เค้าโครงการสอนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ภาคเรียน ที่ 1 /2551


กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

`แผนการสอน (Lesson Plan)

 

ชื่อวิชา   กฎหมายระหว่างประเทศ       รหัสวิชา  230402         จำนวนหน่วยกิต           3

 

จำนวนชั่วโมงที่ใช้สอน     บรรยาย  2 ชั่วโมง/สัปดาห์    ปฏิบัติการ  2 ชั่วโมง/สัปดาห์

อาจารย์ผู้สอน  อ.จตุภูมิ  ภูมิบุญชู

 

คำอธิบายรายวิชา

          ศึกษาลักษณะบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐ เขตแดนของรัฐ อำนาจของรัฐ รวมทั้งการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เขตอำนาจของรัฐทางทะเล และกำหนดเขตทางทะเล ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน ความรับผิดระหว่างประเทศของรัฐ การระงับข้อพิพาทของรัฐ

 

1. วัตถุประสงค์รายวิชา(Objective) เมื่อนิสิตเรียนรายวิชานี้แล้ว นิสิตมีความรู้ ความสามารถ และเกิดทักษะ ดังนี้

1.1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสังคมระหว่างประเทศ ลักษณะโครงสร้าง ความหมาย ตลอดจนความแตกต่างของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ

1.2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ, ผู้ทรงสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน

1.3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายทะเล การแบ่งอาณาเขตทางทะเล และสิทธิ หน้าที่ของรัฐในอาณาเขตทางทะเลส่วนต่างๆ

1.4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับ เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต เขตอำนาจแห่งรัฐ 

1.5. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ (Legal Implementation) โดยผ่านการศึกษาในหัวข้อ ความรับผิดของรัฐ  หลักกฎหมายว่าด้วยการใช้กำลังในกฎหมายระหว่างประเทศ และการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

1.6. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงกระบวนทัศน์หรือนิติวิธีในทางกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้

 

2. เนื้อหา โดยละเอียด

2.1 สัปดาห์ที่ 1 :   บทนำว่าด้วยการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

                              - การศึกษาเชิงนิติศาสตร์โดยแท้

                        - การศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริง

                        - การศึกษาเชิงคุณค่า

                        สังคมระหว่างประเทศ

2.1.1   ลักษณะโครงสร้างของสังคมระหว่างประเทศ

2.1.2   กฎหมายระหว่างประเทศสะท้อนโครงสร้างของสังคมระหว่างประเทศ

2.1.3        คำจำกัดความของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.4        ประเภทของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.5        บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศในสังคมโลก

2.1.6        การบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.7        ประสิทธิภาพของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.8        จุดอ่อนของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.9    พัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ

 บทความ/ ตำรา ที่ อาจารย์assign

   - จตุภูมิ  ภูมิบุญชู. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ.

   - จตุภูมิ  ภูมิบุญชู. คำแนะนำในการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายระหว่างประเทศ. 

   - จันตรี  สินศุภฤกษ์. กฎหมายระหว่างประเทศกับการเมืองระหว่างประเทศ.  สำนักพิมพ์วิญญูชน 2547  

   - ชุมพร  ปัจจุสานนท์.  กฎหมายระหว่างประเทศกับสังคมระหว่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-8. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2538.

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 1                              

  เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 2

2.2 สัปดาห์ที่ 2-5 : บ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ และนิติวิธีในกฎหมายระหว่างประเทศ

2.2.1 สนธิสัญญา

2.2.2 จารีตประเพณี

2.2.3 หลักเกณฑ์ทั่วไปกฎหมาย

2.2.4 คำตัดสินของศาลและ
2.2.5 ความเห็นของนักนิติศาสตร์

2.2.6  ข้อมติขององค์การระหว่างประเทศ

2.2.7  Soft law / Positive law   

บทความ/ ตำรา ที่ อาจารย์assign

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 3

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 4

2.3 สัปดาห์ที่ 6 : ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน

                       2.3.1 ทฤษฎีทวินิยมบทความ/ ตำรา ที่ อาจารย์assign

2.3.2 ทฤษฎีเอกนิยม

2.3.3 ทฤษฎีผสม

2.3.4 บทบาทของฝ่าย นิติบัญญัติ/ บริหาร/ ตุลาการ

        ในการนำกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้บังคับ

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 5

เอกสารประกอบการเรียน อ. จตุภูมิ 6

2.4 สัปดาห์ที่ 7-8 : ผู้ทรงสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศ     รัฐ/ องค์การระหว่างประเทศ

2.4.1  องค์ประกอบของรัฐ

        2.4.1.1 ดินแดน (การได้มา และการเสียไปซึ่งดินแดน การแบ่งพรมแดนทางบก)

        2.4.1.2 ประชากร ( การจัดการประชากรในรัฐ หลักดินแดน หลักสายโลหิต /    

                   ข้อจำกัดการใช้อำนาจ และหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน )

        2.4.1.3 อำนาจอธิปไตย

        2.4.1.4 รัฐบาล

2.4.2  ความเป็นบุคคลของรัฐ

2.4.3 สิทธิ/หน้าที่ของรัฐ

2.4.4  การรับรองรัฐ

2.4.5  การรับรองรัฐบาล

2.4.6  การสิ้นสุดของรัฐ (การสืบสิทธิของรัฐ)

2.4.7  State Immunities

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 8

กรณีศึกษาการสืบสิทธิของรัฐ

2.4.8 องค์การระหว่างประเทศ

ก. ลักษณะทั่วไปขององค์การระหว่างประเทศ

ข. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ

2.4.9 สิ่งอื่นๆที่อยู่ในความสนใจของกฎหมายระหว่างประเทศ

เอกสารประกอบการเรียน อ.จตุภูมิ 7  

2.5 สัปดาห์ที่ 9 เขตอำนาจของรัฐ

2.5.1  อำนาจของรัฐเหนือบุคคล

2.5.2  อำนาจของรัฐเหนือดินแดน

ก. ดินแดนของรัฐที่ไม่มีเจ้าของและรัฐจะเข้าครอบครอง

ข. ดินแดนของรัฐที่มีเจ้าของแต่มีรูปแบบต่างๆ การให้เช่า,
การใช้อำนาจปกครองร่วมกัน

ค. ประชากร, สัญชาติ,  คนต่างชาติ

2.5.3  อำนาจรัฐเหนือเรือ, อากาศยาน, เทหวัตถุบนฟากฟ้า

2.5.4 อำนาจรัฐสากล

เอกสารประกอบการเรียน เขตอำนาจรัฐ

2.6 สัปดาห์ที่ 10 : กฎหมายการทูตและข้อยกเว้นการใช้เขตอำนาจรัฐ

                                  2.6.1 ความคุ้มกันของผู้แทนของรัฐ (ความหมาย /ขอบเขต)

                   2.6.2 ความคุ้มกันของผู้แทนขององค์การระหว่างประเทศ(ความหมาย /ขอบเขต)

                  เอกสารประกอบการเรียนความคุ้มกันจากเขตอำนาจรัฐ

                  เอกสารประกอบการเรียนเอกสิทธฺและความคุ้มกันของคณะผู้แทนทางการทูต กงสุล

2.7 สัปดาห์ที่ 11 : ความรับผิดชอบของรัฐ

2.7.1 ความรับผิดชอบระหว่างรัฐต่อรัฐ

ก. หลักเกณฑ์ความรับผิดชอบระหว่างประเทศรวมถึงทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้

ร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความรับผิดของรัฐ

เอกสารประกอบการเรียน ความรับผิดของรัฐ

2.7.2  ความรับผิดชอบของรัฐที่มีต่อเอกชนซึ่งอาจจะส่งผลให้รัฐต้องชดใช้ความคุ้มกันทางการทูตเหนือคนชาติของตน

ก. หลัก Minimum standard of treatment

ข. หลัก Expropriation

ค. หลัก Nationalization

ง. State Internationalization

 

2.8 สัปดาห์ที่ 12 : การขจัดข้อพิพาทโดยสันติวิธี

ก. ประเภทของข้อพิพาท

ข.  การขจัดข้อพิพาทโดยวิธีการทางการทูต

Negotiation / Meditation /Good Offices

Inquiry / Fact finding/ Conciliation  

ค. การระงับข้อพิพาทในทางกฎหมาย

-  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

       Advisory/ Judgment

- อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ

       Ad Hoc / Institution

เอกสารประกอบการเรียนการระงับข้อพิพาทตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

2.9 สัปดาห์ที่ 13 : การใช้กำลัง Use of Force
(เน้นบทบาทของสหประชาชาติในการควบคุมการใช้กำลัง)

                    เอกสารประกอบการเรียนเรื่องการใช้กำลังในกฎหมายระหว่างประเทศ

                     ประเด็นชวนคิด Anticipatory Self Defense & Self Defense ตามกฎบัตรสหประชาชาติ

 

2.10 สัปดาห์ที่ 14-15 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทะเล

เอกสารประกอบการเรียน Study issues in the law of the sea

 ปัญหาเขตแดนทางทะเลของไทย

 

                             ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน /                              

                                     กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

                                                                         ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  

 

3. การดำเนินการจัดการเรียนการสอน

- บรรยาย / ตั้งคำถาม

- สัมมนา / อภิปราย

- การทำศาลระหว่างประเทศจำลอง

 

4. สื่อการสอน

4.1 แผ่นใส

4.2 ตำราและเอกสารประกอบการสอน

4.3 แบบฝึกหัด

 

5. การวัดและประเมินผล

5.1 คะแนนความมีส่วนร่วมและทดสอบระหว่างเรียน            5        คะแนน

5.2 การนำเสนอผลงานและ Moot Court                         10      คะแนน
5.3 รายงานเดี่ยว                                                    25      คะแนน

5.4 สอบกลางภาค                                                  20      คะแนน

5.5 คะแนนสอบปลายภาค                                          40      คะแนน

 

 

6. เอกสารอ้างอิง

(6.1) จุมพต  สายสุนทร. กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม1-3. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ:    วิญญูชน 2544  

(6.2) นพนิธิ  สุริยะ, Lecture Notes กฎหมายระหว่างประเทศ เล่ม 1-2. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: วิญญูชน 2539

(6.3) สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-6, กรุงเทพฯ: ฝ่ายการพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2528

(6.4) สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ หน่วยที่ 7-15, กรุงเทพฯ 2528

(6.5) สมพงศ์  ชูมาก. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง.พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพฯ:    ด่านสุทธาการพิมพ์, 2548

            (6.6) เอกสารอื่นๆที่อาจารย์มอบหมายให้

หัวข้อรายงาน Term project

 

 

  • ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนสาละวิน
  • ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขง
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับความมั่นคงด้านอาหารของโลก
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับการควบคุมภัยพิบัติทางด้านโรคติดต่อ
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับการควบคุมภัยพิบัติจากธรรมชาติ
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับปัญหาโลกร้อน
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับการก่อการร้าย
  • บทบาทของอาเซียนในสหัสวรรษใหม่
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับความมั่นคงด้านพลังงานโลก
  • กฎหมายระหว่างประเทศกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ

คะแนนสอบกลางภาค นิสิตภาคพิเ

หมายเลขบันทึก: 186338เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

นิสิต อาจารย์ ผู้สนใจ และนักการศึกษาทุกท่านสามารถ ให้คำแนะนำได้นะครับ และผมจะขอถือทุกความเห็นมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พัฒฯการเรียนการสอนต่อไปครับ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเลือกที่จะนำแผนการสอนขึ้น Blogครับ

ปล. ผมแก้ไข blog ไม่ได้ครับ เพราะพิมพ์ผิดจะแก้หัว Blog เป็น แผนการสอนครับ ไม่ใช่ ประมวลรายวิชา ครับ

ขอบคุณครับ

อ.จตุภูมิ

นิสิต อาจารย์ ผู้สนใจ และนักการศึกษาทุกท่านสามารถ ให้คำแนะนำได้นะครับ และผมจะขอถือทุกความเห็นมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พัฒฯการเรียนการสอนต่อไปครับ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมเลือกที่จะนำแผนการสอนขึ้น Blogครับ

ปล. ผมแก้ไข blog ไม่ได้ครับ เพราะพิมพ์ผิดจะแก้หัว Blog เป็น แผนการสอนครับ ไม่ใช่ ประมวลรายวิชา ครับ

ขอบคุณครับ

อ.จตุภูมิ

  • อาจารย์เข้าระบบ
  • ไปที่บล็อก
  • มาที่บันทึกนี้
  • ทางขวามือมีแก้ไขบันทึก
  • ลองทำดูนะครับ
  • แก้ไขได้ครับ

ที่ผมเขียน บล็อกนี้ก็เพราะว่า

1. ผมอยากให้เด็กนิสิตหัดใช้คอมให้เป็น

2. ผมอยากได้ฟังแนวคิดจากเพื่อนในบล็อกว่าสิ่งที่ผมสอนเด็กๆไปนั้นท่านทั้งหลายคิดว่าในยุคนี้เพียงพอหรือไม่ กับสิ่งที่สังคมคาดหวังจากนักกฎหมาย

3. ถ้าอยากรู้เรื่องอะไรอีกบอกมานะครับยินดีเพิ่มเติมและปรับให้เหมาะสมตามควรเพื่อให้นิสิตเราไม่ตกยุค และทำงานได้จริงๆ

ขอบคุณทุกท่านครับ

ขอบคุณท่าน ขจิตมากๆ ครับที่กรุณาแนะนำวิธีแก้ไบบล็อก ผมแก้ได้แล้วนะครับขอบคุณมากๆครับ

สวัสดีค่ะ

คิดว่าที่อาจารย์จะทำ moot court น่าสนใจมากค่ะ

อยากทราบว่าจะเป็นไปในรูปแบบอย่างไรคะ

ขอบคุณมากๆ ครับต้น

เราสู้ไม่ถอยอยู่แล้ว

สวัสดีคะอาจารย์ เพิ่งเข้ามาครั้งแรกก็งง ๆ นิดหน่อยคะว่าอาจารย์จะเอาข้อมูลอัพเดทไปขึ้นให้ตรงไหน รบกวนถามอาจารย์คะว่า อาจารย์ได้ทำ power point ที่ใช้ประกอบการสอนขึ้นให้หรือยังคะ เพราะว่าหาไม่เจออะคะ รบกวนด้วยนะคะอาจารย์

จ้าขอโทษทีเอาขึ้นให้วันนี้แหละจ้า

อ.วิว

ครูเอาไฟล์ใส่ไว้ในไฟล์ Alabum นะครับ ยังทำ LInk ให้ไม่ได้เพราะระบบ ค้าง เข้าใจว่าเป็นเพราะคนใช้เยอะ เลยยังแก้ไข blog ยังไม่ได้ ไว้คืนนี้จะลองทำให้อีกทีนะครับ

อ.วิว

ปล. ถ้าใครด่วนให้ไป download จากไฟล์ Alabum ก่อนนะครับ

ผมอยากจะเรียนถามอาจารย์ในประเด็นของสนธิสัญญาและจารีตประเพณีฯ

๑.จากที่เรียนมานั้นสนธิฯกับจารีตฯมีค่าบังคับเท่ากันจึงสามารถลบล้างกันได้ ในกรณีนี้แต่เดิมนั้นในการทำสนธิฯเราใช้จารีตฯ แต่เมื่อมีการทำอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยการทำสนธิฯขึ้นมาใช้บังคับ ผลคืออนุสัญญากรุงเวียนนาจะมีผลไปยกเลิกจารีตฯของการทำสนธิฯหรือไม่ครับ

๒. ในกรณีของไทยที่ไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเวียนนา ดังนั้นเมื่อไทยจะทำสนธิสัญญาจะใช้จารีตฯ หรือจะใช้อนุสัญญากรุงเวียนนาในฐานะที่เป็นจารีตฯ

ดนุพล

0891943813

[email protected]

ตอบคำถามดนุพล

เป็นคำถามที่ดีมากครับ

ในความเห็นส่วนตัวผมนะครับสำหรับข้อที่

1. ผมว่าไม่ครับ แต่ผมคิดว่าจะเป็นสิ่งที่เสริมกันไปครับ กล่าวคือในเรื่องใดเป็นเรื่องที่ในอนุสัญญากรุงเวียนนาไม่ได้เขียนไว้ก็จะหันกลับมาใช้จารีตประเพณีระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามหากจารีตส่วนไหนที่มีประเทศยอมรับมากและถูกบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็จะเป็นหลักฐานชี้ให้เห็นถึงความหนักแน่นของจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นๆ มากกว่าครับและรัฐเองย่อมไม่สามารถปฏิเสธความมีอยู๋ของจารีตประเพณีที่ถูฏนำมาบัญญัติในรูปขแงกฎหมายลายลักษณ์อักษรได้ครับ

2. ประเทศไทยย่อมต้องถูกผูกพันตามจารีตประเพณีระหว่างประเทศในการทำสนธิสัญญาครับ อย่างไรก็ตาม อนุสัญญากรุงเวียนนา ฯ 1969 ย่อมเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีถึงความมีอยู่ของจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นๆ ในการทำสนธิสัญญา ครับ เช่น เดียวกับที่ศาลโลกในคดี North Sea Continental Shelf ใช้อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล 1958ในการพิจารณาความมีอยู่ของจารีตประเณ๊ระหว่างประเทศในการแบ่งเขตไหล่ทวีปครับ อนุสัญญาต่างๆซึ่งเป็นผลจากการประชุมของนักกฎหมายจากนานาประเทศย่อมก่อให้เกิดผล 1 ใน 3 รูปแบบอย่างที่ครูเคยเล่าไป คือ

1.1 Declaratory effect

1.2 Crystalize effect

1.3 Constitutive effect

เป็นคำถามที่ดีมากจริงๆ ครับ :)

เรียนถามอาจารย์

๑.ในกรณีที่ไทยไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเวียนนา ดังนั้นเวลาเราทำสนธิสัญญาก็ต้องใช้จารีตฯ หากได้ความปรากฎว่าไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสหลังวันที่ 27 มกราคม 1980 โดยถูกฝรั่งเศสข่มขู่บังให้ทำสนธิสัญญา ในกรณีนี้ไทยจะสามารถอ้างความไม่สมบูรณ์ของสนธิสัญญาเนืองจากการข่มขู่ได้หรือไม่ครับ หรือจะถือตามจารีตฯที่ยอมรับการทำสนธิสัญญญาที่ทำโดยการข่มขู่ได้

๒. ดังนั้นในการเรียนให้ยึดหลักเกณฑ์ตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ใน ๔ องค์ประกอบในการพิจารณาความเป็นสนธิสัญญาใช่หรือไม่ครับในกรณีของไทย

ตอบ biolaw ปี 5 ครับ

เป็นปัญหาที่น่าสนใจครับ เรื่องนี้แม้ในตำราเองบางเล่มก็ยังไม่ได้เขียนไว้นะครับ

ถ้าจะให้ดีลองดูในส่วนของท่านอาจารย์จุมพต ท่านเคยเขียนไว้

1.ปัญหาที่ต้องพิจารณา คือ หลักเกณฑ์เรื่องการข่มขู่บังให้ทำสนธิสัญญา มีผลเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศผมก็ว่าย่อมมีผลใช้บังคับกับสนธิสัญญาในกรณีตามที่คุณสมมุติ ระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสด้วยครับ ทางที่ดูได้เทียบเคียงหลัก คือคดี North Sea Continental Shelf ที่ศาลชี้วิธีการพิจารณาหาจารีตประเพณีระหว่างประเทศจากการพิจารณาสนธิสัญญาไว้ครับ คือดูว่าในประเด็นนั้นระหว่างประชุมมีการถกกันว่าอย่างไร แล้วมีประเทศใดคัดค้านบ้าง มากน้อยเพียงใด แล้วในประเด็นนั้นเปิดโดกาสให้รัฐตั้งข้อสงวนได้ไหม? ถ้าประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วย ไม่มีรัฐใดค้าน / ไม่เปิดโอกาสให้ตั้งข้อสงวนได้ในข้อบทดังกล่าว ก็น่าจะเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศนะครับ เพราะนอกจากเรื่องหลักเกี่ยวกับสนธิสัญญาแล้วยังมีหลักเรื่องการห้ามใช้กำลังในกฎหมายระหว่างประเทศที่ถือเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศไปแล้วด้วยครับ

และในส่วนหนังสือของท่านอาจารย์จุมพตได้อธิบายประเด็นนี้ไว้ว่า หลักการดังกล่าวนี้มีผลเป็นLex lata คือเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนะครับ นั้นก็หมายความว่านับจากมีกฎบัตรสหประชาชาติขึ้นหลักข้อนี้ได้กลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศไปแล้วครับ ซึ่งประเทศไทยย่อมมีสิทธิกล่าวอ้างหลักกฎหมายที่ปรากฏในจารีตประเพณีระหว่างประเทศได้เลยครับ

2.ในการเรียนให้รู้หลักเกณฑ์ทั้ง 2 แบบครับ แล้วก็ต้องดูนิติสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอาว่าข้อเท็จจริงจะใช้กฎหมายใดมาปรับ จะใช้อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการทำสนธิสัญญา หรือใช้จารีตประเพณีระหว่างประเทศในการทำสนธิสัญญา อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะใช้กฎหมายใดบังคับกับข้อเท็จจริงก็ตามหากไม่ใช่สนธิสัญญาที่ทำด้วยวาจาแล้วก็ต้องนำสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อเลขาธิการสหประชาชาติด้วยครับมิฉะนั้นย่อมไม่สามารถกล่าวอ้างได้

อาจารจะเเฉลยข้อสอบวันไหนคะ

ครูเอาPower Point มาให้แล้วนะ เรื่องข้อสอบหวังนิสิตทุกคนคงเคลียร์แล้วนะแล้วหวังว่าเธอคงได้เข้าห้องเรียนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

เอกสารอื่นของท่านอาจารย์พันธุ์ทิพย์ ให้ลองหาดู ที่ http://www.archanwell.org ถ้าครูหาให้หมดลูกศิษญ์ก็ไม่เก่งสิ ครูรู้ว่าพวกเธอทำได้ ไว้วันศุกร์ครูจะสรุปเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในให้ฟังอีกครั้งนะ ยังรู้สึกว่าสอนได้ไม่ดี แล้วค่อยต่อในประเด็นการได้มาและเสียไปซึ่งดินแดน+การสืบสิทธิของรัฐ

โชคดีครับนิสิตทุกท่าน

ความแตกต่างระหว่างลักษณะโครงสร้างสังคมภายในประเทศกับสังคมระหว่างประเทศอาจารย์ช่วยอธิบายความแตกต่างอีกครังได้ไหมคะ

ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจ ผมอยากให้ลองดู ที่เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 2 และในเอกสารของผมที่ชื่อว่า ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งผม Up load ไว้ใน blogนี้แล้วก่อนนะครับ และถ้ามีประเด็นอะไรไม่เข้าใจให้ลองเขียนมาถามเป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่ง ครับ

อาจารย์สั่งงานให้วิเคราะข่าวระหว่างประเทศ อยากทราบรายละเอียดให้วิเคราะห์เรื่องอะไรบ้างคะ ไม่แน่ใจว่าหนูเข้าใจถูกต้องไหม กลัวว่าจะส่งงานอาจารย์ผิดค่ะ ขอบคุณค่ะ

ถึงนิสิตทุกท่าน ครูเอาขึ้นให้แล้วนะครับ ถึง Powerpoint คราวล่าสุด (การสืบสิทธิของรัฐ)

:)

ส่งงานวันสุดท้ายวันไหนคะ แล้ววิเคราะห์อย่างไรคะ รบกวนอาจารย์ช่วยหน่อยนะคะหนูจะรีบส่งงานแล้วค่ะ

ฉัตรชัย พัฒนวสันต์พร

อาจารย์วิว ครับ คะเเนนสอบกลางภาคออกวันไหนครับ และช่วยแนะนำวิธีการเขียนข้อสอบให้ด้วยนะครับ จะได้เตรียมตัวสอบในครั้งต่อไปครับ

จะพยายามไม่ให้เกินวันอังคารนี้ครับ ใกล้เสร็จเต็มที่แล้ว :)

แต่คะแนนเท่าที่ตรวจไปยัง :X :X อืม... คงต้องลุ้นคะแนนรายงานและคะแนนสอบปลายภาคนะครับ แต่ยังไงอย่าพึ่งถอดใจก่อนนะครับ พยายามสู้ คะแนนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าใครดูแล้วไม่ไหวจริงๆ + ไม่มีกำลังใจสู้หลังจากดูคะแนนแล้ว จะถอนก็ได้ครับ

สู้ๆ ครับ

อ.วิว

ปล. ถึงนิสิตทุกท่านครูขอประกาศคะแนนภาคพิเศษก่อนนะครับ เพราะใกล้กำหนดวันถอนแล้ว ส่วนภาคปกติจะไม่ให้เกินในสัปดาห์นี้ครับ

จะพยายามไม่ให้เกินวันอังคารนี้ครับ ใกล้เสร็จเต็มที่แล้ว :)

แต่คะแนนเท่าที่ตรวจไปยัง :X :X อืม... คงต้องลุ้นคะแนนรายงานและคะแนนสอบปลายภาคนะครับ แต่ยังไงอย่าพึ่งถอดใจก่อนนะครับ พยายามสู้ คะแนนนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าใครดูแล้วไม่ไหวจริงๆ + ไม่มีกำลังใจสู้หลังจากดูคะแนนแล้ว จะถอนก็ได้ครับ

สู้ๆ ครับ

อ.วิว

ปล. ถึงนิสิตทุกท่านครูขอประกาศคะแนนภาคพิเศษก่อนนะครับ เพราะใกล้กำหนดวันถอนแล้ว ส่วนภาคปกติจะไม่ให้เกินในสัปดาห์นี้ครับ

วันนี้กลุ่มรายงานของหนูจะเข้าไปขอคำปรึกษาเนื้อหาเรื่องที่ทำรายงานที่หามา เรื่องผู้ก่อการร้ายไปให้อาจารย์ช่วยเพิ่มเติมให้แต่ไม่พบอาจารย์ พรุ่งนี้ประมาณ4โมงเย็นกลุ่มของหนูจะเข้าไปขอคำปรึกษาเรื่องเนื้อหาที่หามาได้ ช่วงเวลานี้อาจารย์จะสะดวกหรือเปล่าคะ

วันนี้ครูกลับบ้านตั้งแต่ 17.00 น. แล้วครับ พรุ่งนี้ครูสอนภาคปกติถึง 17.00 น. แล้วจะพยายามรีบกลับมาครับ พบกันประมาณ 17.00 น.ครับ OK

ขอโทษทีนะเจษฎาพงศ์ ครูมาตอบเธอช้าไปหน่อยพึ่งได้พักเมื่อครู่นี้เอง ด้วยเวลาเท่าที่มีอยู่นี้ครูขอลองนำเสนอเธออย่างนี้นะครับ

เธอทำรายงานเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการใช้นำในแม่น้ำโขง ปัญหาของเธอเท่าที่ครูสังเกต คือเจษฎาพงศ์เป็นคนมองรายละเอียดได้ดี แต่มองภาพกว้างไม่ชัด แต่มีความเพียรพยายามอย่างมาก ซึ่งครูดีใจที่มีลูกศิษย์อย่างเธอ ครูเองก็ไม่ได้เก่งมาก่อน ต่างต้องอาศัยเวลาและประสบการณ์ บ่มเพาะความรู้ทั้งสิ้น แล้ววันหนึ่งประสบการณืจะบ่มเพาะเธอเอง... ครูเสนออย่างนี้ครับกลุ่มเธอมี 5 คน และเธอค้นข้อมูลเกี่ยวกับจีนมาพอสมควรแล้ว (ขอโทษนะครับที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา)ครูเลยคิดว่าเธอทำรายงาน ในหัวข้อเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศจีน จะดีไหม โดยมีเค้าโครงดังนี้

เค้าโครงรายงานเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศจีน

- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

- ลักษณะภูมิศาสตร์ของแม่น้ำโขงและลักษณะการใช้น้ำของรัฐริมน้ำในแม่น้ำโขง

(ในส่วนของลักษณะของการใช้น้ำให้จำแนกเป็น 6 ประเทศตามลำดับ คือ 1.สาธารณรัฐประชาชนจีน

2.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

3.สหภาพพม่า

4.ราชอาณาจักรไทย

5.ราชอาณาจักรกัมพูชา

6.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)

- ความเป็นมาของการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศจีน

- ผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศจีนต่อรัฐริมน้ำอื่นๆ

- กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำระหว่างประเทศ และ กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศจีน

- หน้าที่(เนื้อหาของพันธกรณี)

- กลไกการบังคับใช้

- องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้

- แนวทางในการป้องกันและแก้ไขความเสียหายตามกฎหมายระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศจีน

เห็นยังไงแล้วบอกครูด้วย / ครูขอไปนอนก่อนนะครับพรุ่งนี้ต้องออกไป surveyค่ายแต่เช้า

โชคดีครับ

อาจารย์จตุภูมิครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะมีเเถลงการร่วมของไทยกัมพูชาเรื่องเขาพระวิหารฉบับเต็มไหมครับ

คือตอนนี้ผมลองพยายามค้นๆดูเเล้วปรากฎว่าหาไม่เจอเลยขอบคุณมากๆนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารหนูเป็นนักศึกษา มข ค่ะ

หนูสงสัยเรื่อง มาตรา 190 วรรคสอง ถ้าเกิดมีสนธิสัญญาที่ทำก่อนมาตรานี้แล้วขัดต้องทำไงคะ ครูพักลักจำ

ถึงสุชน เดี๋ยวครู Upload file ขึ้นให้ รอเอานะครับ ขอโทษที่ช้านะ

.............................

ถึงคุณแพร

โดยส่วนตัวผมคิดว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนะครับ แม้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญจะเป็นกฎหมายมหาชนก็ตาม เพราะถ้าปล่อยให้รัฐต่างๆ อ้างกฎหมายภายในมาล้มล้างพันธกรณีระหว่างประเทศได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา(แม้ศาลรับธรรมนูญจะเคยตัดสินในคดียุบพรรคไทยรักไทยก็ตาม)

อยากถามว่า ถ้าอาจารย์เป็นนายกสมัคร อาจารย์จะทำอย่างไร กับปัญหาทางการเมือง( นอกเรื่องหน่อยนะครับ แค่อยากรู้ ) ^^''

อาจารย์คะอยากทราบตัวอย่างข้อสอบรุ่นเก่าของนักศึกษาภาคพิเศษค่ะ อาจารย์พอจะมีให้เป็นแนวในการตอบบ้างไหมคะ ท่านอาจารย์ราณีนัดสอบวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายนค่ะ เราจะได้มีหลักในการอ่านหนังสือและหลักในการเขียนตอบ ขอขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์

ขอบคุณมากนะครับอาจารย์(ตอนนี้กำลังทำใจว่าจะสอบของอาจารย์ได้ไหมน่อ)

ถึงนิสิตที่รักทุกท่าน

ด้วยเหตุที่มีนิสิตจาก Section อื่นได้ถามครู ถึงลักษณะข้อสอบปลายภาค เนื่องจากนิสิตท่านนั้นได้ข่าวมาว่า ทางคณะได้ดำเนินการให้มีการออกข้อสอบร่วมกันระหว่างผมและท่านอาจารย์จินตนาซึ่งต่างสอนในรายวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองด้วยกันทั้งคู่แต่คนละ Section  และใช้สอบในทุก Sectionที่เรียนในเทอมนี้นั้น

เพื่อไม่ให้นิสิตตกใจผมขอชี้แจงอย่างนี้ครับ

1. คณะได้มีนโยนบายเช่นว่านั้นจริงทั้งนี้เพื่อเป็นการคุมมาตรฐานในการเรียน เพราะอย่างน้อยสุดการเรียนจากสถานที่เดียวกันนั้นย่อมจะต้องได้ความรู้อย่างน้อยเท่าเทียมกัน

2. เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านต่างมีวิธีการสอนและจุดเน้นย้ำที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสนใจของอาจารย์แต่ละท่าน ทำให้คณาจารย์ได้มีมติร่วมกันว่า ให้อาจารย์แต่ละท่านต่างคนต่างออกข้อสอบแยกจากกันเด็ดขาดใช้สอบเฉพาะใน Section ที่ตนเองสอนเท่านั้น แต่ให้กำหนดประเด็นความรู้พื้นฐานที่จะออกสอบร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่ตัวนิสิตเองที่ชำนาญ หรือรู้ชั้นเชิงการสอน แนวการตอบข้อสอบของอาจารย์แต่ละท่านมาแล้วจะได้ไม่ลำบาก และเป็นการรักษามาตรฐานการเรียนการสอนด้วย

ทราบอย่างนี้แล้วก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะสรุปง่ายๆ ว่า ถ้านิสิตถูกTrain มาโดยอาจารย์ท่านไหน อาจารย์ท่านนั้นก็จะเป็นอาจารย์ผู้วัดผลการเรียนของนิสิตเองว่าสัมฤทธิ์ผลตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์หรือไม่ ? อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า นิสิตที่จะสำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้ออกไปเป็น "นิติศาสตรบัณฑิต" ได้นั้น ความรูพื้นฐานที่นิสิตจะต้องมีนั้นจะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน และได้มาตรฐานไม่ยิ่งหย่อนกว่านิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งอื่น

เพราะฉะนั้นเรื่องการสอบผ่านไม่ผ่านนั้นอยู่ที่ความขยันของนิสิตเองแล้วนะครับ

พร้อมกันนี้สิ่งที่อาจารย์อยากบอกคือ อาจารย์ตรวจข้อสอบกลางภาคเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ คะแนนจะนำขึ้น blogพรุ่งนี้ ครับ ขอโทษด้วยครับที่ช้ามานาน และถ้าใครได้คะแนนน้อยให้มาคุยกับอาจารย์เรื่องการเขียนตอบข้อสอบด้วยครับ  วันเสาร์อาทิตย์นี้อาจารย์ไม่ได้กลับบ้านแล้วเพราะทางกลับบ้านน้ำท่วม  ดังนั้นครูจะไปนั่ง Comment รายงานของนิสิตที่คณะนิติศาสตร์ ขอให้นิสิตที่ประสงค์จะพบครูทยอยมาพบได้ ตลอดตั้งแต่ 10.00-16.30 น. ครับ

โชคดีสำหรับการสอบในทุกๆวิชาครับ

อ.วิว

คะแนนกลางภาคของนิสิตภาพปกติจะออกเมื่อไรค่ะ อาจารย์

คะแนน อย่างไม่เป็นทางการขึ้นให้แล้วนะครับ ที่บอกว่ายังไม่เป็นทางการเพราะมีการสอบทานเพียง 1 ครั้ง อาจมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ เดี๋ยวพอครูตรวจข้อสอบเสร็จทุกวิชาจะสอบทานใหม่อีก  ก่อนรวมคะแนนส่งผลการเรียนอย่างเป็นทางการครับ

คนที่ได้คะแนนน้อย ถ้าสงสัย วันจันทร์ให้ไปพบครูครับจะได้เตรียมตัวแก้วิธีการเขียนก่อนสอบปลายภาคครับ

เอกสารประกอบการเรียนชุดใหม่ตามที่รับปากครูเอาขึ้นให้แล้วนะครับ download ได้แล้วครับ

เอกสารประกอบการเรียนชุดใหม่ตามที่รับปากครูเอาขึ้นให้แล้วนะครับ download ได้แล้วครับ

อยากทราบคะแนนสอบของเทพสตรีค่ะ อาจารย์จะบอกคะแนนได้เมื่อไรคะ แล้วมีคนตกเยอะไหมคะ แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้างคะก่อนลงเรียนใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูมีคำถามอยากทราบ

เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศค่ะ

1. ไต้หวัน และ ฮ่องกง ถือว่าเป็น "รัฐ" หรือไม่คะ

2. การรับรองรัฐบาลพม่าในปัจจุบัน ถือเป็นการรับรองแบบใด และเพราะอะไรคะ

อาจารย์ช่วยตอบคำถามหนูทาง E-mail ของหนูได้ไหมคะ

e-mail: [email protected]

ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ

ไม่ทราบว่าอาจารย์จะมีเวลาอ่านไหมคับ

ยังไงผมขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ด้วยน่ะคับ

ที่ได้รับทุนไปต่อที่ต่างประเทศ คือผมเข้าไปดูเนื้อหา

การสอนของอาจารย์น่าสนใจ ผมได้โหลดมาอ่านบ้าง

อยากให้อาจารย์อัพข้อมูลเรื่อย ๆ นะคับ

อยากได้งาน และพาวเวอร์พอยท์ค่ะ

  • กฎหมายระหว่างประเทศกับความมั่นคงด้านอาหารของโลก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท