กงล้อ...ชีวิต (การต่อสู้ของชาวบ้าน)


อำนาจแห่งการต่อสู้กับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชน

อำนาจแห่งการต่อสู้กับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชน

โดย ส.ศรัณ

       มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย ภาคใต้ตอนล่าง

 

กงล้อ...ชีวิต (การต่อสู้ของชาวบ้าน)

คำบอกเล่าที่ว่า หากคนเลหาปลาไม่ได้ คนเมืองก็ลำบากจะกินอะไรกัน เป็นสิ่งที่สื่อให้เห็นถึงสุภาษิตที่ว่า น้ำต้องพึ่งเรือ เสือต้องพึ่งป่า เพราะการต่อสู้ของเครือข่ายคนเลแห่งบ้านแหลมมะขามนำโดยปะบูบอกว่า การต่อสู้ของปะเป็นเหมือนการต่อสู้ของคนทั้งเมืองตรัง หากแหลมมะขามไม่สามารถหาปลาส่งเข้าตลาดได้ คนในเมืองก็คงต้องหากินยากด้วย หรือก็ต้องซื้อของที่แพงขึ้น มันก็เหมือนโดมิโนที่หากล้มก็คงต้องล้มทั้งแผง เช่นเดียวกันหากคนสวนทำสวนไม่ได้ คนในเมืองหรือคนที่บริโภคก็ต้องซื้อของที่แพงขึ้นหรือหากินยากขึ้นฉันใดฉันนั้น

สิ่งนี้เป็นเรื่องการต่อสู้ของคนอาชีพประมงที่บ้านแหลมมะขาม อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง คนที่นำกลุ่มชาวบ้านเข้ามาในเมืองครั้งแรกคือ นายบู นวลศรี ผู้เฒ่านักต่อสู้ที่ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี 2536 สภาพโดยทั่วไปของทะเลที่แหลมมะขามถึงจุดที่เลวร้ายที่สุดนั้นคือ พวกเขาไม่สามารถทำมาหากินกับทะเลได้เลย เพราะว่าการลำเลียงของน้ำเสียที่ส่งไปยังแหลมมะขาม ก็เป็นโดยสภาพทั่วไปของการพัฒนาที่มีอะไรก็ส่งลงทะเล น้ำเน่าเสียต่าง ๆ ส่งผ่านไป เมื่อนานเข้ามันทำให้ระบบนิเวศน์ของป่าชายเลนเสีย การอนุบาลสัตว์เล็กสัตว์น้อยก็พลอยหล่มสลายไปด้วย มันไม่ได้แค่ส่งผลเสียแค่คนเลอย่างปะหรือคนในหมู่บ้านแหลมมะขามเท่านั้น ปะบูบอก

กลุ่มชาวบ้านและปะบูได้เข้ามาในตัวเมืองเพื่อบอกกล่าวให้คนในตลาดได้รับรู้ถึงปัญหาของพวกเขาที่จะส่งผลถึงพวกคนเมืองทั้งหลาย กลับได้ยินคำพูดที่ว่าเป็นเรื่องของคนเลไม่เกี่ยวกับคนเมือง ปะได้บอกกลับไปว่า หากคนเลไม่สามารถหาปลาได้ แล้วคนเมืองจะกินอะไร หากมีก็คงแพงขึ้น มันไม่ใช้ปัญหาของคนเล แต่มันเป็นปัญหาของคนทั้งหมด มันเหมือนโซ่ที่คล้องคอเราทั้งหลายเข้าด้วยกัน ไม่ใช้ปัญหาของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากคนเมืองไม่รักษาสภาพแวดล้อมทำน้ำเสียมากเข้า ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมาส่งผ่านไปยังทะเลที่เป็นแหล่งทำกินของเราทำให้เราไม่สามารถหากินได้แล้วตอนนี้ ท่านจะว่าอย่างไร นี่คือการบอกเล่าของปะบู

การต่อสู้ครั้งนั้นปะบอกว่ามันถึงจุดแล้วที่ต้องออกมาบอกกล่าวให้คนได้รับรู้ว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เราชาวเลจะแก้ไขได้โดยลำพังเพราะต้นเหตุมันไม่ได้เริ่มที่ทะเล เพราะพวกเขาทำกินแค่พอเลี้ยงปากท้องได้เท่านั้น ไม่ได้ทำเพื่อการค้าที่ใหญ่โต ไม่มีอวนรุน อวนลาก เพราะสิ่งเหล่านี้ปะบูต่อต้านมาตลอดเช่นกัน ปัญหานี้ปะบอกว่าเหมือนลูบหน้าปะจมูก เหมือนกงล้อที่เวียนมาบรรจบที่เดิมเหมือนกันหมด วนอยู่อย่างนั้น และเมื่อเป็นอย่างนี้เราจึงจำเป็นต้องช่วยกันทั้งหมด ชาวเลต้องรู้จักรักษาที่ทำกินคือทะเล ไม่หากินแบบฉาบฉวย ชาวเมืองก็ต้องรักษาสภาพแวดล้อมเพื่อว่ามันจะไม่ส่งผลเสียลงสู่ทะเลมากนัก เมื่อต่างฝ่ายต่างช่วยสิ่งดี ๆ ก็ตามมาเอง

การต่อสู้ของเครือข่ายแหลมมะขามเป็นการต่อสู้เพื่อปากท้องที่เป็นเรื่องสำคัญของการดำรงชีวิตของพี่น้องในหมู่บ้าน แต่ผลที่ได้รับมันไม่ใช่แค่มีที่ทำกินตลอดลูกหลานเท่านั้น แต่การต่อสู้ครั้งนั้นทำให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่างที่เข้าสู่หมู่บ้านแหลมมะขามรวมถึงปัญหายาเสพติดด้วย  ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ได้ถูกแก้ไขด้วยการจัดการของชาวบ้านเอง ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีแกนหลักที่เกิดจากความศรัทธาในตัวบุคคลนั่นคือ ปะบู ที่เป็นคนคอยเป็นแกนให้กับชาวบ้านในการแก้ไขปัญหา แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาอีก แต่ชุมชนนี้พร้อมเสมอหากมีปัญหาเข้ามา ตัวอย่างนี้น่าจะเป็นเหมือนกระจกส่องให้หลายชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของความสมานสามัคคีของคนในหมู่บ้านที่จะตั้งรับกับปัญหาได้เป็นอย่างดี....

และแล้ว ติดตามตอนที่ 2 อาทิตย์หน้าค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 189902เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีคุณ ส ศรัณ

ใด้รับรู้แนวคิดในต่อสู้เพื่อดำรงอยู่ ของคนหากินเล

อ่านแล้วนึกนึกถึง ร่อหีม ในเรื่อง เด็กชายชาวเล ของ อ. ถา (สถาพร ศรีสัจจัง)

ดีใจค่ะที่สามารถสื่อให้เห็นถึงวิถีของคนบ้านเราได้ แม้วิธีการเขียนจะไม่ดีเท่าไร แต่สิ่งสำคัญกว่าการเขียนคือ เจตนาที่อยากให้เห็นวิถีชีวิตจริง ๆ ของชาวบ้านเรา ยังไม่เคยอ่านของ อ.สถาพร เลยค่ะ หากมีโอกาสอยากจะศึกษาเช่นกันค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจชีวิตชาวเลเลยครับ และก็เป็นความจริงเสียด้วยที่ทุกๆชีวิตต่างก็เชื่อมโยงกัน จึงมีผลกระทบต่อกันไม่มากก็น้อย

ขอให้ทุกคนมีความสุขและสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยดีนะครับ

สวัสดีค่ะ.... พี่น้อง

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็มักมีผลกับคนอื่นด้วยเสมอค่ะ

เราต้องช่วยกัน ร่วมกัน ตระหนัก คิดและแก้ไข หาทางออกด้วยวิธีที่ดีที่สุดนะคะ

เป็นกำลังใจให้พี่น้องนะคะ

สวัสดีคะ

อ่านแล้วทำให้ได้แนวคิดหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่ เรื่องคนเล คนเมือง แต่สื่อ ให้เห็นถึงปััญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราไปมองแค่ปลายของปัญหา แต่เราไม่ได้ มองที่ต้นเหตุ และ ผลกระทบที่เกิดขึ้นว่ากระทบส่วนไหนบ้าง

และ  สิ่งที่ทำให้ก้ามปูคิดอีกอย่างคือการสื่อสาร ความเข้าใจ ต่อ เหตุการณ์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ข้อมูลของแต่ละฝ่าย ที่จะ ส่งให้กันและ กัน ให้เข้าใจ กัน เป็นเรื่องสำคัญ เรื่องนี้เป็นตัวอย่างได้ดีทีเดียวสำหรับก้ามปู ขอบคุณมากคะ

ขอบคุณผองเพื่อนทุกท่านค่ะ ที่ได้แสดงความคิดเห็น บอกเล่ากลับสิ่งที่น้องสื่อออกไป ทำให้น้องได้ความรู้ใหม่จากหลากหลายมุมที่สะท้อนมา ซึ่งเชื่อว่ายังมีอีกหลายมุมในสังคมไทย(เท่าที่พบประสบ)น้องก็เป็นเพียงบุคคลหนึ่งที่อยากเล่าสู่ถึงบุคคลในเรื่องที่ทำเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวได้มีกำลังใจในการเดินงานต่อไป บุคคลที่ต่อสู้ในเรื่องอายุ 70 กว่าแล้ว แต่การต่อสู้ของเขายังไม่จบสิ้น และเขาคิดว่าจะต่อสู้เรื่องนี้จนหมดลมหายใจ ซึ่งมีต่อในภาค 3 เขาคนนี้น่าสนใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท