ทำไงให้หมอและพยาบาลอยู่อำเภอนานๆ


มีวิจัยเยอะแยะ นโยบายก็ทดลองมาแล้วหลายแบบ

วันนี้ไปแนะนำวิทยานิพนธ์คุณหมอ นิลเนตร ผอ รพสูงเนินที่กำลังทำปริญญษเอกอยู่ที่นิด้า

ความเป็นหมอ รพช มาตลอดชีวิตคุณหมอเลือกทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ทำให้หมอ อยู่รพ ชุมชน โดยให้เหตุผลว่ามีการศึกษามาแยะมากแล้ว ถึงสาเหตุที่หมอไม่ยอมอยู่ รพ ชุมชน

แต่ยังไม่เห็นมีใครสนใจจะรู้ว่าคนที่อยู่ได้นานๆเขาอยู่ได้เพราะอะไร

คุณหมอยังได้ทบทวนการศึกษาที่ผ่านมาในเมืองไทยว่าด้วย นโยบายและผลการวิจัยสารพัด พบว่ามีวิจัยเยอะแยะ นโยบายก็ทดลองมาแล้วหลายแบบ เพื่อจะทำให้หมออยู่ รพ ชุมชนได้นานๆ เพราะที่ผ่านมา แม้จะมีนโยบายบังคับให้แพทย์ใช้ทุน พอครบ3 ปีตามสัญญาก็จะเหลือทงานที่ รพ ชุมชนเพียงไม่ถึง 1 ใน 4 และถ้าเป็นช่วงเศรษฐกิจดีๆ ก็จะเหลือน้อยกว่านั้นอีก

ถ้าเอาแค่นโยบายการทำให้หมออยู่ รพ ชุมชนนานๆมีหลายโปรแกรมที่เน้นการให้โอกาสคนในชนบท  1.การเลือกคนจากชนบทมาเรียนโดยมีสัญญาผูกมัดให้กลับไปทำงานที่จังหวัดที่ตัวเองได้รับเลือกมาเรียน ที่มีมาตั้งแต่ราว 25 ปีที่แล้ว และยกเลิกไปเพราะเอาเข้าจริงก็ไม่สามารถเก็บคนที่จบให้ทำงานที่ ชนบทได้นานๆ

2. มีโครงการแพทย์แนวใหม่ที่ให้คนจบปริญญาตรีแล้วมาเรียนอย่างทีผมเขียนไว้ใน blog ก่อนหน้านี้

http://gotoknow.org/blog/learningsociety/179331?page=1

3. มีนโยบายของมหาวิทยาลัยภูมิภาคให้โควต้าคนในภาคที่มหาวิทยาลัยนั้นๆตั้งอยู่ โดยมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีสัญญาผูกมัดว่าต้องกลับไปทำงานในพื้นที่ที่ตัวเองได้จบชั้นมัธยม

4 มีการรื้อฟื้นโครงการรับนักศึกษาจากพื้นที่ขึ้น้ใหมโดยคราวนี้ให้ กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าของโครงการ แล้วส่งไปเรียนที่โรงเรียนแพทย์ โดยไม่มีการผูกมัดพื้นที่ทำงานไว้ล่วงหน้าแบบที่เคยเป็นก่อนหน้านี้

ปรากฏว่่าสถานการณ์การไปอยู่บ้านนอกก็ยังไม่ได้ดีขึ้นเทาไร

จากที่คุณหมอทบทวนทางทฤษฏีก็ดูจะชัดเจนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของ ปัจจัยตัวบุคคล ผสมกับปัจจัยเชิงองค์กร และการที่มาจากพื้นที่ชนบทก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น

การดูแลหรือที่เรียกกันเป็นวิชาการว่า การบริหารงานบุคคล และการบริหารองค์กรให้แพทย์มีความสุข และความพอใจในการทำงาน พร้อมกับได้เรียนรู้ และมีค่าตอบแทนพอสมควรเป็นปัจจัยอีกกลุ่มที่สำคัญ แต่ยากที่จะจัดการให้ดีภายใต้กติกากลาง ของการบริหารโรงพยาบาลที่เป็นระบบราชการ

การคัดเลือกคนจากชนบทมาเรียนโดยหวังให้กลับไปทำงานได้นานๆ จึงเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของการจัดการ อีกครึ่งหนึ่งคือการบริหารองค์กร และการบริหารบุคลการอย่างที่ว่ามา

 

หมายเลขบันทึก: 179605เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ไม่ยากหรอกครับคุณหมอ ลองส่งคนในชนบทที่อยู่ในท้องถิ่นไปเรียนแล้วให้เขากลับมาทำงานที่บ้านเกิด รับรองอยู่นานแน่ๆๆ แต่ไม่ควรให้เขาไปเรียนนานนัก จะทำให้เขาติดกับ ความเจริญ เดี๋ยวไม่กลับมาในชนบทอีก ควรทำสัญญาด้วยว่า ให้กลับมาทำงานในชนบทที่เขาอยู่ครับ ขอบคุณครับ

คิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้เขารักชุมชนที่เขาเติบโตมา รักคนในชุมชนนั้น เห็นว่าชีวิตที่มีคุณค่าคือการพัฒนาบ้านเกิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างไม่ได้ในช่วงสั้นๆค่ะ ต้องสั่งสมมาตั้งแต่เขายังเล็กๆกันเลยทีเดียว

สวัสดีครับคุณหมอ

    สำนึกรักบ้านเกิดหรือแผ่นดินเกิดปลูกด้วยใจ รดด้วยน้ำใจครัีบ หากเจริญเติบโตขึ้นได้ดี ก็จะผลิดอกออกผลในชุมชนนานๆ และยั่งยืนครับ เพราะไม่มีเงื่อนไขอื่นมาครอบให้ต้องเดินตามเกมส์

กราบขอบพระคุณมากครัีบ

  • พี่สมศักดิ์ค่ะ
  • เห็นด้วยกับคุณเม้งค่ะว่า.....ต้องปลูกด้วยใจ.....ใช้น้ำใจรด .....การเติบโตที่ผูกพันจึงจะเกิด........
  • ความจริงน้องๆที่จบใหม่....ต่างใสๆสดชื่น...พร้อมลุย
  • แต่ทำไป...ลุยไป.....น้ำใจที่จะรดรินให้ชุ่มชื่นมันแห้งหายไป......จากผู้บริหารจัดการ......รินรดแต่คำสั่งว่า...ต้องทำนั่นต้องทำนี่อยู่ร่ำไป......ใจที่พบแต่น้ำสั่ง....มิใช่น้ำใจมันเลยเหี่ยวแห้ง...ใจใหญ่จึงหดหาย.....กลายเหลือเป็นจิตเล็ก......ทำงานไปเหมือนจะขาดใจ....ไร้ซึ่งคนเหลียวแลช่วยเหลือ.....เมื่อยามเหนื่อยแสนเข็ญ......ปล่อยปละให้แก้ปัญหาเอง......ใครเล่าจะแกร่งพอที่จะอยู่ได้นาน
  • .........
  • คนที่อยู่ได้นาน......หาใช่ใจแกร่งไม่.....หากแต่มีน้ำใจรินหลั่งให้พันผูก.......จึงทำให้......ยอมให้ใจแลกกลับค่ะ
  • ..........
  • อยากบอกแทนน้องว่า.....อย่าคิดแต่ว่าความปลอดภัยที่ต้องดูแลคือเรื่องกายเท่านั้น.......
  • สิ่งที่สำคัญพอๆกันคือความปลอดภัยทางใจ......ซึ่งเมื่อเกิดมีแล้ว......ความมั่นใจ...วางใจก็ตามมา....
  • การมีคนให้พึ่งได้...เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้องไม่อยากจากไปเช่นกัน

ถ้าปัจจัยสำคัญอยู่ที่การบริหารกำลังใจ และพลังใจ บทบาทของระบบบริหารงานบุคคล และความสามารถของผู้นำองค์กรก็จะเป็นปัจจัยสำคัญ

  • ใช่เลยค่ะ....ท่านพี่
  • ........
  • บทเรียนรู้นี้.....น้องก็ถอดได้จากผลงานที่ท่านพี่ได้มอบให้กับน้องๆเรื่อยมานั่นแหละค่ะ
  • ........
  • น้องจบศิริราชรุ่น 84 รุ่นเดียวกับหมอเฉิน หมอเอ๋ค่ะ

พวกเราผู้สูงวัย (ไม่อยากคิดเลยว่าตัวเองสูงวัยซะแล้ว รวมทั้ง ศิริราชรุ่นตัวเลขน้อยกว่า 90 ด้วยนะครับ) น่าจะต้องช่วยกันถ่ายทอดความคิด และประสบการณ์ดีๆให้กับรุ่นหลังๆครับ ตอนนี้เห็นรุ่นหลังๆถูก bombard ด้วยวิธีคิดแบบ ปกป้องตัวเอง แทนที่จะรุกทำงานให้ดี แล้วก็เห็นใจมากเลย

หมอเจ๊คะ..สวัสดีคะ..แวะมาอ่าน Blog อาจารย์หมอ.เห็นหมอเจ๊ดีใจคะ

อยากให้สำเร็จจังคะ...ผอ.หล่มสัก ผอ.ตาคลี และอีกหลายๆ ผอ.ที่อยู่นานๆ แล้วคิดดีๆ..สำหรับพวกเราแล้ว..ลุ้นรายวันคะ.บางทีต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์เลยคะ.อยากให้ความคิดดีๆ ผอ.ชนบทสำเร็จ

สวัสดีครับคุณ หมอ ผมเคยตั้งคำถามกับผอ. และขอสามข้อในการพัฒนาโรงพยาบาลสู่คุณภาพ

1. หมอต้องไม่เปิดคลินิก

2.หมอต้องนัดประชุมทีมนอกเวลาราชการ( แปดชั่วโมงในเวลาปกติเอามาประชุมคนไข้เสียประโยชน์ป

3.ต้องประกาศงานคุณภาพเป็นนโยบายสาธารณ ที่ทุกคนในองค์กรร่วมกันสานฝันจับมือเดินไปด้วยกัน

แฮๆๆสุดท้ายก็เป็นบทรำพึงของคนแก่ว่า

"ฉันแก่ ฉันแย่ ฉันเศร้า

ฉันเฝ้าคอยหวังคลื่นลูกใหม่

ฉันฝันงานพัฒนาไว้ตั้งมากมาย

สุดท้ายเป็นได้แค่ความฝัน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท