บัญชีครัวเรือน


ประสบการณ์ชีวิต ถ่ายทอดไว้เป็นสาธารณะ ใครจะนำไปปรับประยุกต์ใช้ก็ยินดี....

ทำบัญชีมาหลายปี ทำจนเป็นความเคยชิน เหตุที่ทำเพราะเป็นคนขี้ลืม ขี้กังวล ขี้งก บางทีเงินในกระเป๋าหมดไป ก็จำไม่ได้ว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร เมื่อไร ที่ไหน  หรือทำหาย เสียดายตายห่....

ต่อมา ทำบัญชีทุกวัน หลังจากเขียนบันทึกประจำวันแล้ว ทำให้ยังไม่ทันลืมว่า ในรอบ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา จ่ายค่าอะไร ที่ไหน  เมื่อไร 

ที่ไม่ลืม เป็นเพราะเราเขียนบันทึกประจำวันไล่เหตุการณ์ตั้งเช้าถึงเย็น บันทึกและบัญชีจึงอาศัยกัน 

เขียนไปนานๆ ได้ระบบงบประมาณของตัวเอง ว่าเงินเดือนแต่ละเดือน จะต้องจ่ายเป็นงบประจำ 1 ส่วน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าข้าวสาร ค่าใช้จ่ายของลูก ส่วนนี้กันไว้ก่อนเพราะเป็นรายจ่ายที่ไม่มีจ่าย จะปั่นป่วนมาก ส่วนนี้ประมาณ 60% ของรายได้

ส่วนที่สอง เป็นเงินงบกลาง ใช้จ่ายตามความจำเป็น หรือตามความอยาก เป็นอัตราส่วน 30% ถ้าไม่พอ ไปเงินคงคลังมาใช้ก่อน แต่ต้องเอาไปคืน

ส่วนที่สาม เป็นเงินคงคลัง เก็บไว้เป็นทุนสำรองเงินตราประจำบ้าน สามารถนำมาใช้ได้ในยามจำเป็น แต่ต้องนำมาใช้คืน เงินคงคลัง เป็นอัตราส่วน 10% (ยอดนี้ถ้าวินัยทางการคลังดี จะมีเงินคงคลังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ)

เวลาจะใช้เงินก้อน เช่น เปิดเทอมใหญ่ ก็ตัดยอดจากเงินคงคลังนี้ไปใช้ ก็จะไม่ไปกระทบกับยอดอื่นๆ ข้าวสารก็ยังมีกิน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ก็ยังใช้ได้ ลูกก็ยังมีเงินไปโรงเรียน (ตัดยอด หมายถึง ไม่ต้องนำมาใช้คืน)

ประสบการณ์ชีวิต ถ่ายทอดไว้เป็นสาธารณะ ใครจะนำไปปรับประยุกต์ใช้ก็ยินดี

 

หมายเลขบันทึก: 192531เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2008 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เคยตั้งใจทำบัญชี...แต่ยังไม่สำเร็จ
  • เท่าที่ผ่านมาตัวเองยังโชคดีที่ยังไม่เกิดปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังอย่างจริงจังสักที
  • การมีวินัยในการใช้เงิน...เป็นเรื่องใหญ่ในยุคที่สภาพเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้
  • แวะมาแลกเปลี่ยน...และเรียนรู้กันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท