การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์


วิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์

       ความหมาย
      
โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นงานการศึกษาเพื่อค้นพบความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยครูเป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษา  โครงงานวิทยาศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาความคิดได้อย่างอิสระและช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
        ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
      
    โครงงานวิทยาศาสตร์แบ่ง ได้  4   ประเภท ดังนี้                    
          
1 โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล

           2. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทการทดลอง
           3. โครงงนาวิทยาศาสตร์ประเภทประดิษฐ์
           4. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
           โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
           โครงงานประเภทนี้  เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ  และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูปแบบต่างๆ  อย่างมีระบบเพื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือความสัมพันธ์ของเรื่องดังกล่าวได้อย่าง ชัดเจนยิ่งขึ้นการปฏิบัติตามโครงงานนี้  ผู้เรียนจะต้องไปศึกษา  รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  สอบถาม  สัมภาษณ์  สำรวจโดยใช้เครื่องมือ  เช่น  แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์   แบบบันทึก ฯลฯ  ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษา
           ตัวอย่างโครงงานที่เป็นการสำรวจ  รวบรวมข้อมูล  
          1.
การสำรวจประชากร  พืช  สัตว์  หินแร่ ฯลนฯ ในชุมชน
          2. การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกในชุมชน
 
         
3.
การสำรวจความต้องการเกี่ยวกับอาชีพของชุมชน
          4. การสำรวจมลภาวะในชุมชน
      โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง      
          
โครงงานประเภทนี้  เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ  โดยการออกแบบโครงงานในรูปของการทดลองเพื่อศึกษาว่า  ตัวแปรหนึ่งจะมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาอย่างไรบ้าง  ด้วยการควบคุมตัวแปรอื่นๆ  ซึ่งอาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้   การทำโครงงานประเภทนี้ 
จะมีขั้นตอนการดำเนินงาน  ประกอบด้วยการกำหนดปัญหา   การตั้งวัตถุประสงค์   การตั้งสมมติฐาน
  
การออกแบบการทดลอง  การรวบรวมข้อมูล  การดำเนินการทดลอง  การแปรผล  และสรุปผลการทดลอง  เช่น
 
        1.การใช้น้ำซักผ้ารดน้ำต้นไม้
                               
       
2.การรีดผ้าที่ประหยัดไฟฟ้า
                               
       
3.วิธีการประหยัดน้ำประปาในบ้าน
                               
       
4. การปลูกพืชสวนครัวโดยไม่ใช้ดิน
                               
       
5.การสกัดสารจากพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
                                
        6.
การกำจัดหญ้าในนาข้าวโดยวิธีการธรรมชาติ
                                
        7.
การเก็บถั่วงอกให้สดและขาว
                               
        8.
ไข่เค็มสูตรใหม่
                               
        9.
ยากันยุงจากพืชสมุนไพร
                     
      
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี
 
       
โครงงานประเภทนี้  เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์  เพื่อเสนอทฤษฎี  หลักการ  แนวคิดใหม่ๆ  เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน หรือขัดแย้ง  หรือขายจากวิธีการที่น่าเชื่อถือตามกติกา  ข้อตกลงที่กำหนดขึ้นมาเอง  หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงเดิมมาอธิบายข้อความรู้  ทฤษฎี  หลักการ  แนวคิดใหม่ก็ได้
โครงงานที่เป็นการศึกษา  ความรู้ทฤษฎี  หลักการ  หรือแนวคิดนี้ผู้ทำโครงงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ  เป็นอย่างดี  หรือต้องมีการศึกษา  ค้นคว้า  ข้อมูลมาประกอบอย่างลึกซึ้ง  จึงจะทำให้สามารถกำหนดทฤษฎี  หลักการ  แนวคิดใหม่ๆ  ขึ้นได้                                
        
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เป็นการศึกษาความรู้  ทฤษฎี  หลักการ 
หรือแนวคิดเช่น                                         
        1
. พลังงานแสงอาทิตย์
7.3.3 ความหัสจรรย์ของตัวเลข 9                                                        
        2
.อาหารเพื่อสุขภาพ
                                                        
        3
.ระบบนิเวศป่าไม้
                                
        4.
 เกษตรผสมผสาน
                                
      
  โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์
       
โครงงานประเภทนี้  เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์คือ  การนำเอาความรู้  ทฤษฎี  หลักการ  หรือแนวคิดมาประยุกต์ใช้โดยการประดิษฐ์เครื่องมือ  เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการทำงาน  หรือการใช้สอยอื่นๆ  การประดิษฐ์คิดค้นตามโครงงานนี้  อาจเป็นการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่  โดยที่ยังไม่มีใครทำ  หรืออาจเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  หรือดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ
สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่  รวมทั้งการสร้างแบบสำรวจแบบต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ภาษา  สังคม  อาชีพ 
สิ่งแวดล้อม
                               
        
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทประดิษฐ์
                                
       
1. เครื่องกรองดักไขมัน
                                
        2 ถังโอโซน
                               
        3. เครื่องสีข้าวกล้อง
                               
       4. เครื่องกรองน้ำโดยวัสดุธรรมชาติ
                                
 
ขั้นตอนการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์     
      
จากการศึกษาวิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักการศึกษาหลายท่านดังที่กล่าวมาแล้วนั้น  ดิฉัน
ได้สรุปขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  สำหรับการวิจัยในครั้งนี้มี 
5  ขั้นตอนดังนี้
                     
      
ขั้นที่ 1  การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา 
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ
ที่สุด  และยากที่สุด  ตามหลักการแล้วผู้เรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อที่จะศึกษาด้วยตนเอง  แต่ครูอาจมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ  ช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง                     
     
ขั้นที่ 2  การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมดหรือขั้นตอน
การออกแบบการทดลอง  หรือขั้นตอนการเขียนเค้าโครงของโครงงาน 
ประกอบด้วย  ชื่อโครงงาน
ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า สมมติฐาน (ถ้ามี)   ตัวแปรที่ศึกษา  วัสดุอุปกรณ์   วิธีดำเนินการ  ปฏิทินการปฏิบัติงาน  ผลที่คาดว่าจะได้รับ  เอกสารอ้างอิง                      
    
ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์ 
ได้แก่  การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ล่วงหน้าในขั้นตอนที่ 
2  ประกอบด้วย  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การสร้างหรือการประดิษฐ์
การปฏิบัติการทดลอง  การดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล   
     ขั้นที่ 4  การเขียนรายงาน 
เป็นการเสนอผลงานของการศึกษาค้นคว้าเป็นเอกสารเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  ปัญหาที่ศึกษา
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆ  ที่รวบรวมได้  ผลของการศึกษา  ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่างๆ                     
    
ขั้นที่ 5  การแสดงผลงาน 
เป็นการเสนอผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้ว 
ซึ่งสามารถกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น  การจัดนิทรรศการ  การสาธิต  แสดงประกอบการรายงานปากเปล่า  ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงาน
วิทยาศาสตร์ทำได้หลายระดับ เช่น
                               
       
5.1 การจัดเสนอผลงานในชั้นเรียน
                               
       
5.2 การจัดนิทรรศการในโรงเรียน
                               
       
5.3 การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน
                               
       
5.4 การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดง  หรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่างๆ
พบกันใหม่โอกาสหน้านะคะ



ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ครูอ้อยมาเยี่ยมค่ะให้กำลังใจค่ะ

อาจารย์ขยันจังเลยค่ะ

เนื้อหาดีมากครับ

อยากบอกคนดีว่าพี่ปี 2 รักน้องปี 1 จังเลย

ครับผมทำโครงงานมา 6 ปี เเล้ว ผมเป็นคน พิษณุโลกครับ

ใครมีอะไรถามผมได้นะครับ

ชอบมากเลยนะที่บอกว่าเป็นคน พิษณุโลก เหมือนกันนะ

คิดว่าจะถามพี่เหมือนกันว่าโครงงาน อยากเก่งเหมือนพี่

สวัสดีจ้า

* คนจริงขยันจริง

* หนาวแล้ว

* ยังคิดถึงหนาวที่ส่องดาวไม่วาย... ต้องกลับเอาเสื่อมาห่มแทนผ้าห่ม..หนาวคักๆ

* รักษาสุขภาพด้วยนะจ๊ะ

นายเขื่อนเพชร สุรำไพ

อ่านเรียบร้อยแล้วนะคร้าบบ

เนื้อหาดีมากครับ

นายเขื่อนเพชร สุรำไพ เลขที่ 3 ห้อง 6/11

อ่านแล้วนะคะ

เนื้อหาน่าอ่านมากคะ

นางสาวธารินี อนุเวช เลขที่ 20 ห้อง 6/11

น.ส. วัชรมน ชัยพงศ์ เลขที่ 28 ม. 6/11

ได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ

วิธีการทำโครงงานทำอย่างไร

คนพิโลกค่ะอยากทำโครงงานช่างกลไม่รู้จะทำอะไรช่วยบอกที

ดีมากๆครับ

เนื้อหาดี

หาโครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ให้หน่อย

ก็ดีน่ะ เนื้อหากำลังดี

อยากได้ตัวอย่างขั้นตอนการทำโครงงานแบบสำรวจไม่ทราบหาได้ที่ไหน

ดีมาก ๆเลยค่ะ คุณครู หนูเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ทำไมเยอะจัง

หนูเด็กฉะเชิงเทราค่ะ อิอิ

ด.ช.ธีรวัฒน์ สุขสะอาด

สวัสดี คร๊าฟ ผม อยุ่ จ.หวัด สมุทปราการ ต. ปากน้ำ อ. เมือง จ. สมุทปราปาร

เนื้อหาดีมากเรยคร่ะ

หนูอยู่แค่ม.1เองหนูยัง

ชอบเรย

เพราะหนูจำเป็นต้องใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท