สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เข้าไปที่เวปไซด์ http://www.livewellguide.com มีข้อมูลที่น่าสนใจ เลยยกมาบางส่วนให้ท่านผู้อ่านได้รับเสพกันถึงที่ ซึ่งเป็นหัวข้อที่ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ในเรื่องของความสมดุลระหว่าง Yin (หยิน) และ Yang(หยาง)
แพทย์แผนจีนโบราณ (Traditional Chinese Medicine) ...หนึ่งในการรักษาแบบองค์รวม
ด้วยเวลาอันยาวนานมากว่า 3,000 ปีที่ศาสตร์แห่งการรักษาแบบองค์รวมได้เน้นการบำบัดทั้งความคิด ร่างกาย และจิตใจ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น การรักษาแบบแพทย์แผนจีนโบราณเป็นศาสตร์หนึ่งที่ถือกำเนิดมาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติของมนุษย์และจักรวาลซึ่งมิอาจแยกออกจากกันได้นำมาซึ่งความสมดุลและผสมผสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดี
แพทย์แผนจีนได้รวบรวมเทคนิคและวิธีการที่จะทำให้การตรวจสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยโรคเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นับว่าเป็นรากฐานสำคัญอันโดดเด่น ครอบคลุม และมีขอบข่ายของทฤษฎีที่เป็นระบบจากทฤษฎีหยิน (Yin) หยาง (Yang) และธาตุทั้ง 5 (Five Elements) อันได้แก่ ธาตุทอง ธาตุน้ำ ธาตุไม้ ธาตุไฟและธาตุดิน ซึ่งการบำบัดจะถูกควบคุมโดยขอบข่ายของทฤษฎีดังกล่าว
จุดเด่นของการบำบัดด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนโบราณ
- แพทย์แผนจีนโบราณเล็งเห็นถึงความสำคัญของร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญคือร่างกายและจิตใจ ดังนั้นการรักษาจึงไม่เป็นเพียงการบำบัดอาการของโรคเท่านั้น ยังมุ่งเน้นการกระตุ้นให้ร่างกายมีการเยียวยาตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยถือเป็นการรักษาที่ต้นเหตุของโรคมิใช่ตามอาการ
- เป็นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยแต่ละคน ขึ้นกับสภาพร่างกาย สถานการณ์ และปัญหาในแต่ละบุคคล
- ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดโรค โดยช่วยปรับภาวะความไม่สมดุลต่างๆให้กลับคืนมา ส่งผลให้เกิดความสมดุลและช่วยควบคุมให้ร่างกายทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
- เกิดผลอันไม่พึงปรารถนาและพิษสะสมจากการรักษาต่ำมาก
- ส่งผลดีต่อความแข็งแรงและความสมดุลของสุขภาพโดยรวมซึ่งจะทำให้การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แบบอื่นๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เรามาดูกันซิว่าอาหารประเภทใดบ้างที่มีลักษณะของ หยิน และ
หยาง
อาหารหรือพืชที่มีแนวโน้มเป็นหยิน มีลักษณะสำคัญอันได้แก่
- มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูงในอาหาร
- เป็นพืชที่เติบโตงอกงามเร็วในฤดูร้อน หรือภูมิอากาศเขต
ใกล้เส้นศูนย์สูตร
- มีปริมาณน้ำหรือของเหลวอยู่สะสมมากได้แก่ แตงโม
หรือมะพร้าว
- พืชผลไม้ที่สุกง่ายสุกเร็ว
ถูกความร้อนเพียงเล็กน้อยก็เปลี่ยนสภาพเช่น กล้วย ถั่วงอก
ใบตำลึง
พืชที่มีพลังหยินมากเช่น น้ำผลไม้เกือบทุกชนิด น้ำมะพร้าว
น้ำแตงโม น้ำตาลสด ไม่ควรรับประทานมาก
เพราะผลไม้เหล่านี้มีล้วนมีน้ำตาลในผลไม้สูงที่ทำให้เลือดเจือจางในร่างกายเจือจาง
และเปลี่ยนสภาวะเป็นกรดง่ายและปัสสาวะบ่อย
อาหารหรือพืชที่มีแนวโน้มเป็นหยาง
มีลักษณะสำคัญอันได้แก่
- มีสัดส่วนของโซเดียม (เกลือ) สูง
- เป็นพืชที่เติบโตงอกงามเร็วในฤดูหนาว หรือภูมิอากาศภาคเหนือ
เช่นลำไย
- มีปริมาณความชื้นหรือน้ำภายในน้อย
- พืชผลไม้ที่ใช้เวลานานกว่าจะสุก
- พืชใดที่รับประทานแล้วให้ความร้อนสูงกว่า เช่นพืชประเภทพืชราก
เช่น ขิงหรือโสม เป็นหยางมาก หากรับประทานมากจะรู้สึกกระฉับกระเฉง
ว่องไว
เคล็ดลับที่นับว่าน่าสนใจในการปรับสมดุลระหว่างหยินและหยาง อันได้แก่ การปรับสมดุลของชาวญี่ปุ่นเช่น เครื่องดื่ม สาเก มีความเป็นหยิน เวลาดื่มหากแช่น้ำร้อนเป็นการปรับลดหยินลง กลายเป็นหยางมีสรรพคุณของยาบำรุงได้ ในกรณีเดียวกันถ้าเกิดเพิ่มความเป็นหยินเช่น การแช่เย็น ใส่น้ำแข็ง และยังกินในห้องแอร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มความหยินมากขึ้นหลายทวีคูณ ทำให้เครื่องดื่มเหล่านี้ไม่เหมะสมกับเลือดในร่างกาย นำไปสู่โรคตับและโรคอื่นตามมา ซึ่งไม่เป็นผลดีกับสุขภาพเลย
ดังนั้นในการเลือกซื้อ การกินอาหารของคนรุ่นใหม่ บ่อยครั้งเราจะเห็นว่าไม่ คำนึกถึงสุขภาพ เลือกแต่สะดวกซื้อ สะดวกกิน เอาความง่ายเข้าไว้ ไม่พิถีพิถันการเลือก การปรุงและการกินมากเหมือนในสมัยก่อน อาจเป็นเพราะยุคสมัยเปลี่ยนไป คนบางกลุ่มให้ความสนใจเรื่องอื่นมากกว่าเรื่องการกิน และบางครั้งหันไปสนใจอาหารตะวันตกมากกว่าอาหารตะวันออก ดังนั้นอยากให้ผู้อ่านสนใจในเรื่องการกิน เลือกกินอย่างฉลาดเพราะการกินก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพและการมีชีวิตที่ยืนยาว