วันนี้ (14 มีนาคม 2549) ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตามโครงการวิจัยประบวนการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยแลได้มาตราฐาน ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีทีมงานและเครือข่ายเข้าร่วมฯ จำนวน 40 คน อาทิ
-
ทีมสำนักงานเกษตรจังหวัด 8 คน
-
คณะทำงานจากกรมส่งเสริมการเกษตร 4 คน
-
จากเขตฯ 6 เชียงใหม่ 1 คน
-
ทีมนักวิจัยจากสำนักงานเกษตรอำเภอ/กิ่งอำเภอ 26 คน
-
เครือข่ายจาก ม.ราชภัฎกำแพงเพชร 1 คน
วัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ทีมงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและนักส่งเสริมหน้างาน ได้เข้าใจถึงการนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มาเป็นกระบวนการทำงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตราฐาน และหาแนวทางการทำงานร่วมกัน กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้และได้ดำเนินการในวันนี้ ก็คือ
-
เริ่มภาคเช้าด้วยการปรับแนวคิดและการสร้างความเข้าใจให้แก่ทีมงาน โดยใช้การพูดคุย และได้นำเสนอ วีซีดี เกี่ยวกับการวิจัยชุมชนของจังหวัดน่าน
-
การนำเสนอข้อคิดเห็นถึงแนวคิดและการเรียนรู้ จากการดูวีซีดี สะท้อนการทำงานพัฒนา จากตัวแทนทั้งส่วนกลาง จังหวัด อำเภอ และจากมหาวิทยาลัยราชภัฎ
-
การนำเสนอกระบวนการและขั้นตอนการทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการจูนคลื่นความเข้าใจในภาพรวมร่วมกัน ในประเด็นโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย วิจัย PAR และการจัดการความรู้
-
(บ่าย) เริ่มด้วยกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียนโดยการฉายวีซีดีของ สคส. "ปัญหามา ปัญญามี" ตอนไปดูชาวบ้านจัดการความรู้เรื่องดิน และสรุปบทเรียนโดยตัวแทนนักส่งเสริม 2 ท่าน
-
การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในที่ประชุมเกี่ยวกับการนำกระบวนการวิจัยเข้ามาสู่งานประจำ โดยผมเป็นคนนำเสนอแนวคิดการจัดการความรู้ของสำนักงานเกษตรจังหวัด
-
การแบ่งกลุ่มนักส่งเสริมการเกษตรออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อสรุปผลความเข้าใจ และแนวทางที่จะนำไปทำงานวิจัย PAR ในพื้นที่
-
การสรุปภาพรวม และกำหนดกิจกรรมและนัดหมายการนำผลการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในครั้งต่อไป เลิกประชุมฯ เวลาประมาณ 16.30 น.
กิจกรรมการนำการวิจัย PAR มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยฯ กรมฯได้กำหนดให้จังหวัดดำเนินการนำร่อง ทีมงานได้ปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเกษตรของเรา ดังนั้นจึงเชิญนักส่งเสริมการเกษตรที่อยู่หน้างาน ในฐานะคุณกิจ จำนวน 26 ท่าน เข้าร่วมเป็นตำบลนำร่อง(เกินเป้าหมาย) และได้ผสมผสานหลายๆ กิจกรรมเข้ามาบูรณาการกัน เช่น การสอนงานและ ลปรร.การวิจัย(PAR) ให้แก่นักส่งเสริมฯ ทั้งมือเก่า และมือใหม่ และการทำงานวิจัยควบคู่ไปกับงานประจำ การสร้างทีมงานและการขยายเครือข่าย เป็นต้น
บันทึกมาเพื่อ ลปรร. ยังมีตอนต่อไปนะครับ
วีรยุทธ สมป่าสัก
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย สิงห์ ป่าสัก ใน KMนักส่งเสริมการเกษตร