Hyperventilation syndrome โรครับน้องใหม่


โรครับน้องใหม่ ท๊อปฮิต Hyperventilation syndrome ไม่กล่าวถึง คงไม่ได้

สวัสดีค่ะทุกท่าน

ช่วงนี้เป็นช่วงเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ของทุกสถาบันนะคะ ช่วงนี้เป็นช่วงรับน้องใหม่ มีกิจกรรมมากมายคอยต้อนรับและดูแลน้อง ๆ นักศึกษาใหม่ ทั้งส่วนคณะ/สถาบันและส่วนของรุ่นพี่ ที่ร่วมมือพัฒนาวิธีการรับน้องอย่างเข้มแข็ง  เช่น รับน้องจากขบวนรถไฟ ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บายศรีสู่ขวัญ แนะนำสถานที่ ปฐมนิเทศ รอดซุ้ม ประชุมเชียร์  กีฬาสี ละครน้องใหม่ ฯลฯ

พูดถึงน้องใหม่ ซึ่งใหม่ต่อทุกสิ่งที่พบเห็น ใหม่ทั้งผู้คน สถานที่ ถนนหนทางและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ต้องห่างจากบ้าน ครอบครัว ห่างจากพ่อแม่ที่คอยดูแลทนุถนอม ก้าวเข้าสู่รั้วของสถาบันระดับอุดมศึกษาเพื่อศึกษาและเรียนรู้ในศาสตร์ที่ตนเลือก เพียงเพื่อหวังให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อสังคมในวันข้างหน้า  

งานในช่วงนี้  รุ่นพี่แต่ละคณะ ก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะดูแลน้องใหม่ในช่วงจัดกิจกรรมต่าง ๆ  อย่างเต็มที่ เพราะอาจเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดกับน้องใหม่ได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งกิจกรรมในช่วงที่อบอุ่น อุ่นใจ และ กิจกรรมในช่วงเที่ครียดและกดดัน    

กิจกรรมช่วงที่อบอุ่น อุ่นใจ อาจพบ

เป็นลม หมดสติ เนื่องจาก ตื่นเต้น นอนไม่หลับ ทานอาหารไม่ได้ ไม่ได้ทานอาหารเพราะถูกเร่ง  

เป็นไข้  เป็นหวัด  เนื่องจาก อากาศเปลี่ยน ร้อนบ้าง หนาวบ้าง หรือมีฝนตก  

ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ  เนื่องจาก ไม่คุ้นชินอาหาร หรือ ทานอาหารไม่ระวัง 

อุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางถนน  รถล้ม รถชน เป็นส่วนใหญ่   

กิจกรรมช่วงเที่ครียดและกดดัน    อาจพบ

  • ปัญหาสุขภาพ ยังคงเป็นอยู่ทุกข้อ เหมือนในช่วงกิจกรรมในช่วงที่อบอุ่น อุ่นใจ

  • ปัญหาที่เพิ่มและจะทวีเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่ระมัดระวัง ก็คือ กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป หรือ ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า Hyperventilation syndrome นั่นเอง

อะไรบ้างที่น่าเป็นห่วง

  • ประเด็นปัญหาสุขภาพ หากน้องไม่ไหว ก็คือ ไม่ไหว

  • ต้องรีบแก้ไข โดยให้การช่วยเหลือปฐมพยาบาลตามอาการ ดูแลเบื้องต้น

  • เรียกขอใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือเรียกหน่วยกู้ชีพ โทร 1669  เพื่อนำส่งพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

ส่วนประเด็นที่เป็นปัญหากล้ำกึ่ง ว่าจะทำอย่างไรดี เมื่อน้องอยู่ ๆ ก็มีอาการ เป็นลม กระพริบตาถี่ ๆ หายใจเร็ว ๆ  หอบถี่ ถี่ขึ้น  มือ เท้า เริ่มจีบเกร็ง  ตาเหลือกค้าง  ชักกระตุก  กลุ่มอาการเหล่านี้แหล่ะค่ะที่เรียกว่า  กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป (Hyperventilation syndrome ) นั่นเองค่ะ

คราวนี้  เรามาทำความเข้าใจกันต่อนะคะว่า

 

Hyperventilation syndrome (กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป) ดังกล่าวนี้ คืออะไร ? ป้องกันได้ไหม ? และถ้าเป็นจะจัดการอย่างไร

Hyperventilation syndrome คืออะไร ?

Hyperventilation syndrome เป็นกลุ่มอาการ หลาย ๆ อาการ ซึ่ง เกิดจากการหายใจมากเกินไป ลักษณการหายใจตื้นๆถี่ๆ หรือหายใจไม่ถี่มากแต่ลึกหรือทั้งหายใจถี่และลึกก็ได้  จนทำ ให้เกิด hypocapnia (ภาวะคาร์บอนไดออกไซ์ ในเลือดต่ำ) และ respiratory alkalosis (ภาวะเลือดเป็นด่างจากการหายใจ) และมีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา

กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป ป้องกันได้ไหม ?

Hyperventilation syndrome ป้องกันได้  เพราะสาเหตุ ขึ้นกับ 3 ปัจจัย  คือ

ด้านน้องใหม่  (ผู้เขียนเคยเข้าไป Comment ไว้ที่บันทึกน้องจิ)

  • ยิ้มสู้ ไว้  ยิ้มสู้ ไว้    ค่ะ

  • บอกกับตัวเองว่า ไม่มีอะไร ไม่มีอะไร

  • หายใจเข้า-ออกลึก ๆ ช้า ๆ ไว้นะคะ 

  • อย่าหายใจเร็วเด็ดขาด

  • ถ้าไม่ไหวจริง ๆ  ยกมือสูง ๆ บอกพี่เขาเลยนะคะ

สำหรับรุ่นพี่ 

  • ต้องแบ่งกลุ่ม ไม่มีเฉพาะ ว๊ากเกอร์  เพียงด้านเดียว

  • แต่จะต้องมอบหมาย ให้มีผู้ดูแลด้านสุขภาพของน้อง ๆ ร่วมด้วย

  • บางบทบาทต้องเป็นตัวแทนของผู้ให้ความอบอุ่น เป็นพี่ เป็นป้า น้า อา  

  • คอยเข้าใจและปลอบใจ และเป็นตัวแทนปรับกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

  • ที่สำคัญผู้ดูแลต้องเข้าใจ หลักการดูแลเบื้องต้น

สถานการณ์ & สิ่งแวดล้อม

  • ต้องระมัดระวัง ต้องวางแผน และมีระบบเตือนกัน

  • ต้องปรึกษาผู้ใหญ่ อาจารย์

  • ต้องมีระบบร้องเรียนรับฟังความิดเห็นของน้อง ๆ และคนรอบข้าง

กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป และถ้าเป็นจะจัดการอย่างไร ?

  • วิธีจัดการไม่ยาก ถ้าเราเข้าใจ 

  • คราวนี้ ผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลมาให้ศึกษาเพิ่มเติม  และมาบันทึกบอกต่อไว้ในที่นี้ให้ด้วยนะคะ

++++++++++++++++++++++++++++++++==

กลุ่มอาการหายใจมากเกินไป

Hyperventilation syndrome

เกิดจากการหายใจมากเกินไป โดยอาจจะเกิดจากการหายใจตื้นๆถี่ๆ หรือหายใจไม่ถี่มากแต่ลึกหรือทั้งหายใจถี่และลึกก็ได้ จนทำ ให้เกิด hypocapnia (ภาวะคาร์บอนไดออกไซ์ ในเลือดต่ำ) และ respiratory alkalosis (ภาวะเลือดเป็นด่างจากการหายใจ) และมีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา

การที่ผู้ป่วยหายใจเร็วทำ ให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง เกิด respiratory  alkalosis  ผลติดตามมาที่สำคัญ คือ การเกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง

นอกจากนั้น  ฮีโมโกลบินยังจับตัวแน่นกับออกซิเจน การปลดปล่อย
ออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่เลือดไหลเวียนผ่านลดลง

การมีออกซิเจนตํ่า ทำ ให้เกิดอาการเวียนศีรษะ รู้สึกตื้อทึบ มึนงง สับสน หน้ามืด จะเป็น ลม ตาพร่ามัว หายใจขัด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น และมือเท้าเย็น เป็นต้น อาการเหล่านี้จะทำ ให้ผู้ป่วยตกใจมากกลัวจะเป็นอะไรไป ยิ่งทำ ให้หายใจหอบมากขึ้น

นอกจากนี้การที่เลือดมีภาวะเป็นด่างทำ ให้แคลเซียมอิออนซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลง เกิดอาการเหน็บ ชาบริเวณริมฝีปาก ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้อเกร็ง ต่อมานิ้วจะเหยียดเกร็ง (carpopedal spasm) ถ้ามากจะมีอาการมือจีบ (Accoucheurs hand)  นั่นไง มาแล้วมือจีบ

สำหรับผู้ที่มีอาการเหล่านี้  ต้องถามอาการและตรวจอย่างละเอียด เพื่อแยกภาวะทางกาย ที่อาจมาด้วยอาการเช่นนี้ได้ ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia), ภาวะชัก (seizure), โรหอบหืด (asthma), โรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง (myocardial infarction) เป็นต้น เพราะมันเป็นโรคที่สามารถเกิดอาการคล้ายกันได้

ส่วนวิธีรักษาก็ทำสามารถจัดการได้อย่างนี้ค่ะ 

ผู้ป่วยเองสามารถทำให้อาการเหล่านี้หายเองได้ โดยควบคุม การหายใจให้น้อยลงซึ่งมีหลายวิธีได้แก่

  • การใช้ถุง กระดาษ ใบโต ๆ ครอบปากครอบจมูกเวลาหายใจเพื่อให้หายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนไป  การคลุมโปงหายใจในผ้าห่ม ใช้หลักการเดียวกับการครอบถุงกระดาษ

  • การฝึกหายใจด้วยท้องโดยมุ่งความสนใจมาที่ท้อง ให้ท้องโป่งออกเวลาหายใจเข้าท้องแฟบลงเวลาหายใจออก

  • การกลั้นหายใจ นับ 1- 4 ในใจ แล้วจึงหายใจออก ทำซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ

  • การควบคุมลมหายใจด้วยการฝึกสมาธิ

สามวิธีนี้หลังเป็นการควบคุมการหายใจไม่ให้หายใจมากเกินไป วิธีการต่างๆที่กล่าวมาจะทำให้ร่างกายค่อยๆสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นมาทำให้อาการต่างๆค่อยๆหายไป ในบางครั้งถ้าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองให้หายใจน้อยๆได้  แพทย์อาจให้ยาคลายกังวลเพื่อให้จิตใจสงบลงและหายใจช้าลงเองได้  ยาที่ใช้อาจเป็นยากินหรือยาฉีดก็ได้

 

วิธีฝึกหายใจอีกแบบหนึ่ง

1.  กลั้นหายใจ นับ 1 ถึง 5 (ไม่ต้องหายใจลึก)
2. เมื่อนับถึง 5 แล้วให้หายใจออก พร้อมกับจินตนาการภาพตัวเองกำลังผ่อนคลาย
3. หายใจเข้าและออกช้า ๆ อย่างละประมาณ 3 วินาที ให้สังเกตว่าลมหายใจกระทบขอบในของจมูกขณะหายใจ พร้อมกับจินตนาการภาพตัวเองกำ ลังผ่อนคลายทุกครั้งที่หายใจออก (โดยรวมหายใจเข้าออก 10 ครั้ง ต่อนาที)
4. ทุก 1 นาที (หรือเมื่อหายใจครบ 1 ครั้ง) ให้กลั้นหายใจ นับ 1 ถึง 5 (ไม่ต้องหายใจลึก)
5. หลังจากนั้นเริ่มหายใจเข้าและออกช้าๆ อย่างละประมาณ 3 วินาที ดังเดิม

เพิ่มเติม 

พี่ ๆ ต้องรีบกันตัวสาเหตุที่กระตุ้นที่ทำให้น้องกลัวออกไปก่อน

อาจจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นสัดส่วน ให้อยู่เงียบ ๆ 

อาจใช้ท่าทางดูแลประคับประคองจิตใจ

ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ดูแล จะใช้วิธี ก้มประคอง ไปแตะบ่า ตบสัมผัสเบา ๆ  พร้อมพูดให้กำลังใจ และช่วยพูดกำกับเพื่อช่วยให้น้องควบคุมการหายใจเข้าสู่ภาวะปกติได้ ว่า 

"น้องงงงง น้องจ๊ะ  ใจเย็น ใจเย็นนนน..... น้า ขอให้น้องหายใจเข้าออกลึกๆ น้าค้า....อ้าววว ..หายใจนะ...หายใจเข้า.........หายใจออก...............เข้า........ออก......เข้า....ออก........ไปเรือย ๆ จนกว่าน้องจะหายใจเป็นปกติ 

ที่สำคัญพี่ ๆ ต้องไม่ตื่นเต้น ถึงขั้น พาน้องหายใจเร็วเอง นะคะ

 

  • ถ้าน้องมีอจีบ  ก็ค่อย ๆ แกะออกให้ผ่อนคลาย 

  •  ถ้าน้องจะหลับให้หลับไปเลย

หากไม่ไหวจริง ๆ  อย่าลืม โทร  1669  เรียกหน่วยกู้ชีพ มารับน้องไปโรงพยาบาลนะคะ

ก็ขออวยพรให้พี่น้องทุกสถาบันจัดกิจกรรมรับน้องใหม่อย่างความสุข และผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้อีกแรงค่ะ

ด้วยความห่วงใย

กัญญา

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++=

แหล่งข้อมูล

http://mupan.multiply.com/reviews/item/3

 

หมายเลขบันทึก: 186712เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2008 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

การประชุมเชียร์ของ มมส  ผ่านพ้นไปด้วยดี ...  เพิ่งปิดเชียร์วันที่ 5  มิถุนายน  คงเหลือการลอดซุ้มอีกครั้งในวันที่ 21 หรือ 22 นี่แหละครับ  ผมเองก็จำไม่ได้

บางทีผมเองก็รู้สึกว่า กิจกรรมประชุมเชียร์ หรือรับน้อง เป็นพิธีกรรมที่นิสิตได้สร้างขึ้นมาอย่างเข้มแข็งและมีอิทธิพลต่อนิสิตนักศึกษาในสถาบันนั้นเป็นอย่างมาก

ในอดีตที่ มมส ... บังคับเข้าทุกคน แต่ทุกวันนี้ให้เสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรม

.....

สำหรับข้อมูลอันเป็นความรู้ในบันทึกนี้  ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ให้สต๊าฟได้เรียนรู้ต่อยอดกันต่อไป นะครับ

ด้วยความยินดีค่ะ อาจารย์

แวะมาค้นหาคุณ WIN WIN

พอจะเจอได้ไหมครับ....................อิอิ

  • เมื่อเช้า ตืนนอน ยังไม่ได้เข้าระบบค่ะ
  • อ่านแล้ว อยากให้ทุกฝ่ายชนะ ค่ะ
  • เลยตั้งชื่อ WINWIN ค่ะ
  • เป็นไงคะ ท่าน บทกลอนเข้าท่าไหมคะ

ดีครับ

ความหมายดีมากครับ  ปรับปรุงเรื่องตัวสัมผัสซะหน่อยจะดีกว่านี้ครับ...........อิอิ ทำเป็นผู้สันทัด  ผมก็เพิ่งหัดแต่งเหมือนกันครับ......ฮ่าๆๆๆ

ไว้มีเวลาคุยกันที่กล่องครับ

  • รับทราบ เดี๋ยวเอามาปรับอีก ค่ะ
  • เพราะได้ความรู้จากเพื่อนสมาชิก g2k ที่เป็นนักกวีหลายคน เลยคิดฝันอยากฝึกแต่งบ้างค่ะ  
  • ขอบคุณค่ะ
  • ตอนนี้เด็กๆน้องใหม่เจอโรคนี้มากๆ
  • เดี๋ยวจะเอาไปให้รุ่นพี่เขาอ่าน
  • ขอบคุณครับพี่
  • ด้วยความยินดีค่ะ อ.ขจิต 
  • พวกเราช่วยกันดูแลเด็ก ๆ ไม่ให้บอบช้ำจนเกินไปนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณกัญญา  ละเอียดรอบครอบดีมากครับ  มีประโชยน์มากครับ

  • ขอบคุณค่ะ ท่าน ผอ. ที่แวะมาให้กำลังใจ
  • ถ้าเป็นประโยชน์ ยินดีให้นำไปปรับใช้ค่ะ

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครูกัญญา

ตรงเป๊ะเลย 55555++...โดนว๊าก แงๆๆๆๆๆๆๆ น้องจิโดนดุด้วย ....คิดถึงนะค่ะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---> น้องจิ ^_^

  • สวัสดีค่ะ น้องจิ คนดี คนเก่งอยู่แล้ว
  • ไม่เป็นไรนะคะ เดี๋ยวก็ผ่านพ้นไปด้วยดี

หากโดนดุ ให้ยิ้ม และ ตามองต่ำ ก้มเล็กน้อย เอาไว้ นะคะ

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ 
  • เป็นกำลังใจให้น้องจิ เช่นกันค่ะ
  • สู้ สู้

หวัดดีค่ะ พี่ไก่ ..บันทึกนี้มีประโยชน์มากๆ คุณภาพคับแก้ว นะคะ เคยเจอบ่อยๆในวัยรุ่นที่ทะเงาะกับแฟน แต่มีอีกกลุ่มอาการนึงค่ะ ที่หยุดหายใจตอนหลับ Hupoventilation syndrome ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตอนหลับตลอดชีวิตเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องพอลล่า

  • ขอบคุณนะคะ ที่แวะมา
  • พี่ชวนมาเล่าประสบการณ์ แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
  • ยังมีสาเหตุอีกมากมายที่ทำให้คนเราต้องหาทางออกของตัวเองโดยการหายใจเร็ว หอบถี่ อย่างนี้ด้วยค่ะ

สวัสดีครับ

  • เคยมีรุ่นพี่พาน้องไปเลี้ยง ฉลองเกินขนาด ต้องไปหาหมอตามระเบียบ แต่ไม่เป็นอะไรมาก หมอบอกว่าอาหารเป็นพิษ
  • แต่เรื่องที่หยุดหายใจตอนหลับนี่น่ากลัวจังเลยครับ
  • เมื่อวานได้ยินข่าวนักเรียนร้องไห้เป็นร้อย ไม่ทราบสาเหตุด้วย

สวัสดีค่ะ

  • การร้องไห้ เกิดได้ 2 ลักษณะค่ะ
  1. ด้านบวก  ดีใจ ประทับใจ ซึ่งใจ เป็นที่สุด
  2. ด้านลบ   เสียใจ สูญเสีย อึดอัด คับข้องใจ เป็นที่สุด
  • น้อง ๆ เข้าข่ายด้านใดคะ

มาร่วเชียร์รับน้องด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

  • หากท่านร่วมเชียร์ ฝากดูแลการทำงานของเด็ก ๆ ด้วยนะคะ
  • ที่รพ.จัดส่งน้องพยาบาลไปร่วมกิจกรรมปฐมพยาบาลตามที่ต้องการให้จัดด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาร่วมเชียร์

เราก็เป็นเหมือนกันกันโรคนี้อะ

ทรมานมากๆๆๆ

ทั้งเหนื่อย ทั้งเจ็บ

เหมือนใจจะขาดให้ได้

ไม่รู้จะทำไงแล้วให้มันหาย.......

สวัสดีค่ะซันก็กำลังเป็นโรคนี้อยู่ค่ะรู้สึกแย่มากๆค่ะทำงานไมาได้เลยต้องคอยนั่งพักตลอด ไม่ทราบว่าจะทำยังงัยให้มันหายขาดค่ะ.. ไปหาหมอหลายครั้งแล้วแต่ก็ตรวจไม่เจอค่ะ... เป็นปัญหามากๆค่ะรู้สึกแย่มากๆต้องคอยระวังตัวเองอยู่ตลอดเวลาค่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท