การออกจากพื้นที่คุ้นชิน สู่ การเรียนรู้เพื่อพัฒนา


หากอยากเกิดการเรียนรู้ต้องกล้าที่จะก้าวออกจากความคุ้นชิน(leaving from comfortable zone) เพื่อให้เกิดการทำงานที่ไม่ใช่แบบเดิมๆ

วันนี้ผู้เขียนได้อ่านบันทึกของคุณ independent woman เรื่องของความเคยชินในเรื่องเดิมๆจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป ทำให้คิดถึง คำว่า comfort zone ซึ่งเคยได้ยินมาจาก อาจารย์นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ แห่งชุมชนขวัญเมือง เชียงราย อาจารย์บอกว่า หากอยากเกิดการเรียนรู้ต้องกล้าที่จะก้าวออกจากความคุ้นชิน(leaving from comfortable zone) เพื่อให้เกิดการทำงานที่ไม่ใช่แบบเดิมๆเก่าๆ อาจารย์ยงยุทธ สงวนชม เขียนแบบเต็มๆไว้ ที่นี่  ทำให้ผู้เขียนอยากเขียนถึง comfort zone เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพ

เมื่อวันสองวันก่อน ผู้เขียนได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ที่อาจารย์หมอนิวัฒน์ ลีวงศ์วัฒน์ แนะนำให้อ่านคือ my life as a coach โดย ซิกเว้ เบรคเก้ CEO ของดีแทค ซิกเว้ก็ได้พูดถึง เรื่องของ comfort zone เช่นกัน

ซิกเว้ บอกว่า เขาจะท้าทายให้ลูกน้องของเขาเหมือนอยู่ปากเหว เพื่อให้รู้สึกว่าไม่สุขสบาย เขาจะมีการหมุนเวียนพนักงานระหว่างแผนกต่างๆ เขาเชื่อว่าความเคยชินมักจะเป็นศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เคยตัว ชินกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนร่วมงานจนกลายเป็นอาณาจักรเล็กๆ หรือ comfort zone แม้แต่เอนจิเนียร์ก็ต้องไปดูแลงานขาย

แต่การจะให้คนไปทำอะไร ซิกเว้บอกว่า ต้องดูทัศนคติที่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนทัศนคติเป็นเรื่องยาก ต้องดูว่าคนพร้อมที่จะต่อยอดความคิดเพื่อเกิดความคิดใหม่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน นอกจากนั้นยังทำให้เกิดมิตรภาพและเครือข่ายระหว่างแผนกต่างๆด้วย

หากนำวิธีการที่ซิกเว้บอกมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล อาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับงานที่เป็นวิชาชีพอย่างเช่นแพทย์ พยาบาล เภสัชกร แต่บุคคลเหล่านี้ สามารถที่จะรับงานพิเศษที่ดูท้าทายเพื่อต่อยอดความคิดที่แปลกใหม่ ซิกเว้ก็ใช้แบบนี้เหมือนกันหมายถึงการมอบหมายเป็นงานพิเศษ

 

เพราะฉะนั้น หากอยากให้คนในองค์กรเกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพสร้างนวตกรรมใหม่ คงต้องสร้างค่านิยมให้คนของเราต้องกล้าที่จะก้าวออกจากพื้นที่คุ้นชิน เพื่อออกไปท้าทายกับประสบการณ์ใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ เพื่อนร่วมงานใหม่ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดงานใหม่ๆ ที่สร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและผู้รับบริการ

สำหรับผู้เขียนเองแล้ว ประมาณว่า ถูก.....ให้ออกนอกพื้นที่คุ้นชินบ่อยครั้ง จนรู้สึกชิน ถือว่าเป็นอันตรายไม่น้อย ความคิดสร้างสรรค์จึงไม่เกิดแต่กลายเป็นเรื่องแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเป็นครั้งๆไปซะอย่างนั้น เห็นทีต้องปรับปรุง

 

หมายเลขบันทึก: 191047เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2008 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีค่ะคุณป้ามณีแดงคนสวยแซ่เฮ 
  • "ความเคยชินมักจะเป็นศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ทำให้เคยตัวเคยชินกับสิ่งแวดล้อม" จริงๆๆค่ะ และมักจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดใจรับกับสิ่งใหม่  ได้ยากมากๆๆๆ  เพราะเคยชินกับวัฒนธรรมเดิมๆๆนะคะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีค่ะ
  • ดูแลสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง คุณค่าของงานของตยเองเกิดได้เมื่อมีสติค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์เอื้องแซะที่คิดถึงอย่างแรง

  • ป้าแดงติดต่อทางเมล์ไปทำไมถูกส่งกลับทุกทีเลยค่ะ
  • รึว่าจดหมายไม่ยอมออกจากพื้นที่คุ้นชิน อิอิอิ
  • สบายดีนะคะ
  • รักษาสุขภาพเช่นกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.พอลล่า

  • สติมาปัญญาเกิดนะคะ
  • พยายามจะตั้งสติให้ดี(สตังค์จะตามมาด้วยมั้ยนะ)
  • ขอบคุณค่ะ

"..การจะให้คนไปทำอะไร ซิกเว้บอกว่า ต้องดูทัศนคติที่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนทัศนคติเป็นเรื่องยาก ต้องดูว่าคนพร้อมที่จะต่อยอดความคิดเพื่อเกิดความคิดใหม่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ....หากนำวิธีการที่ซิกเว้บอกมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล อาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับงานที่เป็นวิชาชีพอย่างเช่นแพทย์ พยาบาล เภสัชกร แต่บุคคลเหล่านี้ สามารถที่จะรับงานพิเศษที่ดูท้าทายเพื่อต่อยอดความคิดที่แปลกใหม่ ซิกเว้ก็ใช้แบบนี้เหมือนกันหมายถึงการมอบหมายเป็นงานพิเศษ.."

    เห็นด้วยเป็นอย่างมากค่ะ

เคยเจอบางครั้งมีแนวคิดให้พยาบาลออกไป Turn Ward อื่น กลับกลายเป็นความทุกข์ทรมาน คับข้องใจ เพราะไม่คุ้นที่ ไม่คุ้นโรค พอทำงานพลาดก็เลยไปกันใหญ่

แต่หากให้ทำงานที่คุ้นเคยเพื่อความอบอุ่นใจ แต่ให้โอกาสไปเปิดหูเปิดตาด้วยการทำหน้าที่พิเศษนอกตึกบ้าง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ก็ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ไม่น้อยเลยค่ะ

 

สวัสดีค่ะ น้องตัวยุ่ง

  • เห็นด้วยเลยค่ะ ว่าเราต้องได้โอกาสเปิดหูเปิดตาบ้าง อาจจะเริ่มต้นที่จิตอาสาก็ได้นะคะ
  • อย่างที่ทำงานป้าแดง ไปออกค่ายกับกระทิงแดง กลับมาได้ความคิดแปลกใหม่มาพัฒนางานด้วยค่ะ สุดยอดเลยค่ะ อยู่ที่ทำงาน ชี้แนะจนปากกว้าง กลับคิดไม่ออก หรือว่าคนเรามักจะเชื่อคนนอกเสมอๆๆๆ อิอิอิ ออกไปถึงไหนเนี่ย ป้าแดง
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

ป้าแดงครับ จุดนี้แหละคือจุดอ่อนของระบบการทำงานประเภท routine เพราะเราจะติดหนึบ สร้างอาณาจักร์แม้แต่ที่นั่ง เก้าอี้ โต๊ะ บริเวณส่วนตัว  "พื้นที่ของข้า เองอย่าแตะ" อะไรทำนองนั้น และก็ทำอะไรที่เหมือนๆวันก่อนๆ......

ระบบธุรกิจเขาคล่องตัวพร้อมที่จะจัดการเรื่อง comfort zone เพราะเจ้านายสามารถสั่งการได้หมด...ทุกคนก็ตื่นตัวตลอด  เมื่อใดที่เกิดสิ่งนี้ เจ้านายก็หาทางทันที จัดการปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งบรรยากาศ ที่นั่ง มุม ฯลฯ และอื่นๆมากมาย

เพื่อกระตุ้นประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อกำไรของบริษัท เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น พนักงานทุกคนก็ต้องทำ แข่งกันด้วยซ้ำไป

ป้าแดงลองทำบ้างซิครับ  โดนเพื่อนๆมองตาค้อนเมื่อไหร่ มาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ ..

พี่แดงคะ ตอนนี้ต้วมกำลังจะออกจากพื้นที่คุ้นชิน ไปเรียนรู้งานอีกแบบนึง แต่ต้วมไม่กลัวเลยนะ พร้อมที่จะเรียนรู้ คิดว่าไม่มีอะไรหนักหนา ถ้าใจเราเบาสบาย ทุกอย่างน่าจะเป็นเรื่องง่ายได้ จริงมั้ยคะ ...ท่าบ่อ..ธาตุพนม ซักวันจะเลาะริมโขง ไปหา

สวัสดีค่ะ

- เข้ามาแวะเรียนรู้ค่ะ หายไปนาน เพราะย้ายกลับบ้าน ที่โคราชแล้ว เก็บข้าวของยังไม่เสร็จดีเลยค่ะ คิดถึงจึงแวะมาทักทาย ก่อนหายไปจากบล๊อกเสียเนี่ยะ

- คนเรามักจะชอบความสบายจนชิน คนไทยกลัวการเรียนรู้สิ่งใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลง เพราะตั้งป้อมว่า ไม่ดี แน่ ต่างกับคนต่างชาติ ชอบความท้าทาย

อีกทั้งเราไม่ค่อยจะสอนเด็กให้เรียนรู้หรือสร้างสรรค์แต่เด็ก จึงมักคิดนอกกรอบไม่ได้ หรือเพราะวัฒนธรรมไทย ไม่ชอบให้คิดนอกเหนือจากเดิม ต้องเดินตามผู้ใหญ่

- ดีแต่ว่า เพชรน้อย ชอบคิดแปลก ๆ หรือชอบลองของก็ได้ จนผู้ใหญ่มองว่า "ดึกใน" นะน้อง ทำอย่างไรคนเดิมจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เป็น คนมีกระบวนทัศน์ใหม่ ๆ กะเขาสักที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท