อาจารย์โกฯ อาจารย์กูฯ


สวัสดีครับทุกท่าน

       สบายดีนะครับ ทุกวันนี้แต่ละ่่ท่านคงทราบกันดีว่าข้อมูลอยู่ี่ที่ปลายนิ้ว สารสนเทศอยู่ที่หางตา เมื่อสมองสั่งปลายนิ้ว หางตาก็จะเห็นสารสนเทศทันที เพราะว่าท่านมีโอกาสนั่งทับข้อมูลมากมายทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้อย่างไร) กระบวนการหนึ่งในการที่จะดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ (ที่สนใจ เพื่อจะนำไปใช้) ก็คือต้องมีการขุดข้อมูลที่ต้องการขึ้นมา ว่าไปก็เหมือนการสูบน้ำบาดาล หย่อนท่อลงไปแค่ไหนก็จะเจอน้ำหรือไม่ ลึกต่างๆ กันก็ได้น้ำีี่ที่ต่างๆ กัน

วันนี้มาแนะนำอาจารย์สองท่านที่หลายๆ ท่านรู้จักกันดีนะครับ สองท่านนั้นก็คือ

  1. อาจารย์โกฯ (โกฯ มาจาก โกทูโนว์ ครับ gotoknow.org โดยมีอาจารย์ตัวจริง เสียงจริง นิ้วจริงอยู่เบื้องหลังของขุมความรู้ ขุมปัญญา ในทุกๆ ระดับสาขาอาชีพ) ซึ่งหากวันหนึ่ง อาจารย์โกฯ ได้เข้าไปสู่ัชุมชนระดับปัญญาของสังคมไทย ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่จะเกิดตะกอนทางภูมิปัญญาของชาติในพื้นที่นั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะหากเราำทำการจุดที่มาของอาจารย์โกฯเบื้องหลังก็จะกระจายอยู่ทั่วประเทศเช่นกัน
  2. อาจารย์กูฯ (กูฯ มาจาก กูเกิ้ล) ท่านนี้ทุกคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีเช่นกัน เพราะว่า อาจารย์โกฯ ก็ใช้บริการของอาจารย์กูฯ มาช่วยดึงข้อมูลของอาจารย์โกฯ ขึ้นมาแสดงได้ด้วย

       ประเด็นหลักที่ผมอยากจะนำเสนอ เพราะว่าติดค้างอยู่ในความคิดมาพักใหญ่แล้ว โดยมีข้อสมมติอนาคตไว้ว่า

  1. อาจารย์โกฯ จะเป็นอาจารย์แห่งการดึงภูมิความรู้ของคนไทยขึ้นมาโยงแขวนไว้ให้เข้าถึงภูมิปัญญานั้นๆจากทุกๆ แหล่งพื้นที่
  2. อาจารย์โกฯ จะเป็นระบบในการสกัดและติดตามปัญหา ย่อยปัญหาให้เป็นโมเลกุลย่อยที่สังคม หรือชุมชนจะนำไปใช้ได้ จากอาจารย์เบื้องหลังอาจารย์โกฯ จากทั่วสาัรทิศ นั่นหมายถึงว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในสังคม มีคนมาป้อนคำถามทิ้งไว้ ก็จะมีการนำมาถกกันจนเกิดการย่อยและมองในมุมมองต่างๆ จากหลากหลายสาขาอาชีพ ก็จะทำให้ได้เข้าใจ ดีเอ็นเอของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น ก่อนนำลงไปแก้ปัญหาจริง
  3. อื่นๆ

       การเข้าไปถึงข้อสมมติเหล่านี้ เราต้องหากระบวนการในการพัฒนาระบบการจัดการเพื่อเข้าถึงข้อมูล (สมมติข้อที่ 1) และระบบการเอื้ออำนวยให้เกิดการสั่งสมข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ (สมมติข้อที่ 2) ผมจึงมีคำตอบเบื้องต้นมาให้พิจารณากันครับ หากสมมติที่ผมตั้งมานั้นตรงใจท่าน และขอนำเสนอแนวทางการไปถึงสมมติทั้งสองข้อดังนี้

  • จากสมมติข้อที่ 1 นั้นจริงๆ ตอนนี้ ก็ดำเนินอยู่ได้เป็นอย่างดีครับ โดยมีระบบค้นหา เชื่อมโยงผ่านอาจารย์กูฯ ในการดึงข้อมูลมาแสดง และพรวนบทความผ่านบันทึกต่างๆ ของชาวบล็อกเกอร์ภายใต้ระบบของอาจารย์โกฯ
  • จากสมมติข้อที่ 2 ที่อยากจะำนำเสนอเพิ่มเติมก็คือ การจะำทำอย่างไรให้มีอาจารย์โกฯ นั้นสามารถตอบคำถามได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น คำตอบผมตอนนี้ก็คือ การสร้างระบบเือื้ออำนวยเสริมให้เกิดการนำเสนอปัญหา ประเด็น ข้อวิจัย ข้อสังเกต อื่นๆ เพื่อจะนำไปสู่การขบคิด วิเคราะห์ประเด็น แล้วนำไปแตกเป็นลูกข่ายย่อยในรูปแบบบันทึกใหม่ จึงขอกล่าวให้เห็นเป็นรูปธรรมตามลำดับดังนี้ เช่น
    1. อาจารย์โกฯ อาจจะมี ระบบหน้าหลักรับประเด็นคำถาม ประเด็นที่สนใจ ปัญหา (ประมาณคล้ายๆ เว็บบอร์ดนะครับ โดยเกิดการเปิดเพียงหัวข้อคำถาม และคำอธิบายในสิ่งที่อยากรู้ อยากนำเสนอประเด็น พร้อมการนำเสนอ คำหลัก เพื่อใช้เชื่อมโยงไปยังบทความใหม่) นั่นหมายถึงว่า เช่นผมอยากจะทราบ การปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา ผมก็ตั้งกระูทู้เรื่องนี้ขึ้นมาในหน้าชุมชนคำถาม แล้วบอกรายละเอียดต่างๆ คร่าวๆ และตั้งคำหลักเอาไว้ เช่น ยูคาลิปตัส เมื่อผมโพสต์ประเด็นนี้ลงไป ท่านครูบาฯ ผู้เชี่ยวชาญยูคาฯ ก็มาพบ และมีองค์รู้ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ก็อาจจะไปดึงขุมความรู้และประมวลเขียนเป็นบทความใหม่ โดยตั้งคำหลักตรงกันกับที่กำหนด ระบบอาจารย์โกฯ ก็จะทำการเชื่อมโยงระบบคลังคำถาม กับคลังบทความให้ได้
    2. แนวทางนี้จริงๆ แล้วไม่ได้ใหม่อะไรเลยครับ เหมือนๆ กับกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านๆ มา ที่มีการกำหนดว่าใครโดนแท็ก ก็ใช้คำสำคัญเหล่านั้นเหมือนๆ กัน เช่นแท็กคิดถึง อะไรทำนองนี้นะครับ เพียงแต่ว่า เมื่อเวลาผ่านไปกิจกรรมเหล่านั้นจะเลือนๆ ไปเองครับ แต่หากเรามีหน้าคลังคำถาม คลังประเด็นจุดประกายบทความด้วย จะทำให้มีการโยงใยตัวใยปัญญา ใยความรู้เพิ่มขึ้นได้ ประกอบกับการกระตุ้นให้คนที่ไม่มีประเด็นจะเขียนบทความได้ลองค้นหาข้อมูลจากพระอาจารย์กูฯ ได้เพื่อทำการศึกษาและนำมาสร้างเป็นบทความลูก และเข้าสู่ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างที่เป็นอยู่ครับ
    3. ท่านมีความเห็นอย่างไร ลองวิจารณ์กันดูครับ  จริงๆ ในระบบคลังคำถามที่มีตอนนี้เป็นคลังคำถามถึงบุคคลรายตัว ซึ่งยังแยกกันอยู่ เมื่อวันหนึ่งเรามีระบบรวมคลังคำถามลงไปที่หน้าหลักของพระอาจารย์โกฯ อาจจะเกิดการกระตุ้นในการทำให้เกิดบทความดีๆ อาจจะมีการแต่งร่วมหรือการบูรณาการบล็อกเกอร์ขึ้นก็ได้ในบทความเดียวกัน
    4. อื่นๆ
  • อาจจะมีแนวทางอื่นๆ มากมายในการที่จะจัดการคลังข้อมูลที่มีอยู่มากในการจัดการให้เกิดเป็นสารสนเทศหรือจะทำให้เกิดการเปลี่ยนจากความรู้เป็นข้อมูลใหม่ๆ ได้ครับ
  • ท่านลองคิดเพิ่มเติมต่อยอด กันดูนะครับ เผื่อได้อะไรที่น่าสนใจเกิดขึ้นครับ
  • มองง่ายๆ นะครับ มองอ่าวไทย คือ อ่าวแห่งความรู้ของสังคมไทย แม่น้ำหลายๆ สาย จากทั่วทุกภาคก็หลั่งไหลลงมาสู่อ่าวไทย (แม้อาจจะมีสายอื่นไหลลงอันดามัน ก็คือทะเลเดียวกันอยู่ดีนะครับ)
  • ลองร่วมคิดกันดูนะครับ ว่าท่านอยากจะเห็นอะไรในอ่าวไทยบ้างครับ (อ่าวปัญญาไทย)
  • ไม่มีอ่าว ไม่มีน้ำ ไม่มีน้ำ ไม่มีชีวิต

 

ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ รวมๆ แล้วคือ การใช้แนวคิด

คลัง(ตั้ง)คำถาม ล่อความรู้ สู่ปัญญา หาทาง(แก้)ร่วมสร้าง ช่องว่างหาย

กราบขอบพระคุณมากครับผม

เม้งครับ

ปล. เขียนมาเพียงนำเสนอให้ขบคิดกันเฉยๆ นะครับ เพราะว่ามันค้างอยู่ในความคิดผมมาพอสมควร หลังจากที่ได้คุยกับพี่เหลียง สิทธิรักษ์ (หมีแพนด้า เก็บตะกอน) ในเรื่องนี้นะครับ เราแอบคิดกันว่าเราอยากเห็นโกทูโนว์มีทุกอย่างในนี้ และหลากหลาย และทุกระดับสาขาอาชีพ และประเทืองปัญญา อาหารสมองกับสังคมไทยต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 171166เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2008 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นประเด็นที่ดีมากเลยครับ พวกเราจะตีโจทย์นี้และพัฒนาเพิ่มเติมครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

    สบายดีนะครับผม ผมเองเกรงใจที่จะเสนอตรงๆ เพราะเข้าใจหลายๆ อย่าง และอาจารย์ก็คงยุ่งมากๆ เช่นกันนะครับ แต่เขียนแขวนไว้อย่างนี้ให้ขบคิดกันก่อนนะครับ หากจะเป็นประโยชน์ก็จะตกกับส่วนรวม และทีมงานก็ต้องรำเพลงกันพอสมควรกว่าจะเป็นรูปธรรม ซึ่งทางทีมงานก็มีแผนงานของแลปอยู่แล้วครับ

    เป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆสู่สังคมนะครับ

อาจารย์โกฯ อาจจะมี ระบบหน้าหลักรับประเด็นคำถาม ประเด็นที่สนใจ ปัญหา (ประมาณคล้ายๆ เว็บบอร์ดนะครับ โดยเกิดการเปิดเพียงหัวข้อคำถาม และคำอธิบายในสิ่งที่อยากรู้ อยากนำเสนอประเด็น พร้อมการนำเสนอ คำหลัก เพื่อใช้เชื่อมโยงไปยังบทความใหม่)

แล้วมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตอบ ลปรร แต่ผู้เชี่ยวชาญจะมา ลปรร กับเราไหม

เพราะทุกวันนี้ บางบทความที่เราเขียนส่วนมากมาจาก tacit K ของตนเอง  หลายคนเข้ามาอ่าน ให้ความเห็นเล็กน้อยๆ ให้กำลังใจ

แต่จะมีส่วนน้อยที่มาแลกเปลี่ยนในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ

ดังนั้นทุกวันนี้  ถ้าเราสนใจเรื่องอะไร เราจะใช้อาจารย์กู แล้วค่อยมาสรุปแนวคิดเองค่ะ 

สวัสดีครับพี่อุบล จ๋วงพานิช

    ขอบคุณมากๆ นะครับ

แล้วมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตอบ ลปรร แต่ผู้เชี่ยวชาญจะมา ลปรร กับเราไหม????

    เรื่องนี้ผมไม่ค่อยห่วงครับ ผมคิดว่าค่อยเป็นค่อยๆ ไป เพราะการปรับนิสัยคนเราต้องใช้เวลาครับ ลองคิดตอนที่เราไม่มี โกทูโนว์ดูนะครับ เราเป็นอย่างไร แล้วตอนที่มีโกทูโนว์ในยุคแรกๆ จนมาถึงทุกวันนี้ครับ ผมว่าแนวโน้มเราไปได้ดีนะครับ ขอเพียงแต่เราตั้องเป้าไว้อย่างเดียวว่า เราำทำเพื่อส่วนรวม...เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม เป็นที่ตั้ง แล้วสิ่งดีๆ จะตามมาเองครับ

    ไม่ทำไม่รู้ครับ....

ขอบคุณมากๆ นะครับ

 

พี่ก็ได้น้องเม้ง ที่คอยเป็นผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำจนเข้าใจทุกครั้ง  ที่เริ่มพบปมประเด็นปัญหา

ขอบคุณค่ะน้องเม้ง

พี่อุบล จ๋วงพานิชครับ

    เน้นการเติมเต็มให้กันนะครับ เพราะเราแต่ละคนเป็นโอ่งที่ไม่เต็มน้ำด้วยกันทั้งนั้นครับ ใครมีอะไรก็เติมให้กันครับ น้ำที่ได้ก็มีเกลือแร่ ให้ดื่มกันตลอดไปได้ครับ คราวนี้ โอ่งที่เรามีแต่ละคนก็อาจจะมีฝาปิด บางคนอาจจะไม่มีฝาปิดครับ หากฝาโอ่งปิดเติมน้ำก็ไม่ได้ครับ ประโยชน์็ก็ไม่เกิด ดังนั้นเราก็เลือกเติมน้ำี่ที่เราพอมีในโอ่งที่เปิดได้เท่านั้น ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเปิดฝาโอ่งเราเช่นกัน ก่อนจะตักน้ำจากโ่อ่งเราไปใส่โอ่งคนอื่นครับ

    ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ ที่ทำให้ได้คิดต่อดีๆ เสมอมานะครับ เห็นไหมครับว่าพลังความจริงใจเกิดได้ทุกสาัยช่องทางหากเราจะให้เสียอย่างผลดีมันเกิดเองครับ ผมมีโอกาสทำงานกับคนที่ไม่เคยพบตัวจริงมาพอสมควรครับ งานจะสำเร็จไม่ได้เลยหากขาดคุณสมบัตินี้ที่มีให้กัน เสมอกันครับ

บรรเจิดจริงๆ ชอบมาก คิดต่อในการใช้ประโยชน์ และร่วมสร้างครับน้องเม้ง

  • แวะมาอ่านครับ
  • เพลงเพราะนะครับ อิๆ

สวัสดีครับน้องจิ นางสาว จิราภรณ์ น้องจิ กาญจนสุพรรณ

    สบายดีไหมน้องสาว เอาภาพมาฝาก ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ขอให้น้องสาวจงสำเร็จในการเรียนและเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปนะน้อง

ขอบคุณมากนะครับ

สวัสดีครับพี่บางทราย บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

    สบายดีนะครับ ร่วมด้วยช่วยสร้างครับ แต่ผมช่วยได้แต่ให้แนวคิดเท่านั้นครับ ต้องไปศึกษาอีกเยอะครับ รักษาสุขภาพนะครับ

สวัสดีครับคุณกวีกวินทรากร

    ขอบคุณมากครับผม ที่แวะมาเยี่ยมครับ สบายดีนะครับ โชคดีครับ

  • สวัสดีค่ะน้องเม้ง ไม่ได้แวะมาซะนานเพราะเดี้ยงค่ะ
  • เมื่อก่อนรู้จักแต่อาจารย์กู แต่ตอนนี้รู้จักอาจารย์โกว มากขึ้น
  • น่าสนใจเหมือนกันนะคะ หากจัดเก็บหมวดหมู่ต่างๆได้เป็นระบบขึ้น
  • การฝากข้อความหรือเปิดประเด็นคำถามทิ้งไว้ตามบันทึกเท่าที่สังเกตพี่ว่าคนที่มีความรู้เข้ามาตอบพอสมควร
  • แต่บันทึกมาเร็วไปเร็ว จำนวนบันทึกเยอะมากในแต่ละวันอ่านไม่ทัน
  • หากมีกระดานคำถามค้างไว้ทั้งวันน่าจะมีคนเข้ามาตอบมากขึ้นกว่าเดิม
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะน้องเม้ง

สวัสดีครับพี่นารีnaree suwan

    สบายดีนะครับผม ช่วยกันคิด กันทำ กันใช้ นะครับ มีปัญหาก็ปรับแ้ก้กันไปครับ วันหนึ่งก็ลงตัวทั้งระบบ ผู้ใช้ ผู้สร้างครับ

ขอบคุณมากๆ นะครับ

  • ไม่ได้แวะมาเยี่ยมเยือนคุณเม้ง G2K นานพอสมควรแล้ว เพราะเส้นทางชีวิตประสบวิบากกรรมนิดหน่อยครับ
  • เป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมมากครับ (สมกับการเป็นนักคณิตศาสตร์ตัวจริง)
  •  คล้าย ๆ กับเป็นการสร้างความสัมพันธ์แบบญาติของแต่ละกระทู้ คือ เหนือกว่า หมวดหมู่ และคำสำคัญ 

 

ขออนุญาต ลปรร. ความฝันและประสบการณ์ ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับกระทู้นี้อยู่บ้าง เผื่อจะมีการนำไปพัฒนาต่อได้บ้างนะครับ

  • กรณีศึกษาที่ 1 นานมาแล้ว ในห้องประชุม NIDA ตอนที่ผมรู้จักกับคำว่า Data Mining ใหม่ ๆ ตอนนั้น Internet พึ่งเกิดได้ไม่กี่ปี บริษัทผู้ผลิตเจ้าหนึ่ง ได้ DEMO เจ้า S/W ที่จำลองการทำงานของ Data Mining คล้าย ๆ การทำงานของเจ้า Google ในปัจจุบัน (ตอนนั้น Google ยังไม่เกิด) ... หลักการ คือ ในอดีต DBMS แต่ละตัวจะคุยกันไม่ได้ ยังเป็นแบบ Intranet อยู่ แนวคิดใหม่ตอนนั้น คือ ให้สามารถคุยกันได้ เมื่อ DBMS คุยกันได้แล้ว สมมติ ว่า เราป้อนคำถาม เข้าไปว่า "การปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา" เมื่อเวลาผ่านไป 10 วินาที เราจะได้มาคำตอบหนึ่ง ตามความสามารถที่ตัว Agent วิ่งไปถามตาม ฐานข้อมูลต่าง ๆ ยิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งได้คำตอบที่ชัดเจนและละเอียดมากขึ้น ตอนนั้นบริษัทฝรั่งเขาก็อ้างทฤษฎีต่าง ๆ ทั้งความน่าจะเป็น และอื่น ๆ ผมเองฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง แต่เขาก็ทำ Graphics Demo ได้เห็นภาพเลยทีเดียว
  • กรณีศึกษาที่ 2 เป็น Project จบของผมตอนเรียน ป.ตรี (ตอนนั้น Windows ยังไม่เกิด) ผมทำ Project Expert System เรื่อง "หมอ" ผมนำแนวคิดของเกม 20 คำถาม มาใช้กล่าวคือ
    1. ให้ผู้ใช้บอกถามตอบอาการกับระบบไปเรื่อย ๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน ส่วนที่เกิดปัญหา คือ แขน ขา ตา หน้าอก สมอง ...
    2. เมื่อผู้ใช้ป้อนข้อมูลอาการในแต่ละคำถาม ระบบจะมีปุ่ม "วินิจฉัย" ให้คลิกประมวลผลตามข้อมูลที่ได้รับออกมาว่า ผู้ที่มีอาการดังกล่าว 30% เป็นไข้หวัด 20%เป็นโรคหัวใจ ... ยิ่งผู้ใช้ให้ข้อมูลมากเท่าได ระบบก็ยิ่งจะวินิจฉัยได้ละเอียดใกล้เคียงมากขึ้นเรื่อย
    3. ถามว่า ผมเอาฐานความรู้มาจากไหน เพื่อใช้วินิจฉัย สมัยนั้นมีตำราเล่มหนึ่ง คล้าย ๆ จะชื่อว่า "การตรวจรักษาโรคด้วยตนเอง" ซึ่งเป็นตำราที่ออกแบบได้ยอดเยี่ยมมาก
    4. ระบบจะมีความชาญฉลาด คือ ระบบสามารถให้ผู้ใช้ป้อนโรคใหม่เข้าไปได้ด้วย ถ้าในฐานข้อมูลไม่มี และระบบจะมีการเรียนรู้ที่จะใช้สถิติการใช้ไปทำการปรับปรุงฐานความรู้ด้วย
  • ... ประเด็นที่จำนำมาแลกเปลี่ยนคือ ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้น ผมมีทาง 2 แพ่ง คือจะใช้  Prolog หรือ FoxBase เพราะทั้งสองตัวมีความเก่งกันไปคนละทาง ครับ
  • ... วันนี้ไม่ค่อยสบาย ง่วงแล้ว วันหน้าถ้ามีวาสนา จะมา ลปรร. ด้วยใหม่นะครับ

 

 

สวัสดีครับคุณนิโรธ

    ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่นำเรื่องดีๆ ความเห็นดีๆ มาฝากครับ ดีใจที่ได้ทราบว่าคุณทำทางด้านนี้มาก่อนนะครับ ผมเองไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้าน Expert system (ES) ครับ

สำหรับการสร้างระบบ ES นั้น ผมมีความเห็นดังนี้ครับ

  • กรณีีที่ยังไม่มีฐานข้อมูลเบื้องต้น ได้ข้อมูลจากไหน ก็สกัดข้อมูลเอาจาก Expert ที่เป็นคนทั้งหลายนะครับ ว่าแต่ละคนมีลำดับการวินิจฉัยอย่างไร เขียนให้เป็นแบบโครงสร้างต้นไม้ได้ก็ยิ่งดีครับ มีทางแยกเป็นลำดับคำถามจนกว่าจะไปยังโรคหรือได้คำตอบคร่าวๆ ว่าเป็นอะไร (เหมือนเรามีต้นไม้ เรามีต้น ราก กิ่ง ก้าน ดอก ผล ไ่ม่ว่าเราจะจับตรงไหน เราก็ไต่ไปยังต้นอื่น กิ่งอื่นได้ตามเงื่อนไขของโครงสร้างของต้นไม้ครับ)
  • จะเปิดสกัดตรรกจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างไร ก็ทำได้ผ่านทางเน็ตได้ครับ โดยอาจจะมีรูปแบบในการป้อนข้อมูลให้ระบบครับผม เป็นระบบฐานข้อมูลเชิงเหตุผล จะเก็บแบบไหนก็แล้วแต่ลักษณะการคิดและประมวลผลให้ได้ง่ายและเร็วครับ
  • สำหรับทางแยกของภาษานั้น อะไรก็ได้ที่ใช้แล้วสอดคล้องครับ และตอบสนองงานของระบบได้นะครับ อาจจะเขียนเองใหม่หมดก็ได้ครับ โดยไม่ต้องไปยึดติดกับ prolog , foxbase ครับผม จะำทำให้เราไม่มีขีดจำกัดใดๆ ต่อระบบงานเราครับ
  • หากจะประยุกต์แนวคิดนี้กับ โกทูโนว์ ก็คิดว่าน่าจะทำได้ครับ โดยมีระบบถามตอบแล้วมุ่งไปหา ใบไม้ หรือดอกไม้ ผลไม้ หรือปลายรากก็ได้ครับ แตะตรงไหนของต้นไม้ก็ส่งข้อมูลไปได้ทุกๆ กิ่งก้านครับ
  • ผมเคยคิดตอน ป.ตรี แบบที่คุณเคยทำเหมือนกันนะครับ เป็นระบบที่น่าจะนำไปใช้ในการวินิจฉัยเบื้องต้นให้ผู้ป่วยทดสอบตัวเอง ว่าเราเคยเป็นอะไรบ้าง แบบนี้ รับรองแต่ละคนไม่โกหกคอมพ์ หากจะตรวจสอบตัวเองจริงๆ ระบบเบื้องต้นอาจจะใช้ระบบการตั้งคำถามให้ผู้ป่วยตอบ จนกว่าจะได้กลุ่มของผู้ป่วยเบื้องต้น ส่งไปให้หมอแต่ละฝ่ายได้ จะทำให้ระบบงานรวดเร็วมากขึ้นครับ เพราะว่าตรรกะพื้นฐานของหมอน่าจะเขียนให้อยู่ในแบบการวินิจฉัยเบื้องต้นได้ครับผม
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่เข้ามาทำให้เห็นภาพ เห็นทางได้มากขึ้นครับผม มีโอกาสค่อยปรึกษาว่าระบบที่คุณเคยทำไว้ จะพัฒนาปรับปรุงต่อได้อย่างไรครับ
  • หายป่วยไวๆ นะครับผม

สวัสดีอีกครั้งครับ คุณเม้ง

  • เคยทำงานด้าน IT มาระยะหนึ่งครับ ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่ปี 2 ปิดเทอม Summer ไปขอฝึกงานที่บริษัท Software House เป็นโปรแกรมเมอร์ฝึกหัด พอจะเปิดเทอมเขาให้คอมพิวเตอร์มาโดยให้เราเขียนโปรแกรมผ่อนเอา เรียนปี 3 ได้เทอมเดียวก็ย้ายไปเรียนโปรแกรมเสาร์-อาทิตย์ และเข้าทำงานกับ บ. ดังกล่าวแบบเต็มเวลา โดยขอหยุดงานวันเสาร์ และทำงาน จ.-ศ. ถึง 1 ทุ่มทุกวัน
  • เคยอ่านบางกระทู้ของ คุณเม้ง ที่เล่าถึงเรื่องไปทำงานก่อสร้าง ... ตอนที่ผมเป็นวัยรุ่น ช่วงปิดเทอม ผมก็ไปทำงานที่ กทม. ตลอดครับ ... ผมว่า การฝึกงาน การได้ทดลองทำงานก่อนเรียนจบ ป.ตรี มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตนะครับ (น่าจะมีการวิจัยประเด็นนี้นะครับ)
  • ดีใจที่ได้ ลปรร. ครับ

สวัสดีครับคุณนิโรธ

    ขอโทษด้วยครับ มาบรรเลงช้าไปหน่อยนะครับ สบายดีนะครับผม

ขอบคุณมากๆ นะครับ สำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้รับรู้กันครับ ไดู้้จักมากขึ้นครับ จริงๆ ชีวิตเรานี้มีอะไรให้ทำเยอะๆ เลยนะครับ หากพอเรามองงานออก งานที่เราชอบ และมองทางออกว่าจะนำอะไรไปประยุกต์ทำอะไร แล้วจะพบว่างานให้เราทำนั้นเต็มไปหมดครับ เพียงแต่เราต้องวางแผน ว่าจะทำสิ่งใดบ้าง และเราจะพบว่าเราไม่ตกงานแน่ๆ

    หากลูกหลานเรา เค้าสนใจที่จะรักในการเรียนรู้ก็จะดีมากครับ หากเราปลูกฝังเด็กไทยให้รู้จักสงสัย และฝึกระบบคิด คิดให้เป็นระบบ เราจะมีนักวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมากมายครับ ในขณะเดียวกัน ก็ผสมคลุกเคล้ากับนักศิลป์ในสาขาต่างๆ ผสมกันได้ครับ

    การเขียนโปรแกรมผมว่าเป็นเส้นทางหนึ่งในการสร้างฝันของผมเลยครับ ในการสร้างสิ่งที่คิดให้จับต้องได้ และถ่ายทอดให้คนอื่นสัมผัสได้ครับ โดยเฉพาะการแสดงผลและการจำลองในด้านต่างๆ ตลอดจนการคลุกเคล้าขุดปัญญาจากสาัรสนเทศครับ

ขอบคุณมากๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท