สัจ สัตย์ สัด



ติ ปัจจัย (Suffix) ประกอบ ธาตุ (Root) ได้เป็น นามกิตก์
ปัจจัย (Suffix) ประกอบ ธาตุ (Root) ได้เป็น กริยากิตก์ (participle)

ยกตัวอย่าง เช่น

มร+ต=มต    (ตายแล้ว)
มร+ติ=มติ    (การตาย) [ความเห็นที่ไม่ดิ้นกระดุกกระดิก ความเห็นที่ตายแล้วไม่ดิ้นไปไหนอีก]
มน + ติ = มติ  (การรู้)
อ+มต=อมต  (ไม่ตายแล้ว)

 

สัจจังเว อมตวาจา : วาจาสัจ เป็นสิ่งที่ไม่ตาย

ใน เสภาขุนช้างขุนแผน  ตอนนางวันทองต่อว่าขุนแผน ตอนที่ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างไปง้อขอคืนดีกับนางวันทอง กวีเล่น คำว่า สัตย์-สัจ-สัด ไว้ดังนี้

ความสัตย์สารพัดจะสัจจัง         ที่แท้ถังดอกหนาใช่สัดไม่
น้ำลายคายขากจากปากไป       กลับ กล้ำกลืนได้ เจ้าดีจริง

ใน นิราศภูเขาทอง สุนทรภู่ ก็ได้มีการเล่นคำว่า สัตย์ และ สัด ไว้ดังนี้

                                           ๏ เดือนสิบเอ็ดเสร็จธุระพระวสา
รับกฐินภิญโญโมทนา              ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย
ออกจากวัดทัศนาดูอาวาส        เมื่อตรุษสารทพระวสาได้อาศัย
สามฤดูอยู่ดีไม่มีภัย                 มาจำไกลอารามเมื่อยามเย็น
โอ้อาวาสราชบุรณะพระวิหาร    แต่นี้นานนับทิวาจะมาเห็น
เหลือรำลึกนึกน่าน้ำตากระเด็น  เพราะขุกเข็ญคนพาลมารานทาง
จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง           ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง
จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง          มาอ้างว้างวิญญาณ์ในสาครฯ 

 คำว่า สัด เป็นมาตรวัดไทย สมัยโบราณ โดยเทียบได้ดังนี้

มาตรวัดไทย
                       

  8   ฟายมือ   =       1       ทะนาน
20   ทะนาน    =       1      ถัง
25   ทะนาน    =       1      สัด

 1    เกวียน     =    100     ถัง
 1    เกวียน     =      80     สัด 
 1    เกวียน     =  2,000    ลิตร

นางวันทองต่อว่าขุนแผนเป็นทำนองว่าไม่มีความซื่อสัตย์ ซ้ำยังไม่ได้เป็นสัด (25 ทะนาน) เมื่อไม่เป็นสัดนางวันทอง จึงบริภาษขุนแผนว่า "ที่แท้ถังดอกหนาใช่สัดไม่" (1 ถัง มี 20 ทะนาน)  กวีเล่นคำว่า สัตย์-สัจ-สัด

ใน นิราศภูเขาทอง สุนทรภู่ ถึงคราวตกยาก สุนทรภู่รำลึกได้ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.3) คงจะไม่ทรงโปรดตนสักเท่าใด เพราะเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระองค์ชายทับ) สุนทรภู่ได้เคยแก้กลอนของพระองค์ชายทับ กลางสภากวีหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเป็นลดพระเกียรติพระองค์ชายทับ สุนทรภู่ จึงขอลาออกจากราชการและบวชเป็นพระ เพื่อหนีราชภัยที่วัด ราชบุรณะ แต่ เหล่าพระด้วยกันก็คงจะกลัว พระสุนทรภู่ จะนำภัยมาสู่วัด สุนทรภู่ จึงต้องระเหเร่ร่อน ต่อไป ในกลอนเราจึงเห็น สุนทรภู่ใช้คำเชิงตัดพ้อ ความว่า

จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง           ก็ใช้ถังแทนสัดเห็นขัดขวาง
จึ่งจำลาอาวาสนิราศร้าง          มาอ้างว้างวิญญาณ์ในสาครฯ 


เมื่อพูดถึง ความ สัตย์ ในพระอภัยมณีคำกลอน ตอนที่อุศเรน มาขอร้องให้พระอภัยมณีเป็นเถ้าแก่ไป สู่ขอนางสุวรรณมาลี  ทว่าสินสมุทร ไม่เห็นด้วย (นางสุวรรณมาลี เอ็นดู สินสุมทรเหมือนดังลูก และสินสมุทรก็นับถือนางสุวรรณมาลีเหมือนดังแม่) พระอภัยมณี จึงพูดกับอุศเรนว่า 


พระฟังคำอ้ำอึ้งตะลึงคิด              จะเบือนบิดป้องปัดก็ขัดขวาง 
สงสารลูกเจ้าลังกาจึงว่าพลาง      เราเหมือนช้างงางอกไม่หลอกลวง
ถึงเลือดเนื้อเมื่อน้องต้องประสงค์   พี่ก็คงยอมให้มิได้หวง
แต่ลูกเต้าเขาไม่เหมือนคนทั้งปวง  จะได้ช่วงชิงไปให้กระนั้น 
พี่ว่าเขาเขาก็ว่ามากระนี้               มิใช่พี่นี้จะแกล้งแสร้งเสกสรรค์
เพราะเหตุเขารักใคร่อาลัยกัน        ค่อยผ่อนผันพูดจาอย่าราคี 


จากนั้นพระอภัยมณี ก็ได้พยามเกลี้ยกล่อมกับ สินสมุทรว่า

แล้วตรัสบอกลูกน้อยกลอยสวาท    เจ้าหน่อเนื้อเชื้อชาติดั่งราชสีห์ 
อันรักษาศีลสัตย์กัตเวที                ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคน 
ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา              เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน 
ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล           พระเวทมนต์เสื่อมคลายทำลายยศ
เพราะบิดามาด้วยอุศเรนนี้            คุณเขามีมากล้นพ้นกำหนด
เจ้าทำผิดก็เหมือนพ่อทรยศ          จงออมอดเอ็นดูพ่อแต่พองาม


จากบริบทในพระอภัยมณีคำกลอน เราจะพบสำนวนช้างงางอก ซึ่งเป็นสำนวนโบราณ และหากเราไม่รู้  ความหมายของสำนวนโบราณนี้ เราก็ยอมจะไม่สามารถที่จะเข้าถึงความลุ่มลึกของ พระอภัยมณีคำกลอนบทดังกล่าวได้ ทว่าสำนวนช้างงางอก นี้  ยังพอมีปรากฎอยู่ในโคลงโลกนิติ  มีใจความว่า


งาสารฤาห่อนเหี้ยน     หดคืน 
คำกล่าวสาธุชนยืน        อย่างนั้น 
ทุรชนกล่าวคำฝืน         คำเล่า
หัวเต่ายาวแล้วสั้น         เล่ห์ลิ้นทรชน๚ะ๛


งาช้าง(สาร) ยาม งอกออกมาจนยาวแล้ว มีหรือจะ(กลับสั้น) หดเหี้ยน ได้
สาธุชนผู้กล่าวยืนยันในคำสัตย์ คำสัตย์นั้นก็ย่อมที่จะยืนยงและยืนยาวต่อไปอย่างนั้น
ทุรชนผู้พยาม ฝืนกล่าวคำ อสัตย์ นั้นเล่า
คำ อสัตย์ ของผู้ทุรชน อุปมาดั่งหัวเต่า ที่ยืดยาวออกจากกระดอง แล้วกลับหดสั้นได้ (ลิ้นทรชน ยืดๆหดๆ เหมือนดังหัวเต่า)


โคลงโลกนิติ อีกบทหนึ่ง ก็ได้กล่าวถึง การรักษา วาจาสัตย์ เอาไว้ ความว่า

เสียสินสงวนศักดิ์ไว้      วงศ์หงส์ 
เสียศักดิ์สู้ประสงค์        สิ่งรู้ 
เสียรู้เร่งดำรง               ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้-       ชีพม้วยมรณา


ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้แปลโคลงโลกนิติบทดังกล่าวเป็นโคลงภาษาอังกฤษ ความว่า

Robbed of wealth, your pride         maintain.
Robbed of pride, do gain                things wise.
Robbed of wisdom, a gain              to faith.
Robbed even of life                        in faith ye be.  


ถ้าต้อง เสียทรัพย์สิน เพื่อรักษา ศักดิ์ศรี/ชื่อเสียง ของวงศ์ตระกูล ก็จงยอมเสียเถิด
ถ้าต้อง เสียศักดิ์ศรี/ชื่อเสียง ของวงศ์ตระกูล เพื่อแลกกับ วิชาความรู้ ก็จงยอมเสียเถิด
ถ้าต้อง เสียรู้เขา จงรักษา ความสัตย์เอาไว้
แม้ต้องเสียชีพ ก็อย่าได้เสีย สัตย์

ทั้งหมดนี้คือ ค่านิยมว่าด้วยเรื่อง ความสัตย์ ที่พบในวรรณคดี เท่าที่ผู้เขียนพอจะสามารถนำมาประมวลเอาไว้ได้ ณ ที่นี้

คำสำคัญ (Tags): #สัจ สัตย์ สัด
หมายเลขบันทึก: 189905เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

+ หวัดดีน้องกวิน...ที่ล้านคิดถึง

+ อ่านแล้ว...เป็นความรู้ใหม่ค่ะ

+ ยังคุยกับครูน้องโย่งเลยว่าท่านกวิน...นี่สุดยอดจริง ๆ

+ อิ อิ

ความสัตย์กับวรรณคดีที่ถ่ายทอดออกมาตั้งแต่โบราณ....

แสดงถึงความยึดมั่นในคุณธรรมข้อนี้ของคนไทยมาเป็นเวลายาวนาน...

อยากบอกว่าสุดยอดอีกคนครับ...

ขอบคุณมากครับ...

มาสวัสดีท่านกวีเอกกวิน  อ่านบันทึกท่านทีไร ต้องกินกาแฟทุกทีแค่ชื่อก็.......อยากเข้ามาอ่าน เวลาอ่านก็ต้องบรรจงดู  แต่ก็อยากเข้ามาดู...อิอิ  ก็คนน่ารัก  รักษาสุขภาพนะครับ

มาอ่านบันทึกที่ละเอียดและงามครับ

"คนที่ไม่รักษาคำสัตย์ก็เหมือนกับเขาลดคุณค่า ทำลายศักดิ์ศรีของตัวเอง สุดท้ายชีวิตก็ว่างเปล่า ไม่มีแก่นสารและคุณค่าใดที่จะอ้างอิงถึง"

ขอบคุณมากครับ :)

มร+ติ=มติ    (การไม่ตาย) คำพูดที่ไม่ดิ้นกระดุกกระดิก (คำพูดที่ตายแล้วไม่ดิ้นไปไหนอีก)

จากบันทึกข้างบน ซึ่งเห็นชัดเจนว่าผิดพลาดอยู่....อาจารย์ลองตรวจสอบอีกครั้ง ว่าลอกมาถูกต้องหรือไม่...

เจริญพร

  • นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut ขอรับ
  • ผิดโดยการแยกศัพท์ หรือผิดที่คำแปล ขอรับ
  • ถ้าผิดโดยคำแปล (ก็เพราะกระผมแปลให้ตลกๆ นะครับ)
  • ถ้าผิดโดยการแยกศัพท์ (เพราะไม่สันทัดในไวยากรณ์) ครับกระผม
  • ขอความเมตตานุเคราะห์ พระคุณเจ้าช่วยชี้แนะ ศัพท์+อรรถ ที่ถูกต้องด้วย ขอรับกระผม
    • สวัสดีครับคุณแม่น้อง  แอมแปร์ ขอบคุณที่แวะมาอ่านและให้กำลังใจครับ ฝากความคิดถึงๆ แฟนคุณพี่ +น้องแอมแปร์ ด้วยนะครับ
    • สวัสดีครับ Mr.Direct วรรณคดีสะท้อนค่านิยมของมนุษย์ บางทีเราก็หลงลืมค่านิยมของบรรพบุรุษ ที่สั่งสอนเราไว้ บทความนี้พยาม ทบทวนค่านิยมเดิมของคนโบราณ ครับ ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจ ครับ
    • สวัสดีครับท่าน ผอ.ประจักษ์ มิตรรักอักษรา
    • เมื่อคืนรีบๆ เขียน ความคิดยังกระโดดไปกระโดดมาเป็นกบ อยู่บ้างครับกระผม ขอบคุณอาจารย์ที่มาให้กำลังใจครับ รักษาสุขภาพเช่นกันนะครับ

     

    • สวัสดีครับพี่ จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ขอบคุณที่สรุปใจความสำคัญของบทความให้สั้นกระชับนะครับ
    • สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ พรรณา ผิวเผือก  โอ้ว โล่งอก นึกว่าเข้ามาดู สัตว์..(โลกเป็นไปตามกรรม) ฮาๆเอิกๆ

    สวัสดีค่ะ

    * มาเชิญไปร่วม tag

    http://gotoknow.org/blog/emae/189986 ความลับกับครูพรรณา

    * มีความไม่ลับอะไรรีบบอกมาเสียดีๆ (อย่าให้ต้องบังคับ)

    • นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut อีกครั้งขอรับ ว่าด้วยเรื่อง
    • มร+ต=มต    (ตายแล้ว)
      มร+ติ=มติ    (การไม่ตาย) คำพูดที่ไม่ดิ้นกระดุกกระดิก (คำพูดที่ตายแล้วไม่ดิ้นไปไหนอีก)
      อ+มต=อมต  (ไม่ตายแล้ว)
    •  จริงอย่างพระอาจารย์ ทักท้วงมานะขอรับกระผม พิมพ์ผิด/พิมพ์เกิน ตรงคำว่า มร+ติ=มติ    (การไม่ตาย)ผม เผลอใส่คำว่า ไม่ ลงไป 

    • ในส่วนของคำแปลในวงเล็บนั้น เพราะคิดเชื่อมโยงกับ ประโยคที่ว่า

    • มติในที่ประชุม มีอยู่ว่า...

    • การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 50

    • จึงทำให้เขว หลงคิดไปว่า มติ ในบริบทของภาษาไทย คงหมายถึง คำพูด ที่ไม่ดิ้นกระดุกกระดิก (คำพูด ที่ตายแล้วจึงไม่ดิ้นอีก จินตนาการลึกล้ำมั้ยครับ แฮ่ะๆ)

    • แต่ในข้อเท็จจริง

      มติ  [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้;  ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).

    • เลยถึงบางอ้อว่า มติ เป็นความคิดในใจ ยังไมได้กล่าวออกมา (เป็นความคิดที่จริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้ เป็นความคิดที่ สัตย์ ก็ได้ อสัตย์ ก็ได้)

    • แต่ก็ คิดสงสัยในพุทธพจน์ ที่ว่า 

      สัจจังเว อมตวาจา : วาจาสัจ เป็นสิ่งที่ไม่ตาย

    • ถ้าวาจาสัจ ยัง อมต/อมติ (ไม่ตาย : ยังดิ้น กระดุกกระดิก ถ้าแปลแบบนี้คงเป็นตรรกศาสตร์ที่ผิด เพราะ ทำให้ ไขว้เขวไปว่า   อมตวาจา =คำพูดที่ซัดส่าย (ดิ้นกระดุกกระดิก) แปลไปได้ หนอ นายกวิน ฮาๆเอิ๊กๆ

    • ต้องแปลว่า สัจจ/สัตย์ นี้เป็น อมตวาจา เพราะไม่มีใครสามารถทำลาย  สัจจ/สัตย์ (ความจริง) ให้มลายหายไปจากโลกได้ ทำอย่างไร สัจจ/สัตย์ (ความจริง) ก็ไม่ตาย/ไม่เปลี่ยนแปลง  

    • นี่ถ้า กระผม ลงสอบบาลีสนามหลวง ผมคงจะต้องสอบตกนะครับกระผม พระอาจารย์

    • สวัสดีครับคุณพี่อาจารย์ พรรณา ผิวเผือก
    • น้องกวินคิดว่า วิถีชีวิตของน้องกวินไม่ค่อยน่าสนใจที่จะศึกษาเท่าไรเพราะถ้าน่าสนใจคงมี คนมาทำสารคดีชีวิตของน้องกวินแล้วล่ะ (สารคดีสัตว์โลกน่ารัก) คิคิคิ

    สวัสดีค่ะ

    เข้ามาหลาย อิ อิ

    มารอข้อสรุปเรื่อง มติ = การตาย และความเห็น ค่ะ

    ขอบคุณค่า

    อุ้ย! พิมพ์ตกค่า เข้ามาหลายรอบ คาดว่าคงหิวมากค่ะตาลาย

    สวัสดีครับ คุณกวิน ผมลูกเสือเก่าครับ เสียชีพอย่าเสียสัตย์ แล้วก็ขอขอบคุณเพลงเพราะ ๆ  เพลงทานตะวัน ที่จัดประกอบครับไม่ได้ฟังนานแล้ว และเสียงขลุ่ยดังกังวานสะท้านใจ ไพเราะมาก

    • สวัสดีครับคุณ นฤมล ผมก็รอข้อสรุปากพระอาจารย์อยู่นะครับ แต่คิดว่าสิ่งที่ผมได้แจกแจง น่าจะไม่ผิด(มาก) ฮาๆเอิ๊กๆ ขอบคุณที่แวะมาอ่านอย่างตั้งในครับ
    • สวัสดีครับคุณพี่ เอกราช แก้วเขียว อืมๆๆ พี่ๆๆพูดประโยค เสียชีพอย่าเสียสัตย์มานี่ ดีมากๆๆเลยครับ เดี่ยวเอาโคลงโลกนิติอีกบทเพิ่มเข้าไป ขอบคุณค้าบบบบบบบบบบ
    • เสียชีพอย่าเสียสัตย์ เสียเข็มขัดอย่าเสียกางเกง ฮาๆ เอิกๆ
    • เพิ่มโคลงโลกนิติ เข้าไปอีกหนึ่งบทแล้วครับว่าด้วยเรื่อง เสียชีพอย่าเสียสัตย์

    สวัสดีครับคุณ นฤมล ได้ข้อสรุป โดย พระคุณเจ้า BM.chaiwut ท่านได้ วิสัชชนา ไว้ใน @12960 ว่าด้วยเรื่อง ศัพท์

    มร + ติ = มติ (ความตาย)
    มน + ติ = มติ (ความรู้)

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท