BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ภาค และ ภควา


ภควา

คำว่า ภควา ในภาษาไทยนิยมแปลกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ....  จึงมีผู้สงสัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จะแปล...และหรือจะหมายความว่าอย่างไร ? ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนก็สงสัยมานานเช่นกัน เคยอ่านหนังสือที่เขียนอธิบายมาบ้าง แต่ก็ไม่อาจจะเข้าใจใ้ห้ชัดเจนได้... (สำหรับคำแปลและอธิบายที่เป็นภาษาไทยมีพื้นฐานมาจากคัมภีร์อรรถกถา ผู้สนใจโปรดคลิก ภควา ๑ และ ภควา ๒ เฉพาะประเด็นตอนที่อธิบายศัพท์ว่า ภควา)

เมื่อมาเรียนบาลีชั้นสูงๆ ขึ้น จนกระทั้งมีโอกาสแปลเรื่องนี้ จึงพอเข้าใจขึ้นมาบ้าง... แต่เนื่องจากคำว่า ภควา นี้ มีความหมายหลากหลาย จึงยากที่จะขยายความให้ครบถ้วนกระบวนความได้... ในโอกาสนี้ จึงนำมาเล่าเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น...

............

มติแรก คำว่า ภควา และคำว่า ภาค นั้น ในมติหนึ่งบอกว่า มาจากรากศัพท์ว่า ภชฺ ซึ่งบ่งชี้ความหมายว่า คบ ... โดยสามารถตั้งวิเคราะห์ง่ายๆ ได้ว่า

  • ภทฺทตฺถิเกหิ ภชิตพฺโพติ ภควา
  • ผู้ใด อันผู้หวังความเจริญทั้งหลาย พึงคบ ดังนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ภควา (อันผู้หวังความเจริญทั้งหลายพึงคบ)
  • ภทฺทตฺถิเกหิ ภชิตพฺโพติ ภาโค
  • ภาวะ อันผู้หวังความเจริญทั้งหลาย พึงคบ ดังนั้น ภาวะนั้น ชื่อว่า ภาค (อันผู้หวังความเจริญทั้งหลายพึงคบ)

เมื่อถือเอาตามนัยนี้ ภควา ซึ่งแปลกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า และถ้าจะแปลอีกครั้งโดยเพ่งจากคำว่า ภาค ก็อาจแปลได้ว่า พระอันผู้หวังความเจริญพึงคบ ... ขยายความได้ว่าผู้หวังความเจริญในธรรม... ผู้หวังภพภูมิที่ละเอียดปราณีตยิ่งๆ ขึ้นไป... หรือผู้หวังการหลุดพ้นจากอาสวกิเลส... พึงคบ

เพราะว่า ผู้ที่ได้พระนามว่าภควานี้แหละ หากใครคบหาสมาคมด้วยแล้ว ก็จะแนะนำ สั่งสอน หรือชักจูงไปสู่หนทางที่พวกเขาคาดหวังได้....

...........

อีกมติหนึ่ง คำว่า ภควา และ ภาค นี้ มาจาก ภชฺ รากศัพท์ซึ่งบ่งชี้ความหมายว่า แบ่ง แจก จำแนก ... โดยสามารถตั้งวิเคราะห์ง่ายๆ ได้ว่า

  • ธรรมํ ภาเชตีติ ภควา
  • ผู้ใด ย่อมจำแนก ซึ่งธรรม ดังนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ภควา (จำแนกซึ่งธรรม)
  • ธมฺโม ภชิยเตติ ภาโค
  • ธรรม อันเขา ย่อมจำแนก ดังนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า ภาค (อันเขาจำแนก)

เมื่อถือเอาตามนัยนี้ ภควา ซึ่งแปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า และถ้าจะแปลอีกครั้งโดยเพ่งจากคำว่า ภาค ก็อาจแปลได้ว่า ผู้จำแนกธรรม ... ขยายความว่า ผู้ที่ได้พระนามว่าภควานี้แหละ ทรงจำแนกธรรมออกเป็นอริยสัจ อิทธิบาท ปฏิจจสมุปบาท ฯลฯ.. หรือทรงแจกแจงว่าอริยสัจธรรมมี ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ... เป็นต้น

อนึ่ง เฉพาะคำว่า ภาค ซึ่งในภาษาไทยนิยมมาใช้แปลว่า ส่วน ก็มาจากรากศัพท์ที่บ่งชี้ความหมายว่า แบ่ง แจก จำแนก นี้เอง กล่าวคือ สิ่งหนึ่ง ถ้าไม่แบ่ง ไม่จำแนกออกมาแล้ว สิ่งนั้นก็คงจะเป็นกลุ่มก้อน ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นส่วนๆ หรือเป็นส่วนนี้ส่วนนั้นส่วนโน้นได้...

และบางครั้ง คำว่า ภาค นี้ อาจมีอุปสัคนำหน้าเป็น วิภาค (วิ + ภาค) ซึ่งก็อาจแปลเพิ่มขึ้นว่า ส่วนต่าง (วิ บ่งชี้ความหมายว่า ต่าง) ดังเช่น กายวิภาค ก็อาจแปลง่ายๆ ได้ว่า แบ่งร่างกายให้เป็นส่วนต่างๆ ...

..........

อีกนัยหนึ่งที่ต้องการนำมาเล่าก็คือคำว่า ภควา นี้ เป็นคำย่อ คล้ายๆ กับคำว่า กบว. ปจว. หรือ OTOP WTO เป็นต้น โดยตั้งวิเคราะห์ว่า...

  • ภเวสุ คมนโต วนฺโตติ ภควา
  • ผู้ใด คายแล้ว จากการไป ในภพทั้งหลาย ดังนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า ภควา (คายแล้วในการไปในภพทั้งหลาย)

ตามนัยนี้ ภ + ค + ว = ภควา โดยแต่ละศัพท์มีความหมายดังนี้

  • มาจาก  ภเวสุ    (ในภพทั้งหลาย)
  • มาจาก  คมนโต (จากการไป)
  • มาจาก  วนฺโต    (คายแล้ว)

ในภาษาบาลี การวิเคราะห์ศัพท์โดยอาศัยอักษรย่อทำนองนี้ ก็มีอยู่หลายศัพท์เช่นเดียวกัน... ครั้งแรกที่เจอ ผู้เขียนรู้สึกทึ่งว่า คนโบราณคิดเรื่องอักษรย่อมานานแล้ว มิใช่ว่าเพิ่งคิดได้ในยุคปัจจุบันเท่านั้น

.........

การแปล คำว่า ภควา มาเป็น พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น ผู้เขียนคิดว่าเป็นความปรีชาสุดๆ ของโบราณาจารย์ไทย...

แต่ตามความเห็นส่วนตัว เฉพาะมติว่า ภควา มาจากอักษรย่อนั้น ผู้เขียนว่า ม่ตรง ับคำแปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า...

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นด้วยว่า ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ในภาษาไทยเหมาะสมที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #ภควา#ภาค
หมายเลขบันทึก: 184413เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2008 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

มาขอความรู้ครับ อิอิ

  • นมัสการพระคุณเจ้า..
  • ศัพท์ ภควา คล้ายศัพท์ รตน และ โอม (อะ+อุ+มะ)
  • ใช่มั้ยครับกระผม
  •  

P

suksom

 

  • รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม

..........

P

กวิน

 

  • ไม่เข้าใจคำถามว่าคล้ายกันทำนองไหน ?

.......

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

กระผมได้กระจ่างแล้วในการที่ได้อ่านความหมายที่บอกไว้ข้างท้ายของ ภาษาธรรม

แต่กระผมอ่านถูกหรือไ่ม่นั้นขอพระคุณเจ้าโปรดชี้แนะด้วยครับ

ภทฺทตฺถิเกหิ ภชิตพฺโพติ ภควา

( ภัท-ทัต-ถิ-เก-หิ   ภะ-ชิต-ตัพ-โพ  ภะ-คะ-วา )

น่าละอายใจเหมือนกันครับผมเป็นเด็กวัดแท้ๆ ไมสามารถ้ซึมซับ เอาสิ่งดีๆอีกหลายสิ่งติดตัวมาด้วย

                กราบขอประทานโทษพระคุณเจ้าที่เอาภาระมาเพิ่มให้ครับ

                                        รพี

กราบขอบพระคุณ พระคุณเจ้า BM.chaiwut ที่ได้ให้ความกระจ่างในความสงสัยของผม :)

P

รพี กวีข้างถนน

 

  • ภชิตพฺโพติ = ภะ - ชิ - ตัพโพ - ติ

นอกนั้นถูกต้อง...

..........

P

Wasawat Deemarn

 

ตาม Link ที่ให้ไว้... คำอธิบาย ภควา ถ้าอ่านแต่ภาษาไทยที่แปลไว้ ไม่เห็นบาลี ก็จะมองไม่ออก...

.......

เจริญพร

นมัสการค่ะ

มารับความรู้ค่ะ

กราบ 3 หน ค่ะ

นมัสการพระคุณเจ้าอยากทราบว่าคำว่า ทิพยภฤทธิ์ มีความหมายไหมเจ้าค่ะรบกวนช่วยตอบด้วยทางเมล์ให้ด้วยค่ะขอกราบนมัสการลาค่ะ

ไม่มีรูป กัลยาพรไพลิน

 

  • ทิพยฤทธิ์

! ตัวนี้เพิ่มเข้ามา ไม่เข้าใจ คงต้องไปถามผู้ที่ตั้งชื่อนี้

เจริญพร

 

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

มารับความรู้เจ้าค่ะ

อยากเรีียนถามพระคุณเจ้า

ภควา แปลว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วคนที่เอาไปตั้งเป็นชื่อจะเหมาะสมไหมเจ้าคะ

เพราะเห็นมีคนชื่อนี้ด้วยเจ้าคะ

และดิฉันอยากทราบคำที่มีความหมาย ผู้น้อบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

หรือผู้ยืดคำสอนของเพราะผู้มีพระภาคเจ้ามาเป็นที่พึ่ง/ปฏิบัติ เจ้าค่ะ

กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้า

กราบนมัสการลาเจ้าค่ะ

 

30pui

 

เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ? ขึ้นอยู่กับการประเมินค่าของตนเองหรือสังคมนั้นๆ... การใช้ชื่อพระศาสดาหรือเทพเจ้ามาเป็นชื่อตนเอง แง่หนึ่งก็จัดเป็นมงคลนาม แง่หนึ่งก็เป็นการอาจเอื้อม...

ชื่อตามที่ว่า... ยังไม่เจอ เจอแต่เพียงประโยคหรือวลีเท่านั้น

เจริญพร

ขอนอบน้อมแด่พระคุณเจ้าผู้เป็นบุตรโดยธรรมกำเนิดของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

ข้าพเจ้าขอขอบคุณที่พระคุณเจ้าได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้แก่ข้าพเจ้าด้วย เพราะว่าข้าพเจ้าแม้จะได้อ่านพระไตรปิฎกมาก็มากแต่ก็ยังไม่ทราบความหมายแห่งคำว่า"พระผู้มีพระภาค"นี้เลย เพิ่งจะได้ทราบก็วันนี้ หากว่าวันข้างหน้ามีผู้ใดผู้หนึ่งพึงถามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จักได้ใช้ความรู้ที่ได้จากพระคุณเจ้าในวันนี้ ตอบข้อสงสัยของบุคคลนั้นให้กระจ่างได้ เพื่อมิให้บุคคลภายนอกพระศาสนานี้กล่าวโทษได้ว่า อุบาสกในศาสนานี้ แม้เพียงชื่อของศาสดาแห่งตน ก็ยังไม่ทราบวามหมาย จึงขอขอบพระคุณพระคุณเจ้าอย่างสูงอีกครั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท