"บ้าน KM" บ้านหลังนี้หลายๆ ที่ มีแต่ "พื้น"


       ขณะนี้หลายหน่วยงานกำลังพยายามสร้างบ้านที่เรียกว่า "KM" กันอยู่ ในฐานะที่ สคส. เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมเรื่องการทำ KM  ผมมักจะถูกเชื้อเชิญให้ไป "ปูพื้น" เรื่อง KM อยู่เป็นประจำ 

       ผมลองเก็บสถิติดูคร่าวๆ พบว่า ที่ไป "ปูพื้น" ให้หน่วยงานต่างๆ นั้น มีไม่ถึง 10% ที่สามารถทำต่อจากที่ได้ "ปูพื้น" ไว้ให้ คือสามารถ "ขึ้นฝาบ้าน" ได้ หรืออาจจะไปถึงขั้น "มุงหลังคา"  ได้ (แต่มีน้อยมาก)

       สำหรับ 90% ที่เหลือก็คงได้แค่ "พื้นบ้าน"  เท่านั้น เพราะคนในบ้านยังไม่เห็นคุณค่าของ KM ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วเมื่อไหร่ "บ้าน KM" หลังนี้ ในหลายๆ ที่จึงจะเสร็จสมบูรณ์??

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18218เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ในความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่า การที่มีเงินอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่าเราจะสร้างบ้านได้ บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยุ่ร่วมกันของคนหลายๆคน การที่จะสร้างบ้านในฝันได้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมช่วยกันฝัน ช่วยกันสร้าง จะใช้ฝันของใครคนใดคนหนึ่งมาสร้าง คงไม่ได้ เหมือนดังหลายๆที่ที่ใช้นโยบาย top down คือใช้ฝันของผู้บังคับบัญชาคนเดียว ใหม่ๆอาจได้ผลในการเริ่มปุพื้น แต่คงไม่ยั่งยืนหรือไม่สามารถสานฝันขึ้นผนัง ปุหลังคาได้จนเป็นบ้านสวยงาม บ้านหลังนี้สร้างด้วยใจของคนทุกคน เป็นบ้านของเรา เพราะฉะนั้นต้องให้ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง คำถามจึงมีอยุ่ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ทุกคนมีความเห็นร่วมกันว่าสมควรสร้างบ้านหลังนี้ร่วมกัน ซึ่งผมคิดว่าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้ ในการที่สามารถระดมสรรพกำลังของบุคลากรในภาควิชาฯส่วนหนึ่ง (ได้มากพอสมควร) มาร่วมกันสร้างฝันของเราให้เป็นจริง คำตอบที่น่าจะเป็นกุญแจสำคัญ น่าจะอยุ่ที่อาจารย์ปารมี ว่าทำอย่างไรบ้านในฝันของอาจารย์จึงเป็นบ้านในฝันของบุคลากรของภาควิชาพยาธิวิทยา

อ.เปรียบเทียบได้เข้าใจมากคะ  บางทีหนูนั่งคิดการทำ KM หลายคนติดกระบวนการปูพื้นมากเกินไป ไม่มีการต่อเติมเอง คนที่ได้รับการอบรมก็จะมุ่งมั่นตอนอบรม ติดกับกระบวนการที่จัดขึ้น เวลาจะทำจริงเลยยังเป็นระบบที่ต้องมีขั้นตอน  หนูไม่แน่ใจว่าหนูเข้าใจถูกมั้ย หนูคิดว่าการทำ KM การปูพื้นที่ อ.ทำ นั้นต้องการให้คนคิดเป็นระบบมากขึ้นซึ่งเป็นได้ทุกเวลาในชีวิตประจำวันคนที่ได้รับการขยายผลในการอบรม  พอออกมานอกเวทีแล้วต้องคิดให้เป็นระบบขึ้น  สะกัดความรู้จากการพูดคุย สะกัดโดยมันสมองตัวเอง รับรู้ว่าได้อะไรจากการเรียนรู้บ้าง  ลองปฏิบัติ ถ้าเกิดผลดีก็บอกต่อ ว่าตัวเองทำอย่างไร เหมือนการทำวิจัยโดยกระบวนการคือการทำงานในร่างกาย จดบันทึกเพื่อถ่ายทอด เมื่ออิฐบล็อกแต่ละก้อนแข็งแรงมีการเชื่อมต่อด้วยความเข้าใจ  มีเสาเอกที่มั่นคง  ก็คงเป็น KM ที่สมบูรณ์แบบ  หนูคงต้องรบกวนอาจารย์ชี้นำอีกเยอะนะคะ
   ความเห็นส่วนตัวของดิฉันคิดว่า.."ถ้าคนในบ้านเห็นคุณค่าของ KM มากขึ้นเท่าไร บ้าน KM หลังนั้นก็จะยิ่งไม่ เสร็จสมบูรณ์ ค่ะ" แต่จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะ KM ไม่หยุดนิ่ง เป็นธรรมชาติและเติบโตตามกาลเวลา...
   ส่วนขั้นตอนการสร้าง บ้าน KM ที่ยากและเหน็ดเหนื่อยที่สุดก็น่าจะเป็นตอน "ขึ้นฝาบ้าน" นะคะ! (นัยยะ นี้..ท่าน CKO ของภาควิชาพยาธิคงจะตอบได้อย่าง ชัดแจ้ง ที่สุดว่าตอนที่ท่านเริ่ม สร้างนักพัฒนา โดยอาศัยเครื่องมือของ KM แทรกเนียนในเนื้อโครงการPatho-Otop1 นั้น ยากเพียงใด และผลที่สำเร็จออกมานั้นคุ้มค่าเพียงใดค่ะ)
เมื่ออาจารย์ได้ไปปูพื้นบ้านแล้ว  คนในบ้านก็ต้องช่วยกันทำต่อ แน่นอนว่าผู้นำย่อมสำคัญ  แต่ความสำคัญก็อยู่ที่ทุกคนในบ้านที่ต้องร่วมด้วยช่วยกัน   สังคมในปัจจุบันรีบเร่งมาก  งาน km เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้  พื้นฐานเดิมของคนในบ้านนั้นๆก็สำคัญ  แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องค่อยๆเปลี่ยน  เปลี่ยนแปลงเร็วบนความไม่พร้อมอาจมีผลเสียมากกว่าผลดี  บ้านที่สร้างรวดเร็วโดยขาดการคิดเรื่องโครงสร้าง  อาจวางทิศทางห้อง  หน้าต่างที่ผิดได้  ก่อนขึ้นฝาบ้านคงต้องดูทิศทางลมด้วย  บางบ้านรีบวางฝาบ้าน ฝาที่ขึ้นอาจปิดทิศทางลมได้  บ้านที่จะสร้างได้ด้วยใจของทุกคนต้องมีเวลาปรับตัวปรับใจด้วย  อย่างไรก็ตามรู้สึกสนุกกับ KM ค่ะ

บ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จอาจจะมีหลายองค์ประกอบและหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง คิดว่าเจ้าของบ้านที่อาจารย์ปูพื้นไว้แล้วคงไม่ทิ้งค้างไว้ เหมือนกับความรู้หลายส่วนที่เรามี สามารถดึงไปใช้ได้ทุกเวลาที่เหมาะสม อย่างน้อยๆ อาจไม่สำเร็จวันนี้  แต่มีวันหนึ่งที่ต้องสำเร็จแน่นอนบ้านบางหลังอาจต้องรอเวลาบ่มเพาะนานหน่อยจึงจะสุกงอม แต่บางหลังมีช่าง มีปูน มีแรงงานอยู่แล้วไม่ต้องรออะไรเลย อาจารย์ต้องให้เวลาหน่อยนะคะ

เห็นอาจารย์ เปรียบเทียบ การทำ KM เหมือนการสร้างบ้าน ก็เลยขอลองเปรียบเทียบ ดูบ้างว่า...

เมื่อเปรียบเทียบ KM เหมือนกับ "บ้าน" แล้ว ผมคิดว่า หลายๆ คน (หลายๆ องค์กร) เนื่องจากคิดว่าต้องการความสะดวก ต้องการความรวดเร็ว จึงอยากได้ "บ้านแบบพร้อมอยู่" เหมือนประเภท "คอนโด" หรือไม่ก็ "ห้องชุด" ไม่อยากมาเริ่มสร้างตั้งแต่ต้น ดังนั้นจึงมักไม่ค่อยที่จะจริงจัง แล้วก็ขยัน อดทน ที่จะค่อยๆ "สร้าง" บ้านหลังนี้ขึ้นมา สุดท้ายบ้านหลังนี้จึงไม่เสร็จสักที

ท่านอื่นๆ คิดว่าอย่างไรกันบ้าง เราสามารถสร้าง KM หรือ บ้านสำเร็จรูป แบบพร้อมอยู่เลยได้หรือไม่

 

แต่การปูพื้นก็เป็นการปูรากฐานที่สำคัญนะครับ ตอนที่ผมสร้างบ้านผมปูพื้นเสร็จ ผมก็มุงหลังคาเลย แล้วค่อยมาก่อผนังทีหลัง เพราะหลังคาช่วยกันร้อนไงครับ แต่บ้าน Km เป็นบ้านที่สร้างยากมากๆ ครับ แต่พอได้ก่อผนัง(ลงมือทำ) แล้วก็จะรู้ว่ามันไปได้ แต่ในท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับแปลนบ้านครับว่าจะให้บ้านออกมาเป็นแบบไหน

ไปดูเขาสร้างบ้านดินมาค่ะ

เห็นภาพ KM ชัดมากขึ้นเลยค่ะ

อิฐทุกก้อนทำจากดิน ทุกคนลงมือทำร่วมกัน

ตั้งแต่ก่ออิฐดิน จนถึงฉาบด้วยดิน ทุกคนย่ำพื้นบ้านร่วมกัน

บางทีสังคมไทย อาจจะต้องย้อนกลับไปถึงรากเดิมๆ บ้าง

ภาพที่"เรา" ทุกคนร่วมไม้ร่วมมือกันทำงาน

น่าจะชัดเจนกว่า สังคมคนทำงานยุคนี้

    เพราะเราทำกันตามกระแสมากกว่า  โดยเมื่อไม่เกิด Awarenessร่วมกันแต่แรก มันจึงไม่เกิด Attempt  แล้วอย่าหวังว่าจะมีผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้น  มันจึงเป็นของเทียมๆ ที่ตั้งท่าปูพื้นเสียดี พอมีคนบอกว่าบ้านหลังใหม่ดีกว่า ก็ไปปูพื้นบ้านหลังใหม่ และหลังต่อไปอีกหลายๆหลัง โดยไม่หันกลับมามองบ้านหลังเก่า ปล่อยให้ฝนฟ้า และสิ่งปฏิกูลทำลายให้พื้นบ้านหลังเดิมๆผุพังลงไปทีละหลังๆ  เพื่อจะคุยอวดว่าฉันมีประสบการณ์ที่ได้สร้างบ้านแต่ละหลังแล้ว  แต่อย่าถามต่อว่าร่วมกันสร้างอย่างไร  และบ้านสวยน่าอยู่แค่ไหน  สมาชิกในบ้านอบอุ่นใจ  รักและผูกพันกันเพียงใด...
ทุกๆ ท่านสะท้อนภาพบ้านหลังนี้ได้ดีจริงๆ ครับ ....ขอบคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท