุณสุรเดชใช้เรื่อง “เมืองไทยแข็งแรง” ซึ่งเป็นนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุข มาใช้ในการโน้มน้าว ชักชวนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ ในพิจิตรให้หันมาสนใจเรื่องการจัดการความรู้ โดยตั้งคำถามขึ้นมาว่า  “เรามีศักยภาพแค่ไหนที่จะทำให้นโยบายเมืองไทยแข็งแรงประสบผลสำเร็จ  หันมาดูตัวเองก่อนดีไหมว่ามีความพร้อมแค่ไหน”
         โดยส่วนตัว คุณสุรเดชเห็นว่านโยบายเมืองไทยแข็งแรง น่าจะเป็นชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ได้ 6 ชุมชน คือ การออกกำลังกาย , อาหาร , อนามัย ,อโรคยา ,อารมณ์ และอบายมุข ซึ่งหากมีการทำงานอย่างต่อเนื่องก็จะได้ชุมความรู้ของชุมชนทั้ง 6 ออกมาเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
         และจากการจัดเวทีในกลุ่มเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย 10 แห่งใน อ.โพธิ์ประทับช้าง  ทำให้รู้ว่าเพื่อนทำอะไรกันบ้าง ได้รู้ว่ามีสิ่งดีๆ ในตัวเพื่อนๆ และสุดท้ายสรุปว่าน่าจะจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างนี้ทุกเดือน  และสามารถนำไปใช้กับในแก้ปัญหาและพัฒนาเครือข่ายเกษตรปลอดสารได้เช่น กรณีเครือข่ายที่ อ.โพธิ์ประทับช้าง ในเมื่อ “คุณอำนวย” เริ่มขยับ เกษตรกรจะอยู่เฉยได้อย่างไร ก็ต้องขยับให้เกิดคลื่นลูกใหญ่ต่อไป รวมทั้งเกษตรกรยังช่วยกันหาวิธีการในการพัฒนาตนเองใน “แก่นความรู้” ต่างๆ เช่น เรื่องการขยายเครือข่าย ทำได้โดยประชุมกลุ่มระดับตำบลเดือนละ 1 กลุ่ม ระดมทุนเรื่องการจัดการผลิต ก็ใช้วิธีเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง พัฒนาคุณภาพส้มท่าข่อย และการก่อตั้งโรงงานปุ๋ยชีวภาพ
         โดยภาพรวมของเครือข่ายเกษตรปลอดสารสามารถแบ่งความชำนาญออกเป็น 7 ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) เช่น กลุ่มข้าว , กลุ่มโรงสี ,กลุ่มผัก ของคุณวิสันต์ ทองเต่ามก ,กลุ่มเกษตรประณีต , กลุ่มไร่นาสวนผสม , กลุ่มทายาทเกษตร และกลุ่ม อบต. เกษตร   ก้าวต่อไปของเครือข่ายเกษตรปลอดสาร คือ ต้องการจะได้ชุดความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติทั้ง 7 ออกมาเผยแพร่แก่สังคมในวงกว้างต่อไป
         ภาพเคลื่อนไหวของการจัดการความรู้ในแต่ละกลุ่มชุมชนนักปฎิบัติของเครือข่ายพิจิตรที่กำลังเกิดขึ้นอย่างคึกคักเพื่อเข้าถึงแก่นของความรู้ในแต่ละเรื่องที่จะนำไปสู่การพัฒนาพิจิตรให้เป็นจังหวัดที่แข็งแรงทั้งผู้คนและศักยภาพการแข่งขันด้านอื่น ๆ ซึ่งมีจุดเริ่มมาจากพลังความรู้และการเรียนรู้ของคนพิจิตรเอง จากกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นเพียงเครื่องมือเสริมให้พวกเขาสามารถมองทะลุปัญหา ค้นพบทางออก และก้าวสู่เป้าหมายอย่างมั่นใจ.

คุณสุรเดช  เดชคุ้มวงศ์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร
ถ.คลองคะเชนทร์  ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.พิจิตร 66000
0-9961-1204

หมายเลขบันทึก: 20052เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท