ความเร็วและพลังในการใช้ชีวิต


คราวที่แล้วเขียนไว้ว่า  เป้าหมาย(ความคิด) และ เงื่อนไข (แรงจูงใจ) เป็นตัวกำหนด วิธีการ (พฤติกรรม)

ครั้งที่แล้ว  เรามองว่าในส่วนของ  เป้าหมายหรือความคิดที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมนั้นประกอบขึ้นมาจาก

  • ประสบการณ์ของตัวเอง 
  • ข้อมูลจากภายนอกที่ผ่านเข้ามา 
  • และแรงบันดาลใจ  

ที่จริง ขาดสิ่งสำคัญมาก คือ  "สติ ปัญญา" และ "จินตนาการ"

คร้้งที่แล้ว  เวลาพูดถึง วิธีการหรือพฤติกรรมนั้น  เราคิดถึงในแง่ "ทิศทาง"ของพฤติกรรม เป็นหลัก  ในชีวิตจริงนั้น  สิ่งที่สำคัญมากอีกอย่าง คือ "ขนาด"  หมายถึง  "ความกระตือรือล้น  ความมุ่งมั่น" ในการประพฤติปฏิบัติ   อันนี้เองที่เราตั้งชื่อหัวข้อบันทึกนี้ไว้ว่า "ความเร็ว และ พลัง" ของการใช้ชีวิต

อะไรที่ทำให้คนเรา กระตือรือล้นและมุ่งมั่นทำบางสิ่งบางอย่างได้มากมายและมีพลังขนาดนั้น    แต่ทำไม บางช่วงของชีวิต คนเราจึงกลับเฉื่อยชา..

นักจิตวิทยาอาจมีคำตอบให้  แต่เราคิดว่า  แต่ละคนมีคำตอบของตัวเองว่า  "ไฟ" ในใจ ที่เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนนั้นมาจากไหน.. ไฟยิ่งแรง ก็ยิ่งมีโอกาสดับวูบได้เร็ว โดยเฉพาะหากเป็น "ไฟ" หรือกำลังใจที่มาจากภายนอก

พุทธอาจบอกว่า ทำให้ช้าลงแต่มีสติ มีสมาธิ  นั่นคือ ใช้พลังใจจากภายในของเราเอง  สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้นคงรวมถึงการเป็นกำลังใจให้ตัวเองด้วยในการที่จะ คิดชอบ ระลึกชอบ และ ประพฤติชอบ

แต่คำว่า อะไรคือคิดชอบ  ระลึกชอบ ก็เป็นสิ่งที่เรานั่งคุยกับ ดร.พิพัฒน์ อยู่ช่วงหนึ่งเท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวยให้ในวันนั้น

 

หมายเลขบันทึก: 175534เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2008 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

การดำริที่จะออกจากกาม(รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสและการนึกคิดหรือกิเลส คือโลภะโทสะโมหะ) คือการคิดชอบ

การระลึกในอารมณ์สติปัฏฐาน คือการระลึกชอบ

การเว้นจากกายทุจริต๓ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม) คือการประพฤติชอบ

ไม่ทราบใช่สิ่งที่อาจารย์กำลังหาอยู่ไหม

ส่วนความมุ่งมั่นกระตือรือล้นนั้น คือความเพียรชอบหรือสัมมาวายามะคือ

เพียรไม่ทำชั่ว ไม่นึกถึงความชั่วที่เคยทำ ทำกรรมชอบที่ไม่เคยทำ ที่ทำแล้วก็ทำให้มากยิ่งขึ้นไป

ส่วนความเฉื่อยชา นั้นเป็นกิเลส อย่างหนึ่ง มันเกิดเอง พอรู้ตัว คนมีปัญญาส่วนใหญ่ก็สลัดมันทิ้งไปได้ครับ

ขอบคุณคุณชินมากค่ะ ตอนที่เขียนบันทึกเรื่องนี้นั้น ยังนึกถึงคุณชินว่า คุณชินอาจให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ได้ ..และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ   ขอบคุณที่เข้ามาช่วยให้ความกระจ่างค่ะอีกครั้งค่ะ

มาเยี่ยมครับ

ขอบคุณครับสำหรับน้ำอาบใจในเวลาที่จำกัด :-)

สวัสดีค่ะอาจารย์เอก ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ..อาจารย์สบายดีนะคะ

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ ขอให้มีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง สดชื่นแจ่มใสครับ

สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ปัทมาวดี

ผมเข้าใจว่าสติปัญญากับจินตนาการน่าจะเทียบเคียงได้กับ critical thinking และ creative thinking ซึ่งทักษะการคิดทั้งสองอย่างนี้(น่าจะ)เป็นเป้าหมายหลักของการศึกษา โดยเฉพาะในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา ส่วนเรื่องของไฟนี่น่าจะเทียบได้กับ motivation ซึ่งมีทั้งจากภายในและภายนอก ถ้ามาจากภายนอกนั้นก็มีโอกาสหมดไปได้ง่าย หรือเกิดอาการเบื่อ แต่ถ้ามาจากภายในก็น่าจะอยู่ได้นานกว่า ถ้าไฟเกิดได้จากภายในแสดงว่าคนนั้นน่าจะรู้ว่าตัวชอบอะไร อยากอะไร คือพบตัวเองระดับหนึ่ง

ผมสงสัยว่าในขณะที่ระบบการศึกษาปัจจุบันนอกจากไม่ค่อยจะมุ่งไปที่สติปัญญา และจินตนาการ คือมุ่งแต่ผลิตทักษะที่จำเป็นในการทำงานแล้ว ยังไม่คิดถึงเรื่องไฟเลยด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะเห็นนักเรียนที่ถ่วงเรียนไปเรื่อยๆ เพื่อหวังว่าจะได้ไม่ต้องออกมาสู่ตลาดงาน หรือหลายๆ คนที่เรียนไปเรื่อยๆ เพื่อจะได้เงินเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือเด็กที่เรียนเก๊งเก่ง แต่ไม่รู้จะเก่งไปทำไม ยิ่งเรียนก็ยิ่งกดดัน เพราะเอาคะแนน เอาเกรดมาเป็นแรงจูงใจ เอามาเป็นไฟในการเรียน

มาบ่นในบล็อกอาจารย์ก่อนปีใหม่ ขออภัยด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะคุณสิทธิรักษ์

ขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีในวันขึ้นปีใหม่ไทยนะคะ

สุขสันต์วันสงกรานต์เช่นกัน

ขอให้มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงค่ะ

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะคุณแว้บ

ยินดีรับคำบ่นค่ะ :)

ที่จริง ถือว่าเป็นคำปรารภ ซึ่งเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เว้นแต่ว่า ตัวเองขอเรียกเกรดว่า เป็น "แรงจูงใจ" มากกว่า "ไฟ" ค่ะ (อันนี้เป็นไปตามการให้ความหมายส่วนตัวค่ะ)

การศึกษาเพื่อ "จุดไฟในใจ" นี่ก็พยายามอยู่เหมือนกันค่ะ แต่ยังไม่ได้วิธีที่ลงตัวค่ะ

สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ

ยังไม่กลับจากสงกรานต์อีกหรือปัทม์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท