ทำไมต้องมี HA


ทำไมต้องมี HA

ทำไมต้องมีHA

     ก.อุดมการณ์ของชาติ

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้ระบุถึงอุดมการณ์ของชาติในเรื่องที่เกี่ยวกับบริการสุขภาพไว้ดังนี้:

          "มาตรา 52 บุคคลย่อมมีสิทธฺเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขทีได้มาตรฐาน  และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

           การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ  โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้

           การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย  รัฐจะต้องจัดให้ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"

           "มาตรา 82 รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตราฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง"

       ข.ทิศทางการพัฒนาประเทศ

             แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ระบุลักษณะสังคมไทยที่พึงประสงค์ไว้ดังนี้:

         1)สังคมคุณภาพ มุ่งให้สังคมไทยเป็นคนดี คนเก่ง,เศรษฐกิจยั่งยืน,เมือง/ชุมชนน่าอยู่,การเมืองการปกครองโปร่งใส.

         2)สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ มุ่งใคนไทยคิดเป็นทำเป็น,เรียนรู้ตลอดชีวิต,มีนวตกรรม/ความคิดริเริ่ม,สร้างทุนทางปัญญา,สืบสานประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น.

         3)สังคมสมานฉันท์ และเอื้ออาทรต่อกัน.

          ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ระบุว่า "เป็นระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งการสร้างเสริมสุขภาพดีของประชาชน,ควบคู่กับการมีหลักประกันที่อุ่นใจในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรและมีคุณภาพเมื่อยามจำเป็น, โดยสังคมทุกส่วนและทุกระดับมีความเพียงพอทางสุขภาพมีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการสร้างและจัดระบบสุขภาพโดยมีการเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทย, เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่อย่างพึ่งตนเองได้ และมีสุขภาวะในสังคมโลกที่มีสภาพการเชื่อมโยงและมีอิทธิพลต่อกันอย่างกว้างขวาง"

          กลวิธีการพัฒนาในแผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 9 ได้แก่:

         -เสริมสร้างศักยภาพใหม่และความเข้มแข็งให้สังคมทุกส่วนและทุกระดับ

         -การทำงานเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพ

         -การทำงานโดยยึดปัญหาในระดับพื้นที่เป็นหลัก

         -ส่งเสริมนวตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพการพัฒนาระบบบริการ การควบคุมป้องกันโรค และการคุ้มครองด้านสุขภาพ

      ค.ความต้องการของสังคม

            นอกเหนือจากอุดมการณ์ของชาติในรัฐธรรมมูญ  รวมทั้งทิศทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งที่ 9 แล้ว,ผู้จ่ายเงิน เช่น สำนักงานประกันสังคม กระทรวงการคลัง บริษัทประกันสุขภาพ ต่างก็ต้องการเห็นการใช้เงินเพื่อสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ , องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ต้องการข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค , องค์กรวิชาชีพ ต้องการผดุงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและจริยธรรมของวิชาชีพ.

     ง.สถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพ

            จะเห็นว่าสังคมมีเป้าหมายและคาดหวังที่จะเห็นคุรภาพเกิดขึ้นในระบบบริการสุขภาพ เมื่อกลับมาดูสถานการณ์ปัจจุบันของระบบบริการสุขภาพจะพบว่ามีลักษณะดังนี้:            

·       ความรู้  เทคโนโลยี  และระบบการให้บริการ  มีความซับซ้อนมากขึ้น
·       ผู้บริโภคไม่รู้ว่าโรงพยาบาลใดไว้ใจได้  ต้องอาศัยราคา  หรือสภาพภายนอกเป็นเครื่องตัดสิน  ซึ่งอาจจะไม่จริง
·       บางเรื่องโรงพยาบาลก็ทำได้ดี  บางเรื่องก็ยังมีปัญหา  เพราะขาดระบบตรวจสอบที่รัดกุมหรือมีคนส่วนน้อยที่ไม่รับผิดชอบ
·       มีแนวโน้มที่จะเกิดการฟ้องร้องมากขึ้น
·       ประชาชนมีความคาดหวังมากขึ้น  ต้องการเห็นความโปร่งใสมากขึ้น
ในขณะที่ประชาชนและสังคมมีความคาดหวังมากขึ้น  ต้องการเห็นความโปร่งใส     ความไม่
พอใจและความขัดแย้งเริ่มเพิ่มมากขึ้น  หากปล่อยให้แต่ละโรงพยาบาลพัฒนาของตนเองไปเรื่อยๆ จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันการณ์  จำเป็นที่จะต้องสร้างกระบวนการเพื่อให้เกิดการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ  สร้างนวตกรรมและมาเรียนรู้ร่วมกัน  จึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้

จ. ความคาดหวังต่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

         เป้าหมายของ HA คือคุรภาพบริการสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง,ใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพของโรงพยาบาลย่อมได้รับประโยชน์  ผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงคือผู้ปฏิบัติงาน และผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับผลของการปฏิบัติงาน       

                   สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับคือ  ความเสี่ยงในการทำงานลดลง  ทำงานง่ายขึ้นจากการประสานงานที่ดีขึ้นและการนำนวตกรรมต่างๆ  เข้ามาปรับปรุงวิธีการทำงาน  บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น  ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองและมีโอกาสแสดงออก  และเกิดความภาคภูมิที่ได้ทำงานในหน่วยงานซึ่งมีระบบงานที่ดี

                   สิ่งที่ผู้ป่วยและญาติจะได้รับคือได้รับบริการที่มีคุณภาพ  ความเสี่ยงต่อการดูแลรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน  การประสบความสูญเสียหรือภาวะแทรกซ้อนลดลง  คุณภาพการดูแลรักษาดีขึ้น  ได้รับการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีของความเป็นคนมากขึ้น
                   สิ่งที่สังคมจะได้รับคือมีความเชื่อมั่น   ในระบบบริการสุขภาพว่าสามารถให้ความใว้วางใจได้ 
                     สิ่งที่ผู้บริหารจะได้รับคือมีความสบายใจในการบริหาร  มีเวลาที่จะคิดพัฒนาในภาพกว้างโดยไม่ต้องเสียเวลาคอยแก้ปัญหาในแต่ละวัน  โรงพยาบาลจะเป็นองค์กรเรียนรู้  สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความเป็นเลิศ  ทำให้องค์กรอยู่รอดและยั่งยืน
                     สิ่งที่องค์กรผู้จ่ายเงินจะได้รับคือการมีข้อมูลในการคัดเลือกโรงพยาบาล  หรือพิจารณาระดับการจ่ายเงินที่เหมาะสม
                    สิ่งที่องค์กรวิชาชีพจะได้รับคือ  มาตรฐานหรือข้อกำหนดต่างๆจะได้รับการนำไปปฏิบัติ
                    หากทำให้ทุกฝ่ายเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน  และมีความต้องการที่สอดคล้องกันมากเท่าไรจะยิ่งทำให้การพัฒนาคุณภาพเป็นไปได้ง่ายและมีความยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น

เท่านั้น

        ฉ. ความคาดหวังต่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
               เป้าหมายของการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้แก่:
              1) การกระตุ้นให้โรงพยาบาลเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  การประกาศให้สังคมทราบจะเป็นข้อผูกมัดที่โรงพยาบาลจะต้องดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ไม่ทำๆหยุดๆเหมือนไฟไหม้ฟาง
              2)   การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (social  accountability)  ซึ่งโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนจะต้องแสดงออก  เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจต่อระบบบริการของโรงพยาบาล  ด้วยการยินยอมให้องค์กรภายนอก  ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจระบบการดูแลผู้ป่วยเข้าไปประเมินตามกรอบที่ตกลงร่วมกัน
              3)   การให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค
             4) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน  โดยการที่ผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพของโรงพยาบาลต่างๆ  ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ประเมินในลักษณะของอาสาสมัคร

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 19051เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2006 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท